[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ

 
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโตมันสำปะหลัง และปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง ครบเซ็ต
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโตมันสำปะหลัง และปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง ครบเซ็ต
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค เร่งราก ป้องกันโรค สะสมอาหารในท่อนพันธุ์ เพื่อใช้ในระยะงอก

ฉีดพ่นด้วย FK-1 เมื่อมันสำปะหลังเริ่มแตกยอดใบหลังปลูก ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต แตกกิ่ง ขยายทรงพุ่ม ใน FK-1 ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อความเจริญเติบโต และการเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง ให้กับต้นมันสำปะหลัง

เพิ่มขนาดหัวมันสำปะหลัง เพิ่มผลผลิต เพิ่มเปอร์เซ็นแป้ง ฉีดพ่น FK-3C เมื่อมันสำปะหลังมีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป หรือสังเกตุว่าเริ่มลงหัวแล้ว FK-3C เน้นโพแตสเซียมเป็นพิเศษ จะช่วยส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล เพื่อสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง ทำให้ หัวโต แน่น น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูง
ฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง ด้วยธาตุหลัก ธาตุเสริม ที่มีอยู่ใน FK-1
ฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง ด้วยธาตุหลัก ธาตุเสริม ที่มีอยู่ใน FK-1
โดยทั่วไปแล้ว เวลาที่เรารักษาโรคพืช หรือกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืชต่างๆ เมื่อโรคพืชหาย หรือแมลงถูกกำจัดไปแล้ว พืชยังต้องใช้ระยะเวลานาน เพื่อที่จะฟื้นตัว ซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง อย่างโรคใบไหม้ ตัวยาต่างๆจะเข้าไปยับยั้งไม่ให้โรคลุกลาม ขยายวงการทำลายพืช หรือหยุดการติดต่อ เมื่อโรคหยุดลุกลาม คือพืชหายจากโรค

แต่การจะทำให้พืชกลับมาฟื้นตัว และเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง และให้ผลผลิตที่ดีได้ดังเดิม เราจำเป็นต้องให้ธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่นเดียวกับคนที่ป่วย เมื่อได้ยารักษาโรคแล้ว ต้องให้น้ำเกลือ ต้องทานอาหารหลัก และถ้าให้อาหารเสริมด้วยก็ยิ่งฟื้นตัว กลับมา แข็งแรงได้เร็วขึ้น

FK-1 ประกอบด้วย ธาตุอาหารหลักของพืช N-P-K หรือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียมตามลำดับ ไนโตรเจน จะช่วยส่งเสริมความเขียว เสริมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ส่งเสริมให้พืช ผลิใบ แตกใบใหม่ และเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น ฟอสฟอรัส ส่งเสริมระบบรากพืช ทำให้พืชมีระบบรากที่ดี แข็งแรง ทำให้พืชหาอาหารได้ดี ส่งผลไปถึงการออกดอก และการติดผล ส่วนโพแตสเซียม จะส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ไปสะสมที่ผลผลิต ทำให้ พืชออกผลได้สมบูรณ์ มีขนาดใหญ่ น้ำหนักดี รสชาติดี นอกจากนั้นแล้ว ใน FK-1 ยังมี แคลเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี ที่จำเป็นต่อความต้องการของพืช และมักจะขาด เพราะธาตุจำเป็นเหล่านี้ ไม่ได้มีอยู่ในปุ๋ยทั่วไปที่เราใส่กัน

ใช้ FK-1 ฉีดพ่นพืชอย่างต่อเนื่อง จะทำให้พืชเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และได้ผลผลิตดี
อ่าน:3441
โรคราสีชมพูในลองกอง
โรคราสีชมพูในลองกอง
สาเหตุของโรคราสีชมพูในลองกอง เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor Berk & Br.

ลักษณะอาการ ของโรคราสีชมพู

เชื้อราเข้าทําลายบริเวณกิ่งและลําต้น โดยเชื้อราจะเริ่มจับที่กิ่งและลําต้นเป็นจุดสีขาวเล็กๆ แล้วเจริญเป็นเส้นใยปกคลุมบางๆ และค่อยๆ หนาขึ้น ทําให้เปลือกที่หุ้มลําต้น กิ่ง เน่าเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ําตาลอ่อน เมื่อถูกทําลายรุนแรงเส้นใยจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู อาการต้นลองกองที่โรคราสีชมพูเข้าทําลายที่สังเกตได้เด่นชัด คือ ใบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แคระแกร็น ใบแห้งและร่วงหล่น เนื้อเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาล กิ่งหรือลําต้นจะแห้งตายไปในที่สุด หากพบเชื้อราเข้าทําลายบนกิ่งที่มีหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกองเข้าทําลายจะทําให้กิ่งแห้งตายอย่างรวดเร็ว

พืชอาศัยของโรคราสีชมพู

ราสีชมพูสามารถเข้าทําลายพืชได้หลายชนิด เช่น ลองกอง ยางพารา กาแฟ ส้มเขียวหวาน มะม่วง ทุเรียน การแพร่กระจายและฤดูการระบาด

โรคราสีชมพูระบาดมากในช่วงฤดูฝน มักเกิดกับต้นที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ หรือมีการทําลายของหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง การทําสวนลองกองใกล้กับการทําสวนยางพาราควรระมัดระวังโรคนี้ให้มาก เพราะเป็นโรคที่ระบาดรุนแรงในยางพาราเช่นกัน

การป้องกันและกําจัด โรคราสีชมพู

1. ควรทําการตัดแต่งกิ่งลองกองให้ทรงพุ่มโปร่ง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นการลดความชื้นในทรงพุ่มและลดการสะสมเชื้อรา โดยเฉพาะกิ่งที่มีการทําลายของหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง

2. ในช่วงฤดูฝนหมั่นตรวจแปลงบ่อยๆ ถ้าพบอาการในระยะแรกให้ถากเปลือก และ ฉีดพ่นด้วยไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

3. ตัดกิ่งส่วนที่เป็นโรคไปเผาทําลาย และฉีดพ่นแผลด้วย ไอเอส

4. ในช่วงที่มีการระบาด ฉีดพ่นไอเอส ผสม FK-1 ทุก 5-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ หากจำเป็นต้องใช้มากกว่า 4 ครั้ง ควรหายามาสลับใช้ เพื่อป้องกันการดื้อยา

Reference
Main content from: trat.doae.go.th
อ่าน:3687
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค เร่งราก ป้องกันโรค สะสมอาหารเพื่อใช้ในระยะงอก
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค เร่งราก ป้องกันโรค สะสมอาหารเพื่อใช้ในระยะงอก
ช่วงนี้ของทุกปี ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเลย สำหรับ กู๊ดโซค น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ที่ขายมานานหลายปีรายการนี้ สนใจสั่งซื้อ ติดต่อมาได้เลยนะจ๊ะ
ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม!! เป็นเพลงที่แต่งจากเรื่องจริง และมีภาพถ่ายผู้ใหญ่ลี ตัวเป็นๆให้ได้ดูกัน
ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม!! เป็นเพลงที่แต่งจากเรื่องจริง และมีภาพถ่ายผู้ใหญ่ลี ตัวเป็นๆให้ได้ดูกัน
โฉมหน้า ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม!!

มีความสงสัยมาตั้งนานปีแล้วว่า ตัวตนผู้ใหญ่ลี ในเพลงผู้ใหญ่ลีนี่มีตัวตนจริงหรือไม่

ที่สุดวันนี้ก็ได้ภาพมาเฉลยให้กระจ่างใจตน

อาจจะเป็นที่มาแห่งเพลงผู้ใหญ่ลี ที่ร้องกันทั่วบ้าน ทั่วเมือง ร้องกันรุ่นปู่ รุ่นย่า ยันรุ่นปัจจุบัน

ในภาพคือ ผู้ใหญ่ลี นาคะเดช

อดีตผู้ใหญ่บ้านแห่งบ้านหนองหมาว้อ ตำบลนาจิก อำเภออำนาจเจริญ อุบลราชธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ผู้ทำให้เกิดตำนานเพลงอันโด่งดังในอดีต

"ผู้ใหญ่ลี"

เพลงนี้โด่งดังมากๆเมื่อสัก 50 ปีก่อน คือ ปี 2504 เพราะเป็นเพลงลูกทุ่งที่ร้องกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง ลูกเล็กเด็กแดง ร้องกันเป็นหมด ด้วยจังหวะเพลงที่จัดว่าสนุกในสมัยนั้น และยังมีเนื้อหาที่เสียดสีสังคมไปในทางขบขันสะท้อนให้เห็นทั้งการสื่อสารระหว่างทางการกับประชาชน เพราะแม้กระทั่งตัวผู้ใหญ่ลีที่เป็นหัวหน้าชุมชน ในระดับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ยังมีปัญหาในการจับประเด็นเรื่องราวมาถ่ายทอดให้ชาวบ้านฟัง ในยุคที่ มีการประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกคือ ปี พ.ศ. 2503ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อนำพาให้บ้านเมืองไปสู่ความสมัยใหม่ตามแบบประเทศพัฒนาฝั่งตะวันตก
ในเนื้อหาของเพลงบางวรรค

"แดดฮ้อนฮ้อนใส่แว่นตาดำ... ถอดแว่นตาดำ ฟ้าแจ้งจางปางๆ..."
(แกคงใส่ในที่ร่มแล้ว มันมืดมัวซัวไปหมด)...

กัดหยิกเจ็บนิดๆไปถึงการแต่งตัวผู้ใหญ่ลีที่นำสมัย
ผิดแผลกแตกต่างไปจากยุคนั้น เพราะแว่นตาดำหรือแว่นกันแดดคงเป็นสิ่งโก้หรูมิน้อย

เนื้อเพลงเต็มไปด้วยความสนุกของภาษาถิ่นอีสานอย่างมีอารมณ์ขัน

เพลงนี้ต้นฉบับขับร้องโดย ศักดิ์ศรี ศรีอักษร บันทึกเสียงครั้งแรกในปี 2507
ในส่วนของเนื้อเพลงก็แต่งโดยสามีของนางเอง ชื่อ พิพัฒน์ บริบูรณ์
ซึ่งเนื้อหาของเพลงได้ถูดดัดแปลงมาจาก รำโทน เรื่องราวของชายชาวอีสานชื่อผู้ใหญ่ลี มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านนั่นเอง

แหล่งที่มาของข้อมูล
ได้มาจากการส่งต่อๆกันทางไลน์ จึงไม่ทราบต้นทางของผู้เรียบเรียง
อ่าน:3500
จำปาดะ คล้ายขนุน สีเข้มกว่า กลิ่ินหอมมากๆ พบได้เฉพาะทางใต้ของไทย
จำปาดะ คล้ายขนุน สีเข้มกว่า กลิ่ินหอมมากๆ พบได้เฉพาะทางใต้ของไทย
จำปาดะ หรือ Champedak ชื่อพฤกษศาสตร์ Artocarpus integer (Thumb.) Merr. อยู่ในสกุลเดียวกับขนุน A. heterophyllus Lam. หรือ Jackfruit และ สาเก A. altilis (Parkinson) Fosberg หรือ Breadfruit ภายใต้วงศ์ Moraceae แต่ขนุนและสาเกเป็นพืชต่างถิ่น ขนุนมีถิ่นกำเนิดที่อินเดีย ส่วนสาเกมีถิ่นกำเนิดในฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโมลุกกะ และนิวกินี สกุล Artocarpus ในไทยมีพืชพื้นเมือง 12 ชนิด รวมถึงจำปาดะ แยกเป็น 2 สกุลย่อย คือ subg. Artocarpus ที่ใบเรียงเวียน หูใบยาวมากกว่า 1 ซม. หุ้มยอด ดอกเพศเมียและผลไม่เรียบ subg. Psedojaga ใบเรียงสลับในระนาบเดียว หูใบยาวไม่เกิน 5 มม. ติดด้านข้าง ดอกเพศเมียและผลเรียบ ซึ่งจำปาดะอยู่สกุลย่อย subg. Artocarpus

ชื่อพื้นเมือง จำปาเดาะ (ภาคใต้) ชื่อสามัญ Champedak มาจากภาษามาเลย์ chempadak หรือได้ชื่อว่า Golden Jackfruit เนื่องจากเหมือนขนุนแต่มีสีเข้มกว่า

ถิ่นกำเนิด พบที่คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว สุมาตรา สุลาเวสี โมลุกก และปาปัว ในไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต สงขลา ยะลา และนราธิวาส ขึ้นในป่าดิบชื้น และปลูกเป็นไม้ผลทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมพม่าและเวียดนาม และในอินเดีย ในไทยพบปลูกเฉพาะทางภาคทางภาคใต้ในระดับต่ำ ๆ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ส่วนมากสูงถึงประมาณ 20 ม. หรือสูงกว่านี้ มีขนหยาบหรือขนสากสั้น ๆ สีน้ำตาลตามกิ่งอ่อน หูใบ เส้นแขนงใบด้านบน แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ และก้านช่อดอก หูใบเรียวหุ้มยอด ยาว 1.5-9 ซม. ใบเรียงเวียน รูปรี รูปไข่กลับ หรือแกมรูปขอบขนาน ส่วนมากยาว 8-20 ซม. ใบในต้นอ่อนมักจัก 3 พู ก้านใบยาวได้ถึง 3 ซม. ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ กิ่ง หรือลำต้น ดอกจำนวนมาก ใบประดับวงใน (inteflora bracts) ไม่มี ช่อเพศผู้แบบช่อเชิงลด รูปรีหรือรูปทรงกระบอก ยาว 1.5-5.5 ซม. ก้านช่อยาวถึง 6 ซม. ดอกแยกกัน กลีบรวมรูปหลอด ยาวประมาณ 1 มม. ปลายจัก 2 พู เกสรเพศผู้มี 1 อัน ยาวกว่าหลอดกลีบเล็กน้อย ช่อเพศเมียรูปไข่กลับหรือรูปทรงกระบอก ก้านช่อยาว 1.5-10 ซม. กลีบรวมเชื่อมติดกับดอกข้าง ๆ รังไข่แยกกัน ผลรวมเกิดจากกลีบรวมที่เชื่อมติดกันพัฒนาเป็นช่อรูปทรงกระบอกอ้วน ๆ หรือเกือบกลม ยาว 20-35 ซม. ผนังชั้นนอกแข็งเป็นช่องร่างแห ปลายกลีบรวมติดทนรูปกรวยคลายหนาม ยาว 1.5-3 มม. ผนังชั้นกลางสดนุ่ม ผลติดบนแกนกลาง แยกกัน รูปรี ยาวประมาณ 3 ซม. ผนังผลหนา เมล็ดขนาดใหญ่ ไม่มีเอนโดสเปอร์ม

หมายเหตุ พันธุ์ป่ามีความแตกต่างจากพันธุ์ที่ปลูกที่ผลมีขนาดเล็กกว่า ไม่มีกลิ่น และผนังผลย่อยไม่มีรสชาติ ส่วนต่าง ๆ มีขนน้อยกว่าหรือเกลี้ยง และถูกจำแนกเป็น var. silvestris Corner

ลักษณะทั่วไปคล้ายกับขนุน แต่ขนุนขนตามส่วนต่าง ๆ สีขาว สั้น ๆ ใบในต้นอ่อนไม่จักเป็นพู ก้านช่อดอกเพศเมียและผลส่วนปลายขยายหนาเป็นขอบนูน ช่อผลรวมทรงกลม ๆ ไม่เรียวยาว ผลมีขนาดใหญ่และยาวกว่า เปลือกหนากว่า สุกมีกลิ่นแรงน้อยกว่าจะปาดะ ส่วนสาเกช่อดอกออกตามซอกใบ ใบมีขนาดใหญแยกเป็นแฉก

การใช้ประโยชน์ ใบอ่อนและผลอ่อนรับประทานดิบหรือใช้ปรุงอาหาร ผลแก่มีกลิ่นหอมแรง เยื่อหุ้มเมล็ดกินสดหรือนำไปชุบแป้งทอด เมล็ดต้มหรือเผารสชาติคล้านถั่ว เนื้อไม้แข็งและทนทาน ใช้ก่อสร้าง ใช้ย้อมผ้าให้สีเหลือง

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด หรือกิ่งตอน โตเร็ว ออกดอกและติดผลได้ภายใน 3-6 ปี

อ้างอิง:

Berg_ C.C._ Pattharahirantricin_ N. & Chantarasuwan_ B. (2011). Moraceae. In Flora of Thailand Vol. 10(4): 484-485.

Jansen_ P.C.M. (1992). Artocarpus integer_ pp. 91-94. In Plant Resources of South-East Asia. 2. Edible Fruits and Nuts. E.W.M. Verheij and R.E. Coronel (eds). PROSEA_ Pudoc_ Wageningen.

จำปาดะ Artocarpus integer

ขนุน Artocarpus heterophyllus (ภาพซ้าย); สาเก Artocarpus altilis (ภาพขวา)
ข้อมูลและภาพ: ราชันย์ ภู่มา

Reference: dnp.go.th
อ่าน:3641
มะเขือเทศใบซีด มะเขือเทศใบเหลือง อาการเริ่มจากใบแก่ ก่อนลุกลามไปใบอ่อน เพราะขาดไนโตรเจน
มะเขือเทศใบซีด มะเขือเทศใบเหลือง อาการเริ่มจากใบแก่ ก่อนลุกลามไปใบอ่อน เพราะขาดไนโตรเจน
อาการ มะเขือเทศ ขาดไนโตรเจน คล้ายกับอาการ มะเขือเทศขาดกำมะถัน

ต่างกันตรงที่ อาการมะเขือเทศขาดธาตุไนโตรเจน จะเริ่มจากใบแก่ ลุกลามไปยังใบใหม่ หรือใบอ่อน ส่วน อาการมะเขือเทศขาดธาตุกำมะถัน จะเริ่มออกอาการจากใบอ่อนก่อน เนื่องจาก กำมะถันไม่เคลื่อนที่ในต้น ซึ่งต่างกับ ไนโตรเจน

การขาดธาตุไนโตรเจน อาจมีสาเหตุจาก ดินมีค่า pH ต่ำหรือสูง ดินทรายหรือดินร่วน (ชะละลาย) มีสารอินทรีย์ต่ำ สภาพแห้งแล้ง ฝนตกมาก (ชะละลาย) หรือมีการชะหน้าดินหนัก ใช้สารเพิ่มหรือปุ๋ยสด/ปุ๋ยคอก เป็นจำนวนมาก (เช่น ฟาง) พืชโตเร็ว

ไนโตรเจน ทำหน้าที่ การสังเคราะห์กรดอะมิโน โปรตีน โคเอนไซม์ กรดนิวคลิอิก การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และ ATP

สามารถฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงฟื้นฟู จากอาการขาดธาตุไนโตรเจน ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

Reference
Main content from: yara.co.th
อ่าน:3523
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

การดูแล

แสง ชอบแสงแดดมาก

น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์ ตอน ปักชำ

โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก

ลักษณะเด่น

คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู

ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา

โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก

สรรพคุณทางยาและประโยชน์

ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

Reference: nongyai.ac.th
อ่าน:3978
โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง มันฝรั่งใบไหม้ ป้องกันและกำจัดได้อย่างไร
โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง มันฝรั่งใบไหม้ ป้องกันและกำจัดได้อย่างไร
ระวังโรคใบไหม้ในมันฝรั่ง

สภาพอากาศเย็นและมีฝนตกบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งเฝ้าระวังโรคใบไหม้ สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น มักพบแสดงอาการของโรคที่ใบล่างก่อน โดยอาการเริ่มแรกด้านบนใบเป็นจุดฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ ตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลฉ่ำน้ำสีดำ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบในบริเวณตรงกันจะพบละอองน้ำเล็กสีขาวใสติดอยู่บริเวณขอบแผล และแผลจะขยายลุกลามออกไปจนทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลในที่สุด

กรณีสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ อากาศเย็นและมีความชื้นสูง หรือในสภาพที่มีหมอกลงจัด โรคใบไหม้จะลุกลามอย่างรวดเร็วไปยังต้นอื่นๆ ทำให้มองเห็นใบไหม้แห้งกระจายเป็นหย่อมในแปลง ส่วนลำต้นและกิ่งก้านที่พบอาการของโรค แผลจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้ลำต้นหรือกิ่งก้านหักพับและแห้งตายอย่างรวดเร็ว หากโรคใบไหม้เข้าทำลายที่หัว จะทำให้หัวเน่า

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคเริ่มระบาด

ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 สำหรับฟื้นฟูส่งเสริมการเจริญเติบโต ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน

ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน และคอยสังเกตุว่าโรคหยุดการลุกลามหรือไม่ หลีกเลี่ยงการพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และควรใช้สลับชนิด เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค

สำหรับในแปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชที่ตกค้างอยู่ในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูก และให้ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว ให้นำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง จากนั้นให้ไถพรวนดินและตากดินไว้นาน 1-2 สัปดาห์ เพื่อจะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในดิน หลีกเลี่ยงการปลูกมันฝรั่งในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และงดการให้น้ำในตอนเย็นและการให้น้ำที่มากเกินไป อีกทั้งควรปรับระยะปลูกไม่ให้แน่นเกินไป เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค

Reference
Main content from: thethaipress.com/2020/27559/
อ่าน:3485
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
สภาพอากาศร้อนชื้น เวลากลางวันมีแดดจัด และมีฝนตกในบางพื้นที่ช่วงนี้ แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวัง การระบาดของโรคใบไหม้หรือโรคใบติด สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบไหม้ เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบไหม้ ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อนำ้ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมในคราวเดียวกัน เพื่อฟื้นฟู บำรุงพืช จากการเข้าทำลายของโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

Reference
Main content from: technologychaoban.com
อ่าน:3449
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ
|-Page 316 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ผสมปุ๋ยสำหรับอ้อยตอ สูตร 15-5-20 ใช้เอง ลดต้นทุน เร่งอ้อยโตให้โตไวผลผลิตดี
Update: 2566/01/30 07:27:06 - Views: 3740
ความสำเร็จอันหอมหวานของการปลูกทุเรียน: คู่มือสำหรับเกษตรกร
Update: 2566/04/28 13:19:39 - Views: 9175
แก้โรคราในกระเทียม กระเทียมเน่า ราดำกระเทียม เพลี้ยไฟในกระเทียม และหนอนต่างๆ เลือกยาให้ถูกโรคนะคะ
Update: 2564/05/01 01:30:33 - Views: 3457
คะน้า ใบจุด ใบไหม้ ราน้ำค้าง เน่าคอดิน โรคเหี่ยว โรคราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วยปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/03 11:54:02 - Views: 3520
ข้าวดีด ปัญหาระดับประเทศ สร้างปัญหาต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
Update: 2564/08/25 23:04:57 - Views: 3595
ข้าวโพดหลังนา ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) สำคัญกับข้าวโพดอย่างไร?
Update: 2565/07/26 07:59:11 - Views: 3455
นกชนหิน ( Helmeted Hornbill , Rhinoplax vigil)
Update: 2564/04/30 08:13:18 - Views: 3435
ป้องกันมะละกอจากโรคร้ายด้วย Metalaxyl ผสม Starfer Fertilizer 30-20-5
Update: 2567/02/28 13:25:41 - Views: 3469
หนอนผีเสือเจาะผลมะม่วง หนอนเจาะผลมะม่วง หนอนมะม่วง ป้องกันกำจัดด้วย ไอกี้-บีที
Update: 2564/03/03 00:13:01 - Views: 3658
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน มะละกอ เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:06:46 - Views: 3452
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโตมันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งหัวมันสำปะหลัง ปุ๋ยน้ำฉีดมันสำปะหลัง FK
Update: 2564/08/27 23:33:50 - Views: 3633
ควบคุมวัชพืชในสวนทับทิมด้วยคาร์รอน (Diuron 80% WG): วิธีการและประสิทธิภาพที่สูง
Update: 2567/01/25 14:33:43 - Views: 3487
การจัดการเพลี้ยในต้นลำไย: วิธีการป้องกันและควบคุม
Update: 2566/11/24 13:10:07 - Views: 3439
กำจัดหนอนชอนใบมะนาว ด้วย ไอกี้-บีที ยากำจัดหนอนปลอดสารพิษ
Update: 2564/08/31 10:25:56 - Views: 3690
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นขนุน
Update: 2566/05/11 11:30:06 - Views: 3488
ระวัง !! โรคใบจุด ใบไหม้ ใบเหลือง ในผักคะน้า สร้างเสียหายได้มาก ป้องกันได้อย่างไร?
Update: 2566/10/31 15:45:52 - Views: 3485
ท้าวเวสสุวรรณ สลักบนแผ่นเหล็กน้ำพี้ มงคลวัตถุทรงพลัง เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณพลังศักดิ์สิทธิ์ เสริมดวงชะตาให้เจริญรุ่งเรือง
Update: 2567/02/17 09:38:11 - Views: 3513
คำนิยม - ลูกค้าท่านนี้ใช้ ไอเอส กำจัดโรครา ใช้ FK-1 เร่งการแตกยอดแตกใบใหม่ค่ะ
Update: 2564/03/05 04:31:53 - Views: 3416
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
Update: 2564/08/16 01:33:58 - Views: 3513
มันสำปะหลังผลผลิตต่ำ! เพราะขาดธาตุ สังกะสี เพราะเกี่ยวข้องกับการสร้าง คลอโรฟิลล์ สังเคราะห์โปรตีน ส่งเสริมการใช้ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ฯลฯ
Update: 2564/08/10 12:17:29 - Views: 3670
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022