[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3518 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 8 รายการ

 
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ปัจจุบันปัญหาด้านเศรษฐกิจนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที เนื่องจากจำนวนประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เนื้อที่ทำการเกษตรมีจำกัด หรืออาจน้อยลง เพราะส่วนหนึ่งต้องนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ทางด้านการเกษตรที่มีอยู่ ในการเพาะปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ลดผลผลิตของพืช คือ ปัญหาศัตรูพืช ซึ่งหมายถึง โรคพืชและแมลง แมลงและสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคกับพืช เป็นสิ่งมีชีวิต ได้พยายามปรับตัว เพื่อต่อสู้วิธีการป้องกัน และกำจัดของมนุษย์ตลอดมา เพื่อความอยู่รอด การศึกษาด้านศัตรูพืชจึงต้องกระทำติดต่อตลอดไป เพื่อให้เข้าใจถึงวัฎจักรการเข้าทำลายพืชของแมลงและโรค และใช้วิธีที่เหมาะสมในการป้องกัน และกำจัด เพื่อแก้ปัญหาศัตรูพืชเหล่านี้ให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะด้านโรคพืช ถ้าจะมีใครสักคนถามว่า ความหมายของโรคพืชคืออะไร คงจะให้คำจำกัดความที่แน่นอนลงไปได้ยาก แต่ก็พอจะสรุปว่า เมื่อพืชแสดงอาการผิดปกติไปจากเดิม มีผลทำให้เกิดการสูญเสีย ในแง่การเจริญเติบโต และผลผลิตลดลง ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือยาวก็ตาม ก็ถือว่า พืชเป็นโรคทั้งสิ้น ดังจะได้กล่าวถึง ในรายละเอียดของอาการที่ผิดปกติต่อไป

อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่งของการขาดธาตุอาหาร อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่ง ของการขาดธาตุอาหาร
ความเสียหายที่เกิดจากโรคพืช ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ ๓ ประการ คือ ความอ่อนแอของพืชต่อการเกิดโรค ความรุนแรงของเชื้อโรค และสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ การเกิดโรค เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสภาพ ความเป็นกรด และด่างของดิน ฯลฯ ในกรณีที่พืชอ่อนแอต่อโรคมาก เชื้อโรคมีความรุนแรงมากและสภาพแวดล้อมเหมาะสม ความเสียหาย จะเกิดขึ้นรุนแรง ในอดีต โรคไหม้ (blight) ของมันฝรั่งเคย ระบาดรุนแรง ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งในประเทศไอร์แลนด์ลดต่ำลง จนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคของประชาชน ทำให้ประชาชนอดอาหาร ล้มตายเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทย โรคพืชชนิดต่างๆ เช่น โรคใบสีส้มของข้าว โรคราน้ำค้างของ ข้าวโพด โรครากเน่าของทุเรียน ทำให้ผลผลิตของพืชลดลง คิดเป็นมูลค่าปีละหลายพันล้านบาท

โรคพืช แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต

สิ่งไม่มีชีวิตที่สามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติแก่พืชได้แก่

๑.๑ ปุ๋ย

พืชที่ขาดธาตุอาหาร หรือได้รับธาตุอาหารมากเกินไป หรือภาษาทางการเกษตร ที่เรามักจะคุ้นเคยเรียกว่า พืชขาดปุ๋ย หรือได้รับปุ๋ยมากเกินไป ปกติธาตุอาหารเหล่านี้ มักมีอยู่ในดิน เพียงพอต่อความต้องการของพืช แต่บางกรณี สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ไม่เหมาะสม ทำให้ธาตุอาหารต่างๆ เหล่านี้ เปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดนำมาใช้ได้ หรือบางครั้ง เราปลูกพืชซ้ำที่เดิมเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปรับดินให้ปุ๋ย จึงทำให้ดินบริเวณนั้นขาดแคลนธาตุอาหาร และพืชแสดงอาการเป็นโรคขาดธาตุอาหารให้เห็น อาการที่เกิดจากธาตุอาหารนี้ ส่วนใหญ่สังเกตได้ที่ใบอ่อน และใบแก่ โดยจะมีอาการเปลี่ยนสี ใบมีขนาดเล็กลง ม้วนขึ้น หรืองดลง ตลอดจนการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตผิดปกติ ตัวอย่างกรณีให้ปุ๋ยมากเกินไป อาจทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาตาย หรือใบงามจนเกินไป และไม่ออกรวง เช่น ข้าวเป็นโรคเฝือใบ เนื่องจากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป หรือกล้วยไม้ พวกหวายมาดามตัดดอก มีการบำรุง และเร่งการออกดอก ด้วยปุ๋ยสูตรชนิดต่างๆ โดยมิให้ต้นไม้มีการพักตัว ปรากฏว่า ดอกมาดามที่ตัดจากต้นเหล่านี้มีคุณภาพเลวลง โดยมีระยะการบานไม่ทน เหี่ยวเฉา และหลุดร่วงง่าย ทำให้เสียมาตรฐานคุณภาพไม้ตัดดอก และนำมาซึ่งปัญหาการตลาดระหว่างประเทศต่อไป
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ
เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ส่วนอาการพืช เนื่องจากขาดธาตุอาหาร พบได้บ่อยครั้ง เช่น โรคอ้อยขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิดอาหารใบเหลืองซีด ส้มที่ขาดธาตุสังกะสี หรือที่เรียกว่า ใบแก้วของส้ม ใบที่ยอดอ่อนจะเรียวเล็ก และชี้ขึ้น หรือโรคก้นเน่าของมะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม เป็นต้น
๑.๒ ดินที่มีสภาพความเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไป

โดยปกติสภาพความเป็นกรดด่างของดิน มิใช่ตัวควบคุมการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่มีผลทางอ้อมต่อพืช ในการนำธาตุอาหารในดินมาใช้ หรือในแง่การเจริญเติบโต และอยู่ร่วมกันของเชื้อจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะมีผลช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตดี หรือผิดปกติไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและพืชแต่ละชนิด เรามักได้ยินคำว่า ดินเปรี้ยว ทำให้พืชมีขนาดเล็ก การเจริญเติบโตช้า อันเนื่องมาจากความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ทำให้พืชไม่สามารถใช้ธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือมีการเสริมให้เชื้อโรคในดินบางชนิดระบาดรุนแรงขึ้น เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ และพืชบางชนิด ซึ่งเกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) จะแสดงอาการโรครุนแรงมาก ในดินกรด หรือค่อนข้างไปทางกรด ในทางตรงกันข้าม เชื้อราเวอร์ติซิลเลียม (Verticillium sp.) ซึ่งทำให้เกิดอาการเหี่ยวของมะเขือเทศเช่นเดียวกัน จะทำให้เป็นโรครุนแรงในสภาพดินด่าง เป็นต้น
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
๑.๓ วิธีการทางเขตกรรม

วิธีการนี้มีหลายกรณี เนื่องจากการเพาะปลูก จำเป็นต้องมีการเตรียมดินฆ่าเชื้อในแปลงปลูกที่เคยเป็นโรคมาก่อน หรืออุปกรณ์ในการเพาะกล้า และย้ายปลูก บางครั้งฤทธิ์ตกค้างของสารเคมีบางชนิดยังคงอยู่ และทำให้เกิดอาการผิดปกติกับพืชได้ การกำจัดวัชพืช หรือการใช้ปุ๋ยซึ่งมีวิธีต่างๆ กันอาจกระทบกระเทือนระบบราก และทำให้เกิดอาการเหี่ยวเฉา การยึดพืชกับเครื่องปลูก หรือสิ่งยึดเกาะ หากไม่แข็งแรงพอจะทำให้ระบบรากสั่นคลอน เนื่องจากกระแสลม หรือแรงกระทำอื่นๆ ทำให้รากไม่ยึดเกาะดิน หรือเครื่องปลูก อาจทำให้พืชเหี่ยวเฉา หรือถึงแห้งตายได้ มักจะเกิดกับกล้วยไม้ และการปลูกพวกกิ่งตอนต่างๆ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ยแล้วขาดการรดน้ำ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ย แล้วขาดการรดน้ำ
๑.๔ แสงแดดหรืออากาศที่ร้อนจัดเกินไป

มีพืชบางชนิด ที่ไม่สามารถทนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ เช่น พวกพืชอวบน้ำ ใบหนา เมื่อมีหยดน้ำเกาะติดบนใบพืชและถูกแสงอาทิตย์ส่องนานๆ จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกทำลายเป็นเซลล์ตาย สีน้ำตาลหรือสีดำ และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคอื่นๆ เช่น เชื้อรา เชื้อบัคเตรี ฯลฯ นอกจากนี้ในโรงเรือนที่อบ หรือการขนส่งจำนวนมากๆ ในสภาพอากาศร้อนจัด มักทำให้พืชได้รับการกระทบกระเทือนมีอาการตายนิ่ง สลัดใบทิ้ง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หรืออาจถึงแห้งตาย มักเกิดขึ้นกับพืชทุกชนิด
๑.๕ ความชื้นมากหรือน้อยเกินไป

ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเจริญเติบโตของพืช แต่ถ้าความชื้นมากเกินไป ก็มักจะช่วยส่งเสริมการเกิดโรคได้มากขึ้น เช่น การบรรจุไม้ตัดดอกส่งต่างประเทศ จะต้องมีกรรมวิธีการบรรจุที่ถูกต้อง ช่อไม้ดอกจะต้องแห้งปราศจากหยดน้ำบริเวณกลีบดอก ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาดอกเน่า จากการเข้าทำลายของเชื้อบางชนิด ในขณะที่มีการขนส่งไปยังตลาดในระยะทางไกลๆ หรือหากปลูกพืชแช่อยู่ในดิน หรือบริเวณที่ปลูกที่น้ำขัง การระบายน้ำไม่ดี ก็มักจะทำให้ระบบรากเน่า หรือเชื้อโรคในดินเข้าทำลายระบบรากได้ง่าย แต่ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ก็จะมีผลโดยตรงกับการเจริญของพืช ต้นพืชจะเหี่ยวเฉา และโตช้า อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
๒. โรคที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิต

มีเชื้อโรคหลายชนิด ที่ทำให้พืชเป็นโรค เชื้อแต่ละชนิดมีคุณสมบัติการเข้าทำลายพืช และการแพร่ระบาดโรคแตกต่างกันไป จึงขอกล่าวถึงเชื้อแต่ละชนิดพอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้

๒.๑ เชื้อรา

เป็นเชื้อที่พบว่า ทำให้เกิดโรคแก่พืชมากที่สุด และทำให้เกิดอาการประเภทต่างๆ บนพืชมากที่สุดด้วย เช่น ใบเป็นแผลจุด ใบไหม้ ใบติด ใบเหี่ยว รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือแห้งตายทั้งต้น เชื้อราส่วนใหญ่มีการแพร่ระบาดโรคด้วยส่วนที่เรียกว่า สปอร์ (spore) โดยมี น้ำ ลม หรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนำ หรืออาจติดไปกับส่วนของพืชและดินที่เป็นโรค เชื้อราบางชนิดพักตัวอยู่ในส่วนของพืชและดินเป็นเวลานานนับปี มีความสามารถในการเข้าทำลายพืชได้ทั้งทางแผล ช่องเปิดธรรมชาติ หรือเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชโดยตรงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา

อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา
เชื้อราแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๔ กลุ่มด้วยกันคือ

๒.๑.๑ ไฟโคไมซิทิส (phycomycets) เรามักเรียก เชื้อราในกลุ่มนี้ว่า ราชั้นต่ำ หรือราน้ำ มีลักษณะที่สำคัญคือ เส้นเชื้อราไม่มีผนังเซลล์กั้นด้านขวาง เรียกว่า โคโนไซติก ไฮฟีหรืออะเซพเทต ไฮฟี (coenocytic hyphae หรือ aseptate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่ใช้เพศโดยสร้างโซโอสปอร์ หรือสปอร์ที่มีหางในถุงหุ้มโซโอสปอร์ (zoosporangium) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน ให้สปอร์ผนังหนาผิวเรียบ เรียกว่า โอโอสปอร์ (oospore) หรืออาจเกิดจากการผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน แต่ต่างเพศกันให้สปอร์ผนังหนาขรุขระ เรียกว่า ไซโกสปอร์ (zygospore) สปอร์เหล่านี้จะแพร่ระบาดโดยลมพัดพาไป หรือว่ายน้ำไป เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น โรคราน้ำค้างของข้างโพด เกิดจากเชื้อสเคลอโรสปอรา ซอร์ไจ (Scherospora sorghi) โรคราน้ำค้างขององุ่น เกิดจากเชื้อพลาสโมพารา วิทิโคลา (Plasmopara viticola) โรครากเน่าของทุเรียนเกิดจากเชื้อไฟทอฟทอรา (Phytophthora sp.) เป็นต้น

อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง
๒.๑.๒ แอสโคไมซิทิส (ascomycets) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น (septate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศ โดยสร้างสปอร์เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน จะเกิดแอสโคสปอร์ (ascospore) ในถุงหุ้มสปอร์ (ascus) ถุงหุ้มสปอร์นี้อยู่ในกลุ่มเส้นใยซึ่งประสานตัวกัน มีผนังหนาสีดำ เรียกว่า ฟรุตติงบอดี (fruiting) คนโทปากเปิด (perithecium) และรูปถ้วยแชมเปญ (apothecium) ส่วนของฟรุตติงบอดีนี้ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อเกิดบนพืชเป็นโรคโดยจะเห็นเป็นจุดสีดำๆ เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญ เช่น โรคราแป้งขาวขององุ่น กุหลาบ เป็นต้น
กลุ่มเส้นใยของเชื้อราที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
กลุ่มเส้นใยของเชื้อรา
ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ๒.๑.๓ เบสิดิโอไมซิทิส (basidiomycetes) เป็น เชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศโดยสร้าง สปอร์เรียกว่า โคนิเดีย และแบบมีเพศ โดยผสมระหว่างเส้นใยที่ มีลักษณะและเพศต่างกันเกิดสปอร์ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) ซึ่งอาจเกิดอยู่ในฟรุตติงบอดี หรือเกาะติดอยู่บน เส้นใยที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง เรียกว่า เบสิเดียม (Basidium) เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคพืชต่างๆ ที่สำคัญ เช่น โรคสนิม ของพืช โรคเขม่าดำของข้าวโพด เกิดจากเชื้อยูสติลาโก เมย์ดิส (ustilago maydis) โรคเขม่าดำหรือแส้ดำ ของอ้อย เกิดจากเชื้อ ยูสติลาโก ไซตามิเนีย (Ustilago scitaminea) เป็นต้น
๒.๑.๔ ฟังไจอิมเปอร์เฟกไท หรือ ดิวเทอโรไมซิทิส (fungi imperfecti of deuteromycetes) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น นิยมจัดให้เป็นเชื้อราในกลุ่มชั่วคราว เพราะปกติจะไม่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศ แต่เมื่อใดที่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเชื้อราในกลุ่มนี้ ก็จะจัดย้ายเชื้อรานี้เข้าอยู่ในพวกแอสโคไมซิทิส หรือ เบสิดิโอไมซิทิส (ตามลักษณะของสปอร์ที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบมีเพศ) ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศจะมีการสร้างสปอร์ที่เรียกว่า โคนิเดีย เกิดจากก้านสปอร์เรียกว่า โคนิดิโอฟอร์ (conidiophore) หรือบรรจุอยู่ในฟรุตติงบอดี ที่มีรูปร่างหลายแบบ คือ ทรงกลมปิด เรียก พิกนิเดีย (pycnidia) รูปจาน เรียก อาเซอร์วูลัส (acervulus) สปอโรโดเชียม (sporodochium) และซินนีมาตา (synnemata) ฟรุตติงบอดีเหล่านี้สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และนำมาช่วยในการวินิจฉัยโรคได้บางครั้ง การแพร่ระบาดของราในกลุ่มนี้ มักเกิดขึ้น โดยเชื้อปลิวไปกับลม หรือติดไปกับส่วนของพืชและดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้ เป็นสาเหตุของโรคพืช และดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้เป็นสาเหตุของโรคพืชที่สำคัญหลายชนิด เช่น โรคใบจุด ใบไหม้ต่างๆ และรากเน่า เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น ฟิวราเรียม แอลเทอนาเรีย คอลลีโททริเชียม โกลโอสปอเรียม เซอร์โคสปอรา เซอร์วูาลาเรีย และสเคลอโรเชียม เป็นต้น

๒.๒ บัคเตรี (Bacteria)

จัดเป็นพืชเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก ต้องใช้กล้องขยายอย่างน้อย ๑_๐๐๐ เท่า และถ้าจะให้เห็นชัดจะต้องย้อมสีด้วย มีรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด คือ รูปกลม (spherical or coccus) รูปแท่ง (rod shape or bacillus) และรูปเกลียว (spiral or apirillum) บัคเตรีมีทั้งประโยชน์และโทษ พวกที่เป็นสาเหตุของโรคพืชจะมีรูปร่างเป็นแท่ง (rod shape) ไม่มีการสร้างสปอร์ ส่วนใหญ่เป็นพวกแกรมลบ (gram negative) คือย้อมสีติดสีแดงเป็นแอโรบิคบัคเตรี (Aerobic bacteria) คือ ต้องใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่ไม่ทำลายเซลลูโลส และไม่ย่อยแป้ง มักมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในดิน เมื่อปลูกพืช มันก็จะเข้าทำลายพืชชอบสภาพเป็นกรดน้อยๆ และความชื้นสูง แพร่ระบาดได้ดีโดยไปกับน้ำ ลม เศษพืชที่เป็นโรค คุณสมบัติดังกล่าวนี้คือ บัคเตรีในสกุลซูโดโมนัส แซนโทโมนัส เออร์วิเนีย อะโกรแบคทีเรียม โคริเนเบคทีเรียม และสเตร็พโทไมซิส

รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous) รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous)
๒.๓ ไวรัส (virus)

เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา (light microscope) ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ซึ่งมีกำลังขยายสูงจึงจะสามารถมองเห็นได้ ไวรัสประกอบด้วยโปรตีน (protein) และกรดนิวคลิอิก (nucleic acid) ซึ่งกรดนิวคลิอิกนี้จะต้องเป็นชนิดอาร์เอ็นเอ หรือ ดีเอ็นเอ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไวรัสพืชส่วนใหญ่จะประกอบด้วยโปรตีน และกรดนิวคลิอิกชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสทวีจำนวนได้เฉพาะในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์พืช เป็นต้น และมีคุณสมบัติ ทำให้พืชแสดงอาการผิดปกติ หรือเกิดโรคกับพืชนั่นเอง อาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นได้แก่ ใบเปลี่ยนสี เปลี่ยนรูปร่าง พืชแคระแกร็น ไวรัสพืชมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก่
กลุ่มไวรัสพืช
กลุ่มไวรัสพืช
๒.๓.๑ ท่อนสั้น (short rod) ซึ่งมีทั้งท่อนตรงสั้น หัวท้ายตัด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดใบด่างกับยาสูบคือ เชื้อโทแบคโค โมเสค หรือทีเอ็มวี (Tobacco mosaic virus_ TMV) หรือเชื้อท่อนสั้น หัวท้ายมน (bacilliform) และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบสีส้มของข้าง เป็นต้น

๒.๓.๒ รูปกลม (sphaerical) มีตั้งแต่รูปกลมขนาดเล็กลงจนถึงขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคใบด่างของแตง ใบด่างของพิทูเนีย เป็นต้น

๒.๓.๓ ท่อนยาวคด (fleaxeous rod) มีขนาดความยาวแตกต่างกัน และเป็นกลุ่มที่มีไวรัสต่างชนิดจำนวนมาก เช่น ไวรัสทำให้เกิดโรคยอดบิด ใบด่างของกล้วยไม้ตระกูลต่างๆ และพวกที่มีความยาวมากที่สุด ได้แก่ ไวรัสทริสเทซา (tristeza) ทำให้เกิดโรคกับส้มซึ่งมีระบาดทั่วไปในเขตที่มีการปลูกส้ม รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
โรคจู๋ของข้าว
โรคจู๋ของข้าว การเข้าทำลายพืชของไวรัสต้องอาศัยแผล ซึ่งอาจเกิดจากการเสียดสีกัน ของต้นไม้ ในธรรมชาติหรือคนและสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะแมลงเป็นตัวทำ ไวรัสไม่สามารถเข้าทำลายพืชโดยตรงด้วยตัวเอง เหมือนเชื้อราบางชนิด ด้วยเหตุนี้แมลงจึงเป็นพาหะสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไวรัสพืชระบาดได้กว้างขวาง รวดเร็ว และยากลำบากต่อการป้องกัน และกำจัด ตัวอย่างของโรคไวรัสที่สำคัญๆ ในประเทศไทยได้แก่ โรคจู๋ของข้าว โรคใบสีส้มของข้าว โรคใบด่างของพืชหลายชนิด เช่น พริก ยาสูบ แตง ถั่วต่างๆ ฯลฯ
ไวรัสจัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช และเสียหายมาก ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของต่างประเทศ ที่มีการศึกษาทางด้านนี้มาก เช่น มันฝรั่งซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวยุโรปมีไวรัสหลายชนิดเข้าทำลาย และทำให้ผลผลิตลดลงอย่างต่ำที่สุดประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ พืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ ผักและผลไม้ เช่น ส้ม ในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิลมีไวรัสทริสเทซาระบาด โดยมีแมลงเพลี้ยอ่อนเป็นตัวนำโรค ภายในเวลา ๑๒ ปี ทำให้ไร่ส้มเสียหายและตายประมาณ ๖ ล้านต้น (ประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ของส้มที่ปลูก) ในประเทศกานา (Ghana) จำเป็นต้องโค่นต้นโกโก้จำนวนกว่า ๑๐๐ ล้านต้นทิ้งในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคยอดบวมของโกโก้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่แมลงเพลี้ยแป้งเป็นตัวนำ ส่วนองุ่นผลผลิตลดลงประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลจากการทำลายของไวรัสเกรพไวน์แฟนลีด (grapevine fanleaf) ซึ่งแพร่ระบาด โดยมีไส้เดือนฝอยเป็นตัวนำ และติดไปกับส่วนขยายพันธุ์จากต้นเป็นโรค ตัวอย่างเหล่านี้เป็นข้อเตือนใจ ที่เราควรจะได้ศึกษาถึงปัญหาโรคไวรัสในบ้านเรา เพื่อเตรียมการป้องกันเกิดปัญหารุนแรงแก่พืชผลของเราต่อไป
๔. ไมโคพลาสมา (Mycoplasma)

เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคกับพืช โดยอาศัยอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของพืช เชื้อมีขนาดเล็กกว่าบัคเตรี แต่ใหญ่กว่าไวรัส ไม่มีผนังเซลล์จึงมีรูปร่างไม่แน่นอน ไมโคพลาสมาบางชนิดสามารถเลี้ยงได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ มีการแพร่ระบาด โดยมีแมลงบางชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน และถ่ายทอดโรคได้ โดยต้นฝอยทอง (dodder) หรือการติดตาเทียบกิ่ง ลักษณะอาการส่วนใหญ่ที่พืชแสดง เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่ ส่วนของพืชที่มีสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง (yellows) หรือขาว (white leaf) แตกเป็นพุ่ม (witches broom) บริเวณจุดเจริญต่างๆ เช่น ยอดหรือตา ส่วนที่เจริญเป็นดอกมีลักษณะคล้ายใบเป็นกระจุก (phyllody) ลักษณะอื่นๆ คือ ต้นแคระแกร็นและไม่เจริญเติบโต โรคทีสำคัญที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคกรีนนิงของส้ม โรคพุ่มไม้กวาดของลำไย โรคใบขาวของอ้อย เป็นต้น เชื้อไมโคพลาสมา
เชื้อไมโคพลาสมา
๕. ไส้เดือนฝอย (Nematode)

เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้องมีเพศแยกจากกันซึ่งเป็นลักษณะต่างจากไส้เดือนธรรมดา เรามักพบได้ทั่วไป ทั้งในดิน น้ำจืด น้ำเค็ม หรือแม้แต่ในร่างกายของคนและสัตว์ เช่น พยาธิต่างๆ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดโรคกับพืช มีขนาดค่อนข้างเล็กประมาณ ๐.๒-๒ มิลลิเมตร มักเข้าทำลายรากพืชทำให้เกิดอาการรากปม รากเป็นแผล บางชนิดทำลายดอก เมล็ดต้นหรือหน่อ ไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะนำโรคไวรัสพืชและเป็นตัวการแพร่ระบาดโรค โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรครากปมของมะเขือ พริก พืชตระกูลแตง เป็นต้น ลักษณะการเข้าทำลายพืชของไส้เดือนฝอยรากปม คือ เข้าดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณเซลล์รากพืช และปล่อยเอนไซม์มาละลายผนังเซลล์ ทำให้เกิดเซลล์ขนาดใหญ่ หรือปล่อยฮอร์โมนมากระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากผิดปกติ จึงทำให้พืชแสดงอาการรากบวมโต หรือเป็นปุ่มปม บางครั้งทำให้ปลายรากกุด ส่วนอาการที่แสดงบนต้นพืชคือ เหี่ยวเฉา แคระแกร็น ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลผลิตลดน้อย ไส้เดือนฝอยรากปมนี้มีพืชอาศัยเป็นจำนวนมาก ประมาณกว่า ๒_๕๐๐ ชนิด
นอกจากเชื้อต่างๆ ดังกล่าวที่ทำให้เกิดโรคกับพืชแล้วยังมีสิ่งมีชีวิตชั้นสูง คือ พวกมีดอก แต่มีลักษณะบางอย่างไม่สมบูรณ์ เช่น กาฝาก ฝอยทอง ซึ่งนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้พืชเกิดอาการผิดปกติ และการเจริญเติบโตลดน้อยลงแล้ว บางชนิดยังเป็นตัวถ่ายทอดโรค และทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค เช่น ต้นฝอยทองบางชนิดเป็นตัวถ่ายทอดโรค ที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา เป็นต้น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ยาป้องกัน กำจัด หนอน หนอนทุกชนิด ใช้ได้ทุกพืช ไอกี้-บีที + FK-1 บำรุง ฟื้นตัว สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
ยาป้องกัน กำจัด หนอน หนอนทุกชนิด ใช้ได้ทุกพืช ไอกี้-บีที + FK-1 บำรุง ฟื้นตัว สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
หนอนตาย เพราะ ปรับตัวไม่ทัน เมื่อพบกับชีวภัณฑ์ แบคทีเรียสองสายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai ออกฤทธิ์ทำลายหนอนพร้อมกัน ทำให้ตายใน 24-48 ชั่วโมง ตายช้ากว่ายาเคมี แต่ตายยกรัง เนื่องจากหนอนที่รับ บีที เข้าไป กลับไปตายรัง และพวกเดียวกันกินกินซาก จึงตายต่อกัน เนื่องจาก บีที เป็น ชีวภัณฑ์ ที่ขยายตัวตกผลึกในท้องหนอน และออกฤทธิ์เฉพาะกับหนอนเท่านั้น

หนอนชอนใบ เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน มีขนาดเล็กมาก ลำตัวสีหม่น ปีกขาวนวล เพศเมียจะวางไข่หลังผสมพันธุ์ใน 24 ชั่วโมง ที่เส้นใต้ใบพืช ในเวลาไม่เกิน 3 วัน หลังจากฟักออก จะเป็นตัวหนอน กัดกิน ชอนไชอยู่ระหว่างผิวใบพืช รอยการทำลายจะอยู่ด้านใต้ใบ มากกว่าด้านบนใบ สังเกตุได้ง่าย จะเห็นใบพืช เป็นลาย เป็นเส้นทางคดเคี้ยวไปมา

หากระบาดมาก หนอนจะเจาะเข้าทำลายกิ่งอ่อน และผลอ่อนของพืชด้วย

กำจัดหนอน ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัยแน่นอน เพราะ บีที ไม่ออกฤทธิ์ กับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คนและสัตว์เลี้ยง จึงปลอดภัย 100%

#ยาฆ่าหนอน #ยากำจัดหนอน #หนอนเจาะสมอฝ้าย #ยาอินทรีย์ฆ่าหนอน #ยาอินทรีย์กำจัดหนอน #ยาฆ่าหนอนชอนใบ #หนอนชอนใบ #หนอนชอนใบส้ม #หนอนชอนใบมะนาว

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada

ชุดคู่ ไอกี้-บีที และ FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอกี้-บีที อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee

ชุดคู่ ไอกี้-บีที และ FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอกี้-บีที อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..


ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🐛 ไอกี้-บีที อัตตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 1ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20ลิตร

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอกี้-บีที ได้เลย

🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🐛 ข้อมูลจำเพาะ ไอกี้-บีที

ใช้แก้ปัญหา : โรคหนอนกออ้อย หนอนกอในนาข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนม้วนใบ หนอนทรายในสวนยางพารา หนอนชักใยปาล์มน้ำมัน หนอนปลอกใหญ่ หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

ประกอบด้วยจุลินทรีย์สายพันธ์ บีที (BT) ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ Bacillus thuringiensis var. aizawai และ Bacillus thuringi
ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ

ไอกี้-บีที บีที
ชื่อสามัญ : บาซิลลัส ทูริงเยนซิส [ Bacillus truringiensis ] กลุ่มสารเคมี : Bacterium
สารสำคัญ : Bacillus thuringiensis var. kurstaki

นำหนักสุทธิ : 500 กรัม

ฆ่าหนอน กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง เอนไซม์สกัด บีที เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยสารพิษในการทำลายแมลงศัตรูพืช ด้วยการสร้างสารพิษผลึกโปรตีน delta-endotoxins ที่มีอยู่ในเชื้อ Bacillus thuringiensis เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป จะทำให้เกิดพิษในกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
โกโก้ ใบไหม้ ใบแห้ง ผลเน่า กำจัดโรคโกโก้ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
โกโก้ ใบไหม้ ใบแห้ง ผลเน่า กำจัดโรคโกโก้ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรคผลเน่าดำ
เป็นโรคที่เกิดกับโกโก้ทุกพื้นที่ มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เริ่มอาการจากจุดฉ่ำน้ำที่ผิวเปลือกผล ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 2 วัน หลังเชื้อเข้ามาเกาะ ต่อมาจุดฉ่ำน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำ พร้อมกับขยายไปทั่วผล

โรคกิ่งแห้งของโกโก้
เกิดจากเชื้อรา มักเกิดกับกิ่งแก่หรือต้นกล้า เริ่มต้นอาการด้วยใบเหลืองซีด และมีจุดเขียวกระจายทั่วไป และแห้งเป็นสีน้ำตาลในเวลาต่อมา บริเวณรอบ ๆ แผลสีน้ำตาลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและใบร่วงหล่นในที่สุด กิ่งที่เป็นโรคจะบวมขึ้น มีรอยปูดเล็ก ๆ เกิดตามเปลือก บริเวณที่ใบหลุดไป ใบที่แตกออกมาใหม่จะเป็นกระจุก และแผ่นใบไม่แข็งเหมือนปกติ ใบส่วนยอดที่เหลืออยู่ขอบใบจะแห้ง

โรคแอนแทรคโนส
เกิดจากเชื้อรา เกิดอาการในใบอ่อน ขอบและปลายใบไหม้ ลุกลามไปถึงโคนใบทำให้ใบโค้งงอ ใบที่แก่จะปรากฎเป็นจุดสีน้ำตาลบนแผ่นใบและตามขอบใบ ซึ่งก็จะเกิดอาการไหม้และใบโค้งงอ ผลอ่อนเน่าดำ จนผลแห้ง หากมีความชื้นเพิ่มขึ้นมา จะมีสปอร์ของเชื้อราสีชมพูเกิดขึ้น

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย การควบคุมประจุไฟฟ้า สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไวเรนส์ สามารถป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของ­เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืช

เข้าหน้าหนาว หมอกลงตอนเช้าๆ แดดออกสายๆ อากาศแบบนี้เหมาะแก่การเพาะเชื้อโรคเช่น รา ต่างๆ ถ้าใครจะใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา หรือเชื้อราอื่น และสารอินทรีย์ตัวอื่น ก็ใช้ให้ถูกวิธีกันด้วยนะคะ ของทุกอย่างดีเห็นผล ถ้าใช้ให้ถูกวิธีค่ะ

 

จาก เฟสบุ๊คคุณปริม

อ่าน:3396
เจาะเทคนิคปลูก “มันเทศ” เชิงพาณิชย์ ทำยังไงให้ผลผลิตสูง ราคาดี
การปลูกมันเทศให้ลงหัวได้ดีนั้น ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เรื่องของโครงสร้างของดิน ถึงแม้ว่ามันเทศจะสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินร่วนปนทรายมีความเหมาะสมที่สุด
สภาพดินที่ปลูกมีผลต่อการลงหัวของมัน หรือรูปทรงของหัวมันในสภาพดินปลูกที่มีโครงสร้างของดินแข็ง ดินแน่น และมีการระบายน้ำไม่ดี ควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะลงมือปลูก สำหรับพื้นที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลวัว มูลไก่ ฯลฯ ในอัตรา 1-2 ตัน หรือใส่ปุ๋ยคอกพร้อมกับการเตรียมแปลงเลย

วิธีการเตรียมแปลงปลูก
ให้ไถดะก่อน 1 ครั้ง และตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน จากนั้นไถพรวนแปลง 1-2 รอบ หรือใช้โรตารี่ติดรถไถตีดินให้ดินมีความละเอียดยิ่งขึ้น หลังจากนั้นให้ยกร่องแปลงปลูกขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 50-80 เซนติเมตร สูง 30-50 เซนติเมตร (ความสูงของแปลงยิ่งมีความสูงยิ่งส่งผลต่อการลงหัวมันดี) ส่วนความยาวของแปลงปลูกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ อย่างสวนคุณลีนั้นจะปลูกแบ่งเป็นแปลงเล็กขนาด 100-400 ตารางเมตร เนื่องจากต้องการปลูกมันเทศหลากหลายสายพันธุ์ให้ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง มีช่วงเวลาขายอย่างน้อย 7-15 วัน จนหมด ก่อนที่มันเทศแปลงต่อๆ ไปจะสามารถขุดขึ้นมาขายต่อ เนื่องจากตอนนี้สวนคุณลี เน้นการขายมันเทศผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ราคา กิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งตรงกับคำพูดที่ว่า “ทำน้อยได้มาก ทำมากได้น้อย” เนื่องจากมีเวลาในการเอาใจใส่ดูแลอย่างทั่วถึง ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีนั่นเอง
การจัดระบบน้ำในแปลงปลูกมันเทศ
โดยปกติทั่วไปสำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันเทศทั่วประเทศมักจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของระบบน้ำในแปลงปลูก ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนอาจจะพึ่งเพียงน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น ถ้าปลูกในฤดูแล้งอาจจะมีการให้น้ำแบบท่วมแปลงบ้างเท่านั้น แต่การปลูกมันเทศสมัยใหม่ควรจะมีการจัดระบบน้ำที่ดี ในแปลงปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศของสวนคุณลี จะมีการวางระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ ซึ่งมีรัศมีกระจายน้ำได้ 3-5 เมตร

เตรียมท่อนพันธุ์มันเทศอย่างไร
ในการตัดท่อนพันธุ์ ควรจะตัดให้มีความยาวราว 30 เซนติเมตร จะไม่ลิดใบทิ้งหรือลิดทิ้งก็ได้ เนื่องจากยอดมันเป็นพืชที่แตกยอดออกมาใหม่ได้ง่าย ถ้าลิดใบทิ้งก็จะทำให้เสียเวลา แต่ยอดมันเทศเมื่อลงปลูกจะตั้งตัวได้เร็วกว่าไม่ลิดใบ เมื่อตัดท่อนพันธุ์มาแล้วควรจะมัดรวมกันเป็นท่อนหรือเป็นกำ เอาใบตองหรือกระสอบปุ๋ยห่อมัดเอาไว้ ควรนำท่อนพันธุ์แช่น้ำยาฆ่าแมลง ในกลุ่ม “คาร์โบซัลแฟน” (เช่น โกลไฟท์) จุ่มแช่ไว้นานราว 5-10 นาที จะช่วยลดเรื่องแมลงที่จะติดไปกับท่อนพันธุ์ได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้น ให้นำมัดท่อนพันธุ์วางไว้ในที่ร่ม รดน้ำ เช้า-เย็น ประมาณ 2-3 วัน ยอดท่อนพันธุ์ก็จะมีรากงอกออกมาตามข้อ แสดงว่าท่อนพันธุ์พร้อมปลูกลงแปลงแล้ว ถ้าจะให้ดี ท่อนพันธุ์มันเทศที่จะตัด ควรจะตัดจากต้นที่มีอายุไม่เกิน 45 วัน หรือก่อนที่จะมีการฉีดพ่นปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อหยุดยอด ในพื้นที่ปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 ไร่ จะใช้ท่อนมันเทศประมาณ 8_000-16_000 ยอด (ขึ้นอยู่กับระยะปลูก)

การปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ
ก่อนที่เกษตรกรจะลงมือปลูก ควรจะมีการให้น้ำในแปลงปลูกอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้ดินมีความชื้นและปลูกได้ง่ายและรวดเร็ว วิธีเตรียมหลุมปลูก แบ่งได้ 3 วิธี คือ ปลูกแบบใช้จอบขุด ปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อน หรือจะปลูกแบบนำท่อนพันธุ์เสียบลงแปลงปลูกเลย พบว่า วิธีปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อนได้ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ เพราะทำได้ง่าย รวดเร็ว ไม่เสียแรงในการขุดดิน และท่อนพันธุ์ไม่ช้ำ

ระยะปลูกระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร หากใช้จอบขุดปลูกบนสันร่อง หลุมที่ปลูกควรมีความลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ควรจะวางยอดท่อนพันธุ์ทำมุม 45 องศา ฝังลึกลงดิน 2-3 ข้อ ของท่อนพันธุ์มันเทศ และให้ข้อโผล่พ้นดินขึ้นมา ประมาณ 2-3 ข้อ หลังจากนั้น กลบดินให้แน่นเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ท่อนพันธุ์โยกคลอน หากปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำ จะปลูกท่อนพันธุ์มันเทศให้เป็นคู่บนสันร่องโดยใช้ไม้แหลมกระทุ้งนำไปก่อน ทำมุม 45 องศา จากนั้นเสียบท่อนพันธุ์ลงดิน 2-3 ข้อ ของท่อนมันเทศ ในพื้นที่ปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 ไร่ จะใช้ท่อนพันธุ์มันเทศ ประมาณ 11_000-12_000 ยอด ซึ่งพบว่าเป็นจำนวนที่ให้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างดี

การให้น้ำมันเทศ…ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากที่ปลูกท่อนมันเทศลงดินไปแล้ว จะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ 3 วันแรก จะต้องให้ทุกวัน เช้า-เย็น ให้ครั้งละประมาณ 1-2 ชั่วโมง (กรณีที่ให้ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์) หลังจากนั้น จะให้น้ำวันเว้นวัน หรือ 3 วัน หรือ 5 วัน หรือ 7 วัน ต่อครั้ง

แต่การให้น้ำนั้นต้องสังเกตจากความชื้นของดินเป็นหลัก เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกในแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน หลังจากมันเทศอายุได้ 2 เดือน ก็จะเริ่มห่างน้ำ เป็นการบังคับทางหนึ่งที่ให้ต้นมันเทศลงหัวได้ดี อาจจะให้เดือนละ 2-4 ครั้ง ตามความเหมาะสมกับสภาพดินของแต่ละพื้นที่ และควรฉีดปุ๋ยทางใบควบคู่กันไป เช่น สูตร 0-52-34 ทุกๆ 10-15 วัน เพื่อให้การลงหัวดีมากขึ้น

อายุการเก็บเกี่ยวมันเทศ ความจริงแล้ว อายุการเก็บเกี่ยวมันเทศเกือบทุกสายพันธุ์ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 100-140 วัน หลังจากปลูกท่อนพันธุ์ลงไป ในขณะเดียวกันมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เช่น ฤดูกาลปลูก ความสมบูรณ์ของต้น สายพันธุ์ที่ปลูก เป็นต้น จากตัวเลขในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศทุกสายพันธุ์ในแปลงปลูกของสวนคุณลี ถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดี จะให้ผลผลิตได้เฉลี่ย 3_000-4_000 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่

วิธีการปลูกมันเทศในถุงพลาสติกและกระถางบริโภคในครัวเรือน สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ในปัจจุบันนี้ การปลูกมันเทศในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ ได้มีการนำพันธุ์มันเทศจากต่างประเทศมาปลูกในเชิงพาณิชย์กันมากขึ้น อาทิ มันเทศเนื้อสีเหลือง เนื้อสีม่วงและเนื้อสีส้ม จากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น โดยแต่ละสายพันธุ์ล้วนมีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกัน จากข้อมูลพบว่า “มันเทศเนื้อสีส้ม” เป็นแหล่งของสารเบต้าแคโรทีน เมื่อรับประทานแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ จะช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาบอดกลางคืน ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง นอกจากนั้น ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย และใน “มันเทศเนื้อสีม่วง” จะมีสารแอนโทไซยานินสูง มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลดอัตราเสื่อมของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ยับยั้งเชื้ออีโคไลซึ่งเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษและท้องร่วง ที่สำคัญเป็นมันเทศที่มีรสชาติอร่อย

อย่างกรณีของ มันเหลืองญี่ปุ่น ปัจจุบันมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศและนำมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคคนไทยในราคาไม่ต่ำกว่า กิโลกรัมละ 100 บาท ทาง “สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้นำมันเทศสายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งจะเน้นสายพันธุ์จากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ประมาณ 10 สายพันธุ์ เข้ามาปลูกในเชิงการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร จนประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ให้ผลผลิตและรสชาติหวานตรงตามสายพันธุ์ สามารถจำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 80-100 บาท ออกจากสวน

นอกจากการปลูกมันเทศในแปลงที่มีการเตรียมดินและระบบน้ำที่ดี ได้มีการประยุกต์วิธีการปลูกในรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือน มีพื้นที่น้อย อยู่ในบ้านจัดสรรหรือปลูกเพื่อเป็นรายได้เสริม ด้วยการ “นำมาปลูกในพื้นที่จำกัด” เช่น ถุงพลาสติกดำ กระสอบปุ๋ยเก่า ตะกร้าพลาสติก ยางรถยนต์เก่า วงบ่อปูน ฯลฯ ใช้เวลาปลูกเพียง 3 เดือนครึ่ง ถึง 4 เดือนครึ่งเท่านั้น (ตามอายุเก็บเกี่ยวแต่ละสายพันธุ์) สามารถขุดหัวมาบริโภคหรือจำหน่ายได้

สำหรับวัสดุปลูกที่สำคัญคือ ดินร่วน แกลบดำ แกลบดิบ และปุ๋ยคอกเก่า (หรือประยุกต์ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น) ในอัตราส่วน 1:1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำวัสดุปลูกใส่ในถุงให้เต็มและอัดให้แน่น นำถุงพลาสติกไปวางไว้บริเวณกลางแจ้ง รดน้ำให้ชุ่ม นำยอดมันเทศที่เตรียมไว้ (ตัดยอด ให้มีความยาว 30 เซนติเมตร) ใช้ไม้แหลมแทงดินในถุงให้เป็นรู ให้รูเฉียงประมาณ 45 องศา โดยประมาณ นำยอดปลูกลงไปให้มีความลึก ประมาณ 3-5 ข้อ โดยจำนวนยอดที่จะปลูกลงไป ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของภาชนะที่เลือกใช้ เช่น ถุงดำ ก็จะใช้ยอดพันธุ์มันเทศราวๆ 3-5 ยอด กดดินให้แน่นพอประมาณ ช่วง 7 วันแรก หลังจากที่ปักยอดมันเทศลงไป ควรจะรดน้ำเป็นประจำทุกเช้า (ระวังอย่าปล่อยให้ถุงแห้งขาดน้ำ) หลังจาก 7-10 วัน จะพบว่า ยอดมันที่ปักชำลงไปเริ่มแทงรากออกมาให้เว้นการให้น้ำให้ห่างขึ้นเป็นวันเว้นวัน และห่างเป็น 2-3 วัน ต่อครั้ง ตามความเหมาะสม เมื่อต้นมันเทศมีอายุต้นได้ 45 วัน และพบว่า ใบมันเทศไม่มีอาการเหี่ยวให้เห็น ก็ไม่จำเป็นจะต้องให้น้ำ เนื่องจากการให้น้ำบ่อยๆ จะทำให้ต้นมันเทศมีอาการบ้าใบและไม่ลงหัว การปลูกมันเทศในถุงพลาสติกและมีความต้องการให้มีการลงหัวและรสชาติที่ดี จำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีบ้าง เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ในช่วงแรกใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 เพียง 1 ช้อนชา ทุกๆ 15 วัน และโดยเฉพาะเมื่อต้นมันเทศมีอายุครบ 2 เดือน เป็นช่วงของการลงหัว ควรจะใส่ปุ๋ยเคมีที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 16-16-16 หรือ สูตร 13-13-21 ฯลฯ เพื่อให้หัวมันเทศใหญ่ มีรสชาติหวานตามสายพันธุ์ ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมันเทศ อายุต้นจะต้องเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 100-140 วัน โดยอาจจะสุ่มขุดดูว่าหัวมันเทศมีขนาดที่เราต้องการนำมาบริโภคได้หรือยัง

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3396
ธาตุแมงกานีส
ธาตุแมงกานีส
ธาตุแมงกานีส เป็นองค์ปรกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการหายใจของพืช การสังเคราะห์วิตามิน และมีหน้าที่ในการสร้างคลอโรฟีลล์คล้ายๆ ธาตุเหล็ก และเพิ่มเป็นธาตุที่ใช้ช่วยในการเจริญของเนื้อเยื่อเจริญ ที่อยู่ตรงส่วนยอดและรากพืช ช่วยให้พืชนำแคเซียมไปใช้ได้ เมื่อพืชขาดธาตุนี้จำทำให้เซลล์ตายและมีสีดำ

วิธีการแก้ไขก็ให้ทำเช่นเดียวกัน คือ ทำการปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพเป็นกลาง เพราะดินจะขาดธาตุแมงกานีสมากก็ต่อเมื่อดินนั้นขาดการปรับปรุง และจะพบว่าขาดธาตุแมงกานีสมากในดินที่ค่อนไปทางเป็นด่างหรือดินหินปูน มากกว่าดินที่ค่อนข้างไปทางกรด ซึ่งการปรับสภาพดินให้อยู่ในช่วงที่เป็นกลางจะเหมาะสมสุด ส่วนการแก้ไขในระยะนั้นก็ให้ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบในรูปของแมงกานีสซัลเฟต หรือแมงกานีสออกไซด์ หรือการใช้ปุ๋ยที่มีแมงกานีสซัลเฟตโรยลงในแปลงดินโดยตรงก็ได้...

สังเกตได้จากใบ ซึ่งใบแก่จะแสดงอาการแบบเป็นจุดประและเกิดรอยด่างเหลืองเป็นจุด ๆ กระจายอยู่ตามบริเวณแผ่นใบ แต่เส้นกลางใบยังคงเขียวอยู่ ส่วนใบที่อ่อนอาจจะสังเกตดูยากหน่อย เพราะจะมีอาการเหลืองคล้าย ๆ กับการขาดธาตุสังกะสี ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดธาตุสังกะสีไปพร้อม ๆ กับการขาดธาตุแมงกานีสก็เป็นไปได้

พืชที่ขาดธาตุแมงกานีสใบจะออกสีเหลือง ๆ ส่วนเส้นใบจะเขียวอยู่ปกติ โดยเฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุดขาว ๆ หรือจุดเหลืองที่ใบ ต้นโตช้า ใบไม่สมบูรณ์ พุ่มต้นโปร่ง

พืชที่แสดงอาการขาดธาตุแมงกานีส ต้องฉีดพ่นเข้าทางใบด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีองค์ประกอบของธาตุแมงกานีส

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3396
ทุเรียนใบไหม้ ในช่วงอาการร้อนชื้น แดดจัด และมีฝนตกมาใบบางครั้ง
ทุเรียนใบไหม้ ในช่วงอาการร้อนชื้น แดดจัด และมีฝนตกมาใบบางครั้ง
เฝ้าระวังโรคระบาดของทุเรียนในช่วงอากาศร้อนชื้น เป็นสาเหตุให้โรคต่างๆจากเชื้อรา เกิดขึ้นและแพร่ระบาดไปได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างโรคทุเรียนที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ โรคใบติด เพราะใบทุเรียนไหม้ติดกันเป็นกระจุก โรคต่างๆเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุจากเชื้อรา

คำว่าโรคระบาด หมายถึง เมื่อเป็นแล้วจะลุกลาม ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ หากไม่เร่งป้องกันกำจัด อาจจะติดต่อเป็นไปได้ทั้งสวน

สังเกตุอาการเริ่มแรก จะเห็นว่าใบทุเรียนเป็นแผลจุดคล้ายน้ำร้อนลวก และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลขนาดโตขึ้น และลุกลามไปยังใบข้างๆ ขยายออกไป ติดต่อข้ามไปยังต้นอื่นๆ หากมีลมพัดเชื้อก็สามารถปลิวไปในอากาศ ไปติดต้นที่อยู่ไกลๆได้เช่นกัน

อาการใบหลุดร่วง ก็มีสาเหตุจากเชื้อราเข้าทำลายโคนก้านใบทำให้อ่อนแอแหละหลุดร่วงได้ หากเป็นรุนแรง ใบจะหลุดร่วงจนเหลือแต่กิ่ง จากนั้นกิ่งทุเรียนแห้ง เปราะหักง่าย เป็นอาการทุเรียนกิ่งแห้ง นี่ก็เป็นอีกโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราเช่นกัน

ทุเรียนขั้วผลเน่า ทุเรียนผลร่วง ก็เป็นอีกโรคซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อรา

การป้องกันและกำจัด

ทำการเก็บเศษใบทุเรียน เศษกิ่งที่เป็นโรค ร่วงหล่น นำไปเผาทำลายนอกแปลง

ฉีดพ่น ไอเอส บริเวณใบ ทรงพุ่ม ลำต้น ฉีดพ่นลงดินรอบโคน และฉีดพ่นรอบบริเวณที่มีการระบาด
เนื่องจากเชื้อราเป็นโรคระบาดที่ปลิวฟุ้งในอากาศได้ จึงต้องฉีดพ่นป้องกันบริเวณโดยรอบ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดลุกลามไปยังต้นอื่นๆ

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้ง โรคพืชต่างๆที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา
อาทิเช่น โรคใบไหม้ ใบแห้ง ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดตากบ แคงเกอร์ ไฟท็อปโธร่า รากเน่า โคนเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/products/fk-3-i388594842-s754764572.html
อ่าน:3396
วีแกนคืออะไร แล้วทำไมถึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
วีแกนคืออะไร แล้วทำไมถึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
วีแกนคือคนที่ไม่กินหรือใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไม่เหมือนกับมังสวิรัติ ที่ซึ่งผู้คนไม่กินเนื้อสัตว์หรือปลา อาหารมังสวิรัติจะหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกชนิด เช่นนม ไข่ และแม้แต่น้ำผึ้ง รวมถึงเนื้อสัตว์ และปลา บางคนชอบที่จะเรียกทางนี้ในการกิน ‘อาหารจากพืช’

การใช้ชีวิตแบบวีแกนหมายถึงการใช้หรือซื้อเครื่องสำอางและเสื้อผ้าที่ปราศจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์เท่านั้น การวิจัยโดยสมาคมมังสวิรัติพบว่าจำนวนวีแกนในเกรทบริเตนเพิ่มขึ้นจาก 150_000 คนในปี 2006 เป็น 540_000 คนในปี 2016 หลายคนเชื่อว่าจำนวนคนที่เรียกตัวเองว่าวีแกนอาจถึงล้านคน

ทำไมการทานวีแกนจึงเป็นที่นิยมมากขึ้น?

ดาราหลายคนรวมถึง Ariana Grande_ Miley Cyrus และ Tennis ace Venus Williams เป็นวีแกนและพวกเขาได้พูดคุยกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ทำให้เกิดการรับรู้ อีกทั้งมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของร้านกาแฟและร้านอาหารวีแกน ซึ่งหมายความว่ามีทางให้เลือกมากมาย

ในเดือนมิถุนายนปี 2019 ร้านอาหารจานด่วนอย่างเคเอฟซีเปิดตัวเบอร์เกอร์วีแกนแห่งแรกในสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยเนื้อวีแกนสูตรลับของผู้พัน ผักกาดแก้ว และมายองเนสวีแกน

กลุ่มสิทธิสัตว์ Peta เรียกมันว่า “การเปลี่ยนเกม” และพวกเขา กล่าวว่า “เรามั่นใจว่ามันจะได้รับความนิยมอย่างมากจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของวีแกน มังสวิรัติ และ flexitarians ทั่วสหราชอาณาจักร ”

อะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้คนทานวีแกน

1.ทารุณสัตว์

บางคนกลายเป็นวีแกนเพราะพวกเขารักสัตว์และพวกเขาคิดว่าการทำร้ายสัตว์ใดๆ นั้นโหดร้าย สำหรับคนวีแกนไม่เพียงแค่เกี่ยวกับสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหาร แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับวิธีการรักษาวัวและไก่ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์นมและไข่ โดยเฉพาะในฟาร์มขนาดใหญ่

2.สิ่งแวดล้อม

สหประชาชาติกล่าวว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์นั้นคิดเป็น 14.5% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมด นี่เทียบเท่ากับการปล่อยไอเสียของรถยนต์ รถไฟ เรือ และเครื่องบินทุกแห่งบนโลก

วัวเพียงหนึ่งตัวให้ก๊าซมีเทนที่เป็นอันตรายในหนึ่งวันพอที่จะเติมขวดขนาด 400 ลิตร ซึ่งไม่ดีต่อสภาพแวดล้อมอย่างแท้จริง

อีกเหตุผลของคนที่เป็นมังสวิรัติคือการผลิตเนื้อสัตว์และนมนั้นใช้ที่ดินมากเกินไป

3.สุขภาพ

วีแกนบางคนกล่าวว่าพวกเขาหยุดทานเนื้อสัตว์ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ แต่บางคนกังวลเกี่ยวกับการได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมจากอาหารวีแกน

British Dietetic Association ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการกล่าวว่า “เด็กและผู้ใหญ่สามารถรับประทานอาหารวีแกนที่สมดุลได้” อย่างไรก็ตามเขาก็บอกว่ามันเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนมื้ออาหารเพื่อให้แน่ใจว่ามันมีสารอาหารที่เพียงพอ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
กำจัดโรคใบไหม้ โรคพืชจากเชื้อรา กำจัดเพลี้ยต่างๆ กำจัดหนอน ด้วยสารอินทรีย์ ไอเอส มาคา และสารชีวินทรีย์ ไอกี้-บีที
กำจัดโรคใบไหม้ โรคพืชจากเชื้อรา กำจัดเพลี้ยต่างๆ กำจัดหนอน ด้วยสารอินทรีย์ ไอเอส มาคา และสารชีวินทรีย์ ไอกี้-บีที
สารอินทรีย์ และสารชีวินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืช ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค ปลอดภัยต่อคน เด็ก และสัตว์เลี้ยงต่างๆ

🍂โรคใบไหม้ กำจัดโรคพืชจากเชื้อราต่างๆ ด้วย ไอเอส สารอินทรีย์

🦗กำจัดเพลี้ยต่างๆ ด้วย มาคา สารอินทรีย์

🐛กำจัดหนอนต่างๆ ด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์

☎โทร 090-592-8614
🆗ไลน์ไอดี FarmKaset

🎗ข้อมูลสินค้า

🍂ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค

คุณประโยชน์
- ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อรา สาเหตุโรคในพืชต่างๆ
- ลดการแพร่กระจายของเชื้อราที่เกิดกับพืช
- ป้องกันการลุกลามของแผลที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา
- มีความต้านทานโรคเพิ่มขึ้น เมื่อใช้เป็นประจำ

ใช้ควบคุมและยับยั้งโรค
- โรคใบไหม้ (Blast)
- โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot)
- โรคราสนิม (Rust)
- โรคใบขีดสีน้ำตาล (Narrow Brown Spot)

🦗มาคา

เป็นสารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ ที่ถูกคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใช้หลักการเทคโนโลยีชั้นสูง ในการรวมอัลคาลอยเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อีกทั้งสามารถยับยั้งการดื้อยาที่เกิดจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เนื่องจาก มาคา มีวิธีการออกฤทธิ์แบบไม่เจาะจง จึงทำให้แมลงไม่สามารถปรับตัวต้านทานได้ รวมทั้งสามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว โดยปราศจากสารพิษตกค้างในดินและน้ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilapavata lugens)
- เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก (Recilia dorsalis)
- เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Nephotettix spp.)
- เพลี้ยไฟ (Balliothrips biformis)

🐛ไอกี้-บีที

ฆ่าหนอน กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง ไอกี้-บีที เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยสารพิษในการทำลายแมลงศัตรูพืช ด้วยการสร้างสารพิษผลึกโปรตีน delta-endotoxins ที่มีอยู่ในเชื้อ Bacillus thuringiensis เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป จะทำให้เกิดพิษในกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค
อ่าน:3396
ปุ๋ยเร่งผลมะละกอ ปุ๋ยมะละกอ เพิ่มขนาด คุณภาพดี ให้ ธาตุ โพแทสเซียม ถึง 40% สำหรับเร่งผลโดยเฉพาะ
ปุ๋ยเร่งผลมะละกอ ปุ๋ยมะละกอ เพิ่มขนาด คุณภาพดี ให้ ธาตุ โพแทสเซียม ถึง 40% สำหรับเร่งผลโดยเฉพาะ
🏆ทดแทนปุ๋ยเม็ด! ผลโตแน่นอน สำหรับพืชออกผลทุกชนิด ให้ โพแตสเซียม มากถึง 40 เปอร์เซนต์ เพื่อ เร่งผล ขนาดขนาดผล เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ เร่งผลโต น้ำหนักดี แน่นอน

❗ทราบหรือยัง? หัวเชื้อ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริมเหล่านี้ ใช้สเปรย์ลงบนปุ๋ยเม็ด ในขั้นตอนการปั้นเม็ดเช่นกัน

ใช้ได้กับพืชออกผล และพืชลงหัว ทุกชนิด 🍉🥕🌽🍠🥜🥥🥕🍑🍓🍊🍅🍍🌶🧄

👍เชื่อถือได้ ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
– ธาตุหลัก ทะเบียนเลขที่ 1637/2563
– สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ รส. 1727/2563

👌ใช้ง่าย เพียงแค่ผสมน้ำ ฉีดพ่น หรือราดลงโคน
– หนึ่งชุดมีสองถุง ผสมใช้พร้อมกัน (บรรจุถุงละ 1กิโลกรัม สองถุงรวม 2กิโลกรัม)
– มีสารจับใบในตัว
– ตักถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร (50กรัม ประมาณ 2ช้อนโต๊ะ)

💪เน้นโพแตสเซียมมากเป็นพิเศษ ถึง 40% พืชโตไว สมบรณ์ ผลผลิตดีขึ้น ต้านทานต่อโรคได้ดี ได้ทั้งธาตุหลัก ธาตุเสริม
🌳ธาตุ N ไนโตรเจน 5 เปอร์เซ็นต์ ช่วยพืชโตไว ใบเขียวตั้งตัวได้ สร้างโปรตีน สร้างอาหาร สร้างพลังงานให้กับพืช
🌞ธาตุ P ฟอสฟอรัส 10 เปอร์เซ็นต์ ช่วยสังเคราะห์แสง ผลิตแป้งและน้ำตาล กระตุ้นการออกดอก กระตุ้นราก
🌽ธาตุ K โพแตสเซียม 40 เปอร์เซ็นต์ สร้างโปรตีน เพิ่มคุณภาพผลผลิต ลดโรคพืช
💫ธาตุ Mg แมกนีเซียม 23 เปอร์เซ็นต์ สังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมันและน้ำตาล ช่วยสังเคราะห์แสง กระตุ้นเอนไซม์
✨ธาตุ Zn สังกะสี 10 เปอร์เซ็นต์ ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์และแป้ง ควบคุมการย่อยน้ำตาลของพืช ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

สั่งซื้อกับ ลาซาด้า
คลิก http://www.farmkaset..link..
สั่งซื้อกับ ช้อปปี้
คลิก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3396
3518 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 8 รายการ
|-Page 225 of 352-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในต้นยางพารา เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/29 15:46:35 - Views: 3378
หนอนพริก แมลงวันพริก หนอนแมลงวัน ศัตรูพริก ป้องกันและกำจัดด้วย ไอกี้-บีที
Update: 2564/02/26 06:22:10 - Views: 3484
ยากำจัดหนอนชวนชม หนอนกินใบ และหนอนต่างๆ ต้นชวนชม ฉีดพ่น ไอกี้-บีที
Update: 2564/09/29 03:30:57 - Views: 3532
การใช้คาร์รอน (Diuron 80% WG) เพื่อควบคุมหญ้าและวัชพืชในสวนมะเขือเทศ
Update: 2567/02/13 09:18:43 - Views: 3394
ทุเรียนใบไหม้ ใบจุด แอนแทรคโนส โคนเน่า ราแป้ง ราสีชมพู โรคต่างๆจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/18 15:11:54 - Views: 4356
เพิ่มผลผลิตอ้อย ด้วยปุ๋ย FK-1 890บาท และ FK-3S 950บาท โตไวผลผลิตดี
Update: 2562/10/06 07:54:44 - Views: 3562
ป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในต้นยางพารา (โรคใบไหม้อเมริกาใต้)
Update: 2566/01/10 07:25:03 - Views: 3416
การป้องกันกำจัดโรคเชื้อราในลำไย
Update: 2566/05/04 09:53:42 - Views: 3368
โรคทุเรียนกิ่งแห้ง มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคทุเรียนโคนเน่า ทุเรียนผลเน่า โรคใบติดทุเรียน ก็เช่นกัน แก้ด้วย ไอเอส ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง
Update: 2563/07/09 10:00:20 - Views: 3527
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคต้นเน่า ดอกเน่า ใน ดอกทานตะวัน ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/12 14:54:42 - Views: 3462
กำจัดเพลี้ย ใน ผักกาดหอม เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/12 15:34:31 - Views: 3390
กัญชา กัญชง: จากสิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งต้องมี
Update: 2564/04/06 09:25:46 - Views: 3380
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน กระเจี๊ยบเขียว เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/16 10:49:37 - Views: 3382
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคถอดฝักดาบ ในต้นข้าว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/05 10:24:48 - Views: 3389
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
Update: 2564/08/18 05:25:23 - Views: 3424
การปลูกอ้อย เพิ่มผลผลิตอ้อยสูงสุดด้วยปุ๋ยตรา FK ปุ๋ยน้ำสำหรับอ้อย
Update: 2566/01/02 09:26:52 - Views: 3612
กำจัด เพลี้ยไฟ ในแตงโม เพลี้ยแตงโม และแมลงศัตรูพืชด้วย มาคา
Update: 2562/08/07 12:01:15 - Views: 3930
ป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟมะม่วง มาคา ทางออกสำหรับเพลี้ยไฟมะม่วงและเพลี้ยอ่อน
Update: 2565/12/18 13:06:57 - Views: 3452
มะนาวน้ำน้อย มะนาวเปลือกหนา อาจจะมีสาเหตุจาก มะนาวขาดธาตุโบรอน
Update: 2565/08/04 01:49:17 - Views: 3464
ป้องกันกำจัดหนอนกอข้าว สาเหตุข้าวเมล็ดลีบ อาการข้าวฝักดาบ ทำให้ข้าวมีผลผลิตต่ำ
Update: 2567/05/20 12:01:05 - Views: 3491
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022