[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - สมุนไพร
85 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 8 หน้า, หน้าที่ 9 มี 5 รายการ

ข้อกำหนด การนำพืชจากต่างประเทศ เข้าประเทศญี่ปุ่น
ข้อกำหนด การนำพืชจากต่างประเทศ เข้าประเทศญี่ปุ่น
ข้อกำหนดการนำพืชจากต่างประเทศเข้าประเทศญี่ปุ่น
ระบบตรวจกักกันโรคพืช
กรมป้องกันโรคระบาดพืช “ตรวจสอบการนำเข้า” เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชจากต่างประเทศไม่ให้เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น และด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันเรา “ตรวจสอบการนำออก”

เพื่อตอบเงื่อนไขการกักกันโรคพืชตามการเรียกร้องของประเทศปลายทาง
การนำพืชจากต่างประเทศเข้ามาหรือนำออกจากประเทศญี่ปุ่นต้องรับการตรวจกักกันโรคพืช

ข้อกำหนดการนำพืชจากต่างประเทศเข้าประเทศญี่ปุ่น
การนำพืชจากต่างประเทศเข้าประเทศญี่ปุ่นด้วยการขนส่งสินค้า เป็นสัมภาระติดตัว ส่งไปรษณีย์ ฯลฯ ไม่ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดหรือด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ต้องเข้ารับการตรวจสอบการนำเข้าเพื่อป้องกันไม่ให้มีโรคและแมลงศัตรูพืชติดกับพืชเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น

เมื่อนำพืช เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น ตามกฎหมายจะต้องมีการยื่นใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออก และมีการตรวจสอบการนำเข้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพืช
หากไม่มีการแสดงใบรับรองสุขอนามัยพืช พืชจะถูกนำไปกำจัด อาจบังคับใช้บทลงโทษตามกฎหมายในกรณีที่มีการละเมิด เช่น การนำเข้าโดยปราศจากใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือปราศจากการตรวจสอบการนำเข้าพืช: ท่านจะถูกจำคุกเป็นเวลาสูงสุดสามปีหรือถูกปรับสูงสุดหนึ่งล้านเยน

เราป้องกันการเข้ามาของโรคและแมลงศัตรูพืชโดยกำหนดหมวดหมู่ข้อกำหนดตามประเทศที่มีโรคหรือแมลงศัตรูพืช และพืชที่มีโอกาสติดโรคหรือแมลงศัตรูพืชนั้น ๆ ซึ่งหมวดหมู่ข้อกำหนดดังกล่าวมีดังต่อไปนี้



สิ่งที่ห้ามนำเข้า
ห้ามนำเข้าสิ่งที่คาดว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ฯลฯ หากหลุดเข้าประเทศมาได้

รวมถึงพืชจากประเทศหรือภูมิภาคที่มีโรคหรือแมลงศัตรูพืชที่ยากต่อการตรวจสอบในขณะนำเข้าประเทศ และพืชดังกล่าวที่มีโอกาสติดโรคหรือแมลงศัตรูพืชนั้น

และห้ามนำเข้าสิ่งต่อไปนี้จากทุกประเทศและภูมิภาคทั่วโลก

ดิน
พืชที่มีดินติดมาด้วย
โรคและแมลงศัตรูพืช
ฟางข้าวและแกลบข้าว (ยกเว้นคาบสมุทรเกาหลีและไต้หวัน)
นอกจากนี้ มีผักผลไม้ ฯลฯ ที่ห้ามนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตหรือประเทศและภูมิภาคต้นทางบางแห่ง (สิ่งที่ห้ามนำเข้า) กรุณาตรวจสอบจาก “ฐานข้อมูลเงื่อนไขการนำเข้า” (ภาษาอังกฤษ)!

กรุณาดูแผ่นพับที่ระบุสิ่งที่ห้ามนำเข้าหลัก



สิ่งที่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้า
พืชต่อไปนี้ที่ไม่ถูกจัดว่าเป็นสิ่งที่ห้ามนำเข้า ต้องเข้ารับการตรวจสอบในขณะนำเข้า

และมีส่วนหนึ่งที่ต้องรับการตรวจหรือดำเนินมาตรการกักกันพิเศษที่ประเทศต้นทางมาก่อนด้วย

ข้อกำหนดการนำเข้าจะแตกต่างกันตามประเภทของพืช ประเทศผู้ผลิต และประเทศต้นทาง กรุณาตรวจสอบรายการหลักจาก “ฐานข้อมูลเงื่อนไขการนำเข้า” (ภาษาอังกฤษ)!



ตัวอย่างประเภทพืชที่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้า

ต้นกล้า หัว/หน่อ เมล็ด
ดอกไม้
ผักผลไม้
ธัญพืช ถั่ว
วัสดุจากไม้
วัตถุดิบเครื่องปรุง วัตถุดิบสมุนไพร เป็นต้น
search here thai

検索ボタン search button

検索キャラクター図


สิ่งที่ไม่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้า
สินค้าแปรรูปที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบ ซึ่งไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืช หรือไม่มีโอกาสที่โรคและแมลงศัตรูจะยังคงอยู่ได้ อาจไม่จำเป็นต้องรับการตรวจสอบการนำ

สำหรับรายละเอียด กรุณาสอบถามกรมป้องกันโรคระบาดพืช



กระบวนการนำเข้าพืชจากต่างประเทศ (กรณีนำเข้าเป็นสัมภาระติดตัวเข้ามา)
พืชทั้งหมด รวมถึงสิ่งที่ซื้อจากร้านปลอดภาษีหรือของฝากที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้าเพื่อตรวจว่าไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชใด ๆ

กรุณาเข้ารับการตรวจสอบการนำเข้าที่เคาน์เตอร์ตรวจกักกันโรคพืชก่อนเข้ารับการตรวจศุลกากร

ตรวจคนเข้าเมือง → ตรวจสอบการนำเข้าพืช (เคาน์เตอร์ตรวจกักกันโรคพืช) → ตรวจศุลกากร





กรุณายื่นใบรับรองการตรวจ (หรือเรียกว่า ใบรับรองปลอดโรคพืช หรือ phytosanitary certificate และอาจเป็นแบบแท็กสำหรับติดก็ได้) ที่ออกโดยหน่วยงานกักกันโรคพืชของประเทศต้นทาง ให้เจ้าหน้าที่ป้องกันโรคระบาดพืชที่เคาน์เตอร์ตรวจกักกันโรคพืช

เมื่อผ่านการตรวจสอบการนำเข้าแล้วจะได้ประทับ “ตรารับรองการผ่านการตรวจพืช” พืชที่ไม่มีตรานี้จะเข้ารับการตรวจศุลกากรไม่ได้

ทั้งนี้ มีพืชที่ไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองการตรวจด้วย สำหรับรายละเอียด กรุณาสอบถามกรมป้องกันโรคระบาดพืช

หากนำเข้ามาโดยไม่รับการตรวจ อาจถูกลงโทษตามกฎหมายป้องกันโรคระบาดพืชของประเทศญี่ปุ่น



คำถามที่พบบ่อย
Q1: การตรวจสอบการนำเข้าใช้เวลาเท่าใด
และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
A1: ต่างกันตามประเภทและปริมาณของพืช แต่ส่วนมากจะใช้เวลาไม่นาน
และไม่มีค่าใช้จ่าย

Q2: หากนำเข้าพืชแบบส่งมาแยกต่างหาก ต้องใช้อะไรบ้าง
A2: ในกรณีนี้ กรุณาขอให้ตัวแทนดำเนินการด้านศุลกากร (บริษัทขนส่งระหว่างประเทศ) ยื่น “ใบรับรองการตรวจ (หรือเรียกว่า ใบรับรองปลอดโรคพืช หรือ phytosanitary certificate)” ที่ออกโดยหน่วยงานกักกันโรคพืชของประเทศต้นทาง ให้กรมป้องกันโรคระบาดพืชในขณะตรวจสอบสิ่งที่ส่งมาเท่าที่จะเป็นไปได้

Q3: มีข้อควรระวังในการนำพืชเข้ามาทางไปรษณีย์หรือบริการส่งสิ่งของระหว่างประเทศหรือไม่
A3: กรุณาขอให้ผู้ส่งระบุอย่างชัดเจน (เช่น “PLANT” ฯลฯ) ในใบศุลกากร (Declaration Form) ที่แนบมากับพัสดุและบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ทราบว่ามีพืชบรรจุอยู่ และสามารถดำเนินการตรวจสอบการนำเข้าของพัสดุได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ กฎหมายป้องกันโรคระบาดพืชห้ามนำเข้าพืชโดยใช้จดหมายหรือไปรษณีย์แบบอื่นที่ไม่ใช่พัสดุไปรษณีย์
บริการส่งสิ่งของระหว่างประเทศถือเป็นการขนส่งสินค้าทางอากาศ แต่มีบริษัทผู้ให้บริการส่งสิ่งของระหว่างประเทศที่ไม่รับส่งพืชที่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้าอยู่ด้วย ขอแนะนำให้ตรวจสอบจากเว็บไซต์ ฯลฯ ของผู้ให้บริการล่วงหน้า

Q4: ต้องขอรับ “ใบอนุญาตนำเข้า” ที่ออกโดยกรมป้องกันโรคระบาดพืชของญี่ปุ่นก่อนนำเข้าพืชหรือไม่
A4: บางประเทศใช้ระบบการอนุญาตนำเข้าโดยต้องขอรับ “ใบอนุญาตนำเข้า (import permit)” ที่ออกโดยหน่วยงานกักกันโรคพืชของประเทศตนก่อน จึงจะนำพืชเข้าได้ แต่ระบบการกักกันโรคพืชของญี่ปุ่นไม่ได้ใช้ระบบการอนุญาตนำเข้าดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องขอรับ “ใบอนุญาตนำเข้า” ล่วงหน้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืช การน าสมุนไพรมาใช้ในการ
ควบคุมโรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่
จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส คือ รสเย็น รส
ร้อน และรสสุขุม
2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้ทางเตโชธาตุ
พิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็ต้องมีความ
เข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาป้องกัน
หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ตั้งอยู่เลขที่ 44/2 หมู่ 3 ต าบลพลับพลา อ าเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืชการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุม
โรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่จะ
น ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส ย่อย คือ รสเย็น รสร้อน และ
รสสุขุม
5.6.2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้
ทางเตโชธาตุพิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็
ต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็น
ยาป้องกัน หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณ
ของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง
หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
สมุนไพรสูตร (ต ารับ)
ใช้เป็นสารไล่แมลง และบ ารุงพืชที่ก าลังได้รับความนิยมใช้กันโดยทั่วไป กว่า 60
จังหวัดทั่วประเทศ พอจะประมวลประสบการณ์จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ศูนย์กสิกรรมสมุนไพรวังจันทร์ จังหวัดระยอง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน กลุ่ม
ปุ๋ยชีวภาพ งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชด าริ
จังหวัดจันทบุรี โครงการเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย
เครือข่ายชุมชนชาวอโศก พอสรุปได้ดังนี้สารสมุนไพร ก าจัดเพลี้ยชนิดต่าง ๆ เช่น เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยไรแดงเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล และหมัดกระโดด
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 2 กิโลกรัม
2) บอระเพ็ด 1 กิโลกรัม
3) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 2 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรแล้วหมักรวมกันไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านน้ า 1 กิโลกรัม
2) สาบเสือ 1 กิโลกรัม
3) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรหมักรวมกัน 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
2) สะเดา ½ กิโลกรัม
3) ข่า 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 4
ส่วนประกอบ
1) หางไหลสด 1 กิโลกรัม
2) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า ทุบให้แตก แช่น้ า 1 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า 1:20 ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน
สูตร 5
ส่วนประกอบ
1) ใบเสม็ดขาว 1 กิโลกรัม
2) เหล้า 10 ลิตร
วิธีท า สับบดดองเหล้าไว้ 3 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า ½ ลิตร ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สารสมุนไพร ก าจัดหนอนกระทู้ หนอนชอนใบ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว
หนอนใต้หนอนเจาะสมอฝ้าย
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) ฟ้าทะลายโจร 1 กิโลกรัม
2) เปลือกหัน 1 กิโลกรัม
3) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
4) หางไหล 1 กิโลกรัม
5) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
6) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
7) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
8) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักรวมไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่น และรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 1 ลิตร
2) โทงเทง 1 ลิตร
3) สาบเสือ 1 ลิตร
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่นและรดราด
สารสมุนไพรก าจัดโรคพืช
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
2) กระเทียม 1 กิโลกรัม
3) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
4) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
5) น้ าสะอาด 1 กิโลกรัม
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100-1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 1 กิโลกรัม
2) ใบดอกรัก 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 - 1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 200 กรัม
2) กระเทียม 200 กรัม
3) น้ าสบู่ 4 ช้อนโต๊ะ
4) น้ าส้มสายชู 100 ซี.ซี.
5) น้ าสะอาด 20 ลิตร
วิธีท า
สับบด หมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน
สารสมุนไพร ก าจัดหอยเชอรี่
ส่วนประกอบ
1) น้ าปูนใส 1 ลิตร
2) มะกรูด 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
หมักมะกรูด กระเทียม หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น น้ าตาล และน้ า รวมกันไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ าปูนใส กับส่วนผสมที่หมักไว้ ในอัตราส่วน 1: 1 หยดลงในนาที่มีหอยเชอรี่
หมายเหตุ การฉีดพ่นสมุนไพรก าจัดโรค และแมลงควรฉีดพ่นในช่วงเช้ามือ หรือช่วงเย็น ๆ ถ้า
มีโรคระบาด หรือแมลงระบาด ควรฉีดพ่น และรดราดดินติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลา 3 วัน
ติดต่อกันอย่างไรก็ตามการควบคุมโรค และแมลงให้ได้ผลดีควรท าทั้งการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
และการใช้สมุนไพรควบคู่กันไปจนกว่าธรรมชาติในแปลงจะสมดุล
สารสมุนไพร จากสะเดา
ส่วนผสม
1) สะเดาทั้ง 5 2 กิโลกรัม (ได้เมล็ดด้วยยิ่งดี)
2) บอระเพ็ดทั้ง 5 4 กิโลกรัม
3) ข่าทั้ง 5 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอมทั้ง 5 1 กิโลกรัม
5) หางไหล หรือโล่ติ้น 1 กิโลกรัม
6) ผลไม้สุก 3 ชนิด 1 กิโลกรัม (กล้วยสุก มะละกอสุก ฟักทอง
อย่างละเท่า ๆ กัน)
7) ยาฉุน 2 กิโลกรัม
8) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
9) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 3 กิโลกรัม
10) น้ าสะอาด 40 ลิตร
วิธีท า
หั่น หรือสับสะเดา บอระเพ็ด ข่า ตะไคร้หอม หางไหล และผลไม้สุก ให้ได้ความ
ยาวประมาณ 1 - 2 ข้อมือ ผสมน้ าสะอาด กับน้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาลใส่ลงในถังหมัก
น าส่วนผสมที่หั่น หรือสับแล้วใส่ลงในถังหมักปิดฝาให้สนิทและเก็บไว้ในที่ร่ม 1 เดือน
วิธีใช้
ผสมน้ าหมัก 1 ลิตร ต่อน้ าสะอาด 300 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเช้ามืด หรือหลัง
ตะวันตกดิน
หมายเหตุ ได้ประโยชน์ทั้งเป็นสารขับไล่แมลง เป็นฮอร์โมนบ ารุงพืชให้ติดดอกออกผลดี และยัง
เป็นปุ๋ย อินทรีย์ชีวภาพอีกด้วย
เทคนิคส าคัญในการผลิต และการใช้สารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
1 การหมักสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท
และควรมีลักษณะทึบแสง
2 ควรเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม ไม่ควรโดนแสงแดด
3 ตลอดระยะเวลาการหมักไม่ควรเปิดฝาก่อนถึงเวลา เพราะอาจท าให้การหมักไม่
สมบูรณ์ น ามาใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ในกรณีถ้าถังบวมมาก จนอาจระเบิดได้ ก็อนุโลมให้แง้มฝา
เล็กน้อย เพื่อปล่อยก๊าซออกบ้าง แล้วให้รีบปิดให้สนิทเหมือนเดิม
4 ควรคลุมดิน (อย่าเปลือยดิน) โดยใช้เศษฟาง เศษใบไม้ หรือวัชพืชจ าพวกหญ้า
ต่าง ๆ คลุมให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม หรือเลยออกมาเล็กน้อย ควรเว้นระยะห่างจากโคนต้น
ประมาณ 1 คืบ และหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ
5 การฉีดพ่นใบ หรือรดราดดิน ควรผสมตามอัตราส่วนที่ก าหนดและควรฉีดพ่น
หรือรดราดลงบนดินให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม โดยฉีดพ่น หรือรดราดลงบนเศษฟาง หรือใบไม้กิ่งไม้ที่
คลุมดินอยู่
6 ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะจะท าให้ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์
ชีวภาพลดลง ให้ใช้การตัดหรือนาบแทน
7 ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง เพราะประสิทธิภาพของสารสกัด
สมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพจะลดลง และสิ่งส าคัญ คือ แมลงที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ (ตัวห้ า ตัวเบียน)
จะตายลง
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชนปฐมอโศก ตั้งอยู่เลขที่ 66 หมู่ 5 ต าบลพระประโทน อ าเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม
คุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดในการป้องกันและก าจัด (แมลงโรคพืช)
พืชสมุนไพร
หางไหล : หนอนกินช่อ เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง เพลี้ยจักจั่น
ขมิ้นชัน : ดวงเจาะเมล็ด ด้วงงวงข้าว มอดข้าวเปลือก หนอนกระทู้ ไรแดง
สบู่ต้น : หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแปะใบ หนอนแก้ว
ตะไคร้หอม : หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนหลอด ราน้ าค้าง หนอนม้วน
ใบ ราแป้ง หนอนเจาะยอด / ดอก / ผล ราสนิม
กระเทียม : เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ ราน้ าค้าง ราแป้ง ราสนิม
ใบมะเขือเทศสด : ด้วงหมัดผัก หนอนเจาะต้น ไส้เดือนฝอย รา / แบคทีเรียบางชนิด
หนอนใย
ยาสูบ / ยาฉุน : เพลี้ย ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนกระ หล่ า หนอน
ชอนใบ หนอนมวนใบ หนอนกระทู้
พริกสด : โรคจากไวรัสทุกชนิด ขับไล่แมลง
ใบแก่มะรุม : (ใช้รองก้นหลุม) ราในดิน รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า (แตง _ ฟัก) เน่า
คอดิน แง่งขิงเน่า
สาบเสือ : หนอนกระทู้ หนอนใย เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น
แมลงโรคพืช
เพลี้ยไฟ : ใช้พืชสมุนไพร หางไหล สะเดา ยาสูบ ยาฉุน สาบเสือ ตะไคร้หอม /
แกง ใบดาวเรือง กระเทียม ข่า พริก ดีปลี
แมลงหวี่ขาว : ใช้พืชสมุนไพร กระเทียม พริก มะกรูด ขึ้นฉาย ตะไคร้หอม /
แกง
หมัดกระโดด : (ใช้ทางใบ)ตะไคร้หอม/แกงขิง ข่า พริก ใบน้อยหน่า หางไหล หนอน
ตายหยาก (ใช้ทางดิน) สะเดา เมล็ดน้อยหน่า ตะไคร้หอม / แกง ยาฉุน
เพลี้ยอ่อน : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ยาสูบ ยี่หร่า หางไหล (เหล้าขาว +
น้ าส้มสายชู)
เพลี้ยแป้ง : ใช้พืชสมุนไพร ยาสูบ ยาฉุน สะเดา บอระเพ็ด ตะไคร้หอม / แกง
สาบเสือ กระเทียม (ไวท์ออย + น้ ามันก๊าซ)
รากเน่าโคนเน่า : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกมะม่วงหิมพานต์ เทียนหยด ราก หม่อน
ผลเน่า : ใช้พืชสมุนไพร ต้นกระดูกไก่ด า / ขาว ว่านน้ า ตะไคร้หอม กระ
เพรา โหระพา ใบยูคาลิปตัส
ไส้เดือนฝอย : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ละหุ่ง ใบยูคาลิปตัส สาบเสือ แขยง เลี่ยน
ปะทัดจีน ใบดาวเรือง ตะไคร้หอม
โรคเน่าคอดิน: ใช้พืชสมุนไพร ใบมะรุมแห้ง กระเทียม ผิวมะกรูด รากหม่อน
โรคเหี่ยว : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกเงาะ ขึ้นฉาย ใบมะรุมแห้ง
โรคใบจุด : ใช้พืชสมุนไพร ว่านน้ า ใบกระดูกไก่ด า / ขาว ลูกประค าดีควาย
เปลือก มะม่วงหิมพานต์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ฉลาดกิน ฟ้าทะลายโจรสู้โรค ป้องกันโควิด-19
ฉลาดกิน ฟ้าทะลายโจรสู้โรค ป้องกันโควิด-19
โดยแพทย์หญิงศรันยา สาครินทร์ แพทย์แผนปัจจุบัน จบจากโรงพยาบาลรามาธิบดีและศึกษาต่อปริญญาโท ด้านฝังเข็มยาจีน นวดทุยหนา และโภชนาการจากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการรักษาโรคจากทั้งศาสตร์ตะวันออกและตะวันตก

“ฟ้าทะลายโจร” พืชล้มลุกที่มีกำเนิดจากแถบประเทศอินเดียและศรีลังกา สำหรับในไทยฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่อยู่ในตำรายาไทยโบราณมานาน มีรสขม จัดอยู่ในกลุ่มยาเย็นมีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทยใช้เพื่อบรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอและเจ็บคอ ฟ้าทะลายโจรยังเป็นสมุนไพรที่ถูกบรรจุอยู่ในบียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2542 ของกระทรวงสาธารณสุข

จากผลการศึกษาและวิจัยพบว่า ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญชื่อว่า

“สารแอนโดรกราโฟไลค์” (Andrographolide) ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ในทุกระยะและช่วยยับยั้งการอักเสบ และยังมีสารประกอบสาร Lactone 4 ชนิดที่มีฤทธิ์เย็นหนืด ช่วยจับโปรตีนของไวรัสให้อยู่กับที่ ทำให้ฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจรต้านไวรัสได้ดียิ่งขึ้น และช่วยป้องกันผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะได้ ลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย ช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอป้องกันและบรรเทาหวัด

สำหรับแพทย์แผนจีนนั้นระบุว่า ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์เย็นจัด มีรสขมและแห้ง มีสรรพคุณลดความร้อน ทั้งความร้อนในร่างกายและความร้อนเกินที่เข้ามาในร่างกาย เช่น ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ช่วยดูดความชื้นในร่างกาย ขจัดเสลดของเหลวต่างๆให้แห้ง จึงช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้เวลาเป็นไข้ขึ้นสูง ลดเจ็บคอ ช่วยเรื่องการทำงานของปอดเป็นหลัก สำหรับหมอเองก็ใช้ฟ้าทะลายโจรควบคู่กับสูตรยาจีนเพื่อช่วยลดอุณหภูมิความร้อนให้คนไข้ เพราะสามารถใช้ร่วมกันได้ หมอแนะนำให้กินแบบธรรมชาติ คือ กินเป็นใบทั้งแบบสดหรือแบบตากแห้งบดก็ได้

กินเพื่อป้องกัน (For Prevention)

แบบใบสด ประมาณวันละ 2-3 ใบ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือนในช่วงฤดูหนาว จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายได้

แบบตากแห้งแล้วบดใส่แคปซูล กินวันละ 1 แคปซูล (ประมาณ 500 มิลลิกรัม) ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน ระยะเวลาและขนาดปริมาณประมาณนี้ยังไม่มีผลข้างเคียงเรื่องการทำลายตับ

มีงานวิจัยคำนวณอิงสารแอนโดกราโฟไลค์เพื่อป้องกันหวัดจะใช้ปริมาณ 11.2 มิลลิกรัมต่อวัน กิน 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 3 เดือน มีผลป้องกันหวัดได้

กินเพื่อรักษาอาการ (For Treatment)

สำหรับปริมาณการรักษา หมอแนะนำให้เลือกแบบตากแห้งแล้วบดใส่แคปซูล กินครั้งละ 1_500-3_000 มิลลิกรัม จำนวน 4 ครั้งต่อวัน หรือประมาณ 2-4 แคปซูล วันละ 3 มื้อ ระยะเวลา 7-10 วัน (หรือไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์) หากอิงจากสารแอนโดรกราโฟไลด์ระดับในการรักษาคือ ประมาณ 60-120 มิลลิกรัมต่อวันนั่นเองค่ะ

ข้อควรระวังในการรับประทานยาฟ้าทะลายโจร

-ห้ามใช้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้ที่มีอาการแพ้

-ห้ามหญิงตั้งครรรภ์หรือให้นมบุตรกินฟ้าทะลายโจร

-สำหรับคนที่ถ่ายเหลว ท้องเสียบ่อย ระบบย่อยไม่ค่อยดี ภาวะธาตุอ่อนไม่ควรกินฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน หากร่างกายเย็นไปจะทำให้ถ่ายท้อง ถ่ายเหลว เพิ่มขึ้นได้

-ไม่ควรรับประทานในขนาดสูงติดต่อกันนานเกินไป เพราะอาจเสี่ยงทำให้แขนขาเป็นเหน็บชาหรืออ่อนแรง ท้องเสีย เนื่องจากยามีฤทธิ์เย็น ทำให้เลือดเดินไปเลี้ยงส่วนแขนขาติดขัด ระบบย่อยลำบาก

-หากรับประทานยาฟ้าทะลายโจรเพื่อลดอาการเจ็บคอ เมื่อครบ 24 ชั่วโมง แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงกว่าเดิม ควรหยุดรับประทานแล้วพบแพทย์

-ควรระมัดระวังในการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรควบคู่ไปกับยาลดความดันเพราะอาจเสริมฤทธิ์กันให้ความดันโลหิตลดมากกว่าเดิมได้

-ควรระมัดระวังในการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรควบคู่ไปกับยาที่มีสารกันเลือดเป็นลิ่มและยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น วาร์ฟาริน แอสไพริน เป็นต้น

เพราะฉะนั้นสำหรับฟ้าทะลายโจร หมอถือว่าเลือกกินตามอาการจะดีกว่า เมื่ออาการดีขึ้นจึงหยุดยา ด้วยความที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์เย็นและมีรสขม เมื่อกินเข้าไปติดต่อกันจะทำให้ร่างกายเย็น สำหรับแผนจีนเมื่อร่างกายเย็นมากจะทำให้เลือดลมไม่หมุนเวียน มักมีอาการอ่อนเพลีย บางคนอาจมีอาการท้องเสีย

ส่วนรูปแบบในการกินฟ้าทะลายโจรนั้น แนะนำให้กินแบบสดหรือตากแห้งแล้วบดหยาบมากกว่า เพราะจะได้สารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์เดี่ยวค่ะ เนื่องด้วยในฟ้าทะลายโจรแบบยังไม่ได้สกัดจะมีสาร Lactone ที่จะช่วยจับโปรตีนของไวรัสได้ดีกว่า ทำให้ฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจรแบบไม่สกัดทำงานต้านไวรัสได้ดีกว่า แต่จำนวนเม็ดที่กินอาจจะต้องมากกว่าแบบสกัด เพื่อให้ได้ฤทธิ์ถึงในระดับการรักษาอาการป่วยค่ะ

อย่างไรก็ตาม การกินฟ้าทะลายโจรสามารถกินเพื่อการดูแลรักษาตนเองเป็นเบื้องต้น สร้างความแข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แต่ควรกินในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นนะคะ

นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 545 ปีที่ 23 16 มิถุนายน 2564

ที่มา http://www.farmkaset..link..
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ณ ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่สนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ระดับครัวเรือน (House hold Lab Model for quality of life : HLM) อำเภอพระนครศรีอยุธยา ของนางเอื้อมพร ศาสนกุล ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา​ โดยมีนางสาวอัญชลี เฉลยรัตน์ พัฒนาการอำเภอพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ร่วมลงพื้นที่ในการวางแผนขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล”

นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน โดย “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พัฒนาชมุชน” เป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะเจ้าของแปลงได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาพื้นที่ของตนเองเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เพื่อเผยแพร่แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ กรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้ปลูกพืชสมุนไพร เช่น กระชาย และฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาอาการจากโรคระบาด ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รณรงณ์ให้ประชาชนในจังหวัดฯ รวมถึงเจ้าของแปลงโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล” ได้ร่วมกันปลูกพืชสมุนไพรดังกล่าว เพื่อใช้ในครัวเรือนและเพื่อประโยชน์ต่อคนในชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ต่อไป

ด้านนางเอื้อมพร ศาสนกุล เจ้าของแปลง 3 ไร่ เผยว่าขอขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชน ที่ให้โอกาสเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพราะเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นการลดรายจ่ายเพิ่​มรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน และในอนาคตมีความมุ่งหวังจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล ได้ศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในวิถีชีวิต

ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 1849/2564 กำหนดมาตรการตามพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อย่างเคร่งครัด

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา
ข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
กนก แนะรัฐเร่งทบทวนนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด ครม.มติหนุนแต่สธ.ให้ใช้ Favipiravir
กนก แนะรัฐเร่งทบทวนนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด ครม.มติหนุนแต่สธ.ให้ใช้ Favipiravir
"กนก" แนะรัฐเร่งทบทวนนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด หลังครม.มติหนุน แต่สธ.ให้ใช้ Favipiravir ชี้โจทย์ใหญ่รัฐบาลต้องเร่งวิจัยศักยภาพ-ส่งเสริมการปลูก เชื่อช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้

เมื่อวันที่ 29 ก.ค.นายกนก วงษ์ตระหง่าน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาฟ้าทะลายโจรขาดแคลน เพราะความต้องการสูงในขณะนี้ว่า ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวนว่าจะกำหนดนโยบายและวางอนาคตของสมุนไพรไทยอย่างไร เพราะในขณะนี้ ฟ้าทะลายโจรมีผลการวิจัยโดยแพทย์แผนปัจจุบันยืนยันแล้วว่าสามารถช่วยรักษาโรคไวรัสโควิด 19 ได้ และสามารถบอกได้จากการทดลองเชิงปฏิบัติกับผู้ป่วยแล้วว่าจำนวนหรือปริมาณการรับประทาน สารออกฤทธิ์ในฟ้าทะลายโจร คือ แอนโดรกราฟโฟไลด์ (Andrographolide) ต่อวัน และสามารถเปรียบเทียบผลกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ทานฟ้าทะลายโจร แล้วพบว่าฟ้าทะลายโจรมีความปลอดภัยสูงต่อผู้ป่วย มีสิทธิภาพ ต่อการรักษาดี อีกทั้งหาได้ง่ายและราคาถูกสำหรับคนไทย เพราะฟ้าทะลายโจรเป็นพืชที่ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ของประเทศ การที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการใช้ฟ้าทะลายโจร เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 เพื่อการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่ยังไม่มีอาการโรค โดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยืนยันถึงประสิทธิภาพของการรักษาโรคโควิด 19 ของฟ้าทะลายโจร แต่ถ้าเข้าไปดูแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 21 ก.ค.64 ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำเรื่องการรักษา Covid-19 กรณีผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ให้ใช้ยา Favipiravir เท่านั้น ไม่ปรากฏฟ้าทะลายโจรอยู่ในแนวเวชปฏิบัติของกระทรวง

นายกนก กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ายังมีความย้อนแย้งอยู่ในส่วนนโยบายการรักษา จึงต้องเร่งทบทวนกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ทำไมประกาศฉบับหลังสุดคือ 21 กรกฎาคม 2564 จึงไม่มีฟ้าทะลายโจรในประกาศของแนวทางเวชปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้แพทย์ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขและแพทย์ทั่วไปไม่กล้าที่จะใช้ฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วยโควิด 19 อีกทั้งสปสช.ก็ไม่อาจจะนำฟ้าทะลายโจรรวมเข้าเป็นค่าใช้จ่ายการรักษาตามระบบ ประกันสุขภาพด้วย ผลที่ตามมาคือการใช้ยา Favipiravir ราคาแพงกว่าฟ้าทะลายโจรเป็นร้อยเท่า จะทำให้ค่ายารักษาโรคโควิด 19 สูงขึ้นอย่างมาก และถ้าองค์การเภสัชกรรมผลิตยา Favipiravir ไม่ทันกับความต้องการ อาจต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศที่ทำให้เสียทั้งเงินและเวลามากขึ้น คำถามที่กระทรวงสาธารณสุขต้องตอบประชาชนคือ ทำไมจึงไม่บรรจุฟ้าทะลายโจรลงในแนวทางเวชปฏิบัติฯ เพื่อให้เกิดการใช้ฟ้าทะลายโจรอย่างถูกต้อง กว้างขวาง และเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยจำนวนมหาศาลที่กำลังรอเข้าโรงพยาบาลสนาม

“ฟ้าทะลายโจรมีสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อการรักษาโรคโควิด 19 มาก แต่การจะนำ ฟ้าทะลายโจรมาเป็นยารักษาโรคที่ได้มาตรฐานอย.นั้น เกี่ยวข้องกับกระบวนการอื่น ๆ อีกมาก ตั้งแต่การปลูกฟ้าทะลายโจรที่ปลอดภัย การเก็บเกี่ยวที่รักษาคุณภาพสารออกฤทธิ์ การแปรรูปเป็นแคปซูลที่ได้มาตรฐานจนถึงการใช้ที่ถูกต้อง รวมไปถึงการทำให้ฟ้าทะลายโจรเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งจากราคาปลีกของฟ้าทะลายโจรอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่มีเพียงบริษัทยาเท่านั้นที่ได้ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ และเกษตรกรได้เพียงราคาฟ้าทะลายโจรกิโลกรัมละ 100 บาทเท่านั้น ประเด็นเหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยหลายด้านที่ต้องทำเพิ่ม เกี่ยวข้องกับการวางโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตและแปรรูปสมุนไพร ของประเทศ จนถึงเกี่ยวกับการยอมรับยาสมุนไพรของชาติและประชาชนโดยรวม โจทย์ใหญ่ของรัฐบาลที่ต้องคิดไปข้างหน้า เพื่อใช้ศักยภาพของฟ้าทะลายโจรให้เกิดประโยชน์ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ในยุคโควิด-19 อย่างไร แต่ไม่ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร โครงการสกลนครโมเดลที่ผมและทีมงานจะเดินหน้าขับเคลื่อน ฟ้าทะลายโจรเป็นหัวขบวนของการใช้สมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศต่อไป” นายกนก กล่าว

ที่มา http://www.farmkaset..link..
วิธีปลูกกระชาย สมุนไพรมากสรรพคุณ ทำอาหารได้หลายเมนู
วิธีปลูกกระชาย สมุนไพรมากสรรพคุณ ทำอาหารได้หลายเมนู
เป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่มาแรงไม่แพ้ ฟ้าทะลายโจร เลยทีเดียว หลังจากมีข่าวว่า กระชาย มีฤทธิ์ต้านไวรัสโควิดได้ดีในหลอดเพาะเชื้อ ส่วนประสิทธิภาพการรักษาในคนต้องรองานวิจัยเพิ่มเติม แต่ก็ทำให้ราคาของกระชายเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวจากหลักสิบเป็นหลักร้อยต่อกิโลกรัม แถมยังมีคนนำไปทำเป็นส่วนผสมทำเครื่องดื่มและอาหารขายกันมากมาย หากใครอยากลองปลูกกินเองที่บ้านหรือจะเพาะในสวนไว้ขายสร้างรายได้ รวมข้อมูลมาฝากกันแล้ว

ลักษณะกระชาย
กระชาย กระชายขาว หรือ กระชายเหลือง (Fingerroot_ Chinese ginger_ Chinese keys_ Galingale) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าสั้น ๆ ค่อนข้างกลมเรียงต่อกัน เหง้าตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าแง่งด้านข้าง เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล เนื้อด้านในสีเหลือง รากอวบยาว ปลายแหลมออกเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาลอ่อน เหนือดินเป็นกาบใบสีแดงเรื่อย ๆ 3-6 กาบ หุ้มซ้อนกันเป็นชั้นความสูงต้นประมาณ 80 เซนติเมตร มีใบเดี่ยวเรียงสลับ โคนสอบปลายเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อ มีทั้งดอกสีขาวและสีขาวอมชมพูบริเวณยอด มีผลแห้งแต่เมื่อแก่จะไม่แตก

การขยายพันธุ์กระชาย
วิธีปลูกกระชาย
กระชายสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีคือ ปลูกด้วยต้นและเหง้า หัวพันธุ์ที่ดีควรมีอายุประมาณ 7-9 ดือน ลักษณะสมบูรณ์ ไม่มีโรคหรือแมลงรบกวน ก่อนปลูกควรแช่ในน้ำยาป้องกันเชื้อราและสารป้องกันแมลงในดินก่อน 30 นาที เหมาะสำหรับปลูกในดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์ พื้นที่แดดรำไร มีความชื้นสูง ควรเริ่มปลูกช่วงพฤษภาคมไปจนถึงธันวาคม เพราะกระชายจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว

ทั้งนี้กระชายหัวจะขายได้ดีกว่ากระชายซอย ก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่ประมาณ 30-40 บาท ต่อกิโกกรัม ก่อนจะพุ่งสูงขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2564 มาอยู่ที่ประมาณ 105-135 บาท ต่อกิโลกรัม

หมายเหตุ : ***ราคาเฉลี่กระชาย ณ วันที่ 1 ม.ค. - 29 ก.ค. 64 จาก kasetprice
วิธีปลูกกระชายในกระถาง
ตัดหัวหรือเหง้าที่สมบูรณ์ให้ติดรากประมาณ 2-3 ราก ทารอยแผลที่ถูกตัดด้วยปูนแดง พร้อมกับนำไปตากในที่ร่มจนกว่าปูนจะแห้ง
จากนั้นนำเหง้าที่ได้ไปแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 คืน เตรียมไว้ประมาณ 3-5 หัวต่อกระถาง
นำดินที่จะปลูกมาตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน แล้วนำไปผสมกับปุ๋ยคอก ในอัตราดิน 2 ส่วนต่อปุ๋ยคอก 1 ส่วน
กระถางที่นำมาใช้ควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15-18 เซนติเมตร จากนั้นใส่ดินที่เตรียมไว้ลงไปประมาณ 3 ใน 4 ส่วน
นำเหง้ากระชายมาปลูกในกระถาง แล้วกลบด้านบนด้วยดินอีกชั้น จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 1 เดือน ก็จะมีแตกใบอ่อนให้เห็นแล้ว
วิธีปลูกกระชายในแปลงปลูก
วิธีปลูกกระชาย
ขุดไถดินตากไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและศัตรูพืช จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกและพรวนดินอีกครั้ง เพื่อให้ดินโปร่งระบายน้ำได้ดี
นำเหง้ากระชายมาแบ่งส่วน ตัดแต่งรากให้เหลือเพียง 2 ราก
ยกแปลงสูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อป้องกันดินยุบเมื่อฝนตก จากนั้นนำเหง้าที่เตรียมไว้มาปลูกลงหลุมขนาด 15 เซนติเมตร ระยะปลูก 30x30 เซนติเมตร แล้วกลบดินให้หัวเสมอผิวดิน
นำฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุมหน้าดินความหนาประมาณ 2 นิ้ว พร้อมกับรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อป้องกันวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน
หมั่นให้น้ำ 2–3 วันต่อครั้ง และกำจัดวัชพืชสม่ำเสมอ
วิธีเก็บเกี่ยว
วิธีเก็บเกี่ยวกระชายให้ใช้มือถอนหรือจอบขุด แต่ควรถอนช่วงที่ดินชื้น หรือรดน้ำให้ดินชุ่มก่อนหากดินแห้ง เพื่อป้องกันเหง้าเสียหายขณะเก็บเกี่ยว โดยส่วนใหญ่กระชายจะเก็บเกี่ยวได้หลังปลูกประมาณ 7-8 เดือน หรือเมื่อใบและลำต้นมีสีเหลืองและยุบตัวลง ทั้งนี้หากต้องการขยายช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ควรคลุมหน้าดินด้วยฟางและรดน้ำเป็นครั้วคราว เพื่อป้องกันเหง้าและรากฝ่อในช่วงฤดูร้อน

โรคที่ต้องระวัง
โรคเน่า ส่วนมากจะระบาดในดินทราย ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินที่มีสภาพเป็นกรดหรือดินที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาก นอกจากนี้ไม่ควรปลูกกระชายที่เดิมซ้ำหลายปี หากต้องการปลูกควรปรับปรุงดินก่อน โดยการผสมปูนขาวในดินอัตราส่วน 200-300 กิโลกรัมต่อไร่

ประโยชน์กระชาย
วิธีปลูกกระชาย
กระชายเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งในแง่ของการบำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาบรรเทาอาการต่าง ๆ อาทิ ท้องร่วง ท้องเดิน ท้องอืด โรคกระเพาะ ลำไส้ใหญ่อักเสบ นอกจากนี้ยังถือเป็นยาอายุวัฒนะ ที่มีรสเผ็ดร้อนขม กลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัวด้วย แถมยังทำอาหารได้หลากหลายอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์_ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร_
กรมส่งเสริมการเกษตร_ สวนพฤกษศาสตร์ และกรมวิทยาศาสตร์บริการ

ที่มา http://www.farmkaset..link..
พช.โคราช นำร่อง “1 วัด 1 สวนสมุนไพร ต้านภัยโควิด – 19” เพิ่มพื้นที่ขยายผลการปลูกพืชสมุนไพรไทย
พช.โคราช นำร่อง “1 วัด 1 สวนสมุนไพร ต้านภัยโควิด – 19” เพิ่มพื้นที่ขยายผลการปลูกพืชสมุนไพรไทย
วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16.00 น. นางอรุณรัตน์ ชิงชนะ พัฒนาการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายสิทธิชัย พรทิพย์พิทักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางจำเรียง มณีพินิจ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางสาวธัญลักษณ์ ชันไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน และนักวิชาการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา ร่วมทำกิจกรรมศูนย์แบ่งปันขยายผลการปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรไทย “1 วัด 1 สวนสมุนไพร ต้านภัยโควิด – 19” เพื่อเป็นคลังสมุนไพรแบบพึ่งพาตนเอง โดยใช้พื้นที่วัด เป็นพื้นที่แบ่งปันให้กับชุมชนสำหรับนำมาบริโภค และทำเป็นยาสมุนไพร เสริมหรือทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันในการต้านเชื้อโควิด-19
โดยได้รับความเมตตาจาก พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เจ้าอาวาสวัดบึง (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อนุญาตให้ใช้พื้นที่ว่างภายในบริเวณวัดบึง (พระอารามหลวง) เป็นจุดนำร่อง บูรณาการขับเคลื่อนขยายผลเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชสมุนไพรไทย และช่วยรณรงค์ให้ทุกวัดใช้พื้นที่ในบริเวณวัดปลูกสมุนไพรแบ่งปัน ภายใต้โครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง และโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา
ท่านพระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เจ้าอาวาสวัดบึง (พระอารามหลวง) กล่าวปาฐกถาว่า “ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในทั่วประเทศ นับวันยิ่งทวีคูณขึ้น และในส่วนของจังหวัดนครราชสีมาเองนั้นก็เป็นพื้นที่ของการระบาดของโรคเป็นอย่างมาก คนป่วยมีจำนวนมาก ทำให้โรงพยาบาลที่รักษาไม่เพียงพอ ดังนั้นการดูแลตัวเอง การพึ่งตนเอง โดยการปลูกพืชสมุนไพรไว้เพื่อนำไปแปรรูปบริโภคในครัวเรือน เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย และสมุนไพรไทยชนิดต่างๆ ซึ่งได้มีผลการวิจัยว่าสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต้านเชื้อโควิด-19 ได้ดี วันนี้อาตมาจึงมีความปรารถนา และยินดีอย่างยิ่งที่จะใช้พื้นที่ว่างภายในวัดได้ทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่พี่น้อง ญาติโยม ทั้งหลาย รวมถึงพระลูกวัดที่จะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันจากสมุนไพรที่ปลูกในวันนี้ จากนั้นก็จะได้ขยายผลไปสู่วัดต่างๆ ในทุกระดับให้มีการปลูกสมุนไพรไว้ใช้ และแบ่งปันให้กับญาติโยม และพี่น้องประชาชนในชุมชนนำไปขยายผลกันต่อไปให้ทั่วถึง”
ด้าน นางอรุณรัตน์ ชิงชนะ พัฒนาการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศูนย์แบ่งปันพืชผักสวนครัว และรณรงค์ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชสมุนไพรไทยโดยผู้นำทำเป็นต้นแบบ “ผู้นำต้องทำก่อน” และเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย ชิง ข่า ตะไคร้ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นพืชสมุนไพรไทยทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกัน และบรรเทายับยั้งการติดเชื้อไข้หวัด หรือ เสริมสร้างภูมิต้านทานในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ สำหรับไว้ใช้เองในครัวเรือนและแบ่งปันกันในชุมชน ขณะที่นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ก็ได้จัดกิจกรรม Kick Off “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักแบ่งปัน” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ (28 กรกฎาคม 2564) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยจังหวัดได้กำหนดการจัดกิจกรรมศูนย์แบ่งปัน ไว้ 5 จุดดำเนินการ แบ่งตามกลุ่มโซนอำเภอ แต่ละกลุ่มโซนอำเภอจะได้รับการสนับสนุนพันธุ์พืชสมุนไพรสนับสนุนศูนย์แบ่งปันจังหวัด เพื่อนำไปจัดกิจกรรมในพื้นที่ต้นแบบที่ได้ขยายผลตามโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผลผลิตที่ได้นำไปแจก แบ่งปันให้ประชาชนในชุมชน ได้ขยายพันธุ์ปลูก และบริโภคให้ครบทุกครัวเรือน
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าวข้างต้น จังหวัดนครราชสีมาได้มอบนโยบายให้ทุกอำเภอ บูรณาการส่วนราชการ องค์กร ภาคี เครือข่าย ร่วมกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง และครัวเรือนจิตอาสา ร่วมใจกันรณรงค์ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไปทั้งเดือนสิงหาคม 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2564 เพื่อให้เกิดความมั่นคงทั้งในด้านอาหารและด้านสมุนไพรไทย ควบคู่กันไป

ณ วัดบึง (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

#ChangeForGood
#CDD #กรมการพัฒนาชุมชน
#พช_นครราชสีมา #CNS
📸 ที่นี่โคราช สถานีข่าว พช. รายงาน

ที่มา http://www.farmkaset..link..
5 สมุนไพรพื้นบ้าน สร้างภูมิป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19
5 สมุนไพรพื้นบ้าน สร้างภูมิป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19
หลังจากมีการประกาศว่าพืชสมุนไพรสามารถต้านเชื้อไวรัสได้ โดยเฉพาะยาฟ้าทลายโจร ก็ทำให้ยาฟ้าทลายโจรถึงกับขาดตลาด และมีราคาพุ่งสูงปรี๊ด เนื่องจากหลายคนมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณยาที่ผลิตออกสู่ท้องตลาดไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

เช่นเดียวกับกระชายขาว ที่ปัจจุบันเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระชายขาวสด หรือกระชายขาวสกัดเม็ด ซึ่งจากความต้องการที่เพิ่มขึ้ ทำให้เริ่มมีการตั้งข้อสังเกตในตัวสมุนไพรอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติสร้างภูมิคุ้มกัน และต้านไวรัส ว่าจะขาดตลาดตามาหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น กระเทียม ขิง หรือมะขามป้อม และเพื่อให้เพื่อนๆ ได้รู้จักพืชสมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกัน และต้านไวรัสกันมากขึ้น วันนี้ สามย่านมิตรทาวน์ มีข้อมูลควรรู้ของสมุนไพร 5 ชนิดอย่าง ฟ้าทลายโจร กระชาย ขิง มะขามป้อม และกระเทียม มากฝาก

1.ฟ้าทะลายโจร
เป็นสมุนไพรที่ช่วงนี้ได้ยินชื่อกันมาพักใหญ่แล้ว เนื่องจากมีงานวิจัยที่รับรองแล้วว่า ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะกลไกในการต้านไวรัสเข้าสู่เซลล์ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสที่ปอด ช่วยขับเหงื่อ และบรรเทาอาการ ไข้ ไอ และเจ็บคอ เป็นต้น

2.กระชายขาว
เป็นพืชสมุนไพร ที่มีสารแพนดูราทิน (pan-duratin) มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยังยั้งเชื้อพิโคร์นาไวรัส (picornaviruses) ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี แต่เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน อาจส่งผลให้เกิดอาการร้อนใน ดังนั้น จึงไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป

3.ขิง
เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เพราะมีทั้ง วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเส้นใยจำนวนมาก โดยปกติทั่วไปมักจะนำมากินแก้หวัด เนื่องจากขิงมีรสเผ็ดร้อน จึงมีฤทธิ์ต้านไวรัสไขหวัดใหญ่ มีสรรพคุณช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต้านไวรัส ต้านการอักเสบ ลดเสมหะ แก้คัดจมูก เพิ่มการไหลเวียนโลหิตและขับเหงื่อ

4.มะขามป้อม
ป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เพราะมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก คาร์โบไฮเดรต และใยอาหาร อีกทั้งยังมีสรรพคุณหลักเป็นยาแก้ไอ และละลายเสมหะ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ดียิ่งขึ้น

5.กระเทียม
เป็นเครื่องสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด และเป็นพืชที่ธาตุซีลีเนียมสูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังมีสารอะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิกที่เป็นตัวสร้าง DNA และ RNA ของเซลล์ในร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ช่วยลดไขมันในเลือด ลดโคเลสเตอรอล ลดการแข็งตัวของเลือด ลดความดัน ลดการปวดเกร็ง ยังช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย-รา-ไวรัส ต้านมะเร็ง มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อ และช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยให้สั้นลง

ปัจจุบันการวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับกันวงกว้าง เนื่องจากแต่ละชนิดมีสรรพคุณต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สมุนไพรไทยถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการช่วยป้องกันและบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณข้อมูลจาก : คู่มือดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร _ คลังความรู้สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และ medthai

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ครู กศน.อำเภอรัตนบุรี จ.สุรินทร์ นำนักศึกษาสร้างศูนย์การเรียนรู้พืชสมุนไพร ต้านภัยโควิด-19
ครู กศน.อำเภอรัตนบุรี จ.สุรินทร์ นำนักศึกษาสร้างศูนย์การเรียนรู้พืชสมุนไพร ต้านภัยโควิด-19
นายคเณศวร เกษอินทร์ นายอำเภอรัตนบุรี เปิดเผยว่า คณะครู และ นักศึกษา กศน.อำเภอรัตนบุรี ได้ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรม สร้างศูนย์การเรียนรู้พืชสมุนไพร ต้านภัยโควิด-19 โดยปลูกพืชสมุนไพร อาทิ ฟ้าทะลายโจร ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น ณ บริเวณรอบสำนักงาน กศน. เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพร สร้างความตระหนักให้กับนักศึกษา และประชาชนได้เห็นคุณค่า และสรรพคุณของสมุนไพรพื้นบ้าน ในการรักษาโรคเบื้องต้น ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง จึงได้นำผลไม้สด ไปมอบให้เป็นกำลังใจ

ทั้งนี้ การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร เป็นไปตามนโยบายของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ และขยายผลสู่ชุมชน ซึ่งสมุนไพรที่ปลูก มีสรรพคุณสร้างภูมิคุ้มกันของอาการโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้ง เพื่อสร้างทักษะด้านอาชีพให้กับนักศึกษาในอนาคต โดยนำพืชสมุนไพร ไปขยายผลส่งเสริมการปลูกในชุมชนและครัวเรือน ตลอดจนได้มีแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพร ไว้ศึกษาค้นคว้า ตระหนักถึงคุณค่าและสรรพคุณของสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้

ที่มา http://www.farmkaset..link..
งานวิจัยฝ้ายในรอบทศวรรษ
งานวิจัยฝ้ายในรอบทศวรรษ
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา นักปรับปรุงพันธุ์พืชและนักวิจัยของศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ รวมทั้งศูนย์เครือข่าย ได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์ฝ้ายที่มีคุณภาพดี มีความหลากหลาย สอดคล้องและตรงกับความต้องการของตลาด ตลอดจนได้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ลดการใช้สารเคมีตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนกระทั่งกระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

1. ตากฟ้า 84-4

พันธุ์ฝ้ายใบขน ผลผลิตฝ้ายปุยทั้งเมล็ด 260 กิโลกรัมต่อไร่ และคุณภาพเส้นใยดีมาก โดยมีเปอร์เซ็นต์ปุย 38.0 เปอร์เซ็นต์ ความยาวของเส้นใย 1.23 นิ้ว ความเหนียวของเส้นใย 24.3 กรัมต่อเท็กซ์ ความสม่ำเสมอของเส้นใย 56 และความละเอียดอ่อนของเส้นใย 3.9 นอกจากนี้ผลผลิตเสียหายน้อยกว่าพันธุ์ตากฟ้า 2 ซึ่งเป็นฝ้ายใบเรียบ จากการเข้าทำลายอย่างรุนแรงของเพลี้ยจักจั่นที่ระบาดอย่างรวดเร็ว เมื่อประสบภาวะแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84-4 มีใบปกคลุมด้วยขนทั้งบนใบและบริเวณเส้นใบ ทำให้ลดการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นได้ดีกว่า อีกทั้งยังมีความต้านทานต่อโรคใบหงิก ซึ่งทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงปากดูดพวกเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยจักจั่นลงในระดับหนึ่ง ดังนั้น ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84-4 จึงเหมาะสมที่จะส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูก ในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งเป็นระยะเวลานานตลอดจนเป็นพันธุ์ที่มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของการปลูกฝ้ายที่สำคัญของประเทศไทย

เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ในการผลิตฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84-4 สำหรับดินชุดสมอทอด ควรใช้ อัตราประชากร 1_828 ต้นต่อไร่ โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 1.75 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร ใส่ปุ๋ยอัตรา 12-12-12 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N-P2O5-K2O เมื่อฝ้ายอายุ 30 วัน

2. ตากฟ้า 86-5

ฝ้ายเส้นใยสีเขียว และมีคุณภาพเส้นใยดีพันธุ์แรกของไทย มีความยาวเส้นใย 1.26 นิ้ว ความเหนียว 31.6 กรัม/เท็กซ์ ความสม่ำเสมอ 84 และความละเอียดอ่อน 2.54 ตลอดจนต้านทานต่อโรคใบหงิก เหมาะสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบรองรับการผลิตหัตถกรรมสิ่งทอในท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การแข่งขันและพึ่งพาตนเอง อีกทั้งเส้นใยสีเขียวยังเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ไม่ต้องผ่านกระบวนการฟอกย้อมสี ปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้ใช้ และลดมลภาวะน้ำเสียที่เกิดจากการฟอกย้อม ตรงตามกระแสของผู้บริโภคที่ต้องการใช้เส้นใยฝ้ายสี ซึ่งอนุรักษ์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตฝ้าย ซึ่งเป็นฝ้ายเส้นใยสีเขียวพันธุ์แรกของไทย แนะนำให้ใช้อัตราประชากร ที่เหมาะสม 2_650 ต้นต่อไร่ หรือ ใช้ระยะปลูก 1.25×0.50 เมตร ใส่ปุ๋ยอัตรา 8-16-8 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N-P2O5-K2O ซึ่งเหมาะสมและให้กำไรสูงสุด ในชุดดินวังไฮ สำหรับการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่น ให้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้ายเฉพาะที่ฝ้ายอายุ 50-100 วัน หรือ เมื่อมีปริมาณเพลี้ยจักจั่น ถึงระดับเศรษฐกิจ และแนะนำให้เก็บเกี่ยวฝ้ายพันธุ์นี้ ทุก 5 และ 10 วันหลังจากสมอเริ่มแตก เพื่อให้ได้เส้นใยที่มีสีเขียวเข้มที่สุด

3. ตากฟ้า 6

ฝ้ายเส้นใยสีน้ำตาลพันธุ์แรกของไทย ความยาวเส้นใยปานกลาง 1.09 นิ้ว และมีความละเอียดอ่อนของเส้นใยสูง 2.7 เมื่อนำไปทอจะได้เนื้อผ้าที่มีความนิ่ม สบาย ให้ผลผลิตเฉลี่ย 177 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกได้ในแหล่งผลิตฝ้ายของไทย มุ่งเน้นความเป็นเส้นใยธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีสีน้ำตาลตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการฟอกย้อม เพื่อให้ลด ต้นทุนแรงงาน ลดขั้นตอน และเวลาในการฟอกย้อมสี อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้ใช้ และลดมลภาวะน้ำเสียที่เกิดจากการฟอกย้อม

เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ในการผลิตฝ้ายตากฟ้า 6 ที่ปลูกในดินร่วนเหนียว ชุดดินวังไฮ ควรใช้อัตราประชากร 3_200 ต้นต่อไร่ โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 1.0 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร หรือ อัตราประชากร 2_560 ต้นต่อไร่ โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 1.25 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร ใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นเกรด 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อฝ้ายอายุ 30 วัน ใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่

เทคโนโลยีการผลิตฝ้ายอินทรีย์

ซึ่งเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เพิ่มมูลค่าของผลผลิตฝ้าย เนื่องจากลดการใช้สารเคมี สร้างผลผลิตและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากสารเคมีปนเปื้อนในการผลิตฝ้าย โดยสามารถเลือกใช้การปรับปรุงดินจาก 4 วิธี คือ การใช้ปอเทืองหว่านแล้วไถกลบเมื่ออายุ 2 เดือน หรือใช้ปอเทืองร่วมกับปุ๋ยหมักแห้ง 3 ตันต่อไร่ หรือใช้ปอเทืองร่วมกับโบกาชิ 200 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใช้ปอเทืองร่วมกับปุ๋ยหมัก 3 ตันต่อไร่และใส่โบกาชิ 200 กิโลกรัมต่อไร่เมื่ออายุ 1 เดือน แต่กรรมวิธีที่ให้ค่า BCR ต่ำกว่ากรรมวิธีอื่นหรือคุ้มค่ามากกว่า คือ ใช้ปอเทืองอย่างเดียว หรือใช้โบกาชิ 200 กิโลกรัมต่อไร่อย่างเดียว (ค่า BCR เท่ากับ 1.26 และ 1.40 ในพันธุ์ตากฟ้า 86-5 และ ตากฟ้า 6 ตามลำดับ และพันธุ์ฝ้ายทั้งสองพันธุ์นี้สามารถปลูกในระบบอินทรีย์ได้ ส่วนการควบคุมแมลงศัตรูพืช สามารถพ่นน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้และจากสมุนไพร (อัตราส่วนน้ำหมัก : น้ำ 1 : 200) ตั้งแต่ฝ้ายอายุ 15-100 วันหลังงอก ช่วงฤดูปลูกปลายฝนสำหรับภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) สามารถปลูกได้ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และมีโอกาสพบกับความแปรปรวนของฝนได้ตลอดฤดูปลูก

4. ตากฟ้า 7

ฝ้ายพันธุ์รับรองล่าสุดของกรมวิชาการเกษตร ตากฟ้า 7 เป็นฝ้ายใบขน ผลผลิตฝ้ายปุยทั้งเมล็ด เฉลี่ย 196 กิโลกรัมต่อไร่ ทนทานต่อเพลี้ยจักจั่น และต้านทานต่อโรคใบหงิกในสภาพการปลูกแบบปลอดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย ตลอดจนมีเปอร์เซ็นต์หีบ 36.6 % คุณภาพเส้นใยยาวปานกลาง โดยกลุ่มเส้นใยมีความยาว 1.02 นิ้ว ความเหนียว 16.6 กรัมต่อเท็กซ์ ความละเอียดอ่อน 4.4 และความสม่ำเสมอ 58 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120-189 วัน สามารถปลูกได้ในแหล่งผลิตฝ้ายของประเทศไทย เป็นทางเลือกให้เกษตรกรใช้ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก (น้อยกว่า 1 ไร่) ในสภาพปลอดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง รองรับแนวความคิดในการผลิตฝ้ายที่ปลอดภัยต่อสุขภาพผู้ผลิต ผู้บริโภค จากศักยภาพของพันธุ์ สามารถที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องในการผลิตฝ้ายอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต และรองรับกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง (niche market)

คำแนะนำการจัดการปุ๋ย ในการผลิตฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 7 ที่ปลูกในดินร่วนเหนียวชุดดินวังไฮ ควรใช้อัตราประชากร 3_200 ต้นต่อไร่ (ระยะระหว่างแถว 1.0 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร) หรือ อัตราประชากร 1_828 ต้นต่อไร่ (ระยะระหว่างแถว 1.75 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร) ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 8-24-24 อัตรา 33 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อฝ้ายอายุ 30 วัน

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อ บำรุง ส่งเสริมการเจริญเติบโต ของ ฝ้าย
85 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 8 หน้า, หน้าที่ 9 มี 5 รายการ
|-Page 7 of 9-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
เตือน!! ระวังหนอนระบาด หนอนมะม่วง หนอนเจาะผล ทำลาย ต้นมะม่วง ของคุณ ...สร้างเสียหายได้มาก
Update: 2566/11/02 10:47:31 - Views: 359
ดอกทานตะวัน ความนิยมปลูกและทานดอกทานตะวันทั่วโลก
Update: 2565/11/14 12:59:24 - Views: 5001
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนกาแฟสีแดง ใน ผักหวาน และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/14 14:38:59 - Views: 3050
โรคลำต้นเน่า (Stem Rot Disease) โรคข้าวลำต้นเน่า
Update: 2564/08/20 00:08:40 - Views: 3189
เตือน!! เกษตรกร ต้นงาขาว งาดำ ระวัง โรคใบไหม้ ใบจุด แอนแทรคโนส สร้างเสียหายได้มาก ป้องกันได้อย่างไร?
Update: 2566/11/07 09:19:36 - Views: 257
การจัดการและป้องกันโรคใบไหม้ราสีม่วงในหอมใหญ่: วิธีการป้องกันและการดูแลเพื่อรักษาสุขภาพของพืช
Update: 2566/11/17 09:37:00 - Views: 314
โรคเชื้อราในต้นมะพร้าว เร่งป้องกันกำจัดก่อนจะเป็นแบบนี้
Update: 2567/05/20 07:50:31 - Views: 2
โรคใบไหม้ มันสำปะหลังใบไหม้
Update: 2563/12/12 12:57:37 - Views: 3039
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เทคโนโลยีที่พัฒนาดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สำหรับต้นกระเจี๊ยบเขียว
Update: 2567/02/13 09:46:57 - Views: 145
โรคคะน้า คะน้าใบไหม้ ราน้ำค้าง แผลวงกลมสีน้ำตาล โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/13 01:01:50 - Views: 3638
โรคใบไหม้มันสำปะหลัง มันสำปะหลังใบไหม้ (Cassava Bacterial Blight : CBB)
Update: 2564/08/09 06:40:25 - Views: 3504
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
Update: 2564/08/20 00:00:49 - Views: 3406
การป้องกัน กำจัดเพลี้ย กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วย ชีวภัณฑ์ บิวเวอเรีย และ เมธาไรเซียม ได้ผลดี และปลอดภัย
Update: 2566/11/10 06:26:57 - Views: 7881
โรคแก้วมังกรลำต้นจุด และโรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/07/09 08:57:36 - Views: 3027
มะพร้าวยอดเน่า มะพร้าวผลร่วง มะพร้าวใบไหม้ มะพร้าวยอดแห้ง โรครามะพร้าว ไอเอส จาก FK
Update: 2565/06/17 01:01:15 - Views: 3271
ยากำจัดโรคใบจุด ใน แตงโม โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/07 14:33:55 - Views: 6976
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราแป้ง ในกัญชา กัญชง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/21 09:48:20 - Views: 3430
เงาะ ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/12 11:49:44 - Views: 104
เคล็ดลับในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน : ปุ๋ยสำหรับฉีดพ่นทุเรียน
Update: 2566/11/24 15:04:07 - Views: 355
โรคแอนแทรคโนสมันสำปะหลัง
Update: 2565/02/25 02:58:29 - Views: 3019
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022