[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ยางพารา
72 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 7 หน้า, หน้าที่ 8 มี 2 รายการ

ประเทศไทย ปลูกพืชอะไรมากที่สุด?
ประเทศไทย ปลูกพืชอะไรมากที่สุด?
เกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศไทย ที่เป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีการปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมีพืชหลายชนิดที่เป็นพืชนิมปลูกในพื้นที่ต่างๆ โดยแบ่งตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การปลูกพืช ภูมิอากาศ พืชที่นิยมปลูกในแต่ละภูมิภาคอาจแบ่งได้ดังนี้

1. พืชนิยมปลูกภาคเหนือของประเทศไทย

ที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูงมีการปลูกพืชระบบหมุนเวียนตามฤดูกาล ปัจจุบันการผลิตข้าวนาขั้นบันไดเป็นระบบการเกษตรที่ยั่งยืนบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบน และสามารถสร้างผลผลิตสูงกว่าการปลูกข้าวไร่ โดยจะมีการปลูกข้าวอยู่ในระดับปานกลาง เพียงร้อยละ 10.3 ของพื้นที่การปลูกข้าวบนที่สูง การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นระบบการปลูกพืชที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในช่วงเวลาหนึ่งลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคและแมลงและเป็นรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรได้ และมีการปลูก ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพด ฝ้าย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด และอื่นๆ รวมถึงผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง เป็นต้น การปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ จึงทำให้มีความหลากหลายของพืชพรรณต่างๆ ด้วยพื้นที่ชลประทาน 10% ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรจึงนิยมปลูก โดยจะการปลูกข้าวที่ใช้ปลูกในฤดูแล้ง หรือ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว ยาสูบ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน หอมหัวใหญ่ กระเทียม มะเขือเทศ แตงโม เป็นต้น ดังนั้นการปลูกพืชโดยทั่วไปในพื้นที่นี้จึงเป็นการปลูกข้าวและการปลูกไม้ผลเป็นหลัก

2.พืชนิยมปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ภาคอีสาน)

การเพาะปลูก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำการเพาะปลูกมากที่สุด แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำสุด เนื่องจากดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น การปลูกข้าว พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ปอ ฝ้าย โดยพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.เกิดปัญหาดินเค็ม ขาดความอุดมสมบูรณ์ 2.ขาดแคลนน้ำมากที่สุด เนื่องจากดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ 3.การบุกรุกป่าไม้ของประชากรเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการเพาะปลูก หรือเพื่อการค้า ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช และทำนา ดังนั้นไร่เทพจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยปรับปรุงดิน ทำให้โครงสร้างของดินดี ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก รากพืชแผ่ขยายได้ง่าย ผสมน้ำราดโคนต้น จะช่วยปรับสภาพดินเหนียวให้คลายตัวออก สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดินให้พืชกลับนำมาใช้ใหม่ได้ใหม่อย่างเต็มที่ในดินทรายจะช่วยอุ้มน้ำ รักษาความเป็นกรด ด่าง ไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ

3. พืชนิยมปลูกภาคกลางของประเทศไทย

รูปแบบการทำเกษตรกรรมในภาคกลางเป็นทำการเกษตรกรรมแบบผสมผสานคือมีการปลูกพืชและเลี้ยงปศุสัตว์ควบคู่กัน สามารถปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าว (โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง) พืชไร่ พืชผักมากกว่า 1 ครั้งในรอบปี โดยจังหวัดที่มีความถี่ของการใช้พื้นที่เพื่อเพาะปลูก ค่อนข้างสูง สำหรับกลุ่มพืชไร่ที่เพาะปลูกในภาคกลางที่สำคัญประกอบด้วย ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ทานตะวัน และข้าวฟ่าง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทั้งภาค ดังนี้ อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรด และข้าวฟ่าง

4.พืชนิยมปลูกภาคใต้ของประเทศไทย

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคใต้ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ข้าวและไม้ผล ต่าง ๆ แม้ว่าข้าวจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอสำหรับบริโภค ส่วนพืชไร่และพืชผัก ต่าง ๆ มีปลูกกันน้อย เช่นเดียวกันกับการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ ก็ยังมีเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดการถือครองพื้นที่การเกษตร อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นที่ที่น่าจับตามองว่าจะเป็นแหล่งที่จะพัฒนาการเลี้ยงโคได้ดี เนื่องจากมีศักยภาพทางด้านพื้นที่และความพร้อมของประชากร หากได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยการผลิต เงินทุน อัตรา ดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระหนี้นานจากรัฐบาล น่าจะทำให้การพัฒนาการเลี้ยงโค-กระบือในภาคใต้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความต้องการโค-กระบือของตลาดทั้งภายในประเทศและนอกประเทศยังอยู่ในระดับสูง

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3669
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
ดินลูกรัง (Skeletal soils) หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช

การจัดการดินลูกรังเพื่อเพิ่มผลผลิต

ดินลูกรัง (Skeletal soils)หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินลูกรังเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จากผลการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีดินลูกรังประมาณ 52 ล้านไร่ หรือร้อยละ 16.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรของดินลูกรัง

พื้นที่ที่พบดินลูกรังมีอยู่เกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นในเขตฝนตกชุกทางภาคใต้ ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรที่สำคัญ คือเป็นดินตื้นที่มีกรวดหินมนเล็กหรือเศษหินปะปนกันอยู่มาก ทำให้ดินมีปริมาณเนื้อดินน้อยลง มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ นอกจากนี้ลักษณะของดินเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนหน้าดินถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย ดินมีความสมบรูณ์ต่ำ และการจัดระบบชลประทานมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่อำนวย

ดินลูกรัง เป็นดินที่มีศักยภาพในการเกษตรต่ำ เนื่องจากดินชั้นล่างแน่นทึบเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ดินที่มีกรวดปนมักเป็นดินที่ขาดความชุ่มชื้นได้ง่าย และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ มีข้อจำกัดในการเลือกชนิดของพืชปลูก โดยเฉพาะไม้ยืนต้นและไม้ผลจำเป็นต้องจัดการเป็นพิเศษ ในการเตรียมหลุมปลูก การปลูกพืชติดต่อกันในดินนี้จะทำให้ปริมาณธาตุอาหารในดินลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหน้าดินมักเกิดการกร่อนได้ง่าย ปัจจุบันดินนี้ยังใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกไม่มากนัก ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้จำพวกป่าแดงโปร่ง

แนวทางแก้ไขและการใช้ประโยชน์ดินลูกรัง

ดินลูกรังเป็นดินที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ มาก การแก้ไขปัญหาเพื่อใช้ประโยชน์จากดินนี้อาจทำได้หลายแนวทาง คือ

1. การทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เหมาะกับดินลูกรังที่พบในที่ดอนและมีหน้าดินหนาเกิน 15 ซม. ขึ้นไป

2. การปลูกพืชไร่ ดินลูกรังที่มีหน้าดินหนา ประมาณ 20 ซม. มีการระบายน้ำดีปานกลาง ไม่มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน สามารถปลูกพืชไร่ได้หลายชนิด เช่น ข้าว ฟ่าง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และพืชรากตื้นอื่น ๆ แต่ควรมีการบำรุงรักษาความอุดมสมบรูณ์ของดินโดยการใส่ปุ๋ย และรักษาความชื้นของดินโดยใช้วัสดุคลุมดิน

3. การปลูกไม้ผลและไม้โตเร็ว ดินลูกรังจะไม่จับกันเป็นชั้นแน่นมากนักสามารถปลูกไม้ผลและไม้โตเร็ว เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะขาม ยูคาลิปตัส กระถินต่างๆ สะเดา ขี้เหล็กบ้าน น้อยหน่า พุทรา และไผ่ ส่วนยางพาราสามารถปลูกได้ในบริเวณที่มีปริมาณฝนมากกว่า 1_400 มม. /ปี

4. การทำนา ดินลูกรังที่พบในที่ราบหรือที่ราบต่ำที่มีหน้าดินลึกประมาณ 15 ซม. และมีการระบายน้ำเลวในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังแฉะเป็นเวลานาน ควรใช้ปลูกข้าวและมีการใส่ปุ๋ยซึ่งจะช่วยให้ข้าวมีผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ดินลูกรังที่มีหน้าดินตื้น ไม่ควรใช้ในการเพาะปลูกพืชที่ต้องมีการไถพรวนดิน เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด หากไม่จำเป็นจึงไม่ควรนำมาใช้ในการเพาะปลูกแต่ควรปล่อยให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ตลอดไป

การปรับปรุงดินลูกรังให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช

ในการปรับปรุงบำรุงดินลูกรังเพื่อปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุสามารถทำได้โดย

1. การไถกลบฟางข้าว และรดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตร/ไร่ หมักทิ้งไว้ช่วยให้ฟางย่อยสลายเร็วขึ้นเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

2. ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก อัตรา 2 - 4 ตัน/ไร่ คลุกเคล้ากับดินในแปลงปลูกพืช หรือในบริเวณหลุมปลูกไม้ผล ในอัตราเฉลี่ย 25 - 50 กิโลกรัมต่อหลุม

3. ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า แล้วไถกลบลงดิน ในช่วงออกดอก (อายุประมาณ 50 - 60 วัน หลังปลูก) ก่อนปลูกพืชหลักทุกชนิดเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทอากาศดีการระบายน้ำดีดินมีความอุดมสมบรูณ์เพิ่มขึ้น

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:4107
โรคใบร่วงยางพารา
โรคใบร่วงยางพารา
อ่าน:3502
โรคยางพาราใบไหม้ ใบจุด ไฟท็อปโธร่า โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
โรคยางพาราใบไหม้ ใบจุด ไฟท็อปโธร่า โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล กิ่งแห้ง โรคราน้ำค้าง ราสนิม แอนแทรคโนส ไฟธอปโทร่า หรือ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ไอเอส หยุดโรค และ FK-1 ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง ธาตุเสริม Ca_ Mg_ Zn สำหรับบำรุงให้แข็งแรง โตไว ผลผลิตดี สร้างภูมิคุ้มกันโรค

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
✅ราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับปริมาณ ซีซี ที่ได้

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง (เลือกแยกซื้อได้)

http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..


ข้อมูลและอัตราผสมใช้
🍂 ไอเอส อัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)
🌿 FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส ได้เลย
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🍂ข้อมูลจำเพาะ ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้ ไอเอส ในช่วงรักษาโรคพืชจากเชื้อรา กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
เฝ้าระวัง โรคยางพาราใบร่วง หรือ ไฟทอฟธอรายางพารา ในช่วงฤดูฝน
เฝ้าระวัง โรคยางพาราใบร่วง หรือ ไฟทอฟธอรายางพารา ในช่วงฤดูฝน
การยางแห่งประเทศไทย แนะเกษตรกรชาวสวนยาง เฝ้าระวังโรคใบร่วงหรือไฟทอฟธอราในช่วงหน้าฝน ย้ำเกษตรกรต้องดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ป้องกันการระบาดจากต้นสู่ต้น

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝน ถือเป็นช่วงที่เชื้อรา

ไฟทอฟธอรา (Phytophthora) หรืออีกชื่อคือโรคใบร่วง มักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะกับสวนยางพารา ซึ่งเชื้อราไฟทอฟธอราจะเข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นยางได้แก่ ฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ และที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลงถ้าเชื้อราไฟทอฟธอราระบาด ทำให้ใบร่วงมากกว่า 20% และหากปล่อยให้โรคระบาดโดยไม่มีการควบคุมใบจะร่วงถึง 75% ส่งผลให้ผลผลิตลดลง 30-50%

ด้านลักษณะอาการเกษตรกรสามารถสังเกตุอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ จะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อ มักมีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่ การเข้าทำลายที่ก้านใบนี้เองเป็นผลทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่ เนื่องจากเชื้อสร้างเนื้อเยื่อ abscission layer เมื่อนำมาสะบัดเบา ๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่าย บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบ หรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำ ขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง ทั้งนี้เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพอากาศเหมาะสมต่อการเติบโตของเชื้อราไฟทอฟธอรา พันธุ์ยางที่ปลูกอ่อนแอ ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อนี้สามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา

สำหรับความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตก รวมถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ อยู่ระหว่าง 25-28 องศา เชื้อนี้ต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก มีความชื้นสูงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 4 วัน เช่นหน้าฝน หรือมีน้ำท่วมขัง และมีแสงแดดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ต่อวัน

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวต่อถึงวิธีการป้องกันเชื้อไฟทอฟธอราว่า เกษตรกรควรปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค เช่น RRIT 251 และ RRIT 408 ในเขตและแหล่งปลูกยางที่ระบาดของโรค ไม่ควรปลูกยางพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่น RRIM600 หมั่นกำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยาง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง เมื่อพบโรคให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-AI ทาที่หน้ากรีดเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ เนื่องจากเป็นเชื้อเดียวกัน ต้นยางใหญ่ที่เกิดใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมด ควรหยุดกรีดยาง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
สาเหตุของ โรคแอนแทรคโนส ใน พริก เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง มะละกอ ยาง มัน ลองกอง กล้วย
สาเหตุของ โรคแอนแทรคโนส ใน พริก เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง มะละกอ ยาง มัน ลองกอง กล้วย
เชื้อรา Colletotrichum spp. เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส โรคผลเน่าโรคใบจุด พบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน โดยมักก่อโรคในพืชที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง มะละกอ ยางพารา มันสำปะหลัง ลองกอง กล้วยไม้ เชื้อราชนิดนี้สามารถเข้าทำลายพืชทั้งในระยะอ่อนแอ และระยะสมบูรณ์ ก่อนการเก็บเกี่ยวระหว่างการเก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยว

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
สวนยาง อากาศแปรปรวน โรคราแป้งระบาด แนะใส่ปุ๋ยธาตุไนโตรเจนสูง
สวนยาง อากาศแปรปรวน โรคราแป้งระบาด แนะใส่ปุ๋ยธาตุไนโตรเจนสูง
เกษตรเมืองเลยเตือนชาวสวนยางเฝ้าระวังโรคราแป้งกำลังระบาด เหตุอากาศผันผวน ทั้งหนาว หมอกลง ตกบ่ายร้อนจัดหรือมีฝนตก ทำให้เชื้อราแป้งระบาดเร็ว แนะใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าปกติ

นายอัคนีวุธ กลับน่วม เกษตรจังหวัดเลย กล่าวว่า ได้ออกประกาศเตือนชาวสวนยางพารา ว่าช่วงนี้สภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน มีทั้งหนาว น้ำค้าง ร้อน หรือมีฝนตกปรอยๆ ซึ่งจะทำเกิดโรคโรคราแป้งในยางพารา โดยโรคราแป้ง หรือโรคใบร่วงออยเดียม (Powdery mildew or Oidium Leaf Disease) เกิดจากเชื้อรา Oidium heveae Steinm ลักษณะทั่วไปจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นกระจุกเส้นใยสีขาว ถ้าส่องดูด้วยแว่นขยายจะเห็นสปอร์ติดกันเป็นลูกโซ่อยู่ปลายเส้นใย โดยกลุ่มของเชื้อราเจริญได้ดีบนใบ มองเห็นเป็นรอยหย่อมๆ ทั่วไป ซึ่งเชื้อสกุลออยเดียมที่พบทำลายใบและดอกยางเป็นชนิด Oidium heveae ซึ่งเจริญเติบโตบนเนื้อเยื่อของพืชที่มีชีวิตเท่านั้น

“เชื้อราสกุลดังกล่าวอยู่ได้นานข้ามปีได้ อาศัยบนใบยางที่อยู่กิ่งล่างหรือต้นกล้าที่งอกในสวนยาง แต่ยังไม่พบว่าเชื้อรานี้สร้างสปอร์ชนิดอื่นๆ เพื่ออยู่ข้ามฤดูกาลได้ โดยมักจะระบาดบนใบยางอ่อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ส่งผลให้ใบยางร่วงซ้ำอีกครั้ง กิ่งแขนงบางส่วนอาจแห้งตาย ความรุนแรงของโรคนี้อยู่กับลักษณะการผลัดใบ อายุใบ ความต้านทานโรคของพันธุ์ยางด้วย”

นายอัคนีวุธกล่าวว่า การแพร่ระบาดจะรุนแรงช่วงที่ยางผลิใบใหม่ และในพื้นที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมกลางวันร้อนจัด กลางคืนเย็นและชื้น มีหมอกในตอนเช้า หรือมีฝนตกปรอยๆ ในบางวัน โรคราแป้งแพร่กระจายได้โดยลม และแมลงจำพวกไรที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของยาง ทำให้ใบยางบิดงอ เน่าดำ และร่วงจากลำต้น

สำหรับวิธีการป้องกันและกำจัด ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าปกติในช่วงปลายฤดูฝน และใส่ในช่วงที่ยางผลิใบอ่อน เพื่อเร่งให้ใบยางที่ผลิออกใหม่แก่เร็วขึ้น ถ้าต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้เกษตรกรพ่นใบยางอ่อนในช่วงเช้าตรู่ด้วยผงกำมะถัน อัตราไร่ละ 1.5-4 กิโลกรัม ทุก 5-7 วัน พ่นประมาณ 5-6 ครั้ง หรือใช้สารเคมีจำพวกเบโนมิล คาร์เบนดาซิม ซัลเฟอร์ ไตรดีมอร์ฟ และกำมะถัน อัตราการใช้ที่แนะนำตามตาราง ห้ามใช้อัตราสูงกว่าคำแนะนำ เพราะจะทำให้ใบยางไหม้ได้

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราแป้งยางพารา
โรคราแป้งยางพารา
ในการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดถ้าผู้ปลูกคำนึงถึงการจัดการศัตรูพืชเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำลายของ ศัตรูพืชแต่ละชนิดคงจะดีมาก เพราะ การลดความเสี่ยงนี้ คือ ความสามารถในการจัดการพืชให้รอดปลอดภัยจาก โรคและแมลงศัตรูพืช

ในช่วงเดือน ธันวาคม –มกราคม ใบยางพาราร่วงหล่น เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ชาวสวนยางต้องเฝ้าสังเกต ต้นยางอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพราะเมื่อใบเก่าร่วงไป ใบใหม่ก็ต้องมาทดแทน ซึ่งโรคราแป้งในยางพาราก็มักจะเกิด ในช่วงแตกใบอ่อน ดังนั้นแล้วก็ต้องเฝ้าระวัง

ราแป้ง เกิดจากเชื้อเชื้อราOidium heveae Steinm ( Oidium Leaf Disease)

เชื้อสาเหตุมีลักษณะเป็นฝุ่นแป้งบนใบอ่อนยางพารามักพบการระบาดในช่วงที่ฝนตกปรอยๆ อุณหภูมิลดลง ๓ – ๔ องศาเซลเซียส หรือสภาพอากาศเย็นอุณหภูมิประมาณ ๑๘ – ๒๐ องศาเซลเซียส ใบอ่อนยางพาราจะมีสีขาวคล้ายฝุ่นแป้ง กระจายทั่วทั้งใบ ประมาณ ๒ – ๔ วัน หลังจากนั้นใบจะร่วง มีอาการคล้ายน้ำร้อนลวก อาการรุนแรงร่วงโกรนทั้งต้น ไม่รุนแรงใบจะมีรอยจุด หรือบิดงอใบยางพาราที่เจริญงอกมาแทนใบร่วงโกรนใบจะเล็กกว่าปกติ

ผลกระทบ: กรณีใบร่วงโกรนทั้งต้น ยางพาราจะใช้เวลาเพิ่มที่จะพัฒนาเป็นแก่จัดพร้อมเปิดประมาณ ๓๐ – ๓๕ วันและผลผลิตลดลง กรณีใบเป็นจุดผลผลิตจะลดลง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา อยู่ในวงศ์ Yponomeutidae อันดับ Lepidoptera ตัวหนอน ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข็ม ลำตัวสีส้ม และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดง ยาวประมาณ 20 มม. กว้าง 2 มม. มีขาจริง 3 คู่ ขาเทียม 4คู่

หนอนชนิดนี้ เข้าทำลาย กัดกินเปลือกยางพารา อาศัยอยู่ในรังที่สร้างขึ้นภายใต้เปลือก ของต้นยางพารา เข้าทำลายบริเวณรอยกรีดยางพารา และใกล้เคียง แพร่ระบาดมาก ในเดือนตุลาคม - เมษายน

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าแนะนำจากเรา ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ สำหรับป้องกัน และกำจัดหนอนทุกชนิด ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ที่ออกฤทธิ์ทำลายหนอนเท่านั้น
หนอนหมี บุกสวนยางที่กระบี่ ชาวบ้านไม่กล้ากรีดยาง
หนอนหมี บุกสวนยางที่กระบี่ ชาวบ้านไม่กล้ากรีดยาง
หนอนหมี บุกสวนยางที่กระบี่ ชาวบ้านไม่กล้ากรีดยาง
หนอนหมีนับหมื่นตัวบุกเกาะต้นยางพาราที่กระบี่ จนชาวบ้านไม่กล้าออกไปกรีดยาง ระบุพบมากช่วงหน้าฝน ไม่มีพิษ

ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยางพาราใน ต.ทุ่งไทรทอง อ.ลำทับ จ.กระบี่ กำลังประสบปัญหา "หนอนหมี" หรือ "หนอนบุ้ง" หรือ "หนอนขน" จำนวนนับหมื่นตัวบุกอาศัยอยู่ตามต้นยางพาราจนไม่กล้าออกไปกรีดยาง เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสมพงษ์ ดวงจันทร์ อายุ 59 ปี ชาวบ้าน ม.4 ต.ทุ่งไทรทอง อ.ลำทับ จ.กระบี่ สำหรับหนอนชนิดนี้ชาวบ้านเรียกว่าหนอนหมี เนื่องจากตัวสีดำ ชอบอาศัยอยู่บนต้นยาง

จะพบมากในช่วงหน้าฝน ปีนี้หนอนหมี มีมากกว่าทุกปี สังเกตตามต้นยางในต้นเดียวมีนับ 100 ตัว สร้างความขนลุกขนพองให้แก่ชาวสวนยาง บางรายถึงกับหลอนโดยเฉพาะผู้หญิงบางคนหวาดกลัวจนไม่กล้าเข้าไปกรีดยาง ถึงแม้ว่าหนอนชนิดนี้แม้จะไม่มีพิษ แต่จะสร้างความรำคาญให้ชาวสวนยาง นอกจากนี้ หนอนเหล่านี้ไม่ได้ทำลายต้นยางแต่อย่างใดด้วย โดยหนอนหมีจะมากินเพียงเปลือกไม้เท่านั้น

ขณะที่ชาวสวนยางบางคนยอมรับว่า กลัวหนอนหมีมาก หากวันไหนพบหนอนมีมากจะไม่ยอมออกไปกรีดยาง สำหรับ "หนอนหมี" จะมีมากในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยจะมากัดกินเปลือกไม้ในสวนยางพารา สำหรับตัวที่โตเต็มวัยแล้วจะสลัดขนไปทำรังรอฟักตัวเป็นดักแด้ต่อไป

สำหรับหนอนหมี หรือหนอนขน ในพื้นที่มีขนาดใหญ่ ความยาว 3-5 เซนติเมตร ตัวสีดำ ขนสีขาวเป็นเส้นตรงขึ้นตามตัว ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร บางตัวใหญ่เท่ากับนิ้วก้อย มักจะไต่ขึ้นตามต้นยางพารา ถ้วยน้ำยาง และบางตัวจะชักใยห้อยโหนไปมา สร้างความขนลุกขนพองให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาวสวนยางเป็นผู้หญิง บางคนถึงกับหลอน ต้องยอมหยุดกรีดยาง เนื่องจากหวาดกลัว และขยะแขยง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
72 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 7 หน้า, หน้าที่ 8 มี 2 รายการ
|-Page 5 of 8-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคราแป้ง (Powdery mildew) โรคราแป้งในพริก ราแป้งมะเขือ
Update: 2564/08/09 22:28:26 - Views: 4310
ประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในมะกรูด
Update: 2566/05/04 11:56:57 - Views: 3521
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแมลงวันทองหรือแมลงวันผลไม้ ใน ฝรั่ง และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:00:37 - Views: 3528
เตือน!! ระวังหนอนกินใบ ทำลาย ต้นแตงกวา ของคุณ ... สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร?
Update: 2566/11/02 14:59:49 - Views: 3508
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในข้าวโพด และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/26 12:36:52 - Views: 3616
จอมปลวกที่เห็นตามท้องไร่ท้องนา ใช้ฉีดย่อยสลายฟางข้าวได้ ยับยั้งโรคพืชได้อีกด้วย
Update: 2563/06/24 07:55:04 - Views: 3586
การรับมือกับโรคลำต้นจุดสีน้ำตาลในต้นแก้วมังกร
Update: 2566/11/22 09:35:03 - Views: 3513
แนวทางการจัดการและป้องกันหนอนในต้นลิ้นจี่
Update: 2566/11/23 12:38:56 - Views: 3541
ปุ๋ยสำหรับต้นทานตะวัน
Update: 2564/05/11 08:02:21 - Views: 4116
กำจัดเชื้อรา ตำลึง ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/23 11:10:05 - Views: 3565
การเพิ่มผลผลิตข้าวโพดให้สูงสุดด้วย ปุ๋ยอะมิโนเม็ดสกัด วันเด้อร์เขียว: ประโยชน์ของปุ๋ยเม็ดอะมิโน
Update: 2565/12/30 08:45:26 - Views: 3519
การป้องกัน กำจัด โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน
Update: 2563/11/27 08:49:56 - Views: 6253
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
Update: 2564/08/21 23:42:16 - Views: 3680
ปุ๋ยสำหรับแตงกวา และพืชตระกูลแตง ปุ๋ยเร่งโต ยาแก้เพลี้ย ยากำจัดหนอน #ปุ๋ยแตงกวา #ยาแตงกวา
Update: 2564/10/26 23:52:33 - Views: 3504
โรคราดำกาแฟ มีต้นเหตุจาก เพลี้ย และ เชื้อราสาเหตุ แคบโนเดียม ใช้ มาคา + ไอเอส + FK-1
Update: 2564/08/09 04:42:06 - Views: 3932
ฮิวมิคแอซิด ฟาร์มิค: การฟื้นฟูระบบรากและปลดปล่อยธาตุอาหารสู่ดิน
Update: 2567/02/13 09:42:11 - Views: 3523
ฮิวมิค แอซิด: ฟาร์มิคที่ฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดิน สำหรับฉีดพ่น ต้นผักกาดขาว
Update: 2567/02/13 09:51:46 - Views: 3627
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - เทคโนโลยีที่ทำให้ดินและพืชมีสุขภาพดี
Update: 2567/02/13 09:54:57 - Views: 3679
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เทคโนโลยีสุดล้ำสำหรับปรับปรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของทุเรียน
Update: 2567/02/13 09:58:27 - Views: 3734
การฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินสำหรับมะไฟ ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค
Update: 2567/02/13 09:26:56 - Views: 3616
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022