[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3551 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 355 หน้า, หน้าที่ 356 มี 1 รายการ

 
แก้ปัญหาเพลี้ยไฟ ระบาดหนักในช่วงนี้ ด้วย มาคา ผสมกับ FK1
แก้ปัญหาเพลี้ยไฟ ระบาดหนักในช่วงนี้ ด้วย มาคา ผสมกับ FK1

มาคา 1 ลิตร 470 บาท
FK1 1 กล่อง 890 บาท

สินค้าจัดส่งกับเคอรี่ฟรีค่าจัดส่ง
เก็บเงินปลายทาง

สั่งซื้อ โทร 090-5928614
LINEID : farmkaset
หรือ ทักแชต ในเพจ นี้ได้เลยนะคะ

รายละเอียดต่างๆ ตามคลิปเลยนะคะ

https://www.youtube.com/watch?v=SYkWUEvRR2g
อ่าน:3428
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน โรคทุเรียน เพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน โรคใบติด ในทุเรียน โรคเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ทุเรียน
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน โรคทุเรียน เพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน โรคใบติด ในทุเรียน โรคเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ทุเรียน
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน โรคทุเรียน เพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน โรคใบติด ในทุเรียน โรคเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ทุเรียน
ศัตรูที่สำคัญของทุเรียนในระยะต้นเล็กซึ่งมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขา ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคราใบติด โรคราสีชมพู เพลี้ยไก้แจ้ และปัญหาสำคัญ คือวัชพืช ควรใช้หลายๆ วิธีประกอบกัน ทั้งการใช้แรงงานถอน ถาก ตัดด้วยเครื่องมือหรือใช้ยาอินทรีย์ โดยต้องระมัดระวังอย่าให้ระบบรากกระทบกระเทือน

1. โรคจากเชื้อราไฟทอฟธอรา
1.1 โรคเข้าทำลายใบ ให้พ่นไอเอส ให้ทั่วทั้งภายในและนอกทรงพุ่ม
1.2 โรคที่ระบบราก ใช้ไอเอสผสมน้ำราดใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว พร้อมกับกระตุ้นการเจริญของรากโดยการผสมปุ๋ยน้ำ FK-1 ไปพร้อมกัน
1.3 โรคที่ลำต้นและกิ่ง ถ้าอาการเล็กน้อย ให้ขูดผิวเปลือกส่วนที่เป็นโรคออกนำไปเผาทำลาย แล้วทาด้วยปูนแดง ถ้าพบอาการรุนแรง ใช้กรดฟอสฟอรัส ฉีดเข้าลำต้น หรือกิ่งในบริเวณตรงข้าม หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค

2. โรคใบติด พบอาการเล็กน้อยให้ตัดเผาทำลาย หากอาการรุนแรงให้พ่นด้วยไอเอส

3. เพลี้ยไก่แจ้ เมื่อพบยอดทุเรียนถูกทำลายมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดหรือพบไข่บนยอดมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ให้พ่นด้วยมาคา ทุก 3 ถึง 7 วันจนใบแก่

4. หนอนเจาะผล พ่นด้วยไอกี้-บีที

ขอบคุณข้อมูลก่อนปรับแต่งจาก arda.or.th/kasetinfo/south/durian/controller/01-08.php
อ่าน:3455
ย่อยสลายฟางข้าวแทนการเผา ฟางข้าว 1 ไร่ ได้ไนโตเจน 2.3กก. ฟอสฟอรัส 0.3กก. โพแทสเซียม 5.7กก. ผลผลิตข้าวจะสูงขึ้นกว่าการเผาค่ะ
ย่อยสลายฟางข้าวแทนการเผา ฟางข้าว 1 ไร่ ได้ไนโตเจน 2.3กก. ฟอสฟอรัส 0.3กก. โพแทสเซียม 5.7กก. ผลผลิตข้าวจะสูงขึ้นกว่าการเผาค่ะ
ย่อยสลายฟางข้าวแทนการเผา ฟางข้าว 1 ไร่ ได้ไนโตเจน 2.3กก. ฟอสฟอรัส 0.3กก. โพแทสเซียม 5.7กก. ผลผลิตข้าวจะสูงขึ้นกว่าการเผาค่ะ
รู้หรือไม่
.
ในฟางข้าว 485 กก. (ประมาณการในเนื้อที่ 1 ไร่) มีธาตุ
ไนโตรเจน 2.3 กก.
ฟอสฟอรัส 0.3 กก.
โพแทสเซียม 5.7 กก.
.
ซึ่งธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักทีมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวมากๆ
.
ฟางข้าวสามารถย่อยได้เองตามธรรมชาติ แต่จะจะย่อยสลายยาก ไม่ทันใจเกษตรกรทีต้องการรีบเร่งทำนา โดยเฉพาะนาปัง จึงใช้วิธีการเผาทิ้ง ซึ่งทำให้สูญเสียธาตุอาหารที่่สำคัญไป
และอีกครั้งการทำนาซ้ำๆ จะทำให้มีปัญหาข้าวดีด ข้าวดีด ข้าวนก ในแปลงนา
ปัญหาพวกนี้จะหมดไป แนะนำให้ใช้ ไอซี-คิด ย่อยสลายฟางข้าว พ่นทั้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
จะช่วยย่อยสลายฟางข้าว และ ลดปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวนก ในนาได้
ไอซีคิด ราคาชุดละ 640 บาท ใช้ได้ในพื้นที่ 5 ไร่
.
สนใจสั่งซื้อสินค้า ทักแชท ได้เลยนะคะ หรือจะโทรสั่งได้ที่ 090-592-8614 หรือ ไลน์ไอดี FarmKaset
.
สินค้าของฟาร์มเกษตรจัดส่งฟรีไม่คิดค่าจัดส่ง และมีบริการเก็บเงินปลายทางด้วยค่ะ

อ่าน:3419
ยาแก้โรครา ยาแก้โรคใบไหม้ ยาแก้หนอน ยาแก้เพลี้ย จาก ฟาร์มเกษตร สั่งซื้อ ไลน์ไอดี FarmKaset

น้องกุ๊ดจี่ มาแนะนำยาป้องกันและกำจัดโรคพืช กำจัดเพลี้ยแมลงศัตรูพืช กำจัดหนอนต่างๆ จากฟาร์มเกษตร ตามน้องกุ๊ดจี่มาได้เลยนะ

https://www.youtube.com/watch?v=M3ciPXhYZVg
อ่าน:3396
ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคใบจุดสนิม โรคราลิ้นจี่ ใช้ไอเอส เพลี้ยแมลงในลิ้นจี่ ใช้มาคา ส่วนหนอน ใช้ ไอกี้-บีที
ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคใบจุดสนิม โรคราลิ้นจี่ ใช้ไอเอส เพลี้ยแมลงในลิ้นจี่ ใช้มาคา ส่วนหนอน ใช้ ไอกี้-บีที

ยาอินทรีย์จาก ฟาร์มเกษตร ป้องกันและกำจัด โรค และ แมลงศัตรูพืช ลิ้นจี่ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

https://www.youtube.com/watch?v=WcqYvLVctMA
อ่าน:3545
โรคลิ้นจี่ ใบจุดสนิม ใบจุดสาหร่าย โรคราสนิมลิ้นจี่ โรคราดำลิ้นจี่ ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคลิ้นจี่ต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคลิ้นจี่ ใบจุดสนิม ใบจุดสาหร่าย โรคราสนิมลิ้นจี่ โรคราดำลิ้นจี่ ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคลิ้นจี่ต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคลิ้นจี่ ใบจุดสนิม ใบจุดสาหร่าย โรคราสนิมลิ้นจี่ โรคราดำลิ้นจี่ ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคลิ้นจี่ต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคใบจุดสนิม หรือจุดสาหร่าย
สาเหตุ สาหร่ายเซฟาลิวโรส ( Cephaleuros virescens)

ลักษณะอาการ เกิดบนใบแก่ลิ้นจี่ แผลเริ่มแรกเป็นจุดขุยสีเทาอมเขียวฟูเล็กน้อย เกิดกระจัดกระจายบนใบ ต่อมาจุดจะขยายออกและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้มหรือสีสนิม ลักษณะค่อนข้างกลมขนาด 3-5 มิลลิเมตร ระยะต่อมาจุดจะแห้งและทำให้เนื้อเยื่อใบทั้งด้านบนและใต้ใบบริเวณแผลมีลักษณะสีน้ำตาลดำ ในที่สุดใบที่เป็นโรคจะมีสีซีดเหลืองปนน้ำตาลและใบร่วง

การแพร่ระบาด
สาหร่ายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน เข้าทำลายในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง พืชอาศัยของสาหร่ายชนิดนี้มีหลายชนิดเช่น มะม่วง ลำไย เงาะ ฝรั่ง ส้ม ทุเรียน และไม้ผลอื่น ๆ

การป้องกันกำจัด
ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์

โรคราสนิม
สาเหตุ เชื้อราสเกอกา (Skierka nephelii)

ลักษณะอาการ ใบลิ้นจี่ที่แก่บริเวณใต้ทรงพุ่ม แสดงอาการเป็นจุดนูนขนาดเล็กมากสีเหลือง เกิดกระจัด กระจายทางด้านใต้ใบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในระยะต่อมา

การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุ ในสภาพอากาศทางภาคเหนือ ของประเทศไทย

การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ เป็นโรคที่ยังไม่มี ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
โรคลำต้นและกิ่งแห้ง

สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุ

ลักษณะอาการ พบเป็นกับลิ้นจี่หลายพันธุ์ อายุ 3-20 ปี ส่วนใหญ่เมื่อต้นลิ้นจี่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป เริ่มแรกแสดงอาการทรุดโทรมใบร่วงและปลายกิ่งแห้งเป็นบางกิ่งหรือทั้งต้น บริเวณโคน ลำกิ่งหรือลำต้น มีแผลลักษณะเป็นรอยแตก รูปร่างและขนาดไม่แน่นอน เมื่อเฉือนผิวเปลือกออก แผลมีอาการไหม้สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำ การพัฒนาของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ กรณีต้นลิ้นจี่ที่มีอายุยังน้อยการพัฒนาการจะเป็นอย่างเฉียบพลัน ใบจะร่วงและกิ่งแห้งอย่างรวดเร็ว ในที่สุดต้นลิ้นจี่มีลักษณะยืนต้นตาย

การแพร่ระบาด พบเป็นกับต้นลิ้นจี่ตลอดทั้งปี

การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งเป็นโรคนำไปเผาทำลาย แล้วบำรุงรักษาต้นให้สมบูรณ์แข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี และพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ

โรคราดำ
สาเหตุ เชื้อรา แคบโนเดียม และเมลิโอลา (Copnodium sp. และ Meliola sp.)

ลักษณะอาการ ใบ กิ่ง ช่อดอก และช่อผล มีลักษณะเป็นคราบเขม่าหรือฝุ่นผง มีสีดำ ขึ้นเจริญปกคลุมทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและผิวของผลไม่สะอาด เมื่อถูกน้ำฝนชะล้างคราบเขม่าสีดำของเชื้อราจะหลุดไปเอง

การแพร่ระบาด เชื้อราดำแพร่ระบาดภายหลังแมลงพวกดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งเข้าทำลายต้นลิ้นจี่ แล้วขับถ่ายสารเหนียวเป็นละอองน้ำหวาน (honey dew) ลงบนพืช ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราดำ

การป้องกันกำจัด ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงเพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างสม่ำเสมอ

โรคเปลือกผลไหม้

สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน

ลักษณะอาการ โรคเปลือกผลไหม้ มี 2 ลักษณะ

- อาการไหม้บริเวณขั้วผล แผลมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนขอบแผลสีน้ำตาล รูปไข่และขนาดไม่แน่นอน ขนานไปตามความยาวผลพบในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อผล (เปลือกสีเขียวปนเหลือง) ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลปนดำ บางครั้งแผลแตกปริเนื่องจากเนื้อผลขยายขนา

- อาการไหม้ทั่วไปบนผล แผลมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนจนถึง น้ำตาลปนดำบนผล ตำแหน่ง ขนาดและรูปร่างของแผล ไม่แน่นอน พบในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อเป็นต้นไป แผลอาจแตกปริเนื่องจากเนื้อผลขยายขนาด
โรคผลแตก

สาเหตุ ลิ้นจี่ได้รับน้ำหรือธาตุอาหารไม่เพียงพอในระยะระหว่างที่ผลลิ้นจี่กำลังพัฒนา

ลักษณะอาการ เปลือกผลแตกตามความยาวของผลบริเวณก้นผลในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อผลหุ้มเมล็ด และระยะที่เปลือกผลเริ่มเปลี่ยนสี ต่อมาเนื้อผลเน่าเนื่องจากมีจุลินทรีย์เข้าทำลายซ้ำเติม การแพร่ระบาด เป็นโรคที่ไม่ติดเชื้อไม่มีการแพร่ระบาด

การป้องกันกำจัด

1. ให้น้ำลิ้นจี่ทีละน้อยและสม่ำเสมอระหว่างที่ผลลิ้นจี่ กำลังพัฒนา

2. ให้ปุ๋ยธาตุอาหารรองอย่างสม่ำเสมอระหว่างที่ผลลิ้นจี่กำลังพัฒนา เช่น ธาตุแคลเซียม โบรอน สังกะสี ทองแดง และแมกนีเซียม นอกเหนือจากการให้ธาตุอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม

3. พ่นสารป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชโดยสม่ำเสมอ
โรคผลร่วง
สาเหตุเป็นผลมาจากการตายของคัภพะในระหว่างที่ใบเลี้ยงมีการพัฒนา เกิดในช่วงที่ผลลิ้นจี่มีอายุ ประมาณ30-50 วัน ภายหลังการผสมเกสร และบางครั้งอาจเกิดจากการทำลายของหนอนเจาะขั้วลิ้นจี่

ลักษณะอาการ ผลลิ้นจี่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ร่วง ผลลิ้นจี่บางส่วนอาจไม่ร่วงและมีการพัฒนาเจริญเติบโตไปจนแก่และสุก แต่ผลจะมีขนาดเล็กกว่าผลที่มีเมล็ดปกติ

การแพร่ระบาด สาเหตุที่เกิดจากการตายของคัภพะ ไม่ทำให้โรคแพร่ระบาด ปัจจัยที่เกิดจากหนอนเจาะขั้ว ลิ้นจี่ ดูรายละเอียดในแมลงศัตรูลิ้นจี่และการป้องกันกำจัด

การป้องกันกำจัด การตายของคัภพะไม่ทราบวิธีการป้องกันกำจัด ส่วนการป้องกันกำจัดหนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ ดูในแมลงศัตรูลิ้นจี่และการป้องกันกำจัด
โรคราน้ำค้างเทียม หรือโรคผลไหม้สีน้ำตาล
สาเหตุ เชื้อราเพอร์โรโนไฟโธรา (Peronophythora litchii)

ลักษณะอาการ เกิดแผลสีน้ำตาลดำรูปร่างและขนาดไม่แน่นอน และขอบแผลมีลักษณะไม่ชัดเจนบนก้านผล ผล ใบ และรากลิ้นจี่ เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์สีขาวฟูบนแผลในช่วงระยะหลังของการติดเชื้อ เมื่อสภาพแวดล้อมชุ่มชื้นและมีฝนตก

การแพร่ระบาด เชื้อราฟักตัวข้ามฤดูถัดไป หรือเศษซากพืชที่ติดเชื้อ แล้วแพร่ระบาดไปกับน้ำฝน ลมพายุ แมลง และดินที่มีเชื้อในฤดูถัดไป สภาพอุณหภูมิที่ 22-25 0C และมีฝนตกชุกเกือบทุกวัน โรคจะลุกลามและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

การป้องกันกำจัด การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างเทียม จะให้ผลดีถ้าใช้วิธีผสมผสานกันระหว่างวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. ปลูกลิ้นจี่ให้มีระยะห่างที่พอเหมาะไม่ปลูกชิดเกินไป

2. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม แล้วขนย้ายกิ่งแห้ง และกิ่งที่ติดเชื้อออกไปจากแปลงแล้วเผาทำลาย

3 บำรุงรักษาต้นลิ้นจี่ให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ย ให้น้ำในช่วงที่อากาศแห้งแล้งและพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและสารฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ

4. หมั่นตรวจแปลงในฤดูหนาวเมื่อพบใบลิ้นจี่เป็นโรค ควรพ่นต้นลิ้นจี่และผิวดินบริเวณ โคนต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ กรณีที่พบโรคช่วงฤดูฝน ซึ่งสภาพอากาศอบอุ่นและดินมีความชื้นสูง ควรพ่นด้วยสารละลายจุนสีเข้มข้น 0.2-0.3% ผสมโซดาซักผ้า เข้มข้น 0.1% ถ้าพ่นบนผิวดินเพิ่มความเข้มข้นเป็น 2 เท่า จาก นั้นโรยปูนขาวบริเวณโคนต้น
5.การป้องกันกำจัดโรคในระยะแตกตาดอก ระยะเริ่มติดผลไปจนถึงก่อนผลสุกควรพ่นป้องกันด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ เมื่อพบอาการของโรคปรากฏที่ผลเพียง 1 ผล ให้เปลี่ยนไปพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมตาแลกซิลผลมแมนโคเซบ ไซม๊อกซานิล และแมนโคเซบ ฯลฯ จำนวน 1-2 ครั้ง แล้วกลับไปพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แมนโคเซบ เช่นเดิม เว้นระยะให้สารเคมีสลายตัวก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7 วัน

6. กรณีที่ผลและใบลิ้นจี่เป็นโรคแล้วร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินภายใต้ทรงพุ่ม ควรรีบเก็บแล้วนำไปเผาทำลาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตและอาศัยอยู่ในดินข้ามฤดู เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้เกิดการติดเชื้อใหม่ในฤดูต่อไป

สาเหตุ เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น เชื้อราคอเลคโตตริคัม (Colletrichum gloeosporioides)
เชื้อราโบทรัยโอดิโพลเดีย (Botryodipia theobromae) เชื้อราโฟมา (Phoma sp.) เชื้อราโฟมอพซิส (Phomopsissp.) เป็นต้น

ลักษณะอาการ ผลลิ้นจี่สุกภายหลังเก็บเกี่ยวที่เก็บรักษาไว้ในสภาพควบคุมความชื้น จะแสดงอาการแผลเน่า สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีน้ำตาลดำ ลักษณะแผลค่อนข้างกลมมีขนาดไม่แน่นอน เชื้อราสร้างเส้นใยและมวลสปอร์บนผิวเปลือกที่เป็นโรค ภายใต้สภาพอุณหภูมิห้องโรคผลเน่าจะพัฒนาอย่างรวดเร็วภายในเวลา 2-3 วัน การเก็บรักษาผลลิ้นจีในสภาพอุณหภูมิ 5-6๐C

อาการโรค ผลเน่าจะมีการพัฒนาการไปอย่างช้า ๆ และอาการรุนแรงน้อยกว่าการเก็บรักษา ในสภาพอุณหภูมิห้อง

การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน เข้าทำลายผลลิ้นจี่แบบแฝงตั้งแต่ในแปลงปลูก แต่จะปรากฏอาการให้เห็นภายหลังการเก็บเกี่ยว

การป้องกันกำจัด พ่นป้องกันด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ โปรคลอราซ คาร์เบนดาซิม ฯลฯ ชนิดใดชนิดหนึ่ง และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 14 วัน

อ้างอิง arda.or.th/kasetinfo/north/plant/lychee_disease.html
ปัญหา ของทุเรียน อย่างหนึ่งคือปัญหำโรครากเน่าโคนเน่ำทุเรียน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora
ปัญหา ของทุเรียน อย่างหนึ่งคือปัญหำโรครากเน่าโคนเน่ำทุเรียน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora
กรมวิชาการเกษตรเล็งเห็นถึงความสาคัญของการผลิตทุเรียน เพราะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การส่งออกทุเรียนของไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากตลาดการนาเข้าของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้ส่งผลต่อการปรับตัวของราคาทุเรียนทั้งในตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศ ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้สร้างแรงจูงใจต่อการขยายพื้นที่การเพาะปลูกทุเรียนเป็นจานวนมาก เกษตรกรจึงต้องมีการดูแลรักษาให้ต้นทุเรียนมีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้พร้อมสาหรับการออกดอกติดผล และมีการป้องกันกาจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหาย แต่เนื่องจากทุเรียนมีศัตรูหลายชนิด และพบระบาดเป็นประจาในพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วไป บางชนิดมีการระบาดรุนแรงเฉพาะในบางพื้นที่ และบางชนิดมีความรุนแรงถึงขั้นทาให้ต้นทุเรียนตายได้ ปัญหำที่สำคัญของทุเรียนที่อย่ำงหนึ่งคือปัญหำโรครำกเน่ำโคนเน่ำทุเรียน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora ระบาดได้ดีในช่วงที่มีฝนตกหนักและมีความชื้นสูง แม้จะได้มีการศึกษาวิจัยแก้ปัญหานี้มากกว่า 50 ปีแล้วก็ตาม นักวิชาการของภาครัฐและเอกชนต่างช่วยกันระดมความคิดในการแก้ปัญหานี้และเกษตรกรพยายามดาเนินการทุกวิถีทางที่จะปราบโรคร้ายให้หมดไป นอกจากปัญหาการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า และยังมีโรคที่สาคัญอีกหลายชนิดได้แก่ โรคใบติด โรคราสีชมพู โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุด และอาการที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร รวมทั้งการสับสนของเกษตรกรเกี่ยวกับโรคราสีชมพูของทุเรียน และโรครากเน่าโคนเน่า ที่ทาให้เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกาจัดโรคไม่ถูกต้อง และทาให้ต้นทุนในการผลิตสูง

อ้างอิง doa.go.th/learn/?qa=98/52-โรคทุเรียน
อ่าน:3392
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
ผักบุ้งทะเล ชื่อสามัญ Goat’s foot creeper_ Beach morning glory

ผักบุ้งทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br.(ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Convolvulus pes-caprae L._ Ipomoea biloba Forssk.) จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

สมุนไพรผักบุ้งทะเล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักบุ้งต้น ผักบุ้งขน (ไทย)_ ผักบุ้งเล (ภาคใต้)_ ละบูเลาห์ (มะลายู-นราธิวาส)_ หม่าอานเถิง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของผักบุ้งทะเล
ต้นผักบุ้งทะเล จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน สามารถเลื้อยไปได้ยาวมาก ประมาณ 5-30 เมตร ลักษณะของลำต้นหรือเถากลมเป็นสีเขียวปนแดงหรือเป็นสีแดงอมม่วง ผิวเกลี้ยงลื่น ตามข้อจะมีรากฝอย ภายในกลวง ทั้งต้นและใบมียางสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตัดลำต้นปักชำ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี มักขึ้นตามหาดทรายหรือริมทะเล
ใบผักบุ้งทะเล ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปกลม รูปไข่ รูปไต หรือรูปเกือกม้า ปลายใบเว้าบุ๋มเข้าหากัน โคนใบสอบแคบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-11 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร เส้นใบเป็นแบบขนนก เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบมันเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบยาวมีสีแดง
ดอกผักบุ้งทะเล ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามง่ามใบ ในช่อดอกจะมีดอกประมาณ 2-6 ดอก และจะทยอยบานทีละดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปปากแตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ส่วนปลายดอกบานเป็นรูปปากแตร มี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกกลมรี แตกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ดอกเป็นสีม่วงอมชมพู สีม่วงอมแดง สีชมพู หรือเป็นสีม่วง ผิวเกลี้ยง ด้านในของดอกส่วนโคนจะมีสีเข้มกว่าด้านนอก ส่วนกลีบดอกเลี้ยงเป็นสีเขียว และดอกจะเหี่ยวง่าย
ต้นช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้น)
ทั้งต้นมีรสเผ็ด ขม เค็ม เป็นยาเย็นเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อม้ามและตับ ใช้เป็นยาขับลม ขับน้ำชื้น (ทั้งต้น)
ช่วยแก้หวัดเย็น (ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ราก)
ใช้แก้อาการจุกเสียด (ใบ)
เมล็ดมีรสขื่น ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง (เมล็ด)
รากใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ราก)
เมล็ดใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย (เมล็ด)
รากเป็นยาขับปัสสาวะ ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ราก)
ใบใช้เข้ากับสมุนไพรอื่น นำมาต้มเอาไอรมรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)ผลผักบุ้งทะเล ลักษณะของเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่มีเหลี่ยมคล้ายแคปซูล ผิวผลเรียบ พอผลแห้งจะแตกออกได้ มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดลักษณะกลม เป็นสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 มิลลิเมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุม

สรรพคุณของผักบุ้งทะเล

1. ใบใช้เป็นยาทาภายนอก แก้แผลเรื้อรัง หรือนำไปต้มกับน้ำใช้ล้างแผล (ใบ) น้ำคั้นจากใบนำมาต้มกับน้ำมะพร้าว ทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลได้ชนิดรวมทั้งแผลเรื้อรัง (ใบ)

2. ทั้งต้นช่วยกระจายพิษ แก้พิษฝีบวม ฝีหนองบวมแดงอักเสบ แก้งูสวัด (ทั้งต้น)[4] ส่วนใบนำมาโขลก พอก ถอนพิษ แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ปลา สัตว์ทะเลอื่น ๆ แมลง เป็นต้น (ใบ)

3. ต้นใช้เป็นยาถอนพิษลมเพลมพัดหรืออาการบวมที่เปลี่ยนไปตามอวัยวะทั่วไป (ต้น_ ทั้งต้น)

4. ใช้เป็นยาทาแก้อาการอักเสบ แก้พิษจากแมงกะพรุนไฟ ทำให้แผลหายเร็วและไม่เป็นแผลเป็น ตามตำรายาระบุให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลกผสมกับน้ำส้มสายชู นำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น ส่วนตำรายาไทยระบุให้ใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบ นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำทาแผลบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน หรือจะตำกับเหล้าใช้เป็นยาพอกก็ได้ หรืออาจจะใช้รากสด 1 ราก นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ๆ ผสมกับเหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ แล้วใช้ทาบ่อย ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำหรือนำมาตำผสมกับเหล้าใช้เป็นยาทาหรือพอกก็ได้เช่นกัน (ก่อนทายาให้ใช้ทรายขัดบริเวณที่โดนพิษแมงกะพรุนเพื่อเอาเมือกของแมงกะพรุนออกไปให้หมดก่อนและให้ทาวันละ 2-3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น จนกว่าจะหาย) (ต้น_ ราก_ ใบ_ ทั้งต้น)

5. ใบใช้เป็นยาพอกหรือต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง (ใบ)

6. ต้นนำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการคันตามผิวหนัง (ต้น_ ทั้งต้น) ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง (ราก)

7. ใช้แก้ผดผื่นคันบริเวณหลังเนื่องจากการกดทับ ตามตำรายาระบุให้ใช้ใบสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)

8. ตำรายาแก้ฝีหนองภายนอกระบุให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำผึ้ง แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ต้น)

9. เมล็ดใช้เป็นยาแก้ตะคริว ป้องกันตะคริว (เมล็ด)

10. ใบมีรสขื่นเย็น ใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้โรคไขข้ออักเสบ แก้ปวดไขข้ออักเสบมีหนอง (ใบ)

11. ช่วยแก้ลมชื้นปวดเมื่อยตามข้อ แก้เหน็บชา (ทั้งต้น)

12. ช่วยแก้โรคเท้าช้าง (ราก)



ขอบคุณข้อมูลจาก: https://medthai.com/
อ่าน:3625
ช้าพลู รากรสร้อน บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วย่อยอาหาร..
ช้าพลู รากรสร้อน บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วย่อยอาหาร..
ช้าพลู รากรสร้อน บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วย่อยอาหาร..
ชื่อเครื่องยา

ช้าพลู
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ราก ใบ ทั้งต้น
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ช้าพลู
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ผักอีเลิด (อีสาน) นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง ผักอีไร (เหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)_ ผักแค
ชื่อวิทยาศาสตร์

Piper sarmentosum Roxb.
ชื่อพ้อง

Piper albispicum C. DC._ P. baronii C. DC._ P. brevicaule C. DC._ P. lolot C. DC._ P. pierrei C. DC._ P. saigonense C. DC.
ชื่อวงศ์

Piperaceae
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

รากทรงกระบอก สีเทาดำ ขนาดความยาว 3-7 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็น ใบ แผ่นใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ตัวใบรูปหัวใจ โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีขนตามเส้นใบ มีเส้นแขนงใบ 7 เส้น เห็นชัดเจน ก้านใบยาว 1-3 เซนติเมตร

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

เครื่องยาใบช้าพลู ปริมาณความชื้นไม่เกิน 10% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 7.0% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 20% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอลไม่น้อยกว่า 7% w/w ปริมาณสารสกัดน้ำไม่น้อยกว่า 20% w/w (THP)

สรรพคุณ:

ตำรายาไทย รากรสร้อน บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกลงทางทวารหนัก ทำให้เสมหะแห้ง ราก ผล และใบ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการปวดกระเพาะเนื่องจากความเย็นพร่องในธาตุ แก้ธาตุน้ำพิการ แก้ไอเย็น ขับเสมหะ แก้บวมน้ำ แก้ไข้จับสั่น แก้ปวดฟัน ปวดกระดูกเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ฟกช้ำ ใช้ภายนอก รักษาขาเน่าขาเปื่อย ทั้งต้น รสเผ็ดร้อน ขับเสมหะ แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้หวัด

บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ช้าพลูในตำรับ “ยาเบญจกูล” มีส่วนประกอบของรากช้าพลูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ แก้ธาตุให้ปกติ ตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของช้าพลู (ทั้งต้น) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา: -

องค์ประกอบทางเคมี:

การแยกสารบริสุทธิ์จากสารสกัดใบช้าพลูด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ ได้สารประกอบ hydrocinnamic acid (1) และ β- sitosterol (2) โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานที่ทราบโครงสร้างแล้ว (น้อย และก้าน_ 2526)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

ศึกษาในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawley ให้หนูได้รับอาหารไขมันสูง ร่วมกับสารสกัดน้ำของรากช้าพลู เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับยามาตรฐาน metformin เมื่อเลี้ยงหนูจนครบ 4 สัปดาห์ จึงทำการทดสอบการตอบสนองของอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับอินซูลินในซีรั่ม น้ำหนักของตับอ่อน ลักษณะทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อตับอ่อน อิมมูโนพยาธิวิทยาของ beta-galactosidase ระดับของ malondialdehyde (MDA) ซึ่งเป็นสารบ่งชี้การเกิดออกซิเดชัน และศึกษาการแสดงออกของยีนเป้าหมายของตับอ่อน ผลการศึกษาพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับสารสกัดน้ำของรากช้าพลู และกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับยามาตรฐาน metformin สามารถเพิ่มการแสดงออกของยีน glucose transporter-2 (GLUT-2) ของตับอ่อนได้อย่างมีนัยสำคัญ และควบคุมการแสดงออกของยีน nuclear factor-kappa B p65 (NF-kappa B p65) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุปผลการศึกษาพบว่าสารสกัดน้ำจากรากช้าพลูสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด และปรับปรุงโครงสร้างทางจุลกายวิภาคของเซลล์ไอส์เลต และเซลล์อะซินาร์ของตับอ่อนในหนูที่ได้รับอาหารไขมันสูงให้มีลักษณะที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ภาวะการอักเสบ และการชราภาพของตับอ่อนในหนูที่ได้รับอาหารไขมันสูงดีขึ้น โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน NF-kappa B p65 และลดระดับ MDA ที่ตับอ่อน โดยรวมพบว่าสารสกัดสามารถเพิ่มการตอบสนองของอินซูลินผ่านการแสดงออกของยีน IRS-2 ในขณะที่สามารถปรับปรุงการรับสัญญาณของกลูโคสโดยการเพิ่มการแสดงออกของยีน GLUT-2 ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าสารสกัดน้ำจากช้าพลูมีความเหมาะสม สำหรับการปรับสมดุลของน้ำตาลกลูโคสได้ (Vongthoung_ et al._ 2016)

ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส

การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสในหลอดทดลอง ของของสารสกัดเมทานอลจาก ลำต้น และใบช้าพลู (อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส เป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีนในสมอง ที่มีผลต่อการเรียนรู้และความจำ การยับยั้งเอนไซม์นี้จึงสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้) ทดสอบด้วยวิธี Ellman’s colorimetric method ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเมทานอลของลำต้นช้าพลู และใบช้าพลู ในขนาดความเข้มข้น 100 µg/ml มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสได้ดีมาก โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 13.59 และ 26.74 µg/ml ตามลำดับ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สารมาตรฐาน eserine hemisulfate มีค่า IC50 เท่ากับ 0.023 µg/ml (Werawattanachai and Kaewamatawong_ 2016)

ฤทธิ์ยับยั้งเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน

ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชันในหลอดทดลอง ของสารสกัดน้ำจากใบช้าพลู หาความสามารถรวมในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานแกลลิกแอซิด ด้วยเทคนิคสเปกโตรโฟโตเมทรี ที่ค่าการดูดกลืนแสง 704 nm พบว่าสารสกัดน้ำจากใบช้าพลู มีความสามารถรวมในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เท่ากับ 0.144±0.0032 mg/ml เมื่อเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานแกลลิกแอซิด การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน โดยวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 532 nm ใช้สารสกัดน้ำจากใบช้าพลูขนาด 0.3125_ 0.625_ 1.25_ 2.50_ 5.0 และ 10.00 mg/ml พบว่าสารสกัดทุกขนาดสามารถยับยั้งการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชันโดยใช้เฟอร์รัสซัลเฟตเหนี่ยวนำ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน โดยไม่มีสารสกัดช้าพลู โดยสารสกัดช้าพลูที่ความเข้มข้น 1.25 mg/ml สามารถลดการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชันได้ดีที่สุด สังเกตได้จากระดับ malondialdehyde (MDA) ซึ่งเป็นสารที่หลั่งออกมาเมื่อเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (อโนดาษ์_ 2556)

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

การทดสอบฤทธิ์ลดปวด และต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำจากใบช้าพลู ในสัตว์ทดลอง โดยฤทธิ์ลดปวดทดสอบด้วยวิธี writhing test (ใช้กรดอะซิติกเหนี่ยวนำเกิดการหดตัวช่องท้องของหนูถีบจักรเพศผู้) และวิธี hot plate (โดยจับเวลาที่หนูถีบจักร สามารถทนอยู่บนแผ่นความร้อน โดยสังเกตจากพฤติกรรมการเลียเท้า หรือกระโดดหนีความร้อน) ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ดูผลการยับยั้งการบวมที่อุ้งเท้าหนูขาวสายพันธุ์ Sprague–Dawley เมื่อเหนี่ยวนำด้วยคาราจีแนน (carrageenan-induced paw edema assay) ผลการทดสอบฤทธิ์ลดปวดพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดสมุนไพรเข้าใต้ผิวหนังหนูสามารถลดการปวดได้ทั้ง 2 วิธีการทดสอบ ฤทธิ์ลดปวดด้วยวิธี writhing testของสารสกัดใบช้าพลูขนาด 300 mg/kg และสารมาตรฐาน acetylsalicylic acid (ASA; 100 mg/kg) มีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 61.6 และ 76.6% ตามลำดับ และเมื่อให้สารสกัดสมุนไพรร่วมกับ naloxone ในขนาด 5 mg/kg พบว่าฤทธิ์ระงับปวดถูกยับยั้งได้ด้วยนาลอกโซน โดยพบว่าค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 1.4% แสดงว่ากลไกการออกฤทธิ์ระงับปวดของสมุนไพร น่าจะเกี่ยวข้องกับตัวรับ opioidการทดสอบให้ผลเช่นเดียวกันในวิธี hot plate ธีการทดลองใช้คาราจีนินเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมของอุ้งเท้าในหนู พบว่าการให้สารสกัดขนาด 100 และ 300 mg/kg ทั้งสองขนาดมีฤทธิ์ลดการบวมของอุ้งเท้าหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Zakaria_ et al._ 2010)

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์

ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดใบช้าพลู สกัดใบช้าพลูแห้งด้วยการหมัก โดยตัวทำละลายชนิดต่างๆ คือ petroleum ether_ hexane_ dichlo­romethane_ ethyl acetate และ methanol ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ใช้วิธี DPPH (2_2-diphenyl-1-picrylhydrazyl) และ วิธี Ferric Reducing Antioxidant Power (FRAP) การทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ ใช้วิธี Ames test ในเชื้อแบคทีเรีย Samonella typhimurium 2 สายพันธุ์คือ TA98 และ TA100 ผลการวิจัยพบว่า วิธี DPPH สารสกัด hexane มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันดีที่สุด โดยให้ค่า EC50 เท่ากับ 29.63±0.56 μg/mL และ วิธี FRAP สารสกัด methanol ให้ฤทธิ์ดีที่สุด ค่า Fe (II) equivalent เท่ากับ 0.56±0.12 μmol/mg สารสกัดใบชะพลูไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และสารสกัด dichloromethane มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ในการทดสอบโดยวิธี Ames test ได้ดีที่สุดในทั้งสองสายพันธุ์ จากงานวิจัยในหลอดทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า สารสกัดจากช้าพลูมีศักยภาพในการนำมาศึกษาต่อเพื่อที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบำรุงร่างกายได้ (พัชรินทร์ และคณะ_ 2557)

การศึกษาทางคลินิก: -

อาการไม่พึงประสงค์: -

การศึกษาทางพิษวิทยา:

ผลต่อความเสียหายของโครโมโซม ของเซลล์ไขกระดูกของหนูขาว

การศึกษาพิษของสารสกัดน้ำของต้นช้าพลูในการชักนําให้เกิดไมโครนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดแดงชนิด Polychromatic ในไขกระดูก ทําโดยให้สารสกัดช้าพลูในขนาด 1_5 และ 10ก./กก.น้ำหนักตัว ทางปากกับหนูขาวพันธุ์วิสตาร์เพศผู้โตเต็มวัยในแต่ละกลุ่ม จากนั้นฆ่าหนูด้วยอีเทอร์ที่ 30 ชั่วโมงหลังได้รับสารทดสอบ และเก็บตัวอย่างจากไขกระดูกหนู นอกจากนี้สําหรับหนูที่ได้รับสารในปริมาณ 10 ก./กก.น้ำหนักตัวทางปาก เก็บตัวอย่างจากไขกระดูกหนูเพิ่มเติมที่ 24_ 48 และ 72 ชั่วโมง หลังได้รับสารสกัด หลังจากฆ่าหนูแล้วเก็บเซลล์ไขกระดูกมาย้อมสี และนับจํานวนเม็ดเลือดแดงชนิดโพลิโครมาติก (Polychromatic erythrocytes; PCE) ที่มีไมโครนิวเคลียสจากจํานวนเซลล์ PCE 2000 เซลล์ต่อหนู 1 ตัว และนับจํานวนเม็ดเลือดแดง 400 เซลล์เพื่อหาอัตราส่วนระหว่าง PCE : Normochromatic erythrocytes (NCE) ผลการทดลองแสดงว่า สารสกัดช้าพลูแม้มีขนาดสูงถึง 10 ก./กก. น้ำหนักตัว ไม่มีผลในการชักนําให้เกิดไมโครนิวเคลียสกับเซลล์ PCE ในไขกระดูกของหนูในทุกช่วงเวลาที่กําหนด เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ค่า PCE : NCE ratio ของหนูที่ได้รับสารสกัดช้าพลูในขนาดต่างๆ และในทุกช่วงเวลาที่กําหนด ก็ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กับหนูกลุ่มที่ได้รับน้ำอย่างเดียวเช่นเดียวกัน ซึ่งผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดช้าพลูในขนาดที่ให้หนูนั้นไม่มีผลทําให้เกิดความเสียหายต่อโครโมโซมของเซลล์ไขกระดูก และไม่มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์ เมื่อทดสอบโดยวิธีดูไมโครนิวเคลียส (ปรานอม และคณะ_ 2547)



เอกสารอ้างอิง:

1. น้อย เนียมสา_ ก้าน จันทร์พรหมมา.การศึกษาสารเคมีจากชะพลู Piper sarmentosum Roxb. วารสารสงขลานครินทร์. 2526;5(2):151-152.

2. ปรานอม ภูชฎาภิรมย์_ ปัญญา เต็มเจริญ_ สุรพล คงทิม_ ลักขณา หิมะคุณ_ ยุวดี วงษ์กระจ่าง_ เพ็ญโฉม พึ่งวิชา และคณะ. ผลของสารสกัดช้าพลู (Piper sarmentosum) ที่มีต่อความเสียหายของโครโมโซม ของเซลล์ไขกระดูกของหนูขาวทดสอบโดยวิธีดูไมโครนิวเคลียส. วารสารสมุนไพร. 2547;11(1):11-19.

3. พัชรินทร์ บุญหล้า_ เมธิน ผดุงกิจ_ อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์_ ธิดารัตน์ สมดี.ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดใบชะพลู.วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557;10(3):283-294.

4. อโนดาษ์ รัชเวทย์. ผลของสมุนไพรต่อการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน. วารสารบัณฑิตศึกษา. 2556;10(46):51-59.

5. Vongthoung K_ Kamchansuppasin A_ Temrangsee P_ Munkong N_ Kaendee N_ Lerdvuthisopon N. Effects of Benjakul water extract on pancreas in high-fat fed rats. Thammasat Medical Journal. 2016; 16(2): 161-175.

6. Werawattanachai N_ Kaewamatawong R. Screening for acetylcholinesterase inhibitory activity from the piperaceae. Journal of Science and Technology_ Ubon Ratchathani University. 2016;18(3):26-33.

7. ZakariaZA_ PatahuddinH_ Mohamad AS_ Israf DA_ Sulaiman MR. In vivo anti-nociceptive and anti-inflammatory activities of the aqueous extract of the leaves of Piper sarmentosum. Journal of ethnopharmacology. 2010;128:42-48.

ข้อมูลจาก thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=182
อ่าน:3462
สมุนไพรไทยกันยุง ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้ มะกรุด สะเดา วิเศษจริงๆ ภูมิปัญญาไทยเรานี้
สมุนไพรไทยกันยุง ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้ มะกรุด สะเดา วิเศษจริงๆ ภูมิปัญญาไทยเรานี้
สมุนไพรไทยกันยุง ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้ มะกรุด สะเดา วิเศษจริงๆ ภูมิปัญญาไทยเรานี้
ตะไคร้หอม
น้ำมันที่สกัดมาจากตะไคร้หอม หรือครีม โลชั่น เครื่องประทินผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอมมากกว่า 17% จะช่วยป้องกันทั้งยุงลาย ยุงรำคาญ และยุงก้นปล่องได้ราว 1-4 ชั่วโมง

ตะไคร้
ตะไคร้หอม (citronella grass) และตะไคร้บ้าน (lemongrass) เป็นคนละชนิดกัน ตะไคร้หอมจะมีกาบใบสีขาวอมแดง หรืออมม่วง ลำต้นบางกว่า และกาบใบบางกว่าตะไคร้บ้าน ลำต้นหยาบ และเหนียวว่าตะไคร้บ้าน และตะไคร้บ้านรสชาติดีกว่าตะไคร้หอม จึงนิยมนำตะไคร้บ้านมาทำอาหารมากกว่า แต่ถึงกระนั้นกลิ่นของตะไคร้บ้านก็ช่วยไล่ยุงได้เช่นกัน น้ำมันตะไคร้ 20-25% สามารถป้องกันยุงลายได้ 100% ใน 1 ชั่วโมงแรก แล้วค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่สามารถป้องกันยุงรำคาญได้นานถึง 1-3 ชั่วโมงเช่นกัน

มะกรูด
น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดใช้ป้องกันยุงได้นานถึง 95 นาที หรือ 1.35 ชั่วโมง และยาทากันยุงที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกรูด 25-50% จะมีฤทธิ์ป้องกันยุงนานถึง 30-60 นาที

สะเดา
นอกจากจะจิ้มน้ำปลาหวานทานอร่อยแล้ว น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากสะเดายังช่วยป้องกันยุงได้อีกด้วย โดยสบู่อาบน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำมันสะเดา 1% สามารถไล่ยุงได้นานถึง 8 ชั่วโมงเลยทีเดียว

จะเห็นได้ว่าพืชแต่ละชนิดไม่ได้หายาก และยังราคาย่อมเยาอีกด้วย นอกจากพืชเหล่านี้แล้วยังมีข่า ไพล ขึ้นฉ่าย ว่านน้ำ กานพลู และสมุนไพรไทยอื่นๆ อีกมากมายที่มีคุณสมบัติในการช่วยไล่ยุง นอกจากนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาทำเป็นสเปรย์ไล่ยุง ยาจุดกันยุง ผสมใสครีมหรือโลชั่นทาตัว หรือจะสนับสนุนให้เป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ต่อไปได้อีกเช่นเดียวกัน

ข้อมูลต้นฉบับจาก sanook.com/health/10329/
อ่าน:3436
3551 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 355 หน้า, หน้าที่ 356 มี 1 รายการ
|-Page 335 of 356-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ประโยชน์ของการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการเพาะปลูกทางการเกษตร
Update: 2566/01/05 08:45:03 - Views: 3490
มะพร้าว ผลใหญ่ ผลดก ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์ 0-0-60 โพแทสเซี่ยม สูตรเร่งผล เพิ่มผลผลิต ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก และคุณภาพ
Update: 2567/04/27 13:42:12 - Views: 3511
กำจัด เพลี้ยแป้ง ศัตรูพืชในต้นทุเรียน ระยะที่ทุเรียนเริ่มติดผล จนกระทั่งผลโต มาคา สารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ
Update: 2566/05/20 11:07:53 - Views: 3409
การป้องกันกำจัด โรคราสีชมพูในทุเรียน
Update: 2566/05/15 09:52:19 - Views: 3447
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 9083
กล้วยไม้ใบจุด เน่าดำ ราสนิม ดอกสนิม กำจัดโรคจากเชื้อราต่างๆในกล้วยไม้ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/11/02 12:07:19 - Views: 3420
ระวัง!! โรคใบไหม้ ใบจุดดำ ปื้นเหลือง เน่าแห้ง ดอกสนิม ในดอกกล้วยไม้ สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Update: 2566/11/03 12:06:01 - Views: 3426
หนอนชอนใบส้ม หนอนเจาะผลส้ม หนอนผีเสื้อ หนอนต่างๆในพืชตระกูลส้ม ป้องกันดีที่สุด พบระบาดให้เร่งกำจัด
Update: 2566/11/06 08:56:06 - Views: 9613
ส้ม ใบไหม้ รากเน่า โคนเน่า กำจัดโรคส้ม จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/25 09:52:58 - Views: 3376
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแมลงวันผลไม้ ใน มะม่วง และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:09:05 - Views: 3474
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคโคนเน่า ในบอนสี ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/07 14:09:45 - Views: 3463
ไม้มงคล 9 อย่าง พันธุ์ต้นไม้มงคล ที่ควรปลูกในบ้าน
Update: 2555/07/26 16:14:13 - Views: 3420
โรคราแป้ง ในเงาะ
Update: 2564/03/22 22:18:06 - Views: 3690
สาเหตุของ โรคแอนแทรคโนส ใน พริก เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง มะละกอ ยาง มัน ลองกอง กล้วย
Update: 2564/08/23 02:55:56 - Views: 3611
โรคสับปะรด ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ ทำให้เกิดอาการสับปะรดยอดเน่า รากเน่า ใบไหม้ ยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
Update: 2566/11/08 06:16:07 - Views: 9603
โรคราสนิมหอม ราสนิมกระเทียม ราสนิมกุ่ยช่าย : RUST DISEASE [ ใช้ ไอเอส + FK-1 ]
Update: 2564/08/09 04:37:53 - Views: 3477
🔥ข้าวโพดใบไหม้ มันสำปะหลังใบไหม้ โรคไหม้ในพืชนั้น มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/07/08 13:49:54 - Views: 3402
โรคใบติดทุเรียน โรคทุเรียนใบไหม้ การดูแลบำรุงรักษา โรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/12/06 22:28:36 - Views: 3512
เงาะ ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/12 11:49:44 - Views: 3439
ป้องกันและควบคุมหนอนศัตรูพืชที่ทำลายดอกและเมล็ดทานตะวัน: วิธีการป้องกันและการจัดการในสวนทานตะวันของคุณ
Update: 2566/11/10 10:19:28 - Views: 3422
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022