[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3505 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 5 รายการ

โรคและแมลงของทานตะวัน
โรคและแมลงของทานตะวัน
โรคของทานตะวัน มีดังนี้

1.โรคโคนเน่าหรือต้นเน่า เกิดจากเชื้อราในดิน จะระบาดมากฤดูฝนหรือช่วงที่มีน้ำค้างและความชื้นสูง อาการเริ่มแรก จะพบใบมีสีเหลือง เหี่ยว และแห้งตายทั้งต้น เมื่อถอนต้นขึ้นมาดู จะพบว่าโคนต้นและรากเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำ พบเส้นใยสีขาวอยู่ตามโคนต้นและดิน การป้องกัน ต้องไม่ปลูกให้ชิดกันเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดการบังแสง เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้ตัดทำลายทิ้งนำไปเผา จากนั้นใช้ปูนขาวผสมน้ำราดลงไปในดินอีกครั้ง และอาจใช้วิธีปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรของโรค โดยให้ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยคอก

2.โรคใบจุดหรือใบไหม้ เกิดอาการใบจุดเล็กสีน้ำตาล มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล จุดที่ขยายใหญ่มีรูปร่างไม่แน่นอน และทำให้เกิดใบไหม้ ต่อมาแผลจุดจะแพร่กระจายไปทุกส่วนของต้น โรคนี้เกิดจากเชื้อรา ระบาดมากช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีน้ำค้างมาก หากเป็นมากจะไม่ให้ผลผลิตเลย การป้องกัน ให้หลีกเลี่ยงการเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกและตัดทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง ควรกำจัดซากที่เป็นโรคด้วยการเผาหรือนำออกจากแปลง

3.โรคเน่าดำ โรคนี้จะทำให้ลำต้นมีขนาดเล็กกว่าปกติ ใบเหี่ยวลู่ลงแห้งติดคาต้น ลำต้นส่วนที่ติดผิวดิน เกิดแผลสีน้ำตาลดำลุกลามจากโคนต้นไปตามส่วนต่างๆ ของลำต้นและราก เมื่อผ่าดูภายในจะพบฝุ่นผงเมล็ดกลมเล็กสีดำ หรือเทาดำ กระจายอยู่ในเนื้อเยื่อพืชทั่วทุกส่วน และปิดกั้นขวางทางลำเลียงน้ำและอาหาร ทำให้ต้นทานตะวันเหี่ยวแห้งตาย ให้ทำการถอนและเผาทำลายต้นทานตะวันที่เป็นโรคนี้ ไม่ควรปล่อยให้ต้นทานตะวันขาดน้ำรุนแรงในช่วงที่อากาศร้อนจัด และความชื้นในดินต่ำ

4.โรคใบหงิก จะมีลักษณะใบหงิกงอเป็นรูปถ้วยหงาย ตั้งแต่ใบยอดลงมาจนถึงกลางต้น ด้านล่างใบ จะพบลักษณะของเส้นกลางใบและเส้นแขนงโป่งพองจนเห็นได้ชัด บริเวณเนื้อใบจะมีเส้นใบฝอยสีเขียวเข้มกระจายทั่วไป ทำให้ใบหดย่น ต้นแคระแกร็นจนไม่สามารถให้ดอก ในกรณีที่ให้ดอก ดอกอาจมีรูปร่างผิดปกติ เมื่อพบทานตะวันที่เป็นโรค ให้ถอนออกจากแปลงปลูก แล้วนำไปเผาทิ้ง

แมลงศัตรูที่สำคัญ และการป้องกันกำจัด

1.หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ผัก และหนอนม้วนใบส้ม หนอนเหล่านี้ จะกินเมล็ด และเจาะจานดอก ทำให้ดอกเน่าเสียหาย มีการทำลายที่รุนแรงมาก และผลผลิตจะเสียหายมาก การป้องกันกำจัด วิธีที่ดีที่สุดคือ ดูแลรักษาต้นทานตะวันให้เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง หมั่นกำจัดวัชพืชทำความสะอาดต้น ด้วยการนำใบแก่ที่ร่วงหล่นออกไปให้พ้นบริเวณต้น กำจัดต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นน้ำหมักสะเดา หรือสมุนไพรอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น ตะไคร้หอม ข่า ฟ้าทะลายโจร พริกขี้หนู หรือน้ำหมักชีวภาพ เพื่อขับไล่แมลงศัตรูพืชทุกๆ สัปดาห์ ควรทำในช่วงเช้า หรือหลังฝนตกหนัก และควรมีการปลูกพืชหมุนเวียนบำรุงดินชนิดอื่น เพื่อตัดวงจรของโรคแมลง

2.เพลี้ยจักจั่น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยชอบดูดกินน้ำเลี้ยงที่ด้านใต้ใบ ทำให้ใบพืชหด หงิกงอ ขอบใบม้วนขึ้นด้านบน ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ขอบใบแห้ง หรือใบไหม้ ผลผลิตลดลง

การป้องกันกำจัดวัชพืช ก็เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคและแมลงต่างๆ ด้วย ให้เก็บเศษซากวัชพืชออกจากแปลงให้หมด ตลอดช่วงของการปลูก ตั้งแต่ก่อนปลูกทานตะวัน จนถึงการเก็บเกี่ยว อาจใช้แรงงานคน หรือเครื่องจักรกล ทำได้เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วัน แล้วให้คลุมดินด้วยเศษซากพืชหรือฟางข้าวทันที อย่างทั่วถึง นะคะ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3080
คุณค่าทางสารอาหารและประโยชน์ต่อสุขภาพ ทานตะวัน
คุณค่าทางสารอาหารและประโยชน์ต่อสุขภาพ ทานตะวัน
ทานตะวัน พืชดอกสีเหลืองที่ไม่ได้มีดีแค่ความสวยงาม แต่เมล็ดทานตะวันและน้ำมันทานตะวันยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร และเชื่อกันว่าอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต บรรเทาการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาการติดเชื้อราที่เท้า เป็นต้น

ส่วนเมล็ดทานตะวันนั้น ประกอบไปด้วยวิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าหลายชนิด เช่น มีทองแดง แมงกานีส และซีลีเนียมในปริมาณมาก มีวิตามินอี วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก ใยอาหาร และโปรตีน เป็นต้น

นอกจากนี้ เมล็ดทานตะวันยังมีไขมันสูงด้วย แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการรับประทานไขมันชนิดนี้ในปริมาณที่พอดี และรับประทานทดแทนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์สูง อาจมีส่วนช่วยในการบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ลดความดันโลหิต ตลอดจนลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลได้

ประโยชน์ต่อสุขภาพจากทานตะวัน

ลดคอเลสเตอรอล

เมล็ดและน้ำมันทานตะวันอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งไขมันชนิดนี้มีหน้าที่กำจัดไขมันคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีซึ่งสะสมอยู่ตามหลอดเลือด การบริโภคผลิตภัณฑ์จากทานตะวันจึงอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองได้

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนประโยชน์ของทานตะวันในด้านนี้ โดยการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ทดลองในกลุ่มชายอายุ 35-55 ปี จำนวน 14 คน และหญิงวัยหมดประจำเดือนอายุ 50-60 ปี จำนวน 14 คน พบว่าหลังรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันทานตะวันที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเป็นเวลา 1 เดือน ผู้ทดลองมีระดับไขมันชนิดที่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงตามไปด้วย สอดคล้องกับงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ชี้ว่า กลุ่มชายหญิงที่รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวจากน้ำมันทานตะวันนั้น มีระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลงมากกว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง

นอกจากนี้ มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวนผู้ทดลองมากขึ้น และทดลองกับผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงโดยตรงจำนวน 96 คน โดยแบ่งกลุ่มให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำมันทานตะวันหรือน้ำมันคาโนล่าเป็นเวลา 6 เดือน ผลปรากฏว่าทั้ง 2 กลุ่มต่างมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีและไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งมีไขมันชนิดที่ดีเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดีอย่างทานตะวันแทนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์นั้น เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพและอาจช่วยลดไขมันชนิดที่ไม่ดีได้

ลดความดันโลหิต

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ไขมันไม่อิ่มตัวอาจมีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิตได้ ซึ่งเมล็ดทานตะวันและน้ำมันทานตะวันก็เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันชนิดนี้ จึงมีการทดลองเปรียบเทียบคุณสมบัติของไขมันไม่อิ่มตัวจากทานตะวันกับน้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ตามมา

โดยมีงานวิจัยหนึ่งแบ่งกลุ่มให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 530 คนที่ใช้ยาลดความดันโลหิตอย่างนิเฟดิปีน รับประทานน้ำมันที่มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวอย่างน้ำมันงา น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วลิสง หรือไม่รับประทานน้ำมันชนิดใด ๆ ผลลัพธ์พบว่าทุกกลุ่มมีระดับความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเทียบกับน้ำมันอีก 2 ชนิด กลุ่มน้ำมันงาจะเห็นผลชัดที่สุด โดยผู้ป่วยกลุ่มน้ำมันงาและน้ำมันทานตะวันมีระดับไขมันคอเลสเตอรอลโดยรวมและไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลง ในขณะเดียวกันก็มีระดับไขมันดีเพิ่มขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ล่าสุดมีงานวิจัยที่ให้อาสาสมัครวัย 30-60 ปี จำนวน 60 คน ที่เป็นโรคอ้วนลงพุงแบ่งกลุ่มและให้ได้รับน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์หรือน้ำมันเมล็ดทานตะวันเป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์มีความดันโลหิตลดลงมากกว่าเล็กน้อย ในขณะที่กลุ่มน้ำมันเมล็ดทานตะวันมีไขมันโดยรวมและคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีลดลงมากกว่า

จากผลการทดลองต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าน้ำมันจากทานตะวันอาจมีผลต่อการลดระดับความดันโลหิตเล็กน้อยเมื่อเทียบกับน้ำมันจากพืชชนิดอื่น ๆ ดังนั้น ทานตะวันจึงอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดในการช่วยลดความดันโลหิต ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจึงควรรับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ และปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรใด ๆ ก็ตาม

รักษาการติดเชื้อราที่เท้า

น้ำมันจากดอกทานตะวันอาจช่วยยับยั้งเชื้อราได้ โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคเชื้อราที่เท้าจำนวน 100 คนที่ได้รับการรักษาด้วยน้ำมันทานตะวัน 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ มีอาการดีขึ้นเทียบเท่ากับผู้ป่วยอีกกลุ่มที่ใช้ยารักษาการติดเชื้อราอย่างคีโตโคนาโซลที่ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย

ทารกแรกเกิดนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งมักจะมีเกราะป้องกันผิวไม่แข็งแรงเท่าที่ควร การทาน้ำมันเมล็ดทานตะวันลงบนผิวของทารกจึงอาจเป็นวิธีทางธรรมชาติที่ประหยัดและปลอดภัยในการป้องกันเชื้อโรคให้ลูกน้อย

ผลงานวิจัยจำนวนหนึ่งสนับสนุนประโยชน์ในด้านนี้ โดยมีการทดลองพบว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดขณะมีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ จำนวน 51 คน ที่ถูกทาน้ำมันเมล็ดทานตะวันตามผิวหนังวันละ 3 ครั้ง มีอัตราการติดเชื้อขณะอยู่ในโรงพยาบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับทารกอีก 52 คนที่ไม่ได้ทาน้ำมันชนิดนี้ และยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่าทารกคลอดก่อนกำหนดที่ทาน้ำมันเมล็ดทานตะวันในช่วง 10 วันแรกหลังคลอดนั้นมีสภาพผิวที่แข็งแรงขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันก็ยังมีไม่มากและไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสรุปสรรพคุณด้านนี้ของทานตะวันได้ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ก่อนจะนำทานตะวันมาประยุกต์ใช้เพื่อต้านเชื้อโรคอย่างแบคทีเรียได้จริง

บริโภคหรือใช้ผลิตภัณฑ์ทานตะวันอย่างไร ให้ได้ประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพ ?

เมล็ดทานตะวันเป็นอาหารที่รับประทานง่ายและประยุกต์กับอาหารได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะกินเล่นเป็นของว่าง ผสมกับสลัดผักผลไม้ สลัดไก่ สลัดทูน่า สมูทตี้ โยเกิร์ต หรือไอศกรีม โดยเมล็ดทานตะวันมีแคลอรี่ในระดับปานกลางไปจนถึงสูงปานกลาง และสามารถเลือกรับประทานไขมันชนิดที่ดีได้จากเมล็ดทานตะวันหรืออาหารชนิดอื่น ๆ แทนอาหารที่มีแคลอรี่และไขมันอิ่มตัวสูง

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ปลอดภัย และส่งผลดีต่อสุขภาพ ผู้บริโภคควรจำกัดปริมาณการรับประทานให้เหมาะสม เพราะแม้ทานตะวันจะมีไขมันชนิดที่ดี แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจทำให้มีน้ำหนักตัวและรอบเอวเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ ก่อนรับประทานเมล็ดทานตะวันที่ผ่านการแปรรูป ควรดูปริมาณเกลือหรือโซเดียมบนฉลากด้วย เพราะการได้รับโซเดียมจากอาหารมากเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและไต รวมทั้งอาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำจนนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงได้

ส่วนการรับประทานน้ำมันเมล็ดทานตะวันหรือการทาลงบนผิวหนังนั้น ก็อาจปลอดภัยหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่บุคคลต่อไปนี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอหากต้องการใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการรักษาหรือป้องกันโรค

หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าน้ำมันทานตะวันมีความปลอดภัยต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารก
ผู้ที่เคยมีอาการแพ้หรือสงสัยว่าแพ้น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะการรับประทานอาหารที่มีน้ำมันทานตะวันในปริมาณสูงอาจส่งผลให้ระดับอินซูลินและน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งอาจทำให้มีไขมันในเลือดหลังมื้ออาหารเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ป่วยโรคนี้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็งได้


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:2966
ทานตะวัน:ไม้ดอกยอดนิยมปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี
ทานตะวัน:ไม้ดอกยอดนิยมปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี
ทานตะวันเป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี ใบรูปกลมรี โคนใบโค้งเว้าเป็นรูปหัวใจปลายใบแหลมขอบใบหยักแบบฟันปลา หลังและใต้ท้องใบมีขนสาก ดอกออกเป็นช่อหรือกระจก กลีบดอกวงในมีสีเหลือง กลีบดอกวงนอกสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองทอง ล้อมรอบเกสรขนาดใหญ่คล้ายจานเป็นไม้ดอกที่มีลักษณะพิเศษคือ ดอกจะหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ

พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่น พันธุ์คัลเลอร์ แฟชั่น (Color Fashion) อิตาเลี่ยน ไวท์ (Italian White) ซึ่งเป็นชนิดที่แตกกิ่งก้านสาขา มีลำต้นสูงประมาณ 4-5 ฟุต ขนาดดอกประมาณ 3-4 นิ้ว

การขยายพันธุ์

ทานตะวันขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งนิยมเพาะเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง ทานตะวันสามารถปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และชอบแสงแดดจัด

การเลือกสถานที่ปลูก

สถานที่ปลูกทานตะวันควรเป็นที่โล่งแจ้ง ได้รับแสงอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ 8-10 ชั่วโมง หากปลูกในที่ที่ได้รับแสงน้อยจะให้ผลผลิตต่ำ ขนาดดอกเล็ก และมักพบว่าต้นอ่อนแอต่อโรคได้ง่าย

การเตรียมแปลงปลูก

ก่อนปลูกควรมีการเตรียมดินหรือปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ มีธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยขุดดินให้ลึกประมาณ 1 ฟุต แล้วตากดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลงประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ย่อยดินให้ละเอียดใส่อินทรีย์วัตถุที่สลายตัวแล้วอย่างเช่น เศษฟาง เปลือกถั่วลิสง ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินมีความร่วนซุย สามารถเก็บความชื้นและมีการระบายน้ำดี

ก่อนเพาะเมล็ดให้นำเมล็ดไปแช่ในน้ำสกัดชีวภาพก่อนนำไปปลูก จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วและมีความแข็งแรงขึ้น การเพาะเมล็ดทานตะวันให้หยอดเมล็ดหลุมละ 2 เมล็ด ฝังลึกประมาณ 2 นิ้ว ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 25×30 ซม. ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 70-75 ซม. ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพที่ให้ธาตุอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน โปแตสเซียมและฟอสฟอรัสครบถ้วน หลังจากกลบดินเรียบร้อยแล้วควรคลุมแปลงปลูกและรดน้ำให้ชุ่ม การคลุมแปลงจะช่วยรักษาความชื้นรักษาอุณหภูมิและช่วยป้องกันวัชพืช วัสดุที่ใช้คลุมแปลง เช่น ฟางข้าว เศษหญ้าแห้ง เปลือกถั่ว หรือวัสดุอื่นที่มี หลังจากเมล็ดงอกแล้วประมาณ 10 วัน ให้ถอนต้นกล้าออกเหลือเพียงหลุมละ 1 ต้น เพื่อให้ทานตะวันผลิตดอกที่มีคุณภาพต่อไป

การให้น้ำ

ระยะแรกควรให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อรักษาความชื้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้เมล็ดงอก และเจริญเติบโตได้สมบูรณ์ หลังจากต้นตั้งตัวได้แล้วหรือมีความแข็งแรงเพียงพออาจให้น้ำได้ 1-2 วันต่อครั้งก็ได้

การให้ปุ๋ย

หลังจากปลูกประมาณ 30 วัน ให้ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่ง และใบ ในระยะนี้หากทานตะวันขาดไนโตรเจนจะโตช้า ใบมีสีเหลือง กิ่งก้านยาว เล็ก และอ่อนแอ เมื่อทานตะวันเริ่มเกิดตาดอกจึงใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงเพื่อเร่งดอก หลังใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรรดน้ำตามทันที หรือฉีดพ่นด้วยน้ำหวานหมักจากผลไม้ ใช้ฉีดพ่นแบบฮอร์โมนพืช ให้ผลในการบำรุงดีมากโดยเฉพาะในช่วงที่พืชกำลังออกดอก

การตัดดอก

การตัดดอกควรทำเมื่อดอกยังไม่บานเต็มที่หรือบานประมาณ 70%หรือสังเกตว่าส่วนใจกลางของดอกยังมีสีเขียวอยู่ วิธีตัดให้ตัดชิดโคนกิ่งหรือให้มีความยาวของก้านดอกประมาณ 10-12 นิ้ว การตัดดอกควรตัดในช่วงเช้า

โรค-แมลงและการป้องกันกำจัด

โรคทานตะวัน

โรคทานตะวันที่สำคัญได้แก่ โรคโคนเน่าหรือต้นเน่า โรคใบจุด ซึ่งโรคเหล่านี้ผู้ปลูกจะทราบก็ต่อเมื่อเชื้อได้เข้าทำลายต้นแล้ว ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ใช้เชื้อโรคเข้าทำลายต้นได้

1. โรคโคนเน่าหรือต้นเน่า

เกิดจากเชื้อราในดิน ระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีน้ำค้าง มีความชื้นสูง ๆ มักเกิดกับต้นแก่มากกว่าต้นอ่อน อาการเริ่มแรกจะพบใบมีสีเหลือง เหี่ยว และแห้งตายทั้งต้น เมื่อถอนต้นขึ้นมาดูจะพบว่าโคนต้นและรากเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำ พบเส้นใยสีขาอยู่ตามโคนต้นและดิน

การป้องกัน

ไม่ปลูกทานตะวันให้ชิดกันเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบังแสงอันเป็นเหตุให้ต้นมีความชื้นง่ายต่อการเข้าทำลายของโรค เมื่อพบที่เป็นโรคให้ตัดทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้งเสีย และอาจใช้วิธีปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนกับทานตะวันเพื่อตัดวงจรของโรคให้หายไป โดยให้ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยคอก สำหรับต้นที่เป็นโรคให้ถอนและขุดดินในหลุมไปเผา จากนั้นใช้ปูนขาวผสมน้ำราดลงไปในดินอีกครั้ง

2. โรคใบจุด

เกิดจากเชื้อรา เกิดได้ตั้งแต่ระยะต้นอ่อนจนถึงตัดดอก อาการเริ่มแรกจะมีจุดสีน้ำตาลเข้มและมีสีเหลืองล้อมรอบ มักเกิดกับใบแก่มากกว่าใบอ่อน ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม หรือช่วงที่มีน้ำค้างมาก หากเป็นมากจะทำให้ทานตะวันไม่ให้ผลผลิตเลย

การป้องกัน

ให้หลีกเลี่ยงการเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูก และตัดทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้งเสีย

แมลงศัตรูทานตะวัน

แมลงศัตรูทานตะวันที่สำคัญ ได้แก่ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ผัก หนอนม้วนใบส้ม

การป้องกันกำจัด

วิธีที่ดีที่สุดคือดูแลรักษาต้นทานตะวันให้เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง หมั่นกำจัดวัชพืชทำความสะอาดต้นด้วยการ นำใบแก่ที่ร่วงหล่นออกไปให้พ้นบริเวณต้น กำจัดต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นน้ำหมักสะเดาหรือสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น ตะไคร้หอม ข่า ฟ้าทะลายโจร พริกขี้หนู หรือน้ำหมักชีวภาพ เพื่อขับไล่แมลงศัตรูพืชทุก ๆ สัปดาห์ ก่อนที่จะมีโรคแมลงรบกวน โดยควรทำในช่วงเช้าหรือหลังฝนตกหนัก และควรมีการปลูกพืชหมุนเวียนบำรุงดินชนิดอื่น เพื่อตัดวงจรของโรคแมลง และให้มีการใช้ประโยชน์จากดินอย่างเต็มที่ เพราะพืชแต่ละชนิดมีรากลึกและต้องการธาตุอาหารแตกต่างกัน


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
ข้อมูลรูปภาพจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3089
ความรู้ด้านการเกษตร ดอกทานตะวันสีแดง
ความรู้ด้านการเกษตร ดอกทานตะวันสีแดง
ทานตะวันสีแดง Helianthus Sunflower Jerusalem artichoke Sunroot Red
ชื่อวงศ์ COMPOSITAEทานตะวันสีแดง

ดอกทานตะวันมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาตะวันตก ได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยสมัยอยุธยา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2199 ต่อมาก็ได้มีการแพร่กระจายทั่วไป ทานตะวันเป็นพืชล้มลุกอายุสั้น เป็นพืชตระกูลถั่วเช่นเดียวกับเบญจมาศ คำฝอย ดาวเรือง และบัวตอง สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ต้องการน้ำน้อย ชอบแสงแดดจัดๆ ทานตะวันเป็นทั้งพืชเศรษฐกิจที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และด้วยดอกที่มีความสวยงามสะดุดตา จึงทำให้ทุ่งทานตะวันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นของทานตะวันสีเหลืองโดยทั่วไปจะมีลักษณะตรง และสูงประมาณ 3-4 ฟุต หรืออาจสูงได้ถึง 6 ฟุตถ้าปลูกในสถานที่ที่มีอากาศหนาวเย็น แต่สำหรับทานตะวันดอกสีแดงจะมีลำต้นสูงได้ถึง 45-300 ซม. เลยทีเดียว

ใบของทานตะวันมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ขอบใบเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ปลายใบแหลม มีความกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว และยาวประมาณ 1 ฟุต

ดอกมีขนาดใหญ่ ใน 1 ต้นจะมีดอกประมาณ 5 ดอก ซึ่งแตกต่างจากสีเหลืองที่มีต้นละ 1 ดอก เมื่อดอกบานเต็มที่แล้วจะมีความกว้างประมาณ 5-10 นิ้ว มีกลีบดอกสีแดงแผ่บานเป็นวงกลม และมีเกสรรูปวงกลมเกือบเท่าตัวดอกอยู่บริเวณกลางดอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งภายในดอกก็มีเมล็ดอยู่มากมาย

การขยายพันธุ์
สามารถทำได้ด้วยการเพาะเมล็ด โดยให้อยู่ในอุณหภูมิประมาณ 21-30 องศาเซลเซียส เมล็ดจะงอกขึ้นมาภายในระยะเวลา 10 วัน ดินที่เหมาะกับการปลูกทานตะวันคือ ดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี นิยมปลูกหลังจากฤดูฝน เหมาะแก่การปลูกทดแทนพืชชนิดอื่น เนื่องจากทนต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้งได้ดี ต้องการน้ำน้อย และชอบแสงแดดจัดๆ

การเตรียมดิน
ก่อนปลูกให้ไถพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ต่อจากนั้นให้ไถพรวนดินให้ละเอียดอีกครั้ง แล้วยกร่องทำแปลงปลูกแบบแถวเดียวหรือแถวคู่ก็ได้ โดยให้แปลงปลูกมีความกว้างประมาณ 1.5 เมตร

วิธีการปลูก
ใช้หลุมปลูกที่ลึกประมาณ 4-5 ซม. โดยใน 1 หลุม ให้หยอด 2 เมล็ด ใช้ระยะปลูกประมาณ 75×25 ซม. แล้วใช้ดินกลบให้มิดชิด เมื่อเมล็ดงอกและมีอายุได้ 10 วัน ควรถอนให้เหลือต้นกล้าเพียงหลุมละ 1 ต้น

การใส่ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 ในอัตราไร่ละ 50 ก.ก. โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ใส่รองก้นหลุมพร้อมการปลูก 25 ก.ก. ส่วนที่เหลืออีก 25 ก.ก. ให้ใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 ในอัตราไร่ละ 50 ก.ก. หลังจากต้นกล้ามีอายุได้ 20-25 วัน โดยให้โรยข้างแถวแล้วกลบให้มิดชิด หรือจะใช้สูตร 16-8-8 ในอัตราไร่ละ 60-70 ก.ก. แบ่งใส่เป็น 2 ครั้งเท่าๆ กัน โดยใส่ครั้งแรกเพื่อรองก้นหลุมพร้อมการปลูก ส่วนครั้งที่ 2 ใส่โรยข้างแถวแล้วพรวนกลบหลังจากต้นกล้ามีอายุได้ 20-25 วันแล้ว

การให้น้ำ
ควรให้น้ำทุกๆ 10-14 วัน ในปริมาณ 30-35 มิลลิเมตร/ครั้ง หลังจากที่ดอกบานได้ประมาณ 20-25 วันแล้วจึงค่อยหยุดให้น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมแปลงปลูกเกิน 24 ชั่วโมง

การปลูกทานตะวันสีแดงต้องมีการจัดการเรื่องน้ำ ดิน ปุ๋ย และเมล็ดเป็นอย่างดี เพราะไม่เหมือนกับการปลูกดอกทานตะวันทั่วไป แต่ก็เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ ส่วนเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศที่ร้อนมากไป หรือมีฝนตกชุกมากเกินไปก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ สิ่งนี้จึงเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับการปลูกทานตะวันดอกแดงอีกกรณีหนึ่ง

ดอกทานตะวันสีแดงต้องการความดูแลเอาใจใส่ในทุกๆ เรื่องมากกว่าทานตะวันสีเหลือง และเมล็ดพันธุ์ก็มีราคาค่อนข้างแพงด้วย จำเป็นต้องคอยฉีดยาฆ่าแมลงและให้การดูแลทั้งเช้า-เย็น ส่วนทานตะวันดอกเหลืองให้การดูแลสัปดาห์ละครั้งก็เป็นการเพียงพอแล้ว

ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป เกษตรกรก็มักทำการเพาะปลูกทานตะวัน เมื่อมีอายุครบ 55-60 วัน ก็จะเริ่มบานและให้เมล็ด ดอกทานตะวันจะเริ่มแห้งหลังจากบานได้ 15 วันแล้ว หลังจากนั้นเกษตรกรก็จะทำการเก็บเกี่ยวเมล็ดทานตะวันที่แห้งคาต้นอยู่ แหล่งที่ปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทยคือบริเวณจังหวัดลพบุรี และสระบุรี

ประโยชน์จากเมล็ดทานตะวัน

คุณค่าทางอาหารในเมล็ดทานตะวันมีอยู่อย่างมากมายคือ โปรตีน แป้ง เกลือแร่ และกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลอิค กรดอาซิโนอิค และยังมีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ เค บี2 อี และดี ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ช่วยลดปัญหาโรคไขมันในเส้นเลือดอุดตัน น้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดทานตะวันสามารถนำไปบริโภคในรูปของน้ำมันสลัด หรือใช้ปรุงอาหารได้ หรือจะนำเมล็ดทานตะวันไปแปรรูปทำเป็นเมล็ดทานตะวันอบแห้ง คุ้กกี้ ข้าวเกรียบ ข้าวตัง น้ำผึ้ง นมผึ้ง เกสรผึ้ง เนยเทียม สบู่ หรือสีน้ำมันขัดเงา ก็ได้เช่นกัน


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3144
สารพัดประโยชน์ดอกทานตะวัน
สารพัดประโยชน์ดอกทานตะวัน
เวลาเห็นแสงแดดจ้าแล้วทุกคนจะต้องรีบหันหน้าหนีไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ตรงข้ามกับ ดอกทานตะวัน ที่ส่องแสงจากที่ใดก็จะรีบหันหน้าเข้าหาอย่างรวดเร็วมีสีเหลืองสวยงามและชอบแสงแดดเป็นพิเศษแล้วคุณสมบัติ ด้านการรักษาโรคก็ไม่ได้รับ มากกว่า

ที่มาของชื่อ ดอกทานตะวัน
ถ้าใครได้ไปเที่ยวทุ่งทานตะวันทานตะวันหรือว่าจะออกมาจากดอกทานตะวันที่คอหอยในเวลากลางคืนพอพระอาทิตย์ตกดินจะออกไปช่อดอกทานตะวันและหันไปทางทิศตะวันออกหันไปทางทิศตะวันออก... ชื่อ ดอกทานตะวัน แต่ การหันของดอกทานตะวันจะลดน้อย ลงเรื่อย ๆ (หลังตามที่คุณคุณคุณอาทิตย์) มีหัวเรื่อง: ผสมเกสรหัวเรื่อง: การแล้วหลังช่วงคุณดอกทานตะวันโดยช่อคุณดอกจะหันหน้า: ภาพประกอบไปทางทิศตะวัหนังสือนออกเสมอลักษณะ อง ดอก - ต้นทานตะวัน

ลักษณะของ ดอก - ต้นทานตะวัน

ต้นทานตะวันเป็นพืชที่มีความยาวประมาณ 1 - 3 เมตรมีความยาวประมาณ 3-3.5 เมตรโดยมีรากแก้วที่มีความแข็งแรงสูงถึง 150 เมตร -270 เซนติเมตรที่สำคัญรากสามารถขยายได้กว้างถึง 60-150 เซนติเมตรขอให้ดอก ทานตะวันยากเพราะดูดความชื้นในดินหล่อเลี้ยงได้อย่างดี

ใบดอกทานตะวันมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันและใบมีดแตกต่างกันมี 5 ใบแล้วมีจำนวนมากรวมกันใน 1 ต้นประมาณ 8-70 ใบมีดรูปทรงกลมหรือรูปไข่เป็นรูปหัวใจหรือรูป หัวใจมีสีแดงเข้มและสีเขียวเข้มรูปใบจักรีซี่โครงกว้างประมาณ 9-25 เซนติเมตรยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตรการสร้างใบจะมีมากในช่วงก่อนดอกบานและลดลง เมื่อดอกบาน

ดอกทานตะวันมีลักษณะเป็นรูปจานกลมๆแบน ๆ เป็นดอกเดี่ยวออกมาตอนปลายกลีบดอกมีสีเหลืองเข้มมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซนติเมตรและมีกลีบดอกเป็นจำนวนมากเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เล็กจำนวนมาก (700 -3_000 ดอก) ซ้อนกันอยู่กลางดอกมีเกสรสีน้ำตาลอมเหลือง

ผลไม้ดอกทานตะวัน(หรือเรียกว่า ทานตะวัน ) มีขนาดใหญ่มากประมาณ 6-17 มิลลิเมตรเปลือกหุ้มผลมีสีเทาเข้ม หรือสีดำและเป็นลายส่วนภายในผลมีสีเหลืองอ่อนเพียง 1 คะแนนความยาวสามารถแบ่งได้

น้ำมันที่ใช้น้ำมันสกัดเป็นส่วนเล็ก ๆ สีดำเปลือก
ใครเป็นคนแรกที่มีเปลือกหนาไม่ลงในเนื้อด้วยใบมะกรูดอบแห้งแล้วนำมาปรุงแต่งรสชาติให้ได้มากที่สุดเมล็ดทานตะวันอบขิงหรืออบเนย
เมล็ดที่ใช้เลี้ยงนกหรือไก่

ดอกทานตะวัน มีสรรพคุณทางยาประโยชน์ทั้งต้นรากใบดอก
ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้ที่จัดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาและป้องกันโรคได้ดีซึ่งทุกส่วนของต้นดอกทานตะวันนั้นทั้งดอก ใบ เมล็ด ลำต้น และรากล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยในดอกทานตะวันเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นให้พลังงานสูง มีไขมันและเส้นใยอาหาร อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินบีทุกชนิด วิตามินซี วิตามินอี รวมทั้งแคลเซียม สังกะสี ทองแดง ซีลีเนียม เป็นต้น

นอกจากนี้ดอกทานตะวันยังถูกนำมาแปรรูปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีกมากอย่างเมล็ดทานตะวันที่สามารถใช้กินเล่นได้แบบเพลินๆ แถมมีคุณค่าต่อร่างกาย หรือน้ำมันดอกทานตะวันซึ่งถือเป็นน้ำมันที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นกันเพราะช่วยป้องกันโรคได้ดี หรือในส่วนของต้นอ่อนทานตะวันก็เป็นอาหารสุขภาพที่ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงได้อย่างดียิ่ง

14 สรรพคุณของดอกทานตะวัน ประโยชน์ในการรักษาโรค

1. ดอกทานตะวันเป็นแหล่งของน้ำมันคุณภาพดี ที่เมื่อนำมาใช้ปรุงอาหารกินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย เพราะน้ำมันที่สกัดมาจากดอกทานตะวันเป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงซึ่งจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจได้เป็นอย่างดี

2. น้ำมันจากดอกทานตะวันหรือเมล็ดทานตะวันยังอุดมด้วยวิตามินที่จำเป็นอยู่ครบ จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร เช่น เนยเทียม นมไม่มีไขมัน ฯลฯ และในเครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุงผิว ยาสระผมและครีมนวดผม ฯลฯ

3. ดอกทานตะวันเมื่อนำมาทำเป็นน้ำดื่มก็ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ช่วยต้านโรคได้หลายชนิด บำรุงสุขภาพ หายจากอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยได้เร็ว อย่างแก้อาการไข้หวัด บรรเทาอาการไอและวิงเวียนศีรษะจะเป็นลม

4. ดอกทานตะวันมีเมล็ดที่นำมากินเป็นอาหารว่าง ซึ่งอุดมด้วยคุณประโยชน์ทางสารอาหารสูง มีโปรตีนที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ จึงเหมาะกับคนกินมังสวิรัติที่ไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้ แถมยังมีไขมันสูงกว่าแป้ง มีธาตุเหล็กสูงกว่าไข่แดงหรือตับสัตว์อีกด้วย

5. เมล็ดดอกทานตะวันเป็นแหล่งรวมของวิตามินที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินอีที่มีมากกว่าในถั่วเหลืองและข้าวโพดถึง 3 เท่า ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยรักษาผิวพรรณให้ยังคงความชุ่มชื้น ดูอ่อนเยาว์ เพราะจะต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของผิวพรรณ

6. เมล็ดของดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น ทำให้หัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจวายและการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิตสูง

7. ดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยชะลอการเกิดโรคต้อกระจก ทำให้สายตาเป็นปกติ มองเห็นได้ชัดเจนไม่เสื่อมเร็ว

8. ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวันนำมาทานเป็นอาหารได้ ต้นอ่อนทานตะวันที่เพาะมาจากเมล็ดนั้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารรวมถึงน้ำดื่มเพื่อสุขภาพได้ ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติกรอบอร่อยและย่อยง่ายแล้ว ยังมีทั้งวิตามินและเกลือแร่หลากหลาย ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสมอง และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี

9. ดอกทานตะวันมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ที่ช่วยแก้อาการท้องผูก ทำให้ระบบการขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยขับปัสสาวะ

10. ดอกทานตะวันช่วยให้ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องก่อนที่ประจำเดือนจะมา หรือในระหว่างที่มีประจำเดือนก็ทำให้หายจากอาการปวดท้องได้ แก้อาการตกขาวด้วย

11. สรรพคุณดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการปวดท้องแน่นหน้าอก รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และแก้โรคบิดได้

12. รากของดอกทานตะวันมีประโยชน์ในทางการแพทย์ ซึ่งจะใช้เป็นอาหารให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ เพราะมีวิตามินบี 1 รวมทั้งแร่ธาตุที่มีสรรพคุณช่วยแก้อาการของโรคนี้ได้ดี

13. ดอกทานตะวันมีฤทธิ์ที่ช่วยถอนพิษไข้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ทำให้อวัยวะภายในร่างกายมีความชุ่มชื้น

14. ดอกทานตะวันสีเหลืองสวยเด่นมีประโยชน์ใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าเพื่อให้เป็นสีเหลือง และนิยมใช้ตกแต่งในงานพิธีต่างๆ หรือใช้เยี่ยมคนป่วยเพราะจะให้ความรู้สึกสดใส

จากสรรพคุณและประโยชน์ของดอกทานตะวันที่กล่าวมาทั้งหมดเห็นได้ว่าดอกทานตะวันเป็นไม้ที่น่าสนใจสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างมากเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนที่เราให้ออกไปจากร่างกายที่แข็งแรงส่วนของดอกสีเหลืองสวย ก็นับเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เราไม่ควรพลาดจริงๆ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:2986
มารู้จักแต่ละชนิด!! ดอกทานตะวันมีสายพันธุ์อะไรบ้าง? พร้อมวิธีดูแลอย่างง่าย ๆ
มารู้จักแต่ละชนิด!! ดอกทานตะวันมีสายพันธุ์อะไรบ้าง? พร้อมวิธีดูแลอย่างง่าย ๆ
ทานตะวันเป็นพืชที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ดอกทานตะวันความหมายของชื่อเหมือนกับฤดูร้อนอันสดใส เป็นดอกไม้ที่หลายคนชื่นชอบและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือก่อนที่จะแพร่กระจายไปทั่ว ดอกทานตะวันนั้นมีหลากหลายพันธุ์ เรามารู้จักกับทานตะวันให้มากขึ้นกันว่ามีสายพันธุ์อะไรบ้างและมีวิธีดูแลอย่างไร

ดอกทานตะวันความหมายนั้นแตกต่างกันไปตามแต่วัฒนธรรม อย่างเช่น ชาวจีนกล่าวกันว่าทานตะวันหมายถึงความโชคดีและความสุขที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นสาเหตุที่พวกเขามักจะได้รับเมื่อสำเร็จการศึกษาหรือเมื่อเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ในขณะที่ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าทานตะวันหันไปทางดวงอาทิตย์ เพราะนางไม้ที่ชื่อ Clytie ชื่นชอบอพอลโลเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งตอนแรกเขาก็รักเธอเช่นกันแต่แล้วเขาก็หันไปหานางไม้อื่น ด้วยความโกรธแค้นเธอจึงบอกพ่อของนางไม้ตัวอื่น และนั่นทำให้เธอถูกเขาลงโทษด้วยการฝังเธอทั้งเป็นและกลายเป็นทานตะวันในที่สุด แต่ความรักของเธอที่มีต่อเขานั้นแข็งแกร่งมาก เธอเฝ้ามองเขาเคลื่อนที่ไปบนท้องฟ้าทุกวันเช่นเดียวกับทานตะวันตามดวงอาทิตย์นั่นเอง

ดอกทานตะวันมีพันธุ์อะไรบ้าง และดูแลรักษาอย่างไร
ทานตะวันเป็นพืชที่เติบโตได้เร็วมากจากเมล็ด และมักจะมีหลายหัวต่อก้าน ใบของมันมีความคล้ายคลึงกับวัชพืช ทำให้บางคนคิดว่าทานตะวันทั่วไปเป็นวัชพืชเนื่องจากมันเติบโตได้ง่ายมาก แต่สำหรับทานตะวันที่ปลูกเพื่อประดับในสวนส่วนตัวมักจะมีเพียงดอกเดียวต่อก้านเท่านั้นและมีให้เลือกมากกว่า 70 สายพันธุ์ และพันธุ์เหล่านี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ ทานตะวันยักษ์ ทานตะวันแคระ และทานตะวันหลากสี เรามารู้จักทานตะวันทั้งสามกลุ่มนี้กันเลย

1. ทานตะวันยักษ์
ทานตะวันยักษ์
Pic : thespruce.com
ทานตะวันประเภทนี้สามารถเติบโตได้สูงอย่างก้าวกระโดด โดยดอกที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมานั้นวัดได้ที่ 30 ฟุต 1 นิ้ว ในขณะที่ทั่วไปจะมีความสูงประมาณ 10-12 ฟุตเท่านั้น นิยมปลูกทานตะวันหน้าบ้านหรือในสวนบ้านเพื่อสร้างความโดดเด่นตามกำแพงหรือรั้วเนื่องจากความสูงของมัน แต่ขณะเดียวกันควรมีไม้ค้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ลำต้นโค้งงอหรือยุบลงภายใต้น้ำหนักของหัวดอกไม้ สามารถปลูกได้ง่าย ๆ เพียงหว่านจากเมล็ด เพราะโดยทั่วไปทานตะวันจะเติบโตอย่างรวดเร็วและออกดอกที่น่าประทับใจ สายพันธุ์ของทานตะวันยักษ์นั้น ได้แก่

1. Skyscraper

ทานตะวันพันธุ์นี้เป็นดอกที่สูงที่สุดที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีความสูงระหว่าง 12-14 ฟุต สีเหลืองสดใสสวยงามพร้อมกับตรงกลางสีส้มเข้ม สามารถหว่านเมล็ดได้อย่างง่ายดายเพียงประมาณสี่สัปดาห์ ต้องการแสงแดดจัดและน้ำมาก รวมถึงดินที่มีสารอาหารครบถ้วน

2. American Giant Hybrid

พันธุ์นี้สูงที่สุดโดยปกติจะอยู่ระหว่าง 10-16 ฟุต และยังสามารถที่จะเติบโตได้สูงกว่านี้อีกด้วย ลำต้นมีความหนาและแข็งแรงเพื่อให้ทนต่อน้ำหนักของหัวดอก หน้าดอกมีสีน้ำตาลเข้มและโดยรอบกลีบเป็นสีเหลืองสด มักจะเติบโตในเวลาเพียงหนึ่งหรือสองสัปดาห์และดอกผลิบานในฤดูร้อน ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี แสงแดดจัด และน้ำปริมาณมาก

3. Russian Mammoth

ดอกทานตะวันยักษ์นี้มีความสูงระหว่าง 9-12 ฟุต โดยมีดอกยาวถึง 14 นิ้ว แม้ว่าจะชอบแสงแดดจัดแต่ก็จำเป็นต้องปลูกในสถานที่ที่มีที่กำบังลม เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกไม้ขนาดใหญ่ถูกพายุพัด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำได้ดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และต้องการการเอาใจใส่เพียงเล็กน้อยหลังจากที่พืชงอกแล้ว กลีบดอกไม้เป็นสีเหลืองเข้มในขณะที่หน้าดอกจะเป็นสีน้ำตาลส้ม

2. ทานตะวันแคระ
ทานตะวันแคระ
Pic : thespruce.com
ทานตะวันแคระที่มีลักษณะเล็กจิ๋วดูน่ารัก การดูแลจะเหมือนกับทานตะวันขนาดใหญ่ เพียงแค่มีความสูงที่น้อยกว่าเท่านั้นจึงไม่ต้องการการสนับสนุนให้ลำต้นตั้งตรง สามารถนำไปทำไม้ตัดดอกที่ยอดเยี่ยมและมักจะอยู่ได้นานเช่นเดียวกับทานตะวันประเภทอื่น ๆ มีหลายสายพันธุ์ที่มีข้อดีแตกต่างกันไป ได้แก่

1. Elf

ทานตะวันเอลฟ์เติบโตสูงเพียง 14 นิ้วเท่านั้น และดูน่ารักเมื่อปลูกเป็นกลุ่มในภาชนะหรือกระถางดอกไม้ เป็นพันธุ์ไม้ดัดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง เหมาะสำหรับปลูกดอกทานตะวันในสวนน่ารักในบ้าน หัวดอกไม้เมื่อโตขึ้นจะมีขนาดประมาณสี่นิ้ว หว่านเมล็ดประมาณสามสัปดาห์และออกดอกระหว่างกลางถึงปลายฤดูร้อน

2. Suntastic Yellow

ทานตะวันแคระพันธุ์นี้สามารถเติบโตได้สูงถึง 20 นิ้ว และเป็นทานตะวันที่สมบูรณ์แบบที่ปลูกในกระถางหรือภาชนะ เป็นพันธุ์ที่มีเสน่ห์มากด้วยเพราะขนาดที่เล็ก กลีบสีทองเข้มและตรงกลางสีดำ สามารถออกดอกได้มากถึง 20 ดอก ชอบแสงแดดจัดและดินที่มีการระบายน้ำได้ดี สามารถออกดอกได้หลังจากหว่าน 2 เดือน

3. Firecracker

ทานตะวันชนิดแคระหรือกึ่งแคระอีกชนิดหนึ่ง เป็นทานตะวันทั่วไปที่สามารถเติบโตได้สูงถึง 90 ซม. และกว้าง 20-30 ซม. ทำให้สามารถปลูกในกระถางหรือภาชนะได้อย่างดี เมื่อบานดอกไม้ของมันจะมีโทนสีส้มทองและตรงกลางเป็นสีน้ำตาลช็อคโกแลต

3. ทานตะวันสี
ทานตะวันสี
Pic : thespruce.com
ทานตะวันหลากสีเป็นพันธุ์ที่มีความโดดเด่นจากพันธุ์อื่น ๆ อย่างแท้จริง ด้วยรูปแบบที่มาในหลายสีสันและหลายขนาด ทำให้ดูโดดเด่นเป็นพิเศษเมื่อเติบโตท่ามกลางทานตะวันสีเหลืองปกติ และมีพันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่

1. Moulin Rouge

ทานตะวันสียอดนิยมนี้มีกลีบดอกสีแดงเข้มและล้อมรอบหน้าดอกไม้สีเข้มเช่นเดียวกัน มีความสูงประมาณ 4 ฟุต หน้าดอกมีขนาดประมาณ 5 นิ้ว เป็นหนึ่งในดอกทานตะวันสีแดงที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด เนื่องจากแตกแขนงได้ดีและดอกไม้ไม่มีละอองเรณู นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือกลีบดอกสีแดงเข้มทนต่อการซีดจางที่เกิดจากแสงแดดจัด

Shopee 11.11 ลด ใหญ่ มาก Shopee 11.11 ลด ใหญ่ มาก Shopee 11.11 ลด ใหญ่ มาก
2. Strawberry Blonde

ทานตะวันพันธุ์นี้จะมีสีที่แปลกโดยเฉพาะโดยที่ขอบด้านนอกสุดของกลีบดอกจะเป็นครีมอ่อน ๆ อยู่ระหว่างสีแดงและสีชมพู สามารถเติบโตได้สูงถึง 5 ฟุต และแตกแขนงได้ดี ควรปลูกดอกทานตะวันให้ห่างกัน 1-2 ฟุตเพื่อให้สามารถแตกกิ่งก้านได้อย่างอิสระ

3. Italian White

ทานตะวันพันธุ์นี้จะมีดอกไม้ที่มีหน้าสีน้ำตาลช็อคโกแลตเข้มและกลีบดอกสีครีม กลีบดอกมีลักษณะเรียวยาวและหนาแน่นน้อยกว่าทานตะวันทั่วไป ทำให้มีลักษณะคล้ายกับดอกเดซี่ มีความสูงประมาณ 5 ฟุต สามารถปลูกทานตะวันหน้าบ้านได้ด้วยการหว่านเมล็ด และต้องสามารถเข้าถึงแสงแดดและดินที่ระบายน้ำได้ดีด้วย

มาปลูกดอกทานตะวันที่บ้านเพื่อความสดชื่น สวยงาม ความหมายก็ดีอีกด้วย
ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้ที่ดีที่สุดที่บานในฤดูร้อน ให้สีสันสวยงามสดใส ทั้งยังปลูกและดูแลง่าย สามารถปลูกดอกทานตะวันภายในรั้วบ้านหรือในสวนหลังบ้านได้แค่เพียงหว่านเมล็ด หรือหากใครไม่มีพื้นที่แนะนำทานตะวันแคระเพราะสามารถปลูกในภาชนะต่าง ๆ ได้ และยังสามารถตัดดอกมาใส่แจกันตกแต่งบ้านได้อย่างน่ารักอีกด้วย


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3183
ดอกทานตะวัน ปลูกเอาน้ำมันทำรายได้ดี
ดอกทานตะวัน ปลูกเอาน้ำมันทำรายได้ดี
ดอกทานตะวัน เป็นไม้ดอกที่ไม่ได้มีแค่ความงามของสีเหลืองจัดจ้าน แต่ยังมีน้ำมันเยอะมาก จนถูกจัดอันดับเป็นพืชที่ให้น้ำมัน Top 5 กันเลยคะ ความน่าสนใจของดอกไม้ชนิดนี้คือความมีประโยชน์รอบด้าน จะปลูกทำสวยในบ้าน จะปลูกเป็นทุ่งให้บานเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวก็ได้ และยังนำผลผลิตมาแปรรูปเป็นขนมเป็นอาหารเสริมและเครื่องสำอาง และยังสามารถเอามาสกัดทำน้ำมันได้ด้วย ด้วยประโยชน์ที่มากมายขนาดนี้ เลยทำให้มีความต้องการในตลาดสูงมาก คราวนี้เพื่อนๆ เกษตรกรเริ่มมองเห็นโอกาสกันละยังครับ

ดอกทานตะวัน ปลูกเอาน้ำมันทำรายได้ดี
เรื่องเมล็ดพันธุ์ผมว่าเพื่อนๆ น่าจะพอหาได้นะครับ มีจำหน่ายจ่ายแจกอยู่ทั่วไป ผมแนะนำให้ใช้พันธุ์ที่ทางรัฐแจกให้นะครับ ซึ่งเขาแจกทุกปีอยู่แล้วครับ ทีนี้เรามาดูเรื่องการเตรียมที่ดินกันนะครับ ให้เราไถดะกันก่อนที่จะหว่านเมล็ด โดยทั่วไปถ้าปลูกโดยการหว่านจะใช้เมล็ดพันธุ์ไร่ละประมาณ 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเราปลูกแบบหยอดหลุม โดยเตรียมดินยกแปลงให้เป็นแนวก่อน แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ 1-2 เมล็ดต่อหลุม ก็จะใช้เมล็ดลดลงได้ประมาณร้อยละ 20 และยังทำให้ต้นดอกทานตะวันตั้งตรงเป็นแนวทำให้ดูแลง่ายครับ แล้วให้น้ำทันทีนะครับ เว้นแต่ว่าฝนเพิ่งตกเท่านั้นครับ

หลังจากปลูกแล้ว 10 วันเราก็ต้องให้น้ำเพิ่มนะครับ สังเกตจากตอนที่ดอกเริ่มผลิครับ และพอตาดอกเริ่มแตกก็ให้น้ำอีกครั้งนึงนะครับ แล้วทิ้งช่วงไปให้อีกทีก็ราวๆ 55 วันครับ ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกโตเต็มที่ครับ พอเริ่มติดเมล็ดก็ต้องให้น้ำสม่ำเสมอพอชุ่มครับ อย่าให้เอ่อขังนะครับ ระหว่างนั้นก็ต้องดูแลอย่าให้วัชพืชมารบกวนต้นดอกนะครับ

แม้ว่าต้นดอกทานตะวันจะทนแล้ง ทนแดด แต่ไม่ได้ทนได้ทุกอย่างนะครับ นก แมลงอะไรเราก็ต้องระวังกันนะครับ วิธีที่ดีที่สุดก็ใช้สารชีวภาพเข้าช่วยครับ ดีต่อต้นดอกและดีต่อตัวพวกเราเกษตรกรด้วยครับ และเรื่องน้ำนี่สำคัญอย่าให้น้ำขังเด็ดขาด เพราะโรครากเน่าจะตามมาในทันที

พอดูแลอย่างดีแล้วเราก็จะได้เวลาเก็บเกี่ยวกันละครับ เมื่อดอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก็บ่งบอกถึงความอิ่มตัวในการผลิตน้ำมันของดอกทานตะวัน เราจึงต้องรีบเก็บเกี่ยว แล้วนำมาตากให้แห้งสนิท หรือเพื่อนๆ เกษตรกรมีเครื่องนวดเกี่ยว ก็นำเอารถเกี่ยวนั่นแหละครับ มาเก็บเกี่ยวเพื่อจะได้สีเมล็ดทานตะวัน และบรรจุกระสอบกันไป แล้วเก็บเพื่อเตรียมนำไปสกัดน้ำมันหรือส่งขายต่อให้แก่ผู้ผลิตน้ำมันเมล็ดทานตะวันกันต่อไปครับ

ดอกทานตะวันถือว่าเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนไม่มาก ใช้เวลาในการดูแลน้อย และยังมีโรงงานรอรับซื้อผลผลิตอยู่ แม้ว่าจะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่ก็ยังนับว่าเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งนะคะ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3015
ดอกทานตะวัน ความนิยมปลูกและทานดอกทานตะวันทั่วโลก
ดอกทานตะวัน ความนิยมปลูกและทานดอกทานตะวันทั่วโลก
ดอกทานตะวันเป็นพืชขนาดใหญ่ที่มีดอกสีเหลืองสดใสนั้น มีประวัติศาสตร์อันยาวนานใอเมริกาเหนือ โดยมีหลักฐานว่า ชนพื้นเมืองอเมริกันนำดอกไม้ชนิดนี้ไปใช้เป็นอาหารและยาตั้งแต่เมื่อประมาณ 1_000 ปีก่อนคริสตกาล

ในส่วนของเมล็ดทานตะวันนั้น เชื่อกันว่า นักสำรวจชาวสเปนน่าเป็นผู้นำเข้ามาในยุโรปโดยในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และเมื่อเวลาผ่านไป ดอกทานตะวันก็ได้ไปเติบโตอยู่ในยุโรปตะวันออกอีกด้วย จนปัจจุบัน ยูเครนเป็นผู้ผลิตน้ำมันดอกทานตะวันรายใหญ่ที่สุดของโลกไปแล้ว

นอกจากนี้ ดอกทานตะวันยังได้รับความนิยมมากขึ้นในโซเชียลมีเดีย เพราะผู้คนมากมายต่างชื่นชอบการถ่ายภาพตัวเองในทุ่งทานตะวันที่สดใส โดยภาพถ่ายดังกล่าวถูกเรียกว่า Sunflower Selfies

แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ภาพดอกทานตะวันได้ปรากฏในโซเชียลมีเดียด้วยเหตุผลที่แตกต่างออกไป นั่นก็คือ เพื่อแสดงการสนับสนุนยูเครนหลังจากการรุกรานของรัสเซีย

ผู้เชี่ยวชาญด้านสวนและนักเขียนอย่าง เจสสิก้า ดามิอาโน (Jessica Damiano) เพิ่งจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการปลูกดอกทานตะวันให้กับเอพี ซึ่งเธอระบถว่า การปลูกทานตะวันนั้นเป็นเรื่องง่าย และสามารถปลูกในกระถางได้ หากเป็นพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก

วิธีปลูก
หากต้องการปลูก ให้เริ่มจากการเพาะเมล็ดทานตะวัน โดยแช่เมล็ดลงไปในน้ำที่มีอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 2-8 ชั่วโมงเพื่อเริ่มกระบวนการปลูก จากนั้นหยอดเมล็ดลงไปในดินที่ลึก 2.5 ซม. และห่างกัน 15 ถึง 30 ซม. นอกจากนี้ ควรปลูกทานตะวันที่ภายนอกบ้านหลังจากช่วงเกิดน้ำค้างแข็งได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือเริ่มปลูกในบ้านเป็นเวลา 3 สัปดาห์ก่อนวันสุดท้ายของการเกิดน้ำค้างแข็ง และที่สำคัญ ต้องรักษาดินให้ดินเปียกอยู่ตลอดเวลา แต่อย่าเปียกจนเกินไป จนกว่าเมล็ดจะเริ่มงอกออกมา

เมื่อความหนาวเย็นจนทำให้เกิดน้ำค้างแข็งผ่านพ้นไปแล้ว ก็สามารถย้ายต้นทานตะวันออกมานอกบ้านได้ โดยเลือกบริเวณที่ต้นไม้จะได้รับแสงแดดโดยตรงเป็นเวลาอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง

เมื่อต้นทานตะวันเริ่มเติบโตขึ้น พวกมันจะมีรากยาวซึ่งจะฝังลึกลงไปในพื้นดิน ดังนั้น ก่อนที่จะปลูก จำเป็นต้องมีการเคลียร์พื้นที่โดยการขุดดินลงไปอย่างน้อย 33 ซม. เพื่อนำหินออกจากชั้นดิน

นอกจากนี้ ควรผสมปุ๋ยหมักจำนวนมากลงในดินที่ปลูกต้นทานตะวัน เนื่องจากปุ๋ยหมักช่วยให้สารอาหารที่สำคัญและยั่งยืนซึ่งจะช่วยพืชเติบโตได้ตลอดฤดูกาล โดยส่วนที่ขาดไม่ได้คือ การรดน้ำเมื่อดินเริ่มแห้ง และควรให้น้ำในปริมาณราว 250 มิลลิเมตร ต่อสัปดาห์ คอยสังเกตปริมาณน้ำฝนที่ได้รับในแต่ละสัปดาห์ และควรมีวัสดุคลุมดินที่หนาประมาณ 5 เซนติเมตรในการช่วยให้ดินกักเก็บน้ำได้

อย่างไรก็ดี ต้นทานตะวันอาจไม่ต้องการสารอาหารเพิ่มเติมหากปลูกพร้อมกับปุ๋ยหมัก แต่ถ้าหากไม่ได้ใส่ปุ๋ยหมักในระหว่างกระบวนการปลูก ก็ควรให้ปุ๋ยเอนกประสงค์หนึ่งหรือสองครั้งในช่วงฤดูเพาะปลูก

ทั้งนี้ ดอกทานตะวันบางชนิดสามารถเติบโตได้สูงถึงสามเมตร ซึ่งหมายความตัวต้นอาจต้องการการปกป้องจากลมแรง ดังนั้นการปลูกดอกทานตะวันชนิดนี้ไว้ใกล้ ๆ กับโครงสร้างหรืออาคารที่จะช่วยปกป้องพวกมันจากลมได้จะเป็นการดีที่สุด หรือจะผูกต้นทานตะวันไว้กับอะไรที่สูง ๆ เพื่อช่วยค้ำลำต้นก็ได้ และเมื่อดอกไม้บานแล้ว ก็สามารถตัดไปไว้ในบ้าน โดยนำไปใส่ลงในภาชนะที่มีน้ำ ก่อนที่จะเพลิดเพลินไปกับความสดใสและสวยงามของดอกทานตะวัน

วิธีรับประทาน
นอกจากดอกทานตะวันจะมีความสวยงามแล้ว เรายังสามารถนำมารับประทานได้อีกด้วย

เมื่อดอกไม้เริ่มร่วงหล่นตอนสิ้นสุดฤดูกาล ส่วนหลังของดอกจะเป็นสีน้ำตาล และเมล็ดของมันจะเริ่มงอกออกมาจากหัว โดยให้ตัดดอกออกจากต้น แล้วนำไปใส่ถุงหรือภาชนะก่อนจะนำเมล็ดออกจากดอกโดยการถูด้วยมือหรือใช้แปรงที่แข็ง ๆ จากนั้น จึงนำเมล็ดไปล้างแล้วตากข้ามคืนให้แห้ง

เราสามารถรับประทานเมล็ดทานตะวันได้ทั้งแบบสุกและแบบดิบ ซึ่งถ้าหากต้องการอบเมล็ดทานตะวัน เราต้องใช้เตาอบที่ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 165 องศาเซลเซียส โดยเมื่อเตาอบร้อน แล้วให้อบเมล็ดทานตะวันจนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาตั้งแต่ 15 ถึง 30 นาที

และหากต้องการให้เมล็ดทานตะวันมีรสเค็ม ก็ให้ต้มเมล็ดทานตะวันในน้ำเกลือเป็นเวลา 90 นาทีถึง 2 ชั่วโมง จากนั้นก็ปล่อยให้แห้งแล้วนำไปอบในเตาอบ ก่อนที่จะนำมารับประทาน


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
ข้อมูลรูปภาพจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:4985
ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ ..ทานตะวัน..
ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ ..ทานตะวัน..
ชื่อสมุนไพร ทานตะวัน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ชอนตะวัน(ภาคกลาง) _ บัวตอง _ บัวผัด (ภาคเหนือ) _ทานหวัน (ภาคใต้)_ ดอกกินตะเวน (ภาคอีสาน) หมากปังเจิญ (ไทยใหญ่) _ เซี่ยงยื่อขุย (จีนกลาง) _ เหี่ยวหยิกขุย (จีนแต้ติ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus Linn.
ชื่อสามัญ Sunflower _ Sunchoke
วงศ์ ASTERACEAE

ถิ่นกำเนิดทานตะวัน
ทานตะวันเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางโดยเชื่อกันว่ามีการปลูกในประเทศ เม็กซิโก ตั้งแต่ 2600 ปี ก่อนคริสตกาลแล้ว แต่ก็มีข้อมูลในบางแหล่งระบุว่า ทานตะวันมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทางตะวันตก ของสหรัฐอเมริกา โดยชาวอินเดียนแดงได้เก็บเมล็ดมาบริโภคเป็นเวลานานมากแล้ว จนกระทั่งเมื่อ 300 - 400 ปีที่ผ่านมา ชาวยุโรปได้นำทานตะวันไปปลูกเป็นไม้ดอก ในยุโรป

จากนั้นทานตะวันจึงได้แพร่กระจายพันธุ์ไปยัง เขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยเชื่อกันว่าทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก และในปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในแถบภาคกลางบริเวณจังหวัด ลพบุรี และเพชรบูรณ์ เป็นต้น

ประโยชน์และสรรพคุณทานตะวัน
1.ช่วยขับปัสสาวะ
2.แก้ไอ
3.แก้ขับหนองใน ฝีฝักบัว
4.แก้ไข้หวัด
5.ใช้ลดไขมันในเส้นเลือด
6.แก้พิษแมลงป่อง
7.แก้อาการปวดท้องเสียดแน่นหน้าอก
8.แก้ฟกช้ำ
9.เป็นยาระบาย
10.ขับพยาธิไส้เดือน
11.ช่วยขับลม
12.ช่วยทำให้ตาสว่าง
13.แก้วิงเวียน
14.แก้อาการปวดหัว
15.แก้ปวดฟัน
16.แก้ปวดท้องโรคกระเพาะ
17.แก้ปวดประจำเดือน
18.แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
19.ใช้แก้โรคหืด
20.แก้เบาหวาน
21.แก้อาการหูอื้อ
22.ช่วยขับเสมหะ

ลักษณะทั่วไปทานตะวัน

ทานตะวันจัดเป็นไม้ล้มลุก สูง 2-4 เมตร ลำต้นตั้งตรงเป็นแกนแข็ง มีขนสากแข็งสีขาวปกคลุม โดยส่วนใหญ่ลำต้นจะไม่มีแขนง แต่บางพันธุ์ก็อาจมีการแตกแขนง ส่วนขนาดของลำต้นจะขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม รากเป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปประมาณ 1-2.5 เมตร และมีรากแขนงแผ่ขยายไปด้านข้างยาวได้ถึง 1.5 เมตร เพื่อช่วยค้ำจุนลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันตรงข้ามใบเป็นรูปกลมรึหรือรูปไข่ โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีขนแข็งสากทั้งสองด้าน ก้านใบยาว โดยขนานของใบจะกว้างประมาณ 8-25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ส่วนสีของใบอาจเป็นสีเขียวอ่อน เขียว หรือเขียวเข้ม แล้วแต่ละพันธุ์ ซึ่งทานตะวัน 1 ต้นอาจมีใบได้ 8-70 ใบ เลยทีเดียว ดอก ออกเป็นดอกเดียวบริเวณปลายยอดลำต้น โดยเป็นรูปจานขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 6-37 เซนติเมตร (ซึ่งขึ้นกับพันธุ์และสภาพแวดล้อม) ดอกมีลักษณะเป็นแบบช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

ดอกย่อยที่อยู่รอบนอกจากดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลีบดอกสีเหลืองส้ม
ดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ที่พร้อมจะผสมได้ก่อนเกสรตัวเมีย ซึ่งกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลมมีสีเหลืองสด ส่วนด้านในคือช่อดอก มีลักษณะเป็นจาน ประกอบไปด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก กลางดอกมีเกสรสีน้ำตาลอมสีม่วงและภายในมีผลจำนวนมาก โดยในแต่ละจากดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 700 – 3000 ดอก
ผลเป็นรูปกลมรีและแบนนูน ด้านหนึ่งมน อีกด้านหนึ่งแหลม ผลมีขนาดประมาณ 6-17 มิลลิเมตร มีเปลือกหุ้มผลแข็ง เปลือกผลเป็นสีเทาเข้มหรือสีดำและเป็นลายในแนวตั้ง ภายในผลมีเมล็ดสีเหลืองอ่อน 1 เมล็ด ลักษณะรียาว

การขยายพันธุ์ทานตะวัน

ทานตะวันสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด โดยมีการดังนี้ ก่อนอื่นควรเลือกเมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปปลูกโดยควรเลือกเมล็ดพันธุ์ที่แก่จัดและเลือกจากต้นพันธุ์ที่แข็งแรงไม่มีโรค จากนั้นควรเตรียมดินในแปลงปลูกโดยไถดอนให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่าการไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทำให้น้ำซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น และควรกำลัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย และหลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ด โดยให้มีความห่างละร่อง 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตรแล้วจึงทำการปลูกโดยหยอดเมล็ดลงไปหลุมละ 2 เมล็ด แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มและหมั่นคอยรดน้ำตลอด เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น

สำหรับการเก็บเกี่ยวทานตะวัน จะมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก ซึ่งวิธีการเก็บเกี่ยวนั้นให้สังเกตจากด้านหลังของจานดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นช่วงการสร้างน้ำมันในเมล็ดจะเริ่มลดลง และจะหยุดสร้างน้ำมันเมื่อจานดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จึงเริ่มเก็บเกี่ยวได้ หลังจากเก็บเกี่ยวให้นำไปผึ่งแดดจัดๆ 1-2 แดด โดยแขวนให้หัวห้อยลงและหมั่นกลับช่อดอก เพื่อให้ดอกแห้งอย่างสม่ำเสมอ

องค์ประกอบทางเคมี

มีผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของทานตะวันพบว่า ทั้งต้นพบมีสาร Earotenoids_ Glycocoll_ Seopoline Heliangine_ Quercimeritin_ Phospholipid Methionine_ Cryptoxanthin_ Tocopherol _Globulin ดอก พบสาร quercimeritrin_ triterpenoid saponins_ helianthoside A_ B_ C เป็นต้น กรดอินทรีย์ ได้แก่ oleanolic acid และ echinocystic acid อับเรณูของดอกส่วนใหญ่มี ß-sitosterol ในเมล็ดพบโปรตีน _ ออกไซด์คาร์บอเนต และน้ำมัน โดยในน้ำมันพบสาร Phospholipid_ Linolenic acid_ Glycerol oil_ Phosphatide_ และ B-Sitosterol ใบ พบสาร neochlorogenic acid_ isochlorogenic acid _chlorogenic acid _ 3-o-feruloylquinic acid_ 4-o-caffeoylquinic acid_ caffeic acid_ scopoline heliangine dicarboxylic acid tricarboxylic acid citric acid malic acid fumaric acid เปลือกเมล็ด พบสาร cellulose_ lignin_ pentosan ราก พบสาร cytokinin _ kinetin ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือน zeatin แกนของต้น พบสาร chlorogenicacid_ scopo nine_ 4-o-caffeoylquinic acid_ neochlorogenic acid

นอกจากนี้ในเมล็ดทานตะวันยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดทานตะวันแห้ง ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 490กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 38.6กรัม
โปรตีน 16.7กรัม
ไขมัน 32.8กรัม
ใยอาหาร 3.7กรัม
วิตามินเอ 50 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 1.480 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.07มิลลิกรัม
วิตามินบี 2.4มิลลิกรัม
วิตามินบี 5 1.130 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 1.345 มิลลิกรัม
วิตามินบี 9 227 ไมโครกรัม
วิตามินซี 1.4 มิลลิกรัม
วิตามินอี 35.17 มิลลิกรัม
แคลเซียม 92มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 5.8มิลลิกรัม
ธาตุแมกนีเซียม 325 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 1.950 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 632มิลลิกรัม
ธาตุโพแทสเซียม 645 มิลลิกรัม
โครงสร้างทานตะวัน

ที่มา : Wikipedia

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้ขับปัสสาวะ โดยใช้แกนต้น 15 กรัม ต้มน้ำกิน หรือรากสด 15- 30 กรัม คั้นน้ำแล้วผสมกับน้ำผึ้งกินแก้อาการช่วยขับปัสสาวะขุ่นขาว ขับปัสสาวะ ให้ใช้แกนกลางลำต้น ยาวประมาณ 60 ซม. (หรือประมาณ 15 กรัม ) และรากต้นจุ้ยขึ้งฉ่ายราว 60 กรัม ใช้ต้มคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน แก้อาการบิดมูกเลือด ให้ใช้เม็ดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ต้มน้ำนานราว 60 นาที แล้วใช้ดื่ม แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ใช้แกนต้นยาว 2 ฟุต ต้มน้ำ กินวันละครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ติดต่อกัน หรือใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำกิน แก้อาการปวดหัว ตาลาย ใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25- 30 กรัม นำมาตุ๋น กับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง ใช้ปวดท้องน้อยก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน ใช้ฐานรองดอก 30- 60 กรัม ต้มน้ำแล้วเติมน้ำตาลแดง 30 กรัมกิน ลดความดันโลหิต ให้ใช้ใบสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน แก้ไอกรน ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล ทรายขาว ชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน ขับพยาธิไส้เดือน ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ต้มน้ำรับประทาน แก้อาการปวดฟัน ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือใช้ฐานรองดอก 1 อัน พร้อมรากเก๋ากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทานก็ได้ ฝีฝักบัว ฝีเป็นหนองมาก ใช้ฐานรองดอกคั่ว บดเป็นผงผสม น้ำมันงาทา แผลมีเลือดออก ใช้แกนต้นตำพอก แก้ไอ คั่วเมล็ดให้เหลืองทำเป็นยาชงดื่ม หูอื้อ ใช้เปลือกเมล็ด 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน


การศึกษาทางเภสัชวิทยา

มีผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของทานตะวันหลายฉบับทั่วในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ามีฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้

ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด มีการศึกษาถึงการทดลองในการลดไขมันในเลือดของเมล็ดทานตะวันในหนูขาวทดลอง โดยได้ทำการทดลองนานถึง 9 สัปดาห์ ด้วยการกระตุ้นให้หนูขาวเป็นเบาหวาน โดยให้ Alloxan แล้วจึงทำการป้อน น้ำมันดอกทานตะวัน ผลการทดลองพบว่าหนูทดลองมีปริมาณไขมันในเลือดมีระดับลดลง

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางคลินิกในการลดไขมันในเลือดของน้ำมันเมล็ดทานตะวันในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนจำนวน 14 คน โดยทำการทดลอง 28 วัน ซึ่งแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 3กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่มที่สองให้น้ำมันมะกอกผสมกับน้ำมันเมล็ดทานตะวัน และกลุ่มสามคือกลุ่มที่ให้อาหารไขมันสูง ภายหลังการทดลองพบว่ากลุ่มที่สองมีระดับคอเลสเตอรอลลดลงแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ฤทธิ์ลดความดันโลหิต มีการศึกษาทดลองฤทธิ์ลดความดันโลหิตโดยใช้สารสกัดน้ำจากดอกทานตะวันทดลองกับกระต่ายด้วยวิธีการฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ พบว่าจะทำให้ความดันโลหิตต่ำและกระตุ้นการหายใจ นอกจากนี้เมื่อนำมาหยอดลงบริเวณใบหูของกระต่ายก็ว่าทำให้เส้นเลือดขยายตัวขึ้น และยังทำให้การบีบตัวของลำไส้เล็กเพิ่มขึ้นอีกด้วย

และยังมีการทดลองทางคลินิก โดยใช้ฐานรองดอกแห้ง 45 กรัม บดเป็นผง และทำเป็นยาน้ำเชื่อม 100 มล. ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 10 ราย โดยให้กินครั้งละ 20 มล. วันละ 3 ครั้ง ผลปรากฏว่าหลังจากรักษาแล้ว 2 เดือนแล้ว สังเกตอาการพบว่าอาการดีขึ้น 4 ราย ดีขึ้นเล็กน้อย 4 ราย ไม่ได้ผล 2 ราย (รายหนึ่งแพ้ยาทำให้โรคกำเริบ แต่ภายหลังมีอาการดีขึ้น) สำหรับรายที่ได้ผล ความดันโลหิตจะเริ่มลดลงภายใน 1 สัปดาห์ และไม่มีอาการข้างเคียง

นอกจากนี้ทานตะวันยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ อีกเช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยังยั้งมะเร็ง ขับปัสสาวะและกลีบของดอกทานตะวันยังมีสาร triterpene glycosides ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูทดลองได้อีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยา

มีรายงานการทดสอบความเป็นพิษพบว่าสารสกัดของทานตะวันจากส่วนที่อยู่เหนือดินด้วย 50% เอทานอล มีค่า LD50มากกว่า 1.0 กรัมต่อกิโลกรัมเมื่อทำการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยสูง

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการใช้ทานตะวันเป็นสมุนไพรควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในปริมาณที่พอดีที่ได้ระบุไว้ในตำรับ ตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือใช้ติดต่อกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำ ก่อนจะใช้ทานตะวันเป็นสมุนไพรสำหรับบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
ข้อมูลรูปภาพจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3066
การปลูกทานตะวัน
การปลูกทานตะวัน
ทานตะวัน เป็นพืชนํ้ามันที่มีความสําคัญพืชหนึ่ง นํ้ามันที่ได้จากการสกัดจากเมล็ดทานตะวันจะ
มีคุณภาพสูง ที่ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลนิค หรือกรดลิโนเลอิค ที่จะช่วยลด
โคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนี้นํ้ามันจากทานตะวันยังประกอบด้วย วิตามิน เอ ดีอีและเคด้วย ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น สหภาพโซเวียต อาร์เจนตินา และประเทศ ในแถบยุโรปตะวันออก สําหรับประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้มีการ ปลูกทานตะวันเป็นอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับอุตสาหกรรมพืชนํ้ามันและความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ เพราะ ทานตะวันเป็นพืชที่มีอายุสั้นระบบรากลึก มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชอื่น ๆ แหล่งปลูกที่สําคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี

สภาพแวดล้อม
ทานตะวัน เป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถ
ออกดอกใหผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟาง เมื่่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจํานวนมากในเขตแห้งแล้งทั่วๆไป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ทานตะวัน เป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับเบญจมาศ คําฝอย ดาวเรือง เป็นพืชล้มลุกที่มีปลูกกัน
มากในเขตอบอุ่น การที่มีชื่อเรียกว่า ทานตะวัน เพราะลักษณะการหันของช่อดอกและใบจะหันไปทาง
ทิศของดวงอาทิตย์คือ หันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และทิศตะวันตกในตอนเย็น แต่การหันจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ หลังจากมีการผสมเกสรแล้วไปจนกระทั่งถึงช่วงดอกแก่ ซึ่งช่อดอกจะหันไปทิศตะวันออกเสมอ

ราก เป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปประมาณ 150-270 เซนติเมตร มีรากแขนงค่อนข้างแข็ง
แรงแผ่ขยายไปด้านข้างได้ยาวถึง 60-150 เซนติเมตร เพื่อช่วยคํ้าจุนลําต้นได้ดีและสามารถใช้ความชื้นระดับผิวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลําต้น ส่วนใหญ่ไม่มีแขนง แต่บางพันธุ์มีการแตกแขนง ขนาดของลําต้น ความสูง การแตก
แขนงขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล์อม ความสูงของต้นอยู๋ระหว่าง 1-10 เซนติเมตร การโค้งของลําต้น ตรงส่วนที่เป็นก้านช่อดอกมีหลายแบบ แบบที่ต้องการคือแบบที่ ส่วนโค้งตรงก้านช่อดอกคิดเป็นร้อยละ15 ของความสูงของลําต้น พันธุ์ที่มีการแตกแขนง อาจมีความยาวของแขนงสูงกวาลําตนหลักแขนง อาจแตกมาจากส่วนโคนหรือยอด หรือตลอดลําต้นก็ได้

ใบ เป็นใบเดี่ยวเกิดตรงกันข้าม หลังจากที่มีใบเกิดแบบตรงกันข้ามอยู่ 5 คู่แล้ว ใบที่เกิดหลัง
จากนั้นจะมีลักษณะวน จํานวนใบบนต้นอาจมีตั้งแต่ 8-70 ใบ รูปร่างของใบแตกต่างกันตามพันธุ์สีของ
ใบอาจมีตั้งแต่เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้ม ใบที่เกิดออกมาจากตายอดใหม่ๆ ก้านใบจะอยู่ในแนวตั้งจนกระทั้งใบมีความยาว 1 เซนติเมตร ปลายยอดจะค่อย ๆ โค้งลงจนเมื่อใบแก่แล้วก็จะโค้งลงมาเป็นรูปตัวยู (U) การสร้างใบจะมีมากจนกระทั่งดอกบาน หลังจากนั้นการสร้างใบจะลดน้อยลง
ดอก เป็นรูปจาน เกิดอยู่บนตายอดของลําต้นหลัก หรือแขนงลําต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก
อยู่ระหว่าง 6-37 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นกับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ดอกมีลักษณะเป็นแบบช่อดอก
ประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจํานวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. ดอกย่อยที่อยู่รอบนอกจานดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลับดอกสีเหลืองส้ม
2. ดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ที่พร้อมจะผสมได้ก่อนเกสรตัว
เมีย และสายพันธุ์ผสมเป็นส่วนใหญ่ผสมตัวเองน้อยมาก
ในแต่ละจานดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 700-3_000 ดอก ในพันธุ์ที่ให้นํ้ามัน ส่วนพันธุ์
อื่นๆ อาจมีดอกย่อยถึง 8_000 ดอก การบานหรือการแก่ของดอกจะเริ่มจากวงรอบนอกเข้าไปสู่ศูนย์
กลางของดอก ดอกบนกิ่งแขนงจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นแขนงที่แตกออกมาตอนแรกๆ ดอกจะมีขนาด
ใหญ่เกือบเท่ากับดอกบนลําต้นหลัก ส่วนใหญ่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า มักจะเลือกต้นชนิดที่มีดอกเดี่ยว
เพื่อความสมบูรณ์ของดอก และให้เมล็ดที่มีคุณภาพดี

เมล็ด (หรือผล) ประกอบด้วยเนื้อใน ซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเปลือกที่แข็งแรง เมื่อผลสุกส่วนของ
ดอกที่อยู่เหนือรังไข่จะร่วง ผลที่มีขนาดใหญ่จะอยู่วงรอบนอก ส่วนผลที่อยู่ข้างในใกล้ๆ กึ่งกลางจะมีผลเล็กลง

เมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. เมล็ดใช้สกัดนํ้ามัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดํา เปลือกเมล็ดบางให้นํ้ามันมาก
2. เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด เพื่อสะดวก
ในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน หรือทําเป็นแป้งประกอบอาหารหรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้ว แทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่าง เช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม
3. เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนก หรือไก่ โดยตรง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ทานตะวันชอบอากาศอบอุ่นในเวลากลางวันและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิที่เหมาะ
สมคือ อยู่ระหว่าง 18-25 องศาเซลเซียส สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินประมาณ 5.7-8 สามารถ
ขึ้นได้ในดินแทบทุกประเภท แต่ที่ขึ้นได้ดีคือดินที่มีหน้าดินลึกที่อุ้มนํ้าได้ดี แต่ไม่ชอบนํ้าขังและไม่ชอบดินที่มีลักษณะเป็นกรด หากดินที่ปลูกมีความชื้นตํ่า ผลผลิตของเมล็ดจะตํ่าลงมาก

พันธุ์
ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจํานวนเรณูที่ติด
อยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทําให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองตํ่า ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสม
เกสร จึงจะทําให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสําเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ ผลผลิตตํ่าเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดีโดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทําให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด

ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่
พันธุ์ไฮซัน 33 และพันธุ์เอส 101 ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่กลีบดอกสีเหลืองสดใสและให้ปริมาณนํ้ามันสูง สายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมในปัจจุบัน แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการวิจัยของหน่วยงานวิจัย สําหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือ สายพันธุ์ลูกผสม

ลักษณะดีเด่นของพันธุ์ลูกผสม ได้แก่
1. ผลผลิต เฉลี่ย 254.82 กิโลกรัมต่อไร่
2. การติดเมล็ด เฉลี่ยร้อยละ 76.3
3. เส้นผ่าศูนย์กลาง เฉลี่ย 15.4 เซนติเมตรของจานดอก
4. ความสูงของต้น เฉลี่ย 168.9 เซนติเมตร
5. อายุเก็บเกี่ยว เฉลี่ย 90-100 วัน
6. ปริมาณนํ้ามัน เฉลี่ยร้อยละ 48 ที่มา
1-4 การเปรียบเทียบพันธุ์ทานตะวันในท้องถิ่น จํานวน 5 พันธุ์ฤดูแล้ง ปี 2529 ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ 5-6 บริษัทแปซิฟิค เมล็ดพันธุ์จํากัด

ลักษณะที่ดีของพันธุ์ ลูกผสม คือ สามารถผสมเกสรภายในดอกเดียวกันได้สูง การติดเมล็ดค่อน
ข้างดี การหาผึ้งหรือแมลงช่วยผสมเกสรจึงไม่จําเป็นมากนัก แต่ถ้ามีแมลงช่วยผสมก็มีลักษณะประจํา
พันธุ์ที่มีผลต่อการดึงดูดแมลง เช่น กลีบดอกสีสดใส กลิ่นของเรณูปริมาณและคุณภาพของนํ้าหวานก็ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด ทนทานต่อการโค่นล้มและต้านทานต่อโรคราสนิม

ฤดูปลูก
ทานตะวันเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกฤดูกาล เพราะเป็นพืชที่ไม่ไวต่อช่วงแสง อย่าง
ไรก็ตามการปลูกในบางท้องที่อาจไม่มีความเหมาะสม เช่น ในที่ลุ่มภาคกลาง ในฤดูฝนจะมีนํ้าขังแฉะ
เกินไป หรือที่ดินในฤดูแล้งที่ไม่มีนํ้าชลประทาน ดังนั้นฤดูที่เหมาะสมที่สุดมี 2 ฤดูคือ

1. ปลายฤดูฝน ในสภาพพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียว ควรปลูกทานตะวันในปลายฤดูฝน คือ ตั้ง
แต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน แต่ถ้าสภาพพื้นที่ที่ปลูกเป็นดินร่วนทราย ควรปลูกในเดือนสิงหาคมตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูฝน
2. ฤดูแล้ง ถ้าในแหล่งปลูกนั้นสามารถใช้นํ้าจากชลประทานได้ก็สามารถปลูกเป็นพืชเสริมได้
โดยปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
เนื่องจากพันธุ์ลูกผสมนี้ดอกค่อนข้างใหญ่ เวลาเมล็ดแก่จานดอกจะห้อยลงมาและด้านหลังของ
จานดอกจะมีลักษณะเป็นแอ่งเหมือนกระทะก้นแบน เมื่อฝนตกลงมานํ้าฝนจะขังในแอ่งดังกล่าว จะทําให้เกิดโรคเน่าได้มากและทําให้เมล็ดเน่าเสียหาย ดังนั้นจึงควรปลูกในปลายฤดูฝน หรือในฤดูแล้งถ้ามี
ฝนตกนํ้าขังในแอ่งของจานดอก ให้เขย่าต้นเพื่อทําให้นํ้าไหลออกให้หมด

การเตรียมดิน
การเตรียมดินก้อนปลูก ควรไถดินให้ลึกในระดับ30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่า เมื่อฝนตกดินจะสามารถรับนํ้าให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทําลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทําให้นํ้าซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกําจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วย
เสริมธาตุอาหารต่างๆเพื่อให้พืชนําไปใช้ประโยชน์

การปลูก
หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทําร่องสําหรับหยอดเมล็ด โดยให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แลวกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้
เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นตํ่าควรใช้
ระยะปลูกกว้างขึ้น

การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้นํ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการนํ้ามาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายนํ้าดีก็ไม่จําเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่องการปลูกวิธีนี้ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจํานวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่และปลูกตามระยะที่แนะนํานี้
จะได้จํานวนต้น 6_400-8_500 ต้นต่อไร่

ใส่ปุ๋ย
ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดิน
ที่ปลูกด้วยสําหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนํา คือ สูตร 15 – 15 - 15 หรือ 16 - 16 - 8 อัตรา 30
- 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูก และใช้ปุ๋ยยูเรีย 46 – 0 - 0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อ
ไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกําลังจะออกดอก หากมีการตรวจ
วิเคราะห์ดินก่อนปลูก จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุ
โบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทําให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทําให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น

ให้นํ้า
นํ้าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทําให้ผล
ผลิตลดลงด้วย การให้นํ้าที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทําให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้นํ้าควร
ปฏิบัติดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้นํ้าทันทีหรือควรทําการปลูกทันทีหลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดนํ้า
ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 5 ระยะกําลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก การให้นํ้าควรให้นํ้าอย่างเพียง
พอให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและนํ้าขังการให้นํ้าควรคํานึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย ไม่ควรปล่อย
ให้ดินแห้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด

การกําจัดวัชพืช
ควรกําจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อทานตะวันมีใบจริง 2-4 คู่ ซึ่งการทํารุ่นครั้งแรก
นี้ทําพร้อมกับการถอนแยกต้นพืชให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม เป็นการสะดวกสําหรับเกษตรกรในการปฏิบัติ
และครั้งที่สองทําพร้อมกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เมื่อทานตะวันมีใบจริง 6-7 คู่ ทํารุ่นพร้อมกับใส่ปุ๋ยและ
พูนโคนต้นไปด้วย ในแปลงที่มีปัญหาวัชพืชขึ้นรบกวน ควรทําการกําจัดวัชพืชเพื่อป้องกันการแย่งอาหารและความชื้นในดิน ตั้งแต่ต้นยังเล็กหรือใช้สารเคมีคุมกําเนิดหรือใช้สารเคมีคุมกําเนิดพวกอะลาคลอร์ หรือเมโธลาคลอร์ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่จะงอกในอัตรา 300-400 ซีซีผสมนํ้า 4 ปี๊บ สําหรับฉีดพ่นในเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ โดยฉีดให้สมํ่าเสมอกันสามารถคุมการเกิดวัชพืชได้นานถึง 2 เดือน และควรใช้แรงงานคน สัตว์หรือเครื่องทุ่นแรง ทํารุ่นได้ตามความจําเป็น

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้สารเคมีกําจัดวัชพืชอะทราซีนในทานตะวันโดยเด็ดขาด

การเก็บเกี่ยว
ทานตะวัน จะมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก (พันธุ์ลูกผสม อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน)

วิธีการ
เก็บเกี่ยวนั้นให้สังเกตจากด้านหลังของจานดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นช่วงการสร้างนํ้ามันในเมล็ดจะเริ่มลดลง และจะหยุด
สร้างนํ้ามันเมื่อจานดอกเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้หลัง
จากนั้นให้นําไปผึ่งแดดจัด ๆ 1-2 แดด โดยแขวนให้หัวห้อยลงและ
หมั่นกลับช่อดอก เพื่อให้ดอกแห้งอย่างสมํ่าเสมอ ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงที่ยังมีฝนชุกให้นํามาผึ่งในร่ม
หลายๆ วันจนแห้งสนิท แล้วจึงรวบรวมไปนวด อาจใช้แรงคนหรือสัตว์หรือใช้เครื่องนวดเมล็ดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงก็ได้เสร็จแล้วนําไปทําความสะอาดแล้วเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด-ฝน และแมลงศัตรูได้ เพื่อรอจําหน่าย (ความชื้นของเมล็ดที่จะเก็บรักษาไว้ควรไม่เกิน 10%)

การให้ผลผลิต
การปลูกทานตะวันในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการบํารุงรักษาดีจะให้ผลผลิตไม่ตํ่ากว่า
300 กิโลกรัมต่อไร่แต่โดยเฉลี่ยประมาณไม่ตํ่ากว่า 200 กิโลกรัมต่อไร่

โรคแมลงและศัตรูทานตะวัน
- โรคใบและลําตำนไหม้อัลเทอร์นาเรีย
- โรคโคนเน่าหรือลําต้นเน่า
แมลงศัตรูทานตะวัน
- หนอนกระทู้ผัก
- หนอนเจาะสมอฝ้าย
- หนอนม้วนใบส้ม
- หนอนเจาะลําต้นข้าวโพด

ศัตรูทานตะวัน
นก หนูและอื่น ๆ นับว่าเป็นศัตรูสําคัญอีกประการหนึ่ง ที่จะทําความเสียหายให้แก่ทานตะวัน
โดยเฉพาะในแหล่งปลูกใหญ่ๆ ฉะนั้นเกษตรจะต้องหมั่นออกสํารวจตรวจแปลงเสมอ เมื่อพบว่ามีการ
ระบาดก็ให้รีบทําการป้องกันกําจัด โดยวิธีกลคือ การวางกับดัก การล้อมตีเป็นต้น

ประโยชน์ของทานตะวัน
แต่เดิมทานตะวันเป็นเพียงไม้ดอกไม้ประดับเท่านั้น ต่อมาได้นําเมล็ดมาเป็นของขบเคี้ยว และ
สกัดเป็นนํ้ามัน จึงทําให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญพืชหนึ่ง การใช้ประโยชน์จากทานตะวันมีหลายลักษณะดังนี้

1. เมล็ด ใช้บริโภคโดยตรง เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ได้ในเมล็ด มีธาตุเหล็กสูงไม่แพ้
ธาตุเหล็กจากไข่แดงและตับสัตว์เมื่อบดทําแป้งจะได้แป้งสีขาว มีไขมันสูง มีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 50ของปริมาณแป้ง
2. เปลือกของลําต้น มีลักษณะเหมือนเยื่อไม้นํามาทํากระดาษสีขาวได้คุณภาพดีลําต้นใช้ทํา
เชื้อเพลิงได้เมื่อไถกลบจะเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้ดี
3. ราก ใช้ทําแป้งเค้ก สปาเก็ตตี้ในรากมีวิตามินบี1 และธาตุอีกหลายชนิด แพทย์แนะนําให้ใช้ รากทานตะวันประกอบอาหารสําหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
4. นํ้ามัน นํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดจะให้ปริมาณนํ้ามันสูงถึงร้อยละ 35 และได้นํ้ามันที่มีคุณภาพ
สูง ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเช่น กรดลิโนเลอิค หรือกรดลิโนเลนิค สูงถึงร้อยละ 60-70 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยลดคลอเรสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ และยังประกอบด้วยไวตามิน เอ ดีอีและเค ซึ่งคุณภาพของไวตามินอีจะสูงกว่าในนํ้ามันพืชอื่น ๆ เมื่อ เก็บไว้เป็นเวลานานจะไม่เกิดกลิ่นหืน ทั้งยังทําให้สีกลิ่น และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากใช้เป็นนํ้ามันพืชแล้วยังนิยมใช้ในอุตสาหกรรม ทําเนยเทียม สีนํ้ามันชักเงา สบู่และนํ้ามันหล่อลื่นเครื่องยนต์
5. กาก กากที่ได้จากการสกัดนํ้ามันออกแล้ว จะนําไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ได้ในกาก
เมล็ดทานตะวันที่กะเทาะเปลือกและบีบนํ้ามันออกแล้ว จะมีโปรตีนร้อยละ 42 และใช้เป็นแหล่ง
แคลเซียมสําหรับปศุสัตว์ได้ดีแต่จะมีปริมาณกรดอะมิโนอยู่เล็กน้อย และขาดไลซีนจึงต้องใช้อย่างรอบคอบ เมื่อจะเอาไปผสมเป็นอาหารสัตว์ที่มิใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
รูปภาพจาก
อ่าน:3065
3505 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 5 รายการ
|-Page 220 of 351-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การป้องกันและกำจัดโรค ยางตายยอด ยางยอดแห้ง ใบแห้ง ตายจากยอด หรือโรค ดายแบ็ค ในยางพารา
Update: 2566/03/06 11:56:27 - Views: 3094
กำจัดหนอนเจาะผล ศัตรูพืชในต้นทุเรียน AiKi-BT ฟื้อนฟูจากการเข้าทำลายของหนอน FK-T อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ โดย FK
Update: 2566/05/25 12:37:31 - Views: 3116
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ลองกอง และพืช ทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/23 11:12:36 - Views: 3009
มะยงชิดใบไหม้ มะปรางใบไหม้ ใบจุด ราสนิม แอนแทรคโนส โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู โตไว ผลผลิตดี
Update: 2564/09/15 23:25:03 - Views: 3415
ดูแลต้นทุเรียน กำจัดโรคราสีชมพู โรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นทุเรียน ไอเอส และ FK-T ธรรมชาตินิยม คู่หูดูแลต้นทุเรียน โดย FK
Update: 2566/05/24 13:59:05 - Views: 2989
ชุดเร่งผลมะพร้าว ปุ๋ยมะพร้าว เพิ่มขนาด น้ำหนัก คุณภาพ ให้ ธาตุ โพแทสเซียม มากถึง 40% สำหรับเร่งผลโดยเฉพาะ
Update: 2565/02/06 06:03:02 - Views: 2989
กำจัดโรคราแป้ง โรคที่เกิดจากเชื้อรา ศัตรูพืชในทุเรียน สารอินทรีย์ไอเอส และ FK-T ธรรมชาตินิยม ฟื้นฟูจากการทำลายของเชื้อรา
Update: 2566/05/26 11:00:04 - Views: 3129
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 7758
ดูแลต้นทุเรียน กำจัดโรคผลเน่า โรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นทุเรียน ไอเอส และ FK-T ธรรมชาตินิยม คู่หูดูแลต้นทุเรียน โดย FK
Update: 2566/05/24 14:47:09 - Views: 3027
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนเจาะกิ่งสีแดง ใน ลำไย และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/10 12:49:42 - Views: 3284
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกต้นหม่อน ช่วยให้ผลหม่อนมีคุณภาพดี เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้
Update: 2567/03/11 10:54:41 - Views: 108
ฮิวมิค แอซิด: สารออกฤทธิ์ที่พัฒนาดินและเพิ่มผลผลิตในการปลูกมันเทศ
Update: 2567/02/13 09:35:13 - Views: 120
ดูแลต้นทุเรียน กำจัดโรคใบติด โรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นทุเรียน ไอเอส และ FK-T ธรรมชาตินิยม คู่หูดูแลต้นทุเรียน โดย FK
Update: 2566/05/24 15:30:39 - Views: 3090
คู่มืองป้องกันและกำจัดโรคในลำไย โรคราต่างๆ ใบไหม้ ราแป้ง ราสนิม กิ่งแห้ง และราอื่นๆ
Update: 2566/04/30 08:55:27 - Views: 16335
โรคใบติดทุเรียน ทุเรียนใบติด ทุเรียนใบไหม้ โรคทุเรียน ที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส จาก FK
Update: 2565/06/18 06:04:06 - Views: 3013
ดูแลต้นทุเรียน กำจัดโรคไฟทอปธอรา โรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นทุเรียน ไอเอส และ FK-T ธรรมชาตินิยม คู่หูดูแลต้นทุเรียน โดย FK
Update: 2566/05/25 10:10:01 - Views: 2995
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง ศัตรูพืชสำหรับต้นลำไย
Update: 2567/02/26 10:23:51 - Views: 117
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น มะม่วง ผลดก ผลใหญ่ น้ำหนักดี ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/02/28 14:30:10 - Views: 3042
ดูแลต้นทุเรียน กำจัดโรคแอนแทรคโนส โรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นทุเรียน ไอเอส และ FK-Tธรรมชาตินิยม คู่หูดูแลต้นทุเรียน โดย FK
Update: 2566/05/25 10:46:20 - Views: 2980
ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2564/08/10 12:04:23 - Views: 3887
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022