[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - มันสำปะหลัง
177 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 17 หน้า, หน้าที่ 18 มี 7 รายการ

มันสำปะหลัง รากเน่า โคนเน่า ใบไหม้ กำจัดโรคมันสำปะหลัง จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
มันสำปะหลัง รากเน่า โคนเน่า ใบไหม้ กำจัดโรคมันสำปะหลัง จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรคหัวเน่าเละจากเชื้อรา ทำให้ต้นเหี่ยวเฉา ใบล่าง ๆ มีสีเหลือง และเหี่ยวแห้งหลุดร่วงลงมา ส่วนใบยอดมีขนาดเล็ก ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต เมื่อขุดรากดูพบรากเน่าเละสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น โรคหัวเน่าแห้ง เกิดจากเชื้อเห็ดรา ที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม ซึ่งอาจพบบริเวณโคนต้นด้วย

โรคหัวเน่าแห้งจากเชื้อเห็ดรา อาการที่พบที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี้โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวม ทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมาแต่มีขนาดเล็ก

โรคหัวเน่าดำจากเชื้อรา จะมีลักษณะหัวเน่าสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เนื่อง จากเป็นสีที่เกิดจากเส้นใยของเชื้อรา หรือส่วนขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของเชื้อรา และ 4. โรคเน่าคอดินจากเชื้อรา ซึ่งมักจะพบอาการในช่วงต้นกล้า ลักษณะต้นมันสำปะหลัง จะเหี่ยวเฉาตายและมีเม็ดผักกาดพร้อมกับเส้นใยสีขาวปกคลุมส่วนของโคนต้นที่ติดอยู่กับผิวดิน

มันสำปะหลังใบไหม้ ใบเป็นจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ ใบเหี่ยว ยางไหล จนถึงอาการยอดเหี่ยวและแห้งตาย นอกจากนี้ยังทำให้ระบบท่อน้ำ ท่ออาหารของลำต้นมีสีน้ำตาลดำและรากเน่า

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย 'การควบคุมประจุไฟฟ้า' สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link..ละช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
กำจัดเชื้อรา มันสำปะหลัง ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
กำจัดเชื้อรา มันสำปะหลัง ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรคหัวเน่าเละจากเชื้อรา ทำให้ต้นเหี่ยวเฉา ใบล่าง ๆ มีสีเหลือง และเหี่ยวแห้งหลุดร่วงลงมา ส่วนใบยอดมีขนาดเล็ก ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต เมื่อขุดรากดูพบรากเน่าเละสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น โรคหัวเน่าแห้ง เกิดจากเชื้อเห็ดรา ที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม ซึ่งอาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี้โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวม ทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมา แต่มีขนาดเล็ก
โรคหัวเน่าแห้งจากเชื้อเห็ดรา อาการที่พบที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี้โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวม ทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมาแต่มีขนาดเล็ก
โรคหัวเน่าดำจากเชื้อรา จะมีลักษณะหัวเน่าสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เนื่อง จากเป็นสีที่เกิดจากเส้นใยของเชื้อรา หรือส่วนขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของเชื้อรา
โรคเน่าคอดินจากเชื้อรา ซึ่งมักจะพบอาการในช่วงต้นกล้า ลักษณะต้นมันสำปะหลัง จะเหี่ยวเฉาตายและมีเม็ดผักกาดพร้อมกับเส้นใยสีขาวปกคลุมส่วนของโคนต้นที่ติดอยู่กับผิวดิน

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย 'การควบคุมประจุไฟฟ้า' สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พี่น้องเกษตรกรหลายคน น่าจะเคยสงสัยว่าเราปลูกพืชชนิดเดิมๆ มานาน อยากเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง แล้วเราจะปลูกอะไรดี หรือเกษตรมือใหม่ทีอยากจะปลูกพืช แต่ไม่รู้ว่าพื้นที่ๆ เราอยู่ควรปลูกพืชอะไรดี

เพื่อให้ง่ายกับการวางแผนการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นเก๋า เกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรมือใหม่ มาดูกันว่าในแต่ละภูมิภาคที่เราอยู่ปลูกพืชชนิดไหนได้บ้าง

ภาคกลาง - ภูมิภาคแห่งการปลูกข้าว

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคกลาง มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

ข้าวโพด

ผัก

ภาคกลางนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแหล่งน้ำเพียงพอ การเลือกปลูกพืชสำหรับภาคกลางจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากให้เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นข้าว ในประเทศไทยนั้นมีพื้นที่กว่า 32 ล้านไร่ที่เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว นอกเหนือจากนั้นยังเหมาะกับการปลูกอ้อยและข้าวโพดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย สิ่งที่เกษตรกรพึงระวังคือเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากมีสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก ทำให้เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมมากที่สุด การวางแผนทำการเกษตรในภาคกลางจึงควรคำนึงถึงเรื่องนี้เพื่อป้องกันการเสียหายจากน้ำท่วมในอนาคต

ภาคเหนือ - สูงและเย็น คือคำนิยาม

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคเหนือ มีดังนี้

ข้าว

ลำไย

ลิ้นจี่

ส้ม

สตรอเบอรี่

บ๊วย

พลับ

กีวี่

พีช

เสาวรส

ผักเมืองหนาว

ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยภูเขา แต่ก็ยังเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวได้อย่างดี โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้ภาคเหนือมีความพิเศษคือสภาพอากาศหนาวเย็น เปิดโอกาสให้เกษตรกรภาคเหนือได้ปลูกพืชเมืองหนาว ซึ่งหาไม่ได้จากเมืองร้อนอย่างไทย เช่นสตรอเบอรี่ บ๊วย พลับ กีวี่ พีช เสาวรส และผักเมืองหนาว เป็นต้น

ถึงอย่างนั้น หากเป็นภาคเหนือบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง อาจต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำ เพราะหลายพื้นที่ก็อาจขาดแคลนน้ำได้ รวมถึงต้องระวังการปลูกพืชที่ไม่ชอบอากาศหนาวอีกด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - แดนดินเค็มและแห้งแล้ง

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

มะพร้าว

ลำไย

ถือเป็นภาคที่ขึ้นชื่อเรื่องสภาพพื้นที่อันโหดร้าย เพราะความแล้งจัดและความเค็มของดินจึงทำให้ยากต่อการเลือกปลูกพืชสำหรับภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้กลับเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวคุณภาพดีชั้นหนึ่งของไทยอย่างข้าวหอมมะลิ การปลูกพืชในภาคอีสานต้องมีการปรับปรุงดินและบริหารจัดการน้ำที่ดี เพราะเสี่ยงภัยแล้งจัดและดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่องข้างต่ำกว่าที่อื่น นอกเหนือจากข้าวแล้วยังมีอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด มะพร้าว และลำไย ซึ่งพืชเหล่านี้ถือว่ามีความเหมาะสมระดับปานกลางที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การแก้ปัญหาดินเค็มนั้นใช้ต้นทุนค่อนข้างสูงและยาก ยิ่งสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อาจจะยิ่งซ้ำปัญหาดินเค็มมากกว่าเดิม แต่เกษตรกรสามารถทดลองปลูกพืชทนเค็ม จำพวกพุทรา มะขาม หน่อไม้ฝรั่ง ละมุด เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งได้ หรือหากอยู่ในภาคอีสานตอนบนที่ค่อนข้างสูงและเย็น ก็สามารถทดลองปลูกไม้เมืองหนาวได้เช่นกัน

ภาคตะวันออก - แดนทุเรียน ถิ่นไม้ผล

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออก มีดังนี้

ทุเรียน

มังคุด

ลำไย

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

ยางพารา

หากพูดถึงภาคตะวันออก หนึ่งในจังหวัดที่นิยมปลูกไม้ผลที่สุดคงไม่พ้นจังหวัดจันทบุรีและระยอง ที่มีชื่อเสียงจากทุเรียน เนื่องจากเป็นภาคที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุก ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลเป็นอย่างยิ่ง แต่นอกเหนือจากทุเรียนแล้ว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด และยางพาราก็เหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกเช่นกัน

แม้จะเป็นพื้นที่เหมาะกับการปลูกไม้ผล แต่เพราะสภาพอากาศฝนตกชุกของภาคตะวันออก เกษตรกรควรระวังโรคที่มากับฝนและความชื้น เช่น โรคไฟทอปธอร่าในทุเรียน ที่มักจะระบาดหนักจากความชื้นในดิน ดังนั้นภูมิภาคนี้ต้องการความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ไม่แพ้ภาคอื่นๆเลยทีเดียว

ภาคใต้ - พื้นที่มากฝนและพายุ จุดศูนย์รวมปาล์มน้ำมันและยางพารา

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคใต้ มีดังนี้

ทุเรียน

ปาล์มน้ำมัน

ยางพารา

เงาะ

กาแฟโรบัสต้า

ด้วยสภาพพื้นที่ยื่นออกไปในทะเลอันดามันและอ่าวไทย ภาคใต้จึงเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งสภาพอากาศโดยรวมคือร้อนชื้น คล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเป็นอย่างมาก จึงทำให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลและพืชไร่หลายชนิด แต่หนึ่งในพืชที่เหมาะสมโดดเด่นที่สุดในภาคใต้คงหนีไม่พ้นปาล์มน้ำมัน ยางพารา และเงาะ ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงนราธิวาส ทว่านอกเหนือจากพืชสองชนิดนี้แล้ว กาแฟโรบัสต้าเองก็มีความเหมาะสมปานกลางที่จะปลูกในภาคใต้อีกด้วย

ข้อควรระวังของภาคใต้ คือฝนตกชุกที่อาจนำพาโรคมา รวมไปถึงพายุที่อาจทำให้สวนของเกษตรกรเสียหายได้ ดังนั้นจึงควรระวังและป้องกันพืชผลไม่ให้ถูกทำลายจากพายุให้ดี

นอกเหนือจากข้อมูลเหล่านี้แล้ว สิ่งที่เกษตรกรควรคำนึงถึงก่อนเลือกปลูกพืชในแต่ละภูมิภาค คือสภาพดินในไร่สวนของตนเอง เกษตรกรควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินโดยสามารถส่งตรวจกับสำนักงานพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของตนเอง จากนั้นจึงนำผลมาใช้ในการปรับปรุงดินให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกพืชต่อไป การปลูกพืชนอกเหนือไปจากพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการจัดการที่มากขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมตามธรรมชาติ และต้องคำนึงถึงช่องทางการขายและการขนส่งผลผลิตไปยังโรงงานแปรรูปหรือผู้รับซื้ออีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก : Kaset Go

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:2985
ประเทศไทย ปลูกพืชอะไรมากที่สุด?
ประเทศไทย ปลูกพืชอะไรมากที่สุด?
เกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศไทย ที่เป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีการปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมีพืชหลายชนิดที่เป็นพืชนิมปลูกในพื้นที่ต่างๆ โดยแบ่งตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การปลูกพืช ภูมิอากาศ พืชที่นิยมปลูกในแต่ละภูมิภาคอาจแบ่งได้ดังนี้

1. พืชนิยมปลูกภาคเหนือของประเทศไทย

ที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูงมีการปลูกพืชระบบหมุนเวียนตามฤดูกาล ปัจจุบันการผลิตข้าวนาขั้นบันไดเป็นระบบการเกษตรที่ยั่งยืนบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบน และสามารถสร้างผลผลิตสูงกว่าการปลูกข้าวไร่ โดยจะมีการปลูกข้าวอยู่ในระดับปานกลาง เพียงร้อยละ 10.3 ของพื้นที่การปลูกข้าวบนที่สูง การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นระบบการปลูกพืชที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในช่วงเวลาหนึ่งลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคและแมลงและเป็นรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรได้ และมีการปลูก ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพด ฝ้าย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด และอื่นๆ รวมถึงผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง เป็นต้น การปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ จึงทำให้มีความหลากหลายของพืชพรรณต่างๆ ด้วยพื้นที่ชลประทาน 10% ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรจึงนิยมปลูก โดยจะการปลูกข้าวที่ใช้ปลูกในฤดูแล้ง หรือ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว ยาสูบ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน หอมหัวใหญ่ กระเทียม มะเขือเทศ แตงโม เป็นต้น ดังนั้นการปลูกพืชโดยทั่วไปในพื้นที่นี้จึงเป็นการปลูกข้าวและการปลูกไม้ผลเป็นหลัก

2.พืชนิยมปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ภาคอีสาน)

การเพาะปลูก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำการเพาะปลูกมากที่สุด แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำสุด เนื่องจากดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น การปลูกข้าว พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ปอ ฝ้าย โดยพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.เกิดปัญหาดินเค็ม ขาดความอุดมสมบูรณ์ 2.ขาดแคลนน้ำมากที่สุด เนื่องจากดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ 3.การบุกรุกป่าไม้ของประชากรเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการเพาะปลูก หรือเพื่อการค้า ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช และทำนา ดังนั้นไร่เทพจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยปรับปรุงดิน ทำให้โครงสร้างของดินดี ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก รากพืชแผ่ขยายได้ง่าย ผสมน้ำราดโคนต้น จะช่วยปรับสภาพดินเหนียวให้คลายตัวออก สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดินให้พืชกลับนำมาใช้ใหม่ได้ใหม่อย่างเต็มที่ในดินทรายจะช่วยอุ้มน้ำ รักษาความเป็นกรด ด่าง ไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ

3. พืชนิยมปลูกภาคกลางของประเทศไทย

รูปแบบการทำเกษตรกรรมในภาคกลางเป็นทำการเกษตรกรรมแบบผสมผสานคือมีการปลูกพืชและเลี้ยงปศุสัตว์ควบคู่กัน สามารถปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าว (โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง) พืชไร่ พืชผักมากกว่า 1 ครั้งในรอบปี โดยจังหวัดที่มีความถี่ของการใช้พื้นที่เพื่อเพาะปลูก ค่อนข้างสูง สำหรับกลุ่มพืชไร่ที่เพาะปลูกในภาคกลางที่สำคัญประกอบด้วย ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ทานตะวัน และข้าวฟ่าง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทั้งภาค ดังนี้ อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรด และข้าวฟ่าง

4.พืชนิยมปลูกภาคใต้ของประเทศไทย

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคใต้ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ข้าวและไม้ผล ต่าง ๆ แม้ว่าข้าวจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอสำหรับบริโภค ส่วนพืชไร่และพืชผัก ต่าง ๆ มีปลูกกันน้อย เช่นเดียวกันกับการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ ก็ยังมีเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดการถือครองพื้นที่การเกษตร อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นที่ที่น่าจับตามองว่าจะเป็นแหล่งที่จะพัฒนาการเลี้ยงโคได้ดี เนื่องจากมีศักยภาพทางด้านพื้นที่และความพร้อมของประชากร หากได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยการผลิต เงินทุน อัตรา ดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระหนี้นานจากรัฐบาล น่าจะทำให้การพัฒนาการเลี้ยงโค-กระบือในภาคใต้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความต้องการโค-กระบือของตลาดทั้งภายในประเทศและนอกประเทศยังอยู่ในระดับสูง

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3307
ดินมีปัญหา ไม่เหมาะกับการเพาะปลูก รู้ปัญหา แก้ได้ ตรวจดินกับ iLab
ดินมีปัญหา ไม่เหมาะกับการเพาะปลูก รู้ปัญหา แก้ได้ ตรวจดินกับ iLab
ดินที่มีปัญหาทางด้านการเกษตร หมายถึง ดินที่มีสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสม หรือเหมาะสมน้อยสำหรับการเพาะปลูก ทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้

ส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินอินทรีย์. ดินปนกรวด และดินตื้น นอกจากนี้ยังรวมถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ซึ่งถ้ามีการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรแล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง หากว่าจะใช้ดินเหล่านี้ในการปลูกพืชแล้ว จำเป็นต้องมีการจัดการเพื่อแก้ไขสภาพของดินให้เหมาะสมก่อนการปลูกพืชตามวิธีการปกติเสียก่อน
ดินที่มีปัญหาประเภทต่างๆ ที่พบในประเทศไทย

1.ดินเปรี้ยวจัด

ดินเปรี้ยวจัด หมายถึง ดินที่มีสภาพความเป็นกรดสูงมาก เนื่องจากอาจจะมี กำลังมี หรือได้เคยมีกรดกำมะถันซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิดดินชนิดนี้อยู่ในหน้าตัดของดิน และปริมาณของกรดกำมะถันที่เกิดขึ้นนั้น มีมากพอที่จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน และการเจริญเติบโตของพืชในบริเวณนั้น

การเกิดดินเปรี้ยวจัด..

เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการกำเนิดของดิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับตะกอนน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ทำให้เกิดการสะสมสารประกอบกำมะถันขึ้นในดิน ซึ่งเมื่อดินแห้ง สารประกอบกำมะถันเหล่านี้จะแปรสภาพทำให้เกิดกรดกำมะถันขึ้นในดิน ทำให้ดินเป็นกรดสูงมากจนมีผลกระทบต่อพืชที่ปลูก โดยทั่วไปจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4.0 และมักจะพบจุดประสีเหลืองฟางข้าว ของสารจาโรไซต์ (jarosite) ในชั้นดินล่าง

แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามระดับความลึกของจุดประสีเหลืองฟางข้าวที่พบ ได้แก่

1.ดินเปรี้ยวจัดระดับตื้น พบจาโรไซต์ภายใน 50 ซม. จากผิวดิน

2. ดินเปรี้ยวจัดระดับลึกปานกลาง พบจาโรไซต์ภายในช่วง 50-100 ซม. จากผิวดิน

3. ดินเปรี้ยวจัดระดับลึก พบจาโรไซต์ที่ระดับความลึกมากกว่า 100 ซม.จากผิวดิน

ปัญหาที่เกิดจากดินเปรี้ยวจัด

การที่ดินมีความเป็นกรดสูงเกินไปทำให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส นอกจากนี้สภาพที่เป็นกรดสูงยังทำให้ธาตุเหล็กและอะลูมินัมละลายออกมาอยู่ในดินมากจนถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืชที่ปลูก

การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด มีหลายวิธี สำหรับดินที่มีปฏิกิริยาของดินเป็นกรดไม่รุนแรง อาจใช้วิธีการทำให้กรดเจือจางลง โดยการใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดในดิน หรือการขังน้ำไว้นานๆ แล้วระบายออกก่อนปลูกพืช ร่วมกับการเลือกพันธุ์พืชที่ทนต่อดินกรด สำหรับการจัดการดินที่มีปฏิกิริยาของดินเป็นกรดรุนแรงมาก จะใช้วิธีการใส่วัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล ปูนขาว หินปูนบด หินปูนฝุ่น ผสมคลุกเคล้ากับหน้าดินในอัตราที่เหมาะสมตามความต้องการปูนของดิน เพื่อช่วยลดความเป็นกรดในดิน หรือใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดรุนแรงมากและถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นเวลานาน

2.ดินอินทรีย์...

ดินอินทรีย์ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ดินพรุ” หมายถึง ดินที่เกิดจากการสะสมเศษซากอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวเน่าเปื่อยของพืชพรรณไม้ตามธรรมชาติ ที่ขึ้นอยู่ในแอ่งที่ลุ่มต่ำมีน้ำแช่ขังเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสมเป็นชั้นดินอินทรีย์ที่หนากว่า 40 ซม

ดินอินทรีย์ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง บริเวณชายฝั่งทะเลที่เคยมีน้ำขึ้นลงท่วมถึง จนเกิดเป็นแอ่งต่ำปิด ที่น้ำทะเลไม่สามารถเข้าถึงได้อีก เนื่องจากมีสันทรายปิดกั้นไว้ ต่อมานานวันเข้าน้ำทะเลที่แช่ขังอยู่จึงค่อยๆ จืดลงและมีพืชพวกหญ้าหรือกกงอกขึ้นมา เมื่อพืชเหล่านี้ตายทับถมกันจนพื้นที่ตื้นเขินขึ้น ต้นไม้เล็กใหญ่จึงขึ้นมาแทนที่ เกิดเป็นป่าชนิดที่เรียกว่า “ป่าพรุ” ต่อมาต้นไม้ใหญ่น้อยล้มตายลงตามอายุทับถมลงในแอ่งน้ำขัง ที่อัตราการย่อยสลายของเศษซากพืชเกิดขึ้นได้อย่างช้าๆ จึงเกิดการทับถมอินทรียสารเกิดเป็นชั้นดินอินทรีย์ที่หนาขึ้นเรื่อยๆ

ลักษณะของดินอินทรีย์

สีดินเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มหรือน้ำตาลแดงคล้ำ องค์ประกอบของดินส่วนใหญ่เป็นอินทรียวัตถุทั้งที่ย่อยสลายแล้ว และบางส่วนที่ยังคงสภาพเป็นเศษชิ้นส่วนของพืช เช่น กิ่ง ก้าน ลำต้น หรือราก ที่มีการสะสมเป็นชั้นหนามากกว่า 40 ซม. ขึ้นไป ดินตอนล่างถัดจากชั้นดินอินทรีย์ลงไป จะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินซึ่งเป็นตะกอนน้ำทะเล ซึ่งบางแห่งอาจมีการสะสมสารประกอบกำมะถันที่จะเกิดเป็นดินเปรี้ยวจัด เมื่อมีการระบายน้ำออกจากพื้นที่จนดินอยู่ในสภาพที่แห้งด้วย

ปัญหาของดินอินทรีย์

เป็นดินที่มีชิ้นส่วนของพืชเป็นองค์ประกอบมาก พื้นที่มักจะี่มีน้ำขัง หากระบายน้ำออกจนแห้ง ดินจะยุบตัวมาก มีน้ำหนักเบา ติดไฟง่าย และต้นพืชที่ปลูกไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ นอกจากนี้ในบริเวณที่มีดินที่มีศักยภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดอยู่ตอนล่าง หลังจากมีการระบายน้ำออก ดินจะกลายเป็นดินกรดจัดรุนแรงด้วย

การปรับปรุงแก้ไข

เลือกพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำจืดบริเวณขอบพรุ และมีชั้นวัสดุอินทรีย์หนาน้อยกว่า 100 ซม.จากผิวดิน

มีแนวป้องกันน้ำท่วมร่วมกับคลองระบายน้ำ และคลองส่งน้ำในระบบ ที่สามารถป้องกันอันตรายจากน้ำท่วมได้ เพื่อใช้ปลูกข้าว โดยเลือกปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง หรือพันธุ์ที่ทนต่อสภาพความเป็นกรดของดิน

ในบริเวณที่ปลูกพืชไร่ ควรมีแนวป้องกันน้ำท่วม และคูระบายน้ำ มีการควบคุมระดับใต้ดินให้คงที่ เพื่อป้องกันการเกิดกรดของดินเพิ่มขึ้น หากดินเป็นกรดจัดมาก ปรับสภาพความเป็นกรดในดิน และเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร โดยไถคลุกเคล้าวัสดุปูน หินปูนฝุ่นอัตรา 2.5-3.0 ตัน/ไร่ ให้ทั่วบนสันร่อง และหว่านในร่องคูน้ำ

3.ดินเค็ม

ดินเค็ม หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป จนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลิตผลของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไป นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืชด้วย

ดินเค็มที่พบในประเทศไทย สามารถจำแนกตามลักษณะการเกิดและสัณฐานภูมิประเทศ ได้ 2 ประเภท คือ

1.ดินเค็มชายฝั่งทะเล

มักพบบริเวณตามแนวชายฝั่งทะเล ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมถึง หรือเคยเป็นพื้นที่ๆมีน้ำทะเลท่วมมาก่อน โดยพบมากที่สุดตามแนวฝั่งชายทะเลในภาคใต้ เกิดจากการได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเล และทำให้เกิดการสะสมเกลือในดิน

2.ดินเค็มบก พบบริเวณในแอ่งที่ลุ่มหรือตามเชิงเนิน ที่เป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่น โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่บริเวณขอบเขตแอ่งโคราช หรือที่แอ่งสกลนคร และพบบ้างในภาคกลางแถบจังหวัดเพชรบุรี

ปัญหาของดินเค็ม

ปลูกพืชไม่ได้ผลหรือผลผลิตลดลงและมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากมีปริมาณเกลือที่ละลายได้ในน้ำมากเกินไป จนเป็นอันตรายต่อพืช พืชเกิดอาการขาดน้ำ และได้รับพิษจากธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมา

การปรับปรุงแก้ไข

1. การจัดการดินเค็มชายทะเล อาจทำได้ 2 ลักษณะใหญ่ คือ การจัดการให้เหมาะกับสภาพธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น การปลูกป่าชายเลน การทำนาเกลือ หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการดัดแปลงสภาพธรรมชาติ เช่น การสร้างเขื่อนปิดกั้นน้ำทะเล เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่ปลูกถาวร และการยกเป็นร่องสวนเพื่อปลูกไม้ทนเค็ม เป็นต้น

2. การจัดการดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน เช่น การใช้พืชทนเค็ม การไถกลบพืชปุ๋ยสด ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใส่วัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน หรือการปลูกข้าวโดยใช้ต้นกล้าที่อายุมากกว่าปกติ และปักดำด้วยจำนวนต้นมากกว่าปกติ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องระมัดระวังในการทำกิจกรรมบางอย่างที่ จะมีผลกระทบต่อการที่จะทำให้เกลือแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นได้ เช่น การทำเหมืองเกลือขนาดใหญ่ การตัดไม้ทำลายป่า หรือการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ที่มีแหล่งสะสมเกลือ

4.ดินทรายจัด

ดินทรายจัด หมายถึง ดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทราย หรือดินทรายปนร่วน มีอนุภาคขนาดทรายเป็นองค์ประกอบมากกว่าร้อยละ 85 มีความหนามากกว่า 50 เซนติเมตร

ดินมีการระบายน้ำดีจนถึงดีเกินไป ไม่อุ้มน้ำ ทำให้ดินเก็บน้ำไว้ไม่อยู่ และเกิดการกร่อนได้ง่าย มักเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นตะกอนเนื้อหยาบ หรือตะกอนทรายชายฝั่งทะเล พบได้ทั้งในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน

ดินทรายในพื้นที่ดอน

พบตามบริเวณหาดทราย สันทรายชายทะเล หรือบริเวณพื้นที่ลาดถึงที่ลาดเชิงเขา เนื้อดินเป็นทรายตลอด มีการระบายน้ำดีมากจนถึงดีมากเกินไป ดินไม่อุ้มน้ำ และเกิดการชะล้างพังทะลายได้ง่ายเนื่องจากอนุภาคดินมีการเกาะตัวกันน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด

ดินทรายในพื้นที่ลุ่ม

มักพบตามที่ลุ่มระหว่างสันหาด หรือเนินทรายชายฝั่งทะเล หรือบริเวณที่ราบที่อยู่ใกล้ภูเขาหินทราย ดินมีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ทำให้ดินแฉะหรือมีน้ำขังเป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้ หลังจากที่มีฝนตกหนัก บางแห่งใช้ทำนา บางแห่งใช้ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย และปอ บางแห่งเป็นทืทิ้งร้าง หรือเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ

นอกจากนี้ในบางพื้นที่ บริเวณหาดทรายเก่า หรือบริเวณสันทรายชายทะเล โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ อาจพบดินทรายที่มีชั้นดินดานอินทรีย์ ซึ่งเป็นดินทรายที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ ช่วงชั้นดินตอนบนจะเป็นทรายสีขาว แต่เมื่อขุดลึกลงมา จะพบชั้นทรายสีน้ำตาลปนแดงที่เกิดจากการจับตัวกัน ของสารประกอบพวกเหล็ก และอินทรียวัตถุอัดแน่นเป็นชั้นดานในตอนล่าง ซึ่งในช่วงฤดูแล้งชั้นดานในดินนี้ จะแห้งแข็งมากจนรากพืชไม่อาจชอนไชผ่านไปได้ ส่วนในฤดูฝนดินจะเปียกแฉะ ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ป่าเสม็ด ป่าชายหาด ป่าละเมาะ หรือบางแห่งใช้ปลูกมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์

ปัญหาดินทราย

ดินระบายน้ำดีเกินไป อุ้มน้ำได้น้อย มีความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหารต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก มีธาตุอาหารน้อย เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย

การปรับปรุงแก้ไข

ปรับปรุงบำรุงดินดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการใช้ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปลูกพชปุ๋ยสดแล้วไถกลบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน และปริมาณธาตุอาหารให้เพียงพอแก่ความต้องการของพืช และควรจะต้องมีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างเหมาะสม

5.ดินตื้น

ดินตี้น หมายถึง ดินที่มีชั้นลูกรัง ก้อนกรวด เศษหิน ปะปนอยู่ในเนื้อดิน หรือมีชั้นหินปูนมาร์ล หรือพบชั้นหินพื้น อยู่ตื้นกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน เนื้อดินจะมีปริมาณชิ้นส่วนหยาบ กรวด หรือลูกรังปนอยู่ มากกว่าร้อยละ 35 ทำให้มีปริมาตรของดินน้อย ดินจึงอุ้มน้ำได้น้อย มักขาดแคลนน้ำในฤดูฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตต่ำ

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1) ดินตื้นที่มีการระบายน้ำเลว พบในบริเวณที่ราบต่ำที่มีน้ำขังในช่วงฤดูฝน แสดงว่าดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลว ขุดลงไปจากผิวดินที่ระดับความลึก 25-50 เซนติเมตร มีกรวดหรือลูกรังปนอยู่ในเนื้อดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นโดยปริมาตร ถ้าขุดลึกลงมาถัดไปจะเป็นชั้นดินที่มีศิลาแลงอ่อนปนทับอยู่บนชั้นหินผุ

2) ดินตื้นปนลูกรังหรือกรวดที่มีการระบายน้ำดี พบตามพื้นที่ลอนลาดหรือเนินเขา ตั้งแต่บริเวณผิวดินลงไปมีลูกรังหรือหินกรวดมนปะปนอยู่ในดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร และดินประเภทนี้บางแห่งก็มีก้อนลูกรังหรือศิลาแดงโผล่กระจัดกระจายทั่วไปที่บริเวณผิวดิน

3) ดินตื้นปนหินมีการระบายน้ำดี พบตามพื้นที่ลอนลาดหรือบริเวณเนินภูเขา ดินประเภทนี้เมื่อขุดลงไปที่ความลึกประมาณ 30- 50 เซนติเมตร จะพบเศษหินแตกชิ้นน้อยใหญ่ปะปนอยู่ในเนื้อดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นโดยปริมาตร บางแห่งพบหินผุหรือหินแข็งปะปนอยู่กับเศษหิน บางแห่งมีก้อนหินและหินโผล่กระจัดกระจายทั่วไปตามหน้าดิน

4) ดินตื้นปนปูนมาร์ล พบตามพื้นที่ลาดถึงพื้นที่ลอนลาด หรือบริเวณที่ลาดเชิงเขา เมื่อขุดลงไปในระดับความลึกที่ 20-50 เซนติเมตร จะพบสารประกอบจำพวกแคลเซียมหรือแมกนิเซียมคาร์บอเนตปนอยู่ ทำให้ดินประเภทนี้จัดว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่มีข้อเสียคือมีปฏิกิริยาเป็นด่าง เป็นข้อจำกัดต่อพืชบางชนิดที่ไวต่อความเป็นด่าง เช่น สัปปะรด

การเกิดดินตี้น

เกิดมาจากวัตถุกำเนิดดิน เช่น หินดินดานเชิงเขา หรือเศษหินเชิงเขา ที่ส่วนใหญ่เป็นพวกหินตะกอนเนื้อหยาบ คือ หินทราย หินกรวดมน แตกกระจัดกระจายร่วงหล่นออกมาทับทมเกะกะอยู่บริเวณเชิงเขา หรือเป็นผลจากกระบวนการทางดินที่ทำให้เกิดการสะสมปูนมาร์ลหรือศิลาแลงในดิน

ปัญหาดินตี้น

ดินตื้นนั้นเป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกเพราะ มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบปนอยู่ในดินมาก ทำให้มีเนื้อดินน้อย มีธาตุอาหารน้อย ไม่อุ้มน้ำ ชั้นล่างของดินชนิดนี้จะแน่นทึบรากพืชชอนไชไปได้ยาก พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างปกติ

การปรับปรุงแก้ไข

การจัดการดินในพื้นที่เหล่านี้จะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง ควรเลือกทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีหน้าดินหนามากกว่า 25 ซม. และไม่มีก้อนกรวดหรือลูกรังกระจัดกระจายอยู่ที่ผิวดินมาก ปรับปรุงดินด้วยการไถกลบพืชปุ๋ยสด ร่วมกับการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 2-3 ตัน/ไร่ หรือขุดหลุมปลูกไม้ผลขนาด 75x75x75 ซม. หรือถึงชั้นหินพื้น และปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดิน ที่ไม่มีก้อนกรวดหรือลูกรังร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำและผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.3 และพด.7 หรือพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3114
มันสำปะหลัง ทำลายดิน จริงหรือ
มันสำปะหลัง ทำลายดิน จริงหรือ
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยังมีการเข้าใจผิด ว่าปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษา และการปลูกมันสำปะหลังยังเป็นการทำลายดิน และสิ่งแวดล้อม จึงถูกมองว่ามันสำปะหลังเป็นพืชที่มี ศักยภาพต่ำ แต่ที่จริงแล้ว
อ่านต่อที่ http://www.farmkaset..link..
อ่าน:2943
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
ดินลูกรัง (Skeletal soils) หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช

การจัดการดินลูกรังเพื่อเพิ่มผลผลิต

ดินลูกรัง (Skeletal soils)หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินลูกรังเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จากผลการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีดินลูกรังประมาณ 52 ล้านไร่ หรือร้อยละ 16.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรของดินลูกรัง

พื้นที่ที่พบดินลูกรังมีอยู่เกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นในเขตฝนตกชุกทางภาคใต้ ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรที่สำคัญ คือเป็นดินตื้นที่มีกรวดหินมนเล็กหรือเศษหินปะปนกันอยู่มาก ทำให้ดินมีปริมาณเนื้อดินน้อยลง มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ นอกจากนี้ลักษณะของดินเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนหน้าดินถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย ดินมีความสมบรูณ์ต่ำ และการจัดระบบชลประทานมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่อำนวย

ดินลูกรัง เป็นดินที่มีศักยภาพในการเกษตรต่ำ เนื่องจากดินชั้นล่างแน่นทึบเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ดินที่มีกรวดปนมักเป็นดินที่ขาดความชุ่มชื้นได้ง่าย และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ มีข้อจำกัดในการเลือกชนิดของพืชปลูก โดยเฉพาะไม้ยืนต้นและไม้ผลจำเป็นต้องจัดการเป็นพิเศษ ในการเตรียมหลุมปลูก การปลูกพืชติดต่อกันในดินนี้จะทำให้ปริมาณธาตุอาหารในดินลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหน้าดินมักเกิดการกร่อนได้ง่าย ปัจจุบันดินนี้ยังใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกไม่มากนัก ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้จำพวกป่าแดงโปร่ง

แนวทางแก้ไขและการใช้ประโยชน์ดินลูกรัง

ดินลูกรังเป็นดินที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ มาก การแก้ไขปัญหาเพื่อใช้ประโยชน์จากดินนี้อาจทำได้หลายแนวทาง คือ

1. การทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เหมาะกับดินลูกรังที่พบในที่ดอนและมีหน้าดินหนาเกิน 15 ซม. ขึ้นไป

2. การปลูกพืชไร่ ดินลูกรังที่มีหน้าดินหนา ประมาณ 20 ซม. มีการระบายน้ำดีปานกลาง ไม่มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน สามารถปลูกพืชไร่ได้หลายชนิด เช่น ข้าว ฟ่าง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และพืชรากตื้นอื่น ๆ แต่ควรมีการบำรุงรักษาความอุดมสมบรูณ์ของดินโดยการใส่ปุ๋ย และรักษาความชื้นของดินโดยใช้วัสดุคลุมดิน

3. การปลูกไม้ผลและไม้โตเร็ว ดินลูกรังจะไม่จับกันเป็นชั้นแน่นมากนักสามารถปลูกไม้ผลและไม้โตเร็ว เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะขาม ยูคาลิปตัส กระถินต่างๆ สะเดา ขี้เหล็กบ้าน น้อยหน่า พุทรา และไผ่ ส่วนยางพาราสามารถปลูกได้ในบริเวณที่มีปริมาณฝนมากกว่า 1_400 มม. /ปี

4. การทำนา ดินลูกรังที่พบในที่ราบหรือที่ราบต่ำที่มีหน้าดินลึกประมาณ 15 ซม. และมีการระบายน้ำเลวในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังแฉะเป็นเวลานาน ควรใช้ปลูกข้าวและมีการใส่ปุ๋ยซึ่งจะช่วยให้ข้าวมีผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ดินลูกรังที่มีหน้าดินตื้น ไม่ควรใช้ในการเพาะปลูกพืชที่ต้องมีการไถพรวนดิน เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด หากไม่จำเป็นจึงไม่ควรนำมาใช้ในการเพาะปลูกแต่ควรปล่อยให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ตลอดไป

การปรับปรุงดินลูกรังให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช

ในการปรับปรุงบำรุงดินลูกรังเพื่อปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุสามารถทำได้โดย

1. การไถกลบฟางข้าว และรดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตร/ไร่ หมักทิ้งไว้ช่วยให้ฟางย่อยสลายเร็วขึ้นเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

2. ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก อัตรา 2 - 4 ตัน/ไร่ คลุกเคล้ากับดินในแปลงปลูกพืช หรือในบริเวณหลุมปลูกไม้ผล ในอัตราเฉลี่ย 25 - 50 กิโลกรัมต่อหลุม

3. ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า แล้วไถกลบลงดิน ในช่วงออกดอก (อายุประมาณ 50 - 60 วัน หลังปลูก) ก่อนปลูกพืชหลักทุกชนิดเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทอากาศดีการระบายน้ำดีดินมีความอุดมสมบรูณ์เพิ่มขึ้น

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:4615
เกษตรกร อาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน
เกษตรกร อาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน
ด้วยเมืองไทยเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อาชีพเกษตรกรจึงถือเป็นรายได้หลักมาอย่างช้านาน แม้ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนมากจะเลือกเข้ามามองหางานทำในเมืองหลวงรวมถึงเลือกทำงานประเภทอื่น ๆ มากขึ้น แต่เกษตรกรก็ยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างผลผลิตให้กับคนไทยและอีกหลายล้านคนบนโลกมีอาหารดี ๆ ได้ทานเพื่อดำรงชีวิตอยู่ตลอด จึงอยากพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งมีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกันด้วย

จำแนกประเภทเกษตรกร

จริง ๆ แล้วอาชีพเกษตรกรสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ โดยมีประเภทของเกษตรกรดังนี้

ด้านการปลูกพืชผล

เป็นกลุ่มอาชีพที่พบเจอได้มากสุดของเมืองไทย ทั้งนี้จะแยกย่อยออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกพืชผลชนิดนั้น ๆ แม้นักวิชาการจะมีการแยกย่อยประเภทออกไปตามลักษณะการปลูก การดูแลรักษา การใช้ประโยชน์ แต่ขออธิบายประเภทขั้นต้นให้เห็นภาพกันง่ายกว่า

พืชนา

พูดง่าย ๆ ก็คือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกนาข้าวเป็นหลัก ทั้งนี้เมื่อหมดฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวก็สามารถเปลี่ยนเป็นการเกษตรด้านอื่น ๆ ได้

พืชไร่

กลุ่มพืชที่ต้องอาศัยพื้นที่ในการปลูกเยอะ แต่พืชจะมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ขั้นตอนการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก พืชบางชนิดปลูกแค่ 2 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที โดยพืชไร่นั้นถือเป็นอีกกลุ่มเกษตรที่สำคัญต่อทั้งการบริโภคของผู้คนในประเทศและการส่งออกสร้างรายได้ เช่น อ้อย_ ข้าวโพด_ มันสำปะหลัง_ ถั่วหลากชนิด_ ฝ้าย เป็นต้น

พืชสวน

กลุ่มพืชชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะเหมือนกับพืชไร่ แต่ต้องอาศัยการใส่ใจดูแลมากกว่า มีระยะเวลาในการให้ผลผลิตนานกว่า แต่มูลค่าก็สูงตามประเภทของสายพันธุ์นั้น ๆ ด้วยเหมือนกัน

ด้านปศุสัตว์

จริง ๆ เป็นกลุ่มการเกษตรที่อยู่คู่กับการปลูกพืชมายาวนาน เช่น ชาวบ้านที่ทำนาก็จะเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เพื่อใช้แรงงาน หรือสร้างผลผลิตรูปแบบอื่น ๆ ทว่าในปัจจุบันอาชีพเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยตรงก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่เลี้ยงไว้ใช้ทำประโยชน์ในด้านแรงงานเพียงอย่างเดียว โดยแยกประเภทการทำเกษตรด้านปศุสัตว์ไว้ดังนี้

ด้านอาหาร

เป็นกลุ่มปศุสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์ขึ้นมาเพื่อใช้ทำเป็นอาหารโดยตรง เช่น ฟาร์มหมู_ ฟาร์มวัว_ ฟาร์มไก่_ ฟาร์มปลา ฯลฯ ซึ่งสัตว์เหล่านี้เมื่อเจริญพันธุ์เหมาะสมกับการขายก็จะนำไปทำเป็นเนื้อสัตว์หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป

ด้านความสวยงาม

การเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้มักถูกเรียกว่า การเพาะพันธุ์ คือ พยายามเพาะพันธุ์สัตว์ที่มีความสวยงามให้ได้ราคามากยิ่งขึ้น เช่น บรรดานกชนิดต่าง ๆ_ สุนัข_ แมว ฯลฯ สามารถขายได้ราคาดี แม้ว่าจะมีขั้นตอนการดูแลยุ่งยาก และต้องมองหาตลาดให้ถูกต้องก็ตาม

ด้านการใช้งาน

ยังมีการทำปศุสัตว์อีกรูปแบบที่ถูกเลี้ยงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านแรงงานต่อไป เช่น ฟาร์มม้า_ ฟาร์มโคนม_ ฟาร์มช้าง เป็นต้น โดยสัตว์เหล่านี้จะไม่เน้นเรื่องการทำเป็นอาหารหรือเพาะพันธุ์ขาย แต่จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นแทน เช่น น้ำนมจากโคนม เป็นต้น

ด้านการประมง

ด้วยพื้นที่ของประเทศไทยมีแหล่งน้ำให้เกษตรกรได้หารายได้เลี้ยงชีพกันมาโดยตลอด การทำประมงจึงกลายเป็นอีกอาชีพที่มีความสำคัญและได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตริมน้ำ ทั้งนี้ต้องแยกให้ออกว่าการทำประมงจะต่างกับการปศุสัตว์คือ ประมงจะเป็นการจับสัตว์น้ำที่มีตามแหล่งธรรมชาติหรือเน้นสัตว์น้ำเท่านั้น ขณะที่ปศุสัตว์จะเป็นการเลี้ยงดู ซึ่งสามารถแยกประเภทการประมงได้ดังนี้

ประมงน้ำจืด

เป็นอาชีพเกษตรกรที่ใช้การหาสัตว์น้ำในแหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ_ ลำคลอง_ บึง_ หรือการสร้างบ่อ โดยสัตว์น้ำในกลุ่มประมงน้ำจืดก็มีหลายชนิดโดยเฉพาะปลา เช่น ปลาช่อน_ ปลาดุก_ ปลาตะเพียน_ ปลานิล_ ปลาไน_ ปลาไหล_ ปลาสลิด รวมถึงกุ้งก้ามกรามก็จัดเป็นประมงน้ำจืดชนิดหนึ่งด้วยเช่นกัน

ประมงน้ำเค็ม

เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ทำอาชีพในการจับสัตว์เค็ม หรือสัตว์น้ำในทะเล ทั้งนี้จะเป็นการออกไปจับนอกชายฝั่ง หรือการเลี้ยงสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยสัตว์ทะเลจะมีความหลากหลายมาก ๆ ไล่ตั้งแต่ กุ้ง_ หอย_ ปู_ ปลา ซึ่งถือเป็นอาหารจานโปรดของใครหลาย ๆ คนเมื่อผ่านขั้นตอนการทำเรียบร้อยแล้ว

ด้านเกษตรแบบผสมผสาน

จริง ๆ แล้วนี่เป็นแนวคิดใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นมาได้ไม่นานนัก หลัก ๆ คือ การรวมเอารูปแบบเกษตรต่าง ๆ มาผสมผสานเอาไว้ในพื้นที่เดียวกัน เช่น นอกจากปลูกข้าวแล้วยังมีการเลี้ยงปลาตามร่องคันนา เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้กับตนเองมากกว่าเดิม_ การทำฟาร์มไก่โดยให้กรงตั้งอยู่บนบ่อปลาดุกเพื่อปลาจะได้กินเศษอาหารที่ไก่ทำร่วงเอาไว้ เป็นต้น

ความคุ้มค่าของเกษตรแบบผสมผสาน

ในปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนมากเลือกหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสานมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม นั่นเพราะลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนหากเลือกทำเกษตรแบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรมากนัก เพียงแค่นำพื้นที่ซึ่งเหลือจากการเกษตรหลักของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แม้ว่ายุคก่อนหน้าอาชีพเกษตรกรจะมีจำนวนลดลง แต่ปัจจุบันมักเริ่มเห็นคนรุ่นใหม่หันไปเลือกทำเกษตรกรกันมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเพราะเมื่อได้อยู่กับธรรมชาติจริง ๆ แล้วสามารถสร้างความสุขในชีวิตมากกว่าการอยู่ในเมืองที่ต้องเจอกับความเครียดนานัปการก็ได้

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:2994
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพลี้ย ศัตรู มันสำปะหลัง มาคา จาก FK
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพลี้ย ศัตรู มันสำปะหลัง มาคา จาก FK
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพลี้ย ศัตรู มันสำปะหลัง มาคา จาก FK
เพลี้ยต่างๆ เพลี้ย แมลงศัตรู เพลี้ยแป้ง มันสำปะหลัง ใช้

มาคา

อัตราการผสมใช้

50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร

ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

การผสม FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน จะช่วยให้พืชฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของ โรค และ แมลงศัตรูพืช ได้เร็วยิ่งขึ้น
อ่าน:2962
โรคมันสำปะหลัง โรคใบไหม้มันสำปะหลัง โรครา มันสำปะหลัง ใบจุด ราสนิม ไอเอส จาก FK
โรคมันสำปะหลัง โรคใบไหม้มันสำปะหลัง โรครา มันสำปะหลัง ใบจุด ราสนิม ไอเอส จาก FK
โรคมันสำปะหลัง โรคใบไหม้มันสำปะหลัง โรครา มันสำปะหลัง ใบจุด ราสนิม ไอเอส จาก FK
โรคมันสำปะหลัง ที่มีสาเหตุจาก เชื้อราต่างๆ ใบไหม้ ใบจุด แอนแทรคโนส ใช้

ไอเอส

อัตราการผสมใช้

50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร

ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

การผสม FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน จะช่วยให้พืชฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของ โรค และ แมลงศัตรูพืช ได้เร็วยิ่งขึ้น
อ่าน:3001
177 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 17 หน้า, หน้าที่ 18 มี 7 รายการ
|-Page 8 of 18-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ย ในหน่อไม้ฝรั่ง และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/14 13:05:37 - Views: 3003
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค ฟื้นระบบราก ปลดปล่อยธาตุอาหารไห้กับพืช ปรับปรุงโครงสร้างดิน ช่วยไห้ดินร่วยซุย ระบายน้ำดี สร้างระบบรากฝอย สำหรับฉีดพ่น ต้นข้าวโพด
Update: 2567/02/13 09:59:31 - Views: 172
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - ช่วยไห้ดินร่วยซุย ระบายน้ำดี สร้างระบบรากฝอย สำหรับฉีดพ่น ต้นฟักข้าว
Update: 2567/02/13 09:38:59 - Views: 152
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
Update: 2565/07/28 07:10:49 - Views: 4615
ป้องกันกำจัด โรคใบหงิก และ ใบตุ่ม ในยางพารา
Update: 2566/01/10 07:41:58 - Views: 3263
ประโยชน์ของการปลูกพืชผสมผสานระหว่าง มันสำปะหลัง กับ พืชตระกูลถั่ว
Update: 2566/04/26 13:57:33 - Views: 16438
ประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในมะกรูด
Update: 2566/05/04 11:56:57 - Views: 3150
โรคใบติดทุเรียน โรคราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนกิ่งแห้ง ต้องหมั่นสังเกตุตรวจดูแลสวน หากพบ ให้เร่งป้องกันกำจัด
Update: 2566/11/04 14:14:10 - Views: 8505
แก้ทุเรียนเล็กใบไหม้ ใบแห้ง ยอดไหม้ ใบเหลือง เพราะโรคจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/05/07 12:21:17 - Views: 6159
ปุ๋ยฉีดพ่น มะยงชิด ปุ๋ยทางใบ มะปรางหวาน
Update: 2564/05/05 10:29:46 - Views: 3343
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนเจาะผลแตงโม ใน แตงโม และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/01 15:02:43 - Views: 3307
กระเจี๊ยบเขียว ใบจุด ใบไหม้ ฝักลาย กำจัดโรคกระเจี๊ยวเขียว จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/27 10:37:01 - Views: 3023
คู่มือการดูแลรักษา ป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในต้นกาแฟ ราสนิม ราใบจุด ใบไหม้ ฯลฯ
Update: 2566/04/29 14:41:38 - Views: 17041
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคพืช ฉีดพ่น ไอเอส และ FK-T ช่วยฟื้นฟู พืช จากการเข้าทำลายของเชื้อรา โดย FK ขนาด 250 ซีซี
Update: 2566/06/21 10:30:40 - Views: 429
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นทับทิม
Update: 2566/05/09 11:14:22 - Views: 3393
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนกาแฟสีแดง ใน ผักหวาน และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/14 14:38:59 - Views: 3047
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นละมุดอย่างได้ผล
Update: 2566/05/09 11:59:36 - Views: 3112
ไขข้อข้องใจ … ทำไมแหนมถึงกินดิบได้?
Update: 2565/11/16 13:48:55 - Views: 9799
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนกินใบ ใน แตงกวา และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:14:26 - Views: 3404
ฟักทองใบไหม้ ราน้ำค้างในฟักทอง โรคราในฟักทอง ราต่างๆ ใช้ ไอเอส และ FK-1
Update: 2566/02/26 09:37:51 - Views: 3159
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022