[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3505 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 5 รายการ

โรคองุ่นเน่าดำ (Black rot) โรคองุ่น
โรคองุ่นเน่าดำ (Black rot) โรคองุ่น
เชื้อสาเหตุของ โรคเน่าดำองุ่น เกิดจากเชื้อรา Phyllosticta ampelicida องุ่นที่เป็นโรคเน่าดำ จะมีลักษณะอาการ ใบเป็นรูจุดไหม้สีน้ำตาลแดง ตรงกลางแผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม กิ่งจะมีลักษณะปื้นดำเป็นแถบ เนื้อเยื่อบริเวณแผลยุบตัวลงแต่ไม่ลึก มีสีเทา บริเวณแผล มีเม็ดเล็กๆ สีดำ ผลอ่อนเป็นจุดแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเนื้อเยื่อบริเวณแผลยุบตัวลง

การระบาดของ โรคเน่าดำองุ่น ระบาดในสภาพอากาศเย็นและชื้น

การป้องกันกำจัด โรคองุ่นเน่าดำ

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค

2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน

3. งดให้น้ำในช่วงเย็น

4. การใช้สารปลอดภัย

4.1 ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

4.2 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3209
เจาะเทคนิคปลูก “มันเทศ” เชิงพาณิชย์ ทำยังไงให้ผลผลิตสูง ราคาดี
การปลูกมันเทศให้ลงหัวได้ดีนั้น ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เรื่องของโครงสร้างของดิน ถึงแม้ว่ามันเทศจะสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินร่วนปนทรายมีความเหมาะสมที่สุด
สภาพดินที่ปลูกมีผลต่อการลงหัวของมัน หรือรูปทรงของหัวมันในสภาพดินปลูกที่มีโครงสร้างของดินแข็ง ดินแน่น และมีการระบายน้ำไม่ดี ควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะลงมือปลูก สำหรับพื้นที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลวัว มูลไก่ ฯลฯ ในอัตรา 1-2 ตัน หรือใส่ปุ๋ยคอกพร้อมกับการเตรียมแปลงเลย

วิธีการเตรียมแปลงปลูก
ให้ไถดะก่อน 1 ครั้ง และตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน จากนั้นไถพรวนแปลง 1-2 รอบ หรือใช้โรตารี่ติดรถไถตีดินให้ดินมีความละเอียดยิ่งขึ้น หลังจากนั้นให้ยกร่องแปลงปลูกขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 50-80 เซนติเมตร สูง 30-50 เซนติเมตร (ความสูงของแปลงยิ่งมีความสูงยิ่งส่งผลต่อการลงหัวมันดี) ส่วนความยาวของแปลงปลูกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ อย่างสวนคุณลีนั้นจะปลูกแบ่งเป็นแปลงเล็กขนาด 100-400 ตารางเมตร เนื่องจากต้องการปลูกมันเทศหลากหลายสายพันธุ์ให้ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง มีช่วงเวลาขายอย่างน้อย 7-15 วัน จนหมด ก่อนที่มันเทศแปลงต่อๆ ไปจะสามารถขุดขึ้นมาขายต่อ เนื่องจากตอนนี้สวนคุณลี เน้นการขายมันเทศผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ราคา กิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งตรงกับคำพูดที่ว่า “ทำน้อยได้มาก ทำมากได้น้อย” เนื่องจากมีเวลาในการเอาใจใส่ดูแลอย่างทั่วถึง ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีนั่นเอง
การจัดระบบน้ำในแปลงปลูกมันเทศ
โดยปกติทั่วไปสำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันเทศทั่วประเทศมักจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของระบบน้ำในแปลงปลูก ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนอาจจะพึ่งเพียงน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น ถ้าปลูกในฤดูแล้งอาจจะมีการให้น้ำแบบท่วมแปลงบ้างเท่านั้น แต่การปลูกมันเทศสมัยใหม่ควรจะมีการจัดระบบน้ำที่ดี ในแปลงปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศของสวนคุณลี จะมีการวางระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ ซึ่งมีรัศมีกระจายน้ำได้ 3-5 เมตร

เตรียมท่อนพันธุ์มันเทศอย่างไร
ในการตัดท่อนพันธุ์ ควรจะตัดให้มีความยาวราว 30 เซนติเมตร จะไม่ลิดใบทิ้งหรือลิดทิ้งก็ได้ เนื่องจากยอดมันเป็นพืชที่แตกยอดออกมาใหม่ได้ง่าย ถ้าลิดใบทิ้งก็จะทำให้เสียเวลา แต่ยอดมันเทศเมื่อลงปลูกจะตั้งตัวได้เร็วกว่าไม่ลิดใบ เมื่อตัดท่อนพันธุ์มาแล้วควรจะมัดรวมกันเป็นท่อนหรือเป็นกำ เอาใบตองหรือกระสอบปุ๋ยห่อมัดเอาไว้ ควรนำท่อนพันธุ์แช่น้ำยาฆ่าแมลง ในกลุ่ม “คาร์โบซัลแฟน” (เช่น โกลไฟท์) จุ่มแช่ไว้นานราว 5-10 นาที จะช่วยลดเรื่องแมลงที่จะติดไปกับท่อนพันธุ์ได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้น ให้นำมัดท่อนพันธุ์วางไว้ในที่ร่ม รดน้ำ เช้า-เย็น ประมาณ 2-3 วัน ยอดท่อนพันธุ์ก็จะมีรากงอกออกมาตามข้อ แสดงว่าท่อนพันธุ์พร้อมปลูกลงแปลงแล้ว ถ้าจะให้ดี ท่อนพันธุ์มันเทศที่จะตัด ควรจะตัดจากต้นที่มีอายุไม่เกิน 45 วัน หรือก่อนที่จะมีการฉีดพ่นปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อหยุดยอด ในพื้นที่ปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 ไร่ จะใช้ท่อนมันเทศประมาณ 8_000-16_000 ยอด (ขึ้นอยู่กับระยะปลูก)

การปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ
ก่อนที่เกษตรกรจะลงมือปลูก ควรจะมีการให้น้ำในแปลงปลูกอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้ดินมีความชื้นและปลูกได้ง่ายและรวดเร็ว วิธีเตรียมหลุมปลูก แบ่งได้ 3 วิธี คือ ปลูกแบบใช้จอบขุด ปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อน หรือจะปลูกแบบนำท่อนพันธุ์เสียบลงแปลงปลูกเลย พบว่า วิธีปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อนได้ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ เพราะทำได้ง่าย รวดเร็ว ไม่เสียแรงในการขุดดิน และท่อนพันธุ์ไม่ช้ำ

ระยะปลูกระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร หากใช้จอบขุดปลูกบนสันร่อง หลุมที่ปลูกควรมีความลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ควรจะวางยอดท่อนพันธุ์ทำมุม 45 องศา ฝังลึกลงดิน 2-3 ข้อ ของท่อนพันธุ์มันเทศ และให้ข้อโผล่พ้นดินขึ้นมา ประมาณ 2-3 ข้อ หลังจากนั้น กลบดินให้แน่นเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ท่อนพันธุ์โยกคลอน หากปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำ จะปลูกท่อนพันธุ์มันเทศให้เป็นคู่บนสันร่องโดยใช้ไม้แหลมกระทุ้งนำไปก่อน ทำมุม 45 องศา จากนั้นเสียบท่อนพันธุ์ลงดิน 2-3 ข้อ ของท่อนมันเทศ ในพื้นที่ปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 ไร่ จะใช้ท่อนพันธุ์มันเทศ ประมาณ 11_000-12_000 ยอด ซึ่งพบว่าเป็นจำนวนที่ให้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างดี

การให้น้ำมันเทศ…ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากที่ปลูกท่อนมันเทศลงดินไปแล้ว จะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ 3 วันแรก จะต้องให้ทุกวัน เช้า-เย็น ให้ครั้งละประมาณ 1-2 ชั่วโมง (กรณีที่ให้ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์) หลังจากนั้น จะให้น้ำวันเว้นวัน หรือ 3 วัน หรือ 5 วัน หรือ 7 วัน ต่อครั้ง

แต่การให้น้ำนั้นต้องสังเกตจากความชื้นของดินเป็นหลัก เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกในแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน หลังจากมันเทศอายุได้ 2 เดือน ก็จะเริ่มห่างน้ำ เป็นการบังคับทางหนึ่งที่ให้ต้นมันเทศลงหัวได้ดี อาจจะให้เดือนละ 2-4 ครั้ง ตามความเหมาะสมกับสภาพดินของแต่ละพื้นที่ และควรฉีดปุ๋ยทางใบควบคู่กันไป เช่น สูตร 0-52-34 ทุกๆ 10-15 วัน เพื่อให้การลงหัวดีมากขึ้น

อายุการเก็บเกี่ยวมันเทศ ความจริงแล้ว อายุการเก็บเกี่ยวมันเทศเกือบทุกสายพันธุ์ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 100-140 วัน หลังจากปลูกท่อนพันธุ์ลงไป ในขณะเดียวกันมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เช่น ฤดูกาลปลูก ความสมบูรณ์ของต้น สายพันธุ์ที่ปลูก เป็นต้น จากตัวเลขในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศทุกสายพันธุ์ในแปลงปลูกของสวนคุณลี ถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดี จะให้ผลผลิตได้เฉลี่ย 3_000-4_000 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่

วิธีการปลูกมันเทศในถุงพลาสติกและกระถางบริโภคในครัวเรือน สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ในปัจจุบันนี้ การปลูกมันเทศในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ ได้มีการนำพันธุ์มันเทศจากต่างประเทศมาปลูกในเชิงพาณิชย์กันมากขึ้น อาทิ มันเทศเนื้อสีเหลือง เนื้อสีม่วงและเนื้อสีส้ม จากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น โดยแต่ละสายพันธุ์ล้วนมีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกัน จากข้อมูลพบว่า “มันเทศเนื้อสีส้ม” เป็นแหล่งของสารเบต้าแคโรทีน เมื่อรับประทานแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ จะช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาบอดกลางคืน ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง นอกจากนั้น ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย และใน “มันเทศเนื้อสีม่วง” จะมีสารแอนโทไซยานินสูง มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลดอัตราเสื่อมของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ยับยั้งเชื้ออีโคไลซึ่งเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษและท้องร่วง ที่สำคัญเป็นมันเทศที่มีรสชาติอร่อย

อย่างกรณีของ มันเหลืองญี่ปุ่น ปัจจุบันมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศและนำมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคคนไทยในราคาไม่ต่ำกว่า กิโลกรัมละ 100 บาท ทาง “สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้นำมันเทศสายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งจะเน้นสายพันธุ์จากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ประมาณ 10 สายพันธุ์ เข้ามาปลูกในเชิงการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร จนประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ให้ผลผลิตและรสชาติหวานตรงตามสายพันธุ์ สามารถจำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 80-100 บาท ออกจากสวน

นอกจากการปลูกมันเทศในแปลงที่มีการเตรียมดินและระบบน้ำที่ดี ได้มีการประยุกต์วิธีการปลูกในรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือน มีพื้นที่น้อย อยู่ในบ้านจัดสรรหรือปลูกเพื่อเป็นรายได้เสริม ด้วยการ “นำมาปลูกในพื้นที่จำกัด” เช่น ถุงพลาสติกดำ กระสอบปุ๋ยเก่า ตะกร้าพลาสติก ยางรถยนต์เก่า วงบ่อปูน ฯลฯ ใช้เวลาปลูกเพียง 3 เดือนครึ่ง ถึง 4 เดือนครึ่งเท่านั้น (ตามอายุเก็บเกี่ยวแต่ละสายพันธุ์) สามารถขุดหัวมาบริโภคหรือจำหน่ายได้

สำหรับวัสดุปลูกที่สำคัญคือ ดินร่วน แกลบดำ แกลบดิบ และปุ๋ยคอกเก่า (หรือประยุกต์ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น) ในอัตราส่วน 1:1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำวัสดุปลูกใส่ในถุงให้เต็มและอัดให้แน่น นำถุงพลาสติกไปวางไว้บริเวณกลางแจ้ง รดน้ำให้ชุ่ม นำยอดมันเทศที่เตรียมไว้ (ตัดยอด ให้มีความยาว 30 เซนติเมตร) ใช้ไม้แหลมแทงดินในถุงให้เป็นรู ให้รูเฉียงประมาณ 45 องศา โดยประมาณ นำยอดปลูกลงไปให้มีความลึก ประมาณ 3-5 ข้อ โดยจำนวนยอดที่จะปลูกลงไป ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของภาชนะที่เลือกใช้ เช่น ถุงดำ ก็จะใช้ยอดพันธุ์มันเทศราวๆ 3-5 ยอด กดดินให้แน่นพอประมาณ ช่วง 7 วันแรก หลังจากที่ปักยอดมันเทศลงไป ควรจะรดน้ำเป็นประจำทุกเช้า (ระวังอย่าปล่อยให้ถุงแห้งขาดน้ำ) หลังจาก 7-10 วัน จะพบว่า ยอดมันที่ปักชำลงไปเริ่มแทงรากออกมาให้เว้นการให้น้ำให้ห่างขึ้นเป็นวันเว้นวัน และห่างเป็น 2-3 วัน ต่อครั้ง ตามความเหมาะสม เมื่อต้นมันเทศมีอายุต้นได้ 45 วัน และพบว่า ใบมันเทศไม่มีอาการเหี่ยวให้เห็น ก็ไม่จำเป็นจะต้องให้น้ำ เนื่องจากการให้น้ำบ่อยๆ จะทำให้ต้นมันเทศมีอาการบ้าใบและไม่ลงหัว การปลูกมันเทศในถุงพลาสติกและมีความต้องการให้มีการลงหัวและรสชาติที่ดี จำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีบ้าง เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ในช่วงแรกใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 เพียง 1 ช้อนชา ทุกๆ 15 วัน และโดยเฉพาะเมื่อต้นมันเทศมีอายุครบ 2 เดือน เป็นช่วงของการลงหัว ควรจะใส่ปุ๋ยเคมีที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 16-16-16 หรือ สูตร 13-13-21 ฯลฯ เพื่อให้หัวมันเทศใหญ่ มีรสชาติหวานตามสายพันธุ์ ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมันเทศ อายุต้นจะต้องเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 100-140 วัน โดยอาจจะสุ่มขุดดูว่าหัวมันเทศมีขนาดที่เราต้องการนำมาบริโภคได้หรือยัง

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3059
สารสกัดกระชายขาว ต้าน COVID-19
ความสำเร็จเบื้องต้น พบว่า “สารสกัดกระชายขาว” มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 ในหลอดทดลอง นักวิจัย ม.มหิดล เร่งพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรค COVID-19 คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการวิจัยและพัฒนาให้สำเร็จ โดยโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS

http://www.farmkaset..link..
# http://www.farmkaset..link..



อ่าน:3070
โรคราแป้งองุ่น (Powdery mildew)
โรคราแป้งองุ่น (Powdery mildew)
เชื้อรา Oidium tuckeri เป็นเชื้อราสาเหตุของ โรคราแป้งองุ่น ลักษณะอาการ จะเป็นขุยแป้งขี้เถาสีขาว เกิดบนใบ กิ่ง และผล การระบาด จะระบาดในช่วงปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัดโรคราแป้งองุ่น

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค

2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน

3. การใช้สารปลอดภัย

3.1 ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

3.2 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3040
นกชนหิน ( Helmeted Hornbill , Rhinoplax vigil)
นกชนหิน ( Helmeted Hornbill , Rhinoplax vigil)
นกชนหิน ( Helmeted Hornbill , Rhinoplax vigil)
ลักษณะและอุปนิสัย: นกชนหิน มีขนาด 120 เซนติเมตร เป็นนกเงือกชนิดเดียวที่มีโหนกแข็งตันคล้ายงาช้างสีแดงคล้ำ ขนตามตัวสีน้ำตาลเข้ม ท้องขาวนวล หางขาวมีแถบดำพาดขวางคล้ายหางนกกก มีขนหางยาวพิเศษ 2 เส้น ซึ่งยาวเกินส่วนหางออกไปถึง 50 เซนติเมตร ขอบปีกขาว ปากสั้นแข็งสีแดงคล้ำ ปลายปากสีเหลือง ตัวผู้มีหนังเปลือยบริเวณคอสีแดงคล้ำ ตัวเมียส่วนนี้เป็นสีฟ้าอ่อนจนถึงสีน้ำเงิน ตัววัยรุ่น ตัวผู้บริเวณคอสีแดงเรื่อตัวเมียส่วนนี้มีสีม่วง โหนกมีขนาดรูปมนสีน้ำตาลแดง ขนหางยังไม่เจริญเต็มที่

นกชนหินปกติหากินระดับยอดไม้ ตัวผู้จะร้องเสียงดังมาก ตุ๊ก…ตุ๊ก… ทอดเป็นจังหวะ ร้องติดกันยาว เสียงร้องกระชั้นขึ้นเป็นลำดับ เมื่อสุดเสียงจะคล้ายกับเสียงหัวเราะ ประมาณ 4-5 ครั้ง เมื่อตกใจจะแผดเสียงสูงคล้ายเสียงแตร เมื่อต่อสู้กันจะบินเอาโหนกชนกันกลางอากาศทำให้เกิดเสียงดัง

อาหาร: นกชนหิน อาหารหลัก ได้แก่ ลูกไทร ส่วนอาหารจำพวกสัตว์ นอกจากแมลงต่างๆ แล้วนกชนหินยังล่าสัตว์อื่นๆ เช่น กิ้งก่า กระรอก และนกด้วย

การทำรังและเลี้ยงลูก: นกชนหิน จะเริ่มปิดปากรังเดือนมีนาคม-เมษายน ลูกนกออกจากรังราวเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม พบลักษณะรังจะพิเศษกว่านกเงือกชนิดอื่นๆ คือ รังจะเป็นปุ่มปมยื่นออกมา ทำรังในต้นตะเคียน กาลอ ตอแล พฤติกรรมการเลี้ยงลูกเป็นแบบ พ่อนกเลี้ยงเพียงตัวเดียว โดยพ่อนกจะหาอาหารมาเลี้ยงลูกนกและแม่นก และจะเลี้ยงลูกได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3031
หนอนคอรวงข้าว หากปีที่แล้วเคยระบาด ปีนี้ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
หนอนคอรวงข้าว หากปีที่แล้วเคยระบาด ปีนี้ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
หนอนกระทู้คอรวง Mythimna separata (Walker) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลอ่อน แทรกสีน้ำตาลแดง ปีกกว้างประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มตามกาบใบและลำต้นหรือฐานของใบที่ม้วน ไข่ไม่มีขนปกคลุม วางไข่เป็นกลุ่มๆละประมาณ 100 ฟอง ระยะไข่นาน 6-8 วัน หนอนที่ฟักออกใหม่กัดกินใบหญ้าอ่อนจนอายุประมาณ 15 วัน จึงเริ่มกัดกินใบและรวงข้าว ระยะหนอนประมาณ 25-30 วัน หนอนมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว้างประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.8 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน หนอนเข้าดักแด้ที่โคนกอข้าวหรือตามรอแตกของดิน ดักแด้มีสีน้ำตาลแดง ระยะดักแด้ 10-12 วัน

หนอนกระทู้คอรวง(rice ear-cutting caterpillar)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mythimna separata (Walker)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น :หนอนกระทู้ควายพระอินทร์

ลักษณะการทำลายของ หนอนกระทู้คอรวงข้าว

หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดกินส่วนคอรวงหรือระแง้ของรวงข้าวที่กำลังจะ สุก(rippening stage) ทำให้คอรวงขาด สามารถทำลายรวงข้าวได้มาถึง 80% โดยลักษณะการทำลายคล้ายหนอนกระทู้กล้า มักเข้าทำลายต้นข้าวช่วงกลางคืนหรือตอนพลบค่ำถึงเช้าตรู่ กลางวันอาศัยตามใบหรือโคนต้นข้าวหรือวัชพืชตระกูลหญ้า หนอนจะกัดกินต้นข้าวทุกวันจนกระทั่งเข้าดักแด้ พบระบาดมากหลังน้ำท่วมหรือฝนตกหนักหลังผ่านช่วงแล้งที่ยาวนานแล้วตามด้วยฝน ตกหนัก การทำลายจะเสียหายรุนแรง จนชาวนาเรียกกันว่า “ หนอนกระทู้ควายพระอินทร์”

การป้องกันกำจัดหนอนกระทู้

1. กำจัดวัชพืชรอบๆ แปลงนา

2. ฉีดพ่น ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ปลอดสารพิษ สำหรับป้องกันกำจัดหนอนต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

3. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://farmkaset..link..
อ่าน:3143
โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew) - โรคองุ่น
โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew) - โรคองุ่น
โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew) เกิดจากเชื้อ Plasmopara viticola โดยอาการที่แสดงให้เห็นนั้น จะเป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบองุ่น ด้านบนใบจะเห็นเป็นสีเหลืองเป็นจ้ำๆ ถ้าเป็นรุนแรงใบจะไหม้ ช่อดอกและผลอ่อนเหี่ยวแห้ง

การระบาดของโรคราน้ำค้างองุ่น : ระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างองุ่น :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค

2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน

3. งดให้น้ำในช่วงเย็น

4. ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

5. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด
อ่าน:3416
โรคพริกใบจุด
โรคพริกใบจุด
อาการใบจุดของพริก เกิดจากเชื้อรา จะพบแผลแห้งเป็นจุดกระจายบนใบแผลมีขนาดใกล้เคียงกัน โดยอาจจะเกิดเป็นแผลกลม หรือแผลเหลี่ยม ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีจำนวนแผลมาก และลามติดต่อกันและทำให้ใบแห้ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา และบัคเตรี

- ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3389
โรคกิ่งแห้ง ทุเรียนกิ่งแห้ง
ทุเรียน มีอาการ กิ่งแห้ง บริเวณกิ่งมีเชื้อราสีขาวเจริญเป็นหย่อมๆ ใบที่ติดปลายกิ่งมีสีเหลืองและร่วงไป ซึ่งถ้ามองเผินๆ เกษตรกรอาจจะคิดว่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า พาลมิวอร่า สาเหตุเดียวกับโรครากเน่าโคนเน่า

แต่นักวิจัยทดลองแยกเชื้อ ได้เชื้อราฟิวซาเรียม โซลาไน (Fusarium solani) และเมื่อปลูกเชื้อกลับเข้าไปที่ต้นกล้าทุเรียน อายุ 5 เดือน พบบริเวณกิ่งเกิดอาการเช่นเดิม จึงสรุปออกมาว่า เชื้อราฟิวซาเรียม โซลาไน เป็นเชื้อสาเหตุโรคกิ่งแห้งทุเรียน ซึ่งตอนนี้ระบาดมากแถวจังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพบได้ในเขตจังหวัดจันทบุรีเช่นกัน

เชื้อราตัวนี้ เมื่อเข้าทำลายบริเวณกิ่ง จะทำให้ท่อลำเลียงน้ำและอาหารถูกทำลาย น้ำจากรากที่ถูกลำเลียงขึ้นมาไปเลี้ยงกิ่งและใบไม่ได้ ทำให้กิ่งแห้ง ใบเหลืองและแห้ง ร่วง และต้นตายในที่สุด

- ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3512
พืชขาดธาตุ การสังเกตุอาการของพืช พอจะสังเกตุเบื้องต้นได้ ว่าขาดธาตุอาหารอะไร
พืชขาดธาตุ การสังเกตุอาการของพืช พอจะสังเกตุเบื้องต้นได้ ว่าขาดธาตุอาหารอะไร
ไนโตรเจน (N)

หน้าที่สำคัญ : เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีน คลอโรฟิลล์ กรดนิวคลีอิกและเอนไซม์ในพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโตของยอดอ่อน ใบและกิ่งก้าน

อาการขาดธาตุไนโตรเจน : โตช้า ใบล่างมีสีเหลือง ซีดทั้งแผ่นใบ ต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลแล้วร่วงหล่น หลังจากนั้นใบบน ๆ จะมีสีเหลือง

ฟอสฟอรัส (P)

หน้าที่สำคัญ : ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนและสารอินทรีย์ที่สำคัญในพืช เป็นองค์ประกอบของสารที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงานในกระบวนการต่าง ๆ เช่น การสังเคราะห์แสงและการหายใจ เป็นต้น

อาการขาดธาตุฟอสฟอรัส : ใบล่างเริ่มมีสีม่วงตามแผ่นใบ ต่อมาใบเป็นสีน้ำตาลและร่วงหล่น ลำตันแคระแกร็น ไม่ผลิดอกออกผล

โพแทสเซียม (K)

หน้าที่สำคัญ : ช่วยสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของน้ำตาลจากใบไปยังผล ช่วยให้ผลเจริญเติบโตเร็ว พืชแข็งแรง มีความต้านทานโรคบางชนิด

อาการขาดธาตุโพแตสเซียม : ใบล่างมีอาการเหลือง แล้วกลายเป็นสีน้ำตาลตามขอบใบ แล้วลุกลามเข้ามาเป็นหย่อม ๆ ตามแผ่นใบ อาจพบว่าแผ่นใบโค้งเล็กน้อย รากเจริญช้า ลำต้นอ่อนแอ ผลไม่เติบโต

แคลเซียม (C)

หน้าที่สำคัญ : เป็นองค์ประกอบในสารที่เชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกัน ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด และช่วยให้เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดี

อาการขาดธาตุแคลเซียม : ใบที่เจริญใหม่ ๆ หงิก ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบรากสั้น ผลแตก และคุณภาพไม่ดี

แมกนีเซียม (Mg)

หน้าที่สำคัญ : เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยในการสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรด-ด่างในเซลล์พอเหมาะ ช่วยในการงอกของเมล็ด

อาการขาดธาตุแมกนีเซียม : ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบและใบร่วงหล่นเร็ว

กำมะถัน (S)

หน้าที่สำคัญ : เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามิน

อาการขาดธาตุกำมะถัน : ใบทั้งบนและล่างมีสีเหลืองซีดและต้นอ่อนแอ

ข้อมูลจาก : ผศ.ดร.ชัยสิทธิ์ ทองจู ภาควิชาปฐพีวิทยา ม.เกษตรศาสตร์

* ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช แก้ปัญหาการขาดธาตุ และช่วยให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3063
3505 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 5 รายการ
|-Page 305 of 351-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การควบคุมวัชพืชในสวนพุทราด้วยคาร์รอน (Diuron 80% WG)
Update: 2567/02/13 09:18:18 - Views: 151
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยจักจั่น ในถั่วลิสง และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/06 13:12:22 - Views: 3020
โรคราน้ำค้างแตงโม แตงโมใบไหม้ โรคเชื้อราในแตงโม ใช้ ไอเอส และ FK-1
Update: 2566/02/26 10:43:05 - Views: 3150
รักษาโรคใบไหม้ รักษาโรคใบจุด ใบเหลือง แห้งกรอบ โรคจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส3ลิตร 900บาท
Update: 2563/05/07 20:49:32 - Views: 3001
ป้องกัน กำจัด หนอนเจาะผลขนุน ด้วย ไอกี้ สารชีวินทรีย์ ปลอดภัย เร่งฟื้นฟู บำรุง ด้วย FK-T
Update: 2565/07/25 07:21:31 - Views: 3285
การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้และใบจุดในมะขามหวานด้วย ไอเอส และ FK-1 เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด
Update: 2566/02/22 08:40:34 - Views: 3023
การไถกลบตอซัง เพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว
Update: 2564/08/24 01:25:40 - Views: 3256
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เทคโนโลยีช่วยปรับปรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สำหรับผักกวางตุ้ง
Update: 2567/02/13 09:29:27 - Views: 163
มะละกอผลเน่า มะละกอใบไหม้ ราขาวมะละกอ ราดำมะละกอ ควบคุม ป้องกันกำจัด ก่อนโรคจะสร้างความเสียหาย
Update: 2566/11/04 19:44:55 - Views: 7924
ควบคุมวัชพืชในสวนพริกด้วยคาร์รอน (Diuron 80% WG): กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมและรักษาสวนพริก
Update: 2567/02/13 09:22:56 - Views: 165
ต่างชาติเมิน เปิดศูนย์วิจัยในไทย ชี้รัฐไม่หนุนลงทุนศึกษา-สลดอีก 168ปี ถึงตามเกาหลีทัน
Update: 2563/06/25 16:26:13 - Views: 5422
ยากำจัดโรคช่อดอกแห้ง ใน เงาะ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/05 15:54:02 - Views: 7226
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสีชมพู ใน ยางพารา ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/17 14:39:39 - Views: 3453
โรคราน้ำค้างข้าวโพดฝักอ่อน : DOWNY MILDEW DISEASE
Update: 2564/08/09 05:05:36 - Views: 3064
คุณค่าทางสารอาหารและประโยชน์ต่อสุขภาพ ทานตะวัน
Update: 2565/11/14 14:10:58 - Views: 2968
เตือน!! ระวังเพลี้ยแป้ง บุก สวนมะนาว สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร?
Update: 2566/11/01 14:23:41 - Views: 459
ประโยชน์ของปุ๋ยเร่งรากและเร่งดอกสำหรับแตงกวา
Update: 2566/11/21 14:58:55 - Views: 260
ป้องกัน กำจัด โรคผลเน่าในทุเรียน อาการทุเรียนผลเน่า (Fruit Rot)
Update: 2564/04/24 21:38:16 - Views: 3631
พริกยอดหงิก ใบหงิก ขอบใบม้วน เพราะเพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยง กำจัดด้วย มาคา
Update: 2562/08/10 10:25:33 - Views: 3213
พืชเป็นโรค หมายความว่าอย่างไร ?
Update: 2564/04/24 02:41:12 - Views: 2984
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022