[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3582 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 358 หน้า, หน้าที่ 359 มี 2 รายการ

 
ปุ๋ยบำรุงกาแฟ ปุ๋ยกาแฟ โตไว ระบบรากแข็งแรง ออกผลดก คุณภาพดี FK-1 มี N,P,K,Mg,Zn



ปุ๋ยน้ำบำรุงกาแฟ FK-1 ประกอบด้วยธาตุอาหาร N - ไนโตรเจน ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต แตกยอดผลิใบ สังเคราะห์แสงได้ดี กาแฟโตไว เขียว แข็งแรง มีธาตุ P - ฟอสฟอรัส ระบบรากแข็งแรง แตกรากดี ช่วยการติดการติดดอก ออกผลผล และ ธาตุ K - โพแตสเซียม ส่งเสริมกระบวนการสะสมอาหาร ทำให้ผลโต มีความสมบูรณ์ ได้น้ำหนัก ผลลผลิตสูงขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังประกอบด้วย Mg - แมกนีเซียม ที่ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล เพื่อเป็นอาหารและพลังงาน มี ธาตุ Zn - สังกะสี ควบคุมการเจริญเติบโต สังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์และแป้ง ควบคุมการย่อยน้ำตาลของพืช จึงทำให้ มะขาม เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ แข็งแรง และให้ผลผลิตดี

http://www.farmkaset..link..

มีสารจับใบในตัว ลดแรงตรึงผิว ทำให้ FK-1 สามารถเกาะใบ และดูดซึมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

อัตราส่วนการผสม
- แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง
- ตักถุงแรก 1-2 ช้อนโต๊ะ ถุงที่สอง 1-2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร
- คนให้แตกตัวละลายเข้ากับน้ำ
- ฉีดพ่นทางใบพืช

ราคา 890บาท ต่อกล่อง
ในหนึ่งกล่อง ประกอบด้วย
บัวแก้ว บรรจุ 1กิโลกรัม 1ถุง ทะเบียน เลขที่ 1641/2563 (กรมวิชาการเกษตร)
เอฟ-วัน บรรจุ 1กิโลกรัม 1ถุง ใบรับแจ้ง เลขที่ รส. 1727/2563 (กรมวิชาการเกษตร)
ผสมใช้พร้อมกัน

พืชจะถูกจำกัดการเจริญเติบโต ด้วยธาตุอาหารที่ได้รับต่ำสุด (Liebig s law of the minimum) FK-1 ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นครบถ้วน แก้ปัญหาพืชโตช้า ส่งเสริมให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพ

ปุ๋ย FK-1 เร่งโต สำหรับพืชต่างๆ ประกอบด้วย ธาตุหลัก สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ สารจับใบ ไนโตรเจน [N] ฟอสฟอรัส [P] โพแทสเซียม [K] แมกนีเซียม [Mg] สังกะสี [Zn]

การสั่งซื้อ ส่งฟรีถึงบ้าน เก็บเงินปลายทาง

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

FK-1 จาก ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..

FK-1 จาก ลาซาด้า http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3542
อาการต้นไม้ปลูกในบ้านที่ต้องระวัง รีดจัดการก่อนต้นไม้ตาย
อาการต้นไม้ปลูกในบ้านที่ต้องระวัง รีดจัดการก่อนต้นไม้ตาย
ชื่อว่าคนปลูกต้นไม้หลายคนน่าจะเจอปัญหาคล้าย ๆ กันว่า ทำไมต้นไม้ที่บ้านของเราไม่สวยเหมือนตอนอยู่ที่ร้าน หรือเลี้ยงอยู่ดี ๆ ต้นไม้ก็เหี่ยวแบบหาสาเหตุไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่รดน้ำทุกวัน บางครั้งก็มีใบไหม้หรือจุดด่าง ๆ กระจายเต็มต้น วันนี้กระปุกดอทคอมขออาสารวมปัญหาที่คนปลูกต้นไม้ในบ้านควรระวังมาฝาก มาดูกันว่ามีโรคแบบไหนบ้างที่ควรระวัง และแต่ละอาการมีสาเหตุมาจากอะไร และควรจะแก้ไขยังไง ให้ต้นไม้กลับมาสวยงาม แข็งแรง ผลิใบออกดอกให้เราเห็นเหมือนเดิม

1. ใบเหลือง
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ต้นไม้ใบเหลือง เป็นเพราะรดน้ำมากเกินไป ความชื้นในดินสูง หรือดินแน่น ระบายน้ำยาก วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ ตัดใบส่วนนั้นทิ้งไป จากนั้นเว้นการรดน้ำไปสักระยะ แล้วค่อยกลับมารดน้ำใหม่เมื่อดินแห้ง เช็กง่าย ๆ โดยใช้นิ้วกดลงไปในดินประมาณ 1 นิ้ว หากหน้าดินแห้งก็รดน้ำได้ แต่ถ้าดินยังแฉะก็ควรรอก่อน ส่วนในกรณีที่ดินแน่นเกินไปให้นำมาผสมวัสดุอื่น ๆ เช่น ขุยมะพร้าว ใบก้ามปู หรือรองก้นกระถางด้วยกาบมะพร้าวก่อนนำมาปลูก เพื่อเพิ่มช่องอากาศและช่วยให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น

2. ใบไหม้
สาเหตุที่ทำให้ใบไหม้ส่วนใหญ่มักจะมาจากต้นไม้โดนแสงแดดแรง ๆ หรืออากาศร้อนเกินไป โดยเฉพาะแดดช่วงบ่าย ดังนั้นหากสังเกตว่าใบเริ่มแห้งหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ควรย้ายต้นไม้ไปวางไว้ในที่ที่มีแดดรำไร พร้อมกับตัดใบไหม้ส่วนนั้นทิ้งไป อีกหนึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะใส่ปุ๋ยมากเกินไป เบื้องต้นควรงดใส่ปุ๋ยไปสักระยะประมาณ 1-2 เดือน แล้วรดน้ำตามปกติ เพื่อให้น้ำเจือจางและค่อย ๆ ชะสารเคมีออกไป แต่ถ้าเป็นพวกเชื้อราให้แยกต้นไม้ออกมาวางนอกบ้าน ตัดใบที่ขึ้นราทิ้ง แล้วพ่นด้วยสเปรย์ฆ่าเชื้อรา แล้วรอดูผลสักระยะ หากไม่มีราขึ้นซ้ำก็สามารถย้ายกระถางไปปลูกในบ้านได้

3. ใบซีด
เนื่องจากแสงแดดเป็นอาหารอย่างหนึ่งของต้นไม้และใช้ในการสร้างคลอโรฟิลล์ ถ้าใบของต้นไม้เริ่มสีซีดผิดปกติ เป็นเพราะไม่ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เช่น วางในมุมอับที่แสงเข้าไม่ถึง แต่ก่อนจะย้ายต้นไม้ไปรับแดด ควรเช็กก่อนว่าต้นไม้ของเราเหมาะกับแสงแดดแบบไหน เพราะบางชนิดก็ชอบแสงแดดโดยตรง ทนอากาศร้อนได้ดี ในขณะที่ต้นไม้บางชนิดชอบแสงแดดรำไร อากาศเย็น หรือความชื้นสูง ถ้านำไปวางไว้ที่แดดแรง ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาใบเหี่ยวหรือใบไหม้ตามมาได้

4. ใบหงิก
หากใบหงิกงอ ผิวไม่เรียบ ขอบใบม้วน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นใบอ่อนหรือใบใกล้ยอดลำต้น นอกจากนี้หากลำต้นแคระแกร็นหรือมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับต้นปกติ อาจจะเกิดจากไวรัส ขาดสารอาหาร และมีแมลงมารบกวน หากเจออาการแบบนี้ให้รีบแยกต้นไม้ที่เป็นโรคออกมา แล้วตัดส่วนที่มีปัญหาทิ้งไป

5. ใบมีจุด
ปัญหานี้มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่มาจากพวกฟังไจ (Fungi) และจุดจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น สีน้ำตาล สีแดง หรือสีดำ และจะค่อย ๆ กัดกินใบไปทีละนิดจนเป็นวงกว้าง ดังนั้นหากเจอแล้วควรรีบตัดใบส่วนนั้นทิ้งไป ก็จะช่วยให้ต้นไม้ฟื้นตัวเร็วขึ้น และรดน้ำเฉพาะบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อกระจาย

6. ใบร่วง
ถ้าใบร่วง 1-2 ใบถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าร่วงเยอะจนผิดสังเกต แสดงว่าต้นไม้กำลังอ่อนแอ และมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็ว ใช้กระถางขนาดเล็กเกินไป ทำให้รากขยายยาก ลำต้นเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้อาจจะเป็นเพราะรดน้ำน้อยหรือมากเกินไป

7. ต้นไม้โตช้า
ถึงแม้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้แต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่หากสังเกตว่าต้นไม้ของเราโตช้าเกินไปจนผิดปกติ ผ่านไปหลายสัปดาห์แทบจะไม่เห็นความแตกต่างหรือแตกยอดใหม่เลย ก็เป็นไปได้ว่าต้นไม้โดนเชื้อราหรือแมลงรบกวน เช่น บั่วรา (Fungus Gnat) และหากเห็นแมลงตัวเล็ก ๆ บินรอบต้นไม้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีตัวอ่อนอยู่ในดิน ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่บริเวณรากคอยแย่งอาหารจากต้นไม้ของเรา ทั้งนี้ ควรรีบแยกต้นไม้ที่เป็นโรคออกมา แล้วจัดการเปลี่ยนดิน ตัดรากที่มีตัวอ่อนทิ้งไป จากนั้นค่อยนำไปปลูกในดินใหม่และกระถางที่สะอาด

8. ลำต้นยืดหรือเอียง
อีกหนึ่งปัญหาที่คนปลูกต้นไม้ในบ้านมักจะเจอบ่อย ๆ และนั่นแปลว่า ต้นไม้ได้รับแสงแดดน้อยเกินไป ลำต้นเลยเอียงเข้าหาแสง ฉะนั้นลองหาที่ตั้งกระถางใหม่ ให้เป็นที่ที่มีแสงสว่างและมีแสงแดดเพียงพอ เช่น บนระเบียงหรือริมหน้าต่าง แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรเปลี่ยนที่ปลูกต้นไม้บ่อย ๆ เพราะต้นไม้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว และทำให้ต้นไม้โตช้าลง

9. ออกดอกน้อย
สำหรับต้นไม้ปลูกในร่มที่ผลิใบเยอะ แต่ออกดอกน้อยหรือตั้งแต่ปลูกมายังไม่เคยเห็นดอกเลยสักครั้ง มีสาเหตุจากปุ๋ยที่นำมาใส่มีส่วนของไนโตรเจน (N) มากเกินไป หากอยากจะเห็นดอกบ้าง ควรเลือกสูตรปุ๋ยที่เน้นฟอสฟอรัส (Phosphorus หรือ P) ช่วยเร่งการสร้างดอก อีกทั้งยังช่วยให้รากแข็งแรง ดูดซึมอาหารได้ดีขึ้นด้วย

คราวนี้ก็ได้ทราบกันไปแล้วว่าอาการแต่ละอย่างมีสาเหตุจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเปลี่ยนกระถาง ย้ายที่วางต้นไม้ หรือปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แต่ละครั้งควรเว้นระยะห่างประมาณ 5-7 วัน เพื่อให้เวลาต้นไม้ปรับตัวด้วยนะคะ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

อาการใบไหม้ ใบจุด ใบเหลืองซีด อันเนื่องมาจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา รายละเอียดด้านล่างนะคะ
อินทผลัม พืชทางเลือก จะรุ่งหรือจะร่วง กับ ศ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า - Piyamas Live | ปิยะมาศ บัวแก้ว
อินทผลัม พืชทางเลือก จะรุ่งหรือจะร่วง กับ ศ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า - Piyamas Live | ปิยะมาศ บัวแก้ว

อินทผลัม พืชทางเลือก จะรุ่งหรือจะร่วง กับ ศ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

https://www.youtube.com/watch?v=fwS8qiiDJr4
ปิยะมาศ บัวแก้ว
#ปิยะมาศไลฟ์
#PiyamasLive
อ่าน:3542
พิรุณ 2 เป็นพันธุ์มันสำปะหลังที่มีลักษณะพิเศษ เป็นได้ทั้งพันธุ์รับทาน และพันธุ์อุตสาหกรรม
พิรุณ 2 เป็นพันธุ์มันสำปะหลังที่มีลักษณะพิเศษ เป็นได้ทั้งพันธุ์รับทาน และพันธุ์อุตสาหกรรม
มันสำปะหลังพันธ์ใหม่ “พิรุณ 2” เป็นได้ทั้งพันธุ์รับประทาน และพันธุ์อุตสาหกรรม

มันสำปะหลังพันธ์ใหม่ “พิรุณ 2” พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โดยการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ตั้งแต่ 2549 จากลูกผสมมันสำปะหลัง รุ่น 1 ระหว่างพันธุ์ห้วยบง 60 ผสมกับ พันธุ์ห้านาที

ลักษณะลำต้น

ยอดสีเขียวอ่อน ก้านใบสีแดง ลักษณะทรงต้นตั้งตรง ผลผลิตเฉลี่ย 5.8 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสด 24.7 หังแบบทรงโคนหรือดอกบัวตูม ก้านหัวสั้น ตัดหัวง่าย เปลือกหัวสีน้ำตาลเข้ม เนื้อหัวสีขาว เส้นใยน้อย

จุดเด่น

ให้ผลผลิตหัวสดสูงกว่าพันธุ์ห้านาที เมื่อปลูกในสภาพไร่แบบอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ทรงต้นสวยมีก้านหัวสั้น ทำให้ตัดหัวง่าน เหมาะสำหรับปลูกในดินเหนียวสีแดงมากที่สุด รองลงมา คือ ดินร่วนปนเหนียว และดินเหนียว สีดำ เมื่อนำหัวไปนึ่งหรือเชื่อมให้เนื้อสีขาวรสชาติอร่อย เนื้อสัมผัสนุ่ม ไร้เสี้ยน มันสำปะหลังพันธุ์นี้เป็นได้ทั้งพันธุ์รับประทาน และพันธุ์อุตสาหกรรม

การแปรรูป

“พิรุณ 2” เป็นพันธุ์ที่ให้เนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รสชาติดี นำไปทำขนมไทยได้หลายชนิด เช่น มันเชื่อม ตะโก แกงบวด ขนมหน้านวล บ้าบิ่น ขนมมัน และแปรรูปเป็นมันสำปะหลังทอง

แหล่งท่อนพันธุ์

ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมาและในแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญดังนี้

จังหวัดกำแพงเพชร 081-674-0426
จังหวัดฉะเชิงเทรา 086-520-7547
จังหวัดชลบุรี 089-834-9760
จังหวัดระยอง 081–940–5565
จังหวัดนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว 081–879-5238
จังหวัดสุพรรณบุรี 081–981-2613
จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเสิงสาง 088–470-6139 และ 086–246–9109

อ้างอิง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/375
อ่าน:3542
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ปัจจุบันปัญหาด้านเศรษฐกิจนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที เนื่องจากจำนวนประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เนื้อที่ทำการเกษตรมีจำกัด หรืออาจน้อยลง เพราะส่วนหนึ่งต้องนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ทางด้านการเกษตรที่มีอยู่ ในการเพาะปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ลดผลผลิตของพืช คือ ปัญหาศัตรูพืช ซึ่งหมายถึง โรคพืชและแมลง แมลงและสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคกับพืช เป็นสิ่งมีชีวิต ได้พยายามปรับตัว เพื่อต่อสู้วิธีการป้องกัน และกำจัดของมนุษย์ตลอดมา เพื่อความอยู่รอด การศึกษาด้านศัตรูพืชจึงต้องกระทำติดต่อตลอดไป เพื่อให้เข้าใจถึงวัฎจักรการเข้าทำลายพืชของแมลงและโรค และใช้วิธีที่เหมาะสมในการป้องกัน และกำจัด เพื่อแก้ปัญหาศัตรูพืชเหล่านี้ให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะด้านโรคพืช ถ้าจะมีใครสักคนถามว่า ความหมายของโรคพืชคืออะไร คงจะให้คำจำกัดความที่แน่นอนลงไปได้ยาก แต่ก็พอจะสรุปว่า เมื่อพืชแสดงอาการผิดปกติไปจากเดิม มีผลทำให้เกิดการสูญเสีย ในแง่การเจริญเติบโต และผลผลิตลดลง ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือยาวก็ตาม ก็ถือว่า พืชเป็นโรคทั้งสิ้น ดังจะได้กล่าวถึง ในรายละเอียดของอาการที่ผิดปกติต่อไป

อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่งของการขาดธาตุอาหาร อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่ง ของการขาดธาตุอาหาร
ความเสียหายที่เกิดจากโรคพืช ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ ๓ ประการ คือ ความอ่อนแอของพืชต่อการเกิดโรค ความรุนแรงของเชื้อโรค และสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ การเกิดโรค เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสภาพ ความเป็นกรด และด่างของดิน ฯลฯ ในกรณีที่พืชอ่อนแอต่อโรคมาก เชื้อโรคมีความรุนแรงมากและสภาพแวดล้อมเหมาะสม ความเสียหาย จะเกิดขึ้นรุนแรง ในอดีต โรคไหม้ (blight) ของมันฝรั่งเคย ระบาดรุนแรง ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งในประเทศไอร์แลนด์ลดต่ำลง จนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคของประชาชน ทำให้ประชาชนอดอาหาร ล้มตายเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทย โรคพืชชนิดต่างๆ เช่น โรคใบสีส้มของข้าว โรคราน้ำค้างของ ข้าวโพด โรครากเน่าของทุเรียน ทำให้ผลผลิตของพืชลดลง คิดเป็นมูลค่าปีละหลายพันล้านบาท

โรคพืช แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต

สิ่งไม่มีชีวิตที่สามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติแก่พืชได้แก่

๑.๑ ปุ๋ย

พืชที่ขาดธาตุอาหาร หรือได้รับธาตุอาหารมากเกินไป หรือภาษาทางการเกษตร ที่เรามักจะคุ้นเคยเรียกว่า พืชขาดปุ๋ย หรือได้รับปุ๋ยมากเกินไป ปกติธาตุอาหารเหล่านี้ มักมีอยู่ในดิน เพียงพอต่อความต้องการของพืช แต่บางกรณี สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ไม่เหมาะสม ทำให้ธาตุอาหารต่างๆ เหล่านี้ เปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดนำมาใช้ได้ หรือบางครั้ง เราปลูกพืชซ้ำที่เดิมเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปรับดินให้ปุ๋ย จึงทำให้ดินบริเวณนั้นขาดแคลนธาตุอาหาร และพืชแสดงอาการเป็นโรคขาดธาตุอาหารให้เห็น อาการที่เกิดจากธาตุอาหารนี้ ส่วนใหญ่สังเกตได้ที่ใบอ่อน และใบแก่ โดยจะมีอาการเปลี่ยนสี ใบมีขนาดเล็กลง ม้วนขึ้น หรืองดลง ตลอดจนการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตผิดปกติ ตัวอย่างกรณีให้ปุ๋ยมากเกินไป อาจทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาตาย หรือใบงามจนเกินไป และไม่ออกรวง เช่น ข้าวเป็นโรคเฝือใบ เนื่องจากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป หรือกล้วยไม้ พวกหวายมาดามตัดดอก มีการบำรุง และเร่งการออกดอก ด้วยปุ๋ยสูตรชนิดต่างๆ โดยมิให้ต้นไม้มีการพักตัว ปรากฏว่า ดอกมาดามที่ตัดจากต้นเหล่านี้มีคุณภาพเลวลง โดยมีระยะการบานไม่ทน เหี่ยวเฉา และหลุดร่วงง่าย ทำให้เสียมาตรฐานคุณภาพไม้ตัดดอก และนำมาซึ่งปัญหาการตลาดระหว่างประเทศต่อไป
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ
เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ส่วนอาการพืช เนื่องจากขาดธาตุอาหาร พบได้บ่อยครั้ง เช่น โรคอ้อยขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิดอาหารใบเหลืองซีด ส้มที่ขาดธาตุสังกะสี หรือที่เรียกว่า ใบแก้วของส้ม ใบที่ยอดอ่อนจะเรียวเล็ก และชี้ขึ้น หรือโรคก้นเน่าของมะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม เป็นต้น
๑.๒ ดินที่มีสภาพความเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไป

โดยปกติสภาพความเป็นกรดด่างของดิน มิใช่ตัวควบคุมการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่มีผลทางอ้อมต่อพืช ในการนำธาตุอาหารในดินมาใช้ หรือในแง่การเจริญเติบโต และอยู่ร่วมกันของเชื้อจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะมีผลช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตดี หรือผิดปกติไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและพืชแต่ละชนิด เรามักได้ยินคำว่า ดินเปรี้ยว ทำให้พืชมีขนาดเล็ก การเจริญเติบโตช้า อันเนื่องมาจากความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ทำให้พืชไม่สามารถใช้ธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือมีการเสริมให้เชื้อโรคในดินบางชนิดระบาดรุนแรงขึ้น เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ และพืชบางชนิด ซึ่งเกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) จะแสดงอาการโรครุนแรงมาก ในดินกรด หรือค่อนข้างไปทางกรด ในทางตรงกันข้าม เชื้อราเวอร์ติซิลเลียม (Verticillium sp.) ซึ่งทำให้เกิดอาการเหี่ยวของมะเขือเทศเช่นเดียวกัน จะทำให้เป็นโรครุนแรงในสภาพดินด่าง เป็นต้น
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
๑.๓ วิธีการทางเขตกรรม

วิธีการนี้มีหลายกรณี เนื่องจากการเพาะปลูก จำเป็นต้องมีการเตรียมดินฆ่าเชื้อในแปลงปลูกที่เคยเป็นโรคมาก่อน หรืออุปกรณ์ในการเพาะกล้า และย้ายปลูก บางครั้งฤทธิ์ตกค้างของสารเคมีบางชนิดยังคงอยู่ และทำให้เกิดอาการผิดปกติกับพืชได้ การกำจัดวัชพืช หรือการใช้ปุ๋ยซึ่งมีวิธีต่างๆ กันอาจกระทบกระเทือนระบบราก และทำให้เกิดอาการเหี่ยวเฉา การยึดพืชกับเครื่องปลูก หรือสิ่งยึดเกาะ หากไม่แข็งแรงพอจะทำให้ระบบรากสั่นคลอน เนื่องจากกระแสลม หรือแรงกระทำอื่นๆ ทำให้รากไม่ยึดเกาะดิน หรือเครื่องปลูก อาจทำให้พืชเหี่ยวเฉา หรือถึงแห้งตายได้ มักจะเกิดกับกล้วยไม้ และการปลูกพวกกิ่งตอนต่างๆ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ยแล้วขาดการรดน้ำ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ย แล้วขาดการรดน้ำ
๑.๔ แสงแดดหรืออากาศที่ร้อนจัดเกินไป

มีพืชบางชนิด ที่ไม่สามารถทนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ เช่น พวกพืชอวบน้ำ ใบหนา เมื่อมีหยดน้ำเกาะติดบนใบพืชและถูกแสงอาทิตย์ส่องนานๆ จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกทำลายเป็นเซลล์ตาย สีน้ำตาลหรือสีดำ และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคอื่นๆ เช่น เชื้อรา เชื้อบัคเตรี ฯลฯ นอกจากนี้ในโรงเรือนที่อบ หรือการขนส่งจำนวนมากๆ ในสภาพอากาศร้อนจัด มักทำให้พืชได้รับการกระทบกระเทือนมีอาการตายนิ่ง สลัดใบทิ้ง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หรืออาจถึงแห้งตาย มักเกิดขึ้นกับพืชทุกชนิด
๑.๕ ความชื้นมากหรือน้อยเกินไป

ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเจริญเติบโตของพืช แต่ถ้าความชื้นมากเกินไป ก็มักจะช่วยส่งเสริมการเกิดโรคได้มากขึ้น เช่น การบรรจุไม้ตัดดอกส่งต่างประเทศ จะต้องมีกรรมวิธีการบรรจุที่ถูกต้อง ช่อไม้ดอกจะต้องแห้งปราศจากหยดน้ำบริเวณกลีบดอก ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาดอกเน่า จากการเข้าทำลายของเชื้อบางชนิด ในขณะที่มีการขนส่งไปยังตลาดในระยะทางไกลๆ หรือหากปลูกพืชแช่อยู่ในดิน หรือบริเวณที่ปลูกที่น้ำขัง การระบายน้ำไม่ดี ก็มักจะทำให้ระบบรากเน่า หรือเชื้อโรคในดินเข้าทำลายระบบรากได้ง่าย แต่ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ก็จะมีผลโดยตรงกับการเจริญของพืช ต้นพืชจะเหี่ยวเฉา และโตช้า อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
๒. โรคที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิต

มีเชื้อโรคหลายชนิด ที่ทำให้พืชเป็นโรค เชื้อแต่ละชนิดมีคุณสมบัติการเข้าทำลายพืช และการแพร่ระบาดโรคแตกต่างกันไป จึงขอกล่าวถึงเชื้อแต่ละชนิดพอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้

๒.๑ เชื้อรา

เป็นเชื้อที่พบว่า ทำให้เกิดโรคแก่พืชมากที่สุด และทำให้เกิดอาการประเภทต่างๆ บนพืชมากที่สุดด้วย เช่น ใบเป็นแผลจุด ใบไหม้ ใบติด ใบเหี่ยว รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือแห้งตายทั้งต้น เชื้อราส่วนใหญ่มีการแพร่ระบาดโรคด้วยส่วนที่เรียกว่า สปอร์ (spore) โดยมี น้ำ ลม หรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนำ หรืออาจติดไปกับส่วนของพืชและดินที่เป็นโรค เชื้อราบางชนิดพักตัวอยู่ในส่วนของพืชและดินเป็นเวลานานนับปี มีความสามารถในการเข้าทำลายพืชได้ทั้งทางแผล ช่องเปิดธรรมชาติ หรือเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชโดยตรงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา

อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา
เชื้อราแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๔ กลุ่มด้วยกันคือ

๒.๑.๑ ไฟโคไมซิทิส (phycomycets) เรามักเรียก เชื้อราในกลุ่มนี้ว่า ราชั้นต่ำ หรือราน้ำ มีลักษณะที่สำคัญคือ เส้นเชื้อราไม่มีผนังเซลล์กั้นด้านขวาง เรียกว่า โคโนไซติก ไฮฟีหรืออะเซพเทต ไฮฟี (coenocytic hyphae หรือ aseptate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่ใช้เพศโดยสร้างโซโอสปอร์ หรือสปอร์ที่มีหางในถุงหุ้มโซโอสปอร์ (zoosporangium) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน ให้สปอร์ผนังหนาผิวเรียบ เรียกว่า โอโอสปอร์ (oospore) หรืออาจเกิดจากการผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน แต่ต่างเพศกันให้สปอร์ผนังหนาขรุขระ เรียกว่า ไซโกสปอร์ (zygospore) สปอร์เหล่านี้จะแพร่ระบาดโดยลมพัดพาไป หรือว่ายน้ำไป เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น โรคราน้ำค้างของข้างโพด เกิดจากเชื้อสเคลอโรสปอรา ซอร์ไจ (Scherospora sorghi) โรคราน้ำค้างขององุ่น เกิดจากเชื้อพลาสโมพารา วิทิโคลา (Plasmopara viticola) โรครากเน่าของทุเรียนเกิดจากเชื้อไฟทอฟทอรา (Phytophthora sp.) เป็นต้น

อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง
๒.๑.๒ แอสโคไมซิทิส (ascomycets) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น (septate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศ โดยสร้างสปอร์เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน จะเกิดแอสโคสปอร์ (ascospore) ในถุงหุ้มสปอร์ (ascus) ถุงหุ้มสปอร์นี้อยู่ในกลุ่มเส้นใยซึ่งประสานตัวกัน มีผนังหนาสีดำ เรียกว่า ฟรุตติงบอดี (fruiting) คนโทปากเปิด (perithecium) และรูปถ้วยแชมเปญ (apothecium) ส่วนของฟรุตติงบอดีนี้ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อเกิดบนพืชเป็นโรคโดยจะเห็นเป็นจุดสีดำๆ เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญ เช่น โรคราแป้งขาวขององุ่น กุหลาบ เป็นต้น
กลุ่มเส้นใยของเชื้อราที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
กลุ่มเส้นใยของเชื้อรา
ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ๒.๑.๓ เบสิดิโอไมซิทิส (basidiomycetes) เป็น เชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศโดยสร้าง สปอร์เรียกว่า โคนิเดีย และแบบมีเพศ โดยผสมระหว่างเส้นใยที่ มีลักษณะและเพศต่างกันเกิดสปอร์ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) ซึ่งอาจเกิดอยู่ในฟรุตติงบอดี หรือเกาะติดอยู่บน เส้นใยที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง เรียกว่า เบสิเดียม (Basidium) เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคพืชต่างๆ ที่สำคัญ เช่น โรคสนิม ของพืช โรคเขม่าดำของข้าวโพด เกิดจากเชื้อยูสติลาโก เมย์ดิส (ustilago maydis) โรคเขม่าดำหรือแส้ดำ ของอ้อย เกิดจากเชื้อ ยูสติลาโก ไซตามิเนีย (Ustilago scitaminea) เป็นต้น
๒.๑.๔ ฟังไจอิมเปอร์เฟกไท หรือ ดิวเทอโรไมซิทิส (fungi imperfecti of deuteromycetes) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น นิยมจัดให้เป็นเชื้อราในกลุ่มชั่วคราว เพราะปกติจะไม่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศ แต่เมื่อใดที่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเชื้อราในกลุ่มนี้ ก็จะจัดย้ายเชื้อรานี้เข้าอยู่ในพวกแอสโคไมซิทิส หรือ เบสิดิโอไมซิทิส (ตามลักษณะของสปอร์ที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบมีเพศ) ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศจะมีการสร้างสปอร์ที่เรียกว่า โคนิเดีย เกิดจากก้านสปอร์เรียกว่า โคนิดิโอฟอร์ (conidiophore) หรือบรรจุอยู่ในฟรุตติงบอดี ที่มีรูปร่างหลายแบบ คือ ทรงกลมปิด เรียก พิกนิเดีย (pycnidia) รูปจาน เรียก อาเซอร์วูลัส (acervulus) สปอโรโดเชียม (sporodochium) และซินนีมาตา (synnemata) ฟรุตติงบอดีเหล่านี้สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และนำมาช่วยในการวินิจฉัยโรคได้บางครั้ง การแพร่ระบาดของราในกลุ่มนี้ มักเกิดขึ้น โดยเชื้อปลิวไปกับลม หรือติดไปกับส่วนของพืชและดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้ เป็นสาเหตุของโรคพืช และดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้เป็นสาเหตุของโรคพืชที่สำคัญหลายชนิด เช่น โรคใบจุด ใบไหม้ต่างๆ และรากเน่า เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น ฟิวราเรียม แอลเทอนาเรีย คอลลีโททริเชียม โกลโอสปอเรียม เซอร์โคสปอรา เซอร์วูาลาเรีย และสเคลอโรเชียม เป็นต้น

๒.๒ บัคเตรี (Bacteria)

จัดเป็นพืชเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก ต้องใช้กล้องขยายอย่างน้อย ๑_๐๐๐ เท่า และถ้าจะให้เห็นชัดจะต้องย้อมสีด้วย มีรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด คือ รูปกลม (spherical or coccus) รูปแท่ง (rod shape or bacillus) และรูปเกลียว (spiral or apirillum) บัคเตรีมีทั้งประโยชน์และโทษ พวกที่เป็นสาเหตุของโรคพืชจะมีรูปร่างเป็นแท่ง (rod shape) ไม่มีการสร้างสปอร์ ส่วนใหญ่เป็นพวกแกรมลบ (gram negative) คือย้อมสีติดสีแดงเป็นแอโรบิคบัคเตรี (Aerobic bacteria) คือ ต้องใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่ไม่ทำลายเซลลูโลส และไม่ย่อยแป้ง มักมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในดิน เมื่อปลูกพืช มันก็จะเข้าทำลายพืชชอบสภาพเป็นกรดน้อยๆ และความชื้นสูง แพร่ระบาดได้ดีโดยไปกับน้ำ ลม เศษพืชที่เป็นโรค คุณสมบัติดังกล่าวนี้คือ บัคเตรีในสกุลซูโดโมนัส แซนโทโมนัส เออร์วิเนีย อะโกรแบคทีเรียม โคริเนเบคทีเรียม และสเตร็พโทไมซิส

รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous) รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous)
๒.๓ ไวรัส (virus)

เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา (light microscope) ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ซึ่งมีกำลังขยายสูงจึงจะสามารถมองเห็นได้ ไวรัสประกอบด้วยโปรตีน (protein) และกรดนิวคลิอิก (nucleic acid) ซึ่งกรดนิวคลิอิกนี้จะต้องเป็นชนิดอาร์เอ็นเอ หรือ ดีเอ็นเอ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไวรัสพืชส่วนใหญ่จะประกอบด้วยโปรตีน และกรดนิวคลิอิกชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสทวีจำนวนได้เฉพาะในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์พืช เป็นต้น และมีคุณสมบัติ ทำให้พืชแสดงอาการผิดปกติ หรือเกิดโรคกับพืชนั่นเอง อาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นได้แก่ ใบเปลี่ยนสี เปลี่ยนรูปร่าง พืชแคระแกร็น ไวรัสพืชมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก่
กลุ่มไวรัสพืช
กลุ่มไวรัสพืช
๒.๓.๑ ท่อนสั้น (short rod) ซึ่งมีทั้งท่อนตรงสั้น หัวท้ายตัด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดใบด่างกับยาสูบคือ เชื้อโทแบคโค โมเสค หรือทีเอ็มวี (Tobacco mosaic virus_ TMV) หรือเชื้อท่อนสั้น หัวท้ายมน (bacilliform) และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบสีส้มของข้าง เป็นต้น

๒.๓.๒ รูปกลม (sphaerical) มีตั้งแต่รูปกลมขนาดเล็กลงจนถึงขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคใบด่างของแตง ใบด่างของพิทูเนีย เป็นต้น

๒.๓.๓ ท่อนยาวคด (fleaxeous rod) มีขนาดความยาวแตกต่างกัน และเป็นกลุ่มที่มีไวรัสต่างชนิดจำนวนมาก เช่น ไวรัสทำให้เกิดโรคยอดบิด ใบด่างของกล้วยไม้ตระกูลต่างๆ และพวกที่มีความยาวมากที่สุด ได้แก่ ไวรัสทริสเทซา (tristeza) ทำให้เกิดโรคกับส้มซึ่งมีระบาดทั่วไปในเขตที่มีการปลูกส้ม รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
โรคจู๋ของข้าว
โรคจู๋ของข้าว การเข้าทำลายพืชของไวรัสต้องอาศัยแผล ซึ่งอาจเกิดจากการเสียดสีกัน ของต้นไม้ ในธรรมชาติหรือคนและสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะแมลงเป็นตัวทำ ไวรัสไม่สามารถเข้าทำลายพืชโดยตรงด้วยตัวเอง เหมือนเชื้อราบางชนิด ด้วยเหตุนี้แมลงจึงเป็นพาหะสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไวรัสพืชระบาดได้กว้างขวาง รวดเร็ว และยากลำบากต่อการป้องกัน และกำจัด ตัวอย่างของโรคไวรัสที่สำคัญๆ ในประเทศไทยได้แก่ โรคจู๋ของข้าว โรคใบสีส้มของข้าว โรคใบด่างของพืชหลายชนิด เช่น พริก ยาสูบ แตง ถั่วต่างๆ ฯลฯ
ไวรัสจัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช และเสียหายมาก ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของต่างประเทศ ที่มีการศึกษาทางด้านนี้มาก เช่น มันฝรั่งซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวยุโรปมีไวรัสหลายชนิดเข้าทำลาย และทำให้ผลผลิตลดลงอย่างต่ำที่สุดประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ พืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ ผักและผลไม้ เช่น ส้ม ในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิลมีไวรัสทริสเทซาระบาด โดยมีแมลงเพลี้ยอ่อนเป็นตัวนำโรค ภายในเวลา ๑๒ ปี ทำให้ไร่ส้มเสียหายและตายประมาณ ๖ ล้านต้น (ประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ของส้มที่ปลูก) ในประเทศกานา (Ghana) จำเป็นต้องโค่นต้นโกโก้จำนวนกว่า ๑๐๐ ล้านต้นทิ้งในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคยอดบวมของโกโก้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่แมลงเพลี้ยแป้งเป็นตัวนำ ส่วนองุ่นผลผลิตลดลงประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลจากการทำลายของไวรัสเกรพไวน์แฟนลีด (grapevine fanleaf) ซึ่งแพร่ระบาด โดยมีไส้เดือนฝอยเป็นตัวนำ และติดไปกับส่วนขยายพันธุ์จากต้นเป็นโรค ตัวอย่างเหล่านี้เป็นข้อเตือนใจ ที่เราควรจะได้ศึกษาถึงปัญหาโรคไวรัสในบ้านเรา เพื่อเตรียมการป้องกันเกิดปัญหารุนแรงแก่พืชผลของเราต่อไป
๔. ไมโคพลาสมา (Mycoplasma)

เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคกับพืช โดยอาศัยอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของพืช เชื้อมีขนาดเล็กกว่าบัคเตรี แต่ใหญ่กว่าไวรัส ไม่มีผนังเซลล์จึงมีรูปร่างไม่แน่นอน ไมโคพลาสมาบางชนิดสามารถเลี้ยงได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ มีการแพร่ระบาด โดยมีแมลงบางชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน และถ่ายทอดโรคได้ โดยต้นฝอยทอง (dodder) หรือการติดตาเทียบกิ่ง ลักษณะอาการส่วนใหญ่ที่พืชแสดง เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่ ส่วนของพืชที่มีสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง (yellows) หรือขาว (white leaf) แตกเป็นพุ่ม (witches broom) บริเวณจุดเจริญต่างๆ เช่น ยอดหรือตา ส่วนที่เจริญเป็นดอกมีลักษณะคล้ายใบเป็นกระจุก (phyllody) ลักษณะอื่นๆ คือ ต้นแคระแกร็นและไม่เจริญเติบโต โรคทีสำคัญที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคกรีนนิงของส้ม โรคพุ่มไม้กวาดของลำไย โรคใบขาวของอ้อย เป็นต้น เชื้อไมโคพลาสมา
เชื้อไมโคพลาสมา
๕. ไส้เดือนฝอย (Nematode)

เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้องมีเพศแยกจากกันซึ่งเป็นลักษณะต่างจากไส้เดือนธรรมดา เรามักพบได้ทั่วไป ทั้งในดิน น้ำจืด น้ำเค็ม หรือแม้แต่ในร่างกายของคนและสัตว์ เช่น พยาธิต่างๆ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดโรคกับพืช มีขนาดค่อนข้างเล็กประมาณ ๐.๒-๒ มิลลิเมตร มักเข้าทำลายรากพืชทำให้เกิดอาการรากปม รากเป็นแผล บางชนิดทำลายดอก เมล็ดต้นหรือหน่อ ไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะนำโรคไวรัสพืชและเป็นตัวการแพร่ระบาดโรค โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรครากปมของมะเขือ พริก พืชตระกูลแตง เป็นต้น ลักษณะการเข้าทำลายพืชของไส้เดือนฝอยรากปม คือ เข้าดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณเซลล์รากพืช และปล่อยเอนไซม์มาละลายผนังเซลล์ ทำให้เกิดเซลล์ขนาดใหญ่ หรือปล่อยฮอร์โมนมากระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากผิดปกติ จึงทำให้พืชแสดงอาการรากบวมโต หรือเป็นปุ่มปม บางครั้งทำให้ปลายรากกุด ส่วนอาการที่แสดงบนต้นพืชคือ เหี่ยวเฉา แคระแกร็น ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลผลิตลดน้อย ไส้เดือนฝอยรากปมนี้มีพืชอาศัยเป็นจำนวนมาก ประมาณกว่า ๒_๕๐๐ ชนิด
นอกจากเชื้อต่างๆ ดังกล่าวที่ทำให้เกิดโรคกับพืชแล้วยังมีสิ่งมีชีวิตชั้นสูง คือ พวกมีดอก แต่มีลักษณะบางอย่างไม่สมบูรณ์ เช่น กาฝาก ฝอยทอง ซึ่งนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้พืชเกิดอาการผิดปกติ และการเจริญเติบโตลดน้อยลงแล้ว บางชนิดยังเป็นตัวถ่ายทอดโรค และทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค เช่น ต้นฝอยทองบางชนิดเป็นตัวถ่ายทอดโรค ที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา เป็นต้น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
การจัดการโรคเชื้อราในมะระจีน
การจัดการโรคเชื้อราในมะระจีน
โรคเชื้อราเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญในการปลูกมะระจีน และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อพืชผล ทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง ในบทความนี้ เราจะสำรวจการใช้สารประกอบอินทรีย์และการบำบัด IS เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในมะระ การรักษาด้วย IS เกี่ยวข้องกับการใช้ส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิวและสารฆ่าเชื้อรา ซึ่งสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำอัตราการผสม 50 ซีซี. ของ IS ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

นอกจากนี้ เรายังแนะนำ FK-1 ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช ผลิตภัณฑ์นี้สามารถใช้บำรุงพืชในขณะเดียวกันก็ป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เราแนะนำให้ผสมอัตราส่วน 50 กรัมของถุงแรก (มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม) และ 50 กรัมของถุงที่สอง (มีแมกนีเซียมและสังกะสี) กับน้ำ 20 ลิตร เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

โดยรวมแล้ว การใช้ IS บำบัดและสารประกอบอินทรีย์เช่น FK-1 สามารถให้วิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดการโรคเชื้อราในการปลูกมะระจีน การปฏิบัติตามกลยุทธ์การป้องกันและการกำจัดที่แนะนำซึ่งระบุไว้ในบทความนี้ ผู้ปลูกสามารถปรับปรุงสุขภาพและผลผลิตของพืชผลของตนได้
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนเจาะผล ใน แตงกวา และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนเจาะผล ใน แตงกวา และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
หนอนเจาะผลเป็นหนึ่งในศัตรูพืชที่พบได้บ่อยและทำลายล้างแตงกวาได้ แมลงเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผล ทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ เกษตรกรจำนวนมากหันไปใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มีทางเลือกอื่นที่ทั้งมีประสิทธิภาพและปลอดภัย: บาซิลลัสยี่ห้อบาซิเร็กซ์

บาซิลลัส ตรา บาซิเร็กซ์ คือ บาซิลลัส ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในดิน สายพันธุ์นี้โดยเฉพาะ Bacillus thuringiensis var. kurstaki (Btk) ได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะสำหรับการป้องกันและกำจัดหนอนเจาะผลในแตงกวา ทำงานโดยการผลิตสารพิษที่ทำลายตัวอ่อนของศัตรูพืชเหล่านี้ได้ ในขณะเดียวกันก็ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

ข้อได้เปรียบหลักประการหนึ่งของการใช้ Bacillus ยี่ห้อ Basirix คือเป็นสารละลายธรรมชาติและออร์แกนิก ซึ่งแตกต่างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งสามารถทิ้งสารพิษตกค้างบนพืชผลและในดิน Bacillus ยี่ห้อ Basirix แตกตัวอย่างรวดเร็วและไม่สะสมในสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้ทำให้เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับเกษตรกรที่ต้องการปกป้องพืชผลของตนโดยไม่กระทบต่อสุขภาพของโลก

ข้อดีอีกอย่างของ Bacillus ยี่ห้อ Basirix คือใช้งานง่าย ผลิตภัณฑ์มาในรูปแบบผงซึ่งสามารถผสมกับน้ำและใช้กับพืชผลโดยใช้เครื่องพ่นสารเคมี สามารถใช้ป้องกันหรือรักษา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการรบกวน เกษตรกรยังสามารถผสมผสาน Bacillus ยี่ห้อ Basirix เข้ากับวิธีการเกษตรอินทรีย์อื่นๆ เช่น การปลูกพืชหมุนเวียนและการปลูกร่วม เพื่อสร้างกลยุทธ์การจัดการศัตรูพืชแบบองค์รวม

นอกจากประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนเจาะผลไม้ในแตงกวาแล้ว Bacillus ยี่ห้อ Basirex ยังแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพกับแมลงศัตรูพืชอื่นๆ เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนม้วนใบ และหนอนกองทัพ ในพืชหลากหลายชนิด เช่น ข้าวโพด มะเขือเทศ และพริก สิ่งนี้ทำให้เป็นโซลูชันอเนกประสงค์ที่สามารถใช้ในบริบทและภูมิภาคต่างๆ

โดยรวมแล้ว Bacillus ยี่ห้อ Basirix เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับการป้องกันและกำจัดหนอนเจาะผลในแตงกวา การเลือกทางเลือกจากธรรมชาตินี้ เกษตรกรสามารถปกป้องพืชผล สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของชุมชนได้

บาซีเร็กซ์ : เชื้อบาซิลลิซ

ช่วยป้องกันและกำจัดแมลงในระยะ หนอน ในสวนไร่และแปลงผัก เช่น

หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม
หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนร่าน หนอนแปะใบส้ม หนอนไหมป่า
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนแก้วส้ม หนอนกินสนสามใบ
หนอนหัวดำมะพร้าว หนอนผีเสื้อ หนอนกินใบผัก หนอนบุ้ง หนอนคืบละหุ่ง

วิธีการใช้งาน

- ผสมน้ำ 75 กรัมหรือ 6 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร

- ฉีดพ่น ใบ กิ่ง ก้าน และ ลำต้น

- ฉีดพ่นเฉพาะในช่วงเย็นตอนที่มีแดดร่ม ลมสงบ

- ฉีดทุก 3-5 วัน

- สามารถใช้รวมกับเชื้อเมธาไรเซียม และ บิวเวอร์เรีย

- ไม่ควรใช้ร่วมกับยาเคมี

ปลอดภัยต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค และผู้ใช้

ไม่มีพิษตกค้างเมื่อพ่น สามารถนำพืชมาบริโภคได้ทันที
มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ จึงสามารถใช้แทนสารเคมีกำจัดแมลง ศัตรูพืชได้

❌ไม่ควรผสมเชื้อ บี ที กับสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น สารปฏิชีวนะและสารประกอบทองแดง คอปเปอร์ คลอไรด์ เป็นต้น❌
ควรฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็นที่มีแสงแดดอ่อน 06.00-09.00 น. หรือ 16.00-18.00 น.

สั่งซื้อ
โทร 097-918-3530
ไลน์ janemini1112
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
ปุ๋ยข้าวโพด FK-1 และ FK-3 ฉีดพ่นข้าวโพด ส่งเสริมการเจริญเติบโต ได้ผลผลิตมากขึ้น ด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นดังนี้
ปุ๋ยข้าวโพด FK-1 และ FK-3 ฉีดพ่นข้าวโพด ส่งเสริมการเจริญเติบโต ได้ผลผลิตมากขึ้น ด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นดังนี้
ปุ๋ยข้าวโพด FK-1 และ FK-3 ฉีดพ่นข้าวโพด ส่งเสริมการเจริญเติบโต ได้ผลผลิตมากขึ้น ด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นดังนี้
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด สารอาหารเหล่านี้เรียกกันทั่วไปว่า NPK และมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ต้นข้าวโพดเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์แข็งแรง

ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารสีที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเขียวและช่วยให้ข้าวโพดสามารถผลิตพลังงานผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง หากไม่มีไนโตรเจนเพียงพอ ต้นข้าวโพดจะแคระแกรนและมีสีเหลืองพร้อมผลผลิตลดลง

ฟอสฟอรัสเป็นสารอาหารที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสำหรับข้าวโพด มีส่วนร่วมในกระบวนการที่สำคัญหลายอย่าง รวมถึงการผลิตพลังงานและการสังเคราะห์ DNA และ RNA หากไม่มีฟอสฟอรัสเพียงพอ ต้นข้าวโพดจะมีการเจริญเติบโตลดลงและอาจอ่อนแอต่อโรคต่างๆ

โพแทสเซียมยังจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของข้าวโพด ช่วยให้พืชควบคุมการดูดซึมน้ำและสารอาหาร ตลอดจนรักษาระบบรากให้แข็งแรง หากไม่มีโพแทสเซียมเพียงพอ ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อความแห้งแล้งและความเครียดอื่นๆ

นอกจากคุณประโยชน์เหล่านี้แล้ว การรวมกันของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมยังช่วยส่งเสริมดินให้แข็งแรงอีกด้วย ความสมดุลของ NPK ที่เหมาะสมจะช่วยรักษาโครงสร้างของดิน ปรับปรุงความพร้อมของธาตุอาหาร และสนับสนุนการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การกักเก็บน้ำที่ดีขึ้น การเจริญเติบโตของรากที่ดีขึ้น และพืชโดยรวมมีสุขภาพที่ดีขึ้น

เพื่อให้แน่ใจว่าต้นข้าวโพดสามารถเข้าถึง NPK ในปริมาณที่เพียงพอ เกษตรกรมักจะใช้ปุ๋ยที่ให้สารอาหารเหล่านี้ มีปุ๋ยหลายประเภทให้เลือก และปุ๋ยที่เหมาะกับต้นข้าวโพดจะขึ้นอยู่กับชนิดของดินและปัจจัยอื่นๆ สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากปุ๋ยอย่างระมัดระวังและตรวจสอบสุขภาพของต้นข้าวโพดเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับ NPK ในปริมาณที่เหมาะสม

โดยสรุปแล้ว ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด สารอาหารเหล่านี้ช่วยให้ต้นข้าวโพดเติบโตแข็งแรงและมีสุขภาพดี และยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาดินให้แข็งแรงอีกด้วย การให้ NPK แก่ต้นข้าวโพดของคุณในปริมาณที่เพียงพอ คุณสามารถช่วยให้แน่ใจว่าพวกมันมีทุกสิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

แมกนีเซียมและสังกะสีเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับต้นข้าวโพด เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ

แมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบของโมเลกุลคลอโรฟิลล์ซึ่งจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้นการขาดแมกนีเซียมอาจทำให้การสังเคราะห์แสงลดลงและผลผลิตของต้นข้าวโพดลดลง นอกจากนี้ แมกนีเซียมยังมีส่วนร่วมในการกระตุ้นเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเมตาบอลิซึมต่างๆ รวมถึงการสังเคราะห์โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต

ในทางกลับกันสังกะสีมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์ฮอร์โมนและเอนไซม์ที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นข้าวโพด นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการควบคุมการแสดงออกของยีนและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของพืช

ระดับแมกนีเซียมและสังกะสีในดินที่เพียงพอสามารถปรับปรุงสุขภาพโดยรวมและผลผลิตของต้นข้าวโพดได้ ตัวอย่างเช่น การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเสริมธาตุสังกะสีให้กับต้นข้าวโพดสามารถเพิ่มความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งนำไปสู่ผลผลิตที่สูงขึ้น

โดยสรุป แมกนีเซียมและสังกะสีเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับต้นข้าวโพด เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ รวมถึงการสังเคราะห์ด้วยแสง การกระตุ้นเอนไซม์ การสังเคราะห์ฮอร์โมน และการแสดงออกของยีน สารอาหารเหล่านี้ในระดับที่เพียงพอสามารถปรับปรุงสุขภาพโดยรวมและผลผลิตของต้นข้าวโพด ซึ่งนำไปสู่ผลผลิตที่สูงขึ้น
อ่าน:3542
โรคเชื้อราในต้นยาสูบ: สาเหตุและการป้องกัน
โรคเชื้อราในต้นยาสูบ: สาเหตุและการป้องกัน
ต้นยาสูบมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคเชื้อราได้หลายชนิด ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผล ลดผลผลิต และส่งผลต่อคุณภาพของยาสูบที่ผลิตได้ โรคเชื้อราเกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่โจมตีใบ ลำต้น และรากของต้นยาสูบ ทำให้ขัดขวางการเจริญเติบโตและพัฒนาของต้นยาสูบ ในบทความนี้ เราจะสำรวจโรคเชื้อราที่พบบ่อยที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อต้นยาสูบ และแนะนำวิธีการป้องกันและกำจัดโดยใช้ IS และ FK-1

บลูโมลด์
Blue Mold เป็นโรคเชื้อราที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและสามารถสร้างความเสียหายอย่างมากต่อต้นยาสูบ โรคนี้จะปรากฏเป็นจุดที่มีน้ำขังบนใบ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งอย่างรวดเร็ว จุดเหล่านี้มักมาพร้อมกับราสีน้ำเงินอมเทาที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในสภาวะที่มีความชื้น ราสีน้ำเงินเกิดจากเชื้อรา Peronospora tabacina และสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้สารฆ่าเชื้อราในเวลาที่เหมาะสม สามารถใช้ IS และ FK-1 เพื่อป้องกันต้นยาสูบจากเชื้อราสีน้ำเงิน

โรคราแป้ง
โรคราแป้งเป็นโรคเชื้อราทั่วไปที่มีผลต่อต้นยาสูบ โดยเฉพาะในช่วงที่มีความชื้นสูง โรคนี้ปรากฏเป็นผงสีขาวบนใบ ลำต้น และดอกของต้นไม้ โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Erysiphe cichoracearum และสามารถป้องกันได้โดยการใช้ยาฆ่าเชื้อราในเวลาที่เหมาะสม การใช้ IS และ FK-1 สามารถช่วยป้องกันการโจมตีของโรคราแป้งได้

ก้านดำ
Black Shank เป็นโรคเชื้อราที่มีผลต่อรากของต้นยาสูบ โรคนี้จะปรากฏเป็นแผลสีน้ำตาลดำบนราก ซึ่งในที่สุดจะทำให้รากเน่าและตายได้ Black Shank เกิดจากเชื้อรา Phytophthora parasitica และสามารถป้องกันได้โดยการใช้ยาฆ่าเชื้อราอย่างทันท่วงที การใช้ IS และ FK-1 สามารถช่วยป้องกันการโจมตีของ Black Shank ได้เช่นกัน

จุดสีน้ำตาล
จุดสีน้ำตาลเป็นโรคเชื้อราที่มีผลต่อใบของต้นยาสูบ โรคนี้จะปรากฏเป็นจุดสีน้ำตาลบนใบ ซึ่งอาจทำให้ใบร่วงก่อนกำหนดได้ จุดสีน้ำตาลเกิดจากเชื้อรา Alternaria alternata และสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้สารฆ่าเชื้อราอย่างทันท่วงที การใช้ IS และ FK-1 ยังช่วยป้องกันการเกิดจุดสีน้ำตาลได้อีกด้วย

เพื่อป้องกันโรคเชื้อราในต้นยาสูบ สิ่งสำคัญคือต้องฝึกฝนการจัดการพืชผลที่ดี ซึ่งรวมถึงการรักษาความชื้นในดินให้เพียงพอ ให้สารอาหารที่เหมาะสมแก่พืช และกำจัดวัสดุพืชที่ติดเชื้อออกจากแปลงทันที การใช้สารกำจัดเชื้อราอย่างทันท่วงทียังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเชื้อราในต้นยาสูบ

IS และ FK-1 เป็นสองผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นยาสูบ IS เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในขณะเดียวกันก็ช่วยบำรุงพืช FK-1 เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี และสารลดแรงตึงผิวซึ่งช่วยบำรุงพืชและเพิ่มความสามารถในการต้านทานโรคเชื้อรา เมื่อใช้ IS และ FK-1 สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามอัตราการผสมที่แนะนำเพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้งานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

สรุปได้ว่าโรคเชื้อราสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและผลผลิตของต้นยาสูบได้อย่างมีนัยสำคัญ สิ่งสำคัญคือต้องฝึกฝนการจัดการพืชผลที่ดีและใช้วิธีการป้องกันและกำจัดที่เหมาะสม เช่น IS และ FK-1 เพื่อป้องกันและจัดการโรคเหล่านี้ เกษตรกรสามารถช่วยให้แน่ใจว่าพืชยาสูบแข็งแรงและให้ผลผลิต
อ่าน:3542
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในต้นข้าว เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็ก
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในต้นข้าว เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็ก
Trichoderma Trichorex: กุญแจสำคัญในการป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นข้าว

ข้าวเป็นหนึ่งในพืชผลที่สำคัญที่สุดในโลก เป็นอาหารสำหรับผู้คนหลายพันล้านคน อย่างไรก็ตาม โรคเชื้อราสามารถสร้างความเสียหายอย่างมากต่อต้นข้าว ทำให้ผลผลิตลดลงและคุณภาพของพืชลดลง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกษตรกรได้หันมาใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มามากขึ้นเพื่อเป็นทางออกทางธรรมชาติในการป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นข้าว ในบรรดาเชื้อราไตรโคเดอร์มายี่ห้อต่างๆ ที่มีอยู่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ เป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือที่สุดวิธีหนึ่ง

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ คืออะไร?

เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichorex เป็นเชื้อราไตรโคเดอร์มายี่ห้อหนึ่งที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นข้าวโดยเฉพาะ เชื้อราไตรโคเดอร์มาคือเชื้อราชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในดินและเป็นที่รู้จักในด้านความสามารถในการปกป้องพืชจากเชื้อโรคต่างๆ เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichorex ประกอบด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์หนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นข้าวโดยเฉพาะ

เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichorex ทำงานอย่างไร?

เชื้อรา Trichoderma Trichorex ทำงานโดยการเกาะรากของต้นข้าว สร้างเกราะป้องกันเชื้อรา เชื้อราไตรโคเดอร์มาผลิตเอนไซม์ที่ทำลายผนังเซลล์ของเชื้อราที่ก่อโรค ทำให้ติดเชื้อในต้นข้าวได้ยากขึ้น นอกจากนี้ เชื้อรา Trichoderma Trichorex ยังผลิตสารปฏิชีวนะที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเชื้อราในต้นข้าว

ประโยชน์ของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichorex

ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ในการป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นข้าวมีหลายประการ ประการแรก เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichorex เป็นสารธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อต้นข้าวหรือระบบนิเวศโดยรอบ ประการที่สอง เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ง่ายต่อการนำไปใช้และสามารถบูรณาการเข้ากับแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่มีอยู่ ในที่สุด เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ช่วยลดการเกิดโรคเชื้อราในต้นข้าวได้อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีขึ้น

วิธีใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichorex

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ มักจะใช้กับดินรอบรากของต้นข้าว ผลิตภัณฑ์มาในรูปแบบผงที่สามารถผสมกับน้ำหรือวัสดุตัวพาอื่นๆ เช่น รำข้าวหรือปุ๋ยหมักก่อนนำไปใช้ อัตราการใช้ที่แนะนำจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคเชื้อราในพื้นที่ แต่โดยทั่วไป เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ 1-2 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ก็เพียงพอแล้ว ควรใช้ผลิตภัณฑ์ในระยะแรกของการเจริญเติบโตของพืชเพื่อให้แน่ใจว่ามีการป้องกันโรคเชื้อราได้ดีที่สุด

บทสรุป

โรคเชื้อราสามารถสร้างความเสียหายอย่างมากต่อต้นข้าว ทำให้ผลผลิตลดลงและคุณภาพของพืชลดลง เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichorex เป็นเชื้อราไตรโคเดอร์มายี่ห้อหนึ่งที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นข้าวโดยเฉพาะ เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichorex ทำงานโดยการเพิ่มจำนวนรากของต้นข้าวและผลิตเอนไซม์และยาปฏิชีวนะที่ป้องกันเชื้อราที่ก่อโรค การใช้เชื้อรา Trichoderma Trichorex สามารถช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพของต้นข้าวได้ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมวิธีการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อะมิโนโปรตีนจำเป็นต่อพืช 18 ชนิด ช่วนในการส้รางฮอร์โมนพืช โตไว ผลใหญ่ แข็งแรง ทนแล้ง ทนโรค ทำไห้เกิดการสร้างและขยายขนาดของเซลล์เนื้อเยื่อ และพัฒนาส่วนต่างๆของพืชเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบ ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

สั่งซื้อ
โทร 097-918-3530
facebook โรงงานปุ๋ยไดโนเร็กซ์
ไลน์ janemini1112
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link..
3582 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 358 หน้า, หน้าที่ 359 มี 2 รายการ
|-Page 162 of 359-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 | 358 | 359 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ลองกอง และพืช ทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/23 11:12:36 - Views: 3501
แนวโน้มปาล์มน้ำมันในประเทศไทย ปี 2568 (2025)
Update: 2567/11/25 11:56:31 - Views: 965
ไขข้อข้องใจ … ทำไมแหนมถึงกินดิบได้?
Update: 2565/11/16 13:48:55 - Views: 6828
ผลักดันกฎหมาย กระจายถือครองที่ดิน ช่วยเกษตรกร-รายย่อย-แรงงาน
Update: 2564/03/24 22:13:07 - Views: 3458
มันหวานญี่ปุ่น ใบจุด หัวเน่า กำจัดโรคมันหวานญี่ปุ่น จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/11/10 09:57:45 - Views: 3504
โรคราน้ำค้างในคะน้า: วิธีป้องกันและกำจัดโรคพืชจากเชื้อรา
Update: 2566/05/15 11:15:11 - Views: 3580
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: เพิ่มประสิทธิภาพในทุกช่วงอายุของต้นพุทรา
Update: 2567/02/12 14:55:27 - Views: 3534
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
Update: 2565/08/23 05:37:11 - Views: 3532
ส้ม ใบไหม้ รากเน่า โคนเน่า กำจัดโรคส้ม จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/25 09:52:58 - Views: 3485
ความรู้ด้านการเกษตร ดอกทานตะวันสีแดง
Update: 2565/11/14 13:48:43 - Views: 3553
การปลูกมะม่วง: ให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ
Update: 2566/04/29 08:32:04 - Views: 3486
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 10578
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60: สูตรลับผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก สำหรับต้นลองกอง
Update: 2567/03/05 10:52:32 - Views: 3534
ยากำจัดโรคแอนแทรคโนส ในดอกกล้วยไม้ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/10 16:00:26 - Views: 3522
มะนาว โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ แข็งแรง ผลผลิตดี อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/01 14:22:46 - Views: 3493
เงาะ ใบไหม้ ผลเน่า ราแป้ง กำจัดโรคเงาะ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/11/01 10:16:33 - Views: 3518
ยากำจัดโรคตายพลาย ใน ต้นกล้วย โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/05 13:47:24 - Views: 3564
มังคุด ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/18 15:12:01 - Views: 3787
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า ใน ชมพู่ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/12 13:16:48 - Views: 3503
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - เคล็ดลับการปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืชแอ๊ปเปิ้ล
Update: 2567/02/13 09:25:43 - Views: 3565
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022