พิมพ์คำค้นหา หรือลองคลิกตัวอย่าง >
มันสำปะหลัง
,
ข้าว
,
อ้อย
,
ทุเรียน
,
กัญชา
,
ข้าวโพด
,
ปาล์ม
,
ยางพารา
,
อินทผลัม
,
โรคใบไหม้
,
ราสนิม
,
เพลี้ย
,
ยาแช่ท่อนพันธุ์
+ โพสเรื่องใหม่ |
^ เลือกหน้า |
All contents
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ
แตงใบจุด แตงใบเหลือง โรคใบจุดของแตงที่เกิดจากเชื้อ Cercospora
(Cercospora leaf spot)
แตงที่เป็นโรคนี้ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย แคนทาลูป ฟักแฟง สควอซ บวบ
อาการโรค
อาการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบโดยมีลักษณะเป็นแผลจุดเล็ก ๆ รูปร่างไม่แน่นอนหรือค่อนข้างกลมสีนํ้าตาลจาง ๆ ตรงกลางขาว มีขอบสีดำหรือม่วงล้อมอยู่โดยรอบ ผลหรือลูกแตงจะไม่แสดงอาการในบางกรณีที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมมากๆ ต้น เถา ส่วนที่ยังอ่อนและอวบนํ้า อาจถูกเชื้อเข้าทำลายเกิดเป็นแผลจุดขึ้นได้เช่นกัน
สาเหตุโรค : Cercospora citrullina
เป็นเชื้อราพวก imperfecti เช่นเดียวกับ Alternaria sp. มีการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศโดยการเกิดโคนีเดียที่มีลักษณะยาว (cylindrical) ท้ายป้านปลายเรียวไม่มีสี มีหลายเซลล์ เกิดบนก้านยาวสีน้ำตาลที่เกิดเป็นกระจุก โคนีเดียเหล่านี้สามารถปลิวไปตามลมได้เป็นระยะทางไกลๆ เมื่อตกลงบนใบแตง ได้รับความชื้นเพียงพอก็จะงอกก่อให้เกิดโรคขึ้นใหม่ได้อีกภายใน 7 – 10 วัน เชื้อ Cercospora อยู่ข้ามฤดูได้โดยการสร้าง stroma ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของเส้นใยที่มีผนังหนากลายเป็นแผ่นหรือก้อนแข็ง มักจะพบเกิดอยู่ตามฐานของกลุ่ม conidiophore stroma ดังกล่าว จะเกาะติดอยู่กับใบพืชที่เป็นโรคซึ่งร่วงหลุดจากต้นอยู่ตามพื้นดิน จนถึงฤดูปลูกใหม่ก็จะงอกออกมาเป็นเส้นใยสร้างสปอร์ ปลิวกระจายไปตกลงบนใบพืชก่อให้เกิดโรคต่อไปได้อีก
นอกจาก Cercospora citrullina ยังมีอีก species หนึ่งที่พบว่าก่อให้เกิดโรคใบจุดกับแตงบางชนิด เช่น สควอช และ ฟักทอง คือ Cercospona cucurbita ทั้งสองชนิดมีลักษณะ โคนีเดีย และการเป็นอยู่คล้ายๆ กัน ผิดกันตรงพืชที่ถูกเข้าทำลายเท่านั้น
ในการเข้าทำลายพืชและการขยายพันธุ์เชื้อทั้งสองชนิด ต้องการความชื้นสูงและอุณหภูมิระหว่าง 27 – 30 ∘ซ.
การป้องกันกำจัด
1. ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 3 ปี
2. ปลูกแตงในดินที่มีการเตรียม บำรุงรักษา และมีการถ่ายเทอากาศที่ดี
3. กำจัดทำลายวัชพืชพวกแตงในบริเวณแปลงปลูกให้หมด
อ้างอิง thaikasetsart.com/ โรคใบจุดจากเชื้อcercospora/
สินค้าแนะนำ จากฟาร์มเกษตร
ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา ผสมในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน เพื่อเร่งให้มันสำปะหลังฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้เร็วยิ่งขึ้น
FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง) |
มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 และ KU 50 ทนต่อโรคใบด่าง และควรเลือกใช้ท่อนพันธุ์ จากแหล่งที่ปลอดโรค หยุดการแพร่ระบาด โรคมันสำปะหลังใบด่าง ได้เป็นอย่างดี
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง รายงานล่าสุดพบการระบาดใน 15 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี_ ศรีสะเกษ_ สุรินทร์_ บุรีรัมย์_ นครราชสีมา_ ปราจีนบุรี_ ฉะเชิงเทรา_ ชลบุรี_ กาญจนบุรี_ สระแก้ว_ ระยอง_ นครสวรรค์_ ลพบุรี_ ขอนแก่น และมหาสารคาม คิดเป็นพื้นที่ 55_924 ไร่ ได้ทำลายต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคไปแล้ว 13_111 ไร่ ซึ่งจังหวัดที่พบการระบาดเพิ่มขึ้น มีสาเหตุมาจากการใช้ท่อนพันธุ์ติดโรคที่มาจากแหล่งระบาดของโรค
แต่จากการสำรวจการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีการระบาดของโรคใบด่างลดลง เนื่องจากทางจังหวัดได้ออกประกาศการควบคุมการขนย้ายต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาต และวิธีการขนย้ายต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการป้องกันและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้แพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่น
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้ระบาดเพิ่มขึ้น อธิบดีกรมวิชาการเกษตรแนะนำแหล่งซื้อท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดในพื้นที่ไม่พบการระบาดใน 38 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์_ กำแพงเพชร_ จันทบุรี_ ชัยนาท_ ชัยภูมิ_ เชียงราย_ เชียงใหม่_ ตาก_ นครนายก_ นครพนม_ นราธิวาส_ น่าน_ บึงกาฬ_ ปทุมธานี_ ประจวบคีรีขันธ์_ พะเยา_ พิจิตร_ พิษณุโลก_ เพชรบุรี_ เพชรบูรณ์_ แพร่_ มุกดาหาร_ ยโสธร_ ร้อยเอ็ด_ ราชบุรี_ ลำปาง_ ลำพูน_ เลย_ สกลนคร_ สระบุรี_ สุโขทัย_ สุพรรณบุรี_ หนองคาย_ หนองบัวลำภู_ อำนาจเจริญ_ อุดรธานี_ อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
“การที่จะป้องกันกำจัดวงจรการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องแก้ที่สาเหตุสำคัญของการระบาดที่เพิ่มขึ้น จึงขอย้ำเตือนเกษตรกรทั้ง 53 จังหวัดที่ปลูกมันสำปะหลัง ให้เลือกซื้อท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากแหล่งที่ไม่มีการระบาดตามที่แนะนำ และไม่ควรใช้พันธุ์ 89 ที่อ่อนแอต่อโรคใบด่าง ให้ปลูกพันธุ์ ระยอง 72 หรือ KU 50 จะมีความทนต่อโรคใบด่างมากกว่า เพราะที่ผ่านมาทั้งสองพันธุ์นี้ ยังไม่เคยพบการเข้าทำลายของโรคใบด่างเลย” นางสาวเสริมสุข กล่าว.
อ้างอิง thairath.co.th/ news/society/1682011
สินค้าจากฟาร์มเกษตร
จากการรวมรวมข้อมูล จากบทความต่างๆ จากหลายแหล่งข้อมูลพบว่า โรคใบด่างมันสำปะหลังนั้น อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือมี เพลี้ยต่างๆ เป็นแมลงพาหะ ที่นำโรคใบด่างมันสำปะหลังจากแปลงข้างเคียง หรือบริเวณใกล้เคียงที่มีการระบาด นำมาติดในไร่ของเรา การป้องกันกำจัดโรคใบด่าง สามารถกำจัดได้ที่ต้นเหตุอีกอย่างหนึ่ง คือการกำจัด เพลี้ย แมลงพาหะ โดยการฉีดพ่นด้วย มาคา
มาคา สารอัลคาลอยด์ เป็นยาอินทรีย์ สำหรับป้องกันและกำจัดเพลี้ย สกัดจากพืช ผสมในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และสามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน เพื่อเร่งให้มันสำปะหลังฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้เร็วยิ่งขึ้น
FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
|
ดินในไร่ของเรา ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ไหนดี? การเลือกพันธุ์มันสำปะหลังให้เหมาะกับดินในพื้นที่ปลูกของเรา
เลือกมันสำปะหลังพันธุ์อะไรให้เหมาะกับดิน
ดินทราย - เนื้อดินมีลักษณะหยาบ (ทรายจัด) - ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก - การระบายน้ำดีมาก - พบมากในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับดินทราย พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 72
ดินร่วนปนทราย - เนื้อดินค่อนข้างหยาบ - ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ - การระบายน้ำดี - พบมากในทุกภาค
พันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับดินทราย พันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 90 ดินร่วนปนเหนียว - เนื้อดินปานกลางถึงค่อนข้างละเอียด - ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างดี - การระบายน้ำปานกลาง - พบมากในทุกภาค
พันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับดินร่วนปนเหนียว พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 11 พันธุ์ห้วยบง 80
ดินด่างหรือดินที่มีหินปูนปะปน - เนื้อดินปานกลาง - มีเม็ดปูนปะปนสะสมที่ความลึกตั้งแต่ 50-100 เซนติเมตร - ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง - การระบายน้ำปานกลางถึงดี - มักมีปัญหาการขาดธาตุเหล็ก สังกะสี กำมะถัน - พบมากตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ภูเขาหินปูนในภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคเหนือ
พันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับดินด่างหรือดินที่มีหินปูนปะปน พันธุ์ระยอง 11 พันธุ์ระยอง 5
อ้างอิง สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/317 |
มันสำปะหลังผลผลิตต่ำ! เพราะขาดธาตุ สังกะสี เพราะเกี่ยวข้องกับการสร้าง คลอโรฟิลล์ สังเคราะห์โปรตีน ส่งเสริมการใช้ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ฯลฯ
ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสังกะสีในมันสำปะหลัง ซึ่งในปัจจุบันเป็นปัญหาของเกษตรกรจำนวนมาก
ความสำคัญของธาตุสังกะสี
เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืช เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะเซติก (LAA) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืช ตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช
ลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีในมันสำปะหลัง
พบเห็นโดยทั่วไปในดินด่าง จะมีลักษณะการยืดต้นช้า พบจุดหรือแถบสีขาว หรือเหลือง บนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่างและอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง
สาเหตุ
- พื้นที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
- ปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน
- ดินมีความเป็นด่างสูง (pH สูง) หรือดินที่มีแคลเซียม (Ca) สูง
- เกษตรกรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว
ข้อแนะนำ
1. ชุบท่อนพันธุ์ด้วยปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ละลายน้ำในอัตรา 0.4 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 15 นาทีก่อนปลูก
2. ปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ละลายน้ำอัตรา 0.8 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบที่อายุ 1_2 และ 3 เดือนหลังปลูก หรือเมื่อต้นมันสำปะหลังแสดงอาการขาดธาตุสังกะสี
อ้างอิง มูลนิธิสถาบัน พัฒนามันสำปะหลัง แห่งประเทศไทย kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/348
สินค้าแนะนำจากฟาร์มเกษตร
กู๊ดโซค น้ำยาแช่ท่อนพันธุมันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค สะสมอาหารไว้ในท่อนพันธุ์ เพื่อใช้ในระยะงอก อัตราส่วนการใช้ 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ จุ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนปลูก
FK-1 (มีธาตุ สังกะสีและอื่นๆ) ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง) |
การไถดินดาน ที่ถูกต้อง ก่อนปลูกมันสำปะหลัง น้ำและอากาศไหลซึมได้ดี รากมันโตได้ไกล เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
การไถดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
ความหมายของชั้นดินดาน
ชั้นดินดาน หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบ หรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคดินมาจับตัวกัน ทำให้ดินแน่นทึบและแข็ง จนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ ซึ่งกระบวนการเกิดชั้นดินดานมี 3 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้
1. ชั้นดินดานแข็ง (duripan) เป็นชั้นดินแข็งเชื่อมกันแน่นโดยสารเชื่อม ซึ่งสารเชื่อมมีหลายชนิดและมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปขึ้นอยู่ชนิดของสารเชื่อม ได้แก่ เหล็ก คาร์บอเนต ซิลิก้า
2. ชั้นดินดานเปราะ (fragipan) เป็นชั้นดินดานที่มีความหนาแน่นสูงกว่าชั้นดินบนและล่าง ชั้นดินดานนี้เกิดจากการอัดตัวของดินเหนียว ทรายแป้ง และทราย มีการเชื่อมตัวกันแน่น เมื่อแห้ง จะเปราะ เมื่อชื้นน้ำซึมผ่านได้ยาก
3. ชั้นดินดานไถพรวน (plowpan) เป็นชนิดเดียวกันกับชั้นดินดานเปราะ แต่ใช้เรียกเฉพาะ ชั้นดินดานที่เกิดจากการไถพรวนในระดับความลึกเดียวกันเป็นเวลานาน ซึ่งพบมากในพื้นที่ปลูก มันสำปะหลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน
สามารถแยกชั้นดินดานแข็งออกจากชั้นดินดานเปราะ โดย พิจารณาจากการละลายน้ำ ถ้าหากละลายน้ำได้ จะเป็นชั้นดินดานเปราะ โดย ชั้นดินดานเปราะมีข้อจำกัดในการปลูกพืชน้อยกว่าชั้นดินดานแข็ง
กระบวนการเกิดชั้นดินดานไถพรวน
เกิดจากการไถพรวน ในระดับความลึกเดียวกันเป็นเวลานาน โครงสร้างของดินแตกละเอียด เมื่อฝนตกทำให้อนุภาคของดินเหนียว ทรายแป้ง รวมทั้งอินทรียวัตถุถูกชะล้างลงมาสะสมกันใต้ชั้น ไถพรวน นอกจากนี้ ยังมีแรงกดทับจากแทรกเตอร์ ในการเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยว และรถบรรทุกขนส่งหัวมันสำปะหลังไปยังโรงงาน สิ่งดังกล่าวเหล่านี้ก่อให้เกิดชั้นดินดานไถพรวนขึ้นในพื้นที่ปลูก มันสำปะหลังต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน
ระดับความรุนแรงของโอกาสเกิดชั้นดินดาน
การจำแนกระดับความรุนแรงของโอกาสในการเกิดชั้นดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานได้น้อย เนื่องจากพื้นที่เป็นดินเนื้อละเอียด มีปริมาณทรายแป้ง น้อย อนุภาคของดินเป็นแบบก้อนเหลี่ยมและก้อนกลม ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรงกดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
ระดับที่ 2 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานในระดับปานกลาง เนื่องจากพื้นที่เป็นเนื้อค่อนข้างละเอียด มีปริมาณทรายแป้งปานกลาง อนุภาคของดินเป็นแบบก้อนเหลี่ยม ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรง กดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ปานกลาง
ระดับที่ 3 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานในระดับสูง เนื่องจากพื้นที่เป็นเนื้อค่อนข้างหยาบ มีปริมาณทรายแป้งสูง โครงสร้างของดินแน่นทึบ ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรงกดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ได้น้อย
สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง สามารถทราบได้ว่าพื้นที่ปลูกพืชมีชั้นดินดานอยู่ใต้ดินหรือไม่ สังเกตในช่วงฤดูฝนเมื่อมีฝนตกลงมา พื้นที่ราบน้ำจะท่วมขังอยู่นาน เพราะน้ำไม่สามารถซึมผ่านชั้นดินดานลงไปสู่ชั้นดินล่างได้ แต่น้ำจะไหลบ่าไปบนผิวดิน เกิดการชะล้างหน้าดินออกจากพื้นที่ ส่วนในช่วงฤดูแล้งชั้นดินดานจะขวางกั้นไม่ให้ความชื้นจากดินชั้นล่างขึ้นมาถึงบริเวณรากพืชได้ พืชจะขาดน้ำ ทำให้พืชแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ ในทางวิชาการเราสามารถเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 50 เซนติเมตร เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าความหนาแน่นรวม (bulk density) ถ้าดินมีความหนาแน่นรวมมากกว่า 1.65 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่ามีชั้นดินดานเกิดขึ้นในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
การไถระเบิดชั้นดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง มักมีการไถพรวนที่ระดับความลึกเดียวกันตลอด มีการไถพรวนในขณะดินมีความชื้นไม่เหมาะสม มีการกดทับจากแทรกเตอร์หรือรถบรรทุกในการเตรียมดิน เก็บเกี่ยว และการขนส่งหัวมันสำปะหลังไปยังโรงงาน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดชั้นดินดานได้ง่าย โดยชั้นดินดานจะขัดขวางการแพร่กระจายของรากพืชและการแทรกซึมของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหรือไหลบ่ามากขึ้นในช่วงฝนตกและยังชะล้างเอาหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงออกไปจากพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ทำให้พืชขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากชั้นดินดานจะขวางกั้นไม่ให้ความชื้นจากดินชั้นล่างขึ้นมาถึงบริเวณรากพืชได้ จึงทำให้พืชแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ ดังนั้น พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีชั้นดินดาน ควรทำการไถระเบิดชั้นดินดาน ทุก 3-5 ปี มีรายละเอียด 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การทำลายวัชพืชและเศษซากพืชก่อนไถระเบิดชั้นดินดานด้วยการไถพรวน 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้เศษพืช พันขาไถระเบิดชั้นดินดานหรือเป็นอุปสรรคต่อการไถระเบิดชั้นดินดาน
2. การไถระเบิดชั้นดินดานด้วยเครื่องไถแบบสั่นสะเทือน (shaking ripper) โดยไถ 2 รอบ รอบแรกไถไปตามแนวยาวของพื้นที่ก่อน รอบที่สองไถตามขวางของพื้นที่หรือที่เรียกว่าไถตัดกันเป็นตาหมากรุก เพื่อให้ชั้นดินดานแตกร้าวสม่ำเสมอรอบทิศทางทั่วทั้งพื้นที่
3. ไถดะด้วยผาล 3 หรือผาล 4 เพื่อทำลายวัชพืชและตากหน้าดินเพื่อทำลายศัตรูพืช
4. ไถพรวนเพื่อย่อยดินให้ละเอียดและกลบรอยไถระเบิดชั้นดินดาน หลังจากนั้นทำการไถร่องปลูกมันสำปะหลัง
การไถระเบิดชั้นดินดานไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาการเกิดชั้นดินดานอย่างถาวร แต่ถ้าหากไม่มีการจัดดินที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ชั้นดินดานก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น การชะลอการเกิดชั้นดินดานจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดสามารถทำได้ ดังนี้
1. การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร โดย ควบคุมการใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่การเกษตรเท่าที่จำเป็นและใช้ในขณะดินมีความชื้นพอเหมาะ ควบคุมแนวทางเดินของเครื่องจักรกลซ้ำที่เดิมและวางแนวปลูกพืชให้อยู่ระหว่างล้อของเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เกิดชั้นดินดานทั่วพื้นที่
2. ความชื้นของดิน ชั้นดินดานที่อยู่ใต้ดินชั้นไถพรวนจะเป็นอุปสรรคต่อการไชชอนของรากพืช ก็ต่อเมื่อชั้นดินดานแห้ง ดังนั้น การรักษาความชื้นของดินชั้นดินดานให้พอเหมาะ สามารถลดผลกระทบของชั้นดินดานต่อรากพืช
3. การปรับปรุงโครงสร้างของดินเพื่อให้เม็ดดินมีเสถียรภาพ โดย การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพดีขึ้น ดูดซับน้ำได้มากขึ้น มีช่องว่างในดินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นรวมลดลงได้
4. การปลูกหญ้าแฝก ชั้นดินดานเป็นดินที่มีความหนาแน่นสูง ส่วนประกอบของดินมีน้ำ ช่องว่าง อากาศ รวมทั้งอินทรียวัตถุลดน้อยลง หญ้าแฝกเป็นพืชที่ขึ้นได้ในสภาพดินดาน มีระบบรากลึกเจาะผ่านชั้นดินดานได้และให้ปริมาณรากมากกว่าพืชอื่น ดังนั้น เมื่อฝนตกลงมาความชื้นจะซึมผ่านลงตามระบบของรากหญ้าแฝก สร้างความชื้นและอินทรียวัตถุให้กับดินในชั้นดินดานอย่างรวดเร็ว
อ้างอิง สถาบันวิจัยพืชไร่ และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/393 |
กรมวิชาการเกษตร ปลื้ม มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ระยอง 15 อายุ 8 เดือนเก็บผลผลิตได้ดี เปอร์เซ้นแป้งสูง
กรมวิชาการเกษตร ปลื้มมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ระยอง 15 คุณสมบัติสุดปัง เข้าทางความต้องการเกษตรกร สร้างรายได้เร็วขึ้น อายุ 8 เดือนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ให้ผลผลิตหัวสดสูงถึง 4_632 กก./ไร่ แถมเปอร์เซ็นต์แป้งและผลผลิตแป้งสูงถูกใจโรงงาน ปี 63 มีความพร้อมของท่อนพันธุ์กว่า 2 แสนท่อน ขยายพื้นที่ปลูกได้ถึง 125 ไร่
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ผลผลิตส่วนใหญ่นำไปแปรรูปเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และแป้งมันสำปะหลัง เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับ 1 ของโลก มีมูลค่ามากกว่าปีละ 90_000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ราคาปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาโรคแมลงที่รุนแรงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้การผลิตมันสำปะหลังในบางท้องที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน เช่น เกษตรกรมีความต้องการรายได้เร็วขึ้น หรือต้องการใช้พื้นที่ในการปลูกพืชหมุนเวียน ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตรจึงตั้งเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง เปอร์เซ็นต์แป้งสูง เมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือน ซึ่งโดยปกติมันสำปะหลังจะเก็บเกี่ยวได้ที่อายุ 11-12 เดือน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังได้เร็วขึ้น และให้ผลตอบแทนต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและปรับปรุงมันสำปะหลังเพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นไม่เกิน 8 เดือน และให้ผลผลิตแป้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และระยอง 72 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ในปี 2545 จนได้มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการพิจารณารับรองเป็นพันธุ์ล่าสุดจากกรมวิชาการเกษตรเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2562 ใช้ชื่อว่า "มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15" มีลักษณะเด่น คือ มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุ 8 เดือน และเมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือนมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15 ยังให้ผลผลิตหัวสดสูงถึง 4_632 กก./ไร่ ให้เปอร์เซ็นต์แป้งสูง 29.2 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลผลิตแป้งสูง 1_355 กก./ไร่ ซึ่งสูงกว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50
มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15 ได้จากการผสมเปิดของพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ซึ่งเป็นพันธุ์แม่ที่ให้ผลผลิตสูงและปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง หลังจากผ่านการคัดเลือกพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้นที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง แล้วได้นำไปปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐานและประเมินผลผลิตที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ตลอดจนไร่เกษตรกรจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญของประเทศรวม 16 จังหวัด
"ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองมีความพร้อมของพันธุ์ที่นำไปปลูกขยายต่อในแปลงของเกษตรกรในปี 2562 ได้ท่อนพันธุ์ประมาณ 50_000 ท่อน สามารถปลูกได้ในพื้นที่จำนวน 25 ไร่ และในปี 2563 คาดว่าจะได้ท่อนพันธุ์ประมาณ 250_000 ท่อน เพื่อใช้ปลูกในพื้นที่จำนวน 125 ไร่ เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อขอรอรับพันธุ์มันสำปะหลังระยอง 15 ได้ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-3868-1514 ถือเป็นการมอบของขวัญให้เกษตรกร เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจำนวนมากรอพันธุ์ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วมานาน" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
อ้างอิง kaset1009.com |
การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ไม่จำกัดอายุการเก็บเกี่ยว แต่ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบ 8 เดือนขึ้นไป โดยอายุที่เหมาะสมคือ 12 เดือน ไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนตกชุก เพราะจะทำให้มีเปอร์เซนต์แป้งต่ำ การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมีกระบวนการดังต่อไปนี้
- ใช้มีดตัดต้นเหนือระดับพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร - ถอน โดยใช้จอบหรือรถแทรกเตอร์ที่มีอุปกรณ์ชุดพ่วงถ้ายเพื่อขุดหัวมันสำปะหลัง - ตัดส่วนหัวมันสำปะหลังออกจากต้น หรือเหง้า
ข้อควรระวัง - สภาพพื้นที่ปลูกควรดูแลรักษาให้ปราศจากวัชพืช โรค และแมลงอยู่เสมอ - ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรใหม่ สด ไม่บอบช้ำ ปราศจากโรค แมลง และเป็นพันธุ์ที่ไม่ถูกทำลายโดยสารเคมีกำจัดวัชพืช - ผลผลิต (หัวสด) เมื่อเก็บเกี่ยวส่งจำหน่ายไม่ควรมีส่วนของลำต้นและดินปน - หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรรีบส่งจำหน่ายทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 วัน เพราะจะเน่าเสียหาย - การพ่นสารเคมีกำจัดโรค แมลง และวัชพืช ทุกครั้ง ควรมีการป้องกันให้ถูกวิธี
อ้างอิง nstda.or.th/ agritec/cassava-harvest |
ป้องกันและกำจัด โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดกับมันสำปะหลัง
โรคแอนแทรคโนส
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อราในสภาพพื้นที่ ที่มีความชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ในพันธุ์มันสำปะหลังที่อ่อนแอ เช่น ระยอง 72 หรือ ระยอง11 ส่วนพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทาน ยอดจะเหี่ยวแห้งตายลงมาทำให้เกิดมีการเจริญเติบโตของกิ่งหรือยอดใหม่ น้ำหนักผลผลิตจะลดลงหรือเก็บเกี่ยวล่าช้า ผลผลิตจะเสียหาย 30 – 40%
ลักษณะอาการ
ใบจะมีไหม้สีน้ำตาล ขยายตัวเข้าสู่กลางใบ มักปรากฏกับใบที่อยู่ล่าง ในตัวแผลบนใบจะมีเม็ดเล็กๆ สีดำขยายตัวไปตามขอบของแผลอาการไหม้ ส่วนก้านใบ อาการจะปรากฏในส่วนโคนก้านใบ จะเป็นแผลสีน้ำตาลขยายตัวไปตามก้านใบ ทำให้ก้านใบมีลักษณะลู่ลงมาจากยอด หรือตัวใบจะหักงอจากก้านใบ เกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งได้ ส่วนลำต้นและยอด แผลที่ลำต้นจะเป็นแผลที่ดำตรงบริเวณข้อต่อกับก้านใบและมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม แผลจะขยายตัวไปสู่ส่วนยอดทำให้ยอดเหี่ยวแห้งลงมา
การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ต้านทาน - การใช้ท่อนพันธุ์ปลอดโรค - ปลูกพืชหมุนเวียน - ไถกลบเศษซากมันสำปะหลังลึก ๆ ช่วยลดประชากรเชื้อโรคในดินได้
ข้อมูลอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/409
สินค้าแนะนำจากฟาร์มเกษตร
ไอเอส สารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้งเชื้อรา อัตราส่วนการใช้ 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง เพื่อป้องกันและยับยั้งการระบาดของโรคพืชต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง) |
กำจัดเพลี้ยด้วย แมลงช้างปีกใส กำจัดเพลี้ย เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนเพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ ไรแดง แมลงหวี่ขาว แมลงช้างปีกใสจัดการเรียบ
ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง แมลงช้างปีกใส
ชื่อทั่วไป : แมลงช้างปีกใส (Green lacewing) วงศ์ (Family) : Chrysopidae อันดับ (Order) : Neuroptera
เป็นแมลงห้ำที่มีบทบาทในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส เป็นตัวห้ำที่กินศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่นเพลี้ยอ่อย เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนเพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ไรแดง ไร 2 จุด และตัวอ่อนแมลงหวี่ขาว เป็นต้นทำให้แมลงช้างปีกใสเป็น เป็นตัวห้ำสำคัญที่ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชในแปลงเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในประเทศ
ตัวเต็มวัยเพศเมีย หลังจากผสมพันธุ์ 2-3 วัน ก็จะเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่ใช้เวลา 3-4 วัน ระยะตัวอ่อนมี 3 วัย ตัวอ่อนวัยที่ 1_ 2 และ 3 ใช้เวลา 4-5 วัน 3-4 วัน และ 3-5 วัน ตามลําดับ รวมระยะตัวอ่อน 11-13 วัน ระยะดักแด้ 9-11 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้มีอายุ 14-30 วัน สําหรับเพศ เมียมีอายุ 19-58 วัน เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 180-345 ฟอง
วงจรชีวิตของแมลงช้างปีกใส
รูปร่างลักษณะ
ไข่ มีลักษณะเป็นทรงยาวรี ขนาดเล็ก ความยาวเฉลี่ย 0.98 มิลลิเมตร ความกว้างเฉลี่ย 0.24 มิลลิเมตร เป็นฟองเดี่ยวๆ อยู่บนก้านสีขาวใส วางเป็นระเบียบเป็นแถวรอบใบพืช ไข่วางใหม่ๆ มีสีเขียวอ่อน เมื่อใกล้ฟักจะเปลี่ยนเป็นสีเทาดํา เมื่อฟักแล้วจะเป็นสีขาว มีอายุประมาณ 3-4 วัน
ตัวอ่อน มีลักษณะลําตัวกลมแบน เห็นชัดเจนในระยะที่ 3 โดยรอบลําตัวมีปุ่มขน ปากมีกรามโค้งยาวยื่นไปด้านหน้าคล้ายเคียว ใช้ดูดกินเหยื่อ เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนวัยที่ 1 จะเป็นตัวห้ำทันที มีการลอกคราบเปลี่ยนวัย ตัวอ่อนทั้งหมด 3 วัย
ตัวอ่อนวัยที่ 1 เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีน้ำตาลอ่อน ลําตัวเรียวเล็ก ว่องไว จะไต่ลงมาทางก้านชูไข่ ความยาวลําตัวเฉลี่ย 1.56 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 0.48 มิลลิเมตร
ตัวอ่อนวัยที่ 2 รอบลําตัวเริ่มมีซากของเพลี้ยแป้งเกาะ ความยาวลําตัวเฉลี่ย 3.25 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 2.32 มิลลิเมตร
ตัวอ่อนวัยที่ 3 ขนาดลําตัวโตอย่างรวดเร็วเห็นได้ชัดกว่าระยะอื่นๆ กินอาหารเก่ง รอบลําตัวมีผงแป้งเกาะ คล้ายเพลี้ยแป้งมาก ความยาวลําตัวเฉลี่ย 7.23 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 3.40 มิลลิเมตร
ดักแด้ มีรูปร่างกลม ตัวอ่อนวัย 3 จะขดตัวสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมลําตัว จะเข้าดักแด้ติดกับใบพืช ความกว้างของดักแด้โดยเฉลี่ย 3.02 มิลลิเมตร ความยาวโดยเฉลี่ย 4.67 มิลลิเมตร
ตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ เป็นปีกแบบบางอ่อน (membrane) เนื้อปีกใส มีเส้นปีกจํานวนมาก ลําตัวสีเขียวอ่อน เพศผู้ มีสีลําตัวจางกว่าเล็กน้อย และตัวเล็กกว่าเพศเมีย ความกว้างลําตัวเพศเมีย เฉลี่ย 2.25 มิลลิเมตร ความยาวลําตัว โดยเฉลี่ย 10.53 มิลลิเมตร ความกว้างลําตัวเพศผู้เฉลี่ย 1.55 มิลลิเมตร ความยาวลําตัวโดยเฉลี่ย 10.01 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีกลิ่นเฉพาะตัวค่อนข้างแรง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/455 |
|
|
|
กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3,
นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)
กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอส3ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งมาคากับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอกี้-บีทีกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งFK-T 250ซีซี กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง
สั่ง อินเวท กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง เมทาแลคซิล กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง คาร์รอน กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง แม็กซ่า กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|