<กลับหน้าค้นข้อมูล แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย

อันตราย!! สารฟอร์มาลิน ในอาหารทะเล

172.68.253.67 2565/11/16 13:04:28 , View: 2431, e
อันตราย!! สารฟอร์มาลิน ในอาหารทะเล

ในปัจจุบันมีการตรวจพบ ฟอร์มาลีน ในอาหารทะเลมากมาย และที่น่ากลัวคือในปัจจุบันก็ยังสุ่มตรวจเจออยู่เรื่อย ๆ ผู้ประกอบการมักใช้สารนี้เพื่อรักษาความสดของอาหารเอาไว้ให้ได้นานยิ่งขึ้น เราในฐานะผู้บริโภคก็ควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เอาไว้บ้างนะคะ เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารทะเลที่มีส่วนผสมของสารฟอร์มาลีนทั้งกับตัวเอง ครอบครัว และคนที่คุณรัก

ฟอร์มาลีน คืออะไร?
ฟอร์มาลีนเป็นสารมีพิษใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา ในปัจจุบันมีการนำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อให้อาหารสดคงความสดอยู่ได้นานไม่เน่าเสียง่าย ส่วนใหญ่จะรู้จักฟอร์มาลินในเชิงการแพทย์ที่เราทราบกันดีว่าเอาไว้ใช้ในการดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย ใช้เป็นยาดับกลิ่นฆ่าเชื้อโรคเพราะทำให้โปรตีนแข็งตัว ทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอจะใช้เป็นน้ำยาอาบผ้าไม่ให้ย่น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคและเชื้อราในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลง แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร

ส่วนประกอบหลักคือ ฟอร์มาลดีไฮด์ 37% ลักษณะเป็นน้ำใส ไม่มีสี กลิ่นฉุน และมีฤทธิ์ระคายเคือง โดยทั่วไปมีไว้เพื่อการฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ทำให้สิ่งของบางอย่างขึ้นรูปและคงรูปอยู่ ใช้ในอุตสาหกรรม ใช้ในการเกษตร ใช้ในทางการแพทย์ ใช้ในเครื่องสำอาง ซึ่งปัจจุบันมีการนำมาใช้ผิดประเภท คือ ใส่ในอาหารโดยเฉพาะพวกอาหารทะเลที่เน่าเสียไว ซึ่งฟอร์มาลีนก่อให้เกิดอันตรายมากมาย

ฟอร์มาลีนเจือปนในอาหารได้อย่างไร
มีรายงานจากประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น และอิตาลี ว่าในผักผลไม้ บางชนิดและเนื้อสัตว์บางประเภทโดยเฉพาะสัตว์ทะเลและเห็ดหอมมีปริมาณของฟอร์มาลดีไฮด์ในธรรมชาติสูง แต่อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี ฟอร์มาลีนที่มีในธรรมชาติหรือที่มาจากปุ๋ยและสารฆ่าแมลงส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้อยมาก คือ ไม่เกิน 1 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ในขณะที่ฟอร์มาลีนที่จงใจฉีดหรือแช่ในผักหรือเนื้อสัตว์นั้น หากใช้ปริมาณมากเกินไปและมีตกค้างย่อมเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแน่นอน

ปัจจุบัน ประเทศไทย ตรวจพบบ่อยครั้งว่า มีการใช้ฟอร์มาลีนแช่ผักปลา และเนื้อสัตว์บางอย่างก่อนนำมาขายเพื่อให้มีความสดและไม่เน่าเสียเร็ว เพราะด้วยความไม่รู้ถึงอันตรายของสารชนิดนี้นอกจากนี้ยังนำฟอร์มาลีนมาใช้กับผักหลายชนิด แทนการใช้สารฆ่าแมลง โดยเฉพาะผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว แตงกวา หน่อไม้ ยอดมะพร้าว และอื่นๆ โดยอ้างว่าใช้ฆ่าแมลงบนผักได้ดีและยังทำให้ผักสดอยู่ได้นานอีกทั้งราคายังถูกกว่าสารฆ่าแมลงชนิดอื่นด้วย นอกจากการปนเปื้อนฟอร์มาลีนจะมาจากการฉีดพ่นผักเพื่อฆ่าแมลงแล้ว บางครั้งฟอร์มาลีนอาจมาจากปุ๋ยก็ได้

ฟอร์มาลีนในอาหารส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย
เมื่อเราทานอาหารที่มีส่วนผสมของฟอร์มาลีนเข้าไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณ ซึ่งจริงๆ แค่เราได้กลิ่นก็จะมีอาการฉุน แสบคอ เกิดอาการผิดปกติต่อระบบทางเดินหายใจได้แล้ว บางคนทานเข้าไปจนเกิดอาเจียน เสียเลือดมากจนถึงขั้นเสียชีวิตก็มี เพราะทางเดินอาหารเกิดการไหม้จากสารฟอร์มาลีนที่มีความเป็นกรด หรือเมื่อได้รับในปริมาณที่เข้มข้นก็จะทำให้เลือดเป็นกรด เกิดภาวะช็อก ความดันตก และตามมาด้วยการเสียชีวิต แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหากจะเกิดอาการรุนแรงอย่างที่ว่านี้ได้ มักจะมาจากเหตุจงใจหรือการทำร้ายตัวเองมากกว่า

วิธีสังเกตในการเลือกซื้ออาหารสด หรือตรวจสอบว่ามีสารฟอร์มาลีนหรือไม่
อ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า ให้เราดูว่าร้านอาหารนั้นๆ มีกลิ่นฉุนของสารเคมีแปลกๆ หรือเปล่า ตัวอย่างเช่น หากเนื้อกุ้งมีทั้งส่วนที่แข็งสด และมีส่วนที่เปื่อยยุ่ยในตัวเดียวกัน แสดงว่าต้องมีการแช่ฟอร์มาลีนมาอย่างแน่นอนให้หลีกเลี่ยงในการซื้อมาบริโภค เพราะหากเป็นอาหารสดต้องสดเสมอกัน ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเปื่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแข็งสด

ส่วนใหญ่ ฟอร์มาลีน จะนิยมใส่ในอาหารทะเลสดทั่วไป โดยเฉพาะปลาหมึก และแมงกะพรุน รวมถึงอาหารทะเลประเภทอื่น ๆ เช่น ปลาหมึกกรอบ สไบนาง และเล็บมือนาง เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้มีการเน่าเสียง่าย ผักก็มีอยู่บ้างแต่นานๆ เราจะเจอสักทีหนึ่ง และอีกวิธีคือใช้ชุดตรวจสารฟอร์มาลีนในอาหาร เมื่อทำครบตามขั้นตอนผลที่ได้ คือ น้ำจะมีสีชมพูแดง แสดงว่าอาหารนั้นมีสารฟอร์มาลีน ก็จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงอาหารสดที่มีสารอันตรายเหล่านีได้อีกทางหนึ่ง เพราะฉะนั้น SGE ขอแนะนำให้ทุกคนตรวจดูก่อนซื้ออาหารทะเลทุกครั้งนะคะ

ฟอร์มาลีน มีประโยชน์อะไรบ้าง
จากการศึกษาข้อมูลเพจมหาลัยมหิดลคณะแพทยศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า สาร ฟอร์มาลีน จะมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์เท่านั้น ห้ามนำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพอาหาร ฟอร์มาลีนในทางการแพทย์นั้นใช้ในการดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย ใช้เป็นยาดับกลิ่นฆ่าเชื้อโรคเพราะทำให้โปรตีนแข็งตัว ทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอจะใช้เป็นน้ำยาอาบผ้าไม่ให้ย่น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคและเชื้อราในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการ เก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลง แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารในกลุ่มอัลดีไฮด์โดยปกติอยู่ในรูปก๊าซเนื่องจากเป็นสารรีดิวซ์ที่รุนแรงจึงเตรียมให้อยู่ในรูป ของสารละลายฟอร์มาลีน ปัจจุบันมีการนำสารนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งด้านการแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม ด้าน ความงาม ด้านการเกษตร และด้านอื่น ๆ ทำให้มีการเจือปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา

บทลงโทษสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้สารฟอร์มาลีนในอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขขอแจ้งว่า ฟอร์มาลีนสามารถเกิดในสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติอยู่แล้วในปริมาณหนึ่ง ซึ่งเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุความแตกต่างระหว่างฟอร์มาลินที่เกิดตามธรรมชาติ และที่ตั้งใจเติมลงไปในอาหารเพื่อหวังผลในด้านการเก็บรักษาได้ ดังนั้นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 กำหนดให้สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร ผู้ใช้สารนี้กับอาหาร หรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ และถ้าตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20_000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าการใช้สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์หรือฟอร์มาลินในอาหารไม่เพียงแต่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ยังมีโทษตามกฎหมายด้วย

เป็นอย่างไรบ้างคะ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐฯ อาจจะยังครอบคลุมได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับสารพิษในอาหารทะเลก็คงยังดำเนินต่อไป เพราะฉะนั้นการรู้จักระมัดระวังเลือกบริโภค เลือกซื้อเพื่อสุขภาพของตนเองในระยะยาวกันนะคะ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..

ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน อาหารทะเล ตรวจสารฟอร์มาลินในอาหารทะเล ตรวจอาหารทะเลเพื่อขอ อย. ตรวจสินค้าประมง



ปุ๋ย ยาปราบฯ ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ | เจดีเซ็นทรัล

ยาปราบฯ หมวดจุลินทรีย์ยอดนิยม (โรงงานจำหน่ายโดยตรง ผ่านทาง ลาซาด้า และ ช้อปปี้ เท่านั้น)

TRX
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ |
TRX
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ |
TRX
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้ |





โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ติดตามสินค้าที่คุณสั่ง
คุณ มนัสนันท์ เมฆขุนทด, Monday 27 March 2023 15:45:21, เลขจัดส่ง J&T EXPRESS
คุณ ประสงค์ เบี้ยวทุ่งน้อย, Monday 27 March 2023 14:24:58, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ สมจิตต์ ใจรัตน์, Monday 27 March 2023 14:23:10, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ Tonette, Monday 27 March 2023 14:09:34, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ศิวานนท์ คงทน, Monday 27 March 2023 14:07:39, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ศิวานนท์ คงทน, Monday 27 March 2023 14:05:14, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ สัญญา เพ็ชรอ่อน, Monday 27 March 2023 14:03:59, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ สัญญา เพ็ชรอ่อน, Monday 27 March 2023 14:02:38, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ศุภสุดา รถทิพย์, Monday 27 March 2023 14:00:31, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ เล็ด ภูกองชัย, Monday 27 March 2023 13:58:38, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
ดูรายการจัดส่งทั้งหมด
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุด ใน ถั่วฝักยาว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/11 11:55:24 - Views: 2436
การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
Update: 2563/11/12 09:26:17 - Views: 2444
ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ ..ทานตะวัน..
Update: 2565/11/14 12:51:38 - Views: 2435
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่าต้นเน่า ในสับปะรด ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/24 13:45:28 - Views: 2436
กำจัดเชื้อรา สตอเบอร์รี่ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/26 11:07:10 - Views: 2439
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนชอบใบ ใน มะนาว และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:10:02 - Views: 67
ผักบุ้งในทุกระยะการเจริญเติบโต ระวังโรคราสนิมขาว(เชื้อรา ALBUGO IPOMOEA-PANDURATAE)
Update: 2564/09/09 05:42:27 - Views: 2448
โรคราน้ำค้างแตงโม
Update: 2564/08/21 21:51:25 - Views: 2540
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ใน ต้นหอม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/12 10:07:31 - Views: 2447
ที่สุดของ ปุ๋ยเร่งผลมะนาว ปุ๋ยมะนาว เพิ่มขนาด-น้ำหนัก สำหรับพืชออกผลทุกชนิด โพแทสเซียม มากถึง 40% ผลโต น้ำหนักดี โปรดอ่านวิธีใช้
Update: 2565/02/13 20:20:12 - Views: 2433
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในมะกอก และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/17 11:01:33 - Views: 2444
แอปเปิ้ล ช่อดอกแห้ง ผลร่วง กำจัดโรคแอปเปิ้ล จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/11 10:09:42 - Views: 2442
FK Park เวลาสองทุ่ม จับภาพตอนฟ้าฝ่าลงที่ไกลๆ
Update: 2563/05/25 13:05:48 - Views: 2432
การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
Update: 2563/06/12 10:28:31 - Views: 2514
โรคใบด่างถั่วเขียว
Update: 2564/08/12 00:14:45 - Views: 2513
มะกอก ใบจุด ใบร่วง กำจัดโรคมะกอก จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/06 09:49:46 - Views: 2458
เร่งการเจริญเติบโตข้าวโพดด้วยปุ๋ยตรา FK ประสิทธิภาพสูง
Update: 2566/01/02 11:53:46 - Views: 2430
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
Update: 2565/08/23 05:37:11 - Views: 2443
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า ในส้ม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/05 14:38:10 - Views: 2434
ไม้ด่าง พันธุ์ไม้ด่าง ใบไหม้ ใบจุด ราสนิม โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/09/13 23:05:05 - Views: 2442
© FarmKaset.ORG | อนุญาโตตุลาการ | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022