[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3582 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 358 หน้า, หน้าที่ 359 มี 2 รายการ

 
การปลูกแตงโม : คู่มือการปลูกแตงโมเบื้องต้น ให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกแตงโม : คู่มือการปลูกแตงโมเบื้องต้น ให้ได้ผลผลิตดี
แตงโมเป็นผลไม้ที่อร่อยและสดชื่นที่สามารถรับประทานได้ในช่วงฤดูร้อน หากคุณสนใจที่จะปลูกแตงโมของคุณเอง มีสิ่งสำคัญสองสามข้อที่ควรคำนึงถึงเพื่อให้ประสบความสำเร็จ นี่คือเคล็ดลับสำหรับการปลูกแตงโมให้ประสบความสำเร็จ

ประการแรก สิ่งสำคัญคือต้องเลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับต้นแตงโมของคุณ พวกเขาต้องการแสงแดดมากและดินที่มีการระบายน้ำดีซึ่งอุดมไปด้วยอินทรียวัตถุ แตงโมยังต้องการพื้นที่มาก เนื่องจากเถาสามารถแผ่กว้างได้ถึง 10 ฟุตในทุกทิศทาง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปลูกแตงโมของคุณในตำแหน่งที่จะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับปลูก

นอกจากดินและแสงแดดที่เหมาะสมแล้ว แตงโมยังต้องการการรดน้ำอย่างสม่ำเสมออีกด้วย สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ดินชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าให้มีน้ำขัง การให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่า ซึ่งสร้างความเสียหายหรือทำให้พืชตายได้

เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงและเพิ่มผลผลิตของต้นแตงโม คุณสามารถใช้ปุ๋ยเช่น FK-1 ปุ๋ยนี้มีส่วนผสมของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี และสารลดแรงตึงผิวที่สามารถช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของพืชและการผลิตผลไม้

ในการใช้ FK-1 กับต้นแตงโมของคุณ ให้ผสมทั้งสองถุงเข้าด้วยกัน จากนั้นสำหรับน้ำทุกๆ 20 ลิตร ให้ใช้ถุงแรก 50 กรัมและถุงที่สอง 50 กรัม คนจนละลายในน้ำ แล้วทาให้ทั่วโคนต้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่า แม้ว่าการใช้ FK-1 จะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ แต่ก็ไม่ควรใช้แทนการดูแลและบำรุงรักษาที่เหมาะสม

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการปลูกแตงโมคือการผสมเกสร ต้นแตงโมต้องการการผสมเกสรเพื่อสร้างผลไม้ และผึ้งคือแมลงผสมเกสรหลักของต้นแตงโม หากคุณสังเกตเห็นว่าไม่มีผึ้งในพื้นที่ของคุณ คุณอาจต้องผสมเกสรต้นแตงโมด้วยมือโดยการถ่ายโอนละอองเรณูจากดอกตัวผู้ไปยังดอกตัวเมียโดยใช้แปรงขนาดเล็ก

สุดท้าย สิ่งสำคัญคือต้องเก็บเกี่ยวแตงโมในเวลาที่เหมาะสม แตงโมสุกจะมีจุดสีเหลืองอยู่ข้างใต้และจะกลวงเมื่อเคาะ แตงโมที่สุกเกินไปอาจเละและมีรสชาติน้อยลง ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องจับตาดูพืชของคุณและเก็บเกี่ยวให้ถูกเวลา

กล่าวโดยสรุป การปลูกแตงโมอาจเป็นประสบการณ์ที่สนุกและคุ้มค่า ด้วยการเลือกสถานที่ที่เหมาะสม การดูแลและบำรุงรักษาที่เหมาะสม และการใช้ปุ๋ยอย่าง FK-1 คุณจะสามารถปลูกแตงโมที่แข็งแรงและให้ผลผลิตได้ ซึ่งจะให้ผลที่หวานฉ่ำตลอดทั้งฤดูร้อน
อ่าน:4066
เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (green rice leafhopper) การป้องกัน และกำจัด
เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (green rice leafhopper) การป้องกัน และกำจัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephotettix virescens (Distant)
วงศ์ : Cicadellidae
อันดับ : Homoptera
ชื่อสามัญอื่น : -

เพลี้ยจักจั่นสีเขียวเป็นแมลงจำพวกปากดูด ที่พบทำลายข้าวในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ Nephotettix virescens (Distant) และ Nephotettix nigropictus (Stal) ตัวเต็มวัยของแมลงทั้ง 2 ชนิดมีสีเขียวอ่อนและอาจมีแต้มดำบนหัวหรือปีก ขนาดลำตัวยาวไม่แตกต่างกัน ต่างกันตรงที่ N. nigropictus (Stal) มีขีดดำพาดตามความยาวของขอบหน้าผากระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง แต่ N. virescens (Distant) ไม่มี ตัวเต็มวัยไม่มีชนิดปีกสั้น เคลื่อนย้ายรวดเร็วเมื่อถูกรบกวน สามารถบินได้เป็นระยะทางไกลหลายกิโลเมตร ชอบบินมาเล่นไฟตอนกลางคืน โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม เพศเมียวางไข่ในกาบใบข้าว วางไข่เป็นกลุ่ม 8-16 ฟอง ไข่วางใหม่ๆมีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลและมีจุดสีแดง ระยะไข่นาน 5-8 วัน ตัวอ่อนมีสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อน ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อนนาน 14-15 วัน ระยะตัวเต็มวัยประมาณ 10 วัน

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยจักจั่นสีเขียวอพยพเข้าแปลงข้าวทันทีหลังจากเป็นต้นกล้า และมีปริมาณมากที่สุดในช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและลำต้นข้าว ทำให้ข้าวชะงักการเจริญเติบโตและอาจแห้งตายได้ถ้ามีปริมาณมาก และเป็นแมลงพาหะนำโรคใบสีส้ม (yellow orange leaf virus) มาสู่ข้าว ทำให้ต้นข้าวแคระแกร็น ใบเหลือง ข้าวออกรวงไม่สม่ำเสมอ เมล็ดลีบ โดยปรกติอาศัยอยู่ส่วนบนของต้นข้าวในตอนเข้า และย้ายลงมาด้านล่างของต้นข้าวในตอนบ่าย ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนจะแพร่กระจายออกไปไม่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยทั่วไปจึงไม่พบจำนวนประชากรมากถึงระดับทำให้ข้าวแห้งตายได้ ฤดูกาลปลูกข้าวครั้งหนึ่งเพลี้ยจักจั่นสามารถดำรงชีวิตได้ 3-4 ชั่วอายุ ตัวเต็มวัยสามารถดักจับได้จากกับดักแสงไฟ มักพบระบาดในฤดูฝนที่สภาพต้นข้าวเจริญดีเหมาะต่อการขยายพันธุ์

ลักษณะต้นข้าวที่เป็นโรคใบสีส้ม

ศัตรูของข้าว พบในข้าวนาปีมากกว่านาปรัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าว และเป็นแมลงพาหะนำโรคใบสีส้มมาสู่ข้าว

พืชอาหาร

ข้าว หญ้าข้าวนก หญ้าไซ ข้าวป่า

การป้องกันกำจัด

1). ใช้แสงไฟล่อแมลงและทำลายเมื่อมีการระบาดรุนแรง
2). ปลูกข้าวพร้อม ๆ กัน และปล่อยพื้นนาว่างไว้ระยะหนึ่ง เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลง
3). ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน กข4 กข9 กข21 กข23 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 ชุมแพ 60 เก้ารวง 88 แก่นจันทร์ นางพญา 132 พวงไร่
4). ใช้สารฆ่าแมลงตามคำแนะนำในตารางที่ 2 เมื่อมีการระบาดของโรคใบสีส้ม

อ้างอิง
ricethailand.go.th/ Rkb/disease%20and%20insect/ index.php-file=content.php &id=47.htm
อ่าน:4060
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ใบที่ยอดกิ่งมีสีซีด ไม่มันเงา เพราะรากเน่า แก้ด้วยไอเอส
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ใบที่ยอดกิ่งมีสีซีด ไม่มันเงา เพราะรากเน่า แก้ด้วยไอเอส
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ใบที่ยอดกิ่งมีสีซีด ไม่มันเงา เพราะรากเน่า แก้ด้วยไอเอส
โรครากเน่าและโคนเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการที่ราก เริ่มแรกเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล กรณีที่โรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย

ขอบคุณข้อมูลทางวิชาการจาก https://www.moac.go.th

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้ง เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย โรคใบไหม้ ใบแห้ง ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดตากบ แคงเกอร์ ไฟท็อปโธร่า รากเน่า โคนเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB
สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/products/fk-3-i388594842-s754764572.html
อ่าน:4054
โรคไหม้ข้าว โรคข้าวใบไหม้
โรคไหม้ข้าว โรคข้าวใบไหม้
โรคไหม้ (Rice Blast Disease) พบมาก ในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคใต้

สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.

อาการ

ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้

ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะออกรวง (โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 oC ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี

การป้องกันกำจัด

ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1 ปราจีนบุรี 1
พลายงาม คลองหลวง 1 พิษณุโลก 1

ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 เหนียวแพร่ สันปาตอง 1
หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโปร่งไคร้ น้ำรู

ภาคใต้ เช่น ดอกพะยอม

ข้อควรระวัง : ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง พบว่า แสดงอาการรุนแรงในบางพื้นที่ และบางปี โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เช่น ฝนพรำ หรือหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น หรือเป็นดินหลังน้ำท่วม

หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่าง
รวดเร็ว

คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกาไมซิน ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม
โพรคลอราซ ตามอัตราที่ระบุ ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์

ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกาไมซิน อีดิเฟนฟอส ไตรไซคลาโซล
ไอโซโพรไทโอเลน คาร์เบนดาซิม ตามอัตราที่ระบุ

ที่มา http://www.farmkaset..link..


ป้องกันกำจัด โรคไหม้ โรคใบไหม้ โรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
การจัดการดินและระบบการปลูกมันสำปะหลัง
การจัดการดินและระบบการปลูกมันสำปะหลัง
การจัดการดินและระบบการปลูกมันสำปะหลัง
 
       สภาพและปัจจัยที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง โดยมันสำปะหลังปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทรายเพราะจะลงหัวและเก็บเกี่ยวง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีค่าเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระหว่าง 5.5-8.0 ทนต่อสภาพความเป็นกรดสูงได้แม้ pH ของดินจะต่ำจนถึง 4.5 ก็ไม่ทำให้ผลผลิตลด แต่ไม่ทนต่อสภาพพื้นที่เป็นด่าง โดยไม่สามารถขึ้นได้ถ้า pH สูงถึง 8 ถ้าเป็นดินทรายสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรมักนิยมปลูกปลายฤดูฝน เช่น แถบจังหวัดระยอง และชลบุรี ถ้าเป็นดินเหนียวจะนิยมปลูกต้นฤดูฝน เพราะถ้าเป็นฤดูแล้งการไถพรวนจะได้ดินก้อนใหญ่ ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจะแห้งตายก่อนที่จะงอก มันสำปะหลังเป็นพืชวันสั้น ผลผลิตจะลดลงถ้า
ช่วงแสงของวันยาวเกิน 10-12 ชั่วโมง ขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝน 500-2,500 มิลลิเมตรต่อปี
       ความต้องการธาตุอาหารของมันสำปะหลัง มันสำปะหลังมีความต้องการธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม โดยในแต่ละฤดูการผลิตมันสำปะหลังจะต้องการธาตุไนโตรเจน 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ และต้องการโพแทสเซียม 8-12 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารในดินก่อนปลูก มันสำปะหลังจะตอบสนองต่อปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้รับมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถในการอุ้มน้ำของดินและปริมาณฝนที่ตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป จะทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันลดลง ส่วนธาตุฟอสฟอรัสนั้นถึงแม้จะมีปริมาณความต้องการน้อยกว่าธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม แต่ก็มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตที่สำคัญอย่างยิ่ง ธาตุฟอสฟอรัสจะมีประโยชน์ต่อมันสำปะหลังมากที่สุดที่ระดับ pH ของดินเป็นกลางในระหว่าง 6-7 สำหรับธาตุโพแทสเซียมนั้นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรทจากส่วนใบและต้นไปยังราก เพิ่มปริมาณแป้งในหัวมัน และลดปริมาณไฮโดรไซยานิคในหัวมัน การขาดโพแทสเซียมจะทำให้ผลผลิตหัวมันลดลงอย่างชัดเจน ใบแก่จะร่วงหล่นเร็วกว่าปกติ ใบเล็กแคบ และลำต้นแคระแกร็น

3.1 การเตรียมพื้นที่
   3.1.1 การเลือกพื้นที่ปลูก
   ควรเลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน ห่างจากถนนหลวงและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร พื้นที่ที่จะใช้ในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ต้องมีการวิเคราะห์สมบัติของดินและน้ำ เพื่อตรวจสอบหาสารพิษตกค้าง และทำประวัติการทำการเกษตรของพื้นที่ 

   3.1.2 การวางผังแปลง
       การทำไร่มันสำปะหลังอินทรีย์นั้นจะต้องมีการวางผังแปลงอย่างดี มีการจัดแบ่งพื้นที่ ระหว่างแปลงมีถนนเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ในพื้นที่ราบควรวางแนวแปลงปลูกให้ขนานกับทางลำเลียง แต่ในบริเวณลาดเอียงปลูกขวางความลาดเอียงของพื้นที่เพื่อลดการชะล้างและสูญเสียหน้าดิน

   3.1.3 การปรับพื้นที่
       เน้นการปรับหน้าดินเพื่อไม่ให้น้ำขังในแปลง บริเวณที่ลุ่มเป็นแอ่งเล็กน้อย ควรปรับเอาดินข้างๆ มากลบ แต่ถ้าเป็นแอ่งลึกและกว้างควรแก้ไขโดยการระบายน้ำออก

   3.1.4 การปลูกพืชเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอกพื้นที่หรือทางอากาศ
       ปลูกไม้ยืนต้นโตเร็วเพื่อเป็นแนวกันชน ป้องกันลม ป้องกันแมลงศัตรูพืชและสารเคมีจากพื้นที่อื่น ได้แก่ กระถิน แคฝรั่ง มะแฮะ เป็นต้น

   3.1.5 การเตรียมดิน
       มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ผลผลิตที่ใช้ประโยชน์คือรากที่มีการสะสมอาหารจำพวกแป้งจนขยายใหญ่ขึ้นเป็นหัวอยู่ในดิน การเลือกพื้นที่ควรเลือกที่ดอน ดินเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียวต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง และต้องมีหน้าดินลึกพอสมควร ก่อนปลูกควรไถและพรวนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อน และทำลายวัชพืชต่างๆ ให้ลดจำนวนลง การไถให้ใช้ผาน 3 ติดท้ายรถแทรกเตอร์ 1 ครั้ง ตามด้วยผาน 7 อีก 1 ครั้ง จะได้ผลผลิตมันสำปะหลังและกำไรสูงสุด ถ้าพื้นที่มีความลาดชันต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้างของดิน และถ้าดินระบายน้ำไม่ดีต้องยกร่องปลูก


3.2 การบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ 
   การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และทำให้ดินมีกำลังการผลิตที่เพียงพอ สามารถทำได้โดยการเพิ่มปริมาณซากพืช เพิ่มธาตุอาหารพืชในดิน และกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางชีวภาพในดิน สามารถทำได้ดังนี้

   3.2.1 ไม่เผาตอซังมันสำปะหลัง และเศษวัสดุอินทรีย์ แต่ทำการไถกลบลงในพื้นที่เพาะปลูก 
   3.2.2 ปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบ โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพร้าอัตรา 8-12 กิโลกรัมต่อไร่ ระหว่างปลูกพืชปุ๋ยสดให้ทำการฉีดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ โดยเจือจางด้วยน้ำในสัดส่วน 1:500 หรือ 1:1,000 ไถกลบเมื่ออายุประมาณ 45 วัน หรือถั่วพุ่มอัตรา 6-8 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบเมื่ออายุประมาณ 35 วัน ซึ่งเป็นช่วงออกดอก ทิ้งไว้ 15 วัน ก่อนปลูกมันสำปะหลัง
   3.2.3 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจาง 1: 500 หรือ 1:1,000 ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง และฉีดพ่นให้แก่มันสำปะหลัง หลังจากปลูกแล้ว 15 วัน หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นทุกๆ 1 เดือน จนกว่าจะเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
   3.2.4 ปลูกพืชปุ๋ยสดแซมมันสำปะหลัง เช่น ถั่วพุ่ม หรือถั่วพร้า แซมในแถวมันสำปะหลัง โดยปลูกหลังจากปลูกมันสำปะหลังไปแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วตัดคลุมดินช่วงพืชปุ๋ยสดออกดอก เพื่อเป็นการรักษาความชื้นในดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เมื่อเศษพืชปุ๋ยสดสลายตัว


3.3 วิธีการปลูก
   การเตรียมท่อนพันธุ์
       การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์ โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 เซนติเมตร เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป แช่ท่อนพันธุ์ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เจือจาง 1:500 หรือ 1:1,000 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำมาผึ่งท่อนพันธุ์ให้แห้ง ก่อนนำไปปลูก 

   วิธีปลูก
       การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดิน ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน และมันสำปะหลังจะงอกเร็ว สะดวกต่อการกำจัดวัชพืชและปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว และให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกแบบฝัง 10-15 เปอร์เซ็นต์ 

   ระยะปลูก
       พันธุ์ระยอง 1 โดยใช้ระยะ 100 x 100 เซนติเมตร ซึ่งในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 1,600 ต้น ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนเมษายน 
       ส่วนพันธุ์ระยอง 90 ควรใช้ระยะ 80 x 100 เซนติเมตร (2,000 ต้นต่อไร่) ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนเมษายน 
       พันธุ์ระยอง 60 ควรใช้ระยะ 60 x 100 เซนติเมตร (2,400 ต้นต่อไร่) ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์ 
       พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ควรใช้ระยะปลูก 80 x 100 เซนติเมตร ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนพฤษภาคม


3.4 การดูแลรักษาและกำจัดศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
   3.4.1 การป้องกันกำจัดโรคพืช
       มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนน้อยมาก ซึ่งปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว อาจพบได้ในบางกรณี เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบจุดไหม้ โรคใบจุดขาว สามารถป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อราจาก กระชาย ก้ามปู ตะไคร้ สมอดุ้ง เป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อแบคทีเรียจาก กระชาย ตะไคร้ ตีนเป็ดทะเล ฉัตรพระอินทร์ เป็นต้น

      โรคและการป้องกันกำจัด
       มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนน้อยมาก อาจเนื่องมาจากส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว แต่เมื่อนำพันธุ์ใหม่เข้ามาปลูกโดยไม่มีการควบคุมที่ดีพอ อาจมีโรคร้ายแรงติดเข้ามาระบาดในประเทศได้โรคที่พบระบาดในประเทศไทย มีดังนี้

โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Crecosporidium henningsii อาการที่พบจะเป็นจุดที่ใบโดยเฉพาะใบแก่ รอยแผลจะเป็นเหลี่ยมตามเส้นใบ มีขอบชัดเจน สีเหลืองตรงกลางแผลจะแห้ง โรคนี้พบได้ในทุกพันธุ์ พันธุ์พื้นเมืองซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานปานกลาง โรคนี้ทำให้ผลผลิตลดลง 14-20 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อราจากกระชาย ก้ามปู ตะไคร้ สมอดุ้ง เป็นต้น
โรคใบไหม้ (cassava bacterial blight, CBB) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas camprestris pv. Manihotis อาการจะเกิดขึ้นที่ใบ เริ่มแรกเป็นจุดเหลี่ยมฉ่ำน้ำแล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นใบไหม้ ใบเหี่ยวร่วงหล่น มียางไหล ต่อมาเกิดอาการยอดเหี่ยว และแห้งตายลงมา (die back) เป็นโรคที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่งซึ่งจะทำความเสียหายให้มันสำปะหลังได้ถึง 30-90 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศไทยพบอาการต้นเป็นโรคและไม่ระบาดรุนแรง อาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการระบาด และพันธุ์ที่แนะนำส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทานต่อโรคนี้ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อแบคทีเรียจากกระชาย ตะไคร้ ตีนเป็ดทะเล ฉัตรพระอินทร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังสามารถพบโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคใบจุดไหม้ (blight leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora viscosae โรคใบจุดขาว (white leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Phaeoramularia manihotis โรคลำต้นเน่า (stem rot) เกิดจากเชื้อ Glomerella cingulata และโรคหัวเน่า (root rot) ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อราหลายชนิด มักจะเกิดขึ้นเมื่อหัวมันสำปะหลังเป็นแผล

   3.4.2 การป้องกันกำจัดแมลง
       แมลงที่ทำลายมันสำปะหลังมักจะพบระบาดมากในช่วงที่อากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มักจะเป็นแมลงพวกปากดูด ได้แก่ ไรแดง เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว สามารถป้องกันกำจัดโดยพ่นสารสกัดจาก ขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระเจา รางจืด สะเดา เป็นต้น เพื่อฆ่าแมลงและศัตรูพืชเป็นจุดเฉพาะบริเวณที่ระบาดรุนแรง

ไรแดง (red spider mite) ที่พบทำความเสียหายให้มันสำปะหลังมี 2 ชนิด ได้แก่ ไรแดงหม่อน (Tetranychus truncatus) จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบล่างๆ แล้วลามขึ้นมาขึ้นสู่ยอด และไรแดงมันสำปะหลัง (Oligonychus biharensis) จะดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบส่วนยอด แล้วขยายปริมาณลงสู่ส่วนล่างของต้น ถ้าไรแดงระบาดมากๆ ใบจะเหลืองซีด ม้วนงอ ส่วนยอดงองุ้ม ถ้ามันสำปะหลังมีขนาดเล็กอาจตายได้ หากระบาดมากต้องพ่นสารสกัดจาก ขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระเจา รางจืด สะเดา เป็นต้น เพื่อฆ่าแมลงและศัตรูพืชเฉพาะบริเวณที่มีการระบาดรุนแรง
เพลี้ยแป้ง (stripped mealy bug) เป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ และถ่ายมูลเหลวไว้ทำให้เกิดราดำ ถ้าระบาดมากต้นจะแคระแกร็น ยอดแห้งตาย หรือแตกพุ่ม ถ้าพบต้องตัดต้นไปทำลาย พ่นสารสกัดจาก ขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระเจา รางจืด สะเดา เป็นต้น
แมลงหวี่ขาว (white fly) เป็นแมลงปากดูดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนใต้ใบพืช และถ่ายมูลเหลวออกมาทำให้เกิดราดำ มักเกิดควบคู่กับการเข้าทำลายของไรแดง และเพลี้ยแป้ง พ่นสารสกัดจากขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระเจา รางจืด สะเดา เป็นต้น
แมลงปากกัดอื่นๆ พบบ้างแต่ไม่ทำความเสียหายมากนัก เช่น แมลงนูนหลวง ตัวหนอนจะทำลายกัดกินราก ต้นมันสำปะหลังที่มีขนาดเล็กอาจตายได้ ด้วงหนวดยาว ตัวหนอนจะกัดกินภายในเหง้าและต้นทำให้ต้นหักล้ม

   3.4.3 การควบคุมวัชพืช
       ในระยะแรกของการปลูกมันสำปะหลังจะมีวัชพืชขึ้นรบกวนมาก และระยะเวลาวิกฤตในการกำจัดวัชพืชจะอยู่ที่ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่มันสำปะหลังกำลังลงหัว หลังจาก 4 เดือนไปแล้วมันสำปะหลังจะไม่มีการสร้างหัวเพิ่ม แต่จะขยายขนาดหัวให้ใหญ่ขึ้น ถ้ามีวัชพืชขึ้นรบกวนในช่วงนี้มากจะทำให้ผลผลิตลดลง การเริ่มกำจัดวัชพืชครั้งแรกต้องรีบกระทำ อาจเริ่มที่ 15 วันหลังจากปลูก ยิ่งล่าช้าออกไปผลผลิตจะยิ่งลดลง ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกให้เสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากปลูก และอาจต้องกำจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้ง จนกว่าพุ่มของใบมันสำปะหลังจะชิดกัน หรืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันวัชพืชได้คือการปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในแปลงมันสำปะหลัง เป็นการคลุมดินป้องกันวัชพืชได้ในช่วงแรกๆ แล้วตัดวางคลุมดินไว้ หรือใช้สารสกัดจากควินิน แกง ชุมเห็ดไทย ตำแยแมว ชบา น้ำนมราชสีห์ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช



3.5 การจัดการดินหลังเก็บเกี่ยว
       มันสำปะหลังได้เปรียบพืชไร่ชนิดอื่นที่สามารถยืดหยุ่นอายุการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังตามความจำเป็น เช่น ราคา และแรงงาน แต่โดยปกติจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 10-12 เดือน เพราะผลผลิตมันสำปะหลังจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น หลังจากเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันที หรืออย่างช้าไม่เกิน 3 วัน มิฉะนั้นหัวมันจะเริ่มเน่า ส่วนลำต้นต้องเก็บทันทีเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป โดยนำไปกองรวมกันแบบตั้งขึ้นให้โคนติดพื้นดินส่วนยอดตั้งขึ้นในร่ม วิธีนี้สามารถเก็บต้นได้นานถึง 30 วัน ส่วนของกิ่ง ก้าน และใบ และในส่วนที่เป็นวัสดุตอซังให้สับกลบลงสู่ดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

      

3.6 การบันทึกข้อมูล
       เพื่อให้ระบบการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ถูกต้องตามหลักการเกษตรอินทรีย์ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีปลอดภัยจากสารพิษ จำเป็นต้องมีระบบการบันทึกข้อมูลตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยวที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักการของระบบเกษตรอินทรีย์ 
อ่าน:4045
Protect Plants แอพพลิเคชั่นดีๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเกษตรกรไทย
Protect Plants แอพพลิเคชั่นดีๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเกษตรกรไทย
Protect Plants แอพพลิเคชั่นดีๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเกษตรกรไทย แอพพลิเคชั่น Protect Plants แอพพลิเคชั่นดีๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตรจัดทำเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพืขและศัตรูพืช
พร้อมทั้งมีฟังค์ชั่นเด่นที่คอยติดตามการระบาดศัตรูพืช เพื่อให้เกษตรกรป้องกันได้ทันท่วงที


ตัวแอพพลิเคชั่นประกอบไปด้วยฟังค์ชั่นหลัก 6 หมวด ได้แก่

1. ข่าวสาร : เพื่อให้เกษตรกรได้รับข่าวสารด้านการเกษตรที่รวดเร็ว
2. องค์ความรู้ด้านอารักขาพืช : เกษตรกรจะได้ความรู้เกี่ยวกับศัตรูพืชต่างๆมากมาย
3. วินิจฉัยศัตรูพืชเบื้องต้น : ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถทราบถึงสาเหตุของโรคเบื้องต้นได้ และรายงานกลับมายังผู้ดูแล
4. วินิจฉัยตามชนิดพืช : ฟังค์ชั่นที่เจาะลึกถึงปัญหาต่างๆ ตามชนิดพืชเศรษฐกิจ
5. พยากรณ์เตือนการระบาด : เครื่องช่วยเตือนเกษตรกรเกี่ยวกับการระบาดที่จะเกิดขึ้นเพื่อหาทางป้องกัน
6. พยากรณ์สภาพอากาศ : ปัจจัยสภาพอากาศย่อมมีผลเกี่ยวกับการเกิดศัตรูพืชระบาด หมวดนี้จึงจะช่วยวิเคราะห์ หาทางป้องกันล่วงหน้าได้



ระบบปฏิบัตการที่รองรับบน Smartphone และ Teblet สามารถดาวน์โหลดได้ที่ระบบ Andoid
ส่วน IOS อีก 15 วันนะจ๊ะ


Link Download Google Play
https://play.google.com/store/apps/details?id=de.easeco.protectplants&hl=en






อ่าน:4042
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
มันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย นอกจากจะเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังได้มากเป็นอันดับที่สามของโลก รองจากประเทศ ไนจีเรีย และบราซิล ยังเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลก และนำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 30_000 ล้านบาท เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชของขวัญของเกษตรกรไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่ายแม้ดินจะไม่ดี ทนต่อความแห้งแล้ง ปัญหาโรคแมลงมีน้อย หัวสดมีตลาดรองรับแน่นอน การขุดเก็บเกี่ยวไม่ขึ้นกับฤดูกาล สามารถจะชะลอการเก็บเกี่ยวได้

จากการสำรวจมันสำปะหลังจะเห็นได้ว่า ผลผลิตหัวมันสดเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่มากในปี 2547/2548 2548/2549 เฉลี่ยต่อไร่ (2_749และ 2_921กิโลกรัม)

จากการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังประจำปี 2550/2551 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_302_960 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_782 ตัน ผลผลิตรวม 27_618_763 ตัน เปรียบเทียบกับ ปีประจำปี 2549/2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_201_243 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_668 ตัน ผลผลิตรวม 26_411_233 ตัน

พื้นที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น 1.41% ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 3.11% และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น 4.57% (มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย_ 2550) แม้ในปัจจุบัน จะมีการขยายพื้นที่มันสำปะหลังพันธุ์ดีสู่เกษตรกรไปมากแล้วก็ตาม สาเหตุหลักเนื่องจากดินเสื่อมโทรม ทำให้ผลผลิตต่ำแม้ใช้มันสำปะหลังพันธุ์ดีเนื่องจากเกษตรกรไม่นิยมปรับปรุงบำรุงดิน

การเพิ่มผลผลิตโดยรวมของประเทศ จึงมาจากการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นมากกว่า ในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่เพิ่มขึ้นนั้น เกษตรกรสามารถทำได้ 3 วิธีร่วมกันคือ

- การจัดการดินดี
- การใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินและพื้นที่
- การปฏิบัติดูแลรักษาดี

ก็จะช่วยให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ปัญหาของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังคือ ดินเสื่อมโทรมจะเป็นปัญหาอันดับหนึ่ง จึงจำเป็นต้องหาหนทางในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน และการบำรุงรักษาดิน และการดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ จะช่วยให้ผลผลิตหัวสดต่อไร่สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน เนื่องจากศักยภาพของพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ถ้าเกษตรกรมีการปฏิบัติดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ได้ผลผลิตสูงเฉลี่ยต่อไร่ 5-10 ตันต่อไร่ได้ เนื่องจากการผลิตมันสำปะหลังในปัจจุบัน แม้ราคาจำหน่ายหัวมันสดจะสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละกว่า 2.50 บาท แต่ปัจจัยการผลิตต่างๆ ก็แพงขึ้นตามตัวไม่ว่าจะราคาน้ำมัน (ดีเซล) ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช ค่าแรงงาน ทำให้ต้องมองหาวิธีการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี มีราคาแพงถึงกระสอบละ 1_000 กว่าบาทนั้น ต้องมองหาแหล่งปุ๋ยอินทรีย์ ที่นับวันจะหาอยากเพื่อจะนำมาใช้ทั้งโดยตรง และร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีที่ใช้อัตราต่ำลง แต่ยังคงให้ผลผลิตคุ้มกับการลงทุน

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและน้ำมันิบมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การหาแหล่งพลังงานใหม่เข้ามาทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบ จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ จะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ อย่างยั่งยืน สถานภาพวัตถุดิบที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล สามารถผลิตได้จากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันเบนซินในอัตราส่วน 20% จะได้น้ำมันที่เรียกว่า แก๊ซโซฮอล์ (Gasohol) โดยวัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงสำหรับการผลิตเอทานอลได้แก่ อ้อย กากน้ำตาล และมันสำปะหลัง

จากการวิจัยและพัฒนาพบว่า วัตถุดิบที่เหมาะสมที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล คือมันเส้นเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ การใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้มันน้อยที่สุด ทั้งนี้พิจารณาถึงความสามารถและกำลังการผลิตหัวมันสำปะหลังซึ่งในปัจจุบัน ผลผลิตหัวสดมีปริมาณไม่เพียงพอในการผลิตแป้ง ในปัจจุบัน และราคาหัวมันสดที่สูงถึงกว่า 2.50 บาท จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตเอธานอลที่ไม่คุ้มกับการลงทุน เนื่องจากปัญหาจำนวนผลผลิตส่วนใหญ่ใช่ในอุตสาหกรรมอาหาร จึงมีผลผลิตไม่เพียงพอในการนำไปผลิตพลังงานทดแทน หากจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นเป็นเรื่องจำเป็น

การปฏิบัติในการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณแป้งในมันสำปะหลัง เพื่อรองรับทางด้านพลังงานสามารถทำได้ดังนี้

1. การเตรียมดินดี ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการปลูกพืช ดินที่ปลูกจะต้องมีความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่จะปลูกในดินร่วนปนทราย ในสภาพพื้นที่ลอนลาด เนินเขาต่างๆ ในการปฏิบัติส่วนใหญ่หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จในช่วงต้นฤดูฝน ถ้าทำการปลูกต่อจะไถพื้นที่ด้วยรถไถผาล 3 หรือเรียกว่าไถดะ เพื่อไถหมักต้นและใบสดที่ทิ้งในแปลง รวมทั้งวัชพืชที่ขึ้นในแปลงโดยทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน เพื่อหมักให้วัชพืชเน่าเปื่อย หากจะบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารปรับปรุงดิน เช่น ยิบซั่ม ก็ทำการหว่านให้ทั่วทั้งแปลง เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอก็ทำการไถอีกครั้งด้วยรถไถผาล 7 เรียกว่าไถแปร ถ้าหากปลูกแบบพื้นราบก็ทำการปลูกได้เลยโดยการใช้เชือกทำเครื่องหมาย
ระยะปลูกให้เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ หากในบางพื้นที่ก็ทำการยกร่องปลูกก็ขึ้นกับสภาพพื้นที่

2. ปรับปรุง และบำรุงดิน ปัจจุบันพันธุ์มันสำปะหลัง เทคโนโลยีการผลิตนั้น ประเทศไทยถือได้ว่ามีความก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่ง ในประเทศผู้ปลูกมันสำปะหลังในโลกปัจจุบัน แต่ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยคือ ปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ต่ำ ทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยของเกษตรและของประเทศ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำประมาณ 2.5-3.0 ตันต่อไร่ (ปี 2549/50 3.7 ตันต่อไร่) แม้เกษตรกรจะใช้มันสำปะหลังพันธุ์ที่ใหม่และให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 5-10 ตันต่อไร่ก็ตาม แต่หากไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีก็คงจะได้ผลผลิตสูงได้ยาก

การปรับปรุงบำรุงดินเป็นสิ่งจำเป็นในการปลูกมันสำปะหลัง หากจะปลูกแล้วให้มีกำไรและให้ผลผลิตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยมูลไก่ มูลสุกร มูลโค หรือมูลสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่หาได้โดยใส่อัตราประมาณ 500 – 1_000 กก./ไร่ หรือปุ๋ยอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่นนอกจากนั้นยังสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานที่สามารถนำมาใช้โดยตรง เช่น เปลือกมันสำปะหลังจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่ทิ้งหมักไว้แล้ว วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานผงชูรส เป็นต้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงบำรุงดิน ต้องใส่่ในปริมาณที่มาก เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่มีปริมาณธาตุอาหารที่ต่ำ และการปลดปล่อยธาตุอาหารก็ช้า และต้องใช้เวลาในการใช้จึงจะเห็นผลจำเป็นต้องใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี
จึงจะเกิดประโยชน์และช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้น

ในกรณีปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินเป็นเรื่องที่ดีในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติแม้ผลการทดลอง จากการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตหัวสดสูงขึ้น แต่การขยายผลจากงานทดลองสู่เกษตรกรยังไม่มีการตอบรับจากเกษตรส่วนใหญ่ เนื่องจากเกษตรกรมีทุนในการปลูกมันสำปะหลังน้อยอยู่แล้ว การไถแต่ละครั้งต้องใช้ต้นทุนสูงขึ้นจึงไม่ได้รับการยอมรับ

ประภาสและคณะ ศึกษาการใช้แคลเซียมซัลเฟต (CaSo4.2H2O) หรือยิบซั่มซึ่งเป็นสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแคลเซี่ยม(Ca) และกำมะถัน(S) เป็นองค์ประกอบหลักใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยมูลไก่ ทั้งในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนโดยในชุดดินวาริน ทำการศึกษาโดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 72 และพันธุ์ห้วยบง 60 ส่วนชุดดินมาบบอนใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 5 ทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนเป็นเวลา 3 ปี

จากผลการทดลองในดินชุดวาริน ในอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา และชุดดินมาบบอนในอำเภอพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการทดลองทั้งสองชุดดินที่มีสภาพเป็นดินร่วนปนทรายสามารถยกระดับผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจน ก็เป็นทางเลือกที่เกษตรกรจะพิจารณาใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงมาก

3. การวางแผนการปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาล

ปลูกปลายฤดูฝน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคม ไม่ควรเกินวันที่ 10 พฤศจิกายน ในภาคตะวันออกตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ การปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงปลายฤดูฝนความสม่ำเสมอในการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังจะต่ำกว่าการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากการปลูกปลายฤดูฝนมันสำปะหลังจะติดแล้ง ในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตอายุ 3-4 เดือน การปลูกในช่วงปลายฤดูฝนจึงแนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินเป็นทรายหรือร่วนปนทราย ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินค่อนข้างเหนียว ซึ่งเมื่อกระทบแล้งมันสำปะหลังจะตายมาก และมีในภาคตะวันออกอาจจะเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนตุลาคม – มกราคม เนื่องจากสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและหากมีการไถดะให้ลึกเพื่อตัดเก็บความชื้นเอาไว้
จะช่วย ให้ในดินมีความชื้นและปริมาณน้ำฝนที่มากและการกระจายตัวของฝนมากกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปลูกต้นฤดูฝน
ตั้งแต่ปลายมีนาคม – เมษายน ในฤดูฝนควรดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคมให้เสร็จ หากปลูกหลังจากเดือนนี้จะมีปัญหาเรื่องวัชพืชที่มี ต้นทุนสูงที่สุดในขั้นตอนการปลูกมันสำปะหลั งยิ่งทำในพื้นที่มากๆแล้วไม่แนะนำให้ดำเนินการในช่วงเดือนนี้ ควรทำในช่วงต้นฤดูฝน

4. ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี คือ พันธุ์ที่มีการปรับตัวในสภาพแวดล้อมต่าง ๆได้ดี สามารถงอกและมีอัตราการอยู่รอดสูง เจริญเติบโตดี สามารถคลุมวัชพืชดี ทรงต้นดี อายุการเก็บต้นพันธุ์หลังการเก็บเกี่ยวได้นาน ให้ผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งสูง ในพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังควรเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินที่เกษตรกรปลูกเอง ในปัจจุบันทางราชการได้แนะนำพันธุ์มันสำปะหลังประเภทปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรมให้เกษตรกรขยายพันธุ์ปลูกไปแล้วจำนวน 11 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 ระยอง 60 ศรีราชา 1 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 5 ระยอง 72 ห้วยบง 60 ระยอง 7 และระยอง 9 ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่น และด้อยต่างกัน

5. การใช้ต้นพันธุ์ดี พันธุ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมและวิธีการปลูกที่ถูกต้องผลผลิตหัวสดที่ได้จากการปลูกมันสำปะหลัง มีความสัมพันธุ์อย่างมากกับความงอกและจำนวนต้น อยู่รอดจนกระทั่งขุดเก็บเกี่ยว แต่ส่วนมากนิยมการปลูกแบบปักตรง ซึ่งได้รับผลผลิตสูงกว่า ตางอกได้เร็วกว่า การดูแลรักษาหลังการปลูก เช่น การกำจัดวัชพืช ปัญหาเรื่องแดดเผาต้นไม่มี การใส่ปุ๋ยตลอดจนการขุดเก็บเกี่ยวทำได้สะดวก การเลือกท่อนพันธุ์ที่ดี เป็นต้นพันธุ์ที่ใหม่หลังการตัดต้นพันธุ์แล้ว ควรรีบดำเนินการปลูกภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากขุดมันแล้ว เกิดภาวะแห้งแล้งไม่เหมาะสมในการปลูก หากจำเป็นต้องเก็บต้นไว้ปลูกหลายเดือนควรเก็บท่อนพันธุ์ตั้งไว้กลางแจ้ง ให้โคนต้นถึงพื้นดินทุกต้นและกรบโคนต้น รดน้ำให้ดินมีความชื้นโดยกองละประมาณ 500 ต้น ต้นมันสำปะหลังจะรักษาน้ำเลี้ยงคงความสดไว้ได้นานกว่า 2 เดือน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสมควรคัดต้นที่สมบูรณ์ ตาของท่อนพันธุ์ต้องถี่ ต้นมีสีออกน้ำตาล หลีกเหลี่ยงการใช้ส่วนที่เป็นโคนต้นและปลายยอดที่มีสีเขียว รวมทั้งลำต้นที่เป็นโพรง วิธีการสับท่อนพันธุ์เป็นเรื่องที่น่าสนใจและใช้ความระมัดระวังอย่างมาก อย่าให้กระทบกระเทือนตาบนท่อนพันธุ์ และแนะนำให้สับตรงหรือเฉียงเล็กน้อย ไม่ควรสับเฉียงจนแหลมมาก นอกจากนั้นต้องตัดท่อนพันธุ์ให้มีความยาวที่เหมาะสม คือ ยาวประมาณ 20-25 ซม. การใช้ต้นพันธ์เพื่อปลูก ถ้าต้นพันธุ์มันสำปะหลังมีความยาวขนาด 1.20 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 500 - 650 ต้นต่อไร่ก็ขึ้นกับพันธุ์

6. วิธีการปลูก
สำหรับการปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยที่เกษตรกรนิยมปลูกมีด้วยกัน 3 วิธีคือ
6.1.การปลูกแบบยกร่อง
6.2.การปลูกแบบพื้นราบ
6.3.การปลูกโดยใช้เครื่องจักร

7.จัดระยะปลูกให้ถูกต้อง
ทุกสภาพดินการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตสามารถกระทำได้โดยการใช้ระยะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์ที่ใช้ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน หลักในการพิจารณาโดยทั่วๆไปที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้คนที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลังสำปะหลังก็คือ “ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง” ความนิยมของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ โดยจะมีระปลูกโดยทั่วไปเช่น ระยะ1.0 x1.0 เมตรใช้ท่อนพันธุ์ 1_600 ท่อน 1.2 x 0.8 เมตร (1_600 ท่อนปลูกระยะถี่1.0 x 0.8 เมตร (2_400 ท่อน ) ในบางครั้งจะเห็นว่าเกษตรกรนั้นปลูกระถี่กว่านี้จะใช้ระยะ 1.2 x 0.3-0.7 เมตร ขึ้นกับพันธุ์ที่ใช้ปลูก

8. การกำจัดวัชพืช
นอกจากปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ปัญหาวัชพืชหรือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า “รุ่น” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงตลอดฤดูฝน ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการปลูกและดูแลรักษาเกิดจากการป้องกันกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะในระยะ 1-4 เดือนแรกของการปลูกเกษตรกร
ต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกทุก 15 วัน เพื่อแก้ปัญหาวัชพืชโดยใช้หลักป้องกันไว้ก่อน การแก้ปัญหาล่าช้า ปล่อยให้วัชพืชแข็งแรง เจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอก จะกำจัดทำลายยากและยืดเยื้อ ใช้ต้นทุนสูง ทำให้มันสำปะหลังแคระแกรน ผลผลิตต่ำ การปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฤดูฝนซึ่งตรงกับหน้าแล้ง ปัญหาวัชพืชจะไม่รุนแรง

9. การเพิ่มผลผลิตโดยการใช้ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยเคมีให้ทันเวลาหมายถึงการใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูก เพื่อใส่ปุ๋ยเนื่องจากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรส่วนใหญ่ทำในพื้นที่หลายไร่ จึงจำเป็นต้องเริ่มใส่ปุ๋ยให้เร็วเพราะจะทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบได้เร็ว สามารถคลุมวัชพืชได้เร็ว และจะช่วยลดปัญหาการชะล้างพังทะลายของดินซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แล้วยังจะช่วยลดการกำจัดวัชพืชได้ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้

10. ขุดเก็บเกี่ยวให้ถูกฤดูกาลในช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนใหญ่ขุดระหว่าง 8-12 เดือน มันสำปะหลังสังเกตุจากมันจะเริ่มทิ้งใบ โดยใช้เครื่องจักรหรือแรงงานคน ส่วนใหญ่จะเริ่มขุดในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายนเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมันจะได้อายุครบ 12 เดือนหรือใกล้เคียง อีกช่วงหนึ่งที่มีการขุดหัวมันขายมากก็ในช่วง เดือนกันยายน-ตุลาคม หรือเรียกว่ามันที่ปลูกปลายฤดูฝน หากช่วงไหนราคามันไม่ดีหรือมีแปลงขนาดใหญ่ ที่มีการหมุนเวียนการปลูกภายในฟาร์มขนาดใหญ่ ก็ไม่จำเป็นที่จะขุดที่ 12 เดือน เป็นหลักอาจจะยืดอายุการขุดออกไปถึง 15-18 เดือนเนื่องจากอายุ ยิ่งมาก ผลผลิตก็ยิ่งสูงขึ้นก็ขึ้นกับปริมาณน้ำฝน

ข้อมูลจาก ku.ac.th/e-magazine/ oct51/agri/agri2.htm
อ่าน:4040
แมลงวัน หนอนชอนใบผัก (Leaf Miner) ระบาด
แมลงวัน หนอนชอนใบผัก (Leaf Miner) ระบาด
แมลงวัน หนอนชอนใบผัก (Leaf Miner) ระบาด
พืชผัก เช่น พืชตระกูลกะหล่ำ หอมต้น มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะระ พริก บวบ กระเจี๊ยบ โหระพา แมงลัก ถั่วต่างๆ ดาวเรือง เบญจมาศ กุหลาบ เยอบีร่า ระวัง หนอนชอนใบผัก เข้าทำลาย

ในสภาพอากาศร้อน ชื้น มีฝน เหมาะกับการระบาดของหนอนต่างๆ หนอนชอนใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Liriomyza brassicae (Riley)
วงศ์ : Agromyzidae
อันดับ : Diptera

รูปร่างลักษณะ
หนอนแมลงวัน หนอนชอนใบ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็กมีขนาด ๑ – ๒ มิลลิเมตร

หนอน ชอนไชไปตามเนื้อเยื่อพืช พืชที่โดนหนอนชอนใบทำลาย ใบจะเป็นรอยลาย ร่วงหล่นลงดิน ส่งผล สร้างความเสียหายต่อผลผลิต

การแพร่ระบาด และการทำลาย

หนอนชอนใบ สร้างความเสียหายมากในมะเขือเทศ ดอกเบญจมาศ เข้าทำลาย พืชผัก ไม้ดอก พบระบาดทั่วทุกภาคในประเทศไทย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ระวัง!! โรคใบไหม้ จุดดำ ราแป้ง โรคแอนแทรคโนส ในต้นสตอเบอร์รี่ สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
ระวัง!! โรคใบไหม้ จุดดำ ราแป้ง โรคแอนแทรคโนส ในต้นสตอเบอร์รี่ สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Metalaxyl ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อราที่มีฤทธิ์แรง ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นพันธมิตรที่มีคุณค่าในการต่อสู้กับโรคเชื้อราต่างๆ ที่ส่งผลต่อพืชสตรอเบอร์รี่ ผู้ปลูกสตรอเบอร์รี่ต้องต่อสู้กับปัญหาต่างๆ เช่น โรคใบไหม้ จุดดำ โรคราแป้ง และโรคแอนแทรคโนส ซึ่งสามารถทำลายล้างพืชผลได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ตรวจสอบ Metalaxyl ต่อสู้กับโรคเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งสำหรับต้นสตรอเบอร์รี่จากผลกระทบที่สร้างความเสียหาย ด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่รับผิดชอบต่ออาการเจ็บป่วยเหล่านี้ Metalaxyl จึงช่วยรักษาสุขภาพโดยรวมและความมีชีวิตชีวาของพืชสตรอเบอร์รี่ สารฆ่าเชื้อรานี้ทำหน้าที่เป็นมาตรการป้องกัน ทำให้มั่นใจได้ว่าต้นสตรอเบอร์รี่สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ทำให้การติดเชื้อแย่ลง การใช้งานไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องพืชเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มผลผลิตอีกด้วย ช่วยให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวสตรอเบอร์รี่ที่ดีต่อสุขภาพและอุดมสมบูรณ์ได้ ผลที่ได้คือ Metalaxyl ยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งรับประกันความยืดหยุ่นและผลผลิตของการปลูกสตรอเบอร์รี่

💦อัตราผสมใช้ เมทาแลคซิล
» เมทาแลคซิล 25กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร
» หรือ เมทาแลคซิล 250กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร

📌ช่องทางสั่งซื้อ สอบถาม ได้ที่

» LineID: @FarmKaset คลิกแอดไลน์ http://ไปที่..link.. .
» โทร 090-592-8614
.
🔎ซื้อกับลาซาด้า ช้อปปี้ TikTok
.
» ซื้อเมทาแลคซิล กับช้อปปี้ คลิกที่นี่ http://ไปที่..link..
.
» ซื้อเมทาแลคซิล กับลาซาด้า คลิกที่นี่ http://ไปที่..link..
.
» ซื้อเมทาแลคซิล กับTikTok คลิกที่นี่ http://ไปที่..link..
อ่าน:4038
โรคแคงเกอร์ ในพืชตระกูลส้ม และ มะนาว แก้ได้ด้วยไอเอส ปลอดสารพิษ
โรคแคงเกอร์ ในพืชตระกูลส้ม และ มะนาว แก้ได้ด้วยไอเอส ปลอดสารพิษ
โรคแคงเกอร์ ในพืชตระกูลส้ม และ มะนาว แก้ได้ด้วยไอเอส ปลอดสารพิษ
โรคแคงเกอร์ เกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อ แซนโทโมแนส พบได้ทั้งบน ใบ กิ่ง และผลส้ม พืชตระกูลส้มที่อ่อนแอต่อแบคทีเรียสาเหตุ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะนาว ส้มโอ และมะกรูด และโรคแคงเกอร์นี้ยังเป็นศัตรูกักกันพืชในต่างประเทศ เช่น ประเทศในกลุ่มอียู ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และในอีกหลายประเทศทั่วโลก จึงเกิดความเข้มงวดในการนำเข้าส้มและใบมะกรูด และบางประเทศห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาด

อาการของโรคแคงเกอร์ที่พบบนใบจะเริ่มจากจุดน้ำใสๆ ขนาดเล็กบนใบอ่อน ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น ตรงกลางแผลจะปรากฎรอยนูนขึ้นมาด้านบนใบเป็นขุยแข็งๆ สีน้ำตาลอมเหลือง ลักษณะขรุขระ แผลอาจเกิดเดี่ยวๆ หรือแผลอาจขยายมาติดกันเป็นแผ่นกว้าง เมื่อลูบดูจะรู้สึกว่าสากมือ ขอบแผลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ อาจเห็นเป็นวงซ้อนกันด้วยก็ได้ ใบที่เป็นโรคจะแห้ง เหลือง และร่วง

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/..

อ่าน:4035
3582 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 358 หน้า, หน้าที่ 359 มี 2 รายการ
|-Page 11 of 359-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 | 358 | 359 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ลำไยไทยราคาพุ่ง เกษตรกรยิ้มรับทรัพย์
Update: 2568/03/27 07:56:02 - Views: 82
คาดการณ์ราคาอ้อยและพื้นที่ปลูกในปี 2568
Update: 2567/11/22 10:19:17 - Views: 264
การรับมือกับโรคลำต้นจุดสีน้ำตาลในต้นแก้วมังกร
Update: 2566/11/22 09:35:03 - Views: 3498
โรคผลแตกในลำไย : ไขปัญหาเชื้อรา
Update: 2566/05/17 11:39:59 - Views: 3480
โรคราดำ ป้องกันและกำจัดโรคราดำ ในทุเรียน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ
Update: 2566/05/20 13:39:39 - Views: 3525
ทำไมขนมเบื้อง ถึงมีไส้แค่สองแบบตามรูป ขาดวิวัฒนาการ หรือ ใส่ไส้แบบอื่นไม่ได้เอ่ย?
Update: 2562/08/25 14:37:20 - Views: 3616
แนวโน้มปาล์มน้ำมันในประเทศไทย ปี 2568 (2025)
Update: 2567/11/25 11:56:31 - Views: 1011
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยอ่อน ในผักกวางตุ้ง และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/30 13:58:26 - Views: 3527
โรคฝรั่งใบไหม้ ราดำในฝรั่ง ใบจุด จุดสนิม โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/10 01:40:27 - Views: 3815
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าด้วงกินใบและด้วงทำลายดอก ในน้อยหน่า และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/07 09:51:40 - Views: 3469
เตือน!!เกษตร ปลูกมังคุด ระวัง!! เพลี้ยไฟ สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร??
Update: 2566/11/06 14:52:06 - Views: 3506
🎗โรคกุหลาบดอกแห้ง กุหลาบใบไหม้ มีสาเหตุจากเชื้อรา อากาศร้อนสลับชื้น
Update: 2564/07/02 09:30:49 - Views: 3777
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น มังคุด ผลดก ผลใหญ่ น้ำหนักดี ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/02/28 14:28:57 - Views: 3460
ปุ๋ยเม็ดแพง ใช้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับ อินทผลัม
Update: 2566/02/02 07:41:55 - Views: 3514
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุด ใน ผักกาดขาว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/14 13:01:12 - Views: 3504
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนเจาะกิ่งสีแดง ใน ลำไย และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/10 12:49:42 - Views: 3593
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เคล็ดลับสู่การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการเกษตร สำหรับต้นปาล์ม
Update: 2567/02/13 09:29:49 - Views: 3506
มะพร้าวยอดแห้ง มะพร้าวใบไหม้ ใบเหลือง กำจัดโรคมะพร้าว จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/10 11:08:50 - Views: 3962
ปุ๋ยโพแทสเซี่ยม สตาร์เฟอร์ 0-0-60: สูตรลับเพื่อผลสับปะรดใหญ่ ดก เพิ่มน้ำหนัก และคุณภาพ ผลผลิต
Update: 2567/03/06 09:56:29 - Views: 3757
วิเคราะห์ตลาดทุเรียน แนวโน้มปี 2568
Update: 2567/11/20 09:22:37 - Views: 462
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022