[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3505 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 5 รายการ

ธนาคารน้ำใต้ดินคืออะไร?
ธนาคารน้ำใต้ดินคืออะไร?
ธนาคารน้ำใต้ดินคืออะไร?
ธนาคารน้ำใต้ดินจะมี 2 ประเภท คือธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด และธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบเปิดถ้าทำธนาคารน้ำใต้ดินทั้ง 2 ประเภท ควบคู่ไปด้วยกันจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด

ใช้หลักการขุดบ่อเพื่อส่งน้ำไปเก็บไว้ที่ชั้นน้ำบาดาล ขนาดและความลึกของบ่อขึ้นอยู่กับสภาพ และชั้นดินของแต่ละพื้นที่ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขุดบ่อให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ จากนั้นใส่ยางรถยนต์เพื่อป้องกันขอบบ่อพังทลาย

จากนั้นใส่วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่นขวดน้ำ (ใส่น้ำ 1 ใน 3 ส่วน)_ ท่อนไม้ หรือเศษปูนให้เต็มช่องว่างด้านนอกยางรถยนต์

นำท่อ PVC มาวางตรงกลางบ่อเพื่อเป็นช่องระบายอากาศ นำวัสดุชนิดเดียวกับที่ใส่ช่องว่างด้านนอกมาเติมใส่ช่องว่างด้านในให้เต็ม

คลุมด้วยผ้าไนล่อน แล้วทับด้วยก้อนหิน และตามด้วยหินละเอียดอีกที เพื่อเป็นตัวกรองให้เศษดิน หรือขยะไม่ให้เข้าไปอุดตันในบ่อ เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลสู่ชั้นใต้ดินโดยตรง ผ่านธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิดที่ทำขึ้นมา

ธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบเปิด

เป็นการเปิดผิวดินเพื่อที่จะสามารถใช้น้ำในระดับผิวดินได้เลย โดยจะมีการขุดบ่อขนาดใหญ่ แต่ขนาดเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ และความต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้

เจาะพื้นบ่อเป็นหลุม 3 หลุมให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ เพื่อให้น้ำไหลลงชั้นหินอุ้มน้ำได้ดี และมีช่องสำหรับถ่ายเทอากาศจากโพรงใต้ดินเมื่อถูกน้ำเข้าไปแทนที่

โดยน้ำที่นำมาเก็บนั้นมาจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น น้ำฝน หรือน้ำจากการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด ซึ่งเมื่อน้ำถูกเติมลงชั้นใต้หินอุ้มน้ำปริมาณมากพอ น้ำจะเอ่อล้นมาที่บ่อโดยอัตโนมัติ ซึ่งเกษตรกรสามารถสูบน้ำจากบ่อนี้มาใช้ได้ทันที วิธีนี้จะช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องขุดเจาะหาแหล่งน้ำ หรือสูบน้ำจากแหล่งน้ำไกลๆ ประหยัดพลังงาน แถมช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ปีละหลายล้านบาทเลยทีเดียว

ประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดิน

1. ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ เพราะช่วยให้น้ำซึมลงใต้ดินได้ดีขึ้น

2. ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง เพราะสามารถสูบน้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินใช้ได้ตลอดเวลา

3. แก้ปัญหาน้ำเค็ม เพราะมวลน้ำเค็มจะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำจืด ฉะนั้นน้ำเค็มจะอยู่ด้านล่าง

4. แก้ปัญหาน้ำสกปรก เพราะระบบน้ำแบบปิดจะช่วยกรองน้ำให้สะอาดขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : รู้ค่าพลังงาน WATCHDOG | ธนาคารน้ำแบบปิด และ ธนาคารน้ำแบบเปิด

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
เพลี้ยแป้งลำไย
เพลี้ยแป้งลำไย
เพลี้ยแป้ง แมลงศัตรูพืช ที่สร้างความเสียหายให้กับลําไย โดยตัวเพลี้ยจะดูดกินน้ําเลี้ยงได้เกือบทุกส่วน โดยเฉพาะที่ผล จะทําให้ผลที่ถูกทําลายเหี่ยวแห้ง และร่วงไปในที่สุด นอกจากนี้เพลี้ยแป้ง ที่มาดูดกินน้ําเลี้ยงแล้ว ยังถ่ายมูลน้ําหวานทิ้งเอาไว้ ซึ่งเวลา " ผ่านไปกลายเป็นอาหารของมด โดยมดพวกนี้จะเป็นตัวนําพาเพลี้ยขึ้นมาที่ผล ทําให้เกิดราดําขึ้นมาที่กิ่งและผล ทําให้กิ่งและผลมีคราบสีดํา สกปรก ลูกลําไยไม่สวย เสียราคา เมื่อเก็บผลผลิตไปจําหน่าย

ยิ่งไปกว่านั้น แมลง จําพวกนี้มีผิวเป็นไขที่หนาหลายชั้นเป็นเกราะ ยาฆ่าแมลงหลายชนิดจึงไม่สามารถกําจัดเพลี้ยแป้งได้ตายเด็ดขาด จึงจําเป็นต้องใช้สาร - ป้องกันกําจัดแมลงชนิดดูดซึมจึงจะได้ผลดี

สำหรับการป้องกันกําจัด ในระยะแรก ที่พบเพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนของเพลี้ย (ตัวคลาน) ควรต้องฉีดพ่นสารเคมี ติดต่อกัน ทุกๆ สัปดาห์ เพื่อควบคุมปริมาณของตัวอ่อน (ตัวคลาน) โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ไม่ให้เพิ่มปริมาณ และเติบโตเป็นตัวเต็มวัยที่จะไปวางไข่ในรุ่นต่อไป กําจัดโดยอาศัยศัตรูพืชธรรมชาติ เช่น ตัวน้ำ ตัวเบียน ตัดกิ่งที่พบเพลี้ยแป้งทิ้งแล้วเผาทําลาย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน หนึ่งในแมลงพาหะตัวร้ายที่แพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่พืชผักและทำลายด้วยตัวมันเองได้ ซึ่งเพลี้ยอ่อนมีกระจายไปทั่วโลกมากกว่า 4_000 ชนิด และมีจำนวน 250 ชนิดที่คอยก่อกวนพืช โดยใช้ปากที่แหลมคมเจาะลำต้นอ่อนและโคนใบพืชเพื่อดูดอาหารจากเซลล์พืช จนทำให้ใบพืชผักโดนทำลายจนเสียหาย เพราะสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายให้แก่พืชทั่วประเทศ

การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชนั้น เป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม จนพวกเราที่ประกอบอาชีพเกษตรกรต่างไม่อยากจะพบเจอ โดยเฉพาะกับแมลงศัตรูที่มีขนาดเล็กมากอย่างเพลี้ยอ่อนนี้ ถ้าเราไม่สังเกตอาจจะมองไม่เห็น ยิ่งเป็นเกษตรกรมือใหม่ด้วยแล้วอาจจะพลาดได้ เพราะแมลงขนาดที่เล็กและแพร่พันธุ์ได้เก่งชนิดนี้กลับสร้างความเสียหายแก่พืชผลเป็นอย่างมาก ทำให้การลงทุนทั้งเงินและแรงของเกษตรกรต้องขาดทุนไปทันที

เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงตัวจิ๋ว ที่มีความยาวไม่เกิน 4 มิลลิเมตร หัวเล็กเท่าหัวเข็ม รูปร่างรีและโค้งมนป่องด้านท้าย สามารถออกลูกได้วันละ 10-11 ตัว สามารถออกลูกได้สูงสุดถึงตัวละ 450ตัว ทำให้มีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดความเสียหายลุกลามได้ เพลี้ยชนิดนี้จะสามารทำลายพืชได้ทุกระยะเน้นทำลายจุดสำคัญของพืช ทั้งลำต้น ใบ ดอก ผล โดยเจาะกินน้ำหวานที่ใต้ใบที่มันอาศัยอยู่ โดยทั่วไปเพลี้ยผัก จะมีจำนวนน้อยลงเมื่อเริ่มมีฝนเข้ามาชะล้างและมีภูมิอากาศมากขึ้น และจะมีจำนวนมากขึ้นในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น

การควบคุมและกำจัดเพลี้ยอ่อนนั้น เริ่มจากการหมั่นสำรวจพืชผลเพื่อจะได้สังเกตเห็นว่ามีเพลี้ยอ่อนเกาะติดพืชผลหรือไม่ และป้องกันด้วยการขยันรดน้ำ พ่นน้ำที่ยอดผัก เพื่อทำลายถิ่นที่อยู่ของเพลี้ยที่อาศัยใต้ใบ เป็นการชะล้างออกในระดับหนึ่ง และนำแมลงห้ำที่นักล่า อย่างตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าลายสมอ ด้วงเต่าลายหยัก และด้วงเต่าอื่นๆ รวมทั้ง ตัวอ่อนแมลงวันดอกไม้ มาปล่อยไว้ในแปลงเพาะปลูก เพื่อห้ำหั่นกับเพลี้ยตั้งแต่ต้น และนำแมลงเบยอย่างแตนเบียนดักแด้ มาปล่อยไว้ด้วย ก่อนที่จะมีการระบาด และหากมีการระบาดแล้ว ต้องใช้จุลินทรีย์จากเชื้อรา เช่น บิวเวอเรียหรือเม็ตตะไรเซี่ยม มาทำลายทันทีก่อนที่จะระบาดหนัก หรือจะนำสมุนไพรไทยเราอย่าง หางไหลสัดส่วน 1 กิโลกรัมผสมกับน้ำ 20 ลิตร เพื่อฉีดพ่นกำจัด หากมีความจำเป็นเร่งรีบอาจจะต้องใช้สารเคมีเข้าช่วย แต่อยากให้เลือกเป็นวิธีการสุดท้ายครับ โดยให้พ่นในสัดส่วนที่ข้างกระป๋องระบุไว้เท่านั้นนะครับ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชผล ตัวเรา และสิ่งแวดล้อมครับ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ปมรุมเร้าลำไย 4 แสนตัน ตะวันออก เพลี้ยแป้ง ขาดแรงงาน 2 หมื่นยังวุ่น
ปมรุมเร้าลำไย 4 แสนตัน ตะวันออก เพลี้ยแป้ง ขาดแรงงาน 2 หมื่นยังวุ่น
ช่วงเดือนสิงหาคม เป็นเดือนที่ผลผลิตลำไยของภาคตะวันออกกำลังทยอยออกมามากขึ้น ขณะที่ปัญหาต่าง ๆ ในการส่งออกไปตลาดจีนกำลังประดังกันเข้ามา

ตั้งแต่เรื่องที่สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ตรวจพบเพลี้ยแป้งในลำไยจากไทย และได้สั่งระงับชั่วคราวโรงคัดบรรจุ 66 บริษัท แต่ล่าสุดทางกรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เจรจากับรัฐบาลจีนอนุญาตให้โรงคัดบรรจุ 56 บริษัทที่ตรวจพบเพลี้ยแป้งน้อยครั้งที่สุดสามารถส่งออกลำไยได้ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2564 ส่วนรายที่พบมากครั้งให้มีการปรับปรุงให้เป็นไปตามขั้นตอนต่อไปนั้น

หวั่นกระทบลำไย 4 แสนตัน
ภาคตะวันออก จันทบุรี สระแก้ว ที่มีผลผลิตลำไยจำนวนมากเกือบ 400_000 ตัน และผลผลิตออกมากเดือนกันยายน-ธันวาคม และตลาดจีนเป็นตลาดใหญ่ถึง 80%

ซึ่งบริษัทส่งออกภาคตะวันออกที่ถูกแบน 29 บริษัท อยู่ในจันทบุรี 28 บริษัทและ จ.สระแก้ว 1 บริษัท ล้วนเป็นบริษัทใหญ่ที่รับซื้อ 80-85%

หากมีการหยุดรับซื้อหวั่นปัญหาด้านการตลาดมีผลกระทบต่อเกษตรกรที่ต้องรับภาระราคาตกต่ำ ในขณะที่ล้งยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานถึง 20_000 คน เตรียมเสนอ ศบค.ชุดใหญ่ผ่อนปรน

นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสถานีวิจัยพัฒนาการเกษตร จ.จันทบุรี (สวพ.6) เปิดเผยว่า ได้ประชุมผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุใน จ.จันทบุรี รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมชาวสวนลำไย สมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา จันทบุรี

และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมา 2 ครั้งแล้ว เพื่อหารือเร่งด่วนกรณีการแจ้งเตือนและชะลอการส่งออกชั่วคราวโรงคัดบรรจุลำไยที่มีเพลี้ยแป้งไม่ได้ห้ามโดยเด็ดขาด กรมวิชาการเกษตร

และ สวพ.6 ได้กำหนดมาตรการควบคุมเพลี้ยแป้งอย่างเข้มงวด ให้โรงคัดบรรจุใน จ.จันทบุรี 28 โรงที่ถูกระงับได้ปฏิบัติ ส่งให้จีนพิจารณาผ่อนปรนระงับการนำเข้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อนถึงฤดูกาลลำไยภาคตะวันออกเดือนกันยายน-ธันวาคม

ภายหลังอธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ประชุมครั้งที่ 1 และการเจรจากับจีนเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม จีนยังคงยืนยันให้ระงับโรงคัดบรรจุที่ตรวจพบเพลี้ยแป้งซึ่งอยู่ในภาคตะวันออก 29 โรง จันทบุรี 28 โรง สระแก้ว 1 โรง

แนวทางที่กรมวิชาการเกษตรเสนอขอผ่อนปรนจากจีนคือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากคือพบเพลี้ยแป้งมากจำนวน 4 โรง ซึ่งรายชื่อซ้ำกับการแจ้งทั้ง 2 ครั้ง อาจจะระงับระยะยาวกว่า

ส่วนที่เหลือกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยคือ พบเพลี้ยแป้งจำนวนน้อยกว่าจำนวน 23 โรง (ยกเลิกการขึ้นทะเบียน 1 บริษัท) ผ่อนผันให้มีการระงับการนำเข้าระยะเวลาไม่นาน โดยส่งแผนการกำจัดเพลี้ยแป้งอย่างเข้มงวด และการป้องกันโควิด-19

“โรงคัดบรรจุลำไยภาคตะวันออกที่ได้มาตรฐาน GMP และขึ้นทะเบียน DOA กับทางการจีนมี 93 โรง จ.จันทบุรี 89 โรง สระแก้ว 2 โรง ระยอง 2 โรง ถูกระงับการส่งออกชั่วคราวรอบเดือนมีนาคม 8 โรง

และรอบ 2 เดือนกรกฎาคม 29 โรง ซึ่งในจำนวนนี้มีรายชื่อซ้ำกับรอบแรกอยู่ 6 โรง สวพ.6 ได้เตรียมพร้อมโรงคัดบรรจุที่ยังส่งออกได้ปกติอีก 62 โรงเพื่อรับซื้อผลผลิต จำนวนโรงคัดบรรจุ 29 โรงที่ถูกระงับมีล้งที่มีความเสี่ยงสูง

หรือถูกแจ้งเตือนบ่อย 4 โรง ที่เหลืออีก 25 โรงมีความเสี่ยงต่ำแต่เป็นโรงคัดบรรจุขนาดใหญ่ที่รับซื้อลำไยถึง 80%” นายชลธีกล่าว

ตรวจเข้มสวนถึงโรงคัดบรรจุ
นายชัยศักดิ์ รินเกลื่อน หัวหน้าด่านตรวจพืชแหลมฉบัง ชี้แจงมาตรการกรมวิชาการเกษตรที่เกษตรกรและโรงคัดบรรจุต้องปฏิบัติ โดยดูแลติดตามใน 3 ส่วนอย่างเข้มงวดคือ ในสวน

โรงคัดบรรจุและการตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate : PC ) โดยเพิ่มผู้ตรวจสอบศัตรูพืชในกระบวนการผลิต คือ สายเก็บจากสวน โรงคัดบรรจุเพิ่ม

การสุ่มตรวจเมื่อคัดแยกเกรดบรรจุตะกร้าก่อนเข้าตู้รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และระบายแก๊สที่อบเสร็จสุ่มตรวจอีกครั้ง อัตราการสุ่มตรวจ 5% (ยกเว้นโรงคัดที่ถูกระงับสุ่ม 10%) ศัตรูพืชต้องไม่เกิน 3%

เพื่อตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชในโรงคัดบรรจุก่อนที่จะตรวจที่ด่านตรวจอีกครั้ง นอกจากนี้ ข้อกำหนดเพิ่มเติมต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการตรวจศัตรูพืชและลดความเสี่ยงเช่น พื้นที่คัดแยกวางสินค้าปนเปื้อน แสงสว่างจุดเสี่ยง

ขาดแรงงานเก็บลำไย 2 หมื่นคน
นอกจากปัญหาศัตรูพืชแล้ว ผู้ส่งออกยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บลำไย เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถนำเข้าแรงงานกัมพูชามาเก็บลำไยได้สะดวกเหมือนในอดีตก่อนเกิดโควิด

นายเกียรติศักดิ์ พูนเพิ่ม เลขาธิการสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา จันทบุรี กล่าวว่า ดร.รัฐวิทย์ ตั้งเกียรติพชร นายกสมาคมได้ทำมาตรฐานศัตรูพืชควบคู่ไปกับการป้องกันโควิด-19

มีการสุ่มตรวจแรงงานในโรงคัดบรรจุได้มากกว่า 10% โดยประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อ.โป่งน้ำร้อน เบื้องต้นใช้ Rapid Antigen Test และเมื่อผลเป็นบวกจะตรวจยืนยันด้วย RT-PCR อีกครั้ง

โดยเป้าสุ่มตรวจระยะแรก 2_500 คน ตรวจไปแล้ว 2_000 คน โดยจะได้รับบัตรรับรองจากสมาคม ค่าใช้จ่ายให้คนละ 1_000 บาท ผู้ประกอบการจะรับผิดชอบ

เป็นกลุ่มแรงงานเดิมที่อยู่ในพื้นที่ประมาณ 12_000 คน จำกัดให้อยู่ใน 2 อำเภอเท่านั้น คือ อ.โป่งน้ำร้อน และ อ.สอยดาว เพื่อให้ควบคุมได้ และแรงงานกลุ่มที่เข้ามาใหม่ที่จะขออนุญาตศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) นำเข้าจากเพื่อนบ้านประมาณ 20_000 คน

ด้านนายศิริไพบูลย์ วัฒณวงศ์ชัย สมาชิกสภาเทศบาล ต.คลองหาด อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว และตัวแทนเกษตรกรและผู้รับซื้อลำไยเพื่อการส่งออกกล่าวว่า พื้นที่ จ.สระแก้วจะเริ่มเก็บผลผลิตเดือนสิงหาคมและมีผลผลิตออกมากตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม

เดิมใช้แรงงานกัมพูชา แต่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ต้องใช้แรงงานที่อยู่ในพื้นที่ จ.จันทบุรี ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเดินทางเข้าจังหวัดมาเก็บลำไยใน จ.สระแก้วได้หรือไม่ หาก จ.สระแก้วอนุญาตให้ผู้ประกอบการที่มีแรงงานอยู่ จ.จันทบุรีเข้ามาเก็บลำไยได้ และอนุญาตให้พักค้างได้ หรือทำในรูปแบบของ จ.จันทบุรีจะแก้ไขปัญหาได้

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย รายละเอียดด้านล่างนะคะ
ข้าวเหลืองใหญ่ 148
ข้าวเหลืองใหญ่ 148
ข้าวเหลืองใหญ่ 148
ประวัติพันธุ์

ข้าวเหลืองใหญ่ได้จากการรวบรวมพันธุ์เหลืองใหญ่จากเกษตรกรในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายพรม ยานะ พนักงานเกษตรอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2499-2501 คัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง จนได้สายพันธุ์ เหลืองใหญ่ 228-2-148 ได้รับการรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์

ถือเป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ลำต้นเล็ก ใบธงค่อนข้างตั้งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.6 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง ให้ผลผลิตประมาณ 548 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้งปานกลาง


คุณค่าทางโภชนาการ

ข้าวเหลืองใหญ่ เป็นข้าวที่มีโฟเลตสูง ซึ่งเป็นโคเอนไซม์ช่วยสังเคราะห์ Purine_ Pyrimidine_ nucleotide จำเป็นต่อการซ่อมแซม DNA และการลอกเลียนแบบของยีนในเซลล์ต่างๆ ซึ่งสำคัญต่อหญิงที่ตั้งครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงต่อลูกในครรภ์ไม่ให้เกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ และอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ระวังโรคไหม้และขอบใบแห้งของข้าว
ระวังโรคไหม้และขอบใบแห้งของข้าว
เนื่องจากเกษตรกรปลูกข้าวโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่มากเกินไป ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงซึ่งสภาพดังกล่าวเหมาะกับการระบาดของโรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อรา และโรคขอบใบแห้ง สร้างความเสียหายให้แก่ข้าว

นายชัด ขำเอี่ยม เกษตรอำเภอหันคา กล่าวว่า พื้นที่อำเภอหันคา มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งสิ้นจำนวน 198_130 ไร่ แต่พบกับปัญหาภัยแล้งส่งผลให้เกษตรกรทำนาล่าช้ากว่าเดิม ซึ่งขณะนี้ส่วนใหญ่ข้าวอยู่ระยะแตกกอ มีเพียงบางส่วนที่อยู่ในระยะตั้งท้องและออกรวง รวมพื้นที่ยืนต้น จำนวน 105_000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด จากการออกสำรวจพบว่า พื้นที่ปลูกข้าวบางส่วนของเกษตรที่ปลูกข้าวพันธุ์ กข41 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง หากเกษตรกรพบต้นข้าวได้รับเชื้อราเข้าทำลายจะแสดงอาการตามระยะการเจริญเติบโต ดังนี้

โรคไหม้ข้าว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา พบที่ใบจะเป็นแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา สีเทาอยู่ตรงกลางแผลขนาดแตกต่างกันไป จุดแผลนี้สามารถขยายแผลลุกลามจนแผลติดกัน กระจายทั่วไปในกรณีที่โรครุนแรง กล้าข้าวจะแห้งและฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟไหม้ การป้องกันกำจัด โดยใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น สุพรรณบุรี1 คลองหลวง1 ในส่วนของ โรคขอบใบแห้ง ซึ่งเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ จนถึง ออกรวง ต้นกล้าก่อนนำไปปักดำจะมีจุดเล็กๆ ลักษณะช้ำที่ขอบใบของใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทาๆ ที่แผลมีหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนกลม ๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดไปตามน้ำหรือฝน ซึ่งจะทำให้โรคสามารถระบาดต่อไปได้ ขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก แผลนี้เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบที่เป็นโรค ขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว

การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุโรคสามารถแพร่ไปกับน้ำ ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง และสภาพที่มีฝนตก ลมพัดแรง จะช่วยให้โรคแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางรวดเร็ว การป้องกันกำจัดใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทาน เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 กข7 และ กข23

ทั้งนี้ ขอให้เกษตรกร หมั่นตรวจสอบแปลงข้าวเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ระยะนี้พบว่าหลายแปลงที่พบทั้ง 2 โรค เกษตรกรสามารถใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบสารเคมีที่สามารถกำจัดได้ทั้งเชื้อรา และแบคทีเรีย เช่น ไอโซโพรไทโอเลน(ฟูจิ-วัน) อีกทั้งควร ป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน คือ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ อัตราที่เหมาะสม ประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกวิธี และถูกระยะเวลา) รวมทั้งใช้สารสมุนไพรและสารชีวภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ปรึกษาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา รายละเอียดด่านล่างนะคะ
ปลูก ข่าตาแดง ส่งโรงงาน สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน
ปลูก ข่าตาแดง ส่งโรงงาน สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พืชเครื่องเทศที่สำคัญอย่าง “ข่า” ที่ให้รสร้อนซ่าจัดจาดและมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ กลายเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข่ามีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ถ้าพูดถึงสายพันธุ์ข่าที่เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสก็ได้แก่ “ข่าตาแดง” เพราะด้วยคุณสมบัติที่มีกลิ่น สี และรสชาติที่โดดเด่น ตลอดจนมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย ดังนั้น ทำให้ข่าตาแดงเป็นที่ต้องการของตลาดจำนวนมาก

คุณราชพฤกษ์ รักษาการ หรือ คุณเบียร์ บ้านเลขที่ 39 หมู่ 6 บ้านหนองปลาหมอ ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอโนนสิลา จังหวัดขอนแก่น (โทร. 09-2470-2095) คนรุ่นใหม่ที่มีใจรักเกษตรโดยผันตัวเองจากอาชีพวิศวกรอนาคตไกล มาเป็นปลูกข่าตาแดง เนื่องจากมองเห็นความต้องการของอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสที่มีความต้องการจำนวนมาก ซึ่งกลายเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข่ารายใหญ่ที่บุกเบิกปลูกข่าตาแดงส่งโรงงานเครื่องปรุงรส สร้างรายได้สูงกว่า 1 ล้านบาท/เดือน

คุณราชพฤกษ์ เล่าถึงจุดเปลี่ยนจากอาชีพวิศวกรมาเป็นเกษตรกรปลูกข่าตาแดงว่า เกิดจากความเบื่อหน่ายเมืองหลวงที่ต้องเจอรถติด รวมถึงความวุ่นวายของผู้คนที่เดินสวนกันอย่างพลุกพล่าน จึงมีความคิดหาอาชีพใหม่ที่ทำอยู่ใกล้ ๆ บ้านอย่างสงบสุข ซึ่งตอนนั้นได้มีโอกาสออกแบบโรงงานให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องปรุงรสอาหาร และได้เห็นว่าอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารมีความต้องการเครื่องเทศอย่างข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด จำนวนมาก จึงมีความสนใจกับพืชทั้ง 3 อย่างนี้มาก

“เหตุที่เลือกปลูกข่า เพราะแอบไปถามกับเจ้าหน้าที่ในโรงงานเครื่องปรุงรสอาหารว่าพืชเครื่องเทศอะไรที่เป็นที่ต้องการและได้ราคาสูงสุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า “ข่า” ดังนั้นจึงกลับไปศึกษาเรื่องข่าพร้อมกับศึกษาตลาดข่าอย่างจริงจัง ซึ่งก็พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูกข่าเหลือง ซึ่งคิดว่าหากเราปลูกพันธุ์ที่แตกต่างกว่าจะสร้างจุดเด่นได้ดีกว่า และทำให้ข่าที่ปลูกมีราคาดี รวมถึงเป็นที่ต้องการของตลาดด้วย”

จากการศึกษาพันธุ์ข่าต่าง ๆ ก็ตัดสินใจเลือกปลูกข่าตาแดงที่มีลักษณะลำต้นขนาดเล็กสีเขียว ใบ มีรูปร่างคล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบ ๆ ต้น ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด เป็นสีขาวและมีสีแดงเล็กน้อย ส่วนหน่อ มีลักษณะเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมฉุนมากกว่าข่าพันธุ์อื่น ๆ ตลอดจนมีสรรพคุณ ทั้งขับลม เป็นยาระบาย รักษาโรคบิด บำรุงโลหิต และที่สำคัญเป็นพืชที่ทนแล้ง สามารถปลูกได้ง่ายทุกสภาพพื้นที่ ทำให้ตัดสินใจเลือกปลูกข่าตาแดง พร้อมกับเจาะจงตลาดไปที่อุตสาหกรรมเครื่องปรุงรส

ก่อนปลูกข่าตาแดงก็ได้คุยกับเจ้าหน้าที่โรงงานแล้วว่าจะปลูกข่าตาแดงซึ่งมีทั้งความโดดเด่น สรรพคุณ รวมถึงกลิ่นที่เฉพาะ ทางโรงงานก็ยินดีจะรับ จึงเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งข่าตาแดงที่ปลูกก็เป็นที่ติดใจของตลาด จนมีความต้องการอย่างต่อเนื่องอีกด้วย จากนั้นก็ได้เปลี่ยนอาชีพจากวิศวกรเป็นเกษตรกรปลูกข่าอย่างเต็มตัว

คุณราชพฤกษ์ บอกว่าตอนนี้มีพื้นที่ปลูกข่าตาแดง 120 ไร่ สามารถส่งผลผลิตสู่โรงงานได้วันละ 1.4 ตัน หรือ 1_400 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 30-35 บาท ทำให้มีรายได้ 40_000-50_000 บาท/วัน หรือประมาณ 1_500_000 บาท/เดือน แต่ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ ต้องมีการเรียนรู้เรื่องการปลูกข่าอย่างมาก ซึ่งการเรียนรู้คนเดียวนั้นไม่เพียงพอแน่สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ดังนั้น จึงคิดหาวิธีลัดซึ่งก็ คือ การเข้าหาชาวบ้านที่มีประสบการณ์ปลูกข่ามาเป็นสิบ ๆ ปี อาจจะดูโง่ที่จบถึงวิศวกรไปให้เกษตรกรสอนการปลูกข่า แต่สิ่งที่เกษตรกรสอนทุกสิ่งทุกอย่าง มักดีกว่าตำราเป็นร้อย ๆ เล่ม เพราะเรื่องบางเรื่องก็ต้องมาเรียนรู้เอง จะไปเชื่อแต่ในตำราก็ไม่ได้ การที่จะประสบความสำเร็จได้ทุกวันนี้ ต้องมีความขยันหาความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในหนังสือ ตลอดจนกล้าที่จะเข้าหาผู้รู้จริง ๆ อย่างเกษตรกรผู้ปลูกนั่นเอง

สำหรับเคล็ดลับการปลูกที่ทำให้ประสบความสำเร็จและสามารถขยายพื้นที่ปลูกข่าได้ถึง 120 ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน คือ ความอดทน ความใส่ใจประณีตทุกกระบวนการในการปลูก รวมถึงความใฝ่รู้ที่ศึกษาเรื่องการปลูกข่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดทำได้ดังนี้ การเตรียมดิน ต้องมีการไถระเบิดดินดานเพื่อเปิดหน้าดินและให้พืชได้สัมผัสน้ำได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเสร็จแล้วให้ไถพรวนดินให้ละเอียดอีกประมาณ 2 รอบ ทั้งนี้ ในการไถพรวนดินควรระวังน้ำท่วมขัง เพราะข่าจะไม่ชอบดินชื้น ต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้น้ำขังในดิน

การเตรียมท่อนพันธุ์ ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มาจากต้นแม่ซึ่งมีอายุ 1 ปีขึ้นไป เพราะจะมีตามาก รากงอกใหม่ได้ง่าย โดยแยกแง่ง ตัดใบ ตัดราก ออกให้หมดพร้อมกับล้างน้ำให้สะอาดก็นำมาปลูกในไร่ให้ผลผลิตได้แล้ว หรือถ้าหาท่อนพันธุ์ไม่ได้ให้หาซื้อท่อนพันธุ์ตามตลาด โดยเลือกหัวและแง่งที่สมบูรณ์ที่สุด จากนั้นให้นำไปแช่น้ำยากันเชื้อราและน้ำยาเร่งราก แช่ไว้ประมาณ 20 นาที ควรเลือกเหง้าที่มีขนาดพอเหมาะ หากเหง้าไหนมีขนาดใหญ่เกินไปให้ตัดแบ่งเป็น 2 เหง้าได้ แต่ควรนำปูนกินหมากผสมน้ำทาตรงแผล เพื่อกันเชื้อราขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข่า

วิธีการปลูก เริ่มจากใช้จอบขุดหลุมลึก ประมาณ 1 หน้าจอบ แล้วนำเหง้าข่ามาวางลงไปพร้อมกับกลบดินและรดน้ำพอชุ่ม โดยวิธีการปลูกข่ามีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 1 เหง้า ใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 60 x 80 เซนติเมตร เป็นการปลูกที่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทดลองปลูกข่า เพราะใช้ต้นทุนค่อนข้างต่ำทั้งยังจัดการแปลงได้ง่ายกว่าการปลูกแบบอื่น ๆ ซึ่งการปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์เหง้าเดียวใช้ต้นทุนค่าท่อนพันธุ์ประมาณ 15_000 บาท/ไร่ เมื่อนำผลผลิตไปขายจะได้ทั้งหมด 45_000 บาท/ไร่


วิธีที่ 2 ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 2 เหง้า ซึ่งใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 80 x 80 เซนติเมตร ใช้ทุนค่าท่อนพันธุ์ 30_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ 90_000 บาท/ไร่ วิธีที่ 3 ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 3 เหง้า ระยะห่างระหว่างกอและแถว 1 x 1 เมตร ใช้ต้นทุนค่าท่อนพันธุ์ 45_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ถึง 120_000-135_000 บาท/ไร่ ส่วนวิธีสุดท้ายปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 4 เหง้า ใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 1.20 x 1.20 เมตร ใช้ต้นทุนท่อนพันธุ์ 60_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ 160_000-180_000 บาท/ไร่

ต้นทุนและจำนวนเงินที่ขายได้ ทั้ง 4 แบบ จะแปรผันตามกันไป เมื่อใช้ท่อนพันธุ์มากขึ้นก็จะได้ผลผลิตข่าที่มากขึ้น ซึ่งการปลูกแบบที่ 1 และ 2 เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยหรือเกษตรกรที่เพิ่งทดลองปลูก เนื่องจากมีการจัดการแปลงเรื่องหญ้า ปุ๋ย แมลงที่ง่าย ตลอดจนได้ผลผลิตเหง้าใหญ่ รวมถึงใช้เงินลงทุนที่ต่ำกว่าด้วย ส่วนแบบที่ 3 และ 4 ใช้เงินลงที่สูงกว่า แต่ก็ได้ผลผลิตที่มากกว่า ทั้งยังช่วยจัดการในเรื่องของหญ้า เพราะทรงพุ่มที่ชิดติดกันทำให้หญ้าขึ้นได้ยาก แต่ทว่าผลผลิตข่าที่ได้เหง้าเล็ก ดังนั้น การปลูกแบบ 3 และ 4 จึงเหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายใหญ่ที่ต้องการผลผลิตจำนวนมาก โดยที่ไม่ต้องดูแลแปลงปลูกมากนัก

“สำหรับการดูแลรักษาข่า ให้สังเกตต้นข่าตั้งแต่ปลูกจนมีอายุครบ 3 สัปดาห์ จะเห็นต้นข่าตายและเริ่มมีหน่อใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นธรรมชาติของข่า ดังนั้น เมื่อเห็นต้นข่าตาย อย่าตกใจ เนื่องจากต้นข่าจะตายเป็นธรรมชาติอย่างนี้อยู่แล้ว พอถึงสัปดาห์ที่ 4 จะเห็นต้นข่าเริ่มงอกใหม่และเจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เมื่อเห็นต้นข่ามีใบ 2-3 ใบ ให้เริ่มใส่ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 บริเวณกอข่า ประมาณกอละ 10 เม็ด/สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเดือนที่ 4 ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 0-0-60 พร้อมกับเปลี่ยนการใส่ปุ๋ยจากใส่ประมาณ 10 เม็ด ให้เพิ่มมากขึ้น 1 เม็ด ทุก 15 วัน”

สำหรับการให้น้ำ มีการให้น้ำแบบระบบน้ำหยด สปริงเกอร์ ระบบน้ำฝอย โดยให้แบบสม่ำเสมอเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื่น แต่ก็ไม่ได้รดน้ำแบบทุกวันเนื่องจาก ข่า ไม่ชอบที่ชื่นแฉะ นอกจากนี้ยังมีการให้น้ำพร้อมกับให้ธาตุอาหารไปด้วย โดยการหมักน้ำในถัง 2_000 ลิตร ใส่มูลโคแห้งพร้อมกับหมัดปากถุง 1 กระสอบ ใส่ EM ขยายตัวลงไป 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 3 วัน จากนั้นสูบน้ำในถังมารดทั่วแปลงได้เลย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดินและข่าอีกด้วย

โรคและแมลงในแปลงจะไม่ค่อยพบ เนื่องจากโรคและแมลงทั้งหลายมักมีต้นเหตุมากจากปุ๋ยมูลโคมูลไก่ทั้งหลายที่เกษตรกรมักนำมาใส่เป็นรองพื้น ซึ่งการปลูกจะหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์เพื่อเป็นปุ๋ยรองพื้น จะเน้นแต่ปุ๋ยเคมีล้วน ๆ เพราะปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตที่เร็วเพียงพอสำหรับการส่งข่าให้กับโรงงานทุกวัน แต่ถ้าถามว่าปุ๋ยอินทรีย์ทำในเชิงเศรษฐกิจได้ไหม ได้แต่ผลผลิตข่าที่ได้ก็จะไม่เยอะเท่าปุ๋ยเคมี ดังนั้น ในแปลงจึงมีแต่การใช้ปุ๋ยเคมี แม้จะใช้เงินในส่วนที่ซื้อปุ๋ย แต่ก็ช่วยลดในเรื่องต้นทุนค่ายารักษาโรคและแมลงที่มีต้นเหตุมาจากปุ๋ยมูลโคมูลไก่ได้

คุณราชพฤกษ์ บอกว่าการปลูกข่า 1 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 10 ปี แต่ทั้งนี้ ควรมีวิธีการขุดที่ถูกวิธี ซึ่งทำดังนี้ เลือกขุดข่าเพียง 3 มุม จากทั้งหมด 4 มุม ยกตัวอย่างเช่น ปลูกข่า 1 กอ จะมีต้นข่าขึ้นประมาณ 10 ต้น เป็นสี่เหลี่ยม เมื่อข่าโตจนเก็บผลผลิตได้ประมาณ 6-8 เดือน ให้เลือกขุดออกไป 3 มุม เหลือไว้หนึ่งมุม สำหรับเหลือให้ข่าแพร่พันธุ์ขยายต่อไปได้ แต่เมื่อเก็บผลผลิตในครั้งต่อไป ควรสับเปลี่ยนมุมที่ขุดออก เพราะจะทำให้ข่าที่งอกใหม่แต่ละครั้งเจริญเติบโตดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เรื่องของตลาด ก็อย่างที่บอกไปว่าปลูกข่าตาแดงเพื่อส่งโรงงานโดยเฉพาะ ไม่มีการส่งตลาดรายย่อยอื่น ๆ ซึ่งราคาข่าที่ได้ตอนนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข่าอ่อน เป็นข่าที่เก็บผลผลิตในช่วงเดือนที่ 6 เมื่อนำไปขายจะได้ราคาดีมากถึงกิโลกรัมละ 30-35 บาท ส่วนอย่างที่สอง คือ ข่าแก่ เป็นข่าที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบในเดือนที่ 8 ซึ่งหลงเหลือจากเก็บผลผลิตไม่ทันของคนงาน ซึ่งขายได้ราคากิโลกรัม 10-15 บาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข่าแก่กับข่าอ่อนแล้วอัตราส่วนในแปลงที่ขุดได้แต่ละวันจะมีข่าอ่อนถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ จะมีข่าแก่เพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจมาก เพราะตอนนี้ทางตลาดมีความยินดีที่จะรับทั้งข่าอ่อนและข่าแก และมีแนวโน้มที่รับอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารกำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากใครที่กำลังที่คิดจะมาทำการเกษตร ข่าตาแดง จึงเป็นทางเลือกที่ดีเลยทีเดียว”

“การทำการเกษตร ไม่ว่าจะปลูกอะไรอย่างแรกควรมีเงินทุน รองลงมาคือความอดทน พร้อมกับใจที่รักสิ่งนั้นแบบจริงจัง เพราะการเกษตรมันต้องใช้เวลาในการปลูก เจริญเติบโต ตลอดจนการเก็บเกี่ยว ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนต้องใช้ความอดทนและเงินทุนทั้งสิ้น หากมีเงินน้อยนิดแล้วอยากทำการเกษตร เป็นสิ่งที่ผิดอย่างยิ่ง เนื่องจากสิ่งที่ไม่คาดคิดในการเกษตรมักเกิดได้เสมอ อาทิเช่น เกิดโรคและแมลงระบาด พืชที่ปลูกขาดธาตุอาหาร หากไม่มีความรู้ ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนก็ทำให้การทำเกษตรนั้นล้มเหลวได้ ดังนั้น หากทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข่าตาแดง ควรมีการวางแผน มีเงินทุน ตลอดความอดทน แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าอุปสรรคจะมีมากแค่นั้น หากมีความพยายามแล้วก็จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน” คุณราชพฤกษ์ทิ้งท้ายไว้

ข้อมูล : เกษตรกรก้าวหน้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคข้าว โรคเหลืองเตี้ย (Yellow Dwarf Disease)
โรคข้าว โรคเหลืองเตี้ย (Yellow Dwarf Disease)
โรคข้าว โรคเหลืองเตี้ย (Yellow Dwarf Disease)
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา

อาการ โรคนี้พบในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ใบที่ออกใหม่มีอาการเหลืองซีด ต้นเตี้ย แตกกอมากเป็นพุ่มแจ้ ต้นเป็นโรคอาจตายหรือไม่ออกรวง ถ้าต้นข้าวได้รับเชื้อใกล้ระยะออกรวง จะไม่แสดงอาการ แต่จะแสดงอาการในลูกข้าวที่งอกจากตอซัง

การป้องกันกำจัด

• กำจัดหรือทำลายเชื้อสาเหตุ โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ

• ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานแมลงเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เช่น กข1 กข3 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานการดูดกินของเพลี้ยจักจั่นสีเขียวได้ดีพอสมควร แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัว เข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้

• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

มาคา สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดเพลี้ย
โรคข่าเหลือง โรคหัวเน่าในข่าเหลือง
โรคข่าเหลือง โรคหัวเน่าในข่าเหลือง
โรคหัวเน่า (Phytophthora Root Rot หรือ Wet Rot) เชื้อสาเหตุคือ Phytophthora drechsleri เชื่อโรคนี้จะเกิดในระยะกล้าและลงหัวแล้ว มักจะพบในบริเวณที่ดินมีระบบน้ำยาก และอยู่ใกล้กับทางน้ำหรือคลองโรคนี้อาจทาความเสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะอาการ ถ้าเกิดกับต้นยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลและเน่า ต้นจะเหี่ยวเฉา ถ้าเกิดกับหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเหม็น ใบเหี่ยวแล้วร่วงถ้าเกิดรุนแรงต้นจะตาย

การป้องกันกำจัด

- การเตรียมแปลงปลูก ควรจะเป็นดินร่วนมีการระบายน้ำดี ไม่ควรเป็นที่เคยมีน้ำท่วม ขังหรือใกล้ทางระบายน้ำ หากดินระบายน้ำยาก ควรปลูกโดยวิธียกร่อง

- ทำความสะอาดแปลงก่อนปลูกโดยการทำลายเศษพืชที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

- คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์และปราศจากโรค

- ถ้าพบอาการรากเน่าเกินกว่า 3% ควรงดปลูกพืชนานอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากพืชสาเหตุมีพืชอาศัยกว้าง


อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคเหี่ยว หรือ แง่งเน่า ใน ขิง ข่า ขมิ้น
โรคเหี่ยว หรือ แง่งเน่า ใน ขิง ข่า ขมิ้น
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลขิง ข่า และขมิ้นในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำไม่ดีเนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ สภาพอากาศชื้น เหมาะต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะขิง ข่า ขมิ้นที่อยู่ในช่วงปลูกใหม่ ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง หากพบอาการของโรคให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านเพื่อดำเนินการหาแนวทางควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

เชื้อสาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum

ลักษณะอาการ
อาการในระยะเริ่มแรกหลังจากถูกเชื้อเข้าทำลาย ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ จะเหี่ยวตกลู่ลง ต่อมาจะม้วนเป็นหลอดและเหลือง อาการจะค่อยๆ ลามจากล่างสูงขึ้นไปยังส่วนบน ในที่สุดใบจะม้วนและเหลืองแห้งทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่จะมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ซึ่งต่อมาจะเน่าเปื่อยหักหลุดออกมาจากแง่งโดยง่าย แต่จะไม่มีกลิ่นเหม็น เมื่อตรวจดูที่ลำต้นจะพบว่าส่วนที่เป็นท่อน้ำ ท่ออาหาร จะถูกทำลายเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม และมีเมือกของแบคทีเรียเป็นของเหลวสีขาวข้นคล้ายน้ำนมซึมออกมาตรงรอยแผลหรือรอยตัดของต้นหรือแง่งขิงที่เป็นโรค สำหรับแง่งจากต้นที่เพิ่งแสดงอาการโรคในระยะแรก หากนำขึ้นมาผ่าออกดู จะพบรอยช้ำฉ่ำน้ำเป็นปื้นๆ โดยเฉพาะแง่งที่ยังอ่อน ต่อมาอาการจะทวีความรุนแรงทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยยุ่ยและสีคล้ำขึ้น อาการเหล่านี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศชื้นและร้อน ตั้งแต่เริ่มแสดงอาการจนทำให้ต้นหักพับตาย จะใช้เวลา ๕ - ๗ วัน เป็นอย่างช้า

การแพร่กระจาย
เชื้อสามารถติดไปกับแง่งขิง หรือหน่อที่ใช้ทำพันธุ์ เป็นเชื้อที่มีคุณสมบัติความสามารถในการขยายพันธุ์แพร่ระบาด การเข้าทำลายพืช การอยู่ข้ามฤดูปลูก ระบาดมากในช่วงฝนตกชุก

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

๑. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เริ่มแสดงอาการของโรคเหี่ยว ให้ขุดต้นไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และโรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

๒. ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ๔๐ กรัม (๒ ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง ๑ กิโลกรัม น้ำเปล่า ๑๕ ลิตร หมักทิ้งไว้ ๖ ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำเปล่าหรือน้ำที่ละลายพูมิชซัลเฟอร์ (พูมิชซัลเฟอร์ ๒๐ กิโลกรัมต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร ปล่อยให้ตกตะกอนนานประมาณ ๑๕ นาทีหรือน้ำใส) ๒๐๐ ลิตร ร่วมกับไคโตซาน MT ๕๐ ซีซี. ซิลิโคเทรช ๑๐๐ กรัม และม้อยเจอร์แพล้นหรือสารจับใบ ๒๐ ซีซี. ก่อนนำไปพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ ๑๐ - ๑๕ วัน

๓. ในแปลงที่มีการระบาดของโรค หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต นําส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคไปเผาทําลาย



ในฤดูถัดไป

๔ ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี

๕ ไถพรวนดินให้ลึกเกินกว่า ๒๐ เซนติเมตร จากผิวดิน และตากดินไว้นานกว่า ๒ สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก

๖. พื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ควรรมดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยโรยยูเรียผสมปูนขาว อัตรา
๘๐ : ๘๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว ๓ สัปดาห์ จึงเริ่มปลูกขมิ้น

๗. ใช้หัวพันธุจากแปลงที่ปลอดโรค

๘. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อ เช่น พืชตระกูลขิง พืชตระกูลมะเขือมันฝรั่ง พริกและถั่วลิสง ให้สลับปลูกพืชชนิดอื่นที่ไมใช่พืชอาศัย เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรของโรค


ที่มา : สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

กรมวิชาการเกษตร
เรียบเรียงโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
3505 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 5 รายการ
|-Page 274 of 351-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
สารออกฤทธิ์ฮิวมิคแอซิด: ฟาร์มิค - ฟื้นระบบรากและปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืช สำหรับต้นทับทิม
Update: 2567/02/13 09:34:47 - Views: 139
การปลูกมะม่วง: ให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ
Update: 2566/04/29 08:32:04 - Views: 16446
บีทรูท ต้นเน่า ใบไหม้ กำจัดโรคบีทรูท จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/10 10:00:09 - Views: 3049
หนอน ในผักคะน้า หนอนใยผักคะน้า หนอนต่างๆ ป้องกันกำจัดหนอน ฉีดพ่น ไอกี้-บีที
Update: 2564/09/19 23:14:51 - Views: 3236
ธาตุแมงกานีส
Update: 2565/07/26 00:55:12 - Views: 3036
กำจัดโรคราดำ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ศัตรูพืชในทุเรียน สารอินทรีย์ไอเอส และ FK-T ธรรมชาตินิยม ฟื้นฟูจากการทำลายของเชื้อรา
Update: 2566/05/26 10:14:00 - Views: 3185
ท้าวเวสสุวรรณ สลักบนแผ่นเหล็กน้ำพี้ โชคดี มีลาภ สมหวังใจคิด เงินไกลกอง ทองไหลมา ขจัดสิ่งไม่ดี ป้องกันอันตราย
Update: 2567/02/16 14:25:12 - Views: 118
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยหอย ศัตรูพืชที่มากับหน้าร้อน สำหรับพืชทุกชนิด
Update: 2567/02/21 14:44:39 - Views: 113
คู่มือป้องกันกำจัดโรคเชื้อราต่างๆในดาวเรือง ดาวเรืองใบไหม้ ดอกไหม้ ดอกเป็นจุด ราแป้ง ฯลฯ
Update: 2566/05/01 10:27:34 - Views: 17017
ยาฉีดเงาะ หนอนเจาะผลเงาะ หนอนคืบ ใช้ ไอกี้ เพลี้ยไฟในเงาะ เพลี้ยต่างๆ ใช้ มาคา ส่วนโรคเงาะที่เกิดจากเชื้อรา..
Update: 2563/04/11 13:21:30 - Views: 3538
หัวไชเท้า เน่าดำ เน่าเละ กำจัดโรค เชื้อราต่างๆในหัวไชเท้า ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/05 11:16:59 - Views: 3128
อะโวคาโด้ โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/04/08 15:14:18 - Views: 84
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแก้วส้ม ใน ส้ม และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/11 10:57:09 - Views: 3016
อยากถ่ายรูป ให้ได้ภาพชัดตื้น หรือหน้าชัดหลังเบลอ ไม่ยาก แค่เข้าใจค่า f
Update: 2562/08/12 21:28:49 - Views: 4527
โรคกุหลาบ กุหลาบใบไหม้ บนใบเป็นแผลสีน้ำตาล คือ โรคแอนแทรคโนสกุหลาบ ลุกลามไปส่วนอื่นๆได้
Update: 2564/02/22 11:57:37 - Views: 3451
4 สหายขายดี FK-1 เร่งโต ไอเอส แก้ราต่างๆ มาคา แก้เพลี้ยต่างๆ ไอกี้ แก้หนอนต่างๆ
Update: 2564/09/04 23:36:38 - Views: 3277
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง หนอนแมลงวันทอง หนอนผีเสื้อ ศัตรูพืชในฝรั่ง หนอนต่างๆ ฉีดพ่น ไอกี้-บีที
Update: 2564/09/20 05:14:53 - Views: 3153
มะระจีน ใบไหม้ ใบจุด ราแป้ง รากเน่า แอนแทรคโนส เชื้อราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วยปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/06 15:50:20 - Views: 104
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60: ตัวช่วยเพิ่มผลผลิตแอ๊ปเปิ้ลให้ใหญ่ ดก และมีคุณภาพ
Update: 2567/03/13 14:34:42 - Views: 211
เคล็ดลับการใช้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบในการเร่งโตของสับปะรด
Update: 2566/11/11 13:35:50 - Views: 237
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022