[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - สมุนไพร
85 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 8 หน้า, หน้าที่ 9 มี 5 รายการ

สารสำคัญ ในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญ ในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญในกัญชา บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารสำคัญในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญในกัญชา แต่ละตัวสำคัญอย่างไร ตัวใหนทำไห้เมา ตัวใหนทำไห้ติด และตัวใหนใช้รักษาโรค เราจะพาทุกท่านมาหาคำตอบในบทความนี้กันคะ

สารสำคัญในกัญชามีหลายร้อยชนิด แบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ได้3กลุ่ม
1)สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)
2)สารเทอร์ปีน (Terpenes)
3)สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)

กลุ่มที่ 1 สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)
เป็นสารสำคัญในกัญชา ซึ่งสารในกลุ่มนี้เป็นสารประกอบทางเคมี ที่มีมากกว่า 500 ชนิด เป็นสารที่ต้นกัญชาสามารถผลิตได้ และเก็บสะสมไว้ในไตรโคม และต่อมขน ที่มีอยู่มากบริเวณ ดอกกัญชาตัวเมีย

สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) มากกว่า 100 ชนิด จะมีแค่ในต้นกัญชาเท่านั้น ไม่สามารถหาได้จากพืชนิดอื่น สาร (Cannabinoids) ที่ได้จากกัญชา จะเรียกว่า ไฟโตแคนนาบินอยด์ เพื่อไม่ไห้สับสนระหว่าง สารแคนนาบินอนยด์ที่ร่างการมนุษย์สร้างขึ้น

หลายคนสงสัยว่ากัญชาสร้างสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่เหมือนกับสารที่ร่างกายสร้างได้ด้วยหรือ คำตอบคือ เกือบเหมือนแต่ไม่เหมือน แต่ที่สำคัญเป็นสารที่ใช้แทนกันได้ สารโฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา มีโครงสร้าง ทางเคมีคล้ายกับสาร แคนนาบินอยด์ ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้งานในระบบทำงานของร่างกาย เรียกว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ Endocannabinioid System (ESC)

ระบบเอ็นโดแคนนนาบินอยด์
คือการรักษาสมดุลของร่างกายเพื่อไห้ทำงานเป็นปกติ โดยการควบคุมการทำงานต่างๆทั้งระบบประสาท กระบวนการทางกายภาพ การตอบสนองต่อความเจ็บปวด ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ การอักเสบต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทสำผัส การทำงานของหัวใจและอื่นๆระบบต่างๆจะถูกควบคุมด้วยระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ หากร่ายกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างแคนนาบินอยด์ ได้หรือสร้างได้น้อย

ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ อาจเกิดโรคต่างๆขึ้นได้ การใช้สารแคนนาบินอยด์ ที่ได้จากกัญชาไปทดแทน จึงช่วยรักษาและป้องกันโรค ที่เกิดจากกระบวนการบกพร่องของสารแคนนาบินอยด์

สารแคนนาบินอยด์ จากต้นกัญชา
สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) เป็นสารสำคัญในกัญชา ตัวที่รู้จักและมีการศึกษามากในปัจจุบันได้แก่สาร THC_CBD_CBC_CBN_CBV โดยมีข้อมูลไห้พบมากที่สุดได้แก่ สารเดลตร้า 9 เดลตร้า ไฮโดรแคนนาบินอยด์ (THC) และแคนนาบิไดออล (CBD)

ซึ่งทั้ง2ชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกันมาก โดยทั้ง2ประกอบด้วย คาร์บอน 21 อะตอม ไฮโดรเจน 30 และออกซิเจน 2 อะตอม แต่ที่มันต่างกันก็เพราะ การเรียนตัวของอะตอมไม่เหมือนกัน

สารเดลตร้า 9 เดตร้า ไฮโดรเเคนนาบินอยด์ (THC) สารกลุ่มนี้เป็นสารที่กลุ่มผู้ใช้เพื่อการนันทนาการต้องการ เพราะจะทำไห้เกิดอาการเมา หรือมีการผ่อนคลายทางร่างกาย ยิ่ง THC สูง ยิ่งเกิดอาการเมา

ซึ่งมีผลข้างเคียงจากการเสพติดตามมามากมายเช่น อาการปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตาแดง สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ ประสาทหลอน หูแว่ว

สารแคนนาบิไดออล (CBD) เป็นสารสำคัญในกัญชา สารตัวนี้จะทำไห้รู้สึกผ่อนคลายเช่นกัน แต่จะไม่ทำไห้มีผลต่อสุขภาพจิตประสาท ไม่ทำไห้เกิดอาการติด และยังช่วยลดอาการทางจิตประสาท ที่เกิดจากสาร ลดอาการวิตกกังวล ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ป้องกันโรคนอนไม่หลับ ลดอาการชักจากโรคปอกประสาทเสื่อม และโรคลมชักต่างๆ

กลุ่มที่ 2 สารเทอร์ปีน (Terpents)
เป็นสารสำคัญในกัญชาอีกชนิดหนึ่ง เป็นสารประกอบอโรมาติก เป็นสารทำไห้มีกลิ่นเฉพาะตัว ทำไห้เราสามารภแยกสายพันธ์ุกัญชาได้จากกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ทำไห้กัญชามีเสน่ห์แตกต่างกันไป กัญชาจะมีกลิ่นและรสชาติที่โดดเด่น มีทั้ง ส้ม เบอร์รี่ มิ้น และอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งที่ทำไห้ปริมาณสารเทอปีนมีมาก หรือ น้อย ประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลูก อุณภูมิ ปุ๋ย แสงไฟที่ได้รับ อายุการเก็บเกี่ยว การบ่ม การเก็บรักษา สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วยมีผลต่อปริมาณ และคุณภาพ ของสารเทอร์ปีน

เทอร์ปีน เป็นสารสำคัญในกัญชาที่มีผลต่อร่างการโดยตรง ช่วยไห้ผ่อนคลาย ช่วยบำบัดโรค โดยเป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน ระหว่าง สารแคนนาบินอยด์ ทำไห้มีฤทธิ์มากขึ้น หากใช้สารสกัด CBD เพียวๆอาจไม่ได้ผลดี เหมือนการใช้ดอกแห้งที่นังไม่สกัด เพราะสารสกัด CBD เพียวๆ จะไม่มีสารเทอร์ปีนอยู่ด้วย

กลุ่มที่ 3 สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)
สารฟลาโวนอยด์ เป็นสารสำคัญในกัญชา ที่จัดเป็นนิวตราซูติคอล หรือ อาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ทางยา ป้องกัน รักษาโรค และชะลอความชรา มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

โดยทำหน้าที่หน่วงเหนี่ยว หรือเป็นสารต้านปฏิกริยา ออกซิเดชั่น จึงช่วยหยุด กริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระได้ และยังช่วยลดการเกิดโรคเรื่อรังชนิดต่างๆ มีประโยชน์ต่อระบบสมอง ระบบเส้นเลือด และหัวใจ รวมทั้งพบสรรพคุณในการฆ่ามะเร็งได้ด้วย ปัจจุบันค้นพบการสำคัญในกัญชา ที่เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ มากกว่า20ชนิด

การใช้กัญชารักษาโรค
การใช้กัญชารักษาโรคนั้นจำเป็นต้องใช้ทั้ง 3 กลุ่ม ดังที่กล่าวไปข้างต้น ทำงานร่วมกันจึงจะได้ผลดี หากทำสกัดแยกสารออกมาเดี่ยวๆอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แต่การใช้ยาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน จำเป็นต้องระบุสารเคมีที่ใช้ไห้ชัดเจน ทั้งปริมาณและความบริสุทธิของสาร

ซึ่งเป็นอุปสรรค์ ของการใช้กัญชาทางการแพทย์อยู่พอสมควร ทั้งยังทำไห้ราคาสูงขึ้น เพราะจะต้องทำไห้เป็นสารบริสุทธิ์ การใช้กัญชาทางการแพทย์ในรูปแบบสมุนไพร น้ำมันกัญชา หรือการสูบไอระเหย จึงสะดวกกว่ามาก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่มีส่วนประกอบของกัญชา สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://www.farmkaset..link..
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
เกษตรกรและการเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านานจนกลายเป็นรากฐานของสังคมไทย การปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เป็นการผลิตของคนส่วนใหญ่ วิถีชีวิตของคนเพาะปลูกและทำอาชีพเกษตรกรจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างสังคม วัฒนธรรม การปกครอง การกินอยู่ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนการแสดงออกต่าง ๆ ของคนในประเทศและรวมไปถึงเรื่องของการค้า เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องดูแลให้อาชีพเกษตรกรอยู่ได้อย่างมีความสุขและมั่นคงในอาชีพของเขา


และในยุคสมัยที่เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งต่าง ๆ เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทในการทำอาชีพของเกษตรกร ไปจนถึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานไป เช่น จากการใช้ควายไถนา เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร_ การใช้ปุ๋ยและสารเคมี_ การใช้เทคโนโลยีควบคุมการปล่อยน้ำและอื่น ๆ อีกมาก ก็ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้าง พัฒนาและเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันโลกและนำมาประยุกต์ใช้ในวงการเกษตรของไทยให้ได้ แต่เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแม้จะอำนวยความสะดวก แต่ด้วยปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่ดิน_ ต้นทุนการผลิตที่มากขึ้น_ ภัยพิบัติ_ ภาวะเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ก็ทำให้ภาคการเกษตรนั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่อย่างลำบากมากขึ้น จนเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักนั้นอยู่อย่างลำบาก และมีแนวโน้มที่จะมีหนี้สินมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือสวก. จึงเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการวิจัยการเกษตร เพื่อเกษตรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งอย่างมั่นคง ยั่งยืนและผลักดันให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันยุคสมัย โดยทางสวก. นั้นมีผลงานและงานวิจัยมากมายที่ได้ให้การสนับสนุนแก่นักวิจัย เกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตั้งแต่โครงการอบรม การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย_ การให้ทุนการวัยวิจัยในหัวข้อต่าง ๆ ที่กำหนด_ การผลักดันเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer_ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ_ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตการเกษตรต่าง ๆ และมีผลงานอีกมากมายที่สวก. พยายามผลักดันและสนับสนุนให้การเกษตรก้าวไกลและอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง

และเพื่อให้เกษตรกรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งจริง สวก. จึงมีวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ ค่านิยมและพันธกิจต่าง ๆ เกษตรอินทรีย์ คือ อะไร และทำไมต้องเกษตรอินทรีย์?

หลายท่านเคยสงสัยหรือมีคำถาม ว่าเกษตรอินทรีย์คืออะไร ทำไมเดี๋ยวนี้ เราไปเลือกซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า สินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ มักจะมีฉลากระบุที่ข้างกล่องหรือภาชนะ ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการทำเกษตรอินทรีย์ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

เกษตรอินทรีย์

คือการทำการเกษตรด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ โดยที่พื้นที่ที่ทำเกษตรนั้น ต้องไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม และมุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูง อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต และสามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิต และสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์

จากการใช้ทรัพยากรดินทำการเกษตรโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของ ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินตามธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในดินนั้นสูญหาย และไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการที่ธรรมชาติขาดสมดุลนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ต่อกระบวนการเจริญเติบโตทางธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดความไม่สมดุลขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินสูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุในดิน ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังงานชีวิตต่ำ เป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช เป็นสาเหตที่ทำให้พืช ผลผลิตอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้เกิดการคุกคามของแมลง ศัตรูพืช และเชื้อโรคในพืช ซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพในที่สุด และในดินที่เสื่อมคุณภาพนี้ จะทำปฏิกิริยาเร่งการเจริญเติบโตของศัตรูพืชให้เจริญเติบโตแข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดแมลงและวัชพืช

เป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร

การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้น ซึ่งเกษตรกรควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ และเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเรียนรู้ และเมื่อได้ลงมือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะสามารถเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของการทำเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตขึ้นนั้น ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว และหลักการสำคัญ คือการทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ และมีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร โดยไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรค จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เพราะเกษตรอิทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง แล้วเกษตรกรเองก็สามารถขอรับการผ่านรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์พร้อม

หลักการผลิตพืชอินทรีย์

1. พื้นที่ที่จะทำการเกษตรนั้นต้องไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี

2. พื้นที่ควรมีลักษณะค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง

3. พื้นที่ต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม

4. พื้นที่ควรอยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี

5. พื้นที่ห่างจากถนนหลวงหลัก

6. พื้นที่มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ

มาตรฐานของเกษตรอินทรีย์

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คือเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานรับรองจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินการผลิต และตัดสินใจในการรับรองฟาร์มที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นๆ

ปกติในการกำหนดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ผู้บริโภค รวมทั้งนักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น และตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละข้อ ความคาดหวังหรือการให้คุณค่ากับการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนจะถูกตรวจสอบ และยอมรับหรือปฏิเสธโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเหล่านั้น ดังนั้น มาตรฐานจึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกระบวนการแปลความคาดหวังและคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ดังนั้น ข้อตกลงในมาตรฐานจึงเปรียบเหมือนเป็น “สัญญาประชาคม” ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีสถานะเสมือนหนึ่งเป็น “คำนิยาม” ของเกษตรอินทรีย์ไปพร้อมกันด้วย

จะเห็นได้ว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นภาพสะท้อนของสภาวการณ์การผลิตและการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่เกษตรกรได้พัฒนายกระดับความสามารถในการทำการผลิตและแปรรูปให้ก้าวรุดหน้ามากขึ้น ดังนั้น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่มาตรฐานที่หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นสภาพการณ์ที่ยังสามารถมีการแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตามสภาวการณ์ของการผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่นับวันมีแต่จะก้าวรุดหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ

ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงข้อกำหนดโดยสรุปของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในบางเรื่องที่สำคัญ

1) ระบบนิเวศการเกษตร

ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องเอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้ม ซึ่งผู้ผลิตจะต้องดำเนินการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพนิเวศท้องถิ่นดั้งเดิมไว้ เพื่อให้พืชพรรณและสัตว์ท้องถิ่นสามารถมีที่อยู่อาศัยได้อย่างเพียงพอ นอกเหนือจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังจำเป็นต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างจริงจังอีกด้วย

2) การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์

การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ควรเริ่มจากการมีแผนการปรับเปลี่ยนที่ชัดเจน โดยแผนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์พร้อมกัน หรือค่อยๆ ปรับเปลี่ยนบางส่วนของฟาร์มเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ แผนการปรับเปลี่ยนจะต้องระบุถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการจัดแยกระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์และไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ออกจากกัน ซึ่งในแต่ละมาตรฐานอาจกำหนดระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนแตกต่างกันไป ซึ่งในช่วงระยะปรับเปลี่ยนนี้อาจใช้เวลา 12 – 36 เดือนขึ้นอยู่กับมาตรฐาน

3) การผลิตพืช

ในระบบการปลูกพืช ควรเลือกปลูกพืชที่หลากหลายชนิดและพันธุ์ เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของนิเวศฟาร์ม นอกจากนี้ การปลูกพืชหลากหลายพันธุ์ ยังเป็นการช่วยรักษาความหลากหลายของพันธุกรรมพืชไว้ด้วย ในการสร้างความหลากหลายของการปลูกพืชนี้ ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีพืชที่เป็นปุ๋ยพืชสดรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลถั่วและพืชที่มีระบบรากลึก โดยจัดระบบการปลูกพืชให้มีพืชคลุมดินอยู่ตลอดทั้งปี

4) การจัดการดิน และธาตุอาหาร

การจัดการดินที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงดินและการบริหารจัดการดินและธาตุอาหาร มีเป้าหมายเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งรวมถึงการจัดการให้มีธาตุอาหารอย่างเพียงพอกับพืชที่เพาะปลูก และเพิ่มพูนอินทรียวัตถุให้กับดินอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกลไกของการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์ม รวมทั้งการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการสูญเสียของธาตุอาหาร ซึ่งการจัดหาแหล่งธาตุอาหารพืชนั้นควรเน้นที่ธาตุอาหารที่ผลิตขึ้นได้ภายในระบบฟาร์ม

5) การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ในระดับฟาร์ม การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์จะเน้นที่การเขตกรรม การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี และวิธีกลเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศการเกษตร ที่ทำให้พืชที่เพาะปลูกพัฒนาภูมิต้านทานโรคและแมลง และสภาพแวดล้อมของฟาร์มไม่เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรคและแมลง ต่อเมื่อการป้องกันไม่เพียงพอ เกษตรกรจึงอาจใช้ปัจจัยการผลิตสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งกำหนดอนุญาตไว้ในมาตรฐาน

6) การป้องกันมลพิษ การปนเปื้อน และการปะปน

ในระดับฟาร์ม เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องมีมาตรการในการป้องกันมิให้ดินและผลผลิตเกษตรอินทรีย์ปนเปื้อนจากมลพิษ และสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งรวมถึงโลหะหนัก และมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน รวมทั้งมีมาตรการในการลดการปนเปื้อน

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แต่ละแห่งจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการแนวกันชน (buffer zone) ที่แตกต่างกัน โดยอาจมีการกำหนดทั้งระยะห่างระหว่างแปลงเกษตรอินทรีย์กับแปลงเกษตรเคมี หรือการปลูกพืช หรือการจัดทำสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นแนวป้องกันการปนเปื้อน ในพื้นที่แนวกันชนที่แตกต่างกันได้ โดยทั่วไป จะมีการกำหนดเกณฑ์แนวกันชนขั้นต่ำไว้ในมาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานรับรองอาจจะพิจารณาให้เกษตรกรต้องมีการจัดการแนวกันชนเพิ่มเติมจากข้อกำหนดขั้นต่ำ โดยการพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของฟาร์มแต่ละแห่ง

ในขั้นของการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป ผู้ผลิต-ผู้ประกอบการจะต้องมีการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยป้องกันมิให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ปะปนกันกับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ หรือสัมผัสกับปัจจัยการผลิต หรือสารต้องห้ามต่างๆ ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน เพราะจะทำให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้นสูญเสียสถานะของการได้รับการรับรองมาตรฐานได้ ยกตัวอย่างเช่น การไม่ใช้กระสอบที่บรรจุปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีมาใช้บรรจุผลผลิตเกษตรอินทรีย์ หรือในการจัดเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในโรงเก็บ จะต้องไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูในโรงเก็บ ในขณะที่มีการเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ขนส่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์

ที่จำต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพื่อพี่น้องชาวเกษตรกรและคนไทยทุกคน โดยทั้งหมดนั้นต่างก็สอดคล้องและรับเข้ากับสถานการณ์ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ แนวนโยบาย ทิศทางยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของประเทศ การปฏิรูประบบวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานนวัตกรรมของประเทศ ดังเช่นพันธกิจของสวก. ที่จะส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการวิจัยการเกษตร_ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร สุดท้าย ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร

โดยจากที่กล่าวมาจะยกตัวอย่างของการวิจัยที่ทางสวก. สามารถให้การสนับสนุนและเป็นเรื่องของนวัตกรรมที่สามารถเรียกว่าเป็น Smart farmer ในยุค 4.0 และเป็นต้นแบบของการผลักดันให้เกษตรก้าวไกลไปได้อย่างยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่_ การนำเทคโนโลยี A.I. () มาประยุกต์ใช้งาน_ การใช้ระบบ IOT (Internet of things)_ การใช้โดรนขับเคลื่อน_ นวัตกรรมการปลุกพืชแบบใหม่_ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไปสู่อุตสาหกรรมอื่น และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งตัวอย่างที่จะยกมาในบทความนี้ที่เป็นหนึ่งใน Smart Farmer ในยุค 4.0 ที่น่าสนใจ สิ่งนั้นคือ “อุตสาหกรรมการแปรรูป”

อุตสาหกรรมการแปรรูป เป็นสิ่งที่มีมานานและถูกพัฒนา วิจัยและเพิ่มพูนความสามารถมาอยู่ในทุกยุคทุกสมัย และการเกษตรกับการแปรรูปก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาเช่นเดียวกัน โดยในยุค 4.0 นี้ มีความน่าสนใจที่วงการอุตสาหกรรมแปรรูปจะช่วยพาให้เกษตรก้าวไกลไปได้มากกว่าแค่ผลิตผลทางการเกษตรธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น “การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม” เพื่อให้การเกษตรเข้าไปอยู่ในชีวิตของคนยุคใหม่ โดยเราอาจจะได้เห็นมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นย่า ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรานำสมุนไพรต่าง ๆ มาเป็นเครื่องบำรุงผิวพรรณ ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ไม่ต่างกัน อุตสาหกรรมความสวยความงามได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาวิจัย พัฒนาและต่อยอด เพื่อตอบโจทย์ Beauty Lifestyle ของคนยุคใหม่ ผ่านเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลบำรุงผิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด รวมถึงสารสกัดเรื่องกลิ่นที่มาเป็นส่วนประกอบของสุคนธบำบัด (Aromatherapy) นอกจากสารสกัดจากธรรมชาติจะส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลด้านวิทยาให้ผู้บริโภคสนใจและเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์อีกเช่นกัน ซึ่งปัจจัยที่จะเพิ่มมูลค่าให้การทำธุรกิจด้านนี้ คือการเกาะตามติดความต้องการของตลาดผู้บริโภคและนำมาพัฒนาให้ตอบโจทย์อยู่ตลอดเวลา

หรือจะเป็นเรื่องของ “การแปรรูปผลิตภัณฑืเพื่อผู้สูงอายุ” เพราะประเทศไทยของเราเองกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ (Aging Society) อันเนื่องมาจากประชาชนยุค Baby Boom ได้เข้าใกล้สู่ช่วงอายุความสูงวัย คาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุวัยมากกว่า 60 ปี (เกิน 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ) ดังนั้นสินค้าเพื่อสุขภาพจึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในด้านของความใส่ใจในการดูแลสุขภาพของคนในสังคมและผู้สูงอายุ โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับความสนใจนั้น ได้แก่พืชผลเกษตรที่ให้คุณค่าทดแทนแป้งและน้ำตาล อาหารเสริมผลิตจากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคของผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือแม้แต่ภาวะทุพโภชนาการ โดยสิ่งเหล่านี้ได้มีการผลิตออกมาวางจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยกตัวอย่าง ธัญพืชอัดแท่ง เครื่องดื่มสมูทตี้สําเร็จรูปที่ให้สารอาหารสมบูรณ์สําหรับผู้สูงอายุ ผักอัดเม็ดเสริมโพรไบโอติกส์ น้ำนมข้าวกล้อง เครื่องปรุงรสอาหารที่เน้นการลดโซเดียม เป็นต้น

สุดท้ายนี้ยังมีการแปรรูปอีกหลากหลายมากมาย และมีอีกหลายหัวข้อที่ทางสวก. พร้อมที่จะให้การสนับสนุน เพราะในปัจจุบันหลากหลายประเทศเริ่มมีการพัฒนา หรือนำหน้าเราไปแล้วในเรื่องของการเกษตร เราจึงต้องรีบนำนวัตกรรมเกษตรและเกษตรกรให้เข้าสู่ยุค Smart Farming เพื่อแก้ปัญหาภาวะสังคมเมืองและประชากรโลกที่ขยายตัว ณ จุดนี้ ประเทศไทยเองก็มีหน่วยงานที่คอยพัฒนาและสนับสนุน อย่าง สวก. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) คอยช่วยให้อุตสาหกรรมเกษตร และบุคคลากรทางการเกษตรของประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลักดันให้การเกษตรก้าวไกล และไม่แพ้การเกษตรของชาติใดบนโลก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3029
ไบโอเทคพัฒนาวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อินทผลัม
นักวิจัย ไบโอเทค-สวทช. ใช้ไบโอรีแอคเตอร์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นอินทผลัมพันธุ์บาฮีเชิงการค้าสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย แก้ปัญหาเกษตรกรเสี่ยงปลูกอินทผลัมเพาะเมล็ดแล้วไม่ได้คุณภาพของผลผลิตตามต้องการ ช่วยลดการนำเข้าต้นกล้าอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากต่างประเทศ ตั้งเป้าขยายผลเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ หวังช่วยผู้ประกอบการสร้างรายได้และกระจายโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึง

“อินทผลัม” เป็นผลไม้โบราณรสหอมหวานฉ่ำจากดินแดนตะวันออกกลางที่มีสรรพคุณมากมายและได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยเฉพาะพันธุ์บาฮี พันธุ์รับประทานผลสดและเป็นพันธุ์การค้ายอดนิยม ให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้ดีในประเทศไทย ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้อินทผลัมขึ้นแท่นเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่มาแรงที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทยเป็นกอบเป็นกำ ทั้งการปลูกเพื่อจำหน่ายผลผลิตและการจำหน่ายต้นกล้าอินทผลัมนำเข้าจากต่างประเทศ

เพื่อส่งเสริมการผลิตอินทผลัมให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและกระจายโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ได้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับคุณประพัฒน์ วนาพิทักษ์ ประธานบริษัท พี โซลูชัน จำกัด จึงได้พัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์อินทผลัมพันธุ์บาฮีในเชิงการค้า โดยใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) ทำให้สามารถขยายต้นกล้าอินทผลัมพันธุ์บาฮีในห้องปฏิบัติการในระดับเชิงพาณิชย์ได้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. ด้วย

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัยไบโอเทค สวทช. เปิดเผยว่าอินทผลัมเป็นพืชแยกต้นเพศผู้และเพศเมีย เกษตรกรจะปลูกให้ได้ผลผลิตจะต้องปลูกต้นเพศเมียเท่านั้น แต่การเพาะเมล็ดอินทผลัมนั้นนอกจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกลายพันธุ์แล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะได้ต้นเพศผู้มากกว่าต้นเพศเมีย และจะทราบก็ต่อเมื่อปลูกไปแล้ว 2-3 ปี จนกระทั่งพืชออกดอก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะสามารถส่งตรวจทดสอบเพศของต้นอินทผลัมได้แล้ว แต่ก็ไม่การันตีถึงคุณภาพของผลผลิตที่ได้รับ ทำให้เกษตรกรเสียเวลาและเกิดความเสียหายอย่างมาก เกษตรกรรายใหญ่จึงมักเลือกซื้อต้นกล้าอินทผลัมที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากต่างประเทศมาปลูก ซึ่งมีราคาสูงแต่รับประกันได้ว่าเป็นต้นเพศเมียและให้ผลผลิตแน่นอน

“อินทผลัมเป็นพืชตระกูลปาล์ม ซึ่งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชตระกูลปาล์มนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นพืชที่โตช้า ดังนั้นการพัฒนาเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการจึงช้าไปด้วย ปัจจุบันยังไม่มีห้องปฏิบัติการแห่งไหนในประเทศสามารถผลิตต้นอินทผลัมพันธุ์บาฮีเพศเมียจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อระดับเซลล์ได้ ทางทีมวิจัยก็ได้รับโจทย์นี้มาจากผู้ประกอบการและเกษตรกรที่สนใจการขยายพันธุ์อินทผลัมพันธุ์บาฮีด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จึงได้เริ่มทำวิจัยโดยคัดเลือกต้นอินทผลัมเพศเมียสายพันธุ์บาฮีที่มีลักษณะดีเพื่อใช้เป็นต้นแม่ แล้วนำเนื้อเยื่อเจริญส่วนยอดและใบอ่อนของต้นแม่มาเพาะเลี้ยงด้วยอาหารสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเป็นเวลากว่า 1-2 ปี จนสามารถชักนำให้เกิดการพัฒนาเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่าแคลลัส และแคลลัสสามารถเจริญไปเป็นยอดอ่อนได้”

“ที่ผ่านมาทำวิจัยในปาล์มน้ำมัน พบว่ากว่าจะเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันให้เกิดเป็นต้นอ่อนขึ้นในขวดแก้วได้ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี แต่ในอินทผลัมเราสามารถทำได้เร็วกว่าปาล์มน้ำมัน โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ก็เริ่มเห็นเป็นยอดอ่อนสีเขียวเกิดขึ้นบนแคลลัสแล้ว ยอดอ่อนสีเขียวที่เห็นนี้ถือว่าสำเร็จไปแล้ว 80% และจากประสบการณ์ของทีมวิจัย เราเห็นแนวโน้มว่าจะพัฒนาไปเป็นต้นและขยายได้ไม่ต่ำกว่า 1_000 ต้นในปีหน้า ซึ่งเราใช้ระบบไบโอรีแอคเตอร์เข้ามาช่วยเร่งการเจริญเติบโต และคาดว่าน่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน อินทผลัมบาฮีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของเราจะเจริญเป็นต้นที่สมบูรณ์ พร้อมนำลงปลูกในดิน”

สำหรับไบโอรีแอคเตอร์เป็นระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วยอาหารเหลวแบบกึ่งจมที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งช่วยลดปัญหาของการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารแข็ง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเจริญและพัฒนาเนื้อเยื่อไปเป็นต้นอ่อน ทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วกว่าวิธีการใช้อาหารแข็งปกติประมาณ 3-4 เท่า ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและประหยัดแรงงานในการดูแลย้ายอาหารของต้นอ่อนในห้องปฏิบัติการ

“อินทผลัมเป็นพืชมูลค่าสูง ผลสดเป็นที่ต้องการสูงในตลาด มีราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 500-800 บาท ทั้งบริโภคในประเทศและส่งออก โดยเฉพาะประเทศแถบตะวันออกกลาง ในขณะที่ต้นกล้าอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงถึงต้นละ 1_500-2_000 บาท ส่วนใหญ่นำเข้าจากอิรัก อียิปต์ รวมถึงอังกฤษ จึงมีแต่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้นที่ลงทุนปลูกได้ แต่หากเราสามารถผลิตต้นกล้าอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เองในประเทศและทำให้มีราคาถูกกว่าของต่างประเทศ จะช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้มาก ส่วนเกษตรกรรายย่อยก็มีโอกาสปลูกได้มากขึ้นด้วย หรือปลูกเสริมจากการทำไร่ทำนาเพียงไม่กี่ต้น ก็จะช่วยให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง”

ทั้งนี้ นักวิจัยตั้งเป้าว่าในอนาคตจะมีการต่อยอดและขยายผลเทคโนโลยีนี้ไปสู่เกษตรกร โดยอาจเป็นในรูปแบบการร่วมลงทุนเพื่อจัดตั้งห้องปฏิบัติการสำหรับผลิตต้นกล้าอินทผลัมโดยเฉพาะ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนด้านห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อผลิตต้นกล้าอินทผลัมในเชิงพาณิชย์ รวมถึงได้ศึกษาวิจัยการขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจอื่นๆ ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระบบไบโอรีแอคเตอร์ อาทิ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน พืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับที่มีมูลค่าสูงในตลาดปัจจุบัน

งานวิจัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย ที่ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และกระจายโอกาสให้ทั่วถึง สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG economy model) ที่เป็นวาระของชาติในขณะนี้

อ้างอิง: http://www.farmkaset..link..
อ่าน:2998
การปลูกตะไคร้ แซมสวนผลไม้
การปลูกตะไคร้ แซมสวนผลไม้
ตะไคร้ จัดเป็นพืชสวนครัว ที่นิยมปลูกกันทั่วไป เป็นพืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณลดท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดระดับคลอเสลเตอรอลได้ และยังมีสรรพคุณอื่นๆที่หลายอย่าง ทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเมนูเด็อย่าง ต้มยำกุ้ง ของไทย ที่ดังไปหลายประเทศทั่วโลก และอีกหลายๆเมนูไทย ที่เกิดกว่าจะนับได้

ตะไคร้ ยังเป็นที่ต้องการสูงในตลาด ทั้งธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม อย่างเช่น โรงงานพริกแกง โรงงานทำน้ำพริก และธุรกิจสปา ก็ยังมีการนำ ตะไคร้ ไปเป็นวัตถุดิบในการทำลูกประคบ และน้ำชา รวมไปถึงน้ำมันหอมระเหยอีกด้วย

การปลูกตะไคร้

เตรียมหน้าดินให้พร้อม กำจัดหญ้าและวัชพืชให้หมด และขุดหลุมพรวนดินให้ลึก ประมาณ 10-20 เซนติเมตร เป็นรัศมีวงกลม 30 เซนติเมตร ถ้าปลูกน้อยใช้แรงงานคน หรือใช้รถไถไถพรวนดินเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ทั่วไป จากนั้นก็ยกร่อง ระยะห่างระหว่างร่อง ประมาณ 1 เมตร เมื่อเตรียมดินพร้อมแล้วให้นำต้นพันธุ์ตะไคร้ที่มีรากเดินสมบูรณ์ดีแล้วลงปลูก โดยใช้วิธีการปลูกแบบต้นเดี่ยว ระยะห่างระหว่างต้น 1×1 เมตร ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมก่อนปลูกด้วยก็ได้ถ้าหาได้ง่าย ส่วนวิธีทำต้นพันธุ์ตะไคร้ให้เกิดรากก่อนปลูกนั้น มีวิธีง่ายๆ คือ นำหัวตะไคร้มาตัดใบออกให้หมด จากนั้นนำมามัดรวมกันเป็นฟ่อน ขนาดพอขนย้ายสะดวก นำไปแช่น้ำปริมาณแค่พอท่วมหัวตะไคร้ จากนั้นนำไปวางไว้ในที่ร่มรำไร ประมาณ 5-7 วัน ตะไคร้ก็จะแตกรากออกมาใหม่ ซึ่งเหมาะต่อการนำไปปลูก

การปลูกตะไคร้ที่ถูกต้อง จะต้องปักต้นลงดินให้มีลักษณะเอียง 45 องศา โดยปักให้รอบเป็นวงกลมบริเวณขอบหลุมปลูก หลุมละ 4-6 ต้น ที่คุณกุหลาบปลูกตะไคร้หลายๆ ต้น ต่อหลุม เพราะมีต้นพันธุ์เองอยู่แล้ว แต่บางท่านที่ต้องซื้อพันธุ์มาปลูกก็อาจจะปรับให้เหลือสัก 3 ต้น ต่อหลุม ก็ใช้ได้ หลายท่านที่เคยปลูกตะไคร้เอง อาจจะเคยปักต้นตะไคร้ลงกับดินตรงๆ บริเวณกลางหลุมเลย ตามธรรมชาติของการเจริญเติบโตของตะไคร้ก็จะแตกกอจากตรงกลางหลุม แล้วขยายกอตะไคร้ออกไปหาขอบหลุมปลูก เมื่อตะไคร้แก่และสามารถเลือกเอาไปทำอาหารได้ ตะไคร้แก่ก็จะต้องอยู่กลางๆ กอ เวลาเราจะเก็บตะไคร้เพียง 2-3 ต้น ก็ต้องเก็บจากตรงกลางกอก่อน ทำให้การเก็บตะไคร้ยาก เพราะใบตะไคร้จะบาดแขนบาดมือคนเก็บ แถมยังทำให้ต้นตะไคร้ใกล้เคียงบอบช้ำจากการดึงต้นตะไคร้อีก แต่วิธีปลูกที่ถูกต้องคือ การปักต้นตะไคร้ให้เฉียง 45 องศา บริเวณขอบหลุมปลูก การแตกกอของตะไคร้ก็จะแตกจากขอบหลุมไปยังกลางกอ ทำให้การเก็บตะไคร้บริเวณขอบหลุมหรือริมกอก็ย่อมง่ายกว่า เป็นเคล็ดลับเล็กๆ ที่บางท่านอาจจะยังไม่รู้

ปกติแล้วแปลงที่จะปลูกพืชจะต้องไถพรวนดินให้เรียบร้อย จากนั้นก็เตรียมหลุมโดยพรวนดินเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร หากมีปุ๋ยคอกก็สามารถใส่พร้อมกับการพรวนดินได้เลย ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 1×1 เมตร หากปลูกระยะชิดกว่านี้ลำต้นตะไคร้จะไม่ค่อยอวบอ้วน ต้นจะผอมสูง ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ราว 1_600 กอ แต่จำนวนกอตะไคร้อาจจะน้อยลง หากปลูกตะไคร้เป็นพืชแซม เช่น คุณกุหลาบ จะปลูกตะไคร้แซมกับการปลูกฝรั่งแป้นสีทอง เมื่อฝรั่งเริ่มให้ผลผลิตได้ ตะไคร้สามารถขุดขายได้และก็ค่อยๆ ปลูกใหม่ ให้กอตะไคร้หนีออกห่างจากต้นฝรั่งออกมา แต่ตอนนี้ฝรั่งได้ถูกรื้อออกไปเป็นบางส่วน เพื่อนำพื้นที่มาปลูกตะไคร้เพิ่มขึ้น

เตรียมต้นพันธุ์ก่อนปลูก

เลือกกอตะไคร้ที่มีอายุเกิน 8 เดือน ขึ้นไป เพราะถือว่าตะไคร้แก่พอที่จะนำไปขยายพันธุ์ปลูกต่อได้ ใช้จอบขุดยกทั้งกอ แล้วนำมาแยกต้นออกจากกัน ใช้มีดตัดส่วนรากและใบทิ้ง ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมหลุมปลูกไว้แล้วได้เลย หรืออีกวิธีคือมัดต้นพันธุ์ตะไคร้เป็นกำพอที่จะตั้งได้ นำไปแช่น้ำ ปริมาณ 5 เซนติเมตร ประมาณ 5-7 วัน สังเกตว่ารากตะไคร้จะงอกออกมา เมื่อรากที่งอกออกมาแก่เต็มที่ คือมีสีเหลืองเข้มก็ให้นำไปปลูกได้ การปลูกก็ให้ปักต้นพันธุ์เอียง 45 องศา ปักลึก ประมาณ 5 เซนติเมตร นิยมปักต้นพันธุ์ 4 ต้น ต่อหลุม ปักเป็นลักษณะ 4 ทิศ เพื่อให้เป็นพุ่มวงกลม

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน หนึ่งในแมลงพาหะตัวร้ายที่แพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่พืชผักและทำลายด้วยตัวมันเองได้ ซึ่งเพลี้ยอ่อนมีกระจายไปทั่วโลกมากกว่า 4_000 ชนิด และมีจำนวน 250 ชนิดที่คอยก่อกวนพืช โดยใช้ปากที่แหลมคมเจาะลำต้นอ่อนและโคนใบพืชเพื่อดูดอาหารจากเซลล์พืช จนทำให้ใบพืชผักโดนทำลายจนเสียหาย เพราะสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายให้แก่พืชทั่วประเทศ

การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชนั้น เป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม จนพวกเราที่ประกอบอาชีพเกษตรกรต่างไม่อยากจะพบเจอ โดยเฉพาะกับแมลงศัตรูที่มีขนาดเล็กมากอย่างเพลี้ยอ่อนนี้ ถ้าเราไม่สังเกตอาจจะมองไม่เห็น ยิ่งเป็นเกษตรกรมือใหม่ด้วยแล้วอาจจะพลาดได้ เพราะแมลงขนาดที่เล็กและแพร่พันธุ์ได้เก่งชนิดนี้กลับสร้างความเสียหายแก่พืชผลเป็นอย่างมาก ทำให้การลงทุนทั้งเงินและแรงของเกษตรกรต้องขาดทุนไปทันที

เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงตัวจิ๋ว ที่มีความยาวไม่เกิน 4 มิลลิเมตร หัวเล็กเท่าหัวเข็ม รูปร่างรีและโค้งมนป่องด้านท้าย สามารถออกลูกได้วันละ 10-11 ตัว สามารถออกลูกได้สูงสุดถึงตัวละ 450ตัว ทำให้มีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดความเสียหายลุกลามได้ เพลี้ยชนิดนี้จะสามารทำลายพืชได้ทุกระยะเน้นทำลายจุดสำคัญของพืช ทั้งลำต้น ใบ ดอก ผล โดยเจาะกินน้ำหวานที่ใต้ใบที่มันอาศัยอยู่ โดยทั่วไปเพลี้ยผัก จะมีจำนวนน้อยลงเมื่อเริ่มมีฝนเข้ามาชะล้างและมีภูมิอากาศมากขึ้น และจะมีจำนวนมากขึ้นในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น

การควบคุมและกำจัดเพลี้ยอ่อนนั้น เริ่มจากการหมั่นสำรวจพืชผลเพื่อจะได้สังเกตเห็นว่ามีเพลี้ยอ่อนเกาะติดพืชผลหรือไม่ และป้องกันด้วยการขยันรดน้ำ พ่นน้ำที่ยอดผัก เพื่อทำลายถิ่นที่อยู่ของเพลี้ยที่อาศัยใต้ใบ เป็นการชะล้างออกในระดับหนึ่ง และนำแมลงห้ำที่นักล่า อย่างตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าลายสมอ ด้วงเต่าลายหยัก และด้วงเต่าอื่นๆ รวมทั้ง ตัวอ่อนแมลงวันดอกไม้ มาปล่อยไว้ในแปลงเพาะปลูก เพื่อห้ำหั่นกับเพลี้ยตั้งแต่ต้น และนำแมลงเบยอย่างแตนเบียนดักแด้ มาปล่อยไว้ด้วย ก่อนที่จะมีการระบาด และหากมีการระบาดแล้ว ต้องใช้จุลินทรีย์จากเชื้อรา เช่น บิวเวอเรียหรือเม็ตตะไรเซี่ยม มาทำลายทันทีก่อนที่จะระบาดหนัก หรือจะนำสมุนไพรไทยเราอย่าง หางไหลสัดส่วน 1 กิโลกรัมผสมกับน้ำ 20 ลิตร เพื่อฉีดพ่นกำจัด หากมีความจำเป็นเร่งรีบอาจจะต้องใช้สารเคมีเข้าช่วย แต่อยากให้เลือกเป็นวิธีการสุดท้ายครับ โดยให้พ่นในสัดส่วนที่ข้างกระป๋องระบุไว้เท่านั้นนะครับ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชผล ตัวเรา และสิ่งแวดล้อมครับ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ระวังโรคไหม้และขอบใบแห้งของข้าว
ระวังโรคไหม้และขอบใบแห้งของข้าว
เนื่องจากเกษตรกรปลูกข้าวโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่มากเกินไป ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงซึ่งสภาพดังกล่าวเหมาะกับการระบาดของโรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อรา และโรคขอบใบแห้ง สร้างความเสียหายให้แก่ข้าว

นายชัด ขำเอี่ยม เกษตรอำเภอหันคา กล่าวว่า พื้นที่อำเภอหันคา มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งสิ้นจำนวน 198_130 ไร่ แต่พบกับปัญหาภัยแล้งส่งผลให้เกษตรกรทำนาล่าช้ากว่าเดิม ซึ่งขณะนี้ส่วนใหญ่ข้าวอยู่ระยะแตกกอ มีเพียงบางส่วนที่อยู่ในระยะตั้งท้องและออกรวง รวมพื้นที่ยืนต้น จำนวน 105_000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด จากการออกสำรวจพบว่า พื้นที่ปลูกข้าวบางส่วนของเกษตรที่ปลูกข้าวพันธุ์ กข41 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง หากเกษตรกรพบต้นข้าวได้รับเชื้อราเข้าทำลายจะแสดงอาการตามระยะการเจริญเติบโต ดังนี้

โรคไหม้ข้าว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา พบที่ใบจะเป็นแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา สีเทาอยู่ตรงกลางแผลขนาดแตกต่างกันไป จุดแผลนี้สามารถขยายแผลลุกลามจนแผลติดกัน กระจายทั่วไปในกรณีที่โรครุนแรง กล้าข้าวจะแห้งและฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟไหม้ การป้องกันกำจัด โดยใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น สุพรรณบุรี1 คลองหลวง1 ในส่วนของ โรคขอบใบแห้ง ซึ่งเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ จนถึง ออกรวง ต้นกล้าก่อนนำไปปักดำจะมีจุดเล็กๆ ลักษณะช้ำที่ขอบใบของใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทาๆ ที่แผลมีหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนกลม ๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดไปตามน้ำหรือฝน ซึ่งจะทำให้โรคสามารถระบาดต่อไปได้ ขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก แผลนี้เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบที่เป็นโรค ขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว

การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุโรคสามารถแพร่ไปกับน้ำ ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง และสภาพที่มีฝนตก ลมพัดแรง จะช่วยให้โรคแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางรวดเร็ว การป้องกันกำจัดใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทาน เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 กข7 และ กข23

ทั้งนี้ ขอให้เกษตรกร หมั่นตรวจสอบแปลงข้าวเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ระยะนี้พบว่าหลายแปลงที่พบทั้ง 2 โรค เกษตรกรสามารถใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบสารเคมีที่สามารถกำจัดได้ทั้งเชื้อรา และแบคทีเรีย เช่น ไอโซโพรไทโอเลน(ฟูจิ-วัน) อีกทั้งควร ป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน คือ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ อัตราที่เหมาะสม ประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกวิธี และถูกระยะเวลา) รวมทั้งใช้สารสมุนไพรและสารชีวภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ปรึกษาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา รายละเอียดด่านล่างนะคะ
ปลูก ข่าตาแดง ส่งโรงงาน สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน
ปลูก ข่าตาแดง ส่งโรงงาน สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พืชเครื่องเทศที่สำคัญอย่าง “ข่า” ที่ให้รสร้อนซ่าจัดจาดและมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ กลายเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข่ามีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ถ้าพูดถึงสายพันธุ์ข่าที่เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสก็ได้แก่ “ข่าตาแดง” เพราะด้วยคุณสมบัติที่มีกลิ่น สี และรสชาติที่โดดเด่น ตลอดจนมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย ดังนั้น ทำให้ข่าตาแดงเป็นที่ต้องการของตลาดจำนวนมาก

คุณราชพฤกษ์ รักษาการ หรือ คุณเบียร์ บ้านเลขที่ 39 หมู่ 6 บ้านหนองปลาหมอ ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอโนนสิลา จังหวัดขอนแก่น (โทร. 09-2470-2095) คนรุ่นใหม่ที่มีใจรักเกษตรโดยผันตัวเองจากอาชีพวิศวกรอนาคตไกล มาเป็นปลูกข่าตาแดง เนื่องจากมองเห็นความต้องการของอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสที่มีความต้องการจำนวนมาก ซึ่งกลายเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข่ารายใหญ่ที่บุกเบิกปลูกข่าตาแดงส่งโรงงานเครื่องปรุงรส สร้างรายได้สูงกว่า 1 ล้านบาท/เดือน

คุณราชพฤกษ์ เล่าถึงจุดเปลี่ยนจากอาชีพวิศวกรมาเป็นเกษตรกรปลูกข่าตาแดงว่า เกิดจากความเบื่อหน่ายเมืองหลวงที่ต้องเจอรถติด รวมถึงความวุ่นวายของผู้คนที่เดินสวนกันอย่างพลุกพล่าน จึงมีความคิดหาอาชีพใหม่ที่ทำอยู่ใกล้ ๆ บ้านอย่างสงบสุข ซึ่งตอนนั้นได้มีโอกาสออกแบบโรงงานให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องปรุงรสอาหาร และได้เห็นว่าอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารมีความต้องการเครื่องเทศอย่างข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด จำนวนมาก จึงมีความสนใจกับพืชทั้ง 3 อย่างนี้มาก

“เหตุที่เลือกปลูกข่า เพราะแอบไปถามกับเจ้าหน้าที่ในโรงงานเครื่องปรุงรสอาหารว่าพืชเครื่องเทศอะไรที่เป็นที่ต้องการและได้ราคาสูงสุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า “ข่า” ดังนั้นจึงกลับไปศึกษาเรื่องข่าพร้อมกับศึกษาตลาดข่าอย่างจริงจัง ซึ่งก็พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูกข่าเหลือง ซึ่งคิดว่าหากเราปลูกพันธุ์ที่แตกต่างกว่าจะสร้างจุดเด่นได้ดีกว่า และทำให้ข่าที่ปลูกมีราคาดี รวมถึงเป็นที่ต้องการของตลาดด้วย”

จากการศึกษาพันธุ์ข่าต่าง ๆ ก็ตัดสินใจเลือกปลูกข่าตาแดงที่มีลักษณะลำต้นขนาดเล็กสีเขียว ใบ มีรูปร่างคล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบ ๆ ต้น ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด เป็นสีขาวและมีสีแดงเล็กน้อย ส่วนหน่อ มีลักษณะเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมฉุนมากกว่าข่าพันธุ์อื่น ๆ ตลอดจนมีสรรพคุณ ทั้งขับลม เป็นยาระบาย รักษาโรคบิด บำรุงโลหิต และที่สำคัญเป็นพืชที่ทนแล้ง สามารถปลูกได้ง่ายทุกสภาพพื้นที่ ทำให้ตัดสินใจเลือกปลูกข่าตาแดง พร้อมกับเจาะจงตลาดไปที่อุตสาหกรรมเครื่องปรุงรส

ก่อนปลูกข่าตาแดงก็ได้คุยกับเจ้าหน้าที่โรงงานแล้วว่าจะปลูกข่าตาแดงซึ่งมีทั้งความโดดเด่น สรรพคุณ รวมถึงกลิ่นที่เฉพาะ ทางโรงงานก็ยินดีจะรับ จึงเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งข่าตาแดงที่ปลูกก็เป็นที่ติดใจของตลาด จนมีความต้องการอย่างต่อเนื่องอีกด้วย จากนั้นก็ได้เปลี่ยนอาชีพจากวิศวกรเป็นเกษตรกรปลูกข่าอย่างเต็มตัว

คุณราชพฤกษ์ บอกว่าตอนนี้มีพื้นที่ปลูกข่าตาแดง 120 ไร่ สามารถส่งผลผลิตสู่โรงงานได้วันละ 1.4 ตัน หรือ 1_400 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 30-35 บาท ทำให้มีรายได้ 40_000-50_000 บาท/วัน หรือประมาณ 1_500_000 บาท/เดือน แต่ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ ต้องมีการเรียนรู้เรื่องการปลูกข่าอย่างมาก ซึ่งการเรียนรู้คนเดียวนั้นไม่เพียงพอแน่สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ดังนั้น จึงคิดหาวิธีลัดซึ่งก็ คือ การเข้าหาชาวบ้านที่มีประสบการณ์ปลูกข่ามาเป็นสิบ ๆ ปี อาจจะดูโง่ที่จบถึงวิศวกรไปให้เกษตรกรสอนการปลูกข่า แต่สิ่งที่เกษตรกรสอนทุกสิ่งทุกอย่าง มักดีกว่าตำราเป็นร้อย ๆ เล่ม เพราะเรื่องบางเรื่องก็ต้องมาเรียนรู้เอง จะไปเชื่อแต่ในตำราก็ไม่ได้ การที่จะประสบความสำเร็จได้ทุกวันนี้ ต้องมีความขยันหาความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในหนังสือ ตลอดจนกล้าที่จะเข้าหาผู้รู้จริง ๆ อย่างเกษตรกรผู้ปลูกนั่นเอง

สำหรับเคล็ดลับการปลูกที่ทำให้ประสบความสำเร็จและสามารถขยายพื้นที่ปลูกข่าได้ถึง 120 ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน คือ ความอดทน ความใส่ใจประณีตทุกกระบวนการในการปลูก รวมถึงความใฝ่รู้ที่ศึกษาเรื่องการปลูกข่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดทำได้ดังนี้ การเตรียมดิน ต้องมีการไถระเบิดดินดานเพื่อเปิดหน้าดินและให้พืชได้สัมผัสน้ำได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเสร็จแล้วให้ไถพรวนดินให้ละเอียดอีกประมาณ 2 รอบ ทั้งนี้ ในการไถพรวนดินควรระวังน้ำท่วมขัง เพราะข่าจะไม่ชอบดินชื้น ต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้น้ำขังในดิน

การเตรียมท่อนพันธุ์ ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มาจากต้นแม่ซึ่งมีอายุ 1 ปีขึ้นไป เพราะจะมีตามาก รากงอกใหม่ได้ง่าย โดยแยกแง่ง ตัดใบ ตัดราก ออกให้หมดพร้อมกับล้างน้ำให้สะอาดก็นำมาปลูกในไร่ให้ผลผลิตได้แล้ว หรือถ้าหาท่อนพันธุ์ไม่ได้ให้หาซื้อท่อนพันธุ์ตามตลาด โดยเลือกหัวและแง่งที่สมบูรณ์ที่สุด จากนั้นให้นำไปแช่น้ำยากันเชื้อราและน้ำยาเร่งราก แช่ไว้ประมาณ 20 นาที ควรเลือกเหง้าที่มีขนาดพอเหมาะ หากเหง้าไหนมีขนาดใหญ่เกินไปให้ตัดแบ่งเป็น 2 เหง้าได้ แต่ควรนำปูนกินหมากผสมน้ำทาตรงแผล เพื่อกันเชื้อราขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข่า

วิธีการปลูก เริ่มจากใช้จอบขุดหลุมลึก ประมาณ 1 หน้าจอบ แล้วนำเหง้าข่ามาวางลงไปพร้อมกับกลบดินและรดน้ำพอชุ่ม โดยวิธีการปลูกข่ามีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 1 เหง้า ใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 60 x 80 เซนติเมตร เป็นการปลูกที่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทดลองปลูกข่า เพราะใช้ต้นทุนค่อนข้างต่ำทั้งยังจัดการแปลงได้ง่ายกว่าการปลูกแบบอื่น ๆ ซึ่งการปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์เหง้าเดียวใช้ต้นทุนค่าท่อนพันธุ์ประมาณ 15_000 บาท/ไร่ เมื่อนำผลผลิตไปขายจะได้ทั้งหมด 45_000 บาท/ไร่


วิธีที่ 2 ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 2 เหง้า ซึ่งใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 80 x 80 เซนติเมตร ใช้ทุนค่าท่อนพันธุ์ 30_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ 90_000 บาท/ไร่ วิธีที่ 3 ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 3 เหง้า ระยะห่างระหว่างกอและแถว 1 x 1 เมตร ใช้ต้นทุนค่าท่อนพันธุ์ 45_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ถึง 120_000-135_000 บาท/ไร่ ส่วนวิธีสุดท้ายปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 4 เหง้า ใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 1.20 x 1.20 เมตร ใช้ต้นทุนท่อนพันธุ์ 60_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ 160_000-180_000 บาท/ไร่

ต้นทุนและจำนวนเงินที่ขายได้ ทั้ง 4 แบบ จะแปรผันตามกันไป เมื่อใช้ท่อนพันธุ์มากขึ้นก็จะได้ผลผลิตข่าที่มากขึ้น ซึ่งการปลูกแบบที่ 1 และ 2 เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยหรือเกษตรกรที่เพิ่งทดลองปลูก เนื่องจากมีการจัดการแปลงเรื่องหญ้า ปุ๋ย แมลงที่ง่าย ตลอดจนได้ผลผลิตเหง้าใหญ่ รวมถึงใช้เงินลงทุนที่ต่ำกว่าด้วย ส่วนแบบที่ 3 และ 4 ใช้เงินลงที่สูงกว่า แต่ก็ได้ผลผลิตที่มากกว่า ทั้งยังช่วยจัดการในเรื่องของหญ้า เพราะทรงพุ่มที่ชิดติดกันทำให้หญ้าขึ้นได้ยาก แต่ทว่าผลผลิตข่าที่ได้เหง้าเล็ก ดังนั้น การปลูกแบบ 3 และ 4 จึงเหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายใหญ่ที่ต้องการผลผลิตจำนวนมาก โดยที่ไม่ต้องดูแลแปลงปลูกมากนัก

“สำหรับการดูแลรักษาข่า ให้สังเกตต้นข่าตั้งแต่ปลูกจนมีอายุครบ 3 สัปดาห์ จะเห็นต้นข่าตายและเริ่มมีหน่อใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นธรรมชาติของข่า ดังนั้น เมื่อเห็นต้นข่าตาย อย่าตกใจ เนื่องจากต้นข่าจะตายเป็นธรรมชาติอย่างนี้อยู่แล้ว พอถึงสัปดาห์ที่ 4 จะเห็นต้นข่าเริ่มงอกใหม่และเจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เมื่อเห็นต้นข่ามีใบ 2-3 ใบ ให้เริ่มใส่ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 บริเวณกอข่า ประมาณกอละ 10 เม็ด/สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเดือนที่ 4 ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 0-0-60 พร้อมกับเปลี่ยนการใส่ปุ๋ยจากใส่ประมาณ 10 เม็ด ให้เพิ่มมากขึ้น 1 เม็ด ทุก 15 วัน”

สำหรับการให้น้ำ มีการให้น้ำแบบระบบน้ำหยด สปริงเกอร์ ระบบน้ำฝอย โดยให้แบบสม่ำเสมอเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื่น แต่ก็ไม่ได้รดน้ำแบบทุกวันเนื่องจาก ข่า ไม่ชอบที่ชื่นแฉะ นอกจากนี้ยังมีการให้น้ำพร้อมกับให้ธาตุอาหารไปด้วย โดยการหมักน้ำในถัง 2_000 ลิตร ใส่มูลโคแห้งพร้อมกับหมัดปากถุง 1 กระสอบ ใส่ EM ขยายตัวลงไป 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 3 วัน จากนั้นสูบน้ำในถังมารดทั่วแปลงได้เลย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดินและข่าอีกด้วย

โรคและแมลงในแปลงจะไม่ค่อยพบ เนื่องจากโรคและแมลงทั้งหลายมักมีต้นเหตุมากจากปุ๋ยมูลโคมูลไก่ทั้งหลายที่เกษตรกรมักนำมาใส่เป็นรองพื้น ซึ่งการปลูกจะหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์เพื่อเป็นปุ๋ยรองพื้น จะเน้นแต่ปุ๋ยเคมีล้วน ๆ เพราะปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตที่เร็วเพียงพอสำหรับการส่งข่าให้กับโรงงานทุกวัน แต่ถ้าถามว่าปุ๋ยอินทรีย์ทำในเชิงเศรษฐกิจได้ไหม ได้แต่ผลผลิตข่าที่ได้ก็จะไม่เยอะเท่าปุ๋ยเคมี ดังนั้น ในแปลงจึงมีแต่การใช้ปุ๋ยเคมี แม้จะใช้เงินในส่วนที่ซื้อปุ๋ย แต่ก็ช่วยลดในเรื่องต้นทุนค่ายารักษาโรคและแมลงที่มีต้นเหตุมาจากปุ๋ยมูลโคมูลไก่ได้

คุณราชพฤกษ์ บอกว่าการปลูกข่า 1 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 10 ปี แต่ทั้งนี้ ควรมีวิธีการขุดที่ถูกวิธี ซึ่งทำดังนี้ เลือกขุดข่าเพียง 3 มุม จากทั้งหมด 4 มุม ยกตัวอย่างเช่น ปลูกข่า 1 กอ จะมีต้นข่าขึ้นประมาณ 10 ต้น เป็นสี่เหลี่ยม เมื่อข่าโตจนเก็บผลผลิตได้ประมาณ 6-8 เดือน ให้เลือกขุดออกไป 3 มุม เหลือไว้หนึ่งมุม สำหรับเหลือให้ข่าแพร่พันธุ์ขยายต่อไปได้ แต่เมื่อเก็บผลผลิตในครั้งต่อไป ควรสับเปลี่ยนมุมที่ขุดออก เพราะจะทำให้ข่าที่งอกใหม่แต่ละครั้งเจริญเติบโตดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เรื่องของตลาด ก็อย่างที่บอกไปว่าปลูกข่าตาแดงเพื่อส่งโรงงานโดยเฉพาะ ไม่มีการส่งตลาดรายย่อยอื่น ๆ ซึ่งราคาข่าที่ได้ตอนนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข่าอ่อน เป็นข่าที่เก็บผลผลิตในช่วงเดือนที่ 6 เมื่อนำไปขายจะได้ราคาดีมากถึงกิโลกรัมละ 30-35 บาท ส่วนอย่างที่สอง คือ ข่าแก่ เป็นข่าที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบในเดือนที่ 8 ซึ่งหลงเหลือจากเก็บผลผลิตไม่ทันของคนงาน ซึ่งขายได้ราคากิโลกรัม 10-15 บาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข่าแก่กับข่าอ่อนแล้วอัตราส่วนในแปลงที่ขุดได้แต่ละวันจะมีข่าอ่อนถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ จะมีข่าแก่เพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจมาก เพราะตอนนี้ทางตลาดมีความยินดีที่จะรับทั้งข่าอ่อนและข่าแก และมีแนวโน้มที่รับอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารกำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากใครที่กำลังที่คิดจะมาทำการเกษตร ข่าตาแดง จึงเป็นทางเลือกที่ดีเลยทีเดียว”

“การทำการเกษตร ไม่ว่าจะปลูกอะไรอย่างแรกควรมีเงินทุน รองลงมาคือความอดทน พร้อมกับใจที่รักสิ่งนั้นแบบจริงจัง เพราะการเกษตรมันต้องใช้เวลาในการปลูก เจริญเติบโต ตลอดจนการเก็บเกี่ยว ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนต้องใช้ความอดทนและเงินทุนทั้งสิ้น หากมีเงินน้อยนิดแล้วอยากทำการเกษตร เป็นสิ่งที่ผิดอย่างยิ่ง เนื่องจากสิ่งที่ไม่คาดคิดในการเกษตรมักเกิดได้เสมอ อาทิเช่น เกิดโรคและแมลงระบาด พืชที่ปลูกขาดธาตุอาหาร หากไม่มีความรู้ ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนก็ทำให้การทำเกษตรนั้นล้มเหลวได้ ดังนั้น หากทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข่าตาแดง ควรมีการวางแผน มีเงินทุน ตลอดความอดทน แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าอุปสรรคจะมีมากแค่นั้น หากมีความพยายามแล้วก็จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน” คุณราชพฤกษ์ทิ้งท้ายไว้

ข้อมูล : เกษตรกรก้าวหน้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
6 สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นที่บ้านช่วยต้านโควิด 19
6 สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นที่บ้านช่วยต้านโควิด 19
ซึ่งจากการศึกษาวิจัย พบว่า ฟ้าทะลายโจร มีกลไกต้านไวรัส ป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์_ ลดการแบ่งตัวไวรัสภายในเซลล์_ เพิ่มภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัส_ ลดการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อไวรัส

กระชายขาว สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรอย่างที่ 2 ที่แพทย์แนะนำคือ กระชายขาว โดยจากการศึกษาพบกว่า สาร panduratin ของกระชายขาวมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยับยั้งเชื้อไวรัส picornavirus ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก นอกจากนี้ยังพบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อีกด้วย

ขิง สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 3 คือ ขิง ซึ่งมีรสเผ็ดร้อนเป็นสมุนไพรพื้นบ้านมักนำมารับประทานแก้หวัด แต่จากการศึกษาพลว่า สารสำคัญ Zingerol และ Gingerol สามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้

มะขามป้อม สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 4 คือ มะขามป้อม ซึ่งเป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ โดยพื้นบ้านใช้รักษาหลอดลมอักเสบ วัณโรคปอด หอบหืด ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยสารสำคัญในมะขามป้อมสามารถจับกับขาโปรตีนของไวรัสโควิด-19 และตัวรับ ACE2 ซึ่งมีบทบาทการผ่านเข้าเซลล์ปอด และยังเข้าจับกับเชื้อในหลายตำแหน่งที่มีผลต่อการยับยั้งการสร้างและการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้

กระเทียม สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 5 คือ กระเทียม ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน เพราะสาร allicin ในกระเทียม มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ป้องกันการหลั่งสาร cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว และช่วยเพิ่มแอนติบอดี้ ชนิด immunoglobulin A (IgA) ซึ่งเป็นด่านแรกของภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของ B-cell lymphocyte รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งของสาร interferon ซึ่งเป็นสารที่สร้างในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านไวรัส

ขมิ้นชัน สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 6 คือ ขมิ้นชัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสารสำคัญของขมิ้นชัน และdemethoxycurcumine สามารถแย่งจับกับตำแหน่งของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ที่จะเข้าสู่เซลล์ปอด และตำแหน่งที่มีผลยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้

และนี่เป็นเพียงตัวอย่างสมุนไพรพื้นบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่นที่มีการส่งต่อมาถึงปัจจุบัน และยิ่งมีการศึกษาวิจัยก็ยิ่งทำให้เห็นชัดว่าสมุนไพรไทย ก็สามารถต่อยอดจนเป็นที่ยอมรับได้อย่างกว้างขวาง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ขิง สมุนไพรไทย บรรเทาอาการโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้
ขิง สมุนไพรไทย บรรเทาอาการโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคที่มีการอักเสบของส่วนต่างๆในร่างกาย เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติและไปทำลายอวัยวะต่างๆ ในผู้ป่วยบางรายพบว่ามีภาวะที่มีผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ และหลอดเลือด

ปัจจุบันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ แต่มีความเป็นไปได้ที่จะบรรเทาโรคให้ดีขึ้น หากเริ่มต้นการรักษาอย่างทันท่วงทีและรักษาด้วยยาปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผลในการป้องกันและชะลอการถูกทำลายของข้อ แพทย์อาจพิจารณาให้ทำการผ่าตัดเพื่อรักษาข้อที่มีการเสื่อมหรือถูกทำลาย นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยใช้การแพทย์ทางเลือก เช่น สมุนไพร

จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกล่าสุด พบว่า การรับประทานขิง (ในรูปผง) ปริมาณ 1_500 มก./วัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ช่วยลดการดำเนินของโรค ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ โดยไปมีผลยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะการอักเสบ ดังนั้น ขิง จึงเป็นพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้

เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์

เอกสารอ้างอิง

Aryaeian N_ Shahram F_ Mahmoudi M_ Tavakoli H_ Yousefi B_ Arablou T_ Jafari Karegar S. The effect of ginger supplementation on some immunity and inflammation intermediate genes expression in patients with active Rheumatoid Arthritis. Gene. 2019;698:179-185.

http://www.farmkaset..link..

ที่มา http://www.farmkaset..link..
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
เกษตรกรที่ปลูกผักไม่ว่าจะปลูกเพื่อจำหน่ายหรือปลูกเพื่อเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะผักตระกูลกระหล่ำและผักกาดขาว มักจะประสบกับปัญหาหนอนใยผักกัดกินยอดของพืชผักทั้งบนใบและใต้ใบ ทำให้ผลผลิตที่ได้นั่นเกิดความเสียหายนำไปขายไม่ได้ต้องคัดทิ้ง ทำให้ต้นทุนในการปลูกเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากการสัมภาษณ์คุณโชคชัย บุญยัง หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการกำจัดหนอนใยผักศัตรูตัวร้ายของพืชตระกูลกระหล่ำด้วยตะไคร้หอม

คุณโชคชัย บุญยัง หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า หนอนใยผักจะเป็นศัตรูพืชที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นเกษตรกรบางรายจะหันไปใช้สารเคมีในการจัดการแมลงชนิดกันเป็นจำนวนมากเพราะกลัวว่าผลผลิตจะได้รับความเสียหายจากศัตรูพืชต่าง ๆ แต่กลับขาดความรู้ความเข้าใจในพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้จัดการแทนสารเคมีที่ปลอดภัยได้ ซึ่งมีอยู่ชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เข้ควบคุมกำจัด และป้องกันได้ ก็คือ ตะไคร้หอม ซึ่งเกษตรกรสามารถนำตะไคร้หอม(มีลักษณะใบสีขาวอมม่วง) ต้นที่แก่จัด(จะเห็นสีม่วงชัดเจน) มาใช้ในการป้องกันกำจัดได้ เนื่องจาก ต้นที่แก่จัดของตะไคร้หอมนั้น จะมีสารออกฤทธิ์หรือสรรพคุณในการนำมาใช้ป้องกันกำจัดได้ดีกว่าตะไคร้หอมต้นที่ไม่แก่จัดหรือตะไคร้บ้านที่ปลูกกันโดยทั่วไป

โดยมีวิธีการนำมาใช้ป้องกัน-กำจัดหนอนใยผักอย่างได้ผล ดังนี้

1. นำต้นตะไคร้หอมที่แก่จัดทั้งต้นมาหั่นหรือสับ ให้ได้ น้ำหนักประมาณ 5 ขีด

2. นำไปผสมกับน้ำครึ่งปี๊บ(ประมาณ 10 ลิตร) หมัก ทิ้งไว้ 1 วัน (24 ชั่วโมง)

3. กรองเอาแต่น้ำ ไปผสมกับสบู่หรือแชมพู ฉีดพ่นแปลงพืชผักที่พบว่ามีหนอนใยผักเข้าทำลายทุก ๆ 3 วัน ในช่วงเย็น

** จะช่วยป้องกันและจำกัดหนอนใยผักได้เป็นอย่างดี พร้อมยังเป็นการลดใช้สารเคมีที่จะไปเพิ่มต้นทุนในการผลิตให้สูงขึ้น และ บั่นทอนสุขภาพของเกษตรกร/ผู้บริโภคได้อีกด้วย

หมายเหตุ : เกษตรกรควรหมั่นกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย/หลบซ่อนของแมลงศัตรูพืช ที่อยู่ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และตระไคร้ที่นำมาใช้ต้องเป็นตระไคร้หอมเท่านั้น ซึ่งถ้าปลูกผักจำนวนมากสามารถเพิ่มอัตราส่วนได้โดยการเปรียบเทียบตามสูตรได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่และขนาดแปลงผักที่ปลูก

เรียบเรียงโดย :นงพงา ไกรวิลาศ. เจ้าหน้าศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกัน จังหวัดชุมพร.

ที่มา http://www.farmkaset..link..

สำหรับสินค้าจากเรา ไอกี้-บีที เป็นสารชีวินทรีย์ปลอดภัย สำหรับ ป้องกัน และ กำจัดหนอน สามารถใช้ป้องกัน กำจัด ตระกูลหนอนได้หลายชนิด
85 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 8 หน้า, หน้าที่ 9 มี 5 รายการ
|-Page 6 of 9-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 : ตัวช่วยเพิ่มผลใหญ่ ผลดก น้ำหนักดี สำหรับต้นชมพู่ของคุณ
Update: 2567/03/08 14:20:49 - Views: 109
ไขข้อข้องใจ … ทำไมแหนมถึงกินดิบได้?
Update: 2565/11/16 13:48:55 - Views: 9819
การเลือกซื้อ ดาบ คาตานะ ดาบซามูไร ให้ได้คุณภาพดี ในราคาไม่แพง
Update: 2566/10/28 12:32:08 - Views: 8991
อาการพืชขาดธาตุแมกนีเซียม พืชจะใบเหลือง และมีเส้นใยสีเขียวบนใบเหลือง อาการเกิดที่ใบแก่ ฉีดพ่น FK-1
Update: 2564/03/11 12:09:38 - Views: 3050
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแมลงวันทอง ใน น้อยหน่า และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/09 12:23:38 - Views: 3104
ระวัง !! โรคเหี่ยว ในต้นมะเขือเปราะ สร้างเสียหายได้มาก ป้องกันได้อย่างไร?
Update: 2566/10/31 14:42:44 - Views: 654
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ในมะละกอ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/17 13:45:53 - Views: 3098
ระวัง!! โรคราสนิม ราน้ำค้าง ใบจุด ใบไหม้ ผลไหม้ ในต้นลิ้นจี่ สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Update: 2566/11/07 09:50:24 - Views: 307
โรคองุ่นเน่าดำ (Black rot) โรคองุ่น
Update: 2564/05/01 12:50:15 - Views: 3215
แก้ทุเรียนเล็กใบไหม้ ใบแห้ง ยอดไหม้ ใบเหลือง เพราะโรคจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/05/07 12:21:17 - Views: 6173
โรคเชื้อราในต้นมะพร้าว เร่งป้องกันกำจัดก่อนจะเป็นแบบนี้
Update: 2567/05/20 07:50:31 - Views: 4
การป้องกันกำจัดโรคเชื้อราในพืชผักชี
Update: 2566/05/06 10:20:58 - Views: 3134
คู่มือการดูแลรักษา ป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในต้นกาแฟ ราสนิม ราใบจุด ใบไหม้ ฯลฯ
Update: 2566/04/29 14:41:38 - Views: 17085
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น พืชทุกชนิด พืชโตไว ใบเขียวเข้ม ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/03/18 10:59:46 - Views: 2988
อินทผลัม พืชทางเลือก จะรุ่งหรือจะร่วง กับ ศ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า - Piyamas Live | ปิยะมาศ บัวแก้ว
Update: 2563/03/10 22:17:46 - Views: 3031
ท้าวเวสสุวรรณ สลักบนแผ่นเหล็กน้ำพี้: พลังแห่งศรัทธาและความเชื่อ เทพแห่งโชคลาภและความมั่งคั่ง
Update: 2567/02/17 13:07:58 - Views: 228
โรคใบจุดในถั่วลิสง: วิธีการป้องกันและการทำลายเชื้อโรค
Update: 2566/11/22 09:15:07 - Views: 315
โรคข้าวโพด โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)
Update: 2564/02/09 22:35:16 - Views: 3141
เตือน!! ระวังหนอนระบาด หนอนมะม่วง หนอนเจาะผล ทำลาย ต้นมะม่วง ของคุณ ...สร้างเสียหายได้มาก
Update: 2566/11/02 10:47:31 - Views: 359
ดอกทานตะวัน ความนิยมปลูกและทานดอกทานตะวันทั่วโลก
Update: 2565/11/14 12:59:24 - Views: 5001
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022