[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ

 
ขั้นตอน และเคล็ดลับ “SME” นำสินค้าขายใน ห้างสรรพสินค้า
ขั้นตอน และเคล็ดลับ “SME” นำสินค้าขายใน ห้างสรรพสินค้า
ปัจจุบันประเทศไทยมี ผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในระบบกว่า 3 ล้านราย แต่ในความจริงแล้วยังมี SME อีกมากที่ไม่ได้อยู่ในระบบ จึงประมาณการว่าโดยรวมแล้ว ประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมไม่ต่ำกว่า 9 ล้านราย!

แน่นอนว่าผู้ประกอบการ SME ทุกคนที่พัฒนาสินค้าออกมาแล้ว อยากมี “ช่องทางการจำหน่าย” ที่แข็งแกร่ง เชื่อว่าหนึ่งในช่องทางที่ SME อยากนำพาสินค้าของตัวเองเข้าไปขายคือ ช่องทางของ Modern Trade รายใหญ่ เพราะเชนค้าปลีกเหล่านี้ มีทั้งสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ

การนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่าย มีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่พิจารณาคัดเลือก
5 วิธีการ และขั้นตอนนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า

1. ศึกษากลุ่มสินค้า

– อาหารสด และอาหารพร้อมรับประทาน
เนื้อสัตว์ อาหารทะเลสด และแปรรูป ผักสด ผลไม้สด และแปรรูป
อาหารพร้อมปรุง อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม ไส้กรอก
เบเกอรี่ โดนัท คุกกี้ เค้ก

– อาหารแห้ง
ข้าวสาร น้ำมัน น้ำปลา ซอสปรุงอาหาร แป้ง เส้น

– เครื่องดื่ม
น้ำผลไม้ นม ชา กาแฟ เครื่องดื่มสมุนไพร

– ขนมขบเคี้ยว
ขนมอบกรอบ ลูกอม มันฝรั่ง ปลาเส้น ผลไม้อบแห้ง

– สุขภาพ/ความงาม
สินค้าดูแลหน้า เส้นผม ผิวพรรณ สุขภาพช่องปาก ยา และสินค้าทำความสะอาดร่างกาย

– ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดพื้น

– สินค้าใช้ในบ้าน
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น แอร์ หม้อหุงข้าว เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องนอน สินค้าตกแต่งบ้าน และปรับปรุงบ้าน
เครื่องใช้ในครัวเรือน หม้อ กระทะ จานชาม ช้อนส้อม
สินค้าใช้ทำความสะอาด และอุปกรณ์ทำความสะอาด

– เครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี เด็ก และแฟชั่น

2. สินค้าต้องผ่านมาตรฐาน GMP / HACCP
ผู้ประกอบการที่จะนำเสนอสินค้าให้ห้างสรรพสินค้าพิจารณา โดยเบื้องต้นสินค้านั้นต้องมีมาตรฐาน GMP / HACCP ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิต ทั้งด้านความสะอาด ปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมายในด้านจริยธรรม และการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

3. เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณา
โดยจะมีฝ่ายจัดซื้อ (Buyer) แต่ละแผนกสินค้าของห้างพิจารณาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ มีกระบวนการพิจารณาอยู่ที่ 30 วัน

โดยทางห้าง และผู้ประกอบการธุรกิจ SME จะมีการพูดคุยร่วมกัน เช่น เงื่อนไขต่างๆ กำลังการผลิต ต้นทุนสินค้า สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพัฒนา หรือปรับปรุงสินค้าเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของห้างสรรพสินค้า

หากสินค้าผ่านการคัดเลือก ห้างสรรพสินค้า และผู้ประกอบการ SME สามารถตกลงกันในเงื่อนไขต่างๆ ได้แล้ว ก็พร้อมให้สินค้านั้นเข้ามาวางสินค้านั้น เข้ามาวางจำหน่ายในสาขาต่างๆ

4. สินค้าที่วางขาย ต้องตอบโจทย์ความคุ้มค่าคุ้มราคา และสร้างผลกำไรให้กับห้าง– ผู้ประกอบการ
เนื่องจากเชื่อในการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้นอีกหนึ่งหลักเกณฑ์สำคัญของการพิจารณาสินค้าที่นำมาวางขายคือ ต้องสร้าง Win-Win ให้กับทั้ง 3 ฝ่าย

– ลูกค้า ซื้อสินค้าคุณภาพดี มีมาตรฐาน และความปลอดภัย ราคาเข้าถึงได้
– ผู้ประกอบการ ต้องทำแล้ว มีกำไร
– ห้างสพพสิรค้า ต้องมีกำไรเช่นกัน

ดังนั้น ปัญหาอย่างหนึ่งของ SME คือ ต้นทุนการผลิตสินค้า สูงกว่าราคาขายในร้านค้าปลีก หากเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้ SME มีผลกำไรน้อย ไปจนถึงไม่มีกำไร และขาดทุน!

ด้วยเหตุนี้เอง ห้างสรรพสินค้า จึงมีทีมงานพัฒนาธุรกิจ และทีมพัฒนาคุณภาพสินค้า ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการในด้านการลดต้นทุน เพราะถ้าผู้ประกอบการรายนั้นๆ ยังผลิตในต้นทุนที่สูงกว่าราคาขาย ย่อมไม่เกิดการค้าที่ Win-Win ได้ทุกฝ่าย

5. เมื่อสินค้าวางจำหน่ายแล้ว ต้องพัฒนามาตรฐานต่อเนื่อง – ทบทวนยอดขาย – ไม่หยุดนำเสนอนวัตกรรมใหม่
สินค้าที่ผ่านการคัดเลือก และได้วางจำหน่ายในห้างแล้ว ทั้งผู้ประกอบการ SME และห้างสรรพสินค้า จะทำงานร่วมกันแบบ “คู่ค้าพันธมิตร” (Business Partner) เพื่อสร้างการเติบโตด้วยกัน ประกอบด้วย

– ผู้ประกอบการตต้องทบทวนยอดขายกับทีมจัดซื้อเป็นประจำ
– มีการส่งเสริมการขายต่อเนื่อง
– มีการพัฒนามาตรฐานต่อเนื่อง ทั้งตรวจสอบคุณภาพ และรักษาคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
– มีการนำเสนอสินค้าใหม่ หรือสินค้านวัตกรรมใหม่

ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..

ผู้ประกอบการ SMEs OTOP วิสาหกิจชุมชน ท่านใดกำลังมองหาแล็บทดสอบผลิตภัณฑ์ด้าย เกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม
-เพื่อขอขึ้นทะเบียน อย.
-เพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า
-ส่งออกไปต่างประเทศ
-งานวิจัย
-เพื่อทราบผล

ให้เซ็นทรัลเเล็บไทยหนึ่งในผู้นำแล็บทดสอบผลิตภัณฑ์อันดับต้นๆของ ASEN และได้รับการยอมรับทั่วโลก ด้วยห้องปฏิบัติการมาตรฐานระดับสากล เป็นผู้ช่ายในการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ของท่าน ผ่านวิธีการทดสอบที่ถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ

สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์ นี้ http://ไปที่..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่ที่ต้องการตรวจฉลากโภชนาการ สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์ นี้ http://ไปที่..link..


โรค แครอทใบไหม้
โรค แครอทใบไหม้
โรคต้นใบไหม้แห้ง ในแครอท เชื้อราสาเหตุ Cercospora (Cercospora blight)_ Alternaria (Alternaria blight)

Cercospora ที่เป็นสาเหตุโรคต้นใบไหม้แห้งของแครอทคือ Cercospora carotae เชื้อนี้จะเข้าทำลายและก่อให้เกิดอาการกับต้นแครอทได้ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินไม่ว่าจะเป็น ต้น กิ่ง ใบ ก้านใบ และดอก บนใบ แผลจะมีลักษณะค่อนข้างกลม สีนํ้าตาลเทา หรือดำ เมื่อเป็นมากๆ เนื้อใบจะถูกทำลายทำให้เกิดอาการเหี่ยวแห้งกลายเป็นสีดำทั้งใบ บนกิ่งก้านและก้านใบแผลจะมีลักษณะยาวรี ขอบสีเข้ม ตอนกลางซีดจาง สำหรับดอกหากถูกเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกยังอ่อนจะแห้งตายทั้งดอก ถ้าเป็นดอกที่ผสมติดฝักแล้ว เชื้อราก็จะเข้าทำลายฝักต่อไปแต่จะไม่ทำอันตรายเมล็ดที่มี ภายในฝักนั้นแต่อย่างไร เพียงแต่เส้นใยจะไปอาศัยเกาะพักตัวอยู่ตามเปลือกและผิวของเมล็ดดังกล่าวเพื่อข้ามฤดู และใช้เมล็ดนั้นเป็น seed-borne ต่อไป

Alternaria เป็นราอีกชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคต้นและใบไหม้แห้งกับพืชผักต่างๆ ได้แพร่หลาย เช่น เดียวกับเชื้อ Cercospora ชนิดที่ทำลายแครอทนั้น ได้แก่ Alternaria dauci

การแพร่ระบาด

การแพร่ระบาดที่จัดว่าสำคัญและดีที่สุดของโรคนี้ เกิดจากเชื้อที่ติดอยู่กับเมล็ดในลักษณะของ seed-borne ดังกล่าวแล้ว ส่วนราพวกที่เกาะกินอยู่บนต้นพืชเมื่อพืชตายก็จะติดอยู่กับเศษซากที่เป็นโรคและถูกปล่อยทิ้งอยู่ตามดินแปลงปลูก พวกนี้ต่อมาจะรวมตัวกันสร้าง stroma เกิดเป็นจุดสีดำเล็กๆ ขึ้นตามบริเวณแผลที่เป็นอยู่เดิม บน stroma นี้ ก็จะเป็นที่เกิดของสปอร์หรือโคนีเดียอีกทีหนึ่ง สปอร์พวกนี้ทำหน้าที่แพร่ระบาดก่อให้เกิดโรคกับพืชในฤดูปลูกต่อไป โดยปลิวไปตามลม นํ้า หรือติดไปกับสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ต่างๆ ที่ไปถูกต้องสัมผัสเข้า เมื่อตกลงบนพืช และสิ่งแวดล้อมเหมาะสม เช่น ได้รับความชื้นพอเพียงอากาศอบอุ่น (19- 28∘ซ.) ก็จะงอกเจริญเติบโตเป็นเส้นใยจากนั้นก็จะเข้าไปใน โดยผ่านทางช่อง stomata ก่อให้เกิดโรคและสร้างสปอร์ เพื่อใช้ในการแพร่ระบาดต่อไปได้อีกภายใน 2-3 วัน ใบอ่อนของแครอทจะถูกเชื้อทำลายและเสียหายได้ง่ายกว่าใบแก่

การป้องกันกำจัด

1. หลีกเลี่ยงการปลูกแครอทซํ้าลงในดินหรือแปลงที่เคยเกิดโรคมาก่อนหรือปลูกพืชอย่างอื่นสลับเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี

2. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ หากไม่แน่ใจควรนำเมล็ดมาแช่ในน้ำอุ่น 50°ซ. นาน 15-20 นาที หรือแช่เมล็ดด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ในอัตรส่วน 20ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

3. เมื่อเกิดโรคขึ้นกับแครอทในแปลงปลูกให้ทำการ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

4. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3474
ลิ้นจี่ ใบแห้ง ใบไหม้ ผลร่วง กำจัดโรคลิ้นจี่ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ลิ้นจี่ ใบแห้ง ใบไหม้ ผลร่วง กำจัดโรคลิ้นจี่ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรคราสนิม สาเหตุ เชื้อราสเกอกา (Skierka nephelii)
ลักษณะอาการ ใบลิ้นจี่ที่แก่บริเวณใต้ทรงพุ่ม แสดงอาการเป็นจุดนูนขนาดเล็กมากสีเหลือง เกิดกระจัด กระจายทางด้านใต้ใบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในระยะต่อมา

โรคราดำ สาเหตุ เชื้อรา แคบโนเดียม และเมลิโอลา (Copnodium sp. และ Meliola sp.)
ลักษณะอาการ ใบ กิ่ง ช่อดอก และช่อผล มีลักษณะเป็นคราบเขม่าหรือฝุ่นผง มีสีดำ ขึ้นเจริญปกคลุมทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและผิวของผลไม่สะอาด

โรคราน้ำค้างเทียม หรือโรคผลไหม้สีน้ำตาล สาเหตุ เชื้อราเพอร์โรโนไฟโธรา (Peronophythora litchii)
ลักษณะอาการ เกิดแผลสีน้ำตาลดำรูปร่างและขนาดไม่แน่นอน และขอบแผลมีลักษณะไม่ชัดเจนบนก้านผล ผล ใบ และรากลิ้นจี่ เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์สีขาวฟูบนแผลในช่วงระยะหลังของการติดเชื้อ เมื่อสภาพแวดล้อมชุ่มชื้นและมีฝนตก

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย การควบคุมประจุไฟฟ้า สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
ไรแดงมันสำปะหลัง
ไรแดงมันสำปะหลัง
ภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง พื้นที่ใดประสบกับภาวะดังกล่าว เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อเริ่มพบการระบาด จะได้ป้องกันกำจัดทันก่อนที่มันสำปะหลังแสดงอาการรุนแรงซึ่งกระทบต่อการให้ผลผลิต

ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) : เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ ต่อมาขยายแผ่กว้างขึ้น ทำให้หน้าใบทั้งหมดมีสีขาวซีด ใบกระด้าง กรอบ หากระบาดรุนแรง ใบร่วงหลุดจากต้น

นอกจากไรแดงมันสำปะหลัง อาจพบการระบาดของไรแมงมุมคันซาวาและไรแดงชมพู่

ไรแมงมุมคันซาวา (Kanzawa spider mite : Tetranychus kanzawa Kishida) : ลักษณะตัวกลมรูปไข่ ลำตัวสีแดงสด สองข้างลำตัวมีแถบสีดำ มีตาเป็นจุดสีแดงอยู่บนสันหลังด้านข้างลำตัวทั้งสองข้าง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบ โดยสร้างใยปกคลุมผิวใบบริเวณที่ไรอยู่อาศัยรวมกัน ใบมันสำปะหลังที่ถูกทำลาย เกิดปื้นแดง ไหม้เป็นสีน้ำตาลและขาดทะลุ ชงักการเจริญเติบโต

ไรแดงชมพู่ (Rose apple red mite : Oligonychus biharensis Hirst) ไรชนิดนี้เป็นศัตรูของไม้ผลและไม้ดอก ในมันสำปะหลัง พบระบาดเป็นครั้งคราว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงด้านหน้าใบ เกิดเป็นจุดประสีด่างขาว ใบแห้ง หลุดร่วงได้ ไรชนิดนี้ไม่สร้างเส้นใย

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ป้องกัน กำจัด ไรแดงมันสำปะหลัง ด้วย มาคา และ FK-1
มันสำปะหลังอินทรีย์ จ.อุบลราชธานี พืชยกระดับรายได้เกษตรกร มีตลาดรองรับ
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จังหวัดอุบลราชธานีนับเป็นแหล่งผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี (ณ 31 มีนาคม 2564) พบว่า มีพื้นที่ปลูก 14_048 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 13_978 ไร่ ผลผลิตรวม 48_224 ตัน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ผสานความร่วมมือกับภาคเอกชนให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิต รวมถึงการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ นอกจากนี้ มีเกษตรกรบางพื้นที่ได้เข้าร่วมโครงการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ของบริษัทที่เข้ามาส่งเสริมภายใต้การทำ Contract Farming เนื่องจากเกษตรกรมีแรงจูงใจในเรื่องราคาที่ให้ผลตอบแทนดีกว่ามันสำปะหลังทั่วไป และมีตลาดรองรับที่แน่นอน

จากการติดตามสถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังอินทร์กันมากขึ้น โดยบริษัทอุบลไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) ได้ทำ Contract Farming กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ ใน ?โครงการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์? ตั้งแต่ปี 2559 โดยรับซื้อผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์จากเกษตรกรทั้งหมด ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 939 ราย พื้นที่ปลูก 5_656 ไร่ ดำเนินการมาแล้วทั้งหมด 5 รุ่น ซึ่งผลผลิตของเกษตรกรทั้ง 5 รุ่น ได้ออกสู่ตลาดช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาประมาณ 21_000 ตัน สำหรับปี 2564 กำลังอยู่ในช่วงรับสมัครรุ่นที่ 6 และกำหนดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร สำหรับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมมือกับบริษัทฯ ในการลงพื้นที่ ให้ความรู้กับเกษตรกรในเรื่องการผลิต การดูแล การป้องกันโรคแมลง การปรับปรุงบำรุงดิน และการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิต รวมถึงการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

สำหรับราคามันสำปะหลังอินทรีย์เชื้อแป้ง 25% ที่บริษัทฯ ประกันราคาอยู่ที่ 3.25 บาท/กก. ซึ่ง สศก. โดย สศท.11 อุบลราชธานี ได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาต้นทุน ผลตอบแทน และการตลาดของสินค้ามันสำปะหลังอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง พบว่า ต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ยอยู่ที่ 7_039 บาท/ไร่/รอบการผลิต เนื่องจากต้องจ้างแรงงานคนในการกำจัดวัชพืชจึงทำให้มีค่าแรงสูง ต้นทุนการผลิตจึงสูงกว่ามันสำปะหลังทั่วไป เกษตรกรนิยมปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ระยะเวลาเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 8 ? 10 เดือน เก็บเกี่ยวช่วงเดือนมีนาคมของปีถัดไป ผลผลิตเฉลี่ย 3_800 กก./ไร่ ผลตอบแทน 12_350 บาท/ไร่/รอบการผลิต ผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 5_311 บาท/ไร่/รอบการผลิต ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิตและเกษตรบางส่วนเริ่มเตรียมดินสำหรับทำการเพาะปลูกรอบถัดไป

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้สร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ โดยเน้นย้ำว่าปัจจุบันได้มีการแปรรูปมันสำปะหลังอินทรีย์เป็นแป้งออร์แกนิค ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากแป้งออร์แกนิคสามารถแปรรูปเป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) และอาหารเพื่อสุขภาพได้หลากหลาย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในการเป็นส่วนผสมอาหารพรีเมี่ยม จึงนับว่าเป็นโอกาสดีของเกษตรกร ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ ได้ผ่านมาตรฐานอินทรีย์ไทย และมาตรฐานอินทรีย์สากล ได้แก่ 1) มาตรฐาน มกษ 9000-2552 หรือ Organic Thailand 2) มาตรฐานอินทรีย์ USDA-NOP (สหรัฐอเมริกา) 3) มาตรฐานอินทรีย์ EU (ยุโรป) 4) มาตรฐานอินทรีย์ JAS (ญี่ปุ่น) 5) มาตรฐานอินทรีย์ Korean (เกาหลี) และ 6) มาตรฐานอินทรีย์ China (จีน) จึงเป็นเครื่องการันตีและสร้างความมั่นใจกับผู้ค้าได้ว่า ผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ของเกษตรกรได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง

ผู้อำนวยการ สศท.11 กล่าวเพิ่มเติมว่า การปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพนั้น เกษตรกรต้องใช้ความอดทน พิถีพิถันในทุกขั้นตอน และต้องจำกัดพื้นที่ปลูกเพื่อควบคุมมาตรฐาน รวมทั้งต้องมีการวางแผนล่วงหน้าช่วงเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์แป้งตามต้องการ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยน 2 ? 3 ปี จึงจะได้ผลผลิตที่เป็นอินทรีย์ผ่านมาตรฐาน ทั้งนี้ หากเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจข้อมูลการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังอินทรีย์ หรือสนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถขอคำปรึกษาได้ที่คุณกัณฑ์พร กรรณสูต ตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายประสานงานภาครัฐ บริษัท อุบลไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) โทร 08 9962 6544

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3474
โรคแอนแทรคโนสหอมแดง โรคแอนแทรคโนสหอมหัวใหญ่ : ANTHRACNOSE DISEASE [ไอเอส+FK-1]
โรคแอนแทรคโนสหอมแดง โรคแอนแทรคโนสหอมหัวใหญ่ : ANTHRACNOSE DISEASE [ไอเอส+FK-1]
เชื้อสาเหตุ : รา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc. ชีววิทยาของเชื้อ : ลักษณะโคโลนีของเชื้อบนอาหาร PDA เส้นใยเจริญฟู แต่ไม่หนาแน่น สีขาวเทาถึง สีเทา เมื่อเชื้อเจริญเต็มที่จะเห็นสปอร์ (conidia) รวมกันเป็นกลุ่มมีลักษณะคล้ายหยดน้ำข้นๆ สีส้มอมชมพู เจริญเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ไม่พบ setae แต่พบเม็ดสเคลอโรเทีย สปอร์เกิดเดี่ยวๆ รูปร่างทรงกระบอกตรง แท่งสั้น ปลายทั้งสองข้างมน ใสไม่มีสี ขนาด 7.00-11.00 x 5.00-14 .00 ไมครอน เกิดเดี่ยวๆ ที่ปลายก้าน conidiophore ลักษณะใส ไม่มีสี

ลักษณะอาการ : ระยะแรกเกิดจุดช้ำฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ต่อมาจะขยายใหญ่เป็นแผลรูปกลมหรือรี เนื้อแผล ยุบต่ำกว่าเดิมเล็กน้อย บนแผลมีหยดของเหลวสีชมพูอมส้ม เมื่อแห้งจะเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลดำ เรียง เป็นวงรีซ้อนกันหลายชั้น ถ้าแผลขยายใหญ่หรือหลายแผลมาชนกันจะทำให้ใบหักพับ แห้งตาย หรือเน่าตายทั้งต้น

การแพร่ระบาด : โรคแพร่ระบาด โดยสปอร์ของเชื้อรา แพร่ไปกับลม ฝน น้ำ แมลง เครื่องมือการเกษตร เมล็ดพันธุ์ หรือหัวพันธุ์ โรคระบาดรุนแรงและรวดเร็วเมื่อมีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด :

1. ก่อนปลูกพืชควรไถตากดิน 2-3 ครั้ง เพื่อลดปริมาณเชื้อรา ให้ใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับสภาพดิน โดย pH ของดินที่เหมาะแก่การปลูกพืชสกุลหอมกระเทียมคือ 6.5-7.0

2. ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปราศจากโรค สำหรับหอมหัวใหญ่ซึ่งปลูกโดยการย้ายกล้า ควรดูแลแปลงกล้า ไม่ให้เกิดโรค ไม่บำรุงต้นกล้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป จะทำให้อ่อนแอต่อโรค

3. การปลูกหอมในฤดูฝนควรยกร่องสูงเพื่อให้มีการระบายน้ำดี หากน้ำท่วมขังควรรีบระบายน้ำออก ให้หมด

4. ช่วงฤดูฝน ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน เพราะจะทำให้ต้นพืชสมบูรณ์มากเกินไป พืชอ่อนแอต่อโรค ควรทิ้งระยะให้ดินแห้งก่อน แล้วจึงใส่ปุ๋ยบำรุง

5. หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรค ทำลายต้นพืชที่เป็นโรค โดยการถอนไปเผาทิ้งแล้ว พ่นต้นที่เหลือด้วยสารป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

ป้องกันกำจัด โรคแอนแทรคโนสหอมแดง โรคแอนแทรคโนสหอมหัวใหญ่ และพืชตระกูลหอม กระเทียม ต่างๆ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคราแป้ง โรคไหม้ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราไฟทอปโธร่า โรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
การควบคุมโรคใบจุด Septoria ในข้าวโพด อย่างมีประสิทธิภาพด้วยสารอินทรีย์
การควบคุมโรคใบจุด Septoria ในข้าวโพด อย่างมีประสิทธิภาพด้วยสารอินทรีย์
โรคใบจุด Septoria เป็นโรคเชื้อราทั่วไปที่ส่งผลกระทบต่อต้นข้าวโพด ทำให้ใบเปลี่ยนสีและใบร่วง สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การเติบโตและผลผลิตที่ลดลง ทำให้เป็นปัญหาสำคัญสำหรับเกษตรกร อย่างไรก็ตาม มีวิธีป้องกันและกำจัดโรคนี้อย่างได้ผลโดยใช้สารประกอบอินทรีย์ ไอเอส และ FK-1 ร่วมกัน

สารประกอบอินทรีย์ ไอเอส เป็นที่รู้จักในด้านความสามารถในการควบคุมโรคพืชโดยการสร้างสภาพแวดล้อมบนใบพืชที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา เมื่อผสมกับ FK-1 ซึ่งเป็นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตที่มีแมกนีเซียม สังกะสี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และสารลดแรงตึงผิว แล้วฉีดพ่นบนพืชที่ได้รับผลกระทบ ผลลัพธ์ที่ได้คือสารละลายที่มีประสิทธิภาพซึ่งไม่เพียงกำจัดโรค แต่ยังเร่งการงอกใหม่ของพืชอีกด้วย ส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิต

หากต้องการใช้วิธีนี้ ให้ผสม ไอเอส และ FK-1 เข้าด้วยกันในสัดส่วนที่แนะนำ แล้วฉีดพ่นสารละลายบนพืชที่ได้รับผลกระทบ ไอเอส จะกำจัดโรค ในขณะที่ FK-1 จะให้สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชในการฟื้นตัวและเติบโตอย่างแข็งแรง ทำซ้ำขั้นตอนนี้ตามความจำเป็นเพื่อรักษาสุขภาพของพืช

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้ร่วมกับกลยุทธ์การจัดการโรคอื่นๆ เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การชลประทานที่เหมาะสม และการติดตามสัญญาณของโรค

โดยสรุป โรคใบจุด Septoria อาจเป็นปัญหาสำคัญสำหรับชาวไร่ข้าวโพด แต่สามารถควบคุมและกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สารประกอบอินทรีย์ ไอเอส และ FK-1 การรวมกันนี้ไม่เพียงแต่กำจัดโรค แต่ยังส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช ทำให้เป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับการรักษาพืชผลให้แข็งแรงและให้ผลผลิต

เลือกซื้อ ไอเอส และ FK-1 เลื่อนลงล่างอีกนิดนะคะ
การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ โรคราสนิม ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ ข้าวโพดหวาน
การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ โรคราสนิม ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ ข้าวโพดหวาน
โรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อราสามารถทำลายพืชข้าวโพดได้ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรสามารถดำเนินการเพื่อป้องกันและกำจัดโรคนี้ได้โดยใช้สารอินทรีย์ ไอเอส และเทคนิคการควบคุมไอออน

สารประกอบอินทรีย์ ไอเอส เมื่อผสมกับ FK-1 แล้วฉีดพ่นที่ใบพืช จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่ง ไอเอส จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคใบไหม้ นอกจากนี้ FK-1 ยังเร่งการงอกใหม่ของพืชจากการทำลายที่เกิดจากโรค ส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิต

FK-1 เป็นส่วนผสมสูตรพิเศษที่ประกอบด้วยแมกนีเซียม สังกะสี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และสารลดแรงตึงผิว ซึ่งช่วยในการบำรุงและส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตที่ดีขึ้น

ในการใช้วิธีนี้ เกษตรกรควรผสม ไอเอส และ FK-1 เข้าด้วยกันแล้วฉีดพ่นบนต้นข้าวโพด สิ่งนี้จะไม่เพียงป้องกันการแพร่กระจายของโรคใบไหม้เท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชผลอีกด้วย

โดยสรุป การใช้สารประกอบอินทรีย์ ไอเอส และเทคนิคการควบคุมไอออน เกษตรกรสามารถป้องกันและกำจัดโรคใบไหม้ในข้าวโพดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิต นี่เป็นวิธีแก้ปัญหาที่คุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการปกป้องพืชข้าวโพดจากเชื้อราที่ทำลายนี้

เลือกซื้อ ไอเอส และ FK-1 เลื่อนลงล่างอีกนิดนะคะ
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในขนุน และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในขนุน และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
เพลี้ยแป้งอาจเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับผู้ปลูกขนุน ทำให้ผล ใบ และลำต้นเสียหาย แมลงศัตรูพืชเหล่านี้ควบคุมได้ยากด้วยยาฆ่าแมลงทั่วไป และประชากรของพวกมันสามารถดื้อต่อการรักษาได้อย่างรวดเร็ว โชคดีที่มีสารควบคุมทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ เช่น เมธาริเซียมผสมบิวเวอเรีย ซึ่งขายภายใต้ชื่อแบรนด์ Butarex ซึ่งสามารถใช้ป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งในขนุนได้

Beauveria ผสม Methharicium เป็นการรวมกันของเชื้อราที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 2 ชนิดคือ Beauveria bassiana และ Metharhizium anisopliae เชื้อราเหล่านี้ใช้ได้ผลกับเพลี้ยแป้งเพราะจะทำให้หนังกำพร้าของแมลงติดเชื้อและทำให้มันตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บิวเวอเรีย บาสเซียนา เป็นที่รู้จักจากฤทธิ์ในวงกว้างในการต่อต้านศัตรูพืชหลากหลายชนิด รวมถึงเพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยไฟ

Butarex เป็นสูตรผงเปียกที่ผสมกับน้ำได้ง่ายและนำไปใช้กับพืช สปอร์ของเชื้อราใน Butarex สามารถอยู่ได้นานหลายเดือน ทำให้สามารถควบคุมประชากรเพลี้ยแป้งได้ในระยะยาว ผลิตภัณฑ์นี้ปลอดภัยต่อการใช้งานและไม่ทิ้งสารตกค้างที่เป็นอันตรายบนผลไม้หรือในสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเข้ากันได้กับยาฆ่าแมลงและสารฆ่าเชื้อราอื่นๆ ทำให้ง่ายต่อการรวมเข้ากับโปรแกรมการจัดการสัตว์รบกวนที่มีอยู่

ในการใช้บิวทาเร็กซ์ ให้ผสมผงกับน้ำในอัตราที่แนะนำ แล้วใช้กับพืชโดยใช้เครื่องพ่นสารเคมี ควรใช้ผลิตภัณฑ์ในช่วงเช้าตรู่หรือบ่ายแก่ๆ เมื่ออุณหภูมิเย็นลงและความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา ควรทาซ้ำทุกๆ 10-14 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการแพร่ระบาด

บิวเวอเรียผสมเมธาริเซียมได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นสารควบคุมเพลี้ยแป้งในขนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ เช่น องุ่น ส้ม และผัก เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถช่วยผู้ปลูกลดการพึ่งพาสารเคมีสังเคราะห์ในขณะที่ปรับปรุงสุขภาพและผลผลิตของพืชผลของพวกเขา

สรุปได้ว่า บิวทาเร็กซ์ ยี่ห้อบิวเวอเรียผสมเมธาริเซียมเป็นสารควบคุมทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับการป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งในขนุน กิจกรรมในวงกว้าง การควบคุมระยะยาว และความเข้ากันได้กับเครื่องมือการจัดการศัตรูพืชอื่นๆ ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับโปรแกรมการจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการและยั่งยืน เมื่อใช้ Butarex ผู้ปลูกสามารถปกป้องพืชผลของพวกเขาจากเพลี้ยแป้งในขณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์

เชื้อบิวเวอร์เรีย + เมธาไรเซียม

เป็นผลิตภัณฑ์ผ่านการคัดสรรจุลินทรีย์ 2 ชนิดมี คุณสมบัติโดดเด่นมาผสมผสานใช้ในการป้องกัน กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ปลวก เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไรแดง แมลงหวี่ขาว และหนอน เป็นต้น

บิวทาเร็กซ์ : ใช้อย่างไร?
1. ผสมเชื้อ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณ กิ่ง ก้าน ใบ หรือบริเวณที่แมลงระบาด
2. ฉีดพ่นได้ทุก 7-10 วัน
* ไม่ควรผสมใช้ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา และ ยากำจัดเชื้อรา หากต้องการใช้ร่วมควรเว้น ระยะฉีดพ่น 7-10 วัน *

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วย บิวทาเร็กซ์..
ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช
เชื้อดีที่สุดสำหรับชาวเกษตรกร

ปริมาณเชื้อที่ดีและได้ผล
ให้อาหารเฉพาะของเชื้อแต่ละตัว
เชื้อจะไปเติบโตในแมลง ปกคลุมตัวแมลง ทำให้แมลงแห้งตายในที่สุดปลอดภัยไม่มีสารเคมี
แมลงดื้อยา ใช้ได้ต่อเนื่องเป็นยาเย็น ใช้ได้ทุกพืช และทุกช่วงอายุของพืช

สั่งซื้อ
โทร 097-918-3530
facebook โรงงานปุ๋ยไดโนเร็กซ์
ไลน์ janemini1112
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link..
ปุ๋ยอ้อย FK-1 และ FK-3S ฉีดพ่นทางใบ ให้อ้อยโตไว ย่างปล้อง เพิ่มผลผลิต ได้ค่า CCS สูง
ปุ๋ยอ้อย FK-1 และ FK-3S ฉีดพ่นทางใบ ให้อ้อยโตไว ย่างปล้อง เพิ่มผลผลิต ได้ค่า CCS สูง
ปุ๋ยอ้อย FK-1 และ FK-3S ฉีดพ่นทางใบ ให้อ้อยโตไว ย่างปล้อง เพิ่มผลผลิต ได้ค่า CCS สูง
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็น 3 ชนิดที่พืชต้องการเพื่อการเจริญเติบโตและเจริญเติบโต ในกรณีของอ้อย สารอาหารเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาพืชที่แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง ซึ่งสามารถผลิตน้ำตาลได้ผลผลิตสูง

ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อพืชทั้งหมด ไนโตรเจนยังเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เอนไซม์และฮอร์โมน ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช ระดับไนโตรเจนในดินที่เพียงพอสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของต้นอ้อย ส่งผลให้การเจริญเติบโตดีขึ้น ผลผลิตสูงขึ้น และต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดีขึ้น

ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสำหรับต้นอ้อย มันเกี่ยวข้องกับการก่อตัวของรากที่แข็งแรงซึ่งจำเป็นสำหรับการดูดซับน้ำและสารอาหารจากดิน ฟอสฟอรัสยังมีบทบาทในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของพืช ระดับฟอสฟอรัสในดินที่เพียงพอสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพโดยรวมและความแข็งแรงของต้นอ้อย ซึ่งนำไปสู่ผลผลิตที่สูงขึ้นและการเจริญเติบโตโดยรวมที่ดีขึ้น

โพแทสเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นอันดับที่สามที่ต้นอ้อยต้องการเพื่อการเจริญเติบโต มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สำคัญหลายอย่างของพืช รวมถึงการควบคุมการดูดซึมน้ำ การสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ และการควบคุมการสังเคราะห์ด้วยแสง ระดับโพแทสเซียมในดินที่เพียงพอสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพโดยรวมและผลผลิตของต้นอ้อย ซึ่งนำไปสู่ผลผลิตที่สูงขึ้นและการเจริญเติบโตโดยรวมที่ดีขึ้น

โดยสรุปแล้ว ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของต้นอ้อย ระดับสารอาหารเหล่านี้ในดินที่เพียงพอสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพโดยรวมและผลผลิตของต้นอ้อย ซึ่งนำไปสู่ผลผลิตที่สูงขึ้นและการเจริญเติบโตโดยรวมที่ดีขึ้น

แมกนีเซียมและสังกะสีเป็นแร่ธาตุที่จำเป็น 2 ชนิดที่สามารถให้ประโยชน์มากมายแก่ต้นอ้อย ประโยชน์เหล่านี้รวมถึงการเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ดีขึ้น ความต้านทานความเครียดและโรคที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มการผลิตน้ำตาล

แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ช่วยให้พืชสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนแสงแดดเป็นพลังงาน ระดับแมกนีเซียมที่เพียงพอในดินสามารถช่วยให้ต้นอ้อยเติบโตได้อย่างรวดเร็วและแข็งแรง ส่งผลให้ต้นมีขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้น

นอกจากบทบาทในการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้ว แมกนีเซียมยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้พืชทนต่อความเครียดและโรคได้ การขาดแมกนีเซียมสามารถทำให้พืชอ่อนแอต่อความเครียดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ความแห้งแล้งและอุณหภูมิที่สูงเกินไป ตลอดจนศัตรูพืชและโรคต่างๆ การให้แมกนีเซียมในระดับที่เพียงพอ สามารถช่วยต้นอ้อยให้แข็งแรงและให้ผลผลิต

สังกะสีเป็นแร่ธาตุสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของต้นอ้อย เช่นเดียวกับแมกนีเซียม สังกะสีมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์แสงและช่วยให้พืชเปลี่ยนแสงแดดเป็นพลังงาน นอกจากนี้ สังกะสียังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเซลล์และเนื้อเยื่อใหม่ และจำเป็นต่อการทำงานของเอนไซม์และฮอร์โมนในพืชอย่างเหมาะสม ระดับสังกะสีในดินที่เพียงพอสามารถช่วยให้ต้นอ้อยเติบโตได้อย่างรวดเร็วและแข็งแรง ส่งผลให้ผลผลิตของทั้งมวลชีวภาพและน้ำตาลสูงขึ้น

นอกจากบทบาทในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการพัฒนาแล้ว สังกะสียังสามารถช่วยให้ต้นอ้อยต้านทานความเครียดและโรคได้อีกด้วย การขาดสังกะสีสามารถทำให้พืชอ่อนแอต่อศัตรูพืชและโรคต่างๆ และลดความสามารถในการทนต่อความเครียดจากสิ่งแวดล้อม การให้ธาตุสังกะสีในระดับที่เพียงพอ ชาวไร่สามารถช่วยให้ต้นอ้อยของพวกเขาแข็งแรงและให้ผลผลิตได้แม้ในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม

โดยรวมแล้ว แมกนีเซียมและสังกะสีเป็นแร่ธาตุที่จำเป็น 2 ชนิดที่สามารถให้ประโยชน์หลายประการแก่ต้นอ้อย การให้แร่ธาตุเหล่านี้ในดินในระดับที่เพียงพอ ชาวไร่สามารถช่วยให้ต้นอ้อยของพวกเขาเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแรง ต้านทานความเครียดและโรค และสร้างผลผลิตของทั้งมวลชีวภาพและน้ำตาลที่สูงขึ้น
อ่าน:3474
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ
|-Page 138 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การทำไร่อ้อย ใน 4 ขั้นตอนหลักๆ
Update: 2563/09/27 20:19:32 - Views: 4002
โรคราสนิม
Update: 2564/08/09 22:34:14 - Views: 3755
หนอนพริก แมลงวันพริก หนอนแมลงวัน ศัตรูพริก ป้องกันและกำจัดด้วย ไอกี้-บีที
Update: 2564/02/26 06:22:10 - Views: 3561
โรคเชื้อราในกล้วย สาเหตุและการป้องกัน คู่มือโรคเชื้อราในกล้วย
Update: 2566/05/01 10:39:10 - Views: 3541
การป้องกันกำจัด โรคใบจุด โรคใบจุดนูน ในยางพารา
Update: 2566/03/06 07:31:57 - Views: 3500
ปุ๋ยสำหรับอ้อย เพื่อบำรุงผลผลิต การแก้โรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดเพลี้ย ในไร่อ้อย
Update: 2563/06/18 17:25:32 - Views: 4282
โรคกัญชาใบไหม้ โรคกัญชงใบไหม้ โรครากัญชา โรครากัญชง โรคกัญชาใบจุด โรคราสนิมกัญชา
Update: 2564/08/09 11:05:25 - Views: 4092
ฟักทองใบไหม้ ราน้ำค้างในฟักทอง โรคราในฟักทอง ราต่างๆ ใช้ ไอเอส และ FK-1
Update: 2566/02/26 09:37:51 - Views: 3545
การป้องกันและกำจัด กล้วยตายพราย เชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. หรือโรคเหี่ยวในกล้วย
Update: 2566/03/11 09:01:40 - Views: 3557
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/31 08:12:06 - Views: 5143
ปุ๋ยมะขาม ตรา FK ปุ๋ยน้ำสำหรับมะขาม บทบาทของปุ๋ยตรา FK ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะขาม
Update: 2565/12/18 06:29:02 - Views: 3430
การควบคุมโรคเชื้อราในมะขามหวานอย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2566/05/04 09:41:13 - Views: 3469
วิธีการคำนวณสูตรปุ๋ย
Update: 2566/01/27 07:35:15 - Views: 3847
คู่มือการป้องกันกำจัดโรคทุเรียนจากเชื้อราต่างๆ
Update: 2566/04/29 14:37:12 - Views: 3618
เกษตรเตือนภัยโรคพืช โรคเน่าคอดินพืช-ผัก
Update: 2564/08/12 22:08:07 - Views: 3545
ที่สุดของ ปุ๋ยเร่งผล สำหรับพืชออกผลทุกชนิด ให้ โพแทสเซียม มากถึง 40% เร่งผลโต น้ำหนักดี โปรดอ่านวิธีใช้ ; ไลน์ @FarmKaset
Update: 2565/02/17 00:18:03 - Views: 3778
โรคใบจุดสีม่วงหอมใหญ่ โรคใบจุดสีม่วงกระเทียม : PURPLE BLOTCH DISEASE [ ไอเอส + FK-1 ]
Update: 2564/08/09 05:03:12 - Views: 3503
การใช้คาร์รอน (Diuron 80% WG) ในการควบคุมวัชพืชในสวนแตงโม
Update: 2567/02/13 09:13:23 - Views: 3531
แมลงศัตรูพืช ในมันสำปะหลัง เราป้องกันและกำจัดได้อย่างไรบ้าง?
Update: 2563/06/14 16:43:43 - Views: 3548
โรคใบติดทุเรียน โรคทุเรียนใบไหม้ การดูแลบำรุงรักษา โรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/12/06 22:28:36 - Views: 3566
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022