<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
เทคนิคการใส่ปุ๋ยสับปะรด
เทคนิคการให้ปุ๋ย สับปะรด เมื่อต้น สับปะรด มีอายุได้ 2 – 3 เดือน หลังการปลูกซึ่งจะเป็นช่วงของการสร้างราก ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยทางดินครั้งแรก ก็จะเป็นสูตรปุ๋ยที่มีไนโตรเจน (N) เช่น สูตร 15-5-20 หรือ 21-0-0 หรือจะใช้สูตร 16-16-16 ตามความสมบูรณ์ของสภาพดินนั้นๆ
การใส่ปุ๋ยให้ชิดโคนต้นอัตราประมาณ 20 กรัมต่อต้น **ต้องระวังอย่าให้ปุ๋ยกระเด็นตกลงไปที่ยอด สับปะรด โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ยอดไหม้และเน่าได้ จากนั้นในเดือนที่ 4- 6 ให้ใส่ปุ๋ยที่มีตัวท้ายสูง คือ โปแตสเซียม เช่น สูตร 15-5-20 อัตรา 20 กรัมต่อต้น ให้ใส่ปุ๋ยบริเวณกาบใบล่าง ของต้น สับปะรด ได้เลย ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่กาบใบมีน้ำอยู่อย่างพอเพียงหรือหลังจากมีการให้น้ำแก่ต้น สับปะรด แล้วมีน้ำขังอยู่ที่กาบใบ จะทำให้ปุ๋ยละลายได้ดี
การใส่ปุ๋ยเกษตรกรจะนิยมใช้ช้อนหรือกระบวยตักปุ๋ยใส่ที่กาบใบล่างได้เลย เกษตรกรจะต้องใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นสารเคมีให้ สับปะรด ในช่วงเย็นจนถึงค่ำจะดีที่สุด เพราใบ สับปะรด จะเปิดปากใบในช่วงกลางคืน แล้วจะปิดปากใบในตอนกลางวัน ปุ๋ยทางใบก็สามารถเสริมให้ต้น สับปะรด ได้เดือนละครั้ง ตามความเหมาะสม โดยจะเน้นปุ๋ยสูตรที่มีไนโตรเจน(N) และ โปแตสเซีย(K)สูง และควรเพิ่มธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็กและสังกะสีลงไปด้วย หรือ ปุ๋ยทางใบบางสูตรก็จะมีมาให้ สูตรปุ๋ยทางใบที่นิยมใช้ก็จะมีสูตร 23-0-25 หรือ บ้างก็จะใช้ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 500
กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยมักจะฉีดพ่นให้ประมาณ 3 ครั้ง คือ 1 เดือน และ 5 วัน ก่อนที่จะบังคับให้ สับปะรด ออกดอกและจะฉีดให้อีกครั้ง ราว 20 วัน ภายหลังจากที่บังคับดอก ต้องมีความระมัดระวัง ต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะการให้ปุ๋ยมากเกินไป ก่อนการบังคับการออกดอก 1 เดือน อาจจะส่งผลให้การบังคับการออกดอกยากตามมา
จากนั้นจะมีการใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายในช่วงหลังการบังคับการออกดอกประมาณ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยบำรุงคุณภาพผลและลดปัญหาเรื่องโรคเนื้อแกน โดยจะใส่ปุ๋ยที่มีสูตรตัวท้ายสูง คือ โปแตสเซียม(K) เช่น โปแตสเซียมซัลเฟต 0-0-50 อัตรา 10 กรัมต่อต้น ใส่บริเวณกาบล่าสุดในขณะที่ใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ยได้
ประโยชน์ของ สับปะรด
สับปะรด ผลไม้ที่ทุกคนชื่นชอบ สับปะรด มีมากกว่าประโยชน์ที่เราคิด ช่วยป้องกันโรคต่างๆและ นำสับปะรด มาแปรรูปได้อีกมากมายเรามารู้จักกับ สับปะรด กันดีกว่าครับ
รู้จักกับส่วนต่างๆของ สับปะรด
สับปะรด เป็นผลไม้ลำต้นเตี้ย เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะอากาศร้อนแห้ง แล้ง มีดินปนทราย ขนาดของผล สับปะรด จะใหญ่กว่าลำต้น ส่วนใบจะเรียวยาว และแข็งแรงใช้ในการกักเก็บน้ำได้ดีครับเพราะมีเส้นใยที่เหนียวมาก ตรงเปลือกของ สับปะรด จะมีลักษณะแข็ง มีตา ปรากฎอยู่รอบ ๆ เปลือก เนื้อ สับปะรด มีรสหวานอมเปรี้ยวชุ่มน้ำ บางพันธุ์มีรสหวานฉ่ำ ส่วนมากนะครับจะนิยมปลูกทั้งพันธุ์ปัตตาเวีย และพันธุ์ภูเก็ต แต่ในบ้านเราส่วนมากที่ขายกันอยู่ก็จะมี สับปะรด นางแล ภูแล เพชรบุรี ศรีราชา
แล้วส่วนต่างๆของ สับปะรด เนี่ย เขาเอามาทำอะไรกันบ้าง
ผลสับปะรด จะเป็นส่วนที่มีเนื้อและน้ำ ซึ้งมีประโยชน์มากมายเลยครับ เราจะกินผลสดๆก็ได้ รวมไปถึงมาแปรรูปเป็น สับปะรดกวน _ สับปะรด ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง ที่เราเห็นทั่วไป _ แยมสับปะรด และสับปะรดอบแห้ง หรือจะคั้นเป็นเครื่องดื่มน้ำ สับปะรด _น้ำส้มสายชูก็ได้ครับ
ใบสับปะรด รู้ไหมครับว่า ใบสับปะรดเนี่ยเป็นเศษวัสดุที่มีมูลค่ามากเลยครับ เพราะเส้นใยที่เหนียวนั้น สามารถนำมาแปรรูปเป็นผ้าใย สับปะรด ซึ่งชาวฟิลิปปินส์ จะนิยมนำมาทำเป็นผ้าพื้นเมืองด้วยครับ อีกทั้งยังนำมาประยุกต์ใช้ทำเป็นกระดาษใบ สับปะรด หรือเชือก
เปลือกสับปะรด มีประโยชน์มากเช่นเดียวกันครับ เพราะตรงส่วนตาของ สับปะรด นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นอาหารของโค หรือจะอบแห้งเผื่อนำมาเป็นส่วนผสมหลักๆของอาหารสัตว์อื่นๆ แถมยังนำมาทำเป็นน้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพได้ด้วยครับ
แกนสับปะรด บางสายพันธุ์นะครับที่มีแกนกลางใหญ่ๆ จะนิยมนำมาแปรรูปเป็น แกน สับปะรด อบแห้ง และ แกนสับปะรดหยี ที่ไม่นิยมรับประทานสดๆเพราะ เนื้อของแกน สับปะรด จะมีลักษณะแข็งกระด้างครับ
ประโยชน์และสรรพคุณของ สับปะรด
1. ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง รับประทาน สับปะรด วันละหนึ่งชิ้นก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ที่สำคัญคือวิตามินช่วยในการทำงานของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อและต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ การรับประทาน สับปะรด วันละหนึ่งชิ้นจึงเป็นการเพิ่มแรงต้านทานโรคให้แก่ร่าง กายแต่ในผู้ที่มีเลือดจางไม่ควรกินมากนัก
2. ช่วยในการย่อยอาหาร สับปะรด มีกากใยอาหารอาหารมากซึ่งมีความสำคัญกับการย่อยอาหาร และเป็นที่รู้กันอยู่ว่ากากใยอาหารช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือดและช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเพราะใน สับปะรด มีเอนไซม์ตามธรรมชาติที่มีชื่อว่า “บรอมีเลน” สามารถช่วยย่อยอาหารได้ทั้งใสภาวะเป็นกรดและด่าง จึงเหมาะมากที่จะพาไปช่วยย่อยในกระเพาะซึ่งเป็นกรด หากกินสัปปะรดหลังอาหารเป็นประจำ จะช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายด้วยนะครับ (ใครที่กำลังอยากลดความอ้วนนี่ ผมคอนเฟริมเลยครับ ได้ผลดีจริงๆ )
3. ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี สับปะรด มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีสที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระที่จะทำลายโครงสร้างของ เซลล์ และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ สารแอนตี้ออกซิแดนท์ยังมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย
4. ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำและลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม เพราะ สับปะรด มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ร้ายในปอด ป้องกันมะเร็งรังไข่
5. ช่วยป้องกันโรคต่างๆ การรับประทานผักและผลไม้ให้ได้วันละ 5 กำมือจะช่วยลดการเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมะเร็งได้ถึง 20% อีกทั้งยังเสริมสร้างการดูดซึมอาหาร เพราะ สับปะรด มีกรด และวิตามินหลายชนิดครับ
6. ช่วยให้เหงือกแข็งแรง สับปะรด ช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง เนื่องจาก สับปะรด มีวิตามินสูงที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหงือกได้
7. ช่วยยับยั้งการอักเสบ เอนไซม์ Bromelain ใน สับปะรด จะช่วยยับยั้งการอักเสบ ทั้งนี้ ชาวอเมริกาใต้โบราณใช้ สับปะรด เป็นยารักษาโรคผิวหนังและรักษาบาดแผล
สับปะรด ดีต่อสุภาพสตรีและผู้ป่วย
สำหรับสุภาพสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน อาการอักเสบจากริดสีดวงทวาร หรือผู้ป่วยอาการที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดดำ โรคกระดูก ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ หากรับประทาน สับปะรด เป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆเหล่านี้ได้ รวมไปถึงสมานแผลให้ทุเลาได้เร็วขึ้นด้วยครับ
วิธีรับประทาน สับปะรด ให้ถูกต้อง
สำหรับการรับประทานที่ถูกวิธีนะครับ ให้ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตาออกเป็นร่องเฉียงเป็นแถว ๆ เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือมิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจากจะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้วยังเป็นการทำลาย สารจำพวก Glycoalkaoid และเอ็มไซม์บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้หลังรับประทานครับ
ข้อแนะนำของ สับปะรด
ถึงแม้ว่า สับปะรด จะเป็นผลไม้ที่เยี่ยมยอดเลยก็ว่าได้สำหรับเรานะครับ แต่หากรับประทานในปริมาณมากๆ อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ ควรรับประทาน สับปะรด ควบคู่ไปกับการทานอาหาร และผักผลไม้อื่นๆด้วยนะครับ อย่าลืมบอกต่อเคล็ดลับดีๆให้เพื่อนๆต่อได้นะครับ
ที่มา : วารสารเส้นทางกสิกรรม ประจำเดือนกันยายน 2554 " สับปะรด บริโภคสดพันธุ์ใหม่ MD2"หน้า 15-16 ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จ.พิจิตร
อ้างอิง:
http://www.farmkaset..link..
http://www.farmkaset..link..