[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ

 
โรคลำต้นเน่า (Stem Rot Disease) โรคข้าวลำต้นเน่า
โรคลำต้นเน่า (Stem Rot Disease) โรคข้าวลำต้นเน่า
โรคข้าวลำต้นเน่า พบมาก ใน นาน้ำฝน และ นาชลประทาน ใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้

สาเหตุ เชื้อรา Sclerotium oryzae Catt.

อาการ เริ่มพบอาการได้ในระยะต้นข้าวก่อนออกรวงหรือหลังออกรวงแล้ว โดยจะพบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำใกล้ระดับน้ำและแผลจะขยายใหญ่ขึ้นและลงตามกาบใบของต้นข้าว และในขณะเดียวกันภายในลำต้นก็จะมีแผลมีลักษณะเป็นขีดสีน้ำตาล เมื่อต้นข้าวเป็นโรครุนแรง ใบล่างของต้นข้าวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส่วนของกาบใบและลำต้นจะเน่า ต้นข้าวล้มง่ายและเมื่อดึงต้นข้าวก็จะหลุดออกจากกอได้ง่าย ต้นข้าวจะตายก่อนออกรวง แต่ถ้ามีการระบาดของโรคไม่รุนแรงหรือโรคเกิดขึ้นในระยะต้นข้าวหลังออกรวงแล้ว จะมีผลทำให้ผลผลิตของข้าวลดลงได้ และเมื่อต้นข้าวเป็นโรคและแห้งตายก็จะพบเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุของโรคมีสีดำฝังอยู่ในเนื้อเยื่อของกาบใบและตามปล้องของต้นข้าว เม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุของโรคสามารถตกค้างอยู่บนตอซังข้าวและในดินได้เป็นระยะเวลานาน

การแพร่ระบาด เนื่องจากเชื้อราสาเหตุจะสร้างเม็ดขยายพันธุ์ที่ตกค้างอยู่ในตอซังข้าวและดิน ในขณะเดียวกันก็สามารถลอยอยู่บนผิวน้ำและแพร่กระจายไปกับน้ำในนาข้าวได้เช่นกัน

การป้องกันกำจัด

-เลือกปลูกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่

-ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงในแปลงที่เป็นโรค

-หลังเก็บเกี่ยวข้าว และเริ่มฤดูใหม่ ควรพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา เก็บทำลายซากพืชที่เป็นโรคออกจากแปลง

หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา รายละเอียดด่านล่างนะคะ
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
สภาพอากาศในระยะที่มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะวิธีรับมือการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการที่ราก เริ่มแรกเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล กรณีที่โรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย

ส่วนอาการที่กิ่ง ลำต้น และโคนต้น ระยะแรกจะพบต้นทุเรียนมีใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สามารถสังเกตเห็นรอยคล้ายคราบน้ำ บนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อยๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่จะลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ต้นทุเรียนใบร่วงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย อาการที่ใบ ใบช้ำ ดำ มีรอยตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และจะเกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว พบระบาดมากในช่วงฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน

สำหรับต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทน หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น และในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี หากมีน้ำท่วมขังให้รีบระบายน้ำออกทันที จากนั้น ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงดินในแปลงปลูก และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคทุกครั้งก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ป้องกัน ยับยั้งโรคพืช จากเชื้อราต่างๆ ไอเอส สารอินทรีย์ รายละเอียดต้านล่างนะคะ
อาการต้นไม้ปลูกในบ้านที่ต้องระวัง รีดจัดการก่อนต้นไม้ตาย
อาการต้นไม้ปลูกในบ้านที่ต้องระวัง รีดจัดการก่อนต้นไม้ตาย
ชื่อว่าคนปลูกต้นไม้หลายคนน่าจะเจอปัญหาคล้าย ๆ กันว่า ทำไมต้นไม้ที่บ้านของเราไม่สวยเหมือนตอนอยู่ที่ร้าน หรือเลี้ยงอยู่ดี ๆ ต้นไม้ก็เหี่ยวแบบหาสาเหตุไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่รดน้ำทุกวัน บางครั้งก็มีใบไหม้หรือจุดด่าง ๆ กระจายเต็มต้น วันนี้กระปุกดอทคอมขออาสารวมปัญหาที่คนปลูกต้นไม้ในบ้านควรระวังมาฝาก มาดูกันว่ามีโรคแบบไหนบ้างที่ควรระวัง และแต่ละอาการมีสาเหตุมาจากอะไร และควรจะแก้ไขยังไง ให้ต้นไม้กลับมาสวยงาม แข็งแรง ผลิใบออกดอกให้เราเห็นเหมือนเดิม

1. ใบเหลือง
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ต้นไม้ใบเหลือง เป็นเพราะรดน้ำมากเกินไป ความชื้นในดินสูง หรือดินแน่น ระบายน้ำยาก วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ ตัดใบส่วนนั้นทิ้งไป จากนั้นเว้นการรดน้ำไปสักระยะ แล้วค่อยกลับมารดน้ำใหม่เมื่อดินแห้ง เช็กง่าย ๆ โดยใช้นิ้วกดลงไปในดินประมาณ 1 นิ้ว หากหน้าดินแห้งก็รดน้ำได้ แต่ถ้าดินยังแฉะก็ควรรอก่อน ส่วนในกรณีที่ดินแน่นเกินไปให้นำมาผสมวัสดุอื่น ๆ เช่น ขุยมะพร้าว ใบก้ามปู หรือรองก้นกระถางด้วยกาบมะพร้าวก่อนนำมาปลูก เพื่อเพิ่มช่องอากาศและช่วยให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น

2. ใบไหม้
สาเหตุที่ทำให้ใบไหม้ส่วนใหญ่มักจะมาจากต้นไม้โดนแสงแดดแรง ๆ หรืออากาศร้อนเกินไป โดยเฉพาะแดดช่วงบ่าย ดังนั้นหากสังเกตว่าใบเริ่มแห้งหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ควรย้ายต้นไม้ไปวางไว้ในที่ที่มีแดดรำไร พร้อมกับตัดใบไหม้ส่วนนั้นทิ้งไป อีกหนึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะใส่ปุ๋ยมากเกินไป เบื้องต้นควรงดใส่ปุ๋ยไปสักระยะประมาณ 1-2 เดือน แล้วรดน้ำตามปกติ เพื่อให้น้ำเจือจางและค่อย ๆ ชะสารเคมีออกไป แต่ถ้าเป็นพวกเชื้อราให้แยกต้นไม้ออกมาวางนอกบ้าน ตัดใบที่ขึ้นราทิ้ง แล้วพ่นด้วยสเปรย์ฆ่าเชื้อรา แล้วรอดูผลสักระยะ หากไม่มีราขึ้นซ้ำก็สามารถย้ายกระถางไปปลูกในบ้านได้

3. ใบซีด
เนื่องจากแสงแดดเป็นอาหารอย่างหนึ่งของต้นไม้และใช้ในการสร้างคลอโรฟิลล์ ถ้าใบของต้นไม้เริ่มสีซีดผิดปกติ เป็นเพราะไม่ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เช่น วางในมุมอับที่แสงเข้าไม่ถึง แต่ก่อนจะย้ายต้นไม้ไปรับแดด ควรเช็กก่อนว่าต้นไม้ของเราเหมาะกับแสงแดดแบบไหน เพราะบางชนิดก็ชอบแสงแดดโดยตรง ทนอากาศร้อนได้ดี ในขณะที่ต้นไม้บางชนิดชอบแสงแดดรำไร อากาศเย็น หรือความชื้นสูง ถ้านำไปวางไว้ที่แดดแรง ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาใบเหี่ยวหรือใบไหม้ตามมาได้

4. ใบหงิก
หากใบหงิกงอ ผิวไม่เรียบ ขอบใบม้วน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นใบอ่อนหรือใบใกล้ยอดลำต้น นอกจากนี้หากลำต้นแคระแกร็นหรือมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับต้นปกติ อาจจะเกิดจากไวรัส ขาดสารอาหาร และมีแมลงมารบกวน หากเจออาการแบบนี้ให้รีบแยกต้นไม้ที่เป็นโรคออกมา แล้วตัดส่วนที่มีปัญหาทิ้งไป

5. ใบมีจุด
ปัญหานี้มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่มาจากพวกฟังไจ (Fungi) และจุดจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น สีน้ำตาล สีแดง หรือสีดำ และจะค่อย ๆ กัดกินใบไปทีละนิดจนเป็นวงกว้าง ดังนั้นหากเจอแล้วควรรีบตัดใบส่วนนั้นทิ้งไป ก็จะช่วยให้ต้นไม้ฟื้นตัวเร็วขึ้น และรดน้ำเฉพาะบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อกระจาย

6. ใบร่วง
ถ้าใบร่วง 1-2 ใบถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าร่วงเยอะจนผิดสังเกต แสดงว่าต้นไม้กำลังอ่อนแอ และมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็ว ใช้กระถางขนาดเล็กเกินไป ทำให้รากขยายยาก ลำต้นเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้อาจจะเป็นเพราะรดน้ำน้อยหรือมากเกินไป

7. ต้นไม้โตช้า
ถึงแม้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้แต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่หากสังเกตว่าต้นไม้ของเราโตช้าเกินไปจนผิดปกติ ผ่านไปหลายสัปดาห์แทบจะไม่เห็นความแตกต่างหรือแตกยอดใหม่เลย ก็เป็นไปได้ว่าต้นไม้โดนเชื้อราหรือแมลงรบกวน เช่น บั่วรา (Fungus Gnat) และหากเห็นแมลงตัวเล็ก ๆ บินรอบต้นไม้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีตัวอ่อนอยู่ในดิน ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่บริเวณรากคอยแย่งอาหารจากต้นไม้ของเรา ทั้งนี้ ควรรีบแยกต้นไม้ที่เป็นโรคออกมา แล้วจัดการเปลี่ยนดิน ตัดรากที่มีตัวอ่อนทิ้งไป จากนั้นค่อยนำไปปลูกในดินใหม่และกระถางที่สะอาด

8. ลำต้นยืดหรือเอียง
อีกหนึ่งปัญหาที่คนปลูกต้นไม้ในบ้านมักจะเจอบ่อย ๆ และนั่นแปลว่า ต้นไม้ได้รับแสงแดดน้อยเกินไป ลำต้นเลยเอียงเข้าหาแสง ฉะนั้นลองหาที่ตั้งกระถางใหม่ ให้เป็นที่ที่มีแสงสว่างและมีแสงแดดเพียงพอ เช่น บนระเบียงหรือริมหน้าต่าง แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรเปลี่ยนที่ปลูกต้นไม้บ่อย ๆ เพราะต้นไม้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว และทำให้ต้นไม้โตช้าลง

9. ออกดอกน้อย
สำหรับต้นไม้ปลูกในร่มที่ผลิใบเยอะ แต่ออกดอกน้อยหรือตั้งแต่ปลูกมายังไม่เคยเห็นดอกเลยสักครั้ง มีสาเหตุจากปุ๋ยที่นำมาใส่มีส่วนของไนโตรเจน (N) มากเกินไป หากอยากจะเห็นดอกบ้าง ควรเลือกสูตรปุ๋ยที่เน้นฟอสฟอรัส (Phosphorus หรือ P) ช่วยเร่งการสร้างดอก อีกทั้งยังช่วยให้รากแข็งแรง ดูดซึมอาหารได้ดีขึ้นด้วย

คราวนี้ก็ได้ทราบกันไปแล้วว่าอาการแต่ละอย่างมีสาเหตุจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเปลี่ยนกระถาง ย้ายที่วางต้นไม้ หรือปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แต่ละครั้งควรเว้นระยะห่างประมาณ 5-7 วัน เพื่อให้เวลาต้นไม้ปรับตัวด้วยนะคะ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

อาการใบไหม้ ใบจุด ใบเหลืองซีด อันเนื่องมาจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคพืช จะรุนแรงขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการระบาด และ พืชอ่อนแอ ดูแลพืชให้แข็งแรง ก็ต้านทานต่อโรคได้ เหมือนคนที่แข็งแรง
โรคพืช จะรุนแรงขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการระบาด และ พืชอ่อนแอ ดูแลพืชให้แข็งแรง ก็ต้านทานต่อโรคได้ เหมือนคนที่แข็งแรง
โรคพืช หมายถึง ภาวะที่พืชมีลักษณะผิดปกติ เนื่องจากเชื้อโรคที่เป็นสิ่งมีชีวิต และ สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไปทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในพืชผิดปกติ โครงสร้างและรูปร่างของส่วนต่างๆ ของพืชเปลี่ยนแปลง โดยการเกิดโรคพืชมีปัจจัยสำคัญ คือ พืชอาศัยอ่อนแอ สภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อสาเหตุโรคที่รุนแรง และระยะเวลาที่พอเหมาะ

การจัดกลุ่มโรคพืชตามเชื้อสาเหตุโรค แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ

1. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ราสนิม ใบจุด ราน้ าค้าง ราแป้ง โรคที่เกิดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคแคงเกอร์ในตระกูลส้ม โรคเหี่ยว โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โรคใบด่าง อ้อย โรคเส้นใบเหลือง โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย เช่น โรครากปม เป็นต้น

2. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
เช่น เกิดจากการขาดธาตุอาหาร สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เกิดจากความเป็นพิษของของธาตุอาหาร ดินมีความเป็นกรดด่างสูง เกิดจากพิษของสารกำจัดวัชพืชและสารเคมีต่างๆ

โรคพืชป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบจุด (leaf spot) ใบไหม้ (leaf blight) ราสนิม(rust) ราแป้ง (powdery mildew) ราดำ (black mildew) จุดนูนดำ (tar spot) อาการเหี่ยว (wilt) โรครากเน่า โรคลำต้นผุเน่า เป็นต้น โรคส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นโรคที่เกิดทางใบ ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของพืชและจะทำให้ลำต้นอ่อนแอ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

โรคพืช ที่มีสาเหตุจาก เชื้อราต่างๆ ป้องกัน กำจัดด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

โรคพืช ที่มีสาเหตุจาก การขาดธาตุอาหาร ใช้ FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรคฟิลล์ เป็นการให้อาหารพืชได้อย่างครบถ้วน

เลื่อนอ่านรายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
เตือนเกษตรกรชาวสวนกล้วยทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่นจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และภาคเหนือแถบชายแดนประเทศพม่า เช่น จังหวัดเชียงรายโดยเฉพาะแหล่งปลูกกล้วยหอม ที่สำคัญ เฝ้าระวังโรคเหี่ยวสายพันธุ์ TR4 ในกล้วยหอม ซึ่งเป็นโรคพืชกักกันไม่เคยพบการระบาดในประเทศไทยมาก่อน และกำลังแพร่ระบาดอยู่ในหลายประเทศแถบอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน ไต้หวัน อินเดีย ปากีสถาน และเมียนมา

ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยโดยเฉพาะกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคเหี่ยว ควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ าเสมอ เมื่อสงสัยว่ากล้วยอาจเป็นโรคนี้ระบาด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อตรวจสอบวินิจฉัยการระบาด และแจ้งให้กรมส่งเสริมการเกษตรทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป และขอให้เกษตรกรห้ามนำพันธุ์กล้วยที่มาจากประเทศที่พบการระบาดเข้ามาปลูกในประเทศไทยโดยเด็ดขาด

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense Tropical race four (TR4)

ลักษณะอาการ

โรคนี้เกิดจากระบบท่อลำเลียงของพืชถูกทำลาย โดยเชื้อเข้าสู่รากและแพร่กระจายสู่ระบบท่อน้ำพืช เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของลำต้นเทียมกล้วย และลุกลามขึ้นสู่ก้านใบอาการภายนอกทำให้โคนใบแก่ด้านนอกมีสีซีดเหลือง และผืนใบเปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลโดยเริ่มจากขอบใบเข้าสู่กลางใบ และใบหักพับภายใน ๑ - ๒ สัปดาห์ ทำให้เห็นอาการใบเหลืองจากใบล่างขึ้นไป ต่อมาใบและกิ่งเริ่มเหี่ยว และร่วง เซลล์ตามขอบใบตาย และทำให้ต้นตายในที่สุด บางครั้งอาจพบอาการผลอาจเน่าและร่วง รากอาจจะเจริญออกทางด้านข้างและเน่าภายหลัง

การแพร่ระบาด

การแพร่กระจายของเชื้อเกิดจากการน าเอาเหง้าหรือส่วนขยายพันธุ์ที่ติดเชื้อไปปลูกนอกจากนั้นเชื้อยังติดไปกับดิน เศษซากพืช หรือ น้ำที่ท่วมขังแปลง ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือพันธุ์พืชที่อ่อนแอความชื้นในดินสูง การระบายน้ำในดินต่ำ เชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR4 มีความสามารถอยู่รอดในดินได้นานมากกว่า ๑๕ ปี

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะน าวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

๑. หมั่นส ารวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
๒. หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงปลูกที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อน
๓. ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์
๔. รองก้นหลุมปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า) ในอัตราส่วน ๑ : ๔ : ๑๐๐ โดยน้ าหนักอัตรา ๑๐๐ - ๒๐๐ กรัมต่อหลุม
๕. ควรเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้ หรือไม่น าหน่อพันธุ์จากต้นตอที่เป็นโรคไปปลูก

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคกล้วย โรคตายพราย โรคใบจุดกล้วย
โรคกล้วย โรคตายพราย โรคใบจุดกล้วย
โรคกล้วย โรคตายพราย โรคใบจุดกล้วย
โรคตายพราย (Panama disease หรือ Fusarium wilt) เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense เข้าทำลายราก และมีการเจริญเข้าไปในท่อน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เกิดอุดตัน ใบจึงมีอาการขาดน้ำ เหี่ยวเฉา และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หักพับ การเจริญจะชะงักงัน และตายในที่สุด โรคนี้สามารถระบาดไปทางดิน ดังนั้นต้นที่อยู่ในบริเวณนั้นจะถูกโรคนี้ทำลายหมด จึงควรทำความสะอาดโคนกอกล้วย อย่าให้รก ทำทางระบายน้ำให้ดี

โรคใบจุด (Leaf spot) โรคใบจุด มีหลายชนิด เช่น โรคซิกาโตกาสีเหลือง เฟโอเซปทอเรียใบจุด ใบจุดสีดำ ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดสีกระ แต่ละโรคเกิดจากเชื้อราต่างชนิดกัน ส่วนใหญ่โรคที่พบในกล้วยหอมทอง คือ โรคเฟโอเซปทอเรียใบจุด เกิดจากเชื้อรา Phaeoseptoria musae ลักษณะอาการคือ ใบเกิดเป็นจุดเล็กขนาดเท่าหัวเข็มหมุด สีน้ำตาลดำ รูปร่างยาวรี เมื่อความชื้นเหมาะสมแผลตรงกลางจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนเทา ขอบแผลเป็นแถบสีน้ำตาลเข้ม และรอบนอกเป็นสีเหลือง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน และยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคใบจุดของกล้วยหอมทอง
โรคใบจุดของกล้วยหอมทอง
โรคใบจุดของกล้วยหอมทอง
ลักษณะอาการโรคใบจุด จะเป็นจุดสีน้ำตาล และขยายขนาดออกตามความยาวของเส้นใบ ซึ่งจะส่งผลผกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต

1. เริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มถึงดำ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร)

2. ขยายขนาดตามความยาวของเส้นใบ มีรูปร่างไข่หรือรี สร้างวงเเหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล และบริเวณกลางแผลมีอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีเทาเมื่ออายุเเผลมากขึ้น

3. เมื่อเเต่ละเเผลขยายขนาดเชื่อมต่อกันจะปรากฏลักษณะอาการไหม้เป็นสีน้ำตาลเข้มผืนใหญ่ ส่วนมากมักพบอาการไหม้จากขอบใบและมักเริ่มจากปลายใบ

การระบาดของโรคใบจุดกล้วยหอมทอง

- พบการระบาดในช่วงฤดูฝน (มีความชื้นสัมพัทธ์ในแปลงมากกว่า 80%)

- การตัดเเต่งใบกล้วยเเล้วสุมไว้ข้างๆต้น ทำให้เชื้อราเกิด การเเพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง

- สภาพอากาศมีความชื้นสูงทำให้สร้างส่วนขยายพันธุ์ (สอปร์) ได้จำนวนมาก

- สปอร์ของเชื้อราปลิวไปทำลายบริเวณใบล่างของต้นกล้วยข้างเคียง

- ใช้หน่อกล้วยจากแปลงที่เป็นโรคมาปลูกในเเปลงอื่นๆ ทำให้เชื้อราเเพร่กระจายเป็นปริมาณกว้าง

การป้องกัน กำจัด โรคใบจุดกล้วยหอมทอง

1. สำรวจแปลงกล้วยตัดใบที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายให้ไกลเเหล่งปลูก เพื่อขจัดเเหล่งสะสมของเชื้อราเนื่องจากเชื้อรามีชีวิตอยู่ได้ในซากใบกล้วยที่ตายเเล้ว

2. กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มของต้นกล้วย เพื่อลดความชื้นในเเปลงเนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรคจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสูง

3. ฉีดพ่นสารป้องกัน กำจัด และยับยั้งโรคโรคพืชจากเชื้อรา

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดโรคพืช จากเชื้อรา ใช้ ฉีดพ่น เพื่อป้องกัน และยับยั้งการระบาดของ โรคใบจุดกล้วยหอมทอง
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
แก้วมังกร จะพบโรคจุดสีน้้าตาลระบาด อาการเริ่มแรกที่กิ่งและผลเป็นจุดสีเหลือง จากนั้นจะพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กๆ สีน้้าตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่้าน้้า เมื่ออาการรุนแรงแผลจะเน่า โดยถ้าเป็นที่กิ่งจะท้าให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรูหรือเว้าแหว่ง ส้าหรับผลถ้าอาการรุนแรงจะท้าให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำและผลเน่าในที่สุด

สาเหตุหลักเกิดจากดินแปลงที่ท้านามาก่อน หรือดินไม่ได้ยกร่อง หรือดินมีการระบายน้้าไม่ดี และเกษตรกรที่ชอบใช้ปุ๋ยยูเรียจ้านวนมาก หรือใส่แต่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ท้าให้เกิดโรคได้ง่าย เพราะแก้วมังกรเป็นพืชอวบน้้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรค ราสนิมแก้วมังกร โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
โรคแก้วมังกรต้นจุด และผลเน่า
โรคแก้วมังกรต้นจุด และผลเน่า
โรคแก้วมังกรต้นจุด และผลเน่า
ฤดูฝนอากาศมีความชื้นสูง เอื้อต่อการระบาดของโรคพืชจากเชื้อรา กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรเฝ้าระวังการระบาดของโรคลำต้นจุดสีน้ำตาลและผลเน่า

พบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของแก้วมังกร เริ่มแรกจะแสดงอาการที่กิ่งหรือผลมีจุดสีเหลือง จากนั้นพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กสีน้ำตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่ำน้ำ หากอาการรุนแรง

แผลจะเน่า ถ้าเป็นที่กิ่งจะทำให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรูหรือเว้าแหว่ง สำหรับผลที่มีอาการรุนแรง จะทำให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำ และผลเน่าในที่สุด

การป้องกันโรค ให้เกษตรกรเลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค และลดการให้ปุ๋ยไนโตรเจน เพราะจะทำให้แก้วมังกรซึ่งเป็นพืชอวบน้ำอ่อนแอต่อโรคได้ง่ายขึ้น และให้หมั่นสำรวจทำความสะอาดกำจัดวัชพืชโคนต้น เก็บกวาดเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรคใต้ต้นออกไปทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นที่จะทำให้เชื้อราระบาด

หากพบโรคให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคอย่างระมัดระวัง ให้เกิดแผลน้อยที่สุด เพราะแผลจะเป็นช่องทางให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย ควรตัดตรงส่วนที่เป็นรอยต่อข้อระหว่างกิ่ง และนำส่วนที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก และควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ทางการเกษตรให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้ง

พร้อมทั้งควรให้น้ำแก้วมังกรเฉพาะในช่วงเช้า ไม่ควรให้น้ำในช่วงบ่ายหรือเย็น เพื่อลดการสะสมความชื้นในทรงต้น

กรณีมีการระบาดมาก หลังจากตัดแต่งกิ่ง ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัด โรคแก้วมังกรต้นจุด โรคแก้วมังกรผลเน่า
โรคแก้วมังกร โรคจุดสีน้ำตาลในแก้วมังกร
โรคแก้วมังกร โรคจุดสีน้ำตาลในแก้วมังกร
โรคแก้วมังกร โรคจุดสีน้ำตาลในแก้วมังกร
แก้วมังกร จะพบโรคจุดสีน้ำตาล ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ระบาด อาการเริ่มแรกที่กิ่งและผลเป็นจุดสีเหลือง จากนั้นจะพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กๆ สีน้ําตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่ำน้ํา เมื่ออาการรุนแรงแผลจะเน่า โดยถ้าเป็นที่กิ่งจะทําให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรูหรือเว้าแหว่ง สำหรับผลถ้าอาการรุนแรงจะทําให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำและผลเน่าในที่สุด

การป้องกัน

1.เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค

2.ลดการให้ปุ๋ยไนโตรเจน เนื่องจากเป็นพืชอวบน้ําอาจ ทําให้พืชอ่อนแอเกิดโรคง่ายขึ้น

3.หมั่นกำจัดวัชพีชในแปลงปลูกเพื่อลดความชื้น

4.งดให้น้ําช่วงบ่ายหรือเย็น ให้เฉพาะช่วงเช้า เพื่อลดความชื้นสะสมในทรงพุ่ม

5.ตรวจแปลงอย่างสม่ําเสมอเมื่อพบโรคตัดแต่ง ส่วนที่เป็นโรคอย่างระมัดระวังให้มีแผลน้อยที่สุด การตัด แต่งกิ่งควรตัดตรงส่วนที่เป็นรอยต่อของข้อระหว่างกิ่ง แล้วนำส่วนท ี่เป็นโรคไปเผาทําลายนอกแปลงปลูก

6.ไม่นําเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติและควรทําความสะอาดก่อนนำไปใช้ใหม่ทกครั้ง

7.กรณีพบโรคเพียงเล็กน้อย ป้องกันการระบาดโรคโดยตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกไปเผาทําลาย แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืช

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคแก้วมังกร โรคจุดที่น้ำตาล ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ
|-Page 286 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคพืช ทำให้เกิดโรคในคนได้หรือไม่?
Update: 2564/08/13 11:45:35 - Views: 3406
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/28 08:42:32 - Views: 3876
การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมะม่วง การจัดการเพลี้ยศัตรูพืชในมะม่วง
Update: 2566/11/08 14:53:27 - Views: 3470
เทคนิค การเก็บเมล็ดพันธุ์ พื้นบ้าน โดยเกษตรกร
Update: 2562/08/18 23:51:03 - Views: 3767
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
Update: 2563/05/23 13:58:08 - Views: 3696
การจัดการและป้องกันหนอนเจาะผลทุเรียน
Update: 2566/11/20 10:25:00 - Views: 3569
กัญชาใบไหม้ โรคกัญชา โรคราสนิม โรคใบเหลือง
Update: 2564/06/07 08:04:31 - Views: 3885
การป้องกันและกำจัดโรคพืชจากเชื้อราในข้าวโพด
Update: 2566/05/17 09:54:42 - Views: 3525
โรคแคงเกอร์ ในพืชตระกูลส้ม และ มะนาว แก้ได้ด้วยไอเอส ปลอดสารพิษ
Update: 2564/05/09 05:03:29 - Views: 3701
การป้องกันและควบคุมโรคเมลาโนสในต้นส้ม: แนวทางการดูแลและการใช้สารป้องกันกำจัดโรค
Update: 2566/11/17 08:58:24 - Views: 3462
เพลี้ยมะพร้าว เพลี้ยใต้ใบมะพร้าว เพลี้ย ศัตรู มะพร้าว มาคา จาก FK
Update: 2565/06/17 01:04:26 - Views: 3477
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าไรขาว ในดอกลีลาวดี และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/03 10:21:21 - Views: 3570
โรคแอนแทรคโนสกาแฟ เกิดจากเชื้อรา คอลเลตโททริคัม ใช้ ไอเอส + FK-1
Update: 2564/08/09 04:41:38 - Views: 3497
การทำไร่อ้อย ใน 4 ขั้นตอนหลักๆ
Update: 2563/09/27 20:19:32 - Views: 4004
แก้โรคมอนสเตอร่า ใบเหลือง ใบจุด ใบไหม้ ขาดธาตุอาหาร ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม #ปุ๋ยมอนสเตอร่า #มอนสเตอร่าใบไหม้
Update: 2564/11/03 11:57:47 - Views: 3500
เร่งโต ระเบิดราก เพิ่มผลผลิต ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ FK-1 ฟื้นฟูพืช โตไว แข็งแรง จึงต้านทานต่อโรค
Update: 2564/03/07 12:42:20 - Views: 3437
ไขข้อข้องใจ … ทำไมแหนมถึงกินดิบได้?
Update: 2565/11/16 13:48:55 - Views: 5396
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคเน่าคอดิน ในคะน้า ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/27 13:45:31 - Views: 3417
การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
Update: 2563/11/12 09:26:17 - Views: 3484
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
Update: 2564/08/13 11:48:06 - Views: 3449
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022