[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3589 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 358 หน้า, หน้าที่ 359 มี 9 รายการ

การป้องกันกำจัด โรค แอนแทรคโนส กุหลาบ
การป้องกันกำจัด โรค แอนแทรคโนส กุหลาบ
โรคแอนแทรคโนสกุหลาบ สาเหตุเกิดจากเชื้อ รา Colletotrichum gloeosporioides Penz. อาการบนใบเป็นแผลรูปไข่ สีน้ําตาล เข้มเป็นวงซ้อนๆกันหลายชั้น แผลมักเริ่มเกิดจากปลายใบ หรือกลางใบ ขอบแผลมีสี เหลืองอ่อนๆ แผลอาจลุกลามไปที่ก้านใบ ก้านดอก และกิ่งได้
อ่านที่ http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3859
อยากทำน้ำพริกขายเริ่มต้นอย่างไรดี
อยากทำน้ำพริกขายเริ่มต้นอย่างไรดี
ผู้ประกอบการรายย่อย
หรือคนที่อยากเริ่มทำธุรกิจเป็นของตนเองหลายคนมักบอกว่า ตนเองหรือครอบครัวหรือมีญาติของตนเองทำน้ำพริกอร่อย มีสูตรเฉพาะไม่เหมือนใคร ทำให้ใครทานทุกคนก็ติดใจและมีแต่คนแนะนำให้ทำขาย แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เนื่องจากที่ผ่านมาเคยแต่ทำทานเองในบ้านหรือทำแจกเพื่อนฝูง ไม่มีสูตรชัดเจน ใช้กะๆดูเอา หรือใช้วิธีชิมๆเอา ไม่เคยรู้ว่าเก็บได้กี่วัน เก็บไว้นานๆไม่รู้ว่าคุณภาพเป็นอย่างไร จึงขอแนะนำสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นประกอบอาชีพทำน้ำพริกขาย ให้สามารถนำไปประยุกต์ได้กับน้ำพริกทุกประเภท โดยขอยกตัวอย่างเป็นน้ำพริกแดงที่ใส่ปลาย่าง หรือบางคนเรียกว่าน้ำพริกปลาย่างก็ได้

น้ำพริกแดง หรือน้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกปลาย่าง หรือน้ำพริกเผา เป็นน้ำพริกที่มีรสเผ็ดและมีเนื้อค่อนข้างแห้งทำให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้เป็นเวลานาน จึงเหมาะสำหรับเวลาเดินทางไกลหรือไปเที่ยว หรือซื้อเป็นของฝาก

ในการทำอาหารเพื่อการจำหน่าย ผู้ประกอบการจะต้องมีสูตรการผลิตที่ชั่งตวงวัดที่เป็นมาตรฐาน และมีขั้นตอนการผลิตเรียงตามลำดับก่อนหลังเป็นขั้นตอน

วิธีบรรจุน้ำพริก
ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีบรรจุน้ำพริกโดยใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกที่ทนความร้อน เพื่อจำหน่ายและให้สามารถเก็บไว้ได้นาน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรจุขวดและให้ความร้อนฆ่าเชื้อ
1. หม้อนึ่งหรือลังถึงเพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อ
2. ทัพพีสำหรับบรรจุน้ำพริกลงขวดที่ผ่านการลวกน้ำร้อน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว
3. ขวดพร้อมฝาสำหรับบรรจุ

วิธีบรรจุ
1. ทำความสะอาดขวดแก้วและฝาที่จะใช้บรรจุโดยการนึ่งในลังถึงด้วยการเรียงฝาและขวดแก้ว หรือขวดพลาสติกที่ทนความร้อนคว่ำวางบนลังถึง แล้วนำไปนึ่งบนน้ำต้มเดือด นานประมาณ 5-10 นาที ยกลงมาผึ่งให้แห้งสนิทก่อนนำไปบรรจุน้ำพริก
2. ใช้ทัพพีที่ลวกน้ำร้อนทิ้งให้แห้งก่อนนำมาตักน้ำพริกที่ผัดแล้ว บรรจุลงในขวดเว้นที่ว่างต่ำจากขอบด้านบนปากขวดประมาณ 1 นิ้ว หากขวดเลอะให้เช็ดปากขวดให้สะอาด ด้วยกระดาษทิชชู่ที่สเปร์ด้วยแอลกอฮอล์
3. ปิดฝาให้แน่น นำขวดน้ำพริกไปเรียงในลังถึง แล้วไปนึ่งบนน้ำเดือดนาน 15-30 นาที (ขึ้นกับขนาดขวด) เมื่อครบตามเวลาปิดไฟนำขวดออกมาตั้งทิ้งไว้ให้เย็นสนิท
4. เช็ดขวดรอบนอกให้แห้ง เก็บไว้ในที่อากาศเย็น ไม่อบอ้าว ห่างจากแสงสว่าง ปิดฉลากแสดงชื่อแสดงวันผลิตหรือวันหมดอายุและรายละเอียดของน้ำพริกนั้น ๆแล้วนำออกจำหน่าย

วิธีเก็บรักษาน้ำพริก
น้ำพริกทุกชนิดที่ผ่านการนึ่งหรือต้มทั้งขวดเพื่อฆ่าเชื้อด้วยความร้อน จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น โดยสามารถเก็บในสภาวะปกติได้นานกว่า 6 เดือนขึ้นไป แต่หลังเปิดฝาขวดใช้งานแล้วควรจัดเก็บในตู้เย็น และไม่ควรเก็บนานกว่า 1 เดือน โดยเฉพาะน้ำพริกประเภทที่มีน้ำมากควรรับประทานให้หมดภายใน 1 สัปดาห์หลังเปิดขวด

น้ำพริกที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในการผลิต โดยทั่วไปอายุการเก็บรักษาของน้ำพริกประเภทแห้ง เช่น น้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกปลาย่าง จะเก็บได้นานกว่าน้ำพริกประเภทที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก โดยปกติแล้วน้ำพริกประเภทแห้งจะเก็บได้ประมาณ 5-10 วัน ในอุณหภูมิห้อง แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นสามารถเก็บได้ประมาณ 1-2 เดือน

ถ้าไม่ผ่านการฆ่าเชื้อสำหรับน้ำพริกที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากเช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องและน้ำพริกปลาทู จะไม่สามารถในสภาพปกติได้ จะต้องรับประทานภายในวันเดียว ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้ไม่เกิน 15 วัน ถ้าเกินกว่านี้ ก็จะมีกลิ่นบูดเน่า รับประทานไม่ได้ ดังนั้นน้ำพริกที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากจึงนิยมทำขายกันสดๆ เพราะจะได้น้ำพริกที่มีรสชาติดีอร่อย

การเข้าสู่อาชีพการทำน้ำพริก
การเข้าสู่อาชีพ "การทำน้ำพริก" ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบตนเองว่ามีความพร้อมในการประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใด เช่น ความสนใจ เงินทุน สูตรและฝีมือในการปรุงอาหาร
2. มีความรู้ความสามารถและใจรักในการประกอบอาชีพการทำน้ำพริกชนิดต่างๆ มากน้อยเพียงไร รวมถึงความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคแต่ละท้องถิ่นว่า มีรสนิยม และความชอบเป็นอย่างไร
4. มีความตั้งใจจริงและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยเลือกใช้แต่วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ และใส่ใจในการเรื่องความสะอาดในทุกขั้นตอนการผลิต

วิธีการขอเลข อย.
อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )
6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท
7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุ สถานที่ผลิต_บรรจุ_เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร
1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7-19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3_000 บาท
2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5_000 บาท
3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5-91 แรงม้า 6_000 บาท
4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10-24 แรงม้า 7_000 บาท
5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25-49 แรงม้า 8_000 บาท
6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10_000 บาท
สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)

หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)
1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP

สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่
4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.)
ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ_อาหาร ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่สนใจ ตรวจฉลากโภชนาการของอาหาร ตรวจ บรรจุภัณฑ์ สารปนเปื้อน สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://www.farmkaset..link..
มาเด้อกินข้าว
มาเด้อกินข้าว "ลูกอิสาน" กินข้าวเหนียว กับอู๋ปลา ผักกระถินริมรั่ว ถั่วฝักยาว

มาเด้อกินข้าว "ลูกอิสาน" กินข้าวเหนียว กับอู๋ปลา ผักกระถินริมรั่ว ถั่วฝักยาวและต้มหน่อไม้ตามคันนาคร่าาา..กินก่อนลุยงานวันจันทร์ที่วุ่นวาย..

พอฝนตกก็มีปลาทันที..^0^

อ่าน:3858
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง มะม่วงใบหงิก บิดงอ กำจัดเพลี้ยด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง มะม่วงใบหงิก บิดงอ กำจัดเพลี้ยด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง มะม่วงใบหงิก บิดงอ กำจัดเพลี้ยด้วย มาคา
ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ดอกแห้งและร่วงหล่น ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยง จะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียกเยิ้ม หลังจากนั้นตามใบ ช่อดอก จะถูกปกคลุมโดยเชื้อราดำ ถ้าปกคลุมมากก็จะกระทบกระเทือนต่อการสังเคราะห์แสง ใบที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงในระยะเพสลาด (ใบกึ่งอ่อนกึ่งแก่) ใบจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบ ตามขอบใบจะมีอาการปลายใบแห้ง

มาคา เป็นสารอัลคาลอยด์ ป้องกันและกำจัด เพลี้ย แมลงศัตรูพืช สกัดจากพืช 5 ชนิด ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า เลือก มาคา https://www.lazada.co.th/..

อ่าน:3856
รู้หรือไม่? ปลานิล ปลาทับทิม ที่เราได้ทานกันทุกวันนี้ มีที่มาอย่างไร
รู้หรือไม่? ปลานิล ปลาทับทิม ที่เราได้ทานกันทุกวันนี้ มีที่มาอย่างไร
จาก “ปลานิล” สู่ “ปลาทับทิม” อีกปลาเศรษฐกิจของคนไทย
“ปลานิล” เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพในองค์พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ถวายปลานิล จำนวน 50 ตัว เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2508 และโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นที่มาของชื่อ ปลานิลจิตรลดา

ต่อมาทรงพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมง จำนวน 10_000 ตัว เมื่อวันที่ 17 มี.ค.2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น เลี้ยงง่าย โตเร็ว กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็กๆ

รวมทั้งมีขนาดลำตัวใหญ่ ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างงานให้คนไทยนับล้าน และเป็นโปรตีนราคาถูกให้พสกนิกรทั่วประเทศของพระองค์ได้บริโภค

นอกจากปลานิลสายพันธุ์ทั่วไปแล้ว ยังมีปลาที่มีลักษณะคล้ายปลานิลแต่มีสีแดง ซึ่งปัจจุบัน เกษตรกรโดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือ ได้ทำการเพาะเลี้ยงปลานิลควบคู่ไปกับปลานิลสีแดง โดยมีการพบครั้งแรกในราวปี2511 ที่จ.อุบลราชธานี โดยนักวิชาการประมงของสถานีประมงจังหวัดอุบลราชธานีและเกษตรกรในจังหวัดนั้น ได้ปลานิลแดงปะปนอยู่ในบ่อเลี้ยงปลานิล

นักวิชาการประมงประจำสถานีฯ จึงได้ทำการคัดเลือกปลานิลที่มีสีแดงทั้งตัวแยกเพาะเลี้ยงไว้ต่างหากจากปลานิลพันธุ์ปกติ โดยในขณะนั้นยังไม่มีการศึกษาด้านพันธุกรรมของปลานิลชนิดนี้

ต่อมาในปี2525 กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ ได้นำลูกปลานิลสีแดงขนาด 2–3 เซนติเมตร จำนวน 1_000 ตัว จากสถานีประมงจังหวัดอุบลราชธานีมาเลี้ยงไว้เพื่อทำการคัดพันธุ์และศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรม ภายใต้โครงการ “พันธุกรรมปลา” ในปี 2527 กรมประมงได้ส่งตัวอย่างปลานิลแดงนี้ไปตรวจสอบพันธุ์ ณ มหาวิทยาลัยสเตอร์ริง สหราชอาณาจักรและมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

จากการศึกษาสายพันธุ์โดยการวิเคราะห์ในระดับโปรตีนที่ถูกควบคุมด้วยยีนบางชนิดพบว่า ปลานิลแดงเป็นปลาลูกผสมระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามมกุฏราชกุมารี ได้ทรงพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิลสีแดง” แต่มักจะเรียกกันว่า “ปลานิลแดง”

ส่วน “ปลาทับทิม” เป็นการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลโดยภาคเอกชนคือเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยซีพีเอฟทำการพัฒนาสายพันธุ์ปลาตามแนวพระราชดำริด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช่การตัดแต่งพันธุกรรม ด้วยการนำปลานิลแดงมาพัฒนาต่อ โดยผสมข้ามสายพันธุ์กับปลานิลแดงที่มีลักษณะเด่นมากในด้านต่างๆจากหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิสราเอลและไต้หวัน

โดยทำการปรับปรุงสายพันธุ์ทางด้านคุณภาพ ความต้านทานโรค ลักษณะเนื้อและรสชาติให้ดีขึ้นด้วยวิธีตามธรรมชาติ กระทั่งได้ปลาเนื้อพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะภายนอกโดดเด่นคือสีของเกล็ดและตัวปลาที่มีสีแดงอมชมพู และสามารถเลี้ยงให้เติบโตได้ดีในน้ำที่มีความเค็ม

เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานนามปลาชนิดใหม่นี้ว่า “ปลาทับทิม”

กล่าวได้ว่าปลาทับทิมถือกำเนิดขึ้นจากปลานิลจิตรลดาและเกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโดยแท้

ปัจจุบัน “ปลาทับทิม” มีการเพาะพันธุ์จำหน่ายโดยเกษตรกรและบริษัทต่างๆมากมาย มิใช่เพียงเครือเจริญโภคภัณฑ์ และปลาทับทิมก็ได้รับความนิยมทั้งจากเกษตรกร ผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย กลายเป็นปลาเนื้อเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณภาพสูง เป็นปลาของคนไทยที่สามารถสร้างงานสร้างอาชีพ และรายได้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน

อ้างอิง bangkokbiznews.com/ blog/detail/639647
อ่าน:3854
ยาแก้โรคแคงเกอร์ ในมะนาว ยากำจัดเพลี้ย กำจัดหนอน สำหรับมะนาว แก้โรครากเน่า และ ปุ๋ย สำหรับมะนาว
ยาแก้โรคแคงเกอร์ ในมะนาว ยากำจัดเพลี้ย กำจัดหนอน สำหรับมะนาว แก้โรครากเน่า และ ปุ๋ย สำหรับมะนาว
โรคแคงเกอร์ ที่เกิดขึ้นกับมะนาว มีสาเหตุจากเชื้อรา

ลักษณะอาการ จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้ง เป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างธองแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวน ล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด โรคแคงเกอร์ในมะนาว

ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที เพื่อกำจัดหนอน และ ใช้ ไอเอส ผสมฉีดพ่นไปพร้อมกับ เพื่อยับยั้งการลุกลามของ โรคแคงเกอร์

โรคราดำ มะนาว

ลักษณะอาการ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรก กระด้าง ทำให้ผมไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น

การป้องกันกำจัด โรคราดำในมะนาว

ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้ กำจัดแมลง โดยการฉีดพ่น มาคา เพื่อกำจัดแมลงประเภท ปากดูดชึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ รวมถึง ผสม ไอเอส ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อยับยั้งการลุกลาม การระบาดของโรคราดำ

โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว) โรคกรีนนิ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีเพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Diaphorina citri) เป็นพาหะนำโรค

ลักษณะอาการ ใบจะด่างเป็นสีเหลือง หรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม

การป้องกันกำจัด โรคกรีนนิ่ง ในมะนาว

ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ฉีดพ่นด้วย FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุสังกะสีและ แมกนีเชียม สามารถผสม มาคา ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อกำจัดเพลี้ย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5 ด้วยสารปรับสภาพดิน

โรคยางไหล ในมะนาว

ลักษณะอาการ มีอาการยางไหลบริเวญลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกจะเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้

การป้องกันกำจัด โรค มะนาวยางไหล

ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลายเสีย

โรค มะนาวรากเน่า และโคนเน่า

ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะ โคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่น

การป้องกันกำจัด โรครากเน่า โคนเน่า ในมะนาว

อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน

ยาป้องกันกำจัดโรค ยากำจัดเพลี้ย ยากำจัดหนอน ซึ่งใช้ได้กับทุกพืชไร่ พืชสวน ผัก ผลไม้ ที่ปลูกในประเทศไทย

ยาป้องกันและยับยั้ง โรคใบไหม้ โรคเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ยาป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ยาป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งผลผลิต เร่งให้พืชให้ฟื้นตัว จากการเข้าทำลาย ของโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ FK-1

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

นอกจากเราใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชแล้ว เรายังสามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

อ้างอิง sites.google.com/site/ karplukmanaw/ rokh-thi-sakhay-khxng-manaw
อ่าน:3854
มันสำปะหลังผลผลิตต่ำ! เพราะขาดธาตุ สังกะสี เพราะเกี่ยวข้องกับการสร้าง คลอโรฟิลล์ สังเคราะห์โปรตีน ส่งเสริมการใช้ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ฯลฯ
มันสำปะหลังผลผลิตต่ำ! เพราะขาดธาตุ สังกะสี เพราะเกี่ยวข้องกับการสร้าง คลอโรฟิลล์ สังเคราะห์โปรตีน ส่งเสริมการใช้ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ฯลฯ
มันสำปะหลังผลผลิตต่ำ! เพราะขาดธาตุ สังกะสี เพราะเกี่ยวข้องกับการสร้าง คลอโรฟิลล์ สังเคราะห์โปรตีน ส่งเสริมการใช้ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ฯลฯ
ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสังกะสีในมันสำปะหลัง ซึ่งในปัจจุบันเป็นปัญหาของเกษตรกรจำนวนมาก

ความสำคัญของธาตุสังกะสี

เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืช เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะเซติก (LAA) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืช ตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช

ลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีในมันสำปะหลัง

พบเห็นโดยทั่วไปในดินด่าง จะมีลักษณะการยืดต้นช้า พบจุดหรือแถบสีขาว หรือเหลือง บนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่างและอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง

สาเหตุ

- พื้นที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

- ปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน

- ดินมีความเป็นด่างสูง (pH สูง) หรือดินที่มีแคลเซียม (Ca) สูง

- เกษตรกรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว


ข้อแนะนำ

1. ชุบท่อนพันธุ์ด้วยปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ละลายน้ำในอัตรา 0.4 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 15 นาทีก่อนปลูก

2. ปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ละลายน้ำอัตรา 0.8 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบที่อายุ 1_2 และ 3 เดือนหลังปลูก หรือเมื่อต้นมันสำปะหลังแสดงอาการขาดธาตุสังกะสี

อ้างอิง
มูลนิธิสถาบัน พัฒนามันสำปะหลัง แห่งประเทศไทย
kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/348

สินค้าแนะนำจากฟาร์มเกษตร

กู๊ดโซค น้ำยาแช่ท่อนพันธุมันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค สะสมอาหารไว้ในท่อนพันธุ์ เพื่อใช้ในระยะงอก อัตราส่วนการใช้ 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ จุ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนปลูก

FK-1 (มีธาตุ สังกะสีและอื่นๆ) ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง

สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
โรคมะม่วง มะม่วงใบไหม้ แอนแทรคโนสมะม่วง ใบจุดมะม่วง โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
โรคมะม่วง มะม่วงใบไหม้ แอนแทรคโนสมะม่วง ใบจุดมะม่วง โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
โรคราแป้งมะม่วง (Powdery Mildew) สาเหตุ: เชื้อรา Oidium mangiferae Berthet

โรคแอนแทรกโนสมะม่วง (Anthracnose) สาเหตุ: เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides

โรคราดำมะม่วง (Sooty Moulds / Black Mildew) สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Cladosporium sp.

โรคมะม่วงยางไหล มะม่วงกิ่งแห้ง (Gummosis and twig blight) สาเหตุ: เชื้อรา Lasiodiplodia theobromae (Pst.) Griffon & Maubl. (Botryodiplodia theobromae Pal.)

การป้องกันกำจัด

ชุดคู่ป้องกันกำจัด บวกด้วยฟื้นฟูบำรุง

ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัด ยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ โรคใบไหม้ ใบจุด ยอดแห้ง ราสนิม ราน้ำค้าง แอนแทรคโนส ไฟทอปโธร่า

และ FKธรรมชาตินิยม ฟื้นฟู แก้ต้นโทรม ราพืชไม่กินปุ๋ย อาการใบซีด ใบเหลือง ต้นแคระ อาการขาดธาตุอาหารของพืช

โรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ยกตัวอย่างโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น อาการ ใบไหม้ ใบจุด ใบขีดสีน้ำต้าง โรคใบติด ราสนิม ราน้ำค้าง โรคกุ้งแห้ง แอนแทรคโนส ไฟท็อปโธร่า เป็นต้น

ทั้งอาการใบไหม้ และใบเหลือง เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดได้จากโรค และการขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็น รวมถึงการให้น้ำ และการได้รับแสงแดด ซึ่งการพิจารณาสาเหตุนั้น ต้องสังเกตุอาการ และแก้ปัญหาทีละจุด

ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืชต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FKธรรมชาตินิยม แก้ปัญหาโรคพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารพืชต่างๆ และส่งเสริมการเจริญเติบโต ตลอดไปถึง การส่งเสริมผลผลิตพืช

ยกตัวอย่างเช่น

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคเชื้อรา
- โรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคใบขีดสีน้ำตาล จะต่างจากการขาดธาตุที่สังเกตุได้คือ โรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา จะลุกลามไปยังใบไหม้ และลุกลามขยายวงไปยังต้นข้างเคียง
- โรคราแป้ง ราสนิม ราน้ำค้าง มีการลุกลามติดต่อเช่นกัน

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากการขาดธาตุ
- ขาด โพแทสเซียม ที่ใบแก่จะเหลืองซีด ขอบใบมีจุดสีน้ำตาลไหม้
- ขาด แมกนีเซียม ใบจะมีจุดเหลืองทั่วทั้งใบ ที่ปลายใบจะแห้ง
- ขาด สังกะสี ใบจะมีจุดเหลืองคล้ายราสนิม

อาการใบเหลือง ใบซีด ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ใบเหลือง จากการขาดธาตุ ไนโตรเจน
- ใบเหลือง เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอ
- ใบเหลือง เพราะรดน้ำมาก หรือน้อยจนเกินไป
- ใบเหลือง เพราะค่า pH หรือความเป็นกรดด่างของดิน ไม่เหมาะสม
- ใบเหลือง เพราะขาดธาตุเหล็ก
- ใบเหลือง เพราะพืชลดจำนวนคลอโรฟิลล์ เพราะการขาดธาตุรอง หรือธาตุเสริมบางอย่าง

อาการใบไหม้และโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ทุก 3-5 วัน

อาการของพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุต่างๆ ฉีดพ่น FK ธรรมชาตินิยม

หมายเหตุ สามารถ ผสม ไอเอส และ FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปพร้อมกันในคราวเดียว

อัตราส่วนผสม
ไอเอส 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
FKธรรมชาตินิยม 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
สามารถผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
*สำหรับท่านที่พ่นด้วย ฟ็อกกี้ ขนาด 1-2ลิตร ใช้ฝา FKธรรมชาตินิยมตวงประมาณ 2ฝา


การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ลาซาด้า http://www.farmkaset..link..
โรคราดำ (Black mildew)
โรคราดำ (Black mildew)
สาเหตุ -เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Capnodium sp._ Meliola sp.

สาเหตุหลักมาจาก
เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง โดยแมลงจะดูดน้้าเลี้ยงและถ่ายสารคล้ายน้้าหวานออกมาตามใบ ช่อดอก ท้าให้ราด้าขึ้นปกคลุม

ลักษณะอาการ
-ลักษณะเหมือนเขม่าหรือฝุ่นสีด้า
-ขึ้นปกคลุมใบเป็นแผ่นสีด้า ลักษณะคล้ายดาวเป็นแฉกๆ
-เกิดทั้งบนใบ กิ่ง ยอด ช่อดอก และผลอ่อน
-หากราด้าขึ้นปกคลุมดอก จะไม่สามารถผสมเกสรได้
-เมื่อแห้งอาจจะร่วงหลุดเป็นแผ่น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
หนอนบำบัด (Maggot Therapy) ใช้หนอนแมลงวัน รักษาแผลติดเชื้อ
หนอนบำบัด (Maggot Therapy) ใช้หนอนแมลงวัน รักษาแผลติดเชื้อ
หนอนบำบัด (Maggot Therapy) ใช้หนอนแมลงวัน รักษาแผลติดเชื้อ
ใช้หนอนแมลงวัน ทำความสะอาดแผลหนอง หรือแผลเน่าติดเชื้อ มีการบันทึกประสิทธิภาพในการรักษาแผลเน่า ติดเชื้อ โดยหนอนแมลงวัน โดยแพทย์ประจำพระองค์ ในสมัยพระเจ้านโปเลียน ในขณะรักษาทหารที่บาดเจ็บ ในระหว่างสงคราม

1. ประวัติและความเป็นมา

ย้อนไปเมื่อสมัย 1_000 ปีก่อน ชาวอินเดียแดงเผ่ามายาและชาวเจมบาซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองใน New South Wales ประเทศออสเตรเลียได้ใช้หนอนแมลงวัน (Maggot) ในการทำความสะอาดแผลหนองหรือแผลเน่าติดเชื้อโดยพวกเขาได้รับการถ่ายทอดความ รู้นี้มาจากบรรพบุรุษซึ่งสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และในประวัติศาสตร์ก็ได้มีการบันทึกถึงประสิทธิภาพในการรักษาแผลเน่าติด เชื้อโดยหนอนแมลงวัน (Maggot) เมื่อปี 1829 โดยนายแพทย์ Baron Dominic Larrey ซึ่งเป็นหัวหน้าแพทย์และแพทย์ประจำพระองค์ในสมัยพระเจ้านโปเลียนซึ่งพบถึง ประสิทธิภาพนี้ในขณะ ที่ทำการรักษาทหารที่บาดเจ็บในระหว่างสงคราม

ในปี 1929 นายแพทย์ William Baer ศัลยแพทย์ชาวอเมริกันซึ่งเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Johns Hopkins School of Medicine ในรัฐ Maryland ซึ่งนับเป็นผู้ก่อตั้งวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) สมัยใหม่ ได้ทำการศึกษาวิจัยการรักษาด้วยหนอน (Maggot) อย่างจริงจัง โดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์และได้เผยแพร่ความรู้นี้สู่สาธารณชน ส่งผลให้วิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและในช่วงปี ค.ศ. 1940 โรงพยาบาลในอเมริกามากกว่า 300 แห่งได้ใช้วิธีนี้ในการรักษาผู้ป่วยและบริษัท Lederle ซึ่งเป็นบริษัทยาก็ได้ผลิตหนอน (maggot) ออกขายสู่ท้องตลาด ต่อมาได้มีการคิดค้นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Sulfa และ Penicillin ขึ้น ทำให้ maggot therapy เริ่มจางหายไปจากวงการแพทย์

จวบจนกระทั่งในปี 1995 ที่ประเทศเยอรมันก็ได้มีการฟื้นฟูวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) ขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาแผลเรื้อรังซึ่งมีประชากรที่ต้องตกอยู่ในสภาวะนี้ มากกว่า 3 ล้านคนโดยแผลที่เนื่องมาจากเบาหวานนับว่าเป็นอาการที่พบได้บ่อย และสถาบันต่างๆของเยอรมนีเช่น German Diabetis Society (Deutsche Diabetesgesellschaft) และ German Society for Angiology (Deutsche Gesellschaft fuer Angiology) ได้ทำการประเมินขั้นตอนการวินิจฉัยโรค_ การรักษา และภาวะการฟื้นตัวของผู้ป่วย จากโรคเบาหวาน และพบว่าการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) นั้นทำให้ผู้ป่วยประมาณ 10_000 รายไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัดเท้าหรือแขนทิ้งหากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก เริ่มของโรคและจากรายงานทางการแพทย์จากคลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิร์ต ตั้งแต่ปี 1999 คลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิร์ตได้นำลักษณะการบำบัดรักษาด้วยหนอนแมลงวันมาใช้กับการรักษาบาด แผลคนไข้ที่มีการเรื้อรังและไม่สามารถรักษาด้วยวิทยาการทางการแพทย์ปกติได้ ซึ่งหลังจากการนำมาทดลองใช้ดังกล่าวแล้ว พบว่า บาดแผลที่ได้ให้หนอนแมลงวันในการรักษานั้นสะอาดได้เป็นระยะๆ คนไข้ซึ่งได้รับการรักษาบาดแผลโดยวิธีการดังกล่าวนี้เป็นประจำจะพบว่าบาดแผล ของเขาจะสะอาดขึ้นเรื่อยๆและถ้าหากหยุดพักหรือทิ้งช่วงระยะเวลาในการบำบัด ด้วยวิธีดังกล่าว สภาพของบาดแผลก็จะกลับมาแย่อีกครั้ง(1)

2. แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน

Lucilia sericata คือ แมลงวันมีอยู่มากมายหลากหลายสายพันธุ์ โดยประมาณได้ว่ามีมากถึง 120_000 สายพันธุ์ (species_ sp) ทั่วโลก และประมาณ 10_000 sp. ที่สามารถพบได้ในภาคพื้นยุโรป Lucilia sericata เป็น species ที่อยู่ใน genus green bottles (Lucilia) หนอนของแมลงวัน หรือที่มีชื่อเรียกในภาษาละตินว่า Lucilia นั้น มีการนำมาใช้ในการรักษาแผลเรื้อรัง

วิวัฒนาการของแมลงวันเริ่มต้นจากไข่ที่ได้วางไว้บนซากเนื้อแล้ว พัฒนาไปเป็นหนอนแมลงวัน หนอนเหล่านี้จะผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และดูดส่วนที่ย่อยแล้วไปเป็นอาหารซึ่งหนอนแมลงวัน (Maggot) เหล่านี้จะย่อยสลายเฉพาะเนื้อเยื่อที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่กัดกินเนื้อดีดังนั้นการกัดกินแบบลึกๆตามที่เข้าใจนั้นจะไม่พบในสัตว์ ประเภทนี้

หนอนแมลงวันเติบโตได้สูงสุด 12 มิลลิเมตร ภายในเวลา 3-4 วัน หลังจากนั้นก็จะละทิ้งซากเนื้อเพื่อจะพัฒนาไปเป็นดักแด้ในสิ่งแวดล้อมที่ แห้งต่อไป
หลักการที่นำหนอนดังกล่าวมาใช้ในการทำลายเชื้อโรคในบาดแผลเนื้อตาย (Necrosis) ก็คือหนอนจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อย Necrosis (เนื้อตาย) ให้เป็นของเหลวและหลังจากนั้นก็จะดูดกิน Necrosis ที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกายเพื่อเป็นอาหารให้กับตัวมันเอง นอกจากนี้ยังพบว่าเอนไซม์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลและทำให้แผล สะอาด ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของแผล และข้อดีอีกประการหนึ่งของวิธีการดังกล่าวนี้ก็คือการกระตุ้นให้เกิดการ สร้างเสริมเซลล์เนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ (Granulation Tissue)

3. ข้อบ่งชี้ / รายละเอียดในการใช้ : ใช้กับแผลต่างๆ ดังนี้
– Diabetic foot ulcers แผลเนื่องจากโรคเบาหวานบริเวณเท้า
– Decubitus ulcers แผลกดทับจากโรคเบาหวาน
– Ulcers cruris
– MRSA and other wound infections แผลติดเชื้อจาก Staphylococcus aureus และอื่น ๆ
– Necrotizing tumor wounds แผลเนื้อเยื่อตาย
– Necrotizing fasciitis แผลพังผืดอักเสบ
– Burns แผลไหม้
– Thrombangitis obiterans
– Bacterial soft tissue infections และแผลเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆ

4. ระยะเวลาในการใช้(2)
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ ครั้งแรกที่ใช้ แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความใหญ่ของบาดแผลด้วย ทันทีที่บาดแผลสะอาดก็สามารถสิ้นสุดการบำบัดรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวได้

5. ผลข้างเคียง(2_ 3_ 4)
ตามทฤษฎีแล้ว การบำบัดรักษาด้วยวิธีดังกล่าวนี้จะไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ ในบางครั้งอาจจะเกิดเลือดไหลออกที่บริเวณรูขุมขนซึ่งเป็นลักษณะหรือสัญญาณ ที่ดีสำหรับการหล่อเลี้ยงของเลือด ประมาณ 90% ของผู้ที่เคยทดลองวิธีการดังกล่าวนี้จะรู้สึกจั๊กจี้และขยะแขยง

6. ประโยชน์ที่ได้รับคือ(1_ 2_ 3_ 4)

* ลดจำนวนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วอย่างรวดเร็ว
* เพิ่มจำนวนเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่
* ลดจำนวนของเหลวและกลิ่นเหม็นจากแผล
* ลดความเจ็บปวด
* ลดระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
* หลีกเลี่ยงการผ่าตัด
* ลดการใช้ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic)

เขียนโดย : คุณสุวรรณี เอี่ยมคง

เอกสารอ้างอิง

BioMonde Fly Larvae “Optimum Treatment for Chronic Wounds”
Wayman_ J._ Nirojogi_ V._ Walker_A. et al.: The cost effectiveness of larval therapy in Venous ulcers. J ofTiss. Viab. 10(2000) 91-94
Gantz NM_ Tkatch LS_ Makris AT. Geriatric infections. In : APIC Text of Infection Control and Epidemiology. Washington: Association for Professional in Infection Control and Epidemiology_ Inc._ 2000: pp 35-1-13
Sherman_ R.: Maggot versus conservative debridement therapy for the treatment of pressure ulcers. Wound Repair and Regeneration 10 (4) (2002) 208-214

From: http://www.farmkaset..link..
3589 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 358 หน้า, หน้าที่ 359 มี 9 รายการ
|-Page 23 of 359-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 | 358 | 359 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
น้ำท่วม หากต้องการความช่วยเหลือจากทหาร โทรประสานงานได้ที่ นพค.51
Update: 2562/09/01 09:45:15 - Views: 3564
คำนิยม - ลูกค้า มาคา คอมเม้นในโพสสินค้า
Update: 2562/09/25 14:08:43 - Views: 3592
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/31 08:12:06 - Views: 7107
โรคกุ้งแห้ง หรือ โรคแอนแทรคโนสในพริก
Update: 2564/08/28 21:38:15 - Views: 3726
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - เทคโนโลยีเพื่อความรุ่งเรืองและปลอดภัยของลำไย
Update: 2567/02/13 09:53:58 - Views: 3562
ย่อยสลายตอซัง ย่อยสลายฟางข้าว ย่อยสลายตอฟาง รวดเร็วใน 7-10 วัน ลดข้าวดีด คืนความสมบูรณ์ให้กับดิน ไอซีคิท
Update: 2565/04/20 08:34:00 - Views: 3691
อัปเดตสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2568: ผลผลิตเพิ่ม มาตรการรัฐคุมราคา และแนวโน้มตลาดโลก
Update: 2568/03/20 09:26:21 - Views: 367
โรคใบไหม้ ใบจุด ในผักสลัด สร้างเสียหายได้มาก ป้องกันได้อย่างไร?
Update: 2566/10/31 11:55:42 - Views: 3498
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 ปุ๋ยโพแทสเซียม : ตัวช่วยเพิ่มผลผลิตแก้วมังกรของคุณ ขยายขนาดผล เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพผลผลิต
Update: 2567/03/05 09:55:07 - Views: 3578
ปุ๋ยสำหรับมะพร้าว
Update: 2564/05/07 08:10:37 - Views: 3867
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร เพิ่มประสิทธิภาพในทุกช่วงอายุของต้นสตรอเบอร์รี่
Update: 2567/02/13 08:55:28 - Views: 3493
ฟื้นระบบรากและปรับปรุงดินในการปลูกมะเฟือง-ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค
Update: 2567/02/13 09:28:09 - Views: 3610
ยารักษาโรค ไฟทอปธอร่า Phytophthora ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
Update: 2564/08/16 07:37:01 - Views: 3702
โรคราดำกาแฟ มีต้นเหตุจาก เพลี้ย และ เชื้อราสาเหตุ แคบโนเดียม ใช้ มาคา + ไอเอส + FK-1
Update: 2564/08/09 04:42:06 - Views: 3926
มะเขือเทศ โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/03/28 15:42:59 - Views: 3669
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนกระทู้ ใน กล้วย และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:20:06 - Views: 3545
โรคใบไหม้ในหน้าวัว และโรคใบไหม้ใน สาวน้อยปะแป้ง
Update: 2563/11/16 07:16:11 - Views: 4291
โบรชัวร์ ยาอินทรีย์ ยาแก้โรคพืช และกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช จาก ฟาร์มเกษตร
Update: 2563/06/17 21:54:44 - Views: 3540
ประโยชน์ของการปลูกพืชหมุนเวียนในการเกษตร
Update: 2566/01/05 08:34:29 - Views: 3720
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราดำ ในมะนาว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/21 10:03:36 - Views: 3756
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022