พิมพ์คำค้นหา หรือลองคลิกตัวอย่าง >
มันสำปะหลัง
,
ข้าว
,
อ้อย
,
ทุเรียน
,
กัญชา
,
ข้าวโพด
,
ปาล์ม
,
ยางพารา
,
อินทผลัม
,
โรคใบไหม้
,
ราสนิม
,
เพลี้ย
,
ยาแช่ท่อนพันธุ์
+ โพสเรื่องใหม่ |
^ เลือกหน้า |
All contents
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
ข้าววัชพืช weedy rice โดย ดร.จรรยา มณีโชติ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
กรมวิชาการเกษตร
ข้อมูลนี้คัดมาจาก: http://kpp-rsc.ricethailand.go.th /weedyrice/weedy%20rice1.htm
ข้าววัชพืช
ปัจจุบัน ชาวนาในเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง กำลังประสบกับวัชพืชชนิดใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออก
ในระยะต้นกล้า วัชพืชชนิดนี้มีชื่อเรียกต่างๆกันในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะภายนอกที่ปรากฏว่า “ข้าวหาง ข้าวนก ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวลาย หรือ ข้าวแดง” ซึ่งข้าวเหล่านี้จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงในนาข้าว มีชื่อสามัญ ว่า “ข้าววัชพืช” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
“weedy rice” ในระยะเริ่มต้นของการ ระบาด ข้าววัชพืชจะแฝงตัวเข้ามาในนาข้าวเพียงไม่กี่ต้น หากไม่มีการกำจัดในระยะเวลา
2-3 ฤดู เท่านั้น ข้าววัชพืชสามารถเพิ่มจำนวนเป็นหลายล้านต้นปกคลุมจนมองไม่เห็นต้นข้าว
ประวัติการระบาดของข้าววัชพืช
พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2544 ในนาหว่านน้ำตม ที่ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และในนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี พื้นที่การระบาดเริ่มต้นเพียง 500 ไร่ และขยาย
วงกว้างออกไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2549 ข้าววัชพืชกลายเป็นปัญหาร้ายแรงที่พบในพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตมจำนวนหลาย
แสนไร่ ทั่วเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง รวม 21 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง ชัยนาท อยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก นอกจากนั้น ยังแพร่กระจายไปสู่แหล่งปลูกข้าวคุณภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และหนองคาย
ข้าววัชพืช..มาจากไหน?
ข้าววัชพืช เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติ กับข้าวปลูก เกิดเป็นลูกผสมที่มีการกระจายตัวของลูกหลาน
ออกเป็นหลายลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ชาวนาไม่ต้องการ คือ เปลือกเมล็ดสีดำหรือลายน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ปลายเมล็ดมีหางและเมื่อสุกแก่เมล็ดจะร่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว
ชนิดของข้าววัชพืช
ข้าววัชพืชสามารถจำแนกตามความแตกต่างทางลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด คือ ข้าวหาง ข้าวดีด และข้าวแดง ชนิดที่เป็นปัญหา
ร้ายแรงของชาวนาคือ ข้าวหาง และ ข้าวดีด เพราะเป็นข้าววัชพืชชนิดร่วงก่อนเกี่ยว เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และสูงข่มข้าวปลูก
ในระยะแตกกอ ข้าวหางและข้าวดีดจะออกดอกและเมล็ดจะสุกแก่ก่อนก่อนปลูกข้าวประมาณ 2 สัปดาห์ ชาวนาไม่สามารถ
เก็บเกี่ยวได ้เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย 10-100 % ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น ของข้าวหาง และข้าวดีด บางแปลงที่มีความหนาแน่นมาก ใน 1 ตารางเมตร มีข้าวหาง 800 ต้น เหลือต้นข้าวจริงเพียง 2 ต้น ชาวนาไม่สามารถ เก็บเกี่ยวได้ ทำให้ผลผลิตเสียหาย 100% ส่วนข้าวแดงนั้นเป็นข้าววัชพืชชนิดเมล็ดไม่ร่วง ชาวนาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจึงไม่เสียหาย แต่คุณภาพ
ข้าว ลดลง เพราะเมล็ดขาวสารแดงที่ปนอยู่ ชาวนาถูกโรงสีตัดราคาเกวียนละ 200 - 800 บาท ตามเปอร์เซ็นต์ของข้าวแดงที่ปน เพื่อชดเชยผลผลิตที่จะต้องเสียไปบางส่วน เพื่อจะขัดเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงออก
ให้เป็นเมล็ดข้าวสารสีขาว ซึ่งบางครั้งในรายที่มีข้าววัชพืชปนเป็นจำนวนมาก โรงสีจะไม่รับซื้อ ชาวนาต้องนำไปขายเป็นข้าวเลี้ยงเป็ด และไก่ ในราคาถูกถังละ 30 - 50 บาท
---------------------------------------------------------------
ฟาร์มเกษตรนำเสนอสินค้า
ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ไอซี-คิท ลดข้าวดีดได้มากกว่า 70%
ไอซี-คิท ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ชุด 2 ขวด
ขนาด 1 ลิตร x 2 ขวด/ชุด
ชุดย่อยสลาย เฉพาะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร
ลดข้าวดีดมากกว่า 70%
- รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา
- ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย
- เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว
- สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้
สนใจผลิตภัณฑ์ หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย
ติดต่อ ฟาร์มเกษตร
คุณ ปิยะมาศ
โทร: 090-592-8614
6.00 น. - 21.00 น.
หรือคลิกที่ลิงค์ด้านล่าง เพื่อดูราคา และข้อมูลสินค้า
|
ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ภาคใต้ เป็นที่ยอมรับทั้งภาครัฐและเอกชน
บ.ไอออนิค จำกัด ภาคใต้ รัฐบาลร่วมลงทุน(สสว.) มาเลเซีย ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ไทย วิจัยพัฒนา (r&d)
ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้น ปาล์มน้ำมันมีความสมบูรณ์ ลูกดก ทะลายมาก
ปาล์มน้ำมันมีแปลงที่ประสบความสำเร็จให้ดู ที่สุราษ / กระบี่
รับดูแลทั้งระบบ 50ไร่ อัพ
4 รอบการใช้หรือ 18 เดือน เห็นผลทันตา |
ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด
ราคา มันสำปะหลังสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยมีมาก่อน จึงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังกันมากขึ้น และเพื่อป้องกันมิให้มีการหักร้างถางป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่การปลูกมัน สำปะหลัง ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง จึงได้แนะนำ หลักในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ดังนี้
1. การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลิตมันสำปะหลัง หลักสำคัญก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินเป็นการสร้างให้ดินมีความ สามารถในการอุ้มน้ำได้ดีและการเพิ่มธาตุอาหารหลักให้กับดิน ได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์หรือเปลือกมันจากโรงงานแป้งหรือปุ๋ยพืชสดจาก ปอเทืองและถั่วพร้าปลูกแล้วไถกลบ ในกรณีที่ดินถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดชั้นดินดานใต้ดิน ทำให้ระบายน้ำลงใต้ดินได้ยากในฤดูฝน เกิดปัญหาหัวเน่าจากน้ำท่วมขัง ในช่วงฤดูแล้งมันสำปะหลังไม่สามารถใช้น้ำใต้ดินได้ ทำให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้น ควรไถระเบิดชั้นดินดาน หรือ ใช้หญ้าแฝกปลูกประมาณ 1-2 ปี เพราะหญ้าแฝกมีระบบรากลึกถึง 3 เมตร สามารถทำลายชั้นดินดานได้ อีกทั้งเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินด้วย
2. การเลือกฤดูปลูก หลักสำคัญก็คือควรจัดวันปลูกเพื่อให้ช่วงอายุ 3-12 เดือนของมันสำปะหลังได้รับน้ำฝนมากที่สุด เพราะผลผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในช่วงอายุดังกล่าว โดยในช่วงแรกระยะตั้งแต่ 1-3 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังต้องการน้ำน้อยเพื่อการเจริญเติบโต ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้ว พบว่า การปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝนจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในช่วงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-มีนาคม) รองลงมา คือ ต้นฤดูฝน (เมษายน-พฤษภาคม) และปลายฤดูฝน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่การปลูกในช่วงฤดูร้อนและปลายฤดูฝนมีข้อจำกัดของปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อย มีผลต่อการงอกของท่อนพันธุ์
3. การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวถือได้ว่าเป็นดินดี ดินชนิดนี้สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ และดินร่วนทรายถือได้ว่าเป็นดินปานกลางถึงเลว ดินชนิดนี้ไม่สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ เนื่องจากดินแตกง่ายไม่เกาะติดกัน โดยดินร่วนเหนียว ควรปลูก พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72 ส่วนดินร่วนทรายควรปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบง 60 และระยอง 9 เนื่องจากทั้ง 4 พันธุ์ เมื่อนำไปปลูกในดินร่วนเหนียวจะเจริญเติบโตในส่วนของ ลำต้นที่อยู่เหนือดินมากกว่าลงหัว หรือที่ชาวบ้าน เรียกกันว่าขึ้นต้นหรือบ้าต้นเกินไป ส่วนพันธุ์ระยอง 7 นั้นเหมาะทั้งดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรายที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของ การเจริญเติบโต แต่ไม่เหมาะกับสภาพดินที่แห้งแล้ง
4. การเตรียมดินให้ลึก หลักสำคัญก็คือ ต้องไถดะครั้งแรกให้ลึกที่สุดด้วยผาล 3 หรือ ผาล 4 เท่านั้น ควรไถดะในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ห้ามไถดะด้วยผาล 7 เพราะจะไถได้ไม่ลึกการ ไถดะให้ลึกจะเพิ่มความสามารถในการเก็บกักความชื้นของดินได้มากขึ้นและมัน สำปะหลัง ลงหัวได้ง่าย จากนั้น ตากหน้าดินเพื่อให้วัชพืชตาย ถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก ส่วนดินร่วนทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยผาล 7 สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย ในกรณีที่ เกษตรกรสามารถหาปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักได้ควร หว่านก่อนไถดะ ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ผลดี คือ ปุ๋ยหมักมูลไก่ 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ วัสดุอินทรีย์จากกากมันที่เหลือจากโรงงานแป้ง 2 ตันต่อไร่
5. การปลูกที่ถูกต้อง หลักสำคัญก็คือ ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด โดยเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตาถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 เมตร และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร
6. การกำจัดวัชพืช หลักสำคัญก็คือ มันสำปะหลังใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังจากปลูก เพื่อสร้างพุ่มใบให้คลุมพื้นที่ระหว่างร่องทั้งหมด ดังนั้น ภายในช่วง 3 เดือนแรกถือว่าเป็นช่วงวิกฤติของมันสำปะหลัง ต้องดูแลรักษาให้มันสำปะหลังปลอดวัชพืช ถ้าปล่อยให้วัชพืชแข่งขันกับมันสำปะหลัง มันสำปะหลังจะแคระแกร็น มีผลให้ผลผลิตลดลงมาก การกำจัดวัชพืชสามารถเลือกทำแบบผสมผสาน โดยใช้จอบถาง รถไถเดินตามแถก ระหว่างร่อง ใช้สารเคมีประเภทคลุมก่อนวัชพืชงอกหรือสารเคมีฆ่าหลังวัชพืชงอก สารเคมีประเภทคลุมใช้ได้ผลเฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น ห้ามใช้ไกลโฟเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะมีผลทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
7. การใส่ปุ๋ยเคมี ควรเลือกใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 2 : 1 : 2 ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ปุ๋ย 2 ข้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือนหลังจากปลูก และต้องใส่ปุ๋ยเคมีในขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย ถ้าไม่กลบปุ๋ยอาจสูญเสียปุ๋ยมากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการเก็บเกี่ยวควรเลือกเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงที่เหมาะสมตั้งแต่ อายุ 10-18 เดือน ควรงดเว้นการเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังในช่วงฝนแรก คือ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากมันสำปะหลังแตกใบอ่อน จะให้เปอร์เซ็นต์ แป้งต่ำ
8. การให้น้ำมันสำปะหลัง ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้งเพื่อจะช่วยให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อ เนื่องหรือทำให้ใบร่วงน้อยที่สุด มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ละเดือนอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายน มีการให้น้ำในช่วง สองเดือนแรกของการเจริญเติบโตตามความจำเป็น และให้น้ำเต็มที่ในช่วงฤดูแล้ง 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม เก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว
รายละเอียดสอบถามได้ที่สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0603 และ 0-2940-5492 และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง 0-3868-1515 ทุกวันในเวลาราชการ.
นวลศรี โชตินันทน์
ข้อมูลจาก: dailynews.co.th/ web/html/popup_news/ Default.aspx?Newsid=162916 &NewsType=1&Template=1
|
หนุนอีสานปลูกยาง 2.5 ล้านไร่ เปิดแหล่งรับซื้อ บุรีรัมย์ หนองคาย
From: http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=112971
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่ไทยได้เสนอต่อที่ประชุมยางโลกซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกคือไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซียที่ว่าประเทศไทยมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกยาง 4 แสนไร่ เพื่อหันมาปลูกปาล์มนั้น ส่งผลให้สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่
โดยแต่ละปีจะมีการนำเข้ายางพาราจากประเทศไทยประมาณ 830,000 ตัน จากปริมาณการส่งออกทั้งประเทศ 2,700,000 ตัน หรือ 1 ใน 3 เกิดความไม่แน่ใจ พร้อมทั้งเตรียมหาแหล่งรับซื้อที่ใหม่โดยมุ่งไปที่ประเทศเวียดนาม ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงเดินทางเข้าพบกับรัฐมนตรีเกษตรจีนที่กำกับดูแลยาง และสมาคมอุตสาหกรรมยางจีนที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาการซื้อวัตถุดิบป้อนโรงงาน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อว่า ในการเจรจาดังกล่าวได้ข้อสรุปว่า สาเหตุที่ทำให้ราคาผันผวนเพราะมีการเก็งราคา รวมทั้งซื้อขายลมโดยไม่มีการส่งมอบจริง และยังสร้างความมั่นใจว่าปริมาณผลผลิตยางไทยยังมีคุณภาพ มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ เพราะไทยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่แถบภาคอีสานปลูกยางเพิ่มขึ้นอีก 2.5 ล้านไร่ ซึ่งผลผลิตจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดในปี'54 และเมื่อผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด จะไม่มีปัญหาเรื่องราคาอย่างแน่นอน เพราะได้เตรียมแหล่งรับซื้อผลิตผล ไว้ 2 จุด ซึ่งอยู่ ในจังหวัดบุรีรัมย์ และหนองคาย
อย่างไรก็ตาม ยังได้เสนอให้ผู้ที่ลงทุนในสมาคมยางจีน เข้ามาลงทุนทำอุตสาหกรรมฯในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งคาดว่าต่อไปในอนาคตผลิตผลจากฝั่งลาว และเขมร ที่ประเทศเวียดนามเข้าไปลงทุน จะถูกส่งมาแปรรูปทางด้านบริเวณนี้และจะส่งผลให้เศรษฐกิจในพื้นที่และภายใน ประเทศดีขึ้นอย่างแน่นอน
“การไปในครั้งนี้ยังได้เยี่ยม สนง.ที่ดูมาตรฐานของยางจีนที่ใช้ระบบ CCC รับรองมาตรฐาน เพื่อต่อไปไทยจะได้นำระบบดังกล่าวมาทำระบบมาตรฐานอย่างที่จีนใช้ นำมากำหนดเทียบเคียงร่วมกัน โดยเจ้าหน้าที่ของไทยจะเป็นผู้ตรวจสอบดูแลระบบทั้งหมด” นายสมชายกล่าว. |
ประชุมมันสำปะหลังนานาชาติ ประกวดหัวมัน- เกษตรกรดีเด่น
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เผยว่า เพื่อโชว์ศักยภาพในฐานะที่เป็นผู้นำการผลิตมันสำปะหลังของไทย รวมถึงการเพาะปลูก พัฒนาพันธุ์และการค้า ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของโลก กรม การค้าต่างประเทศจึงได้จัดกิจกรรมประชุมมันสำปะหลังนานาชาติ หรือ World Tapioca Conference 2009 ที่จะจัดขึ้น ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ในวันที่ 15-16 มกราคม 52
เพื่อให้การจัดงานประชุมครั้งนี้คึกคัก คณะกรรมการจึงจัดการประกวดขึ้น 2 ประเภท คือ การประกวดมันสำปะหลังหัวใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และการประกวดเกษตรกรดีเด่น โดยจะพิจารณา คัดเลือกจากบัญชีรายชื่อของมูลนิธิกองทุนมันสำปะหลังที่ได้คัดเลือกไว้ แล้วเมื่อปี 2549-2550 ตามหลักเกณฑ์ การเพิ่มปริมาณผลผลิตการบริหารจัดการไร่ การบำเพ็ญประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เป็นตัวชี้วัดในการตัดสินเพื่อมอบรางวัลเกษตรกร ที่ชนะเลิศการประกวดประเภทมันสำปะหลังหัวใหญ่ รางวัลที่ 1, 2 และ 3 จะได้รับโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินสด หากเกษตรกรสนใจส่งมันสำปะหลังหัวใหญ่และเกษตรกรดีเด่น สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 0-2547-4744 และสายด่วน 1385 ในเวลา
|
สปก.ทุ่มสองพันล้าน พัฒนาศูนย์เรียนรู้ทั่วประเทศ
นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ปี'52 นี้ กระทรวงเกษตรฯ จัดสรรงบ 2,047.94 ล้านบาท เพื่อใช้ขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ โดยมีนโยบายมอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เร่งขับเคลื่อนภารกิจ 3 ด้าน ได้แก่ การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปเกษตรกร และการปฏิรูปการจัดการ ภายใต้ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ และยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างสมดุล
ด้านนายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการ ส.ป.ก. เผยว่า ได้กำหนดแผนงานวางระบบการถือครองและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดิน โดยจะเร่งจัดที่ดินทำกินจำนวน 1.5 ล้านไร่ รองรับเกษตรกรกว่า 100,000 รายทั่วประเทศ เร่งปรับปรุงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินรายแปลง (เอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ค) จำนวน 300,000 ฉบับ เร่งจัดที่ดินชุมชน 500 ชุมชน เกษตรกรเป้าหมาย 65,000 ราย พร้อมประสานความร่วมมือกับ 8 มหาวิทยาลัยเครือข่าย จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ฯรายตำบล จำนวน 250 ตำบล ครอบคลุมเนื้อที่กว่า 5 ล้านไร่ ทำแผนเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม จำนวน 200 ตำบล คิดเป็นพื้นที่ 6,000 ไร่
นอกจากนี้ ยังได้เร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร โดยมุ่งที่การใช้ศูนย์บริการประชาชนเคลื่อนที่ในเขตปฏิรูปที่ดิน 800 ตำบล เร่งขยายผลการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบกับเกษตรกรที่สนใจเข้ามาศึกษา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ โดยเน้นให้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพและสร้างมูลค่าที่ทำกิน ทั้งยังช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 4,500 บาท/เดือน
|
ข้าวโพดนครสวรรค์3 พันธุ์ใหม่ผลผลิตสูงทนโรค
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยพืชไร่นครสรรค์ ประสบผลสำเร็จในการวิจัย และพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 ซึ่งเป็นข้าวโพดที่นอกจากจะให้ผลผลิตสูงแล้ว ยังทนต่อความแล้ง ทนต่อโรคราน้ำค้าง โรคราสนิม และยังหักฝักเก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย รวมทั้งสีของข้าวโพดสวยเป็นที่ต้องการของเกษตรกรและตลาดอีกด้วย
นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา นักวิชาการเกษตร 8 ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กล่าวว่า เป็นผู้วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมนครสวรรค์ 3 ขึ้นมา เป็นการวิจัยต่อยอดจากข้าวโพดลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 2 ที่มีคุณสมบัติทนต่อโรคราน้ำค้าง โรคราสนิม และเก็บเกี่ยวง่ายให้ผลผลิตสูงถึง 1,147 กิโลกรัมต่อไร่ และมีคุณสมบัติทนต่อความแห้งแล้ง เมื่อนำไปทดลองปลูกเกษตรกรจึงมีความต้องการสูง แต่ยังไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ให้พียงพอกับความต้องการ จึงจัดทำโครงการนำร่องกับกลุ่มเกษตรกรและภาคเอกชนรายย่อย นำไปผลิตเมล็ดพันธุ์ คาดว่าปี 2552 จะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 ประมาณ 350 ตัน.
|
|
|
|
กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3,
นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)
กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอส3ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งมาคากับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอกี้-บีทีกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งFK-T 250ซีซี กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง
สั่ง อินเวท กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง เมทาแลคซิล กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง คาร์รอน กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง แม็กซ่า กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|