[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - สมุนไพร
85 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 8 หน้า, หน้าที่ 9 มี 5 รายการ

การปลูกบวบ
การปลูกบวบ
ในช่วงภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ควรต้องระวังสุขภาพกันสักหน่อย เพราะทั้งหวัด ทั้งไข้ และไหนจะโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดอีก อุบัติเหตุจากยวดยานก็เยอะ ก็คงต้องระมัดระวังกันนะค่ะ ทำร่างกายให้อบอุ่นไว้ หากไม่สบายแล้วจะเสียทั้งเวลาและเสียงานหมด

หากท่านรู้สึกอึดอัด คัดจมูก หรือเป็นหวัด ก็ลองใช้ยาแก้หวัดแบบโบราณดู อาจได้ผลดีก็ได้ แถมไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด

วิธีไล่หวัดแบบโบราณ

ผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านบอกว่า เอาหัวหอมหรือหอมแดง มาปอกสัก 4-5 หัว ทุบให้พอแตก แล้วเอาน้ำตั้งไฟให้เดือด จากนั้นเอาหัวหอมใส่แล้วยกลง ให้เอาผ้าขาวม้าหรือผ้าขนหนูเช็ดตัวก็ได้ คลุมหัวแล้วก้มหน้าไปที่หัวหอมที่เราทำไว้ทันที ระวังอย่าเอาหน้าไปใกล้มาก เพราะไอน้ำที่ยังร้อนอยู่จะลวกหน้าเอา สูดเอากลิ่นหัวหอมเข้าช้าๆ ลึกๆ เรื่อยๆ จนหมดกลิ่น หรือจนน้ำนั้นเย็น จะทำให้ท่านโล่งจมูก

อาหารโบราณอีกอย่างหนึ่งตอนหน้าฝนที่ทำง่ายๆ และอร่อยด้วย และรับรองว่าหาคนเคยกินยาก จะเป็นขนมหวานก็ไม่เชิง กินกับข้าวก็อร่อย กินเปล่าๆ ก็อร่อย ซึ่งมันก็คือ บวบต้มน้ำตาลนั่นเอง!! ทุกท่านเคยได้ยินกันบ้างหรือป่าว!! และส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่รู้จักเลย… สำหรับวิธีการทำก็ไม่ได้ยากอะไร

เริ่มแรก โดยการนำเอาบวบเหลี่ยมหรือบวบหอมก็ได้ มาปอกเปลือกออกแล้วล้างสักหน่อย จากนั้นให้ฝานเป็นชิ้นๆ พอคำ อย่าให้ใหญ่มาก (หั่นเหมือนกับจะผัดนั่นแหล่ะค่ะ) เอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟให้เดือด (ใช้หม้อเล็กๆ ก็พอ อย่าทำทีละมากๆ เพราะต้องกินร้อนๆ จึงจะอร่อย)

เมื่อน้ำเดือดพล่านแล้ว ให้เอาน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลปี๊บ ปริมาณของน้ำตาลก็ให้กะเอาขนาดเท่าหัวแม่มือเรา

หากน้ำในหม้อมีอยู่ประมาณสักสองชามแกง ใช้น้ำตาลเท่าหัวแม่มือโตๆ จะอร่อยดี เอาน้ำตาลใส่ลงในน้ำเดือด พอน้ำตาลละลายหมดก็เอาบวบใส่ลงไปพอประมาณ รอจนบวบสุก แต่อย่าให้เปื่อย กะว่าพอใส่บวบลงไปสักพัก แล้วน้ำเดือดอีกครั้งก็ยกลง

ทีนี้ก็ตักใส่ถ้วยนั่งซดกันร้อนๆ อร่อย และยังไล่หวัด แถมให้ความอบอุ่นได้ดีอีกด้วย ได้ประโยชน์ทางยาด้วย

เพราะบวบนั้น มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยเจริญอาหาร เป็นกากใยอีกด้วย ใช้กินคู่กับอาหารรสเผ็ดๆ ก็ดี เช่น กินน้ำพริกผักจิ้ม แล้วซดบวบต้มน้ำตาลร้อนๆ ตามไป รับรองอร่อยเหาะเลยค่ะ

มาปลูกไว้กินเองค่ะ

บวบ เป็นผักพื้นบ้านที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์ และก็เป็นผักพื้นบ้านที่น่าปลูกมากอีกอย่างหนึ่ง บวบเป็นผักที่มีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสมาก รวมทั้งกาก (fiber) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ อีกทั้งการปลูกก็ง่าย และเลือกสายพันธุ์ปลูกได้หลายสายพันธุ์อีกด้วยนะคะ

วิธีการปลูกบวบ ไม่ว่าท่านจะเลือกปลูกบวบหอม หรือบวบเหลี่ยม นั้น มีขั้นตอนการปลูกที่คล้ายๆ กัน และบวบทั้งสองชนิดนี้เป็นพืชที่ต้องใช้ค้างช่วย เพราะบวบเป็นไม้เถา การปลูกบวบนอกจากต้องเตรียมดินแล้ว ท่านยังต้องเตรียมไม้ไผ่ไว้ทำค้างให้บวบเลื้อยพันอีกด้วย ซึ่งก็หาซื้อได้แถวๆ ที่เขาขายต้นไม้ ดินปลูก ปุ๋ย หรืออุปกรณ์ปลูกต้นไม้นั่นแหล่ะ!!

เริ่มแรก ต้องเตรียมดินกันก่อน โดยพรวนดินให้ร่วนซุย แล้วผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักสักหน่อย จากนั้นก็ยกร่อง ตากดินไว้สัก 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมให้ลึกสักฝ่ามือ แล้วเอาเมล็ดพันธุ์บวบหยอดลงไป 3-5 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนที่ผสมปุ๋ยไว้แล้ว รดน้ำให้ชุ่ม คลุมหลุมด้วยหญ้าหรือฟางพอประมาณ รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอทุกวัน เช้า-เย็นยิ่งดี จะทำให้งอกเร็วขึ้น

เมื่อต้นกล้าบวบงอกขึ้นมามีใบจริงสัก 2 ใบ ให้ถอนต้นกล้าหรือต้นอ่อนที่ไม่แข็งแรงทิ้งไป ให้เหลือเพียงหลุมละ 2 ต้น ก็พอ จะได้โตดี เมื่อบวบเริ่มเลื้อยก็ให้ทำค้างให้บวบเลื้อยขึ้นพัน

ส่วนท่านที่ใช้กระถางปลูกบวบ ก็ให้เอาดินถุงที่ซื้อมา ผสมกับใบไม้แห้งและปุ๋ย เคล้าให้เข้ากัน แล้วแหวกให้เป็นหลุม เอาเมล็ดบวบหยอดลงไปสัก 3-4 เมล็ด แล้วกลบดิน คลุมด้วยฟางหรือหญ้า รดน้ำให้ชุ่ม ตั้งไว้ในที่ที่โดนแดดตอนเช้า ไม่นานต้นกล้าบวบก็จะงอกขึ้นมา

พอมีใบจริงสัก 2 ใบ ก็ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออกไป และรดน้ำไปเรื่อยๆ พอต้นเริ่มทอดยอดจะเลื้อย ก็เอาไม้ไผ่มาปักคร่อมเป็นสามเส้าทำเป็นค้างให้บวบเลื้อยพันได้

การปลูกบวบต้องหมั่นรดน้ำให้สม่ำเสมอ เพราะบวบเป็นพืชที่ชอบน้ำ ไม่นานก็จะมีลูกบวบที่ออกลูกห้อยระย้า ทีนี้ก็เก็บไปผัด ไปแกง หรือไปทำเมนูอื่นๆ ตามใจท่านแหละกันค่ะ

ชนิดของบวบไทย
พืชผักที่คนไทยเรียกกันว่า บวบ นั้น มีหลายชนิด แต่อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ cucurbitaceac และเป็นไม้เถา ดอกสีเหลืองเช่นเดียวกัน เช่น

1. บวมเหลี่ยม นิยมปลูกทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ส่วนชื่อเรียกก็ตามแต่ละภูมิภาคท้องถิ่นนั้นๆ

2. บวมหอม หรือ บวมกลมนิยมปลูกในภาคเหนือและอีสานมากกว่าภาคอื่นๆ

3. บวมขมเป็นบวบชนิดเดียวกับบวบหอม แต่บวบผลเล็ก สั้น และมีรสขมมาก มักขึ้นเองในป่า หรือตามที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ใช่กินเป็นผัก แต่ใช้เป็นยาหรือประโยชน์ด้านอื่น

4. บวบงูมีลักษณะกลม ยาว ปลายแหลมและบิด สีผลเขียวลายขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียอาคเนย์และจีน นิยมปลูกทั่วไปโดยเฉพาะภาคอีสาน ภาคเหนือ

5. บวบหอม และบวมงู ใช้ปรุงอาหารได้คล้ายคลึงกับบวบเหลี่ยม เพียงแต่มีกลิ่น รส แตกต่าง ออกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับผู้กินว่าจะชอบชนิดใดมากกว่ากัน

มากด้วยคุณค่า และสารพัดประโยชน์
บวบมีหลายชนิดและใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แต่คนไทยรู้จักบวบในฐานะเป็นผักอย่างหนึ่งมากที่สุด บวบเหลี่ยมนับเป็นผักที่รู้จักแพร่หลาย หาซื้อได้ในตลาดทั่วประเทศไทย และมีให้กินได้ตลอดปี

ผลอ่อนของบวบเหลี่ยมใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น ใช้เป็นผักจิ้มกับเครื่องจิ้มต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้า กะปิ ปลาเจ่า และอื่นๆ ได้อีกหลายเมนู (คนใต้มักจะนำเอาผลอ่อนของบวบเหลี่ยมมาจิ้มกินกับน้ำพริก หรือเหนาะแกงใต้รสเผ็ดๆ)

สำหรับคนทางภาคอีสานบางท้องถิ่น เขามักจะใช้ยอดอ่อนของบวบเป็นผัก เช่น นำไปนึ่ง ลวก แล้วเอามาจิ้มกับน้ำพริกปลาร้า หรือใส่ในแกงอ่อม แกงเหน่อไม้ใบย่านาง และอื่นๆ ได้อีกหลายเมนู ต้องขอบอกว่าแซบดีอยู่เด้อค่า

นอกจากใช้เป็นผักแล้ว บวบยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์อีกหลายประการ เช่น เมื่อผลบวบแก่จนแห้งแล้วจะมีเส้นใยที่เหนียว โปร่ง และยืดหยุ่นได้ดี นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ถูตัวแทนฟองน้ำ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันมาก (งานโอท็อปมีเยอะมากค่ะ)

สมัยเด็กๆ ผู้เขียนยังพอจำความได้ว่า แม่จะนำใยบวบแก่มาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาตัดเป็นแผ่นๆ แล้วให้เอามาขัดถูล้างถ้วย ชาม แทนฝอยขัดชนิดต่างๆ และก็ใช้ได้ดีอีกด้วยค่ะ ซึ่งพอเลิกใช้แล้วก็เอาไปใส่ต้นไม้ ปล่อยให้มันย่อยสลายเส้นใยไปตามธรรมชาติเอง

ในสมัยปัจจุบัน ยังมีการนำมาใช้ตกแต่งเป็นดอกไม้ประดิษฐ์รูปแบบต่างๆ ได้อีกด้วย รวมทั้งใช้รองป้านชา และยัดในรองเท้า เพื่อรักษารูปทรงได้

ประโยชน์หลักอีกด้านหนึ่งของบวบที่ทุกท่านรับรู้ก็คือ ด้านสมุนไพร เช่น ในประเทศจีนเขาจะนำผลบวบแก่มาเผาให้เป็นเถ้า (นิยมใช้บวบหอม) แล้วนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิและยาขับลม น้ำคั้นจากผลสดใช้เป็นยาระบาย เมล็ดแก่ ใช้ทำให้อาเจียนและเป็นยาถ่าย และน้ำมันที่บีบจากเมล็ดยังใช้ทาแก้โรคผิวหนังได้อีกด้วย

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในบวบ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
มะระขี้นก
มะระขี้นก
มีข้อมูลว่ามะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานานนับพันปี ในเอเชีย อาฟริกา และละตินอเมริกา ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวรวมกับข้อมูลการค้นคว้าถิ่นกำเนิดของมะระขี้นกที่ได้มีการค้นคว้ากันมากในอดีตพอจะสรุปได้ว่า ถิ่นกำเนิดของมะระขี้นกนั้นอยู่ในเขตร้อนของเอเชียและทางตอนเหนือของแอฟริกาเขตร้อน ซึ่งอาจรวมไปถึงเขตร้อนในอเมริกาใต้หรือแถบประเทศลาตินอเมริกาอีกด้วย เพราะในปัจจุบันนั้นมะระขี้นกสามารถเพาะปลูกหรือมีให้เห็นได้ในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศในแถบอเมริกาใต้ เช่น บราซิล _ อาร์เจนตินา _ ปารกวัย ฯลฯ แอฟริกาตะวันออก เช่น เคนยา _ แทนซาเนีย _ อูกานดา ฯลฯ และเอเชีย เช่น พม่า _ ไทย _ ลาว _ กัมพูชา เป็นต้น

ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น มะไห่ _ มะห่อย _ ผักไห่ _ ผักไซ (ภาคเหนือ) _ มะระหนู _ มะร้อยรู (ภาคกลาง) _ ผักสะไล _ ผักไส่ (ภาคอีสาน) _ ระ (ภาคใต้) _ ผักไห (นครศรีธรรมราช) _ ผักเหย (สงขลา) _ สุพะซู _ สุพะซู _ สุพะเด (กะเหรี่ยง - มะฮ่องสอน) _ โกควยเกี๋ย _ โคงกวย (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantin Linn
ชื่อสามัญ Bitter cucumber_ Balsam pear_ Balsam apple_ Bitter melon_ Bitter gourd_ Carilla fruit
วงศ์ Cucurbitaceae

ประโยชน์สรรพคุณของมะระขี้นก
แก้ท่อน้ำดีอักเสบ
ช่วยทำให้เจริญอาหาร
ช่วยแก้ไข แก้ตัวร้อน ดับพิษร้อน แก้ปากเปื่อย เป็นขุม
แก้พิษฝี
บำรุงน้ำดี แก้ตับม้ามพิการ
แก้อักเสบฟกบวม แก้ปวดเนื่องจากลมคั่งในข้อ
แก้หอบหืด
ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิตระดู
แก้ตับม้ามอักเสบ
ช่วยขับพยาธิ
แก้เจ็บปวดจากพิษต่างๆ
เป็นยาระบายอ่อนๆ
แก้เบาหวาน
แก้ไข้หวัด
ช่วยต้านไวรัสเอดส์ ต้านมะเร็ง
ใบช่วยสมานแผล
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นยาระบาย
ช่วยป้องกันและรักษาโรคมาลาเรีย
รักษาอาการอาการกรดไหลย้อนหรือแผลในกระเพาะอาหาร
ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล


มะระขี้นกสามารถนำมารับประทาน หรือนำมาประกอบเป็นอาหารได้ เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อน นึ่งหรือลวกให้สุก รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกปลาทู น้ำพริกตาแดง และยังสามารถใช้เป็นส่วนผสมของแกงแค และคั่วแคได้มะระขี้นกมีรสขมมากกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ แต่มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด การปรุงแกงจืดมะระขี้นกยัดไส้หมูสับ ต้องต้มนานหน่อยให้ความขมจางลง หรือปรุงอาหารเผ็ด เช่น พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือเป็นแกงเผ็ดก็ได้ ถ้าจะนำไปปรุงอาหารผัด เช่น ผัดกับไข่ ให้ต้มน้ำแล้วเททิ้งหนึ่งครั้ง หรือคั้นกับน้ำเกลือแล้วล้างออกเพื่อลดความขมก็ได้ อีกทั้งสมัยโบราณมีการนำมะระขี้นกมาปรุงเป็นกับข้าวต้มเค็มกินด้วย

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ไอเอส สารอินทรีย์ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัด โรคมะระขี้นก ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น มะระขี้นกใบไหม้ โรคราแป้งมะระขี้นก โรคราน้ำค้างมะระขี้นก

FK-1 ฉีดพ่นมะระขี้นก เพื่อ บำรุง เร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต เสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคและแมลง
กรมปศุสัตว์ เผยข้อมูล ฟ้าทะลายโจร รักษาโรค ป้องกันโรค ใน สุกร (หมู) และ ลูกสุกร (ลูกหมู) ไก่ไข่ และไก่เนื้อ
กรมปศุสัตว์ เผยข้อมูล ฟ้าทะลายโจร รักษาโรค ป้องกันโรค ใน สุกร (หมู) และ ลูกสุกร (ลูกหมู) ไก่ไข่ และไก่เนื้อ
ฟ้าทะลายโจกับ ลูกสุกร พบว่า สารสกัดจาก ใบฟ้าทะลายโจร ผลการทดลอง พบว่าลูกสุกร หายจากอาการท้องร่วงเร็วกว่าภาวะปกติ

ประโยชน์ มีฤทธิ์ในการลดไข้ (antipyretic) และฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation) และยังมีสารที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงด้วย ซึ่งวิศิษย์และคณะได้ทำการทดลองพบว่าสารสกัดจากใบฟ้าทะลายโจรด้วยเอธานอล 95% มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ E. Coli และได้ทดลองป้อน ลูกสุกร ระยะดูดนมพบว่า ลูกสุกร หายจากอาการท้องร่วงเร็วกว่าภาวะปกติ

(ที่มา : วิศิษฐ์ เกตุปัญญาพงศ์_ ยุทธนา ศิริวัธนนุกูล_ อรุณพร อิฐรัตน์ และวันวิศาข์ งามผ่องใส. 2543. ผลของใบฟ้าทะลายโจรและใบฝรั่งต่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารของลูกสุกรท้องร่วง. ในรายงานการประชุมทางวิชาการ สัตวศาสตร์ภาคใต้ ครั้งที่ 1.240 น.)

ผลทดสอบสมุนไพร 5 ชนิด พบว่า ฟ้าทะลายโจรในการรักษาให้ผลดีในการรักษาใกล้เคียงกับการใช้ยาปฏิชีวนะ CSP

ยุทธนาและคณะ ได้ทดสอบผลของสมุนไพร 5 ชนิด ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจในสุกรพบว่า ในการใช้ฟ้าทะลายโจรในการรักษาให้ผลดีในการรักษาใกล้เคียงกับการใช้ยาปฏิชีวนะ CSP

(ที่มา : ยุทธนา ศิริวัธนนุกูล. 2544.การทดลองใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรและใบฝรั่งเสริมในอาหารสุกรขุน. รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 โครงการวิจัยการใช้สมุนไพรในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเนื้อสุกรคุณภาพสูง และปลอดยาปฏิชีวนะตกค้าง. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.)

ผงฟ้าทะลายโจร กับ ไก่เนื้อ

กุศลและวรรณพรได้นำผงฟ้าทะลายโจรมาเติมลงในอาหารไก่เนื้อสำเร็จรูป ในระดับ 1% พบว่าอัตราการเพิ่มน้ำหนัก ปริมาณอาหารที่กินและรสชาติของเนื้อไก่ไม่แตกต่างจากไก่ที่ไม่ได้รับสมุนไพรแต่ไก่มีสุขภาพดีเหมือนไก่ที่ได้รับวัคซีนหลอดลมอักเสบ

(ที่มา : กุศล คำเพราะ และ วรรณพร คำเพราะ. 2536. สมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อการเลี้ยงไก่เนื้อ (ป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ) สัตว์เศรษฐกิจ 11 : 38-44.)

ฟ้าทะลายโจร กับไก่ไข่

รัชดาวรรณได้ทดลองเสริมฟ้าทะลายโจรในอาหารไก่ไข่ พบว่าอัตราการเลี้ยงรอดของแม่ไก่และความเข้มของสีไข่แดงเพิ่มขึ้นตามระดับฟ้าทะลายโจรที่เพิ่มขึ้น

(ที่มา : รัชดาวรรณ พูนพิพัฒน์. 2543. ผลของการเสริมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในอาหารไก่กระทงและไก่ไข่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาสัตวบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.)

ฟ้าทะลายโจรในสุกร

1. ใช้ฟ้าทะลายโจร 2 กก. ผสมในอาหาร 1 ตันสามารถใช้ได้ตลอดการเลี้ยงเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้กับสุกร ส่วนในกรณีที่ใช้ในการรักษาปริมาณการใช้จะมากขึ้นคือ สุกรจะต้องได้รับตัวละประมาณ 1-2 ช้อนชา ด้วยการละลายน้ำอุ่นให้กินวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2-3 วัน หลังจากนั้นก็ผสมอาหารให้กินต่อเนื่อง

2. นำฟ้าทะลายโจรมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะคลอเตตร้าซัยคลิน เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต โดยผสมฟ้าทะลายโจรในระดับ 0.5 และ 1.0 เปอร์เซ็นต์ในอาหารสำเร็จรูปและยังช่วยป้องกันโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ

ที่มา : ประโยชน์สมุนไพรไทยกับการเลี้ยงสัตว์ วารสารสัตว์เศรษฐกิจ

อ้างอิงเว็บไซต์ กรมปศุสัตว์ http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3285
สารสกัดกระชายขาว ต้าน COVID-19
ความสำเร็จเบื้องต้น พบว่า “สารสกัดกระชายขาว” มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 ในหลอดทดลอง นักวิจัย ม.มหิดล เร่งพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรค COVID-19 คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการวิจัยและพัฒนาให้สำเร็จ โดยโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS

http://www.farmkaset..link..
# http://www.farmkaset..link..



อ่าน:3072
กัญชา กัญชง: จากสิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งต้องมี
กัญชา กัญชง: จากสิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งต้องมี
กัญชานั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายมาเกือบร้อยปีในเกือบทุกประเทศทั่วโลก เนื่องด้วยสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทในต้นกัญชา อย่างไรก็ตาม ด้วยประโยชน์ทางการแพทย์ของกัญชาที่นักวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันได้ค้นพบพืชสมุนไพรชนิดนี้ จึงกลายเป็นโอกาสใหม่ของนักธุรกิจ_ นักลงทุน_ ผู้บริโภค และผู้ป่วยทั่วโลก

ช่วงปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา หลังรัฐประกาศอนุญาตให้ภาคเอกชนไทยปลูกกัญชงได้ หุ้นไทยที่มีแผนทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชงได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับความสนใจจากทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ โดยประเทศไทยนั้นถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้มีการปลูกทั้งกัญชงและกัญชา โดยกัญชงนั้นทางภาครัฐอนุญาตให้ภาคเอกชนมาขออนุญาตปลูกได้ ส่วนการปลูกกัญชานั้นยังคงจำกัดให้เพียงบางหน่วยงานที่ได้รับอนุญาต เช่น โรงพยาบาล_ สถาบันการศึกษา และวิสาหกิจชุมชน

แม้ว่ากัญชาและกัญชงจะเป็นพืชที่คล้ายคลึงกันมาก เส้นแบ่งที่ชัดเจนที่สุดคือปริมาณสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (tetrahydrocannabinol หรือ THC) โดยเหตุผลที่รัฐเปิดกว้างให้กับพืชกัญชงมากกว่านั้นเป็นเพราะกัญชงมีสาร THC น้อยจนไม่ก่อให้เกิดการนำมาสูบจนมึนเมาได้ ในขณะที่ในกัญชามีปริมาณ THC ในระดับที่สูงกว่าและเมื่อนำกัญชามาสูบแล้วจะมีสารออกฤทธิ์มึนเมา แต่สำหรับสารสำคัญที่ทำให้ทั้งกัญชาและกัญชงได้รับความนิยมเพื่อใช้ทางการแพทย์ คือสาร Cannabidiol หรือ CBD ซึ่งสามารถรักษาและบรรเทาโรคและอาการได้หลากหลาย เช่น โรคลมชัก_ พาร์กินสัน หรือแม้กระทั่งช่วยลดความทรมานจากการทำคีโมรักษามะเร็ง ประโยชน์ของ CBD นั้นมีหลายประการจนในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกได้ทำการปลดล็อกให้กัญชงและกัญชาสำหรับใช้ทางการแพทย์ถูกกฎหมาย

นอกจากประโยชน์ด้านการแพทย์ของ CBD อีกสาเหตุที่นักลงทุนให้ความสนใจต่อการเข้ามาของธุรกิจกัญชงถูกกฎหมายนั้นก็เพราะกัญชาและกัญชงนับเป็นพืชที่มีมูลค่าสูงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก สำหรับเกษตรกรไทย ถ้าเลือกที่จะปลูกข้าวอาจมีรายได้เพียงหลักหมื่นต่อไร่ต่อปี ในขณะที่ปลูกกัญชงอาจได้ผลิตผล (โดยเฉพาะดอกกัญชงแห้งที่มีสาร CBD สูง) ที่มีมูลค่าหลักล้านบาทต่อไร่ต่อปี และการที่กัญชาเป็นพืชล้มลุก ระยะเวลา 1 การเก็บเกี่ยวประมาณสี่เดือน ทำให้ปีหนึ่งสามารถปลูกได้ถึง 1-3 รอบ ในขณะที่ผลไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน มังคุด สามารถเก็บเกี่ยวได้เพียงหนึ่งครั้งต่อปี

สำหรับภาพตลาดกัญชาทั่วโลก อ้างอิงข้อมูลจาก MarketsandMarkets ปี 2020 ตลาดกัญชาทั่วโลกมีขนาด 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์จะเติบโตได้ต่อเนื่องในอัตรา 28% ต่อปี จนมีขนาด 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2026 การเติบโตที่แข็งแกร่งนี้ก็จะมาจากการค่อยๆ ทยอยปลดล็อกกฎหมายกัญชาในแต่ละประเทศทั่วโลก และการเพิ่มการใช้ในประเทศที่กัญชาถูกกฎหมายอยู่แล้ว โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดของการบริโภคกัญชาถูกกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งประเทศแคนาดาได้มีการออกกฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมาย ทั้งการใช้เพื่อการแพทย์และสันทนาการไปแล้วตั้งแต่ปี 2018 ส่วนในประเทศอเมริกาแต่ละรัฐก็มีการทยอยแก้กฎหมายกัญชาอย่างต่อเนื่อง

ในเวลาเดียวกันกับกระแสหุ้นกัญชงในประเทศไทย หุ้นกัญชาที่จดทะเบียนในอเมริกาก็ปรับตัวขึ้นอย่างมากเช่นกันตั้งแต่ต้นปี 2021 ได้แก่ Tilray ปรับตัวขึ้น 227%_ Aphria 192%_ Canopy Growth 37%_ Aurora 26% (หมายเหตุ: หุ้นสองตัวแรกขึ้นแรงเป็นพิเศษจากปัจจัยการควบรวมกันและจากการถูกดันโดยชาว Reddit) หลักๆ จากความหวังว่า ประธานาธิบดีไบเดนจะแก้กฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมายในระดับสหพันธรัฐ (Federal level) หรือหมายถึงกฎหมายที่บังคับใช้ทั่วประเทศอเมริกา จากที่ปัจจุบันการใช้กัญชายังถือเป็นความผิดทางอาญาระดับสหพันธรัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแต่ละรัฐสามารถออกกฎหมายกัญชาแยกแตกต่างกันไปได้ เช่น รัฐแคลิฟอร์เนียกัญชาถูกกฎหมายทั้งเพื่อใช้ในการแพทย์และเพื่อสันทนาการ ในขณะที่รัฐเพนซิลเวเนียกัญชานั้นถูกกฎหมายเฉพาะเพื่อการแพทย์ โดยปัจจุบันมีทั้งสิ้น 15 รัฐที่สามารถใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้ และ 34 รัฐที่สามารถใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ได้

X

แม้ว่าหุ้นกัญชาที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยภาพรวมจะยังขาดทุนอยู่ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงโดยเฉพาะค่า R&D แต่ถ้าการเติบโตของยอดขายมีอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถกำไรได้ในที่สุด โดยหุ้นกัญชาบางตัวก็เริ่มมี EBITDA เป็นบวกแล้ว (EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย)

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในธุรกิจกัญชาต่างประเทศก็ควรจะศึกษาในรายละเอียดเพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจในธุรกิจ เลือกบริษัทที่ผู้บริหารมีความสามารถและมีศักยภาพในการเติบโต ประกอบกับเลือกหุ้นที่มูลค่าสมเหตุผล นอกจากนี้ ควรกระจายการลงทุนในหลายบริษัท ไม่ลงทุนกระจุกตัวจนเกินไปเพื่อลดความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละบริษัท นักลงทุนควรศึกษากฎระเบียบของตลาดที่จะลงทุนรวมถึงภาษี รวมถึงการเปิดบัญชี Broker ซื้อขายหลักทรัพย์ และการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน อีกทางเลือกหนึ่ง นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือ Exchange Traded Fund (ETF) ที่ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกัญชาหลายๆ ตัวไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ETFMG Alternative Harvest ที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกัญชา ยาสูบ และอื่นๆ ครอบคลุมถึงกัญชาเพื่อการแพทย์และสันทนาการ

ในอดีตนักลงทุนอาจจะมองว่ากัญชาเป็นสิ่งเสพติด แต่หากเรามองถึงประโยชน์ทางการแพทย์ของสาร CBD ในกัญชา การลงทุนในหุ้นกัญชาก็ไม่ต่างจากการลงทุนธุรกิจนวัตกรรมสุขภาพ ที่จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยนานาประเทศ

Reference: โดย ผู้จัดการออนไลน์
อ่าน:2982
ปุ๋ยบำรุงมะนาว ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ
ปุ๋ยบำรุงมะนาว ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ
มะนาว จัดเป็นพืชสมุนไพรใกล้ตัว หาได้ง่าย ปลูกได้ไม่ยาก แต่หากจะปลูกให้ได้ผลผลิตสูง เพื่อการค้าขาย ก็นับว่าเป็นพืชที่หินไม่น้อย เพราะช่วงที่ผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดเยอะ ก็ชนกัน จนทำให้ราคาถูก ส่วนตอนช่วงที่ราคาแพง ก็คือช่วงที่ผลผลิตมะนาวมีน้อยนั้นเอง ทำให้ หลายๆคน หันมาสนใจการปลูก หรือการทำมะนาวนอกฤดู ซึ่งก็มีวิธีการทำมะนาวนอกฤดูต่างๆ หลายเทคนิค สำหรับผู้สนใจ อาจจะลองค้นคำว่า มะนาวนอกฤดู บนแอพ YouTube ดู ก็จะพบหลากหลายวิธี หลายเทคนิค ที่มาสอนกันอย่างละเอียดเลยทีเดียว

กล่าวถึง FK-1 จัดเป็นปุ๋ยพื้นฐาน ที่มีธาตุหลัก ธาตุเสริมครบถ้วน เหมาะแก่การฉีดพ่นทางใบ เพื่อบำรุงมะนาวตั้งแต่หลังปลูกใหม่ๆ ไปจนถึงก่อนออกผล เนื่องจาก FK-1 นั้น ประกอบไปด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลัก ที่สำคัญ ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต และนอกจากนั้น ยังมี สารสังเคราะห์คลอโรคฟิลล์ ที่เพิ่มความเขียว และเสริมสร้างกระบวนการสร้างอาหารของมะนาว ทำให้ต้นมะนาว เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีความสมบูรณ์ แข็งแรง ต้านทานต่อโรคได้ดีขึ้น
อ่าน:3214
ฟ้าทะลายโจร ผลวิจัยของสาธารณสุขไทยยืนยัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้
ฟ้าทะลายโจร ผลวิจัยของสาธารณสุขไทยยืนยัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้
ผลวิจัยฟ้าทะลายโจร
วิกฤติโควิด-19 ฟ้าทะลายโจร กลายเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวขานถึงมากที่สุด ยิ่งมีผลวิจัยของสาธารณสุขไทยยืนยัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้ พร้อมกับแนะนำให้กินได้ทันทีหากมีอาการไข้

ทำเอาฟ้าทะลายโจรถึงกับขาดตลาด กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ..

อ่านต่อ http://www.farmkaset..link..
อ่าน:2959
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
ผักบุ้งทะเล ชื่อสามัญ Goat’s foot creeper_ Beach morning glory

ผักบุ้งทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br.(ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Convolvulus pes-caprae L._ Ipomoea biloba Forssk.) จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

สมุนไพรผักบุ้งทะเล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักบุ้งต้น ผักบุ้งขน (ไทย)_ ผักบุ้งเล (ภาคใต้)_ ละบูเลาห์ (มะลายู-นราธิวาส)_ หม่าอานเถิง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของผักบุ้งทะเล
ต้นผักบุ้งทะเล จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน สามารถเลื้อยไปได้ยาวมาก ประมาณ 5-30 เมตร ลักษณะของลำต้นหรือเถากลมเป็นสีเขียวปนแดงหรือเป็นสีแดงอมม่วง ผิวเกลี้ยงลื่น ตามข้อจะมีรากฝอย ภายในกลวง ทั้งต้นและใบมียางสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตัดลำต้นปักชำ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี มักขึ้นตามหาดทรายหรือริมทะเล
ใบผักบุ้งทะเล ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปกลม รูปไข่ รูปไต หรือรูปเกือกม้า ปลายใบเว้าบุ๋มเข้าหากัน โคนใบสอบแคบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-11 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร เส้นใบเป็นแบบขนนก เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบมันเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบยาวมีสีแดง
ดอกผักบุ้งทะเล ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามง่ามใบ ในช่อดอกจะมีดอกประมาณ 2-6 ดอก และจะทยอยบานทีละดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปปากแตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ส่วนปลายดอกบานเป็นรูปปากแตร มี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกกลมรี แตกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ดอกเป็นสีม่วงอมชมพู สีม่วงอมแดง สีชมพู หรือเป็นสีม่วง ผิวเกลี้ยง ด้านในของดอกส่วนโคนจะมีสีเข้มกว่าด้านนอก ส่วนกลีบดอกเลี้ยงเป็นสีเขียว และดอกจะเหี่ยวง่าย
ต้นช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้น)
ทั้งต้นมีรสเผ็ด ขม เค็ม เป็นยาเย็นเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อม้ามและตับ ใช้เป็นยาขับลม ขับน้ำชื้น (ทั้งต้น)
ช่วยแก้หวัดเย็น (ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ราก)
ใช้แก้อาการจุกเสียด (ใบ)
เมล็ดมีรสขื่น ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง (เมล็ด)
รากใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ราก)
เมล็ดใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย (เมล็ด)
รากเป็นยาขับปัสสาวะ ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ราก)
ใบใช้เข้ากับสมุนไพรอื่น นำมาต้มเอาไอรมรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)ผลผักบุ้งทะเล ลักษณะของเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่มีเหลี่ยมคล้ายแคปซูล ผิวผลเรียบ พอผลแห้งจะแตกออกได้ มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดลักษณะกลม เป็นสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 มิลลิเมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุม

สรรพคุณของผักบุ้งทะเล

1. ใบใช้เป็นยาทาภายนอก แก้แผลเรื้อรัง หรือนำไปต้มกับน้ำใช้ล้างแผล (ใบ) น้ำคั้นจากใบนำมาต้มกับน้ำมะพร้าว ทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลได้ชนิดรวมทั้งแผลเรื้อรัง (ใบ)

2. ทั้งต้นช่วยกระจายพิษ แก้พิษฝีบวม ฝีหนองบวมแดงอักเสบ แก้งูสวัด (ทั้งต้น)[4] ส่วนใบนำมาโขลก พอก ถอนพิษ แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ปลา สัตว์ทะเลอื่น ๆ แมลง เป็นต้น (ใบ)

3. ต้นใช้เป็นยาถอนพิษลมเพลมพัดหรืออาการบวมที่เปลี่ยนไปตามอวัยวะทั่วไป (ต้น_ ทั้งต้น)

4. ใช้เป็นยาทาแก้อาการอักเสบ แก้พิษจากแมงกะพรุนไฟ ทำให้แผลหายเร็วและไม่เป็นแผลเป็น ตามตำรายาระบุให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลกผสมกับน้ำส้มสายชู นำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น ส่วนตำรายาไทยระบุให้ใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบ นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำทาแผลบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน หรือจะตำกับเหล้าใช้เป็นยาพอกก็ได้ หรืออาจจะใช้รากสด 1 ราก นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ๆ ผสมกับเหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ แล้วใช้ทาบ่อย ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำหรือนำมาตำผสมกับเหล้าใช้เป็นยาทาหรือพอกก็ได้เช่นกัน (ก่อนทายาให้ใช้ทรายขัดบริเวณที่โดนพิษแมงกะพรุนเพื่อเอาเมือกของแมงกะพรุนออกไปให้หมดก่อนและให้ทาวันละ 2-3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น จนกว่าจะหาย) (ต้น_ ราก_ ใบ_ ทั้งต้น)

5. ใบใช้เป็นยาพอกหรือต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง (ใบ)

6. ต้นนำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการคันตามผิวหนัง (ต้น_ ทั้งต้น) ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง (ราก)

7. ใช้แก้ผดผื่นคันบริเวณหลังเนื่องจากการกดทับ ตามตำรายาระบุให้ใช้ใบสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)

8. ตำรายาแก้ฝีหนองภายนอกระบุให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำผึ้ง แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ต้น)

9. เมล็ดใช้เป็นยาแก้ตะคริว ป้องกันตะคริว (เมล็ด)

10. ใบมีรสขื่นเย็น ใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้โรคไขข้ออักเสบ แก้ปวดไขข้ออักเสบมีหนอง (ใบ)

11. ช่วยแก้ลมชื้นปวดเมื่อยตามข้อ แก้เหน็บชา (ทั้งต้น)

12. ช่วยแก้โรคเท้าช้าง (ราก)



ขอบคุณข้อมูลจาก: https://medthai.com/
อ่าน:3281
สมุนไพรไทยกันยุง ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้ มะกรุด สะเดา วิเศษจริงๆ ภูมิปัญญาไทยเรานี้
สมุนไพรไทยกันยุง ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้ มะกรุด สะเดา วิเศษจริงๆ ภูมิปัญญาไทยเรานี้
สมุนไพรไทยกันยุง ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้ มะกรุด สะเดา วิเศษจริงๆ ภูมิปัญญาไทยเรานี้
ตะไคร้หอม
น้ำมันที่สกัดมาจากตะไคร้หอม หรือครีม โลชั่น เครื่องประทินผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอมมากกว่า 17% จะช่วยป้องกันทั้งยุงลาย ยุงรำคาญ และยุงก้นปล่องได้ราว 1-4 ชั่วโมง

ตะไคร้
ตะไคร้หอม (citronella grass) และตะไคร้บ้าน (lemongrass) เป็นคนละชนิดกัน ตะไคร้หอมจะมีกาบใบสีขาวอมแดง หรืออมม่วง ลำต้นบางกว่า และกาบใบบางกว่าตะไคร้บ้าน ลำต้นหยาบ และเหนียวว่าตะไคร้บ้าน และตะไคร้บ้านรสชาติดีกว่าตะไคร้หอม จึงนิยมนำตะไคร้บ้านมาทำอาหารมากกว่า แต่ถึงกระนั้นกลิ่นของตะไคร้บ้านก็ช่วยไล่ยุงได้เช่นกัน น้ำมันตะไคร้ 20-25% สามารถป้องกันยุงลายได้ 100% ใน 1 ชั่วโมงแรก แล้วค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่สามารถป้องกันยุงรำคาญได้นานถึง 1-3 ชั่วโมงเช่นกัน

มะกรูด
น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดใช้ป้องกันยุงได้นานถึง 95 นาที หรือ 1.35 ชั่วโมง และยาทากันยุงที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกรูด 25-50% จะมีฤทธิ์ป้องกันยุงนานถึง 30-60 นาที

สะเดา
นอกจากจะจิ้มน้ำปลาหวานทานอร่อยแล้ว น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากสะเดายังช่วยป้องกันยุงได้อีกด้วย โดยสบู่อาบน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำมันสะเดา 1% สามารถไล่ยุงได้นานถึง 8 ชั่วโมงเลยทีเดียว

จะเห็นได้ว่าพืชแต่ละชนิดไม่ได้หายาก และยังราคาย่อมเยาอีกด้วย นอกจากพืชเหล่านี้แล้วยังมีข่า ไพล ขึ้นฉ่าย ว่านน้ำ กานพลู และสมุนไพรไทยอื่นๆ อีกมากมายที่มีคุณสมบัติในการช่วยไล่ยุง นอกจากนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาทำเป็นสเปรย์ไล่ยุง ยาจุดกันยุง ผสมใสครีมหรือโลชั่นทาตัว หรือจะสนับสนุนให้เป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ต่อไปได้อีกเช่นเดียวกัน

ข้อมูลต้นฉบับจาก sanook.com/health/10329/
อ่าน:3014
ช้าพลู รากรสร้อน บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วย่อยอาหาร..
ช้าพลู รากรสร้อน บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วย่อยอาหาร..
ช้าพลู รากรสร้อน บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วย่อยอาหาร..
ชื่อเครื่องยา

ช้าพลู
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ราก ใบ ทั้งต้น
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ช้าพลู
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ผักอีเลิด (อีสาน) นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง ผักอีไร (เหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)_ ผักแค
ชื่อวิทยาศาสตร์

Piper sarmentosum Roxb.
ชื่อพ้อง

Piper albispicum C. DC._ P. baronii C. DC._ P. brevicaule C. DC._ P. lolot C. DC._ P. pierrei C. DC._ P. saigonense C. DC.
ชื่อวงศ์

Piperaceae
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

รากทรงกระบอก สีเทาดำ ขนาดความยาว 3-7 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็น ใบ แผ่นใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ตัวใบรูปหัวใจ โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีขนตามเส้นใบ มีเส้นแขนงใบ 7 เส้น เห็นชัดเจน ก้านใบยาว 1-3 เซนติเมตร

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

เครื่องยาใบช้าพลู ปริมาณความชื้นไม่เกิน 10% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 7.0% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 20% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอลไม่น้อยกว่า 7% w/w ปริมาณสารสกัดน้ำไม่น้อยกว่า 20% w/w (THP)

สรรพคุณ:

ตำรายาไทย รากรสร้อน บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกลงทางทวารหนัก ทำให้เสมหะแห้ง ราก ผล และใบ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการปวดกระเพาะเนื่องจากความเย็นพร่องในธาตุ แก้ธาตุน้ำพิการ แก้ไอเย็น ขับเสมหะ แก้บวมน้ำ แก้ไข้จับสั่น แก้ปวดฟัน ปวดกระดูกเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ฟกช้ำ ใช้ภายนอก รักษาขาเน่าขาเปื่อย ทั้งต้น รสเผ็ดร้อน ขับเสมหะ แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้หวัด

บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ช้าพลูในตำรับ “ยาเบญจกูล” มีส่วนประกอบของรากช้าพลูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ แก้ธาตุให้ปกติ ตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของช้าพลู (ทั้งต้น) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา: -

องค์ประกอบทางเคมี:

การแยกสารบริสุทธิ์จากสารสกัดใบช้าพลูด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ ได้สารประกอบ hydrocinnamic acid (1) และ β- sitosterol (2) โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานที่ทราบโครงสร้างแล้ว (น้อย และก้าน_ 2526)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

ศึกษาในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawley ให้หนูได้รับอาหารไขมันสูง ร่วมกับสารสกัดน้ำของรากช้าพลู เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับยามาตรฐาน metformin เมื่อเลี้ยงหนูจนครบ 4 สัปดาห์ จึงทำการทดสอบการตอบสนองของอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับอินซูลินในซีรั่ม น้ำหนักของตับอ่อน ลักษณะทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อตับอ่อน อิมมูโนพยาธิวิทยาของ beta-galactosidase ระดับของ malondialdehyde (MDA) ซึ่งเป็นสารบ่งชี้การเกิดออกซิเดชัน และศึกษาการแสดงออกของยีนเป้าหมายของตับอ่อน ผลการศึกษาพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับสารสกัดน้ำของรากช้าพลู และกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับยามาตรฐาน metformin สามารถเพิ่มการแสดงออกของยีน glucose transporter-2 (GLUT-2) ของตับอ่อนได้อย่างมีนัยสำคัญ และควบคุมการแสดงออกของยีน nuclear factor-kappa B p65 (NF-kappa B p65) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุปผลการศึกษาพบว่าสารสกัดน้ำจากรากช้าพลูสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด และปรับปรุงโครงสร้างทางจุลกายวิภาคของเซลล์ไอส์เลต และเซลล์อะซินาร์ของตับอ่อนในหนูที่ได้รับอาหารไขมันสูงให้มีลักษณะที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ภาวะการอักเสบ และการชราภาพของตับอ่อนในหนูที่ได้รับอาหารไขมันสูงดีขึ้น โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน NF-kappa B p65 และลดระดับ MDA ที่ตับอ่อน โดยรวมพบว่าสารสกัดสามารถเพิ่มการตอบสนองของอินซูลินผ่านการแสดงออกของยีน IRS-2 ในขณะที่สามารถปรับปรุงการรับสัญญาณของกลูโคสโดยการเพิ่มการแสดงออกของยีน GLUT-2 ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าสารสกัดน้ำจากช้าพลูมีความเหมาะสม สำหรับการปรับสมดุลของน้ำตาลกลูโคสได้ (Vongthoung_ et al._ 2016)

ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส

การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสในหลอดทดลอง ของของสารสกัดเมทานอลจาก ลำต้น และใบช้าพลู (อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส เป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีนในสมอง ที่มีผลต่อการเรียนรู้และความจำ การยับยั้งเอนไซม์นี้จึงสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้) ทดสอบด้วยวิธี Ellman’s colorimetric method ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเมทานอลของลำต้นช้าพลู และใบช้าพลู ในขนาดความเข้มข้น 100 µg/ml มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสได้ดีมาก โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 13.59 และ 26.74 µg/ml ตามลำดับ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สารมาตรฐาน eserine hemisulfate มีค่า IC50 เท่ากับ 0.023 µg/ml (Werawattanachai and Kaewamatawong_ 2016)

ฤทธิ์ยับยั้งเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน

ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชันในหลอดทดลอง ของสารสกัดน้ำจากใบช้าพลู หาความสามารถรวมในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานแกลลิกแอซิด ด้วยเทคนิคสเปกโตรโฟโตเมทรี ที่ค่าการดูดกลืนแสง 704 nm พบว่าสารสกัดน้ำจากใบช้าพลู มีความสามารถรวมในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เท่ากับ 0.144±0.0032 mg/ml เมื่อเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานแกลลิกแอซิด การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน โดยวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 532 nm ใช้สารสกัดน้ำจากใบช้าพลูขนาด 0.3125_ 0.625_ 1.25_ 2.50_ 5.0 และ 10.00 mg/ml พบว่าสารสกัดทุกขนาดสามารถยับยั้งการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชันโดยใช้เฟอร์รัสซัลเฟตเหนี่ยวนำ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน โดยไม่มีสารสกัดช้าพลู โดยสารสกัดช้าพลูที่ความเข้มข้น 1.25 mg/ml สามารถลดการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชันได้ดีที่สุด สังเกตได้จากระดับ malondialdehyde (MDA) ซึ่งเป็นสารที่หลั่งออกมาเมื่อเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (อโนดาษ์_ 2556)

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

การทดสอบฤทธิ์ลดปวด และต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำจากใบช้าพลู ในสัตว์ทดลอง โดยฤทธิ์ลดปวดทดสอบด้วยวิธี writhing test (ใช้กรดอะซิติกเหนี่ยวนำเกิดการหดตัวช่องท้องของหนูถีบจักรเพศผู้) และวิธี hot plate (โดยจับเวลาที่หนูถีบจักร สามารถทนอยู่บนแผ่นความร้อน โดยสังเกตจากพฤติกรรมการเลียเท้า หรือกระโดดหนีความร้อน) ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ดูผลการยับยั้งการบวมที่อุ้งเท้าหนูขาวสายพันธุ์ Sprague–Dawley เมื่อเหนี่ยวนำด้วยคาราจีแนน (carrageenan-induced paw edema assay) ผลการทดสอบฤทธิ์ลดปวดพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดสมุนไพรเข้าใต้ผิวหนังหนูสามารถลดการปวดได้ทั้ง 2 วิธีการทดสอบ ฤทธิ์ลดปวดด้วยวิธี writhing testของสารสกัดใบช้าพลูขนาด 300 mg/kg และสารมาตรฐาน acetylsalicylic acid (ASA; 100 mg/kg) มีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 61.6 และ 76.6% ตามลำดับ และเมื่อให้สารสกัดสมุนไพรร่วมกับ naloxone ในขนาด 5 mg/kg พบว่าฤทธิ์ระงับปวดถูกยับยั้งได้ด้วยนาลอกโซน โดยพบว่าค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 1.4% แสดงว่ากลไกการออกฤทธิ์ระงับปวดของสมุนไพร น่าจะเกี่ยวข้องกับตัวรับ opioidการทดสอบให้ผลเช่นเดียวกันในวิธี hot plate ธีการทดลองใช้คาราจีนินเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมของอุ้งเท้าในหนู พบว่าการให้สารสกัดขนาด 100 และ 300 mg/kg ทั้งสองขนาดมีฤทธิ์ลดการบวมของอุ้งเท้าหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Zakaria_ et al._ 2010)

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์

ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดใบช้าพลู สกัดใบช้าพลูแห้งด้วยการหมัก โดยตัวทำละลายชนิดต่างๆ คือ petroleum ether_ hexane_ dichlo­romethane_ ethyl acetate และ methanol ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ใช้วิธี DPPH (2_2-diphenyl-1-picrylhydrazyl) และ วิธี Ferric Reducing Antioxidant Power (FRAP) การทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ ใช้วิธี Ames test ในเชื้อแบคทีเรีย Samonella typhimurium 2 สายพันธุ์คือ TA98 และ TA100 ผลการวิจัยพบว่า วิธี DPPH สารสกัด hexane มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันดีที่สุด โดยให้ค่า EC50 เท่ากับ 29.63±0.56 μg/mL และ วิธี FRAP สารสกัด methanol ให้ฤทธิ์ดีที่สุด ค่า Fe (II) equivalent เท่ากับ 0.56±0.12 μmol/mg สารสกัดใบชะพลูไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และสารสกัด dichloromethane มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ในการทดสอบโดยวิธี Ames test ได้ดีที่สุดในทั้งสองสายพันธุ์ จากงานวิจัยในหลอดทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า สารสกัดจากช้าพลูมีศักยภาพในการนำมาศึกษาต่อเพื่อที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบำรุงร่างกายได้ (พัชรินทร์ และคณะ_ 2557)

การศึกษาทางคลินิก: -

อาการไม่พึงประสงค์: -

การศึกษาทางพิษวิทยา:

ผลต่อความเสียหายของโครโมโซม ของเซลล์ไขกระดูกของหนูขาว

การศึกษาพิษของสารสกัดน้ำของต้นช้าพลูในการชักนําให้เกิดไมโครนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดแดงชนิด Polychromatic ในไขกระดูก ทําโดยให้สารสกัดช้าพลูในขนาด 1_5 และ 10ก./กก.น้ำหนักตัว ทางปากกับหนูขาวพันธุ์วิสตาร์เพศผู้โตเต็มวัยในแต่ละกลุ่ม จากนั้นฆ่าหนูด้วยอีเทอร์ที่ 30 ชั่วโมงหลังได้รับสารทดสอบ และเก็บตัวอย่างจากไขกระดูกหนู นอกจากนี้สําหรับหนูที่ได้รับสารในปริมาณ 10 ก./กก.น้ำหนักตัวทางปาก เก็บตัวอย่างจากไขกระดูกหนูเพิ่มเติมที่ 24_ 48 และ 72 ชั่วโมง หลังได้รับสารสกัด หลังจากฆ่าหนูแล้วเก็บเซลล์ไขกระดูกมาย้อมสี และนับจํานวนเม็ดเลือดแดงชนิดโพลิโครมาติก (Polychromatic erythrocytes; PCE) ที่มีไมโครนิวเคลียสจากจํานวนเซลล์ PCE 2000 เซลล์ต่อหนู 1 ตัว และนับจํานวนเม็ดเลือดแดง 400 เซลล์เพื่อหาอัตราส่วนระหว่าง PCE : Normochromatic erythrocytes (NCE) ผลการทดลองแสดงว่า สารสกัดช้าพลูแม้มีขนาดสูงถึง 10 ก./กก. น้ำหนักตัว ไม่มีผลในการชักนําให้เกิดไมโครนิวเคลียสกับเซลล์ PCE ในไขกระดูกของหนูในทุกช่วงเวลาที่กําหนด เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ค่า PCE : NCE ratio ของหนูที่ได้รับสารสกัดช้าพลูในขนาดต่างๆ และในทุกช่วงเวลาที่กําหนด ก็ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กับหนูกลุ่มที่ได้รับน้ำอย่างเดียวเช่นเดียวกัน ซึ่งผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดช้าพลูในขนาดที่ให้หนูนั้นไม่มีผลทําให้เกิดความเสียหายต่อโครโมโซมของเซลล์ไขกระดูก และไม่มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์ เมื่อทดสอบโดยวิธีดูไมโครนิวเคลียส (ปรานอม และคณะ_ 2547)



เอกสารอ้างอิง:

1. น้อย เนียมสา_ ก้าน จันทร์พรหมมา.การศึกษาสารเคมีจากชะพลู Piper sarmentosum Roxb. วารสารสงขลานครินทร์. 2526;5(2):151-152.

2. ปรานอม ภูชฎาภิรมย์_ ปัญญา เต็มเจริญ_ สุรพล คงทิม_ ลักขณา หิมะคุณ_ ยุวดี วงษ์กระจ่าง_ เพ็ญโฉม พึ่งวิชา และคณะ. ผลของสารสกัดช้าพลู (Piper sarmentosum) ที่มีต่อความเสียหายของโครโมโซม ของเซลล์ไขกระดูกของหนูขาวทดสอบโดยวิธีดูไมโครนิวเคลียส. วารสารสมุนไพร. 2547;11(1):11-19.

3. พัชรินทร์ บุญหล้า_ เมธิน ผดุงกิจ_ อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์_ ธิดารัตน์ สมดี.ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดใบชะพลู.วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557;10(3):283-294.

4. อโนดาษ์ รัชเวทย์. ผลของสมุนไพรต่อการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน. วารสารบัณฑิตศึกษา. 2556;10(46):51-59.

5. Vongthoung K_ Kamchansuppasin A_ Temrangsee P_ Munkong N_ Kaendee N_ Lerdvuthisopon N. Effects of Benjakul water extract on pancreas in high-fat fed rats. Thammasat Medical Journal. 2016; 16(2): 161-175.

6. Werawattanachai N_ Kaewamatawong R. Screening for acetylcholinesterase inhibitory activity from the piperaceae. Journal of Science and Technology_ Ubon Ratchathani University. 2016;18(3):26-33.

7. ZakariaZA_ PatahuddinH_ Mohamad AS_ Israf DA_ Sulaiman MR. In vivo anti-nociceptive and anti-inflammatory activities of the aqueous extract of the leaves of Piper sarmentosum. Journal of ethnopharmacology. 2010;128:42-48.

ข้อมูลจาก thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=182
อ่าน:3114
85 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 8 หน้า, หน้าที่ 9 มี 5 รายการ
|-Page 8 of 9-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
เพิ่มขนาดและคุณภาพของลำไยด้วยปุ๋ยสูตรพิเศษ 15-5-30+3 MgO
Update: 2567/02/13 14:37:14 - Views: 185
ไขข้อข้องใจ … ทำไมแหนมถึงกินดิบได้?
Update: 2565/11/16 13:48:55 - Views: 9821
ข้าวดีด ปัญหาระดับประเทศ สร้างปัญหาต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
Update: 2564/08/25 23:04:57 - Views: 3254
ราสนิมองุ่น ราน้ำค้างองุ่น องุ่นเป็นราดำ ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ หากเป็นแล้วต้องเร่งยับยั้ง ไม่ให้ลุกลามสร้างความเสียหายเพิ่มเติม
Update: 2566/11/06 06:16:01 - Views: 280
การต่อสู้กับโรคเชื้อราในต้นพุทรา
Update: 2566/05/04 09:38:05 - Views: 3036
เคล็ดลับการใช้ปุ๋ยน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของข้าวโพดและเพิ่มผลผลิต
Update: 2566/11/11 13:27:52 - Views: 286
โรคราแป้งมะเขือเทศ : POWDERY MILDEW DISEASE [ ไอเอส + FK-1 ]
Update: 2564/08/09 06:45:01 - Views: 3034
ยาป้องกัน กำจัด หนอนกอข้าว หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว ไอกี้-บีที + FK ธรรมชาตินิยม บำรุง ฟื้นตัว แข็งแรง ออกดอก ติดผล
Update: 2564/08/13 03:46:23 - Views: 3125
การรับมือกับโรคเหี่ยวในผักกาดขาวปลี: สูตรควบคุมและป้องกันการระบาดจากเชื้อรา
Update: 2566/11/15 13:09:21 - Views: 356
เตือนภัย!! ต้นมะกรูด สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Update: 2566/11/07 10:56:40 - Views: 291
โรคของฝรั่ง โรคจุดสนิมในฝรั่ง โรคแอนเทรคโนสฝรั่ง ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส
Update: 2564/05/26 12:35:36 - Views: 5239
นกหัวขวาน ที่สวน FK Park
Update: 2563/05/25 21:45:48 - Views: 3034
ปุ๋ยสำหรับนาข้าวโดยเฉพาะ ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ย FK
Update: 2567/05/16 09:07:04 - Views: 37
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ถั่วเหลือง และพืช ทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)
Update: 2566/04/27 12:05:54 - Views: 2950
อ้อย รากเน่า โคนเน่า ใบไหม้ ราสนิม ยาฆ่าเชื้อราในพืชทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T
Update: 2566/05/05 15:00:46 - Views: 7187
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้เหมาะกับดิน และสภาพพื้นที่ปลูก
Update: 2564/08/31 21:55:46 - Views: 4660
โรคกัญชา กัญชาใบไหม้ กัญชาใบเหลือง ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/07 12:42:44 - Views: 3278
ชมพู่ ใบไหม้ ใบจุด รากเน่าโคนเน่า ราสีชมพู ผลเน่า เชื้อราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วยปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/08 11:42:27 - Views: 81
ป้องกันและกำจัด โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดกับมันสำปะหลัง
Update: 2564/01/19 20:46:13 - Views: 3035
หนอนเจาะฝักมะขาม และมะขามหวาน ป้องกันไว้ดีกว่า ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
Update: 2562/08/13 11:33:56 - Views: 3156
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022