พิมพ์คำค้นหา หรือลองคลิกตัวอย่าง >
มันสำปะหลัง
,
ข้าว
,
อ้อย
,
ทุเรียน
,
กัญชา
,
ข้าวโพด
,
ปาล์ม
,
ยางพารา
,
อินทผลัม
,
โรคใบไหม้
,
ราสนิม
,
เพลี้ย
,
ยาแช่ท่อนพันธุ์
+ โพสเรื่องใหม่ |
^ เลือกหน้า |
All contents
3518 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 8 รายการ
หนอนชอนใบ หนอนกินใบ หนอนที่พบในไม้ดอกไม้ประดับ ป้องกันกำจัดหนอน ฆ่าหนอน ด้วย ไอกี้-บีที
ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอน ใช้ได้ในที่พักอาศัย ปลอดภัย ไม่มีอันตราย
ปลอดสารพิษ ไอกี้-บีที เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ที่ออกฤทธิ์ทำลายหนอน และออกฤทธิ์เฉพาะกับหนอนเท่านั้น
ไม่เป็นอันตรายใดๆกับผู้ใช้ ไม่อันตรายต่อผู้บริโภค ในกรณีที่เป็นพืชผักผลไม้ สามารถฉีดพ่น และเก็บมาล้างรับประทานได้เลย ไม่มีสารตกค้างอันตราย
ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงอื่นๆ (ยกเว้นแต่สัตว์เลี้ยงของคุณจะเป็นหนอน ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้วไม่พบว่าใครเลี้ยงหนอนเป็นสัตว์เลี้ยง) |
พืชใบเหลือง เริ่มจากปลายเข้าสู่โคนใบ โตช้า ขาดคลอโรคฟิลล์ ใช้ FK-1
ไนโตรเจนจะเคลื่อนย้ายสู่ใบอ่อนได้ ทำให้ใบแก่มีสีเหลือง ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว(monocots) เช่น ข้าวโพด สีเหลืองจะเริ่มแสดงจากปลายใบแล้วลุกลามเข้าสู่โคนใบ
ต้นพืชที่ขาดไนโตรเจนจะไม่เจริญเติบโตและใบมีสีเหลือง พืชที่ขาดไนโตรเจนจะทำให้เกิดการขาดคลอโรฟีลล์อันเป็นเหตุให้พืชผลิตคาร์โบไฮเดรตไม่ได้เต็มที่ ทำให้พืชออกดอกก่อนกำหนด อันเป็นผลทำให้คุณภาพของผลผลิตไม่ดี |
หนอนผีเสือเจาะผลมะม่วง หนอนเจาะผลมะม่วง หนอนมะม่วง ป้องกันกำจัดด้วย ไอกี้-บีที
หมั่นสำรวจสวนและเฝ้าระวังการระบาดของหนอนผีเสื้อเจาะผลมะม่วง
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีลายบนปีก ลำตัวยาวประมาณ 1.2 ซม. เมื่อกางปีก ปีกกว้างประมาณ 2.5 ซม.จะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ที่ขั้วผลมะม่วง
หลังจากนั้นจะฟักเป็นตัวหนอน ตัวหนอนมีสีแดงสลับขาวพาดตามขวางของลำตัว ตัวหนอนจะเจาะผลมะม่วงบริเวณก้นผลเข้าไปอาศัยและกัดกินอยู่ภายในผลและเจาะเข้าไปจนถึงเมล็ดอ่อนของมะม่วง และขับมูลออกทางรูที่เจาะเข้าไป
ผลที่ถูกทำลายจะมีขี้ขุยออกมาบริเวณเปลือกของผล ภายในผลที่ถูกทำลายจะพบหนอน 5-10 ตัวต่อผล เมื่อผ่าผลมะม่วงดูจะพบรอยทำลายเป็นทางยาวเข้าเมล็ด ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่น อาจพบผลร่วงตั้งแต่ขณะยังเป็นผลเล็ก แต่ในบางครั้งจะไม่ร่วงเพราะระหว่างผลและก้นขั้วผลมีใยถักยึดไว้ตั้งแต่เมื่อหนอนเริ่มฟักออกจากไข่ พบการทำลายทั้งผลเล็กและเริ่มแก่
วิธีการป้องกันกำจัดหนอนผีเสื้อเจาะผลมะม่วง
1. การป้องกันจะให้ผลดีกว่าการกำจัดเพราะตัวหนอนกัดกินอยู่ภายในผล การพ่นยา ไอกี้-บีที ควรพ่นขณะที่มะม่วงยังติดผลอ่อนอยู่ ซึ่งจะเป็นวิธีป้องกันผีเสื้อวางไข่
2. ฉีดพ่น ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ป้องกันและกำจัดหนอน ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสั่งเกตุอาการ ควรหายาอื่นๆ มาสลับใช้ หากจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการดื้อยา
3. เก็บผลมะม่วงที่ถูกหนอนทำลายที่ติดอยู่บนต้น และที่หล่นมาเผาหรือฝังทำลาย
4. การห่อผลมะม่วงตั้งแต่ขนาดผลอ่อนจะช่วยป้องกันไม่ให้ผีเสื้อมาวางไข่
5. ใช้ FK-1 ฉีดพ่น เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรค หรือสามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ การใช้ ไอกี้-บีที เพื่อป้องกันกำจัดหนอนได้ในครั้งเดียวกัน
Reference: main content from samutprakan.doae.go.th |
การป้องกันกำจัดเพลี้ยทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน ควบคุมเพี้ยไก่แจ้ ด้วยศัตรูธรรมชาติ กระตุ้นใบอ่อนลดเวลาการทำลาย ใช้ ยาฆ่าเพลี้ยอินทรีย์
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (Durain psyllid )
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยวางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อพืช ทำให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือน้ าตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8 - 14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดยาวประมาณ 3 ม.ม. และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามล าตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของล าต้นมีปุยสีขาวคล้าย ๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก่แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อแมลงนี้ลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยมีสีน้ าตาลปนเขียว ขนาดยาวประมาณ 5 ม.ม. มีอายุได้นานถึง 6 เดือนมักไม่ค่อยบินนอกจากได้รับความกระทบกระเทือน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ด้านหลังใบตลอดเวลา
ลักษณะการทำลาย
ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียน ที่ยังไม่โตเต็มที่ ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติเมื่อระบาดมาก ๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมดนอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมา เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือ ในระยะตัวอ่อน แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด
การป้องกันและกำจัด
ระดับเศรษฐกิจ : เพลี้ยไก่แจ้ 5 ตัว/ยอด และยอดถูกท าลายมากกว่าร้อยละ 50 ต่อต้น
1. ติดตามสถานการณ์เพลี้ยไก่แจ้และศัตรูธรรมชาติ สำรวจร้อยละ 10 ของต้นทั้งหมด 7 วัน/ครั้ง ในช่วงมิถุนายน -พฤศจิกายน ตรวจนับ 5 ยอด/ต้น ทั้งเพลี้ยไก่แจ้และศัตรูธรรมชาติ พบเพลี้ยไก่แจ้ที่ยังมีชีวิตมากกว่า 5 ตัว/ยอด ถือว่ายอดถูกทำลาย
2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ตามธรรมชาติ ตัวห้ำ : แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp. แมลงช้างปีกใสแปดจุด Ankylopteryx octopunctata แมลงช้างปีกสีน้ำตาล Hemerobius sp. ต่อหลวง ต่อรัง แมงมุม _ด้วงเต่า Menochilus sexmaculatus ด้วงเต่าโรโดเลีย Rodolia sp. ด้วงเต่า Scymnus sp
3. กระตุ้นการแตกใบอ่อนให้พร้อมกันทุกต้นเพื่อลดช่วงเวลาการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ให้สั้นลง โดยการฉีดพ่น FK-1 อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบ ประมาณ 10 ลิตรต่อต้น จำนวน 2 ครั้ง ระยะแตกใบอ่อน ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ระยะแตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน
4. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย
5. ใช้น้ำฉีดพ่นใบอ่อนที่คลี่แล้ว เพื่อลดปริมาณเพลี้ยไก่แจ้
6. ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดเพลี้ย ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสั่งเกตุอาการ ควรหายาอื่นๆ มาสลับใช้ หากจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการดื้อยา
7. ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรค หนอน และแมลง
Reference: main content from pmc03.doae.go.th |
แมลงศัตรูข้าว แตนเบียน ป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดด หรือง่ายๆ ใช้ มาคา
แตนเบียน A. optabilis (Perkins) ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 0.8 มิลลิเมตร ตาสีดำแดง หนวดสีน้ำตาลเทา เพศเมียปลายหนวดเป็นรูปกระบอง ส่วนเพศผู้หนวดเป็นเส้นตรง หลังจากที่เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยใหม่ๆ ลำตัวจะมีสีน้ำตาลอ่อน มีสีส้มอยู่ภายใน อวัยวะวางไข่เพศเมียสีน้ำตาล ยาวเสมอหรือยื่นเลยส่วนท้องเล็กน้อย ขาสีน้ำตาล เป็นแตนเบียนไข่ที่สำคัญของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาว ไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ถูกทำลายจะมีสีเหลืองในช่วงแรก และต่อมาจะเป็นสีส้ม ดักแด้มีสีดำ อยู่ภายในไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สามารถมองเห็นได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetrastichus sp. Tetrastichus formosamus (Timberlake) วงศ์ : Eulophidae อันดับ : Hymenoptera
แตนเบียน Tetrastichus sp. ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ตาสีแดง หนวดสีเทาหรือสีดำอ่อน เพศผู้โคนหนวดขยายใหญ่ ขาทั้ง 3 คู่ และท้องสีน้ำตาลอ่อน อวัยวะวางไข่เพศเมียยื่นออกมาจากส่วนท้อง แตนเบียน T. formosanus ตัวเต็มวัยเพศเมียมีขนาดยาว 1.1-1.5 มิลลิเมตร ตัวมีสีเหลืองอ่อน มีจุดประสีขาวแวววาวเป็นสีทอง เพศผู้โคนหนวดขยายใหญ่ แตนเบียน Tetrastichus เป็น แตนเบียนไข่ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดด หลังขาว ทำลายอยู่ภายนอกไข่ของเพลี้ยกระโดด โดยหนอนแตนเบียนจะดูดกินไข่แต่ละฟอง ทำให้ไข่แฟบ หนอนจะเข้าดักแด้อยู่ใกล้ๆ กับกลุ่มไข่ที่ถูกทำลาย ดักแด้มีสีขาว ต่อมาจะเป็นสีดำ
Reference: main content from ricethailand.go.th |
หนอนพริก แมลงวันพริก หนอนแมลงวัน ศัตรูพริก ป้องกันและกำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันพริก จัดเป็นแมลงวันผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตการเกษตรโดยเฉพาะพืชในตระกูลพริก-มะเขือ
ชื่อสามัญ solanum fruit fly
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bactrocera latifrons (Hendel)
ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอวัยวะวางไข่ (ovipositor) ที่แหลมและแข็งแรง แทงผิวของเนื้อเยื่อพืชลึก 0.5-1.0 มิลลิเมตรเพื่อวางไข่ที่มีลักษณะรูปร่างยาวรี สีขาวขุ่น ผิวเป็นมันสะท้อนแสง เมื่อใกล้ฟักสีของไข่จะเข้มขึ้น ระยะไข่ 2-3 วัน ก็จะฟักเป็นตัวหนอนมีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน มีสีขาว หรือสีใกล้เคียงกับสีของพืชอาหาร ตัวหนอนเคลื่อนที่โดยการยืดหด
ลําตัวซึ่งเป็นปล้องๆ ส่วนหัวมีปากเป็นตะขอแข็งสีดําหนึ่งคู่เรียกว่า “mouth hook” ซึ่งเป็นอวัยวะที่หนอนใช้ชอนไชกินเนื้อเยื่อภายในผลพริกทําให้ผลพริกเน่าและร่วง นอกจากนี้ตัวหนอนยังมีความสามารถพิเศษในการงอตัวและดีดกระเด็นไปได้ไกล (หนอนวัย 3) ซึ่งช่วยให้หนอนหาที่เหมาะสมเพื่อเข้าดักแด้ในดิน ระยะหนอนมี 3 ระยะ (8-10 วัน)
ดักแด้มีรูปร่างกลมรีคล้ายถังเบียร์ ไม่เคลื่อนไหว ระยะแรกจะมีสีขาวและค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาล สีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆระยะดักแด้11-14 วัน ก็จะออกเป็นตัวเต็มวัยซึ่งมีปีกบางใสสะท้อนแสงและมีแถบสีเหลืองที่ส่วนอก จึงเรียกว่า “แมลงวันทอง” ในระยะตัวเต็มวัยมีอายุเฉลี่ย 77-183 วัน โดยตลอดวงชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 23-25 วัน
ลักษณะการทําลาย
การเข้าทําลายของแมลงวันพริกเกิดจากตัวเต็มวัยเพศเมียใช้อวัยวะวางไข่แทงลงไปในผลพริกเพื่อวางไข่ตัวหนอนจะชอนไชกินไส้ในผลพริกทําให้พริกเน่าและร่วง ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ําบริเวณใต้ผิวเปลือกเมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทําให้ผลเน่าเละและมีน้ําไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน นอกจากนี้รอยแผลที่เกิดขึ้นจากการวางไข่ของแมลงยังส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชเข้าทําลายตามทําให้ผลเน่าและร่วงหล่นก่อนระยะเก็บเกี่ยว ในพื้นที่ที่ไม่มีการป้องกันหรือควบคุมแมลงวันพริกความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเข้าทําลายอาจรุนแรงมากถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงจําเป็นที่ต้องป้องกันการเข้ามาทําลายผลผลิตพริกของแมลงวันพริก B. latifrons เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดจากการเข้าทําลายของแมลงชนิดนี้
การป้องกันและกําจัด
- ฉีดพ่น ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ป้องกันและกำจัดหนอน ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสั่งเกตุอาการ ควรหายาอื่นๆ มาสลับใช้ หากจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการดื้อยา
- ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรค หนอน และแมลง
Reference: main content from trat.doae.go.th |
โรคอ้อย อ้อยขาดธาตุแคลเซียม (Calcium, Ca) แสดงอาการเป็นทางเหลือง หรือสีน้ำตาล แก้ไขได้
อ้อยใบแก่จะแสดงอาการขาดแคลเซียม โดยใบอ้อยจะมีลักษณะเป็นทางสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาล โดยบนใบแก่อาจจะสังเกตเห็นลักษณะเป็นสีสนิมแล้วใบก็จะตายไปก่อนที่จะแก่
บ่อยครั้งที่จะพบว่ายอดใบนั้นจะมีการบิดม้วนไปตามความยาวของขอบใบเมื่อมีการขาดแคลเซียมอย่างต่อเนื่อง ในใบอ่อนนั้นจะมีการผิดรูปร่างแห้งตายอย่างไรก็ตามการขาดแคลเซียมนั้นพบได้ไม่บ่อย
ลักษณะอาการโรค อ้อยขาดแคลเซียมจะทำให้เนื้อเยื่อเจริญส่วนยอดตาย ใบอ่อนจะมีอาการยอดงอบิดเบี้ยวและไหม้ที่ส่วนยอด และขอบใบใบจะมีแผลเล็ก ๆ สีซีด และมีจุดแห้งๆ ตรงกลาง ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงเปลือกจะอ่อนนุ่มและเปราะ ลำจะผอมเรียวการเจริญเติบโตจะลดลงและอ่อนแอ ถ้าขาดแคลเซียมอย่างรุนแรงการเจริญเติบโตจะหยุดชะงักและตายในที่สุด
คำแนะนำการป้องกันกำจัด การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตราสูงจะทำ ให้เกิดการขาดแคลเซียม ในดินเป็นกรดซึ่งมีแคลเซียมต่ำ โดยปกติอาการขาดแคลเซียมในอ้อยของประเทศไทยไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก ส่วนใหญ่มักจะพบร่วมกับอาการเป็นพิษของอลูมิเนียมในดินกรดจัดในประเทศบราซิล อ้อยจะมีรากยาวขึ้นและหยั่งลึกลงในดินมากขึ้น เมื่อมีการใส่แคลเซียมในรูปของยิปซั่มโดยปกติการแก้ปัญหาการขาดแคลเซียมมักจะใช้หินปูนบดละเอียดหรือยิปซั่ม การใช้หินปูนก็เพื่อจะทำให้ความเป็นกรดของดินลดลง และเพื่อให้อ้อยได้แคลเซียมและแมกนีเซียมด้วย ส่วนยิปซั่มมักจะใส่ในดินที่เป็นด่าง หรือดินเค็ม เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น และเข้าไปแทนที่ขับไล่เกลือออกจากดิน แล้วลดปริมาณเกลือโดยการชะล้าง
ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ สังกะสี ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นที่ผสมแล้วประมาณ 80 ลิตรต่อไร่ ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง
Reference: main content from ocsb.go.th |
โรคลำไย โรคราดำลำไย ต้องป้องกันกำจัดที่ต้นเหตุ และต้นเหตุนั้นเกิดจากเพลี้ยต่างๆ ถ่ายน้ำหวานมาปกคลุม ทำให้เชื้อราในอากาศปลิวมาเกาะติด
การทําลายของแมลงพวกปากดูด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยต่างๆ แล้วถ่าย น้ําหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลําไย เชื้อราที่มอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา Capnodium ramosum_ Meliola euphoriae. จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ําหวาน
ลักษณะอาการ
สีดําของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก และผิวของผล ทําให้เห็นเป็นคราบสีดําคล้ายเขม่าบนใบที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดําของเชื้อรานี้เมื่อแห้งจะหลุดออกเป็นแผ่นได้ง่าย เชื้อราไม่ได้ทําลายพืช โดยตรงแต่ไปลดการปรุงอาหารของใบ อาการที่ปรากฎที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทําให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทําให้ดอกร่วงเพราะถูกเชื้อราดําเข้ามาเคลือบ
สาเหตของโรคและการแพร่ระบาด
ลักษณะอาการเช่นนี้เกิดจากผลของการทําลายของแมลงพวกปากดูด ที่ดูดกินส่วนอ่อนของลําไย แล้วถ่ายน้ําหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลําไย เชื้อราที่มอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ําหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา แล้วเจรญเป็นคราบสีดํา แมลงปากดูดเท่าที่พบเช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยเพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น
การป้องกันและกําจัด
- ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดเพลี้ยต่างๆ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสั่งเกตุอาการ ควรหายาอื่นๆ มาสลับใช้ หากจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการดื้อยา
- ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรค
Reference: main content from eto.ku.ac.th |
โรคอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
ธรรมชาติของอินทผลัม เป็นพืชที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย การนำมาทดลองปลูกในประเทศไทยของเรา มีปัญหาของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชื้นปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะโรคเชื้อรา
"โรคเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm"
ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวๆ เกิดขึ้นตามใบ ส่วนมากจะเกิดช่วงปลายฝนต้นหนาว แต่บางครั้งก็เกิดในฤดูอื่นๆ เมื่อมีความชื้นในอากาศ การที่ต้นจะตายไม่ใช่ตายเพราะโรคนี้ แต่จะตายเพราะโรคชนิดอื่นที่เข้ามาแทรกในตอนนั้น
- โรคนี้เกิดในพื้นที่ปลูกในภูมิภาคที่มีความชื้นสูง มีฝนมาก แต่ในภูมิภาคที่มีความร้อนและแห้ง จะปรากฏโรคชนิดนี้น้อย
- อินทผลัมพันธุ์แทบทุกสายพันธุ์สามารถเกิดโรคนี้ได้ในสภาพชื้น
- โรคชนิดนี้ เป็นผงจุดสีขาวๆ เกิดตามผิวใบ หากไม่มีโรคชนิดอื่นเกิดขึ้นพร้อมกัน จะปรากฏให้เห็นเป็นผงสีขาวๆ เกิดตามใบเท่านั้น มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดังความชื้นที่สะสมมา หากเป็นเฉพาะโรคนี้โรคเดียว ไม่ปรากฏมีโรคอื่น หรือ การขาดสารอาหาร หรือ ขาดน้ำ มาพร้อมกัน โรคชนิดนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น เอกสารต่างประเทศกล่าวว่า การเกิดโรคชนิดนี้อย่างเดียว เป็นเหมือนเครื่องสำอางค์ของใบเท่านั้น การขาดธาตุอาหารมีผลกระทบกับต้นอินทผลัมมากกว่าโรคนี้
- หากตรวจพบว่าเป็นโรคชนิดนี้แล้ว ไม่แนะนำให้มีการตัดแต่งออกไป ยกเว้นแต่จะเป็นโรคอื่นๆ ด้วย หากจะมีการตัดใบ ต้องมั่นใจว่า ธาตุโพแตสเซียมในดินเพียงพอที่จะทำให้ต้นฟื้นขึ้นมาได้จากการตัดแต่งใบออกไป หากดูแล้วไม่ค่อยจะชอบมันเกิดตามใบ ต้องการจะตัดออก ให้รดปุ๋ยที่มีธาตุโพแตสเซียมลงไปด้วยทุกครั้ง
- แนะนำให้ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
- ให้เข้าใจว่า ยาป้องกันและกำจัดเชื้อราเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้ใบที่เป็นอยู่แล้วหายไป แต่จะทำให้โรคไม่ลามต่อไปยังใบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมา หรือ ลามเพิ่มเติมออกไป เท่านั้น
- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง ให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคพืช ได้เร็วขึ้น และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว สมบูรณ์
กรณีที่เป็นพื้นที่แห้งอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการสะสมของโรคในช่วงฝนที่ตกบ่อยมากจึงทำให้เกิดโรคนี้ให้เห็นบ้าง ไม่เป็นมาก โรคแบบนี้ ไม่เป็นเฉพาะอินทผลัม พืชทางเศรษฐกิจที่เขาปลูกกันจำนวนมากก็เป็น วิธีการจัดการเมื่อพบโรคนี้ คือ
- ในช่วงของการเพาะต้นกล้า หากจะทำเรือนเพาะชำแบบมีแสงส่องถึงได้เต็มที่ก็ควรจะทำ เพื่อป้องกันน้ำฝนกที่อาจจะมากเกินไป หรือ ป้องกันน้ำค้างในช่วงฤดูหนาว
- จุดที่วางถุง ควรเป็นพื้นที่แห้ง ไม่ชุ่มน้ำ ไม่ควรวางถุงให้ชิดกัน ควรวางให้ห่างกันเล็กน้อย หากมีพื้นที่จำกัดลองวางให้ห่างกันสัก ๑ นิ้ว หากมีพื้นที่มาก ให้วางห่างกันประมาณสัก ๕ นิ้ว เพื่อให้อากาศรอบถุงหมุนเวียนได้ ไม่สะสมโรคชนิดนี้ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้กับต้นอินทผลัม
ในส่วนของต้นที่ปลูกกันอยู่ตอนนี้ที่เป็นอยู่นี้ จุดไหนที่มีความชื้นสูงจะเป็นมากหน่อย และที่แน่ๆ จะเป็นดินเพาะแบบไหน ใส่วัสดุเพาะที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแบบไหนก็ตาม ก็มีโอกาสเป็นเท่ากันหมด หากจุดวางถุงมีความชื้นสูง ทั้งความชื้นใต้ถุง ใต้ดิน และร่มเงามากไป ได้ประยุกต์เพื่อแก้ไข ดังนี้
- รดน้ำให้น้อยลง เพื่อลดความชื้น ไม่ควรรดน้ำอินทผลัมในช่่วงเย็น แต่ควรจะรดน้ำในช่วงเช้า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นสะสมในเวลากลางคืนที่อากาศเย็นนั่นเอง
- ใช้ปูนขาวผสมน้ำรดลงไปบ้าง เพื่อช่วยเรื่องการกำจัดเชื้อโรคบางชนิดในดิน
- บริเวณไหนมีร่มเงาหรือความชื้นมากไป ย้ายถุงเพาะออกไปวางในจุดที่แห้ง มีแสงแดดเต็มที่
Reference: main content from sites.google.com/site/datepalmnongtu/ |
กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3,
นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)
กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอส3ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งมาคากับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอกี้-บีทีกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งFK-T 250ซีซี กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง
สั่ง อินเวท กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง เมทาแลคซิล กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง คาร์รอน กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง แม็กซ่า กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|