[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ย
2121 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 212 หน้า, หน้าที่ 213 มี 1 รายการ

ปุ๋ยน้ำสำหรับมันสำปะหลัง บำรุงแรกปลูกถึง 3 เดือนด้วย FK-1 เร่งหัว ระเบิดหัวมันสำปะหลังด้วย FK-3C
ปุ๋ยน้ำสำหรับมันสำปะหลัง บำรุงแรกปลูกถึง 3 เดือนด้วย FK-1 เร่งหัว ระเบิดหัวมันสำปะหลังด้วย FK-3C
ปุ๋ยน้ำสำหรับมันสำปะหลัง บำรุงแรกปลูกถึง 3 เดือนด้วย FK-1 เร่งหัว ระเบิดหัวมันสำปะหลังด้วย FK-3C
ปุ๋ยน้ำ สำหรับฉีดพ่นมันสำปะหลัง ในช่วงแรกปลูกตลอดไปจนมันสำปะหลังอายุ 3 เดือน ควรให้ธาตุอาหารหลัก N ไนโตรเจน P ฟอสฟอรัส และ K โพแตสเซียม ในอัตรส่วนเท่ากัน พร้อมด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง อย่างเช่น Zn สังกะสี Ca แคลเซียม Mg แมกนีเซียม ซึ่งทั้งหมดนี้ จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ให้โตไว มีความสมบูรณ์แข็งแรง และเมื่อต้นมันสำปะหลังสมบูรณ์แข็งแรง ด้วยธาตุอาหารที่ครบถ้วน ก็จะมีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงมันสำปะหลัง ตั้งแต่แรกปลูก จนมีอายุได้ 3 เดือน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร]

เมื่อมันสำปะหลัง อายุ 3 เดือนขึ้นไป

เป็นช่วงที่มันสำปะหลังเริ่มลงหัว หากเราขุดดูราก จะได้เห็นว่า รากมันสำปะหลังเริ่มโตขึ้นและกลายเป็นหัวมันสำปะหลัง หากดูแลได้ดีมากๆในช่วง 1-3 เดือนแรก หัวมันสำปะหลังในช่วง 3 เดือนนี้ ของบางไร่ อาจจะหัวโตเลยทีเดียว

มันสำปะหลังช่วงลงหัว จะต้องการธาตุหลัก ในสัดส่วนที่ต่างจากช่วง 3 เดือนแรก คือในช่วงลงหัวนี้ จะเป็นช่วงที่มันสำปะหลังทำการสะสมแป้งและน้ำตาล คือจะดึงธาตุอาหารจากส่วนต่างๆของต้นมันสำปะหลังเอง มาสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง เพราะฉนั้น หากในช่วง 3 เดือนแรก บำรุงให้โตได้เท่าไร ทรงพุ่มใหญ่เท่าไร ยิ่งจะส่งเสริมให้การดึงธาตุอาหาร และการลำเลียงธาตุอาหารมาสะสมเป็นหัวนั้น ทำได้ดี และมีหัวใหญ่ น้ำหนักดี มีคุณภาพ

หลายคนสมัยก่อน กล่าวว่า กลัวว่า ถ้าบำรุงให้ทรงพุ่มใหญ่ ใบเยอะ มันสำปะหลังจะบ้าใบ และทำให้หัวเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งไม่ดี อันนี้เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ในความเป็นจริงแล้ว ช่วง แรกปลูกจนถึง 3 เดือน ต้นยิ่งโต ทรงพุ่มใหญ่ ใบมาก ยิ่งเป็นผลดี

แต่.. เมื่อมันสำปะหลังอายุ 3 เดือนขึ้นไป คำว่ามันบ้าใบอาจจะเป็นจริงได้ ถ้าเราไปเร่งโต โดยให้เฉพาะปุ๋ยตัว N หรือ ไนโตรเจน เพียงอย่างเดียว ที่ถูกต้องคือ ต้องลดปริมาณการให้ธาตุ ไนโตรเจน แต่ไปเพิ่มปริมาณ ธาตุ ​K หรือ โพแทสเซียมแทน เนื่องจาก ไนโตรเจนนั้นจะเร่งยอด เร่งใบ แต่หน้าที่ของ โพแทสเซียมนั้น คือส่งเสริมกระบวนการ เคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ลำเลียงอาหาร มาสะสมที่หัว ทำให้ขยายขนาดหัวมันสำปะหลังให้ โต น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูง

FK-3C ที่ออกแบบมาเพื่อเร่งหัวมันสำปะหลังโดยเฉพาะ จึงเป็นสูตร 5-10-40 ซึ่งให้ ธาตุ ไนโตเจน 5 เปอร์เซ็นต์ ให้ธาตุ ฟอสฟอรัส 10 เปอร์เซนต์ และให้ โพแทสเซียม มากถึง 40 เปอร์เซนต์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการ เคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล มากสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง

ฉีดพ่น FK-C เพื่อเร่งหัวมันสำปะหลัง ตั้งแต่มันสำปะหลังมีอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป

[FK-3C แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร]
อ่าน:3168
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
ลองกองเป็นพืชที่เพื่อนๆ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกกันเชิงการค้านะครับ วันนี้ผมจะไม่ชวนคุยเรื่องการปลูก แต่จะมาชวนคุยเรื่องการเพิ่มผลผลิตกันครับ ทั้งเรื่องการตัดแต่งกิ่งให้ได้ผลเยอะและมีคุณภาพ และการปลูกลองกองนอกฤดู เพื่อให้พวกเราได้ผลผลิตเยอะขึ้นกันนะครับ

การตัดแต่งช่อผลในช่วง 1-2 สัปดาห์และ 7-8 สัปดาห์หลังดอกบานเลือกช่อที่สมบูรณ์ และทำการเด็ดผลบริเวณโคนช่อกรณีที่ผลแน่นมากเกินไป เพราะเมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะเกิดการเบียดเสียดและอัดแน่นจนทำให้หลุดทั้งช่อได้ ในการตัดช่อดอกต่อกิ่ง แนะนำว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้วให้ไว้ดอก 3-5 ช่อ ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้วให้ไว้ดอก 10 ถึง 15 ช่อ สำหรับการตัดแต่งผลช่อ ควรตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์และก้านอัดแน่นเกินไปออก ให้ผลที่เหลืออยู่เจริญเติบโตเต็มที่และสม่ำเสมอทุกผล ทำให้ช่อผลลองกองมีคุณภาพดี การตัดปลายช่อผลเป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้คุณภาพผลผลิตลองกองดีขึ้นมาก ผลสุกสม่ำเสมอจากโคนช่อและปลายช่อ โดยใช้กรรไกรปากเป็ดและกรรไกรปากนกแก้วต่อด้ามยาว 2-3 เมตร ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่คมกรรไกรทุกครั้งที่ใช้งาน

การใส่ปุ๋ยบำรุงผลนั้น ขณะที่ผลลองกองกำลังเจริญเติบโต จำเป็นต้องเพิ่มปุ๋ยบำรุงโดยเฉพาะ ถ้ามีการแตกใบอ่อนออกมาในระยะนี้ ลองกองต้องสูญเสียสารอาหารที่สะสมไว้ออกไป ฉะนั้นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น หรือสูตร 12-12-17 ปริมาณ 0.5- 1 กิโลกรัมต่อต้น ถ้าต้องการให้ใบอ่อนแก่เร็วขึ้นควรใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 7-13 -14 ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นเพิ่มเติมและให้น้ำสม่ำเสมอ

ต่อมาเรามาดูเรื่องการบังคับลองกองออกนอกฤดูกันบ้างครับ ก่อนอื่นต้องสังเกตที่ต้นลองกองที่ตาดอกว่ามีดอกออกหรืไม่ ถ้าดอกไม่ออกก็ควรฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อเปิดตาดอกก่อน สังเกตกิ่ง ที่ตาดอกอันเล็กๆ ถ้าหากว่าเราไม่ทำการบังคับเร่งดอก ดอกและผลก็จะไปออกตามฤดูกาล ขั้นตอนที่สำคัญคือสังเกตไปที่ใต้ต้นลองกองนะครับเห็นหญ้าเขียวปกคลุมอยู่ เราควรจะตัดออกให้เกลี้ยงแล้วโรยด้วยปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ประมาณ 3-4 กำมือ หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ สังเกตที่ต้นลองกองว่ากิ่งก้านจะเริ่มทรุดโทรม ใบก็จะเหลือน้อยลง ถ้าหากว่ามีฝนตกในช่วงนี้ให้หาพลาสติกมาคลุมโคนต้นไว้ เมื่อต้นลองกองทรุดโทรมเหมือนกับใกล้จะตาย เราก็จะให้น้ำ ด้วยสปริงเกอร์อย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไป แล้วทดสอบด้วยการเหยียบไปที่โคนต้นที่เรารดน้ำ ดินจะมีการยุบตัวลง ก็ถือว่าใช้ได้ครับ และเราก็ควรจะรดน้ำทุกวันนะครับวันละประมาณครึ่งชั่วโมงก็พอนะครับหลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ดอกก็จะเริ่มมีความยาวขึ้นมาประมาณ 2 เซนติเมตร ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ความยาวก็จะเริ่มยาวขึ้น ดอกที่ออกมาหลายๆ ช่อ เราก็จะเด็ดออกให้เหลือแค่ช่อเดียว ระยะห่างของช่อดอกให้ห่างกันอย่างน้อย 1 คืบ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ประมาณ 1 ศอก เพื่อที่เราจะได้ช่อที่มีความยาวมีความสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนผลผลิตลองกองก็จะเริ่มออกสู่ตลาด โดยรวมแล้วเราก็จะใช้เวลาบังคับลองกองจนถึงผลผลิตออกก็ประมาณ 5 เดือนครับ

Reference http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3334
นาโนอะมิโน ฉีดพ่นได้หลายพืช เหม็น แต่.. ดี ส่งฟรีถึงบ้าน เก็บเงินปลายทาง สะดวกไม่ต้องโอน
นาโนอะมิโน ฉีดพ่นได้หลายพืช เหม็น แต่.. ดี ส่งฟรีถึงบ้าน เก็บเงินปลายทาง สะดวกไม่ต้องโอน
💖 นาโนอะมิโน เหม็น แต่.. ใช้ดี ยืนยันได้จากคอมเมนต์ผู้ซื้อใน ลาซาด้า สะดวก สั่งซื้อได้ทุกช่องทางที่ท่านถนัด

✅ ทักแชทสั่งซื้อได้เลยค่ะ
✅ โทร 090-592-8614
✅ ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์..

🌾 1. สั่งซื้อ นาโนอะมิโน กับเราโดยตรง คลิกที่นี่เพื่อสั่งซื้อนาโนอะมิโน..

🌾 2. สั่งซื้อ นาโนอะมิโน กับลาซาด้า คลิกที่นี่เพื่อสั่งซื้อนาโนอะมิโนกับลาซาด้า..

คุณสมบัติจำเพาะ นาโนอะมิโน : มีกรดอะมิโนมากกว่า 15 ชนิด พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที, ฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหาร, เพิ่มขนาดและความเขียวของใบ, ทำให้พืชเจริญเติบโต ผ่านระยะต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมจุลธาตุอาหารอื่นๆ รวมทั้งกรดอะมิโนครบถ้วนตามที่พืชต้องการ เลขที่วิเคราะห์ 248.435.5100 โดยสถาบันวิจัย Absolute Analytical Inc. รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา

นาโนอะมิโน ประกอบด้วย
- ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน
- มีกรดอะมิโนมากกว่า 15 ชนิด ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที
- ไม่มีจุลินทรีย์และกากน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคพืช
- สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยอื่น ๆ ได้ทุกชนิด
- ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว
- เร่งแตกใบอ่อน ใบเขียว ผลผลิตดีมีคุณภาพ
- กรดอะมิโน พร้อมด้วยธาตุอาหารพืชครบถ้วน สกัดจากธรรมชาติ 100%
- มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารตามที่พืชต้องการ
-ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสกัดธาตุอาหารที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที

🌿 สำหรับท่านที่ใช้ใกล้บ้าน ฉีดพ่นในบ้าน นาโนอะมิโนจะกลิ่นแรงนะคะ แนะนำให้ใช้ FK ธรรมชาตินิยมค่ะ

🌿 สั่งซื้อ FK ธรรมชาตินิยม กับเราโดยตรง คลิกที่นี่ เพื่ออ่านรายละเอียดและสั่งซื้อ FK ธรรมชาตินิยม..

🌿 สั่งซื้อ FK ธรรมชาตินิยม กับลาซาด้า คลิกที่นี่ สั่งซื้อ FK ธรรมชาตินิยมกับลาซาด้า..

🍂 สำหรับโรคพืชจากเชื้อราใช้ ไอเอส ปัญหาเพลี้ยแมลงศัตรูพืช ใช้ มาคา ส่วนหนอน ใช้ ไอกี้บีที ค่ะ

🍂 ดูข้อมูลและสั่งซื้อได้ที่ คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด ไอเอส มาคา ไอกี้ และสั่งซื้อ..

🌸 โรคพืชจากเชื้อรา คลิกที่นี่ สั่งซือไอเอสกับลาซาด้า..

🌼 เพลี้ยแมลงต่างๆ คลิกที่นี่ สั่งซื้อ มาคา บนลาซาด้า..

🌻 หนอน คลิกที่นี่ สั่งซื้อ ไอกี้-บีที บนลาซาด้า..
อ่าน:3058
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
เมื่อถึงฤดูกาลของผลไม้สีเหลืองกลิ่นยั่วใจ คนที่ชื่นชอบการทานทุกเรียนจะต้องยอมจ่ายเงินซื้อทุเรียนกินทุกครั้งไป และบางคนอาจอยากรู้สึกลองปลูกทุเรียนดูบ้าง แต่หลายคนก็บอกว่าปลูกทุเรียนมันยาก มักไม่ค่อยรอด เรามีคำแนะนำการปลูกทุเรียนจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นข้อมูลให้เบื้องต้น

พันธุ์ทุเรียน

ชะนี
ข้อดี

-ทนทานต่อโรครากเน่า โคนเน่าพอสมควร
-ออกดอกง่าย
-เนื้อแห้ง รสดี สีสวย

ข้อเสีย

-ออกดอกดกแต่ติดผลยาก
-เป็นไส้ซึมง่าย
-อ่อนแอต่อโรคใบติด

หมอนทอง

ข้อดี

-ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น
-ติดผลดีมาก น้ำหนักผลดี
-เนื้อมาก เมล็ดลีบ มีกลิ่นน้อย เนื้อละเอียดแห้ง ไม่เละ ผลสุกแล้วเก็บไว้ได้นาน
-ไม่ค่อยเป็นไส้ซึม

ข้อเสีย

-อ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า

ก้านยาว

ข้อดี

-ติดผลดี
-ราคาค่อนข้างดี
-น้ำหนักผลดี

ข้อเสีย

-ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรค รากเน่า โดนเน่า
-เปลือกหนา
-เนื้อน้อย
-เป็นไส้ซึมค่อนข้างง่าย
-ผลสุกเก็บไว้ได้ไม่นาน กันผลแตกง่าย
-อายุการให้ผลช้า

กระดุม

ข้อดี

-ไม่มีปัญหาไส้ซึมเพราะเป็นพันธุ์เบาเก็บเกี่ยวก่อนฝนตกชุก
-ออกดอกเร็วผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีในช่วงต้นฤดู
-ผลดก ติดผลง่าย
-อายุการให้ผลเร็ว

ข้อเสีย

-อ่อนแอต่อโรครากเน่าโดนเน่า

การเลือกพื้นที่ปลูกทุเรียนควรคำนึงถึง

1.แหล่งน้ำ ต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดปี

2.อุณหภูมิและความชื้น ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25-30 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85% ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้งมีอากาศร้อนจัดเย็นจัดและมีลมแรงจะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วง ต้นทุเรียนไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้า ให้ผลผลิตช้าและน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน

3. สภาพดินควรเป็นดินร่วนดินร่วนปนทรายดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายนํ้าดีและมีหน้าดินลึกเพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพนํ้าขังความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ถ้าจําเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทรายจําเป็นต้องนําหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริมต้องใส่ปุ๋ยคอกและต้องดูแลเรื่องการให้นํ้ามากเป็นพิเศษแหล่งนํ้าต้องเพียงพอ

การปลูก

ฤดูปลูก ถ้ามีการจัดระบบการให้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพสามารถดูแลให้นํ้ากับต้นทุเรียนได้สมํ่าเสมอช่วงหลังปลูกควรปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายนแต่ถ้าหากจัดระบบนํ้าไม่ทันหรือยังไม่อาจดูแลเรื่องนํ้าได้ควรปลูกต้นฤดูฝนเตรียมพื้นที่การปลูกทุเรียน

1. ไถขุดตอขุดรากไม้เก่าออกจากแปลง
- พื้นที่ดอนไม่มีปัญหานํ้าทวมขัง : ไถกําจัดวัชพืชอย่างเดียว
- พื้นที่ดอนมีแอ่งที่ลุ่มนํ้าขัง : ไถปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ
- พื้นที่ลุ่มหรือตํ่ามีนํ้าท่วมขัง : ทําทางระบายนํ้าหรือยกร่อง

2. กําหนดระยะปลูก
ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถวด้านละ 9 เมตรปลูกได้ไร่ละ 20 ต้นการทําสวนขนาดใหญ่ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อสะดวกต่อการนําเครื่องจักรกลต่างๆไปทํางานในระหว่างแถว
3. วางแนวและปักไม้ตามระยะปลูกที่กําหนด
วางแนวกําหนดแถวปลูกโดยคํานึงว่าแนวปลูกขวางความลาดเทของพื้นที่หรืออาจกําหนดในแนวตั้งฉากกับถนนหรือกําหนดแถวปลูกไปในแนวทิศตะวันออกตะวันตกและถ้ามีการจัดวางระบบนํ้าต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนด้วยจากนั้นจึงปักไม้ตามระยะที่กําหนดเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไปวิธีการปลูกทุเรียนทําได้ 2 ลักษณะ

1. วิธีการขุดหลุมปลูกเหมาะกับสวนที่ไม่มีการวางระบบนํ้า
2. วิธีการปลูกแบบไม่ขุดหลุมเหมาะกับสวนที่จัดวางระบบนํ้ามีข้อดีคือประหยัดแรงงานค่าใช้จ่ายในการขุดหลุมดินระบายนํ้าและอากาศดีรากเจริญเร็ว

การปลูกทุเรียนแบบขุดหลุมปลูก

1. ขุดหลุมมีขนาดกว้างยาวและลึกด้านละ 50 เซนติเมตร

2. ผสมปุ๋ยคอกเก่าประมาณ 5 กิโลกรัมและปุ๋ยหินฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมากลบกลับคืนไปในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม

3. เตรียมต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ไม่เป็นโรคไม่มีแมลงทําลายและมีใบยอดคู่สุดท้ายแก้ระบบรากแผ่กระจายดีไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง

4. ใช้มีดกรีดก้นถุงออกถ้าพบรากขดงออยู่ก้นถุงให้ตัดออก

5. วางถุงต้นกล้าที่ตัดก้นถุงออกแล้ววางลงตรงกลางหลุมจัดให้ตรงแนวกับต้นอื่นๆ พร้อมทั้งปรับระดับสูงตํ่าของต้นทุเรียนให้รอยต่อระหว่างรากกับลําต้นหรือระดับดินปากถุงเดิมสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย

6. ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงจากล่างขึ้นบนทั้งสองด้าน

7. ดึงถุงพลาสติกออกระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก

8. กลบดินที่เหลือลงไปในหลุมอย่ากลบดินสูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ

9. ปักไม้หลักข้างต้นทุเรียนที่ปลูกแล้วพร้อมทั้งผูกเชือกยึดไว้เพื่อป้องกันลมพัดโยก

10. กดดินบริเวณโคนต้นหาวัสดุคลุมโคนต้นแล้วรดนํ้าตามให้โชก

11. จัดทําร่มเงาให้ต้นทุเรียนที่เพิ่งปลูกโดยใช้ทางมะพร้าวทางจากแผงหญ้าคาทางระกําหรือตาข่ายพรางแสงเมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วควรปลดออกหรืออาจปลูกไม้เพื่อให้ร่มเงาเช่น กล้วยก็จะช่วยเป็นร่มเงาและเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อากาศแห่งและมีแสงแดดจัด

12. แกะผ่าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออกเมื่อปลูกไปแล้วประมาณ1-2 เดือน

การปลูกทุเรียนแบบไม่ขุดหลุม

1. โรยปุ๋ยหินฟอสเฟต 500 กรัมหรือประมาณหนึ่งกระป๋องนมครึ่งตรงตําแหน่งที่ต้องการปลูกกลบดินบางๆ

2. นําต้นพันธุ์มาวางแล้วถากดินข้างๆ ขึ้นมาพูนกลบแต่ถ้าหากเป็นดินร่วนปนทรายดินทรายดินจะไม่เกาะตัวกันควรใช้วิธีขุดหลุมปลูกหรือจะใช้วิธีดัดแปลง

3. วิธีดัดแปลงคือนําหน้าดินจากแหล่งอื่นมากองตรงตําแหน่งที่จะปลูกกองดินควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1เมตรสูง15 เซนติเมตรแหวกกลางกองดินโรยปุ๋ยหินฟอสเฟตในช่องที่แหวกไว้กลบดินบางๆ วางต้นพันธุ์ดีลงตรงช่องที่แหวกไว้กลบดินทับ

4. การแกะถุงออกต้องระมัดระวังอย่าให้ดินแตกอาจทําได้โดยกรีดก้นถุงออกก่อนแล้วนําไปวางในตําแหน่งที่ปลูกกรีดถุงพลาสติกให้ขาดจากล่างขึ้นบนแล้วจึงค่อยๆ ดึงถุงพลาสติกออกเบาๆ

5. ระมัดระวังอย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ

6. หาวัสดุคลุมโคนและจัดทําร่มเงาให้กับต้นทุเรียนเหมือนการปลูกโดยวิธีขุดหลุม

การปฏิบัติดูแลรักษาทุเรียน

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงก่อนให้ผลผลิต

เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําใหญ่ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น

1.ในระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิตในช่วงแรกควรปลูกพืชแซมเสริมรายได้โดยเลือกพืชให้ตรงกับความต้องการของตลาด

2. เมื่อตรวจพบทุเรียนตายหลังปลูกให้ทําการปลูกซ่อม

3. การให้นํ้าช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝนถ้ามีฝนตกหนักควรทําทางระบายนํ้าและตรวจดูบริเวณหลุมปลูกถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีนํ้าขังต้องพูนดินเพิ่มถ้าฝนทิ้งช่วงควรรดนํ้าให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอในปีต่อๆไปควรดูแลรดนํ้าให้ต้นไม้ผลอย่างสมํ่าเสมอและในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินเช่นฟางข้าวหญ้าแห้ง

4. การตัดแต่งกิ่ง
ปีที่1-2 ไม่ควรตัดแต่ง ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ปีต่อๆ ไปตัดแต่งกิ่งแห้งกิ่งแขนงกิ่งกระโดงในทรงพุ่มกิ่งเป็นโรคออกเลี้ยงกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ที่อยู่ในแนวขนานกับพื้น (กิ่งมุมกว้าง) ไว้ในปริมาณและทิศทางเหมาะสมโดยให้กิ่งล่างสุดอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร

5. การป้องกันกําจัด
ชวงแตกใบอ่อน : ควรป้องกันกําจัดโรคใบติดเพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟไรแดงช่วงฤดูฝน:ป้องกันกําจัดโรครากเน่าโคนเน่าและควบคุมวัชพืชโดยการปลูกพืชคลุมดินและอาจจะกําจัดโดยใช้แรงงานขุดถากถอนตัดพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพราะต้นทุเรียนยังเล็กอยู่ละอองสารเคมีอาจจะไปทําลายต้นทุเรียน

6. การทําร่มเงา
ในช่วงฤดูแล้งแสงแดดจัดมากทําให้ทุเรียนใบไหม้ได้ ควรทําร่มเงาให้

7. การใส่ปุ๋ยควรทําดังนี้
- ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง-
- ใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทําโคน คือถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มหว่านปุ๋ยและพรวนดินนอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่มให้มีลักษณะเป็นหลังเต่า และขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้นตามขนาดของทรงพุ่มหรือจะใส่ปุ๋ยโดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรูหยอดปุ๋ยใส่และปิดหลุมเป็นระยะให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มวิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยจากการระเหยหรือถูกนํ้าชะพา
- หว่านปุ๋ยคอกก่อนและตามด้วยปุ๋ยเคมี
- ควรใส่ปุ๋ยในบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบและให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30เซนติเมตรขึ้นไปขึ้นกับขนาดทรงพ่มปริมาณและเวลาใส่ปุ๋ย
ปีที่1 : ใส่ปุ๋ยและทําโคน 4 ครั้ง (เดือนเว้นเดือน)
ครั้งที่1-3 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ1ปีบ)
ครั้งที่ 4 - ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ1ปีบ)

- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ประมาณ150-200 กรัมต่อต้น (ครึ่งกระป๋องนมข้น)ปีต่อๆไป(ระยะที่ทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต):ใส่ปุ๋ยและทําโคน 2 ครั้ง (ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน)ครั้งที่1 (ต้นฝน) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้นครั้งที่ 2 (ปลายฝน) ใส่ปุ๋ยคอก15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้นปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใส่ในแต่ละครั้งขึ้นกับขนาดของทรงพุ่มโดยยึดหลักว่าวัดจากโคนต้นมายังชายพุ่มเป็นเมตรได้เท่าไรคือจํานวนปุ๋ยเคมีที่ใส่เป็นกิโลกรัมเช่นระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม1เมตรใส่ปุ๋ย1กิโลกรัมระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรครึ่งใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมครึ่ง

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงให้ผลแล้ว

เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้ทุเรียนออกดอกติดผลมากและให้ผลผลิตคุณภาพดีการเตรียมต้นให้พร้อมที่จะออกดอกคือการเตรียมให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์มีอาหารสะสมเพียงพอเมื่อทุเรียนมีใบแก่ทั้งต้นและสภาพแวดล้อมเหมาะสมฝนแล้งดินมีความชื้นตํ่าอากาศเย็นลงเล็กน้อยทุเรียนก็จะออกดอกขั้นตอนต่างๆ จะต้องรีบดําเนินการภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตดังนี้

1. การตัดแต่งกิ่ง
หลังเก็บเกี่ยวให้รีบตัดแตงกิ่งแห้งกิ่งเป็นโรคกิ่งแขนงด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็วทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราหรือปูนแดงกินกับหมาก
2. หลังตัดแต่งกิ่งให้กําจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยทันที
- ปุ๋ยคอก15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)
- ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ในอัตรา 3-5 กก. ต่อต้น (ทุเรียนต้นที่ขาดความสมบูรณ์ต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนต้นที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้วทุเรียนต้นที่ให้ผลผลิตไปมากต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนที่ให้ผลผลิตน้อย)

3. ในช่วงฤดูฝน

-ถ้าฝนตกหนักจัดการระบายนํ้าออกจากแปลงปลูก

- ถ้าฝนทิ้งช่วงให้รดนํ้าแก่ต้นทุเรียน

- ควบคุมวัชพืชโดยการตัดและหรือใช้สารเคมี

- ป้องกันกําจัดโรคแมลงเช่นโรครากเน่าโคนเน่าโรคใบติดโรคแอนแทรกโนสเพลี้ยไก่แจ ไรแดงและเพลี้ยไฟ


4. ในช่วงปลายฤดูฝน


-เมื่อฝนทิ้งช่วงใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24_ 9-24-24 หรือ12-24-12 2-3 กก.ต่อต้นเพื่อช่วยในการออกดอก

- ให้กําจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มกวาดเศษหญ้าและใบทุเรียนออกจากโคนต้นเพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น

-งดการให้นํ้า 10-14 วันเมื่อสังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่มลดลงต้องเริ่มให้นํ้าทีละน้อยเพื่อกระตุ้นให้ตามดอกเจริญอย่าปล่อยให้ขาดนํ้านานจนใบเหลืองใบตกเพราะตาดอกจะไม่เจริญและระวังอย่าให้นํ้ามากเกินไปเพราะช่อดอกอาจเปลี่ยนเป็นใบได้วิธีให้นํ้าที่เหมาะสมคือให้นํ้าแบบโชยๆ แล้วเว้นระยะสังเกตอาการของใบและดอกเมื่อเห็นดอกระยะไข่ปลามากพอแล้วก็เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเรื่อยๆจนสู่สภาวะปกติ

เอกสารประกอบการเรียบเรียง
1. สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคกลาง_ 2534_ เอกสารวิชาการการบริหารศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสาน. ชัยนาท. หน้า1/1-1/21.
2. สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก_ 2534_ ทุเรียนภาคตะวันออก. ระยอง. 118หนา.
3. สมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดระยองและสํานักงานเกษตรจังหวัดระยอง_2536_ บันทึกชาวสวนผลไม้_ ระยอง. 102 หน้า.
4. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2533_ ปัจจัยและเทคนิคการเพิ่มการติดผลในทุเรียน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ. วันที่ 27 ธันวาคม2533. 39 หน้า.
5. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2534_ ปัจจัยและการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตของทุเรียน.เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพวันที่ 9มกราคม 2534. 26 หน้า.
6. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2534_ การเตรียมสภาพต้นเพื่อการชักนําให้ออกดอก. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพวันที่13 มิถุนายน2534. 16 หน้า.
7. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2536. เอกสารวิชาการพัฒนาการใช้สารคัลทาร์กับการผลิตทุเรียนก่อนฤดู. กรมวิชาการเกษตร_30 หน้า.8. หิรัญหิรัญประดิษฐ์และคณะ_ 2536. เทคนิคการผลิตทุเรียนก่อนฤดู_ วารสารส่งเสริมการเกษตรปีที่ 23 ฉบับที่ 67 มิถุนายน 2536. หน้า 2-9.

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3199
บำรุงทุเรียน ให้เจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอก ติดผลดก
บำรุงทุเรียน ให้เจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอก ติดผลดก
บำรุงทุเรียน ให้เจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอก ติดผลดก
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียน สภาพดิน ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี มีหน้าดินลึก

เพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพน้ำท่วมขัง และความเป็นกรดด่างของดิน 5.5-6.5 หากจำเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทราย จำเป็นต้องนำหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริมและต้องใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย และควรมีการจัดการเรื่องระบบน้ำเพื่อให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกติดผลของทุเรียนด้วย

แหล่งน้ำ ต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดทั้งปี

อุณหภูมิและความชื้น ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25-30
องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85 เปอร์เซ็นต์ หากปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้ง

พื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัดหรือเย็นจัด และมีลมแรง จะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วง ทำให้ต้นทุเรียน
ไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้าให้ผลผลิตช้า น้อย และไม่คุ้มต่อการลงทุน

การเตรียมพื้นที่ จำเป็นต้องมีการปรับพื้นที่ปลูก กำหนดผังปลูกและติดตั้งระบบน้ำ โดยปรับพื้นที่
ให้ราบไม่ให้มีแอ่งน้ำท่วมขัง และควรปรับเป็นเนินลูกฟูกเพื่อปลูกทุเรียนบนสันเนิน ระยะปลูก 8*8 เมตร หรือ 9*9 เมตร (16-25 ต้น/ไร่) หากมีการทำสวนขนาดใหญ่ ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน การวางแนวปลูกควรขวางความลาดเทของพื้นที่ หรือกำหนดแถวปลูกในแนวทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก และถ้ามีการจัดวางระบบน้ำจะต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนเพื่อให้มีการจัดการที่ง่ายและสะดวก

การวางผังปลูก

สามารถเลือกระบบการปลูกทุเรียนเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้แก่

ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสามเหลี่ยมด้าน
เท่าระยะปลูก 8-10 เมตร เหมาะกับพื้นที่ที่ค่อนข้างเรียบ

ระบบแถวกว้างต้นชิด (Hedge row system)
ในการปลูกระบบนี้ระยะระหว่างต้นเป็น 30-50% ของระยะระหว่างแถวและมีการวางแถวปลูกในแนวเหนือใต้ มีด้านกว้างระหว่างแถวขวางแนวขึ้นลงของพระอาทิตย์ แถวมีความกว้างพอที่จะให้เครื่องจักรกลผ่านเข้าออกได้สะดวก

การดูแลบำรุง

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

การป้องกันกำจัดโรคทุเรียน

โรคจากเชื้อราต่าง เช่น โรคใบติด (โรคใบไหม้) โรคไฟทอปธอราในทุเรียน โรคราสีชมพูในทุเรียน โรคราแป้งทุเรียน โรคราดำทุเรียน ตัดและเก็บส่วนที่เป็นโรครวมกัน เผาทำลาย และ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งการลุกลาม ไม่ให้ขยายวง

การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทุเรียน

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะผล เหล่านี้ควรฉีดป้องกันไว้ หากเป็นแล้วเสียหายไปแล้ว ผลผลิตก็เสียหาย ทำได้คือการยับยั้ง ไม่ให้ลุกลามเข้าไปทำลายผลใหม่ ที่ยังไม่โดยหนอนเจาะทำลาย ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ชีวภัณ์กำจัดหนอน ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

# Go..Reference..Site..
อ่าน:3292
ทุเรียน ระวังโรคใบติดทุเรียน
ทุเรียน ระวังโรคใบติดทุเรียน
ทุเรียน ระวังโรคใบติดทุเรียน
สภาพอากาศในช่วงฝนฟ้าคะนอง แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังการระบาดของโรคใบติดหรือโรคใบไหม้ สามารถพบได้ในระยะแตกใบอ่อน อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูง เชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบติด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบติด ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง

- ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้ต้นทุเรียนได้รับแสงแดด อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการระบาดของโรค อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3025
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูรักษาและเก็บเกี่ยวมะม่วง

การดูแลรักษา

1. มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต

1.1 กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี

1.2 ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก

1.3 ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์

2. มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ

2.1 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น

2.2 มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2 รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่

3. การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก

ปลายฤดูฝนเมื่อได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย 2 เดือน และไถพรวนรอบชายนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 0-52-34 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งไม่ให้มะม่วงแตกใบอ่อนและยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป

การให้น้ำ

1. การใช้ระบบให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก(มินิสปริงเกอร์) การปฏิบัติงานทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและพืชได้น้ำสม่ำเสมอ

2. การให้น้ำแบบสายยางรดหรือแบบปล่อยตามร่องขนาดเล็ก มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแรก แต่ควบคุม ปริมาณน้ำที่ให้พืชได้ยาก ไม่สม่ำเสมอ ใช้น้ำ แรงงาน และเวลามากกว่าระบบหัวเหวี่ยงเล็ก



ปริมาณน้ำ

มะม่วงระยะบำรุงต้น มีความต้องการน้ำประมาณ 0.5 เท่าของอัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพ อากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน (การระเหย 1 มิลลิเมตรเทียบเท่ากับน้ำ 1 ลิตรต่อ ตารางเมตร)ต้นมะม่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 22.5 ลิตรต่อต้น ต่อวัน (ครั้ง)

มะม่วงหลังการติดผล ถือเป็นระยะวิกฤตที่มะม่วงต้องการใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 0.7-0.8 เท่าของ อัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพอากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน ต้นมะม่วงที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 5 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 87.5-100 ลิตรต่อต้นต่อวัน (ครั้ง)

ความถี่ของการให้น้ำ

ขึ้นกับเนื้อดินและสภาพอากาศ ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้ง เนื้อดินเป็นดิน เหนียวให้น้ำ 4-5วันต่อครั้ง อย่างไรก็ตามอาจใช้วิธีสังเกตจากความชื้นดิน และสภาพของใบมะม่วง ประกอบการวางแผนให้น้ำก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบน ปริมาณการให้น้ำมะม่วง ระยะบำรุงต้นพืชต้องการน้ำ 22.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน ถ้าต้องการให้น้ำ 4 วันต่อครั้งดังนั้นต้องให้น้ำ เท่ากับ 90 ลิตรต่อครั้ง

การงดให้น้ำ

ในช่วงก่อนมะม่วงออกดอก จะต้องงดให้น้ำจนกว่ามะม่วงเริ่มแทงช่อดอกแล้วจึงจะเริ่มให้น้ำอีก

การตัดแต่งกิ่ง

– การจัดทรงหรือสร้างทรงพุ่มมะม่วง

– เลือกลำต้นหลัก 1 ลำต้น ความสูง 75-100 เซนติเมตร

– ทำลายตายอด ทำให้ตาข้างผลิเกิดเป็นกิ่งแขนง คัดเลือกกิ่งไว้ในทิศทางที่ต้องการ 3-5 กิ่ง และเลือกกิ่งไว้ ไปอีก 2-3 ครั้ง ตามขนาดทรงพุ่มที่ต้องการ

– ขนาดพุ่มต้นควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำงานรวมถึงความปลอดภัยและเหมาะสมกับเครื่องมือที่มีอยู่





วิธีการตัดแต่งกิ่ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา

เป็นการบังคับ และเลือกกิ่งให้เจริญเติบโตไปในทิศทางที่ต้องการ โดยตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น กิ่งที่โรคและแมลงทำลาย กิ่งกระโดง กิ่งไขว้ กิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ผลิบริเวณ ปลายกิ่งที่แน่นมากเกินไปออก

– การตัดแต่งแบบปานกลาง

เมื่อพุ่มต้นใกล้จะชนกัน ตัดกิ่งรอบนอกทรงพุ่มทั้งหมดจากปลายยอดลึกเข้าหาศูนย์กลางต้นยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร มะม่วงจะผลิตา แตกกิ่ง – ใบใหม่มาทดแทน แล้วคัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา หลังการตัดแต่งแบบปานกลางอีก 1-2 ครั้ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบหนัก

เมื่อต้นอายุมาก ต้นถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นทรุดโทรม ควรสร้างโครงสร้างต้นมะม่วงใหม่(แต่งสาว) โดยตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่มให้มีความสูง 1.5-3.0 เมตร ปริมาตรทรงพุ่ม ตัดออกไปประมาณครึ่งหนึ่ง กิ่งที่ถูกตัดเป็นแผลขนาดใหญ่ควรทาแผลด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือสีน้ำมันจากนั้นกิ่งจะผลิตาให้กิ่ง แขนงใหม่ จากนั้นทำการคัดเลือกและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา 1-2 ครั้ง เมื่อกิ่งแขนงใหม่บริเวณกลางทรงพุ่ม มีโครงสร้างเจริญเติบโตแข็งแรงมาทดแทนกิ่งเดิม และคาดการณ์ จะสามารถให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ ให้ตัดแต่งกิ่งโครงสร้างเก่าที่อยู่รอบนอกของ โครงสร้างใหม่ออก มีความยาวใกล้เคียงกับการตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่ม คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา 1-2 ครั้ง ช่วงแรกผลผลิตจะลดลงบ้างประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ แต่จะสามารถให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปีที่ 3 หลังจากเริ่มตัดแต่ง กิ่งอย่างหนัก

หมายเหตุ : หลังจากตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรบำรุงต้นมะม่วงทันที ด้วยการใส่วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรดAAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน และให้น้ำตามปกติ เพื่อเร่งการผลิตาสร้างกิ่ง และใบใหม่ที่สมบูรณ์มาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว







รอบระยะพัฒนาการของผลมะม่วง

ระยะการพัฒนาจนครบรอบเป็นดังนี้

มิถุนายน(ตัดแต่งกิ่ง) กรกฎาคม(ตัดแต่งกิ่ง>แตกใบอ่อน ครั้งที่ 1)สิงหาคม(แตกใบอ่อน) กันยายน(แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2) ตุลาคม(พักตัว) พฤศจิกายน(พักตัว) ธันวาคม(แทงช่อดอก)

มกราคม—>ดอกบาน กุมภาพันธ์(ผสมเกสร ตัดผลอ่อน) มีนาคม(ขยายผล) เมษายน(เข้าไคล) พฤษภาคม(เข้าไคล>ผลแก่>เก็บเกี่ยว)

การบังคับให้มะม่วงออกดอก

การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก ด้วยสารพาโคลบิวทราโซล โดยราดสารนี้ลงในดินรอบๆ ต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้คือ

1) ต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อน กล่าวคือ หลังจากเก็บผลแล้วให้ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ยให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด

2) ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สารคือ ช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง

3) ก่อนราดสาร ควรตรวจดูดินที่มีความชื้นพอสมควร และเมื่อราดสารลงดินแล้วให้รดน้ำตามด้วย เพื่อให้รากดูดสารได้อย่างเต็มที่

4) หลังจากราดสารประมาณ 21-30 วัน ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วันเพื่อกระตุ้นช่อดอก ทำให้การออกดอกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้น ประมาณ 1½เดือนถึง 2 เดือนมะม่วงก็จะออกดอก

5) อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง ดังนี้

เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม

6) การรดด้วยสารพาโคลบิวทราโซลให้รดทั่วบริเวณทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ



การช่วยให้ช่อดอกมะม่วงติดผลดีขึ้น

เนื่องจากมีผู้สนใจปลูกมะม่วงกันแพร่หลาย และมักจะประสบปัญหาอย่างเดียวกันว่า มะม่วงออกช่อดอกแล้วไม่ค่อยติดผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีหมอกลงจัดในขณะที่ช่อดอกกำลังบานแล้ว ก็จะยิ่งทำให้มะม่วงไม่ติดผล ซึ่งก็มีความเชื่อกันอย่างนั้น ซึ่งสาเหตุหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้มะม่วงเมื่อออกดอกแล้วไม่ติดผล มีดังต่อไปนี้คือ

1. สาเหตุอันเกิดจากเพลี้ยจั๊กจั่นและโรคราดำ

สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการที่จะให้ช่อมะม่วงไม่ติดผล ซึ่งพบสาเหตุนี้ในเกือบทุกสวนมะม่วง หรือทุกต้นมะม่วงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดก็ว่าได้ การทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่น หรือที่ชาวสวนเรียกกันว่า แมงกะอ้า กับโรคราดำนั้น เกิดควบคู่กันไป กล่าวคือ เพลี้ยจั๊กจั่นทำลายช่อดอกมะม่วง โดยดูดน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงขาดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเจริญต่อไปเป็นผลมะม่วงได้ ดอกจะร่วงหล่นในที่สุด และในขณะเดียวกัน เพลี้ยจั๊กจั่นก็จะขับถ่ายออกมา เป็นของเหลวที่มีรสหวาน ที่เป็นอาหารอันโอชะของเชื้อราดำ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ ทำให้ราดำเจริญได้ดีตามช่อดอกมะม่วง เห็นช่อดอกมะม่วงเป็นสีดำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดมีหมอกลงจัด นั่นย่อมหมายความว่า มีละอองน้ำในอากาศอยู่มาก มีความชื้นสูง ซึ่งธรรมชาติของเชื้อราดำหรือราต่างๆ จะชอบเจริญได้ดีในที่ๆ มีความชุ่มชื้นสูง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หมอกมีส่วนช่วยให้โรคราดำเจริญ หรือระบาดได้อย่างรวดเร็ว

วิธีป้องกัน : ใช้ ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ “เมทา แม็ก” อัตรา 40-80 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกำจัดเป็นประจำ ทุก ๆ 5-7 วันในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อ-ดอกบาน(ประมาณ 4-5 ครั้ง)

2. สาเหตุอันเกิดจากสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแมลงและโรคทำลายช่อดอก

เมื่อต้นมะม่วงมีอายุไม่ถึงวัยที่จะออกดอกออกผล แต่ออกดอกก่อนกำหนด หรือการบำรุงต้นมะม่วงในช่วงระยะแรกตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกนั้นไม่ดีพอ ต้นมะม่วงเหล่านี้ เมื่อออกดอกแล้ว มีดอกไม่ติดผล เพราะต้นมะม่วงยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์พอ อายุหรือวัยที่ต้นมะม่วงควรจะออกดอกออกผล คือ ถ้าปลูกด้วยกิ่งตอน ควรมีอายุประมาณ 3 ปี ถ้าปลูกด้วยกิ่งทาบหรือกิ่งติดตา ควรมีอายุประมาณ 4-5 ปี จึงเริ่มออกดอกออกผล ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ควรมีอายุประมาณ 5-6 ปี ดังนี้เป็นต้น

วิธีป้องกันรักษา คือ หมั่นดูแลรักษา และใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ หากมะม่วงติดดอก ให้เด็ดดอกทิ้งเสียในขณะที่ช่อดอกเริ่มออก เพื่อต้นมะม่วงจะได้ไม่เสียน้ำเลี้ยงไปสร้างช่อดอกต่อไป ถ้าปล่อยช่อดอกไว้ไม่เด็ดทิ้ง อาจติดผลได้ แต่เป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ และต้นมะม่วงจะมีการเจริญเติบโตของลำตนช้าลง หรือชะงักงัน

3. ต้นมะม่วงขาดน้ำ หรืออากาศแห้งแล้งในระยะที่มีช่อดอก จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง และร่วงหล่นไปได้

วิธีป้องกันรักษา คือ หลังจากมะม่วงออกช่อดอกแลว ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้แห้ง

4.ต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ หากต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ ก็จะทำให้ช่อดอกมะม่วงไม่ติดผล เนื่องจากขาดอาหาร หรือน้ำเลี้ยงที่จะมาเลี้ยงช่อดอกหรือผลต่อไปได้

วิธีป้องกันรักษา : ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ และให้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่แห้ง หรือกิ่งที่มีโรคหรือแมลงทำลาย ออกเสีย

อนึ่ง อาจมีสาเหตุอื่นอีกที่มะม่วงออกช่อดอก แล้วไม่ติดผล เช่น อาจเป็นเพราะ ในท้องที่ที่ปลูกมะม่วงนั้น มีแมลงช่วยผสมเกสรอยู่น้อย หรืออาจเป็นเพราะ ต้นมะม่วงที่ปลูกนั้นอยู่ในที่อับ ไม่มีลมพัดผ่าน และแสงแดดน้อย เรื่องพันธุ์มะม่วงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่น มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ พันธุ์พิมเสนมัน มักจะออกดอกติดผลได้ดีกว่าพันธุ์อื่น และมักจะออกดอกนอกฤดูกาลอีกด้วย พันธุ์แรดมักจะออกดอกก่อนพันธุ์อื่น และออกดอกติดผลสม่ำเสมอเกือบทุกปี เหล่านี้เป็นต้น

การให้ปุ๋ย

มะม่วงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 2 ปี :

ทางดิน : ใส่วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA “ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30-45 วัน สลับกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 150-300 กรัม(1-2 กำมือ)ต้น ปีละ 2-3 ครั้ง

ทางใบ : ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน(1-2ครั้งต่อเดือนเป็นประจำ)


สรุปการให้ปุ๋ยมะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้วหรือต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป

ช่วงเวลา ทางดิน ทางใบ

หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่งแล้ว ครั้งที่ 1 ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5กิโลกรัมต่อต้น ห่างจากครั้งแรก 30 วัน

ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ200 ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 5ครั้ง

เตรียมต้นสะสมอาหาร ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อสะสมอาหารในต้น ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ช่วยบังคับต้นให้สะสมอาหาร ไม่ให้แตกใบอ่อน

กระตุ้นดอก เร่งช่อยาว ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลงอัตรา 50-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท”อัตรา 5-10 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง

ติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว ครั้งที่ 1 เมื่อติดเม็ดขนาดเท่ามะเขือพวง ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา0.5 กิโลกรัม + ยักษ์เขียว เกรดAAAสูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 3 หลังจากนั้นอีก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 24-4-24 อัตรา 0.5กิโลกรัม+ปุ๋ยอินทรีย์ตรายักษ์เขียว สูตร1 (แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อต้น

ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผลอัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร บวกกับ อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :

1. อัตราการใส่ปุ๋ย ควรปรับใช้ตามขนาดต้น อายุพืช และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ใช้ตามค่าการ วิเคราะห์ดินและพืช และควรกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง และหากมีการตัดแต่งทรงพุ่มและควบคุมขนาดของทรงพุ่มไม่ให้มีขนาดใหญ่มากจนเกินไป จะทำให้ประหยัดปุ๋ยทางดินที่ใส่และยังประหยัดค่าแรงในการเก็บเกี่ยวอีกด้วย โดยขนาดทรงพุ่มที่เหมาะสม ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 4 เมตร และสูงไม่เกิน 5 เมตรซึ่งหากทรงพุ่มอยู่ในช่วงที่กล่าวแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีแต่ละช่วง สามารถใช้เพียงต้นละ 0.5 กิโลกรัมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว 1-3 กิโลกรัม(ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิต) มะม่วงก็จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณมากเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุน ทำให้มีส่วนต่างของกำไรมาก

2. เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว จะพบว่าผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดี(ติดดก_ลูกใหญ่_ได้น้ำหนัก) โดยที่เทียบเปอร์เซ็นต์ต้นทุนต่อผลผลิตแล้วจำนวนเงินกำไร(ผลตอบแทน)เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ได้เปรียบกว่าสวนอื่น ๆ ที่ลงทุนปุ๋ยและยาปริมาณมาก ๆ

3. ช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง หากพบการระบาดของโรคราในพืชให้เว้นการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบทุกชนิดในช่วงนั้น แล้วใช้ยาป้องกันและรักษาโรคฉีดพ่นตามอาการ 1-2 ครั้งก่อน จึงเริ่มใช้ปุ๋ยทางใบต่อไปได้

4. การป้องกันแมลงศัตรูพืชก่อนที่จะเข้ามาทำลายต้นโดยการใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)นั้นจะประหยัดต้นทุนและลดความเสียหายได้ดีกว่า การใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดเมื่อมีการระบาด ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนมาก และมีความเสี่ยงที่แมลงจะดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาแรงขึ้น สิ้นเปลืองทั้งเงินและสุขภาพของผู้ใช้เอง

5. สำหรับในพื้นที่ ที่มีการปลูกพืชกันมาก แนะนำให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) สลับหรือร่วมกับการใช้สารเคมีควบคุม อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลและลดต้นทุนการผลิตการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

สรุปเทคนิคการปฏิบัติเพื่อช่วยให้มะม่วงติดผลมาก

1. มะม่วงในฤดู เมื่อต้นเริ่มแทงช่อ ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมาก และปัญหาเรื่องการระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่นจะลดลง ประหยัดต้นทุนสารเคมีกำจัดแมลง

2. มะม่วงนอกฤดู หลังจากราดสาร 21-30 วัน ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1/2 ลิตรต่อน้ำ 1 ถัง 200ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมากสม่ำเสมอทั้งต้น และยังช่วยลดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายช่อดอก

3. ช่วงที่กระตุ้นดอก กรณีความชื้นในอากาศสูงหรือในช่วงฤดูฝน ควรใช้สารควบคุมโรคราหรือ ชีวภัณฑ์กำจัดโรครา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นป้องกันเป็นระยะตามความเหมาะสม

4. เมื่อช่อมะม่วงเจริญพ้นพุ่มใบออกมาอย่างเด่นชัดแล้ว ควรรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ การรดน้ำควรรดแต่น้อยก่อน แล้วจึงเพิ่มมากขึ้น เรื่อย ๆ จนถึงที่เคยรดให้ตามปกติ

5. ในพื้นที่ที่มักมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชรุนแรง ควรพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมกับยาเพื่อป้องกันกำจัดแมลงที่จะมาทำลายช่อมะม่วง_หนอนเจาะผล_แมลงวันทอง ได้แก่ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) “เมทาแม็ก” + ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ(กำจัดหนอน) “บาร์ท๊อป” ฉีดพ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องระมัดระวัง(แทงช่อดอก_ติดผล) หรืออาจใช้สารเคมีกำจัด อาทิเช่น อิมิดาโคลพริด_ เอ็นโดซัลแฟน หรือบีพีเอ็มซี อัตราตามฉลาก(ครั้งแรกให้พบในระยะที่ดอกยังตูม หรือสำรวจพบเพลี้ยจั๊กจั่น 3 ตัวต่อช่อและครั้งที่สองเมื่อเห็นว่ามะม่วงติดผลมีขนาดเท่าหัวแมลงวัน การพ่นยาครั้งที่สองอาจเติมยากันราลงไปด้วยถ้าเห็นว่ายังมีราดำอยู่ตามช่อดอกและใบ)หรือ พ่นคาร์บาริล อัตราตามฉลาก ทุก ๆ 7-10 วัน หากไม่ต้องการพ่นยากำจัดแมลง ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)อัตรา 50-100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน และป้องกันการเข้าทำลายของโรครา ด้วยการฉีดพ่น โปรคลอราซ หรือ เบโนมิล ในช่วงก่อนดอกบาน



การเก็บเกี่ยว

การเก็บผลมะม่วงเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ต้องเก็บให้ถูกต้อง เพื่อให้ผลมะม่วงที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดไม่อ่อนเกินไป หรือปล่อยไว้จนสุกงอมเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะม่วง และความใกล้ไกลของตลาด เป็นสำคัญ ข้อสังเกตง่ายๆ ว่ามะม่วงจะแก่เมื่อใดนั้น สิ่งที่น่าสังเกต 2 ประการคือ

1. แก้มผลทั้ง 2 ข้างพองโตเต็มที่ สีผิวเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวจาง สังเกตจากผิวของผลมะม่วงมีสีขาวนวลหรือไขปกคลุมผล

2. เก็บตัวอย่างผลมะม่วงมา 2-3 ผล เพื่อทดสอบ โดยนำมะม่วงมาแช่น้ำดู หากผลมะม่วงจมน้ำแสดงว่าแก่จัด ถ้าลอยแสดงว่ายังอ่อนอยู่ และเวลาเก็บต้องอย่าให้ช้ำ มิฉะนั้นจะเน่าและเสียได้ง่ายเวลามะม่วงสุก

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:4547
ปุ๋ยสำหรับต้นทานตะวัน
ปุ๋ยสำหรับต้นทานตะวัน
ปุ๋ยสำหรับต้นทานตะวัน
ดูแลต้นทานตะวัน บำรุงให้แข็งแรงอยู่เสมอ เมื่อต้านทานตะวัน มีความสมบูรณ์ แข็งแรง จะมีภูมิต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูสูงขึ้น ส่งผลให้ทานตะวันออกดอก สวยงาม สมบูรณ์ อย่างต่อเนื่อง ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบไปด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นทานตะวัน ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง

* พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารพืชตัวที่ขาดไป แปลง่ายๆอีกครั้งว่า หากเราไม่เติมธาตุเสริม ตัวที่ขาด หรือตัวที่มีน้อยที่สุด ธาตุตัวที่มีอยู่ในดินน้อยที่สุด จะจำกัดการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืช ไม่โต หรือ โตช้า หรือ ไม่แข็งแรง ไม่ออกผลผลิต หรือ ผลผลิตน้อย ไม่มีคุณภาพ ถ้าเปรียบกับคนก็ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ก็ดำรงชีวิตได้ แต่ไม่แข็งแรงเท่าคนอื่น โตช้ากว่า ร่างกายไม่สมบูรณ์

ฉีดพ่น FK-1 อย่างสม่ำเสมอ ทุก 15-30 วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ให้กับต้นทุเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ตลอดไปจนได้ผลผลิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพ และปริมาณที่มากขึ้น ด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ต่างๆ ที่มีอยู่ใน FK-1 ที่มากพอ เพียงพอต่อความต้องการของต้นทุเรียน ในหลายๆระยะการเจริญเติบโต

ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen N) มีหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบ หากพืชขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ

ธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus - P) เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของสารพันธุกรรมและสารชีวเคมีที่ช่วยเก็บพลังงานในสิ่งมีชีวิตซึ่งถูกสร้างจากกระบวนการสังเคราะห์แสง มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของรากและช่วยรากพืชดูดซับสารอาหารในดินได้หลายชนิด การขาดฟอสฟอรัสจะทำให้พืชหยุดชะงักการเติบโตได้

ธาตุโพแทสเซียม (Potassium - K) โพแทสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ช่วยให้ผลเติบโตเร็วและมีคุณภาพดี ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ ผลผลิตไม่เติบโต มีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาติไม่ดี

ธาตุแคลเซียม (Calcium - Ca) แคลเซียมมีส่วนช่วยให้เนื้อเยื้อพืชแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานเนื้อเยื้อพืช แคลเซียม เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด พืชขาดธาตุนี้ใบที่เจริญใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และมีคุณภาพไม่ดี

ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium - Mg) แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว

ธาตุสังกะสี (Zinc Zn) สังกะสี ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]
อ่าน:3485
ปุ๋ยสำหรับแครอท
ปุ๋ยสำหรับแครอท
ปุ๋ยสำหรับแครอท
ฉีดพ่น FK-1 เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อ แครอท อย่างครบถ้วน แครอทจะโตไว สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อแครอทมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ก็จะมีภูมิต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืชสูงขึ้น ให้ผลผลิตดีขึ้น ทั้งทางด้านคุณภาพ และปริมาณ

* พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารพืชตัวที่ขาดไป แปลง่ายๆอีกครั้งว่า หากเราไม่เติมธาตุเสริม ตัวที่ขาด หรือตัวที่มีน้อยที่สุด ธาตุตัวที่มีอยู่ในดินน้อยที่สุด จะจำกัดการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืช ไม่โต หรือ โตช้า หรือ ไม่แข็งแรง ไม่ออกผลผลิต หรือ ผลผลิตน้อย ไม่มีคุณภาพ ถ้าเปรียบกับคนก็ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ก็ดำรงชีวิตได้ แต่ไม่แข็งแรงเท่าคนอื่น โตช้ากว่า ร่างกายไม่สมบูรณ์

ฉีดพ่น FK-1 อย่างสม่ำเสมอ ทุก 15-30 วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ให้กับต้นทุเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ตลอดไปจนได้ผลผลิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพ และปริมาณที่มากขึ้น ด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ต่างๆ ที่มีอยู่ใน FK-1 ที่มากพอ เพียงพอต่อความต้องการของต้นทุเรียน ในหลายๆระยะการเจริญเติบโต

ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen N) มีหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบ หากพืชขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ

ธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus - P) เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของสารพันธุกรรมและสารชีวเคมีที่ช่วยเก็บพลังงานในสิ่งมีชีวิตซึ่งถูกสร้างจากกระบวนการสังเคราะห์แสง มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของรากและช่วยรากพืชดูดซับสารอาหารในดินได้หลายชนิด การขาดฟอสฟอรัสจะทำให้พืชหยุดชะงักการเติบโตได้

ธาตุโพแทสเซียม (Potassium - K) โพแทสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ช่วยให้ผลเติบโตเร็วและมีคุณภาพดี ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ ผลผลิตไม่เติบโต มีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาติไม่ดี

ธาตุแคลเซียม (Calcium - Ca) แคลเซียมมีส่วนช่วยให้เนื้อเยื้อพืชแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานเนื้อเยื้อพืช แคลเซียม เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด พืชขาดธาตุนี้ใบที่เจริญใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และมีคุณภาพไม่ดี

ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium - Mg) แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว

ธาตุสังกะสี (Zinc Zn) สังกะสี ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]
อ่าน:3363
ปุ๋ยสำหรับมะพร้าว
ปุ๋ยสำหรับมะพร้าว
ปุ๋ยสำหรับมะพร้าว
ดูแลสวนมะพร้าว ให้ต้นมะพร้าวเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง แข็งแรง ต้านทานต่อโรค ตลอดไปจนการส่งเสริมผลผลิต ทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ ด้วยการฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบไปด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อความต้องการของ มะพร้าว

การให้อาหารทางใบ ทำให้ต้นมะพร้าว ได้รับธาตุอาหารได้รวดเร็วกว่าทางดิน การปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่เดิมเป็นเวลานาน และเติมเฉพาะปุ๋ยมาตฐานทั่วๆไป มักจะเติมเฉพาะธาตุหลัก 3 ธาตุคือ NPK แต่ในความเป็นจริงแล้ว นอกจากธาตุหลักแล้ว พืชยังต้องการ ธาตุรอง และธาตุเสริมอีกหลายสิบธาตุ ยกตัวอย่างที่สำคัญเช่น แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ที่จะมีส่วนช่วยให้พืชดูดกินธาตุหลักได้อย่างเต็มที่ ร่วมถึงเกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์แข็งแรง และผลผลิตโดยตรง เป็นไปตามกฎของ Liebig's law of the minimum ซึ่งมีใจความสำคัญว่า

* พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารพืชตัวที่ขาดไป แปลง่ายๆอีกครั้งว่า หากเราไม่เติมธาตุเสริม ตัวที่ขาด หรือตัวที่มีน้อยที่สุด ธาตุตัวที่มีอยู่ในดินน้อยที่สุด จะจำกัดการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืช ไม่โต หรือ โตช้า หรือ ไม่แข็งแรง ไม่ออกผลผลิต หรือ ผลผลิตน้อย ไม่มีคุณภาพ ถ้าเปรียบกับคนก็ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ก็ดำรงชีวิตได้ แต่ไม่แข็งแรงเท่าคนอื่น โตช้ากว่า ร่างกายไม่สมบูรณ์

ฉีดพ่น FK-1 อย่างสม่ำเสมอ ทุก 15-30 วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ให้กับต้นทุเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ตลอดไปจนได้ผลผลิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพ และปริมาณที่มากขึ้น ด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ต่างๆ ที่มีอยู่ใน FK-1 ที่มากพอ เพียงพอต่อความต้องการของต้นทุเรียน ในหลายๆระยะการเจริญเติบโต

ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen N) มีหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบ หากพืชขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ

ธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus - P) เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของสารพันธุกรรมและสารชีวเคมีที่ช่วยเก็บพลังงานในสิ่งมีชีวิตซึ่งถูกสร้างจากกระบวนการสังเคราะห์แสง มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของรากและช่วยรากพืชดูดซับสารอาหารในดินได้หลายชนิด การขาดฟอสฟอรัสจะทำให้พืชหยุดชะงักการเติบโตได้

ธาตุโพแทสเซียม (Potassium - K) โพแทสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ช่วยให้ผลเติบโตเร็วและมีคุณภาพดี ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ ผลผลิตไม่เติบโต มีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาติไม่ดี

ธาตุแคลเซียม (Calcium - Ca) แคลเซียมมีส่วนช่วยให้เนื้อเยื้อพืชแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานเนื้อเยื้อพืช แคลเซียม เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด พืชขาดธาตุนี้ใบที่เจริญใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และมีคุณภาพไม่ดี

ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium - Mg) แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว

ธาตุสังกะสี (Zinc Zn) สังกะสี ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]
อ่าน:3397
2121 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 212 หน้า, หน้าที่ 213 มี 1 รายการ
|-Page 202 of 213-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
เงาะ การป้องกันกำจัดหนอนเงาะ และป้องกันราแป้ง กำจัดเพลี้ย ในเงาะ
Update: 2564/04/20 10:02:29 - Views: 3324
มันสำปะหลัง ใบไหม้ ใบเหลือง โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราต่างๆ ป้องกันและกำจัดด้วย ไอเอส และ เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ด้วย FK-T
Update: 2567/03/16 14:20:23 - Views: 94
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - บำบัดดินและสู่การเจริญเติบโตของดอกกุหลาบ
Update: 2567/02/13 09:50:38 - Views: 160
ฮิวมิค แอซิด: ฟาร์มิคที่เรียกฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดิน สำหรับต้นน้อยหน่า
Update: 2567/02/13 09:36:55 - Views: 140
คู่มืองป้องกันและกำจัดโรคในลำไย โรคราต่างๆ ใบไหม้ ราแป้ง ราสนิม กิ่งแห้ง และราอื่นๆ
Update: 2566/04/30 08:55:27 - Views: 16394
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราน้ำฝน ในลำไย ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/06 10:34:36 - Views: 3068
ต้นหม่อน ใบไหม้ ใบจุด รากเน่า ราสนิม เชื้อราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วยปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/08 10:49:55 - Views: 70
หนอนหัวดำ หนอนศัตรูมะพร้าว การป้องกันและกำจัด หนอนหัวดำ
Update: 2564/08/17 02:16:27 - Views: 3211
ปุ๋ยอ้อย ปุ๋ยเร่งโตแตกกอ ปุ๋ยเพิ่มความหวาน ปุ๋ยเพิ่มผลิตอ้อย ยากำจัดหนอนกออ้อย
Update: 2564/10/25 22:30:27 - Views: 2962
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 16865
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคราดำ ในมะม่วง โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)1,200ลิตร
Update: 2566/05/30 10:37:10 - Views: 3027
ยาฆ่าเพลี้ย เพลี้ยไฟ แมลงจำพวกปากดูด ใน ฟักทอง เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:32:42 - Views: 3031
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
Update: 2564/08/21 23:42:16 - Views: 3356
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใน มัลเบอร์รี เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/22 16:02:56 - Views: 2942
คู่มือป้องกันกำจัดโรคเชื้อราต่างๆในดาวเรือง ดาวเรืองใบไหม้ ดอกไหม้ ดอกเป็นจุด ราแป้ง ฯลฯ
Update: 2566/05/01 10:27:34 - Views: 17067
เพลี้ยในแตงกวา: กลยุทธ์และวิธีการควบคุมเพื่อรักษาความสมบูรณ์และผลผลิต
Update: 2566/11/14 12:34:04 - Views: 312
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ลำไย เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/10 10:20:20 - Views: 2992
หนอนชอนใบส้ม หนอนเจาะผลส้ม หนอนผีเสื้อ หนอนต่างๆในพืชตระกูลส้ม ป้องกันดีที่สุด พบระบาดให้เร่งกำจัด
Update: 2566/11/06 08:56:06 - Views: 8947
การป้องกัน กำจัด โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน
Update: 2563/11/27 08:49:56 - Views: 5147
ธนาคารน้ำใต้ดินคืออะไร?
Update: 2564/08/30 10:24:36 - Views: 3134
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022