[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ย
2121 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 212 หน้า, หน้าที่ 213 มี 1 รายการ

ปุ๋ยสำหรับนาข้าว ช่วงนี้เข้าฤดูทำนาแล้ว ปุ๋ยและยาแก้โรคข้าว โรคเน่าคอรวง ยาแก้เพลี้ย ติดต่อเราได้เลยนะคะ
ผลิตภัณฑ์จากฟาร์มเกษตร ตามข้อมูลด้านล่างในหน้าเว็บไซต์นี้ ในครั้งนี้ เราจะมีแนะนำสินค้าที่ใช้ในการทำนาข้าวนะคะ

อ้างอิงจากรูปภาพสินค้าด้านล่างนะคะ

สินค้าหมวด ปุ๋ย

FK-1 เริ่มฉีดพ่นหลังหว่านข้าว หรือหลังดำนาได้ตั้งแต่มีอายุ 7 วันเป็นต้นไปเลยค่ะ จะช่วยเร่งโตแตกกอ ช่วยให้ข้าวโตเร็ว ใบแข็ง เขียว แข็งแรง

FK-3R ตัวนี้เน้นโพแตสเซียมสูง ใช้เร่งผลผลิตข้าว ทำให้ข้าวรวงยาว เมล็ดเต็ม น้ำหนักดี ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

สินค้าหมวด ยารักษาโรคพืช และปราบศัตรูพืช

มาคา ป้องกันและกำจัดเพลี้ยต่างๆในนาข้าวค่ะ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตา เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยต่างๆ

ไอเอส ใช้ป้องกันรักษาโรคพืชที่มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคขาดคอรวง เน่าคอรวง ข้าวใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล

ไอกี้-บีที ใช้ป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆในนาข้าวค่ะ หนอนกอ หนอนม้วนใบ หนอนอื่นๆ

สนใจสั่งซื้อ
ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614
เฟสบ๊คเพจ ค้น ฟาร์มเกษตร ทักแชทสั่งซื้อได้เช่นกันค่ะ
หรือซื้อผ่านระบบตระกร้าสินค้า www.FKX.asia เป็นเว็บไซต์ของเราเช่นกันค่ะ
อ่าน:2962
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถช่วยยกระดับผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตได้
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถช่วยยกระดับผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตได้
การเพิ่มผลผลิตข้าว ตามเขตศักยภาพการให้ผลผลิตของพื้นที่ปลูกข้าวของไทย

กรมการข้าว โดยสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว ได้ทำการวิจัยการจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าว ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบการจัดการดิน ตามความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ตลอดจนทำให้ทราบขีดความสามารถในการผลิต ช่วยให้การกำหนดยุทธศาสตร์ตลอดจนวางแผนการผลิตข้าวของประเทศไทย มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เริ่มทำการวิจัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ภายใต้โครงการนำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย บุรีรัมย์ และสุพรรณบุรี และได้ขยายโครงการเป็นการศึกษาทั่วประเทศ โดยทีมงานวิจัยซึ่งกระจายอยู่ตามศูนย์วิจัยข้าวต่างๆ ทั่วประเทศ จนถึง พ.ศ. 2553 ได้สรุปผลการศึกษาและเผยแพร่ผลงานแล้วประมาณ 60 จังหวัด ดังนั้นเพื่อให้การศึกษาครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ พ.ศ. 2554-2556 จึงดำเนินการศึกษาในพื้นที่ที่เหลือ รวมทั้งนำผลการศึกษารายจังหวัดมาจัดทำแผนที่ศักยภาพการผลิตเป็นรายภาคและของทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์ในการใช้วางแผนการผลิต ตั้งแต่ระดับรายแปลงจนถึงระดับนโยบาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวแหล่งใหญ่ของประเทศ มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวปานกลาง การใช้เทคโนโลยีช่วยยกระดับผลผลิตข้าวได้ดี ช่วยให้ได้ผลผลิตข้าวมากกว่า 550 กิโลกรัมต่อไร่เป็นส่วนใหญ่ ส่วนภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมาก ได้ผลผลิตสูงสุดมากกว่า 1_000 กิโลกรัมต่อไร่ ภาคเหนือตอนบน และ ภาคใต้ เป็นเขตที่มีพื้นที่ปลูกข้าวกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม่ติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ โดยภาคเหนือตอนบน มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมาก อย่างไรก็ดีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถเพิ่มพื้นที่ที่ให้ผลผลิตมากกว่า 550 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 75 เป็น ร้อยละ 95 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้ สามารถยกระดับผลผลิตของพื้นที่จาก 450-550 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นมากกว่า 550 กิโลกรัมต่อไร่ได้

โดยสรุป ผลการศึกษาโดยรวมพบว่า การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถช่วยยกระดับผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของจังหวัดในภาคต่างๆได้ ด้วยการนำความเหมาะสมต่อการปลูกข้าว มาจัดระดับความอุดมสมบูรณ์ ร่วมกับการออกสำรวจระดับผลผลิตตามที่เกษตรกรปฏิบัติ จากนั้นแนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตั้งแต่การใช้พันธุ์ข้าว วิธีการปลูก การควบคุมดูแลวัชพืช โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ และตามค่าวิเคราะห์ดิน พบว่า โดยเฉลี่ย สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวของประเทศ ได้สูงสุด ประมาณร้อยละ 60 ที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 20 หากคำนวนพื้นที่ปลูกและระดับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เปรียบเทียบกับการปฏิบัติของเกษตรกร เฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่ จะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตข้าวของประเทศได้ ประมาณ 2.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าข้าวที่เพิ่มขึ้น ฤดูละประมาณ 3 แสนล้านบาท นอกจากนี้ การจัดทำแผนที่การผลิตรายภาคและของประเทศ สามารถนำไปประกอบการวางแผนการผลิตข้าวของประเทศได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: เขตศักยภาพการผลิตข้าว ภาคกลาง ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคใต้ ผลผลิตข้าว

อ้างอิง ricethailand.go.th
อ่าน:3016
เพิ่มผลผลิตข้าวโพด ข้าวโพดคุณภาพดี เมล็ดเต็ม ผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัว แค่เปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีการเพียงเล็กน้อย
เพิ่มผลผลิตข้าวโพด ข้าวโพดคุณภาพดี เมล็ดเต็ม ผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัว แค่เปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีการเพียงเล็กน้อย
เพิ่มผลผลิตข้าวโพด ข้าวโพดคุณภาพดี เมล็ดเต็ม ผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัว แค่เปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีการเพียงเล็กน้อย
ปรับเปลี่ยนวิธีการและแนวคิดเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้ข้าวโพดที่ปลูกอยู่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

ขั้นตอนการปลูก

การเตรียมแถวปลูกโดยใช้รถไถเดินตาม เพราะจะได้แถวข้าวโพดที่สม่ำเสมอ โดยวางแนวปลูกให้หันไปตามทิศตะวันออก-ตะวันตกใช้ระยะระหว่างแถวและระหว่างต้น 50x50 เซนติเมตร และหยอดเมล็ด 3-4 เมล็ดต่อหลุม ให้เมล็ดกระจายออกจากกันเล็กน้อย โดยการหยอดเป็นแนวสลับฟันปลา อย่าหยอดวางกันเป็นกระจุกรวมกัน

เมื่อต้นมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตรหลังงอก ให้ถอนแยกเหลือหลุมละ 3 ต้น แต่ถ้าต้นสมบูรณ์ใกล้เคียงกันทั้งหมด 4 ต้นก็ให้เก็บไว้ทั้งหมดก็ได้ จากนั้นก็ให้ดูแลตามปกติ แต่ต้องมีการจัดการให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะการปลูกตามวิธีนี้จะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าตัว เมื่อเทียบกับวิธีการปลูกตามปกติทั่วไป

ข้อดี : การปลูกด้วยวิธีนี้จะทำให้ได้ฟักที่สองสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเกือบทุกต้น ช่วงความสูงของลำต้นจะลดลง แต่ความยาวของใบบนนั้นจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีการแก่งแย่งแสงแดดกันเอง จึงทำให้ใบยืดยาวขึ้น ลักษณะนี้ เป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นข้าวโพด เนื่องจากลำต้นสั้นเตี้ยลง และการปลูกหลุมละหลายต้นทำให้ระบบรากนั้นเกี่ยวสอดรัดพันกันหนาแน่น ทำให้ยึดเกาะติดกับผืนดินได้แข็งแรงขึ้นอีกมาก หมดปัญหาเรื่องต้นข้าวโพดล้มหรือหัก ส่วนการวางแนวปลูกให้หันไปตามทิศตะวันออก-ตะวันตกนั้น จะทำให้ต้นข้าวโพดได้รับแสงแดดสม่ำเสมอเท่ากันทุกต้น และการทำแปลงปลูกเป็นแนวรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะทำให้การผสมเกสรทั่วถึง ฝักข้าวโพดที่ได้จึงมีฝักสมบูรณ์ เมล็ดเต็มฝัก ทำให้น้ำหนักและผลผลิตเพิ่มขึ้นไปด้วย

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

1. ก่อนหยอดเมล็ดพันธุ์ต้องหว่านปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 หรือ 16-20-0 ไร่ละ 25-50 กิโลกรัม

2. เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30 วัน ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมยูเรีย หรือสูตร 25-7-7 อัตราไร่ละ 25-50 กิโลกรัม และไถดินกลบโคน

การดูแลรักษา :ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ผสมสูตร 15-15-15 อัตราไร่ละ 20-30 กิโลกรัม ใส่ก่อนที่จะเก็บเกี่ยว
ข้าวโพดประมาณ 10-12 วัน

การให้น้ำ : ใช้น้ำตามร่องข้าวโพด ใส่ทุก 7-10 วัน หรือดูตามสภาพดิน สภาพอากาศ

การเก็บเกี่ยว: ช่วงระยะเวลาประมาณ 75 วันสามามารถหักขายได้เลย

แหล่งอ้างอิง
rakbankerd.com/agriculture/ page.php?id=5549&s=tblplant
อ่าน:3074
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
มันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย นอกจากจะเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังได้มากเป็นอันดับที่สามของโลก รองจากประเทศ ไนจีเรีย และบราซิล ยังเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลก และนำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 30_000 ล้านบาท เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชของขวัญของเกษตรกรไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่ายแม้ดินจะไม่ดี ทนต่อความแห้งแล้ง ปัญหาโรคแมลงมีน้อย หัวสดมีตลาดรองรับแน่นอน การขุดเก็บเกี่ยวไม่ขึ้นกับฤดูกาล สามารถจะชะลอการเก็บเกี่ยวได้

จากการสำรวจมันสำปะหลังจะเห็นได้ว่า ผลผลิตหัวมันสดเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่มากในปี 2547/2548 2548/2549 เฉลี่ยต่อไร่ (2_749และ 2_921กิโลกรัม)

จากการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังประจำปี 2550/2551 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_302_960 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_782 ตัน ผลผลิตรวม 27_618_763 ตัน เปรียบเทียบกับ ปีประจำปี 2549/2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_201_243 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_668 ตัน ผลผลิตรวม 26_411_233 ตัน

พื้นที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น 1.41% ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 3.11% และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น 4.57% (มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย_ 2550) แม้ในปัจจุบัน จะมีการขยายพื้นที่มันสำปะหลังพันธุ์ดีสู่เกษตรกรไปมากแล้วก็ตาม สาเหตุหลักเนื่องจากดินเสื่อมโทรม ทำให้ผลผลิตต่ำแม้ใช้มันสำปะหลังพันธุ์ดีเนื่องจากเกษตรกรไม่นิยมปรับปรุงบำรุงดิน

การเพิ่มผลผลิตโดยรวมของประเทศ จึงมาจากการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นมากกว่า ในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่เพิ่มขึ้นนั้น เกษตรกรสามารถทำได้ 3 วิธีร่วมกันคือ

- การจัดการดินดี
- การใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินและพื้นที่
- การปฏิบัติดูแลรักษาดี

ก็จะช่วยให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ปัญหาของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังคือ ดินเสื่อมโทรมจะเป็นปัญหาอันดับหนึ่ง จึงจำเป็นต้องหาหนทางในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน และการบำรุงรักษาดิน และการดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ จะช่วยให้ผลผลิตหัวสดต่อไร่สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน เนื่องจากศักยภาพของพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ถ้าเกษตรกรมีการปฏิบัติดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ได้ผลผลิตสูงเฉลี่ยต่อไร่ 5-10 ตันต่อไร่ได้ เนื่องจากการผลิตมันสำปะหลังในปัจจุบัน แม้ราคาจำหน่ายหัวมันสดจะสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละกว่า 2.50 บาท แต่ปัจจัยการผลิตต่างๆ ก็แพงขึ้นตามตัวไม่ว่าจะราคาน้ำมัน (ดีเซล) ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช ค่าแรงงาน ทำให้ต้องมองหาวิธีการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี มีราคาแพงถึงกระสอบละ 1_000 กว่าบาทนั้น ต้องมองหาแหล่งปุ๋ยอินทรีย์ ที่นับวันจะหาอยากเพื่อจะนำมาใช้ทั้งโดยตรง และร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีที่ใช้อัตราต่ำลง แต่ยังคงให้ผลผลิตคุ้มกับการลงทุน

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและน้ำมันิบมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การหาแหล่งพลังงานใหม่เข้ามาทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบ จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ จะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ อย่างยั่งยืน สถานภาพวัตถุดิบที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล สามารถผลิตได้จากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันเบนซินในอัตราส่วน 20% จะได้น้ำมันที่เรียกว่า แก๊ซโซฮอล์ (Gasohol) โดยวัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงสำหรับการผลิตเอทานอลได้แก่ อ้อย กากน้ำตาล และมันสำปะหลัง

จากการวิจัยและพัฒนาพบว่า วัตถุดิบที่เหมาะสมที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล คือมันเส้นเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ การใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้มันน้อยที่สุด ทั้งนี้พิจารณาถึงความสามารถและกำลังการผลิตหัวมันสำปะหลังซึ่งในปัจจุบัน ผลผลิตหัวสดมีปริมาณไม่เพียงพอในการผลิตแป้ง ในปัจจุบัน และราคาหัวมันสดที่สูงถึงกว่า 2.50 บาท จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตเอธานอลที่ไม่คุ้มกับการลงทุน เนื่องจากปัญหาจำนวนผลผลิตส่วนใหญ่ใช่ในอุตสาหกรรมอาหาร จึงมีผลผลิตไม่เพียงพอในการนำไปผลิตพลังงานทดแทน หากจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นเป็นเรื่องจำเป็น

การปฏิบัติในการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณแป้งในมันสำปะหลัง เพื่อรองรับทางด้านพลังงานสามารถทำได้ดังนี้

1. การเตรียมดินดี ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการปลูกพืช ดินที่ปลูกจะต้องมีความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่จะปลูกในดินร่วนปนทราย ในสภาพพื้นที่ลอนลาด เนินเขาต่างๆ ในการปฏิบัติส่วนใหญ่หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จในช่วงต้นฤดูฝน ถ้าทำการปลูกต่อจะไถพื้นที่ด้วยรถไถผาล 3 หรือเรียกว่าไถดะ เพื่อไถหมักต้นและใบสดที่ทิ้งในแปลง รวมทั้งวัชพืชที่ขึ้นในแปลงโดยทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน เพื่อหมักให้วัชพืชเน่าเปื่อย หากจะบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารปรับปรุงดิน เช่น ยิบซั่ม ก็ทำการหว่านให้ทั่วทั้งแปลง เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอก็ทำการไถอีกครั้งด้วยรถไถผาล 7 เรียกว่าไถแปร ถ้าหากปลูกแบบพื้นราบก็ทำการปลูกได้เลยโดยการใช้เชือกทำเครื่องหมาย
ระยะปลูกให้เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ หากในบางพื้นที่ก็ทำการยกร่องปลูกก็ขึ้นกับสภาพพื้นที่

2. ปรับปรุง และบำรุงดิน ปัจจุบันพันธุ์มันสำปะหลัง เทคโนโลยีการผลิตนั้น ประเทศไทยถือได้ว่ามีความก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่ง ในประเทศผู้ปลูกมันสำปะหลังในโลกปัจจุบัน แต่ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยคือ ปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ต่ำ ทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยของเกษตรและของประเทศ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำประมาณ 2.5-3.0 ตันต่อไร่ (ปี 2549/50 3.7 ตันต่อไร่) แม้เกษตรกรจะใช้มันสำปะหลังพันธุ์ที่ใหม่และให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 5-10 ตันต่อไร่ก็ตาม แต่หากไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีก็คงจะได้ผลผลิตสูงได้ยาก

การปรับปรุงบำรุงดินเป็นสิ่งจำเป็นในการปลูกมันสำปะหลัง หากจะปลูกแล้วให้มีกำไรและให้ผลผลิตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยมูลไก่ มูลสุกร มูลโค หรือมูลสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่หาได้โดยใส่อัตราประมาณ 500 – 1_000 กก./ไร่ หรือปุ๋ยอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่นนอกจากนั้นยังสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานที่สามารถนำมาใช้โดยตรง เช่น เปลือกมันสำปะหลังจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่ทิ้งหมักไว้แล้ว วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานผงชูรส เป็นต้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงบำรุงดิน ต้องใส่่ในปริมาณที่มาก เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่มีปริมาณธาตุอาหารที่ต่ำ และการปลดปล่อยธาตุอาหารก็ช้า และต้องใช้เวลาในการใช้จึงจะเห็นผลจำเป็นต้องใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี
จึงจะเกิดประโยชน์และช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้น

ในกรณีปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินเป็นเรื่องที่ดีในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติแม้ผลการทดลอง จากการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตหัวสดสูงขึ้น แต่การขยายผลจากงานทดลองสู่เกษตรกรยังไม่มีการตอบรับจากเกษตรส่วนใหญ่ เนื่องจากเกษตรกรมีทุนในการปลูกมันสำปะหลังน้อยอยู่แล้ว การไถแต่ละครั้งต้องใช้ต้นทุนสูงขึ้นจึงไม่ได้รับการยอมรับ

ประภาสและคณะ ศึกษาการใช้แคลเซียมซัลเฟต (CaSo4.2H2O) หรือยิบซั่มซึ่งเป็นสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแคลเซี่ยม(Ca) และกำมะถัน(S) เป็นองค์ประกอบหลักใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยมูลไก่ ทั้งในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนโดยในชุดดินวาริน ทำการศึกษาโดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 72 และพันธุ์ห้วยบง 60 ส่วนชุดดินมาบบอนใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 5 ทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนเป็นเวลา 3 ปี

จากผลการทดลองในดินชุดวาริน ในอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา และชุดดินมาบบอนในอำเภอพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการทดลองทั้งสองชุดดินที่มีสภาพเป็นดินร่วนปนทรายสามารถยกระดับผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจน ก็เป็นทางเลือกที่เกษตรกรจะพิจารณาใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงมาก

3. การวางแผนการปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาล

ปลูกปลายฤดูฝน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคม ไม่ควรเกินวันที่ 10 พฤศจิกายน ในภาคตะวันออกตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ การปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงปลายฤดูฝนความสม่ำเสมอในการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังจะต่ำกว่าการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากการปลูกปลายฤดูฝนมันสำปะหลังจะติดแล้ง ในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตอายุ 3-4 เดือน การปลูกในช่วงปลายฤดูฝนจึงแนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินเป็นทรายหรือร่วนปนทราย ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินค่อนข้างเหนียว ซึ่งเมื่อกระทบแล้งมันสำปะหลังจะตายมาก และมีในภาคตะวันออกอาจจะเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนตุลาคม – มกราคม เนื่องจากสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและหากมีการไถดะให้ลึกเพื่อตัดเก็บความชื้นเอาไว้
จะช่วย ให้ในดินมีความชื้นและปริมาณน้ำฝนที่มากและการกระจายตัวของฝนมากกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปลูกต้นฤดูฝน
ตั้งแต่ปลายมีนาคม – เมษายน ในฤดูฝนควรดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคมให้เสร็จ หากปลูกหลังจากเดือนนี้จะมีปัญหาเรื่องวัชพืชที่มี ต้นทุนสูงที่สุดในขั้นตอนการปลูกมันสำปะหลั งยิ่งทำในพื้นที่มากๆแล้วไม่แนะนำให้ดำเนินการในช่วงเดือนนี้ ควรทำในช่วงต้นฤดูฝน

4. ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี คือ พันธุ์ที่มีการปรับตัวในสภาพแวดล้อมต่าง ๆได้ดี สามารถงอกและมีอัตราการอยู่รอดสูง เจริญเติบโตดี สามารถคลุมวัชพืชดี ทรงต้นดี อายุการเก็บต้นพันธุ์หลังการเก็บเกี่ยวได้นาน ให้ผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งสูง ในพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังควรเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินที่เกษตรกรปลูกเอง ในปัจจุบันทางราชการได้แนะนำพันธุ์มันสำปะหลังประเภทปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรมให้เกษตรกรขยายพันธุ์ปลูกไปแล้วจำนวน 11 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 ระยอง 60 ศรีราชา 1 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 5 ระยอง 72 ห้วยบง 60 ระยอง 7 และระยอง 9 ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่น และด้อยต่างกัน

5. การใช้ต้นพันธุ์ดี พันธุ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมและวิธีการปลูกที่ถูกต้องผลผลิตหัวสดที่ได้จากการปลูกมันสำปะหลัง มีความสัมพันธุ์อย่างมากกับความงอกและจำนวนต้น อยู่รอดจนกระทั่งขุดเก็บเกี่ยว แต่ส่วนมากนิยมการปลูกแบบปักตรง ซึ่งได้รับผลผลิตสูงกว่า ตางอกได้เร็วกว่า การดูแลรักษาหลังการปลูก เช่น การกำจัดวัชพืช ปัญหาเรื่องแดดเผาต้นไม่มี การใส่ปุ๋ยตลอดจนการขุดเก็บเกี่ยวทำได้สะดวก การเลือกท่อนพันธุ์ที่ดี เป็นต้นพันธุ์ที่ใหม่หลังการตัดต้นพันธุ์แล้ว ควรรีบดำเนินการปลูกภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากขุดมันแล้ว เกิดภาวะแห้งแล้งไม่เหมาะสมในการปลูก หากจำเป็นต้องเก็บต้นไว้ปลูกหลายเดือนควรเก็บท่อนพันธุ์ตั้งไว้กลางแจ้ง ให้โคนต้นถึงพื้นดินทุกต้นและกรบโคนต้น รดน้ำให้ดินมีความชื้นโดยกองละประมาณ 500 ต้น ต้นมันสำปะหลังจะรักษาน้ำเลี้ยงคงความสดไว้ได้นานกว่า 2 เดือน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสมควรคัดต้นที่สมบูรณ์ ตาของท่อนพันธุ์ต้องถี่ ต้นมีสีออกน้ำตาล หลีกเหลี่ยงการใช้ส่วนที่เป็นโคนต้นและปลายยอดที่มีสีเขียว รวมทั้งลำต้นที่เป็นโพรง วิธีการสับท่อนพันธุ์เป็นเรื่องที่น่าสนใจและใช้ความระมัดระวังอย่างมาก อย่าให้กระทบกระเทือนตาบนท่อนพันธุ์ และแนะนำให้สับตรงหรือเฉียงเล็กน้อย ไม่ควรสับเฉียงจนแหลมมาก นอกจากนั้นต้องตัดท่อนพันธุ์ให้มีความยาวที่เหมาะสม คือ ยาวประมาณ 20-25 ซม. การใช้ต้นพันธ์เพื่อปลูก ถ้าต้นพันธุ์มันสำปะหลังมีความยาวขนาด 1.20 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 500 - 650 ต้นต่อไร่ก็ขึ้นกับพันธุ์

6. วิธีการปลูก
สำหรับการปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยที่เกษตรกรนิยมปลูกมีด้วยกัน 3 วิธีคือ
6.1.การปลูกแบบยกร่อง
6.2.การปลูกแบบพื้นราบ
6.3.การปลูกโดยใช้เครื่องจักร

7.จัดระยะปลูกให้ถูกต้อง
ทุกสภาพดินการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตสามารถกระทำได้โดยการใช้ระยะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์ที่ใช้ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน หลักในการพิจารณาโดยทั่วๆไปที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้คนที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลังสำปะหลังก็คือ “ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง” ความนิยมของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ โดยจะมีระปลูกโดยทั่วไปเช่น ระยะ1.0 x1.0 เมตรใช้ท่อนพันธุ์ 1_600 ท่อน 1.2 x 0.8 เมตร (1_600 ท่อนปลูกระยะถี่1.0 x 0.8 เมตร (2_400 ท่อน ) ในบางครั้งจะเห็นว่าเกษตรกรนั้นปลูกระถี่กว่านี้จะใช้ระยะ 1.2 x 0.3-0.7 เมตร ขึ้นกับพันธุ์ที่ใช้ปลูก

8. การกำจัดวัชพืช
นอกจากปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ปัญหาวัชพืชหรือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า “รุ่น” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงตลอดฤดูฝน ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการปลูกและดูแลรักษาเกิดจากการป้องกันกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะในระยะ 1-4 เดือนแรกของการปลูกเกษตรกร
ต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกทุก 15 วัน เพื่อแก้ปัญหาวัชพืชโดยใช้หลักป้องกันไว้ก่อน การแก้ปัญหาล่าช้า ปล่อยให้วัชพืชแข็งแรง เจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอก จะกำจัดทำลายยากและยืดเยื้อ ใช้ต้นทุนสูง ทำให้มันสำปะหลังแคระแกรน ผลผลิตต่ำ การปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฤดูฝนซึ่งตรงกับหน้าแล้ง ปัญหาวัชพืชจะไม่รุนแรง

9. การเพิ่มผลผลิตโดยการใช้ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยเคมีให้ทันเวลาหมายถึงการใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูก เพื่อใส่ปุ๋ยเนื่องจากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรส่วนใหญ่ทำในพื้นที่หลายไร่ จึงจำเป็นต้องเริ่มใส่ปุ๋ยให้เร็วเพราะจะทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบได้เร็ว สามารถคลุมวัชพืชได้เร็ว และจะช่วยลดปัญหาการชะล้างพังทะลายของดินซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แล้วยังจะช่วยลดการกำจัดวัชพืชได้ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้

10. ขุดเก็บเกี่ยวให้ถูกฤดูกาลในช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนใหญ่ขุดระหว่าง 8-12 เดือน มันสำปะหลังสังเกตุจากมันจะเริ่มทิ้งใบ โดยใช้เครื่องจักรหรือแรงงานคน ส่วนใหญ่จะเริ่มขุดในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายนเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมันจะได้อายุครบ 12 เดือนหรือใกล้เคียง อีกช่วงหนึ่งที่มีการขุดหัวมันขายมากก็ในช่วง เดือนกันยายน-ตุลาคม หรือเรียกว่ามันที่ปลูกปลายฤดูฝน หากช่วงไหนราคามันไม่ดีหรือมีแปลงขนาดใหญ่ ที่มีการหมุนเวียนการปลูกภายในฟาร์มขนาดใหญ่ ก็ไม่จำเป็นที่จะขุดที่ 12 เดือน เป็นหลักอาจจะยืดอายุการขุดออกไปถึง 15-18 เดือนเนื่องจากอายุ ยิ่งมาก ผลผลิตก็ยิ่งสูงขึ้นก็ขึ้นกับปริมาณน้ำฝน

ข้อมูลจาก ku.ac.th/e-magazine/ oct51/agri/agri2.htm
อ่าน:3285
FK-1 ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ แก้ปัญหาพืชที่ดูดกินอาหารทางรากได้ไม่ดี เนื่องจากดินไม่ดี - ฟาร์มเกษตร

FK-1 ประกอบด้วย ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง ธาตุเสริม และสารจับใบ ให้พืช โตไว สมบูรณ์ แข็งแรง ต้านทานต่อโรค - ฟาร์มเกษตร

https://www.youtube.com/watch?v=UndkGBNqxUs
อ่าน:3144
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน โรคทุเรียน เพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน โรคใบติด ในทุเรียน โรคเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ทุเรียน
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน โรคทุเรียน เพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน โรคใบติด ในทุเรียน โรคเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ทุเรียน
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน โรคทุเรียน เพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน โรคใบติด ในทุเรียน โรคเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ทุเรียน
ศัตรูที่สำคัญของทุเรียนในระยะต้นเล็กซึ่งมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขา ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคราใบติด โรคราสีชมพู เพลี้ยไก้แจ้ และปัญหาสำคัญ คือวัชพืช ควรใช้หลายๆ วิธีประกอบกัน ทั้งการใช้แรงงานถอน ถาก ตัดด้วยเครื่องมือหรือใช้ยาอินทรีย์ โดยต้องระมัดระวังอย่าให้ระบบรากกระทบกระเทือน

1. โรคจากเชื้อราไฟทอฟธอรา
1.1 โรคเข้าทำลายใบ ให้พ่นไอเอส ให้ทั่วทั้งภายในและนอกทรงพุ่ม
1.2 โรคที่ระบบราก ใช้ไอเอสผสมน้ำราดใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว พร้อมกับกระตุ้นการเจริญของรากโดยการผสมปุ๋ยน้ำ FK-1 ไปพร้อมกัน
1.3 โรคที่ลำต้นและกิ่ง ถ้าอาการเล็กน้อย ให้ขูดผิวเปลือกส่วนที่เป็นโรคออกนำไปเผาทำลาย แล้วทาด้วยปูนแดง ถ้าพบอาการรุนแรง ใช้กรดฟอสฟอรัส ฉีดเข้าลำต้น หรือกิ่งในบริเวณตรงข้าม หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค

2. โรคใบติด พบอาการเล็กน้อยให้ตัดเผาทำลาย หากอาการรุนแรงให้พ่นด้วยไอเอส

3. เพลี้ยไก่แจ้ เมื่อพบยอดทุเรียนถูกทำลายมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดหรือพบไข่บนยอดมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ให้พ่นด้วยมาคา ทุก 3 ถึง 7 วันจนใบแก่

4. หนอนเจาะผล พ่นด้วยไอกี้-บีที

ขอบคุณข้อมูลก่อนปรับแต่งจาก arda.or.th/kasetinfo/south/durian/controller/01-08.php
อ่าน:3041
ปลูกมันเบอร์รี่ หรือหม่อนกินผล รายได้หลัก 3 หมื่นบาทต่อไร่ ราคาอยู่ในช่วง 150 ถึง 250 บาทต่อ กก.
ปลูกมันเบอร์รี่ หรือหม่อนกินผล รายได้หลัก 3 หมื่นบาทต่อไร่ ราคาอยู่ในช่วง 150 ถึง 250 บาทต่อ กก.
ปลูกมันเบอร์รี่ หรือหม่อนกินผล รายได้หลัก 3 หมื่นบาทต่อไร่ ราคาอยู่ในช่วง 150 ถึง 250 บาทต่อ กก.
หม่อน หรือ ลูกมัลเบอรี่ นอกจากรสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ อร่อยถูกปากใครหลายคนแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งช่วยลดระดับน้ำตาลในหลอดเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงสายตา ต่อสารอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ต่อต้านอาการขาดเลือดในสมอง ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย คุณประโยชน์ดีๆมาเพียบแบบนี้ ไม่กินไม่ได้แล้ว

ส่วนราคาของผลมัลเมอร์รีจะอยู่ที่ 150 ถึง 250 บาทต่อกิโลกรัมเลยทีเดียว สำหรับใครที่ชอบทานมัลเบอร์รี่วันนี้เรามีวิธีการปลูกหม่อน หรือ (Mulberry)ไว้กินเองมาฝากกันค่ะ ปลูกง่ายแถมได้เก็บมัลเบอร์รี่สดๆทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย มีวิธีอย่างไรบ้าง โดยการปลูกมัลเบอร์รีควรเริ่มจากการหาต้นพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยจะมีหลากหลายพันธุ์ที่นิยมปลูก แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยก็คือ กำแพงแสน 84 บุรีรัมย์ 60 เชียใหม่60 ซึ่ง 3 พันธุ์นี้เหมาะสำหรับพื้นที่แลภูมิอากาศของประเทศไทยเพราะได้มีการพัฒนาจากสถานบันเกษตรต่าง ๆอย่างต่อเนื่อง

วิธีปลูกต้นหม่อนกินผลสด

1. เตรียมต้นหม่อนที่จะปลูก (สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายต้นไม้ พันธ์ไม้ต่างๆ หรืออาจทำการปักชำเองก็ได้ ถ้ามีต้นหม่อน)
2. ระยะปลูก ปลูกเป็นแถว แต่ละต้นห่างกัน 4 เมตร เพื่อเผื่อรัศมีทรงพุ่มไว้อย่างน้อย 2.00 เมตร หรือจะปลูกในแปลงพื้นที่สี่เหลี่ยมด้วยระยะปลูก 4.00 x 4.00 เมตรก็ได้
3. การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมลึก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาว ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อหลุม และปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 250 กรัมต่อหลุม หรือจะให้แม่นยำต้องใส่ตามค่าการวิเคราะห์ดิน คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วกลบหลุมด้วยหน้าดินให้พูนเล็กน้อย
4. ขุดดินบนหลุมที่เตรียมไว้ให้ลึกพอประมาณ แล้วนำต้นหม่อนที่เตรียมไว้ลงปลูก กลบดินให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

ต้นมัลเบอร์รีให้ผลผลิตได้เต็มที่เมื่อมีอายุครบ 2 ปี ซึ่งระหว่างนั้นเราควรที่จะบำรุงรักษาด้วยการใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยสูตรอย่างสม่ำเสมอ ถ้าต้นมัลเบอร์รีมีความสมบูรณ์จะให้ผลผลิต ประมาณ 1.5-35 กิโลกรัมหรือประมาณ 750-1_850 ผลต่อครั้งต่อต้นเลยทีเดียว

เทคนิคเพิ่มเติมในการปลูกหม่อนให้ได้ผลผลิตดี

การบังคับทรงต้น

ต้นหม่อนที่ปลูกจากกิ่งชำชนิดล้างราก หรือชนิดชำถุง หรือปลูกด้วยท่อนพันธุ์จากกิ่งพันธุ์โดยตรง เมื่อต้นหม่อนเจริญเติบโตได้ประมาณ 6-12 เดือน จะต้องบังคับทรงพุ่มโดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียงกิ่งเดียวไว้เป็นต้นตอ มีความสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร จากพื้นดิน ปล่อยให้หม่อนแตกกิ่งใหม่หลายๆกิ่ง เก็บกิ่งที่สมบูรณ์ไว้ กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้ตัดทิ้งเพื่อให้ด้านล่างโปร่ง ง่ายต่อการปฏิบัติดูแลรักษาด้านเขตกรรมต่างๆ เช่น การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การพรวนดิน การตัดแต่งกิ่งแขนงและการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นต้น อนึ่งสำหรับหม่อนที่ปลูกในปีแรกๆ ลำต้นและระบบรากยังเจริญเติบโตไม่มาก อาจจะหักล้มได้ง่าย ดังนั้นจะต้องทำการยึดลำต้นไว้ด้วยไม้ หรือไม้ไผ่ให้แน่นหนา

การใส่ปุ๋ย

ในปีที่ 2 ให้ใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ตามการวิเคราะห์ความต้องการปูนขาวของดินเพิ่ม ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 250 กรัมต่อต้น

การให้น้ำ

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้น้ำหม่อนในระยะที่หม่อนติดผลแล้ว (โดยปกติจะมีฝนหลงฤดูหรือฝนชะช่อมะม่วงผ่านเข้ามา จะทำให้ต้นหม่อนแตกตาติดดอก ถ้าไม่มีฝนหลงฤดู หลังโน้มกิ่ง รูดใบ ต้องให้น้ำกระตุ้นการแตกตาแทนน้ำฝน) หากขาดน้ำจะทำให้ผลหม่อนฝ่อก่อนที่จะสุก หรือทำให้ผลหม่อนมีขนาดเล็ก การตัดแต่งกิ่งและการดูแลรักษาทรงพุ่ม ตัดเฉพาะกิ่งแขนงที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโรคทิ้ง เพื่อลดการสะสมโรคและแมลง

การบังคับให้หม่อนติดผลนอกฤดูกาล

ใช้วิธีการบังคับต้นหม่อน เพื่อให้ได้ผลผลิตผลหม่อนในระยะเวลาที่ต้องการ มีวิธีการดังนี้
1. ทำการโน้มกิ่งหม่อนที่ปลูกแบบทรงพุ่ม โดยการโน้มกิ่งให้ปลายยอดขนานกับพื้น หรือโน้มลงพื้นดิน รูดใบหม่อนออกให้หมด พร้อมทั้งตัดยอดส่วนที่เป็นกิ่งสีเขียวออกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้เชือกผูกโยงติดไว้กับหลักไม้ไผ่ ซึ่งปักไว้บนพื้นดินสำหรับยึดเชือกไว้
2. หลังการโน้มกิ่ง 8-12 วัน ดอกหม่อนจะแตกออกพร้อมใบ จากนั้นจะมีการพัฒนาการของ ผลหม่อน โดยผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาว สีชมพู สีแดง และสีม่วงดำ ตามลำดับ โดยใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ผลจะเริ่มแก่และสุก สามารถเก็บไปรับประทานสดหรือนำไปแปรรูปได้ มีระยะเวลาในการเก็บผลประมาณ 30 วันต่อต้น เพราะผลหม่อนจะทยอยสุก เนื่องจากออกดอกไม่พร้อมกัน เมื่อต้นหม่อนมีอายุตั้งแต่ 2 ปี เป็นต้นไปจะให้ผลผลิตผลหม่อนประมาณ 1.5-35 กิโลกรัม(ประมาณ 750-1_850 ผลต่อครั้งต่อต้น) เพียงพอต่อการบริโภคผลสดทั้งครอบครัวทุกวัน ตลอดปี ซึ่งร่างกายต้องการวันละ 10-30 ผลเท่านั้น อีกทั้งยังมีผลหม่อนสดไว้แปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่มได้อีกหลายชนิด เช่น น้ำหม่อน แยมหม่อน เชอเบทหม่อน ฯลฯ

ข้อมูลต้นฉบับจาก tnews.co.th/variety/512312/เทคนิคปลูกหม่อนง่ายๆ-ให้ลูกดก-เก็บกินได้ตลอดทั้งปี
อ่าน:3061
จากช่างซ่อมรถ รายได้เดือนหมื่นห้า เปลี่ยนมาเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง สร้างรายได้กว่า 200000 บาท สองแสนบาทต่อเดือน
จากช่างซ่อมรถ รายได้เดือนหมื่นห้า เปลี่ยนมาเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง สร้างรายได้กว่า 200000 บาท สองแสนบาทต่อเดือน

การเลี้ยงปลาทับทิม
รูปแบบการเลี้ยงปลาทับทิม จำแนกตามลักษณะแหล่งน้ำที่เลี้ยง ได้แก่
1. การเลี้ยงในบ่อดิน
เป็นการเลี้ยงในบ่อที่ขุดบริเวณพื้นที่ว่าง โดยคันบ่อ ขอบบ่อ และก้นบ่อเป็นดิน และไม่ใช้วัสดุกันน้ำใดๆรองพื้นหรือที่เรียกว่า บ่อน้ำหรือสระ บ่อเลี้ยงในลักษณะนี้มักเป็นบ่อขนาดใหญ่เป็นไร่หรือมากกว่า มีความลึกของบ่อตั้งแต่ 2 เมตร การเลี้ยงในลักษณะนี้จำเป็นต้องมีปริมาณน้ำมากเพียงพอ เพราะจำเป็นต้องใช้น้ำมาก

2. การเลี้ยงในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
การเลี้ยงในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จะเป็นลักษณะการเลี้ยงในกระชังเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ปลาอยู่ในพื้นที่เลี้ยง ขนาดความลึกของน้ำไม่ควรต่ำกว่า 5 เมตร มีค่าความขุ่นใสไม่น้อยกว่า 70 เซนติเมตร

3. การเลี้ยงในแม่น้ำ
การเลี้ยงในแม่น้ำจัดเป็นการเลี้ยงในกระชังเช่นกัน แม่น้ำควรมีน้ำไหลตลอดฤดูกาลเลี้ยง หากเป็นพื้นที่ใกล้ปากอ่าว ควรให้กระชังห่างจากปากอ่าวมากที่สุด อย่างน้อย 20 กิโลเมตร เพื่อไม่ให้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงความเค็มหรือคุณภาพมากเกินไป

4. การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
เป็นการเลี้ยงที่ใช้วิธีการสร้างบ่อน้ำด้วยการก่อบ่อซีเมนต์สี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมักเลี้ยงในโรงเรือนที่สามารถป้องกันน้ำฝนได้ การเลี้ยงลักษณะนี้จะเลี้ยงได้ในปริมาณน้อย จากปัญหาเรื่องพื้นที่จำกัด และอาจต้องใช้เครื่องเติมอากาศเข้าช่วยเพื่อให้ออกซิเจน

การเลี้ยงตามลักษณะการจำหน่าย
1. การเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา เป็นการเลี้ยงเพื่อการบริโภค และเพื่อการจำหน่าย โดยส่วนที่จำหน่ายจะเป็นส่วนที่เหลือจากการบริโภค การเลี้ยงลักษณะนี้มุ่งเน้นให้มีต้นทุนต่ำ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือวัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่นเป็นอาหารแก่ปลาเป็นหลัก ร่วมกับการหากินเองของปลาตามธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก เศษพืชผัก ปลวก เป็นต้น

2. การเลี้ยงเชิงพาณิชย์ หรือการเลี้ยงแบบเข้มข้นเพื่อการจำหน่ายเป็นหลัก อาหารที่เลี้ยงจะเป็นอาการสำเร็จรูปที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดเป็นหลัก เพราะเป็นการเลี้ยงเพื่อให้ปลาได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ทำหให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว ปลาที่มีขนาดใหญ่ และเป็นไปตามความต้องการของตลาด อัตราการปล่อยเลี้ยงจะใช้แบบหนาแน่น และให้อาหารมาก เพื่อย่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง

3. การเลี้ยงระบบฟาร์มลูก เป็นรูปแบบการเลี้ยงที่เกษตรเป็นเครือข่ายของบริษัทผู้พัฒนาพันธุ์ปลา โดยบริษัทจะให้การสนับสนุนในหลายด้าน อาทิ พันธุ์ปลา ยา และอาการ รวมถึงการให้คำปรึกษา และการแก้ปัญหาตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถผลิตปลาทับทิมได้มีคุณภาพดี และสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ในด้านการตลาด บริษัทเครือข่ายจะเป็นผู้รับชื้อในราคาต่อหน่วยกิโลกรัมปลา โดยที่เกษตรกรไม่จำเป็นต้องวิ่งหาตลาดเอง

พันธุ์ปลาที่เลี้ยง
ลูกพันธุ์ปลาทับทิมที่นำมาเลี้ยง ควรหาซื้อจากฟาร์มที่มีความน่าเชื่อถือ หรือจากบริษัทผู้ผลิตพันธุ์ปลาโดยตรง นอกจากนั้น หากเกษตรกรมีการเลี้ยงจำนวนมาก และเป็นผู้มีความรู้ในด้านการเพาะขยายพันธุ์ปลา อาจทำการเพาะขยายพันธุ์ปลาเอง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนเรื่องพันธุ์ปลาลงได้มาก


ที่มา http://pasusat.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5...
https://www.youtube.com/watch?v=kK31Ch6-b5E
อ่าน:2996
ยาฉีดเงาะ หนอนเจาะผลเงาะ หนอนคืบ ใช้ ไอกี้ เพลี้ยไฟในเงาะ เพลี้ยต่างๆ ใช้ มาคา ส่วนโรคเงาะที่เกิดจากเชื้อรา..
ยาฉีดเงาะ หนอนเจาะผลเงาะ หนอนคืบ ใช้ ไอกี้ เพลี้ยไฟในเงาะ เพลี้ยต่างๆ ใช้ มาคา ส่วนโรคเงาะที่เกิดจากเชื้อรา..
ยาฉีดเงาะ หนอนเจาะผลเงาะ หนอนคืบ ใช้ ไอกี้ เพลี้ยไฟในเงาะ เพลี้ยต่างๆ ใช้ มาคา ส่วนโรคเงาะที่เกิดจากเชื้อรา..
🔥ยาฉีดเงาะ หนอนเจาะผลเงาะ หนอนคืบ ใช้ ไอกี้ เพลี้ยไฟในเงาะ เพลี้ยต่างๆ ใช้ มาคา ส่วนโรคเงาะที่เกิดจากเชื้อรา เช่นเงาะใบไหม้ เงาะยอดไหม้ โรคใบจุดสาหร่ายในเงาะ ใช้ ไอเอส
.
หนอนมาใช้ ไอกี้_ เจ้าเพลี้ยตัวดีใช้ มาคา_ หากเจอโรคใบไหม้โรคเชื้อราใช้ ไอเอส_ ใจร้อนอยากให้พืชฟื้นตัวเร็วใช้ FK-1 เร่งฟื้นตัว เร่งเขียว เร่งโตนะคะ
..สนใจทักแชทเลย..
.
ทั้งหมดนี้ ใช้ได้กับทุกพืชค่ะ
.
ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
.
ไอกี้ กำจัดหนอน 490 บาท บรรจุ 500กรัม_ ไอกี้ เป็นสารชีวินทรีย์ แบคทีเรียแกรมบวก ใช้กำจัดหนอนทุกชนิดโดยเฉพาะ
.
มาคา กำจัดเพลี้ย 470 บาท บรรจุ 1 ลิตร_ มาคา เป็นสารอินทรีย์สกัดจากพืช
.
ไอเอส กำจัดโรคใบไหม้ โรคเชื้อรา 450 บาท บรรจุ 1 ลิตร_ ไอเอส เป็นสารอินทรีย์ ทำงานแบบ อีออนคอนโทรลในการกำจัดโรคราต่างๆ
.
FK-1 ใช้เร่งฟื้นตัว เร่งโตแตกยอดแตกใบใหม่ ราคา 890 บาท บรรจุ 2 กิโลกรัม_ FK-1 เป็นธาตุหลัก N-P-K บวกธาตุรองธาตุเสริม สารจับใบ (ปุ๋ยเคมี ธาตุ N-P-K ไม่ได้อันตรายเหมือนสารเคมีหรือยาเคมี แต่ สำหรับคนที่กังวล ไม่ต้องซื้อตัวนี้ค่ะ ตัดออกไปเลย)
.
การสั่งซื้อ
ทักแชทได้เลยค่ะ..
หรือ ไลน์ไอดี PrimPB
หรือ โทร 090-592-8614
อ่าน:3539
อาการขาดธาตุต่างๆ ในพืช จะแสดงออกให้เราเห็นทางใบ ซึ่งเราพอจะสังเกตุได้
อาการขาดธาตุต่างๆ ในพืช จะแสดงออกให้เราเห็นทางใบ ซึ่งเราพอจะสังเกตุได้
อาการขาดธาตุต่างๆ ในพืช จะแสดงออกให้เราเห็นทางใบ ซึ่งเราพอจะสังเกตุได้
รูปแบบอาการขาดธาตุอาหารอย่างคร่าวๆ

อาการที่ใบล่างหรือใบแก่ก่อน แสดงว่าธาตุนั้นมีการเคลื่อนย้ายได้ดีในพืช เช่น โพแทสเซียม (K) แมกนีเซียม (Mg) มักพบอาการที่ปลายใบก่อนตามมาที่ขอบใบจึงลุกลามเข้ากลางใบ สีใบจะเริ่มเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นน้ำตาล

อาการที่ใบบนหรือใบยอดก่อน แสดงว่าธาตุนั้นไม่มีความสามารถในการเคลื่อนย้ายภายในพืช คือเคลื่อนย้ายจากในล่างสู่ใบบนไม่ได้ ได้แก่ แคลเซียม (Ca) โบรอน (B)

อาการเกิดที่ใบทั่วลำต้น เกิดทั้งใบแก่และใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะแสดงอาการมากกว่า แต่อาการไม่แสดงชัดเจนก็ตาม ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส(P) และกำมะถัน (S)

ข้อมูลจาก baanlaesuan.com/144574/plant-scoop/plants_netrients_2_tree

ปุ๋ยน้ำ FK-1 แก้ปัญหาอาการพืชขาดธาตุ

ทำความเข้าใจกับคุณลักษณะของปุ๋ยที่แตกต่างกัน ก่อนเลือกซื้อปุ๋ย

ปุ๋ยน้ำตรา FK ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การใช้งาน แตกต่างกับปุ๋ยโดยทั่วไป ซึ่งปุ๋ยน้ำตรา FK ถูกออกแบบมา เพื่อบำรุงพืชโดยตรง ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อปรับปรุงดินหรือเพิ่มจุลินทรีย์ให้กับดิน เพื่อให้ดินดูแลพืช ซึ่งวิธีปรับปรุงดินนี้จะทำให้พืชตอบสนองได้ช้า และอาจจะไม่ได้ผลผลิตดีในรอบการปลูกปัจจุบัน การใช้ปุ๋ยน้ำ FK นั้นจึงเป็นการป้อน ธาตุหลัก(Primary nutrient) ธาตุรอง(Secondary nutrient) ธาตุเสริม(Micronutrient) ให้กับพืชโดยตรง

สนใจสั่งซื้อได้ที่
โทร 091-018-5260
ไลน์ไอดี FarmKaset และ PrimPB
หรือซื้อที่ลาซาด้า คลิก https://www.lazada.co.th/products/fk-1-i512689-s591186.html
อ่าน:3344
2121 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 212 หน้า, หน้าที่ 213 มี 1 รายการ
|-Page 210 of 213-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ทำความรู้จักกับโรคที่เกิดจากเชื้อราในดอกกล้วยไม้: สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน
Update: 2566/11/08 13:34:39 - Views: 231
การปรับปรุงดินลูกรัง ให้ปลูกพืชได้ดีขึ้น
Update: 2565/08/23 18:03:34 - Views: 3321
แมคคาเดเมีย Macadamia
Update: 2564/04/04 08:36:56 - Views: 3329
มะม่วงเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซิงค์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
Update: 2566/11/10 07:07:37 - Views: 8449
กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่งด้วย ไอกี้ ปลอดภัย 490 บาท ฟื้นฟูบำรุง FK-T 890 บาท โปรฯซื้อคู่ เพียง 990 บาท
Update: 2565/07/26 08:05:00 - Views: 2967
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
Update: 2564/08/10 05:03:35 - Views: 3590
ยากำจัดโรคแอนแทรคโนส ใน กาแฟ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/14 14:04:07 - Views: 6917
การควบคุมโรคเชื้อราในต้นลิ้นจี่
Update: 2566/05/09 11:54:34 - Views: 2985
ถั่วฝักยาว โตไว ใบเขียว ฝักใหญ่ ฉีดพ่น ปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/03/30 11:21:54 - Views: 3068
มะเขือใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ใบเหลือง ใบแห้ง โรคราต่างๆในมะเขือ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/07 22:48:49 - Views: 5690
ฮิวมิค แอซิด: ฟาร์มิคที่ฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินของต้นส้ม
Update: 2567/02/13 09:49:37 - Views: 168
โรคใบไหม้ในหน้าวัว และโรคใบไหม้ใน สาวน้อยปะแป้ง
Update: 2563/11/16 07:16:11 - Views: 5232
ยาป้องกันกำจัด รักษา โรคแอนแทรคโนสในกาแฟ
Update: 2564/08/28 21:46:14 - Views: 3218
🎗โรคมะเขือเทศ ไวรัสมะเขือเทศ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ
Update: 2564/06/19 08:29:17 - Views: 3509
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ใน กวางตุ้ง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/10 12:02:29 - Views: 3015
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้เหมาะกับดิน และสภาพพื้นที่ปลูก
Update: 2564/08/31 21:55:46 - Views: 4659
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสของพริกสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/08/09 04:30:31 - Views: 3122
ยากำจัดโรคราแป้ง ใน แตงโม โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/07 11:08:06 - Views: 7389
ไขข้อข้องใจ … ทำไมแหนมถึงกินดิบได้?
Update: 2565/11/16 13:48:55 - Views: 9818
ทำไม ชื่อสายพันธุ์ โควิด-19 จึงเป็น แอลฟ่า เบต้า เดลต้า แกมม่า
Update: 2564/08/15 07:21:45 - Views: 3647
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022