[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ย
2121 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 212 หน้า, หน้าที่ 213 มี 1 รายการ

กลุ่มปลูกกุหลาบ ระวังโรคราแป้งระบาด
กลุ่มปลูกกุหลาบ ระวังโรคราแป้งระบาด
กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบรวมถึงไม้ตัดดอก โดยเฉพาะภาคเหนือระวังโรคราแป้งขาวระบาด ซึ่งมักพบเมื่อสภาพอากาศหนาวเย็น น้ำค้างลงจัดกลางคืนมีความชื้นสูง ทำให้เชื้อเจริญเติบโตได้ดี สามารถแพร่ระบาดโดยปลิวไปกับลม ทำความเสียหายรุนแรงได้

เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบขุยสีขาวขึ้นปกคลุมบริเวณด้านบนใบและใต้ใบ เนื้อใบที่ถูกทำลายจะพองออก ใบบิดงอ โดยเฉพาะใบอ่อน และยอดอ่อน ทั้งนี้ โรคราแป้งกุหลาบเป็นโรคสำคัญชนิดหนึ่งของกุหลาบ และไม้ตัดดอกหลายชนิด ลักษณะโรคจะพบเป็นผงสีขาวคล้ายผงแป้งเคลือบอยู่บนผิวใบ ทั้งด้านบนและด้านใต้ใบ พบมากในใบอ่อน และยอดอ่อนของกุหลาบ เนื้อเยื่อส่วนที่เชื้อราเกาะอยู่จะพองออก ชาวบ้านเรียกว่า โรคใบพอง ทำให้ใบบิดงอ ถ้าใบถูกราแป้งเข้าทำลายมาก จะมองเห็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีม่วงถึงดำ และหลุดร่วงในที่สุดต้นกุหลาบแคระแกร็น ดอกกุหลาบที่เชื้อราปกคลุมดอกจะไม่บาน หรือบานแต่ดอกไม่สมบูรณ์เสียรูปทรง

วิธีการป้องกันกำจัดโรคนี้ ต้องตัดแต่งกิ่งกุหลาบที่เป็นโรค เก็บใบหลุดร่วงที่โคนต้นนำไปเผาช่วงมีการระบาดขควรงดให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพราะจะทำให้โรคระบาดรุนแรงขึ้น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
สวนยาง อากาศแปรปรวน โรคราแป้งระบาด แนะใส่ปุ๋ยธาตุไนโตรเจนสูง
สวนยาง อากาศแปรปรวน โรคราแป้งระบาด แนะใส่ปุ๋ยธาตุไนโตรเจนสูง
เกษตรเมืองเลยเตือนชาวสวนยางเฝ้าระวังโรคราแป้งกำลังระบาด เหตุอากาศผันผวน ทั้งหนาว หมอกลง ตกบ่ายร้อนจัดหรือมีฝนตก ทำให้เชื้อราแป้งระบาดเร็ว แนะใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าปกติ

นายอัคนีวุธ กลับน่วม เกษตรจังหวัดเลย กล่าวว่า ได้ออกประกาศเตือนชาวสวนยางพารา ว่าช่วงนี้สภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน มีทั้งหนาว น้ำค้าง ร้อน หรือมีฝนตกปรอยๆ ซึ่งจะทำเกิดโรคโรคราแป้งในยางพารา โดยโรคราแป้ง หรือโรคใบร่วงออยเดียม (Powdery mildew or Oidium Leaf Disease) เกิดจากเชื้อรา Oidium heveae Steinm ลักษณะทั่วไปจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นกระจุกเส้นใยสีขาว ถ้าส่องดูด้วยแว่นขยายจะเห็นสปอร์ติดกันเป็นลูกโซ่อยู่ปลายเส้นใย โดยกลุ่มของเชื้อราเจริญได้ดีบนใบ มองเห็นเป็นรอยหย่อมๆ ทั่วไป ซึ่งเชื้อสกุลออยเดียมที่พบทำลายใบและดอกยางเป็นชนิด Oidium heveae ซึ่งเจริญเติบโตบนเนื้อเยื่อของพืชที่มีชีวิตเท่านั้น

“เชื้อราสกุลดังกล่าวอยู่ได้นานข้ามปีได้ อาศัยบนใบยางที่อยู่กิ่งล่างหรือต้นกล้าที่งอกในสวนยาง แต่ยังไม่พบว่าเชื้อรานี้สร้างสปอร์ชนิดอื่นๆ เพื่ออยู่ข้ามฤดูกาลได้ โดยมักจะระบาดบนใบยางอ่อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ส่งผลให้ใบยางร่วงซ้ำอีกครั้ง กิ่งแขนงบางส่วนอาจแห้งตาย ความรุนแรงของโรคนี้อยู่กับลักษณะการผลัดใบ อายุใบ ความต้านทานโรคของพันธุ์ยางด้วย”

นายอัคนีวุธกล่าวว่า การแพร่ระบาดจะรุนแรงช่วงที่ยางผลิใบใหม่ และในพื้นที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมกลางวันร้อนจัด กลางคืนเย็นและชื้น มีหมอกในตอนเช้า หรือมีฝนตกปรอยๆ ในบางวัน โรคราแป้งแพร่กระจายได้โดยลม และแมลงจำพวกไรที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของยาง ทำให้ใบยางบิดงอ เน่าดำ และร่วงจากลำต้น

สำหรับวิธีการป้องกันและกำจัด ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าปกติในช่วงปลายฤดูฝน และใส่ในช่วงที่ยางผลิใบอ่อน เพื่อเร่งให้ใบยางที่ผลิออกใหม่แก่เร็วขึ้น ถ้าต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้เกษตรกรพ่นใบยางอ่อนในช่วงเช้าตรู่ด้วยผงกำมะถัน อัตราไร่ละ 1.5-4 กิโลกรัม ทุก 5-7 วัน พ่นประมาณ 5-6 ครั้ง หรือใช้สารเคมีจำพวกเบโนมิล คาร์เบนดาซิม ซัลเฟอร์ ไตรดีมอร์ฟ และกำมะถัน อัตราการใช้ที่แนะนำตามตาราง ห้ามใช้อัตราสูงกว่าคำแนะนำ เพราะจะทำให้ใบยางไหม้ได้

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
เพลี้ยไฟ (rice thrips)
เพลี้ยไฟ (rice thrips)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stenchaetothrips biformis (Bagnall) วงศ์ : Thripidae อันดับ : Thysanoptera

เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน

ลักษณะการทำลายและการระบาด

เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและ อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง

พืชอาหาร

ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ มิลเลท ป่านลินิน หญ้าข้าวนก หญ้าไซ และหญ้าต่างๆ

การป้องกันกำจัด

1) ดูแลแปลงข้าวระยะกล้าหรือหลังหว่าน 7 วัน อย่าให้ขาดน้ำ

2) ไขน้ำท่วมยอดข้าวทิ้งไว้ 1-2 วัน เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟตัวเต็มวัย 1-3 ตัวต่อต้นในข้าวอายุ 6-7 วันหลังหว่าน ใช้ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านเมื่อข้าวอายุ 10 วัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นข้าว

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

มาคา สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัด เพลี้ยไฟ และเพลี้ยต่างๆ

FK-1 บำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
การปลูกกระชายขาว
การปลูกกระชายขาว
การขยายพันธุ์กระชายขาว: ปลูกด้วยเหง้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป และต้องมีรากกระชายอยู่ 2 – 3 ราก/เหง้า

การเพาะปลูกกระชายขาว – ปลูกในดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์สูง ที่มีร่มเงารำไรโดยมากจะเป็นการปลูกในที่ดอน หรือปลูกกลางแจ้งในเขตพื้นที่ลาดเอียงที่มีความชื้นสูง โดยไถพรวนและขุดหลุมปลูกเป็นแถว ระยะระหว่างแถวและต้น 30 ซม. ส่วนการปลูกเป็นการค้าจะปลูกกลางแจ้งในเขตชลประทานหรือสามารถให้น้ำได้ ไถพรวนดินและยกร่องปลูกกว้าง 80 – 120 ซม. ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 25 – 30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปลูกแล้วใช้ฟางคลุมรักษาความชื้นของดิน รดน้ำทุก 2 – 3 วัน/ครั้ง กำจัดวัชพืชให้แปลงสะอาด และใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ อัตรา 30 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 3 เดือนหลังปลูกและเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป ถ้าต้องการขยายช่วงเวลาเก็บเกี่ยวให้นานขึ้นหรือไว้ทำพันธุ์จะต้องคลุมฟางและรดน้ำเป็นครั้งคราวเพื่อรักษาความชื้นของดินให้เหง้าและรากกระชายไม่ฝ่อในช่วงแล้ง

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
การปลูกฟ้าทะลายโจร
การปลูกฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร (Kariyat_ The Creat) สำหรับในประเทศไทยมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันไปในแต่ละภาค เช่น หญ้ากันงู เมฆทะลายฟ้าสะท้าน สามสิบดี ฟ้าสาง หรือน้ำลายพังพอน

ลักษณะเป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีรสขมทุกส่วน กิ่งใบเป็นสี่เหลี่ยม ใบมีสีเขียวเข้มผิวมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ และมีเส้นสีม่วง-แดงพาดอยู่ มีผลเป็นฝัก เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล ด้านในมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เมื่อต้นมีอายุประมาณ 3-5 เดือน ใช้ได้ทั้งต้น ใบสด และใบแห้ง

สายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรที่นำมาปลูกมี 3 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ สายพันธุ์จาก อ.กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นสายพันธุ์ที่ให้ค่าน้ำหนักสดเฉลี่ยต่อต้นสูงสุด นอกเหนือจากนี้ก็มีสายพันธุ์จากระยอง และสายพันธุ์จากศรีสะเกษ

เทคนิคการปลูกและการดูแลรักษาฟ้าทะลายโจร

1. การเตรียมการก่อนปลูก

1.1 การเตรียมดิน โดยการขุดหรือไถพรวนเพื่อให้ดินร่วนซุย และตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงทำการไถแปร และปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก

1.2 การเตรียมพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้เมล็ดจากฝักแก่จัด เมล็ดต้องมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง เนื่องจากเมล็ดมีเปลือกแข็ง ก่อนปลูกแช่เมล็ดในน้ำที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 6-12ชั่วโมง เพื่อให้น้ำซึมผ่านเมล็ดและเมล็ดสามารถงอกได้

การปลูก ฟ้าทะลายโจรสามารถปลูกด้วยเมล็ดหรือต้นกล้า มี 4 วิธี คือ

1. นำเมล็ดผสมทรายหยาบอัตรา 1:1-2 ส่วน แล้วหว่านในแปลงปลูก

2. โรยเมล็ดเป็นแถวแนวขวาง แต่ละแถวห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินบาง ๆ

3. เพาะต้นกล้าในถาดเพาะ แล้วย้ายกล้ามาปลูกในแปลง เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน

4. เพาะต้นกล้าในแปลง การเตรียมแปลงเพาะต้นกล้าใช้วิธีเดียวกับการทำแปลงปลูก โดยรองพื้น

ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร



3. การดูแลรักษา

3.1 การใส่ปุ๋ย

แบ่งใส่เป็นระยะ ดังนี้ อายุ 60 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 125 กรัมต่อต้น หรือ 300 - 400 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร และเมื่ออายุ 90 - 110 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 300 - 500 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยวิธีการหว่านให้กระจายสม่ำเสมอกัน หลังหว่านปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำทันทีอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบ

3.2 การให้น้ำ

ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง ตั้งแต่ปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว ในช่วงที่มีแดดจัดหรือหน้าร้อนควรรดน้ำ 2 ครั้งต่อวัน ทั้งเช้าและเย็น หากมีแดดไม่จัดมาก รดน้ำวันละครั้งเฉพาะช่วงเย็นก็ได้ เมื่อต้นอายุประมาณ 2 เดือนสามารถลดการให้น้ำได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

3.3 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช

โรคฟ้าทะลายโจร ได้แก่ โรคโคนเน่าและรากเน่า เกิดจากเชื้อรา หากพบให้ถอนทำลายทันที โรคแอนเทรคโนส พบตรงกลางหรือปลายใบ หากพบให้ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง (โรคที่เกิดขึ้นกับฟ้าทะลายโจรนั้น ไม่พบว่าทำความเสียหายขั้นรุนแรง)

แมลงศัตรูฟ้าทะลายโจร ไม่พบแมลงชนิดใดที่ทำความเสียหายรุนแรง อาจพบหนอนผีเสื้อได้บ้าง ก็สามารถจับไปทำลายทิ้งได้



4. การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว

- เก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชออกดอกตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50% ซึ่งพืชจะมีอายุประมาณ 110 - 150 วัน เป็นช่วงที่มีสารสำคัญสูง โดยพบมากที่ส่วนยอดและใบ

- วิธีการเก็บเกี่ยวให้ตัดทั้งต้น ให้เหลือตอสูงประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เพื่อให้เจริญให้ผลผลิตต่อไป ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดือนจึงสามารถเก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง

- การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว นำไปคัดแยกสิ่งปลอมปน เช่น วัชพืชที่ปะปนมาและล้างให้สะอาด ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร ผึ่งให้แห้ง ทำแห้งโดย ตากแดดบนลานตากยกพื้นมีวัสดุรองรับที่สะอาด หรือใช้เครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ใน 8 ชั่วโมงแรก และลดอุณหภูมิเหลือ 40 - 45 องศาเซลเซียส อบต่อจนแห้งสนิท

5. ข้อมูลอื่นๆ

สารสำคัญออกฤทธิ์ มีสารสำคัญประเภท ไดเทอร์ฟีน แลคโตน (diterpene lactones) ได้แก่ แอนโดรการโฟไลด์ (andrographolide) มีฤทธิ์ลดไข้และต้านอักเสบ และ ดีออกซีแอนโดรการโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของท้องร่วง มาตรฐานของฟ้าทะลายโจรที่ใช้ในการผลิตยาจะต้องมี andrographolide ไม่น้อยกว่า 6% โดยน้ำหนัก

ที่มาของข้อมูล: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคลำต้นเน่า (Stem Rot Disease) โรคข้าวลำต้นเน่า
โรคลำต้นเน่า (Stem Rot Disease) โรคข้าวลำต้นเน่า
โรคข้าวลำต้นเน่า พบมาก ใน นาน้ำฝน และ นาชลประทาน ใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้

สาเหตุ เชื้อรา Sclerotium oryzae Catt.

อาการ เริ่มพบอาการได้ในระยะต้นข้าวก่อนออกรวงหรือหลังออกรวงแล้ว โดยจะพบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำใกล้ระดับน้ำและแผลจะขยายใหญ่ขึ้นและลงตามกาบใบของต้นข้าว และในขณะเดียวกันภายในลำต้นก็จะมีแผลมีลักษณะเป็นขีดสีน้ำตาล เมื่อต้นข้าวเป็นโรครุนแรง ใบล่างของต้นข้าวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส่วนของกาบใบและลำต้นจะเน่า ต้นข้าวล้มง่ายและเมื่อดึงต้นข้าวก็จะหลุดออกจากกอได้ง่าย ต้นข้าวจะตายก่อนออกรวง แต่ถ้ามีการระบาดของโรคไม่รุนแรงหรือโรคเกิดขึ้นในระยะต้นข้าวหลังออกรวงแล้ว จะมีผลทำให้ผลผลิตของข้าวลดลงได้ และเมื่อต้นข้าวเป็นโรคและแห้งตายก็จะพบเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุของโรคมีสีดำฝังอยู่ในเนื้อเยื่อของกาบใบและตามปล้องของต้นข้าว เม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุของโรคสามารถตกค้างอยู่บนตอซังข้าวและในดินได้เป็นระยะเวลานาน

การแพร่ระบาด เนื่องจากเชื้อราสาเหตุจะสร้างเม็ดขยายพันธุ์ที่ตกค้างอยู่ในตอซังข้าวและดิน ในขณะเดียวกันก็สามารถลอยอยู่บนผิวน้ำและแพร่กระจายไปกับน้ำในนาข้าวได้เช่นกัน

การป้องกันกำจัด

-เลือกปลูกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่

-ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงในแปลงที่เป็นโรค

-หลังเก็บเกี่ยวข้าว และเริ่มฤดูใหม่ ควรพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา เก็บทำลายซากพืชที่เป็นโรคออกจากแปลง

หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา รายละเอียดด่านล่างนะคะ
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
สภาพอากาศในระยะที่มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะวิธีรับมือการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการที่ราก เริ่มแรกเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล กรณีที่โรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย

ส่วนอาการที่กิ่ง ลำต้น และโคนต้น ระยะแรกจะพบต้นทุเรียนมีใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สามารถสังเกตเห็นรอยคล้ายคราบน้ำ บนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อยๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่จะลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ต้นทุเรียนใบร่วงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย อาการที่ใบ ใบช้ำ ดำ มีรอยตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และจะเกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว พบระบาดมากในช่วงฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน

สำหรับต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทน หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น และในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี หากมีน้ำท่วมขังให้รีบระบายน้ำออกทันที จากนั้น ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงดินในแปลงปลูก และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคทุกครั้งก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ป้องกัน ยับยั้งโรคพืช จากเชื้อราต่างๆ ไอเอส สารอินทรีย์ รายละเอียดต้านล่างนะคะ
อาการต้นไม้ปลูกในบ้านที่ต้องระวัง รีดจัดการก่อนต้นไม้ตาย
อาการต้นไม้ปลูกในบ้านที่ต้องระวัง รีดจัดการก่อนต้นไม้ตาย
ชื่อว่าคนปลูกต้นไม้หลายคนน่าจะเจอปัญหาคล้าย ๆ กันว่า ทำไมต้นไม้ที่บ้านของเราไม่สวยเหมือนตอนอยู่ที่ร้าน หรือเลี้ยงอยู่ดี ๆ ต้นไม้ก็เหี่ยวแบบหาสาเหตุไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่รดน้ำทุกวัน บางครั้งก็มีใบไหม้หรือจุดด่าง ๆ กระจายเต็มต้น วันนี้กระปุกดอทคอมขออาสารวมปัญหาที่คนปลูกต้นไม้ในบ้านควรระวังมาฝาก มาดูกันว่ามีโรคแบบไหนบ้างที่ควรระวัง และแต่ละอาการมีสาเหตุมาจากอะไร และควรจะแก้ไขยังไง ให้ต้นไม้กลับมาสวยงาม แข็งแรง ผลิใบออกดอกให้เราเห็นเหมือนเดิม

1. ใบเหลือง
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ต้นไม้ใบเหลือง เป็นเพราะรดน้ำมากเกินไป ความชื้นในดินสูง หรือดินแน่น ระบายน้ำยาก วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ ตัดใบส่วนนั้นทิ้งไป จากนั้นเว้นการรดน้ำไปสักระยะ แล้วค่อยกลับมารดน้ำใหม่เมื่อดินแห้ง เช็กง่าย ๆ โดยใช้นิ้วกดลงไปในดินประมาณ 1 นิ้ว หากหน้าดินแห้งก็รดน้ำได้ แต่ถ้าดินยังแฉะก็ควรรอก่อน ส่วนในกรณีที่ดินแน่นเกินไปให้นำมาผสมวัสดุอื่น ๆ เช่น ขุยมะพร้าว ใบก้ามปู หรือรองก้นกระถางด้วยกาบมะพร้าวก่อนนำมาปลูก เพื่อเพิ่มช่องอากาศและช่วยให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น

2. ใบไหม้
สาเหตุที่ทำให้ใบไหม้ส่วนใหญ่มักจะมาจากต้นไม้โดนแสงแดดแรง ๆ หรืออากาศร้อนเกินไป โดยเฉพาะแดดช่วงบ่าย ดังนั้นหากสังเกตว่าใบเริ่มแห้งหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ควรย้ายต้นไม้ไปวางไว้ในที่ที่มีแดดรำไร พร้อมกับตัดใบไหม้ส่วนนั้นทิ้งไป อีกหนึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะใส่ปุ๋ยมากเกินไป เบื้องต้นควรงดใส่ปุ๋ยไปสักระยะประมาณ 1-2 เดือน แล้วรดน้ำตามปกติ เพื่อให้น้ำเจือจางและค่อย ๆ ชะสารเคมีออกไป แต่ถ้าเป็นพวกเชื้อราให้แยกต้นไม้ออกมาวางนอกบ้าน ตัดใบที่ขึ้นราทิ้ง แล้วพ่นด้วยสเปรย์ฆ่าเชื้อรา แล้วรอดูผลสักระยะ หากไม่มีราขึ้นซ้ำก็สามารถย้ายกระถางไปปลูกในบ้านได้

3. ใบซีด
เนื่องจากแสงแดดเป็นอาหารอย่างหนึ่งของต้นไม้และใช้ในการสร้างคลอโรฟิลล์ ถ้าใบของต้นไม้เริ่มสีซีดผิดปกติ เป็นเพราะไม่ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เช่น วางในมุมอับที่แสงเข้าไม่ถึง แต่ก่อนจะย้ายต้นไม้ไปรับแดด ควรเช็กก่อนว่าต้นไม้ของเราเหมาะกับแสงแดดแบบไหน เพราะบางชนิดก็ชอบแสงแดดโดยตรง ทนอากาศร้อนได้ดี ในขณะที่ต้นไม้บางชนิดชอบแสงแดดรำไร อากาศเย็น หรือความชื้นสูง ถ้านำไปวางไว้ที่แดดแรง ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาใบเหี่ยวหรือใบไหม้ตามมาได้

4. ใบหงิก
หากใบหงิกงอ ผิวไม่เรียบ ขอบใบม้วน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นใบอ่อนหรือใบใกล้ยอดลำต้น นอกจากนี้หากลำต้นแคระแกร็นหรือมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับต้นปกติ อาจจะเกิดจากไวรัส ขาดสารอาหาร และมีแมลงมารบกวน หากเจออาการแบบนี้ให้รีบแยกต้นไม้ที่เป็นโรคออกมา แล้วตัดส่วนที่มีปัญหาทิ้งไป

5. ใบมีจุด
ปัญหานี้มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่มาจากพวกฟังไจ (Fungi) และจุดจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น สีน้ำตาล สีแดง หรือสีดำ และจะค่อย ๆ กัดกินใบไปทีละนิดจนเป็นวงกว้าง ดังนั้นหากเจอแล้วควรรีบตัดใบส่วนนั้นทิ้งไป ก็จะช่วยให้ต้นไม้ฟื้นตัวเร็วขึ้น และรดน้ำเฉพาะบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อกระจาย

6. ใบร่วง
ถ้าใบร่วง 1-2 ใบถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าร่วงเยอะจนผิดสังเกต แสดงว่าต้นไม้กำลังอ่อนแอ และมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็ว ใช้กระถางขนาดเล็กเกินไป ทำให้รากขยายยาก ลำต้นเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้อาจจะเป็นเพราะรดน้ำน้อยหรือมากเกินไป

7. ต้นไม้โตช้า
ถึงแม้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้แต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่หากสังเกตว่าต้นไม้ของเราโตช้าเกินไปจนผิดปกติ ผ่านไปหลายสัปดาห์แทบจะไม่เห็นความแตกต่างหรือแตกยอดใหม่เลย ก็เป็นไปได้ว่าต้นไม้โดนเชื้อราหรือแมลงรบกวน เช่น บั่วรา (Fungus Gnat) และหากเห็นแมลงตัวเล็ก ๆ บินรอบต้นไม้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีตัวอ่อนอยู่ในดิน ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่บริเวณรากคอยแย่งอาหารจากต้นไม้ของเรา ทั้งนี้ ควรรีบแยกต้นไม้ที่เป็นโรคออกมา แล้วจัดการเปลี่ยนดิน ตัดรากที่มีตัวอ่อนทิ้งไป จากนั้นค่อยนำไปปลูกในดินใหม่และกระถางที่สะอาด

8. ลำต้นยืดหรือเอียง
อีกหนึ่งปัญหาที่คนปลูกต้นไม้ในบ้านมักจะเจอบ่อย ๆ และนั่นแปลว่า ต้นไม้ได้รับแสงแดดน้อยเกินไป ลำต้นเลยเอียงเข้าหาแสง ฉะนั้นลองหาที่ตั้งกระถางใหม่ ให้เป็นที่ที่มีแสงสว่างและมีแสงแดดเพียงพอ เช่น บนระเบียงหรือริมหน้าต่าง แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรเปลี่ยนที่ปลูกต้นไม้บ่อย ๆ เพราะต้นไม้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว และทำให้ต้นไม้โตช้าลง

9. ออกดอกน้อย
สำหรับต้นไม้ปลูกในร่มที่ผลิใบเยอะ แต่ออกดอกน้อยหรือตั้งแต่ปลูกมายังไม่เคยเห็นดอกเลยสักครั้ง มีสาเหตุจากปุ๋ยที่นำมาใส่มีส่วนของไนโตรเจน (N) มากเกินไป หากอยากจะเห็นดอกบ้าง ควรเลือกสูตรปุ๋ยที่เน้นฟอสฟอรัส (Phosphorus หรือ P) ช่วยเร่งการสร้างดอก อีกทั้งยังช่วยให้รากแข็งแรง ดูดซึมอาหารได้ดีขึ้นด้วย

คราวนี้ก็ได้ทราบกันไปแล้วว่าอาการแต่ละอย่างมีสาเหตุจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเปลี่ยนกระถาง ย้ายที่วางต้นไม้ หรือปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แต่ละครั้งควรเว้นระยะห่างประมาณ 5-7 วัน เพื่อให้เวลาต้นไม้ปรับตัวด้วยนะคะ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

อาการใบไหม้ ใบจุด ใบเหลืองซีด อันเนื่องมาจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
เตือนเกษตรกรชาวสวนกล้วยทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่นจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และภาคเหนือแถบชายแดนประเทศพม่า เช่น จังหวัดเชียงรายโดยเฉพาะแหล่งปลูกกล้วยหอม ที่สำคัญ เฝ้าระวังโรคเหี่ยวสายพันธุ์ TR4 ในกล้วยหอม ซึ่งเป็นโรคพืชกักกันไม่เคยพบการระบาดในประเทศไทยมาก่อน และกำลังแพร่ระบาดอยู่ในหลายประเทศแถบอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน ไต้หวัน อินเดีย ปากีสถาน และเมียนมา

ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยโดยเฉพาะกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคเหี่ยว ควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ าเสมอ เมื่อสงสัยว่ากล้วยอาจเป็นโรคนี้ระบาด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อตรวจสอบวินิจฉัยการระบาด และแจ้งให้กรมส่งเสริมการเกษตรทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป และขอให้เกษตรกรห้ามนำพันธุ์กล้วยที่มาจากประเทศที่พบการระบาดเข้ามาปลูกในประเทศไทยโดยเด็ดขาด

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense Tropical race four (TR4)

ลักษณะอาการ

โรคนี้เกิดจากระบบท่อลำเลียงของพืชถูกทำลาย โดยเชื้อเข้าสู่รากและแพร่กระจายสู่ระบบท่อน้ำพืช เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของลำต้นเทียมกล้วย และลุกลามขึ้นสู่ก้านใบอาการภายนอกทำให้โคนใบแก่ด้านนอกมีสีซีดเหลือง และผืนใบเปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลโดยเริ่มจากขอบใบเข้าสู่กลางใบ และใบหักพับภายใน ๑ - ๒ สัปดาห์ ทำให้เห็นอาการใบเหลืองจากใบล่างขึ้นไป ต่อมาใบและกิ่งเริ่มเหี่ยว และร่วง เซลล์ตามขอบใบตาย และทำให้ต้นตายในที่สุด บางครั้งอาจพบอาการผลอาจเน่าและร่วง รากอาจจะเจริญออกทางด้านข้างและเน่าภายหลัง

การแพร่ระบาด

การแพร่กระจายของเชื้อเกิดจากการน าเอาเหง้าหรือส่วนขยายพันธุ์ที่ติดเชื้อไปปลูกนอกจากนั้นเชื้อยังติดไปกับดิน เศษซากพืช หรือ น้ำที่ท่วมขังแปลง ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือพันธุ์พืชที่อ่อนแอความชื้นในดินสูง การระบายน้ำในดินต่ำ เชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR4 มีความสามารถอยู่รอดในดินได้นานมากกว่า ๑๕ ปี

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะน าวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

๑. หมั่นส ารวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
๒. หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงปลูกที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อน
๓. ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์
๔. รองก้นหลุมปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า) ในอัตราส่วน ๑ : ๔ : ๑๐๐ โดยน้ าหนักอัตรา ๑๐๐ - ๒๐๐ กรัมต่อหลุม
๕. ควรเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้ หรือไม่น าหน่อพันธุ์จากต้นตอที่เป็นโรคไปปลูก

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
แก้วมังกร จะพบโรคจุดสีน้้าตาลระบาด อาการเริ่มแรกที่กิ่งและผลเป็นจุดสีเหลือง จากนั้นจะพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กๆ สีน้้าตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่้าน้้า เมื่ออาการรุนแรงแผลจะเน่า โดยถ้าเป็นที่กิ่งจะท้าให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรูหรือเว้าแหว่ง ส้าหรับผลถ้าอาการรุนแรงจะท้าให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำและผลเน่าในที่สุด

สาเหตุหลักเกิดจากดินแปลงที่ท้านามาก่อน หรือดินไม่ได้ยกร่อง หรือดินมีการระบายน้้าไม่ดี และเกษตรกรที่ชอบใช้ปุ๋ยยูเรียจ้านวนมาก หรือใส่แต่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ท้าให้เกิดโรคได้ง่าย เพราะแก้วมังกรเป็นพืชอวบน้้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรค ราสนิมแก้วมังกร โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
2121 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 212 หน้า, หน้าที่ 213 มี 1 รายการ
|-Page 193 of 213-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
เกษตรกรรมแม่นยำ: การใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลผลิตพืชผลและลดของเสีย
Update: 2566/01/05 08:27:30 - Views: 3043
มะนาว ใบไหม้ ใบจุด รากเน่า โคนเน่า โรคแคงเกอร์ ราสนิม ราน้ำค้าง โรคราต่างๆป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วย FK-T
Update: 2567/03/22 11:54:36 - Views: 114
เพลี้ยในถั่วฝักยาว: ปัญหาและวิธีการจัดการ
Update: 2566/11/23 14:23:33 - Views: 289
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: เพิ่มประสิทธิภาพให้ต้นมันสำปะหลังของคุณ
Update: 2567/01/26 12:03:27 - Views: 160
🔥เจอหนอนใช้ ไอกี้ เจอเพลี้ยตัวดีใช้ มาคา พบโรคราใช้ ไอเอส ปลอดสารพิษจ้า..
Update: 2564/08/10 12:10:59 - Views: 6185
การจัดการหนอนผีเสื้อศัตรูพืช: วิธีแก้ปัญหาและป้องกันความเสียหายในสวนและแปลงปลูก
Update: 2566/11/16 14:22:42 - Views: 404
ยาป้องกัน กำจัด หนอน ออกฤทธิ์กับหนอนทุกชนิด ใช้ได้ทุกพืช ไอกี้-บีที + FK ธรรมชาตินิยม บำรุง ฟื้นตัว แข็งแรง ออกดอก ติดผล
Update: 2564/08/11 23:26:11 - Views: 3080
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในต้นกล้วย และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/30 09:21:24 - Views: 3018
อันตรายของเชื้อราสีดำใน มะม่วง
Update: 2566/05/17 09:16:08 - Views: 3013
เรื่องราวความสำเร็จในการป้องกันและกำจัดโรคผลเน่าและเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราในมะเขือ
Update: 2566/05/17 10:41:24 - Views: 3029
การปลูกแมคคาเดเมีย Macadamia
Update: 2564/04/04 09:47:22 - Views: 5542
เคล็ดลับการใช้ปุ๋ยฉีดพ่นเพื่อสร้างต้นพุทราผลใหญ่และดกเต็มต้น
Update: 2566/11/23 08:22:33 - Views: 284
เวียดนาม ราคาส่งออกยางพาราพบปัญหา ราคาตก
Update: 2562/09/08 13:42:18 - Views: 3248
การควบคุมโรคใบไหม้ และโรคพืชของมะพร้าว ด้วยสารอินทรีย์
Update: 2566/01/09 13:32:46 - Views: 3379
การจัดการเพลี้ยในต้นกล้วย: วิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยในสวนกล้วย
Update: 2566/11/16 09:50:23 - Views: 311
เคล็ดลับในการใช้ปุ๋ยฉีดพ่นเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของต้นแตงไทย
Update: 2566/11/22 14:50:15 - Views: 255
ทุเรียน ราชาแห่งไม้ผล เน้นตลาดส่งออก
Update: 2565/11/18 12:38:41 - Views: 3005
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 : ตัวช่วยเพิ่มผลผลิตพริกไทยให้ใหญ่ ดก และมีคุณภาพ
Update: 2567/03/12 15:19:36 - Views: 145
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 สูตรลับ เพิ่มผลผลิต เพิ่มขนาด เพิ่มคุณภาพ ให้กับมะเฟืองของคุณ
Update: 2567/03/13 15:54:45 - Views: 134
เพิ่มขนาดและคุณภาพของส้มด้วยปุ๋ยสูตร 15-5-30+3 MgO จากสตาร์เฟอร์
Update: 2567/02/13 14:59:26 - Views: 180
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022