[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ข้าว
641 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 64 หน้า, หน้าที่ 65 มี 1 รายการ

ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
ข้าววัชพืช weedy rice โดย ดร.จรรยา มณีโชติ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
ข้อมูลนี้คัดมาจาก: http://kpp-rsc.ricethailand.go.th /weedyrice/weedy%20rice1.htm

ข้าววัชพืช
ปัจจุบัน ชาวนาในเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง กำลังประสบกับวัชพืชชนิดใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออก
ในระยะต้นกล้า วัชพืชชนิดนี้มีชื่อเรียกต่างๆกันในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะภายนอกที่ปรากฏว่า “ข้าวหาง ข้าวนก ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวลาย หรือ ข้าวแดง” ซึ่งข้าวเหล่านี้จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงในนาข้าว มีชื่อสามัญ ว่า “ข้าววัชพืช” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
“weedy rice” ในระยะเริ่มต้นของการ ระบาด ข้าววัชพืชจะแฝงตัวเข้ามาในนาข้าวเพียงไม่กี่ต้น หากไม่มีการกำจัดในระยะเวลา
2-3 ฤดู เท่านั้น ข้าววัชพืชสามารถเพิ่มจำนวนเป็นหลายล้านต้นปกคลุมจนมองไม่เห็นต้นข้าว

ประวัติการระบาดของข้าววัชพืช
พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2544 ในนาหว่านน้ำตม ที่ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และในนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี พื้นที่การระบาดเริ่มต้นเพียง 500 ไร่ และขยาย
วงกว้างออกไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2549 ข้าววัชพืชกลายเป็นปัญหาร้ายแรงที่พบในพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตมจำนวนหลาย
แสนไร่ ทั่วเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง รวม 21 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง ชัยนาท อยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก นอกจากนั้น ยังแพร่กระจายไปสู่แหล่งปลูกข้าวคุณภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และหนองคาย

ข้าววัชพืช..มาจากไหน?
ข้าววัชพืช เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติ กับข้าวปลูก เกิดเป็นลูกผสมที่มีการกระจายตัวของลูกหลาน
ออกเป็นหลายลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ชาวนาไม่ต้องการ คือ เปลือกเมล็ดสีดำหรือลายน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ปลายเมล็ดมีหางและเมื่อสุกแก่เมล็ดจะร่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว

ชนิดของข้าววัชพืช
ข้าววัชพืชสามารถจำแนกตามความแตกต่างทางลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด คือ ข้าวหาง ข้าวดีด และข้าวแดง ชนิดที่เป็นปัญหา
ร้ายแรงของชาวนาคือ ข้าวหาง และ ข้าวดีด เพราะเป็นข้าววัชพืชชนิดร่วงก่อนเกี่ยว เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และสูงข่มข้าวปลูก
ในระยะแตกกอ ข้าวหางและข้าวดีดจะออกดอกและเมล็ดจะสุกแก่ก่อนก่อนปลูกข้าวประมาณ 2 สัปดาห์ ชาวนาไม่สามารถ
เก็บเกี่ยวได ้เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย 10-100 % ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น ของข้าวหาง และข้าวดีด บางแปลงที่มีความหนาแน่นมาก ใน 1 ตารางเมตร มีข้าวหาง 800 ต้น เหลือต้นข้าวจริงเพียง 2 ต้น ชาวนาไม่สามารถ เก็บเกี่ยวได้ ทำให้ผลผลิตเสียหาย 100% ส่วนข้าวแดงนั้นเป็นข้าววัชพืชชนิดเมล็ดไม่ร่วง ชาวนาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจึงไม่เสียหาย แต่คุณภาพ

ข้าว ลดลง เพราะเมล็ดขาวสารแดงที่ปนอยู่ ชาวนาถูกโรงสีตัดราคาเกวียนละ 200 - 800 บาท ตามเปอร์เซ็นต์ของข้าวแดงที่ปน เพื่อชดเชยผลผลิตที่จะต้องเสียไปบางส่วน เพื่อจะขัดเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงออก
ให้เป็นเมล็ดข้าวสารสีขาว ซึ่งบางครั้งในรายที่มีข้าววัชพืชปนเป็นจำนวนมาก โรงสีจะไม่รับซื้อ ชาวนาต้องนำไปขายเป็นข้าวเลี้ยงเป็ด และไก่ ในราคาถูกถังละ 30 - 50 บาท
---------------------------------------------------------------

ฟาร์มเกษตรนำเสนอสินค้า

ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ไอซี-คิท ลดข้าวดีดได้มากกว่า 70%

ไอซี-คิท ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ชุด 2 ขวด
ขนาด 1 ลิตร x 2 ขวด/ชุด

ชุดย่อยสลาย เฉพาะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร

ลดข้าวดีดมากกว่า 70%

- รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา

- ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย

- เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว

- สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้


สนใจผลิตภัณฑ์ หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย

ติดต่อ ฟาร์มเกษตร
คุณ ปิยะมาศ

โทร: 090-592-8614
6.00 น. - 21.00 น.

หรือคลิกที่ลิงค์ด้านล่าง เพื่อดูราคา และข้อมูลสินค้า
อ่าน:3835
ปุ๋ยสำหรับทุเรียน ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิตทุเรียน
ปุ๋ยสำหรับทุเรียน ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิตทุเรียน
ปุ๋ยสำหรับทุเรียน ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิตทุเรียน
ระหว่าง เรารวบข้าวเช้า ข้าวเที่ยง ข้าวเย็น มาทานมื้อเดียวให้อิ่มไปเลย อัดเข้าไปเยอะๆ กินให้ได้เยอะที่สุด กับการที่เรา ทานข้าวเช้า ข้าวเที่ยง และเย็น ตามเวลา ทานในปริมาณที่พอเหมาะ

ผู้อ่านมีความเห็นว่า ทานแบบไหน ถึงจะทานได้ในปริมาณที่มากกว่า และร่างกายได้รับประโยชน์ จากอาหารที่ทานได้มากกว่า?

ต้นทุเรียน ก็เช่นเดียวกัน การที่เราอัดปุ๋ยไปมากๆครั้งเดียว นานๆให้สักครั้งนึง ย่อมสู้กับการให้น้อยๆ ให้บ่อยๆไม่ได้ ความสามารถในการดูดกินอาหารของพืช และการรับธาตุอาหารนั้นมีจำกัด ในช่วงเวลาหนึ่ง ก็รับธาตุอาหารได้จำกัด ใส่ไปมากกว่านั้น ก็ไม่สามารถจะดูดกินขึ้นไปพัฒนาเป็นการเจริญเติบโต หรือผลผลิตได้ เราใส่มากไปก็เกิน ที่เกิน ก็สลาย หายไปกับน้ำ กับลม กับฝน ระเหิด ระเหย ไปกับแสงแดด

ฉีดพ่น FK-1 อย่างสม่ำเสมอ ทุก 15-30 วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ให้กับต้นทุเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ตลอดไปจนได้ผลผลิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพ และปริมาณที่มากขึ้น ด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ต่างๆ ที่มีอยู่ใน FK-1 ที่มากพอ เพียงพอต่อความต้องการของต้นทุเรียน ในหลายๆระยะการเจริญเติบโต

ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen N) มีหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบ หากพืชขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ

ธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus - P) เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของสารพันธุกรรมและสารชีวเคมีที่ช่วยเก็บพลังงานในสิ่งมีชีวิตซึ่งถูกสร้างจากกระบวนการสังเคราะห์แสง มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของรากและช่วยรากพืชดูดซับสารอาหารในดินได้หลายชนิด การขาดฟอสฟอรัสจะทำให้พืชหยุดชะงักการเติบโตได้

ธาตุโพแทสเซียม (Potassium - K) โพแทสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ช่วยให้ผลเติบโตเร็วและมีคุณภาพดี ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ ผลผลิตไม่เติบโต มีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาติไม่ดี

ธาตุแคลเซียม (Calcium - Ca) แคลเซียมมีส่วนช่วยให้เนื้อเยื้อพืชแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานเนื้อเยื้อพืช แคลเซียม เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด พืชขาดธาตุนี้ใบที่เจริญใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และมีคุณภาพไม่ดี

ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium - Mg) แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว

ธาตุสังกะสี (Zinc Zn) สังกะสี ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]
อ่าน:3603
โรคไหม้ข้าว (ระยะออกรวง)
โรคไหม้ข้าว (ระยะออกรวง)
เตือนเกษตรกรที่ปลูกข้าวในทุกภาคของประเทศไทย ที่ข้าวอยู่ระยะตั้งท้องถึงออกรวง จากข้อมูลจากแปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูข้าวพบโรคไหม้ข้าว ในหลายพื้นที่ทางภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบการอาการของโรคไหม้ ใบข้าวมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตามีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ให้เร่งป้องกันกำจัด

เชื้อสาเหตุของโรคไหม้ข้าว : เชื้อรา Magnaporthe oryzae

Synonyms : Pyricularia oryzae Cavara

ลักษณะอาการของ โรคไหม้ข้าว

ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ ๒ - ๕ มิลลิเมตร และความยาวประมาณ ๑๐ - ๑๕ มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้

ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยอัตราสูงและมีสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน ลมแรงจะแพร่กระจายโรคได้ดี

แนะนำวิธีการป้องกันกำจัดโรคไหม้ข้าว ดังนี้

๑. ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

๒. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

ควรพ่นในแปลงข้าวที่มีประวัติว่าเคยมีโรคระบาดมาก่อน เชื้อราจะพยายามต้านทานสารป้องกันกำจัด หรือดื้อยา หากต้องใช้ยาต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อป้องกัน ควรสลับยาบ้าง เมื่อจำเป็นต้องใช้นานเกินไป

ในฤดูถัดไป

๑. แช่เมล็ดพันธุ์ด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดเชื้อรา ไอเอส ในอัตราส่วน 20ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร (ผสมอ่อนกว่าตอนฉีดพ่น)

๒. หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม ๑๕ – ๒๐ กิโลกรัมต่อไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี

อ้างอิงข้อมูลหลักจาก
๑. กรมการข้าว
๒. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๓. กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
อ่าน:3924
หนอนคอรวงข้าว หากปีที่แล้วเคยระบาด ปีนี้ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
หนอนคอรวงข้าว หากปีที่แล้วเคยระบาด ปีนี้ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
หนอนกระทู้คอรวง Mythimna separata (Walker) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลอ่อน แทรกสีน้ำตาลแดง ปีกกว้างประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มตามกาบใบและลำต้นหรือฐานของใบที่ม้วน ไข่ไม่มีขนปกคลุม วางไข่เป็นกลุ่มๆละประมาณ 100 ฟอง ระยะไข่นาน 6-8 วัน หนอนที่ฟักออกใหม่กัดกินใบหญ้าอ่อนจนอายุประมาณ 15 วัน จึงเริ่มกัดกินใบและรวงข้าว ระยะหนอนประมาณ 25-30 วัน หนอนมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว้างประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.8 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน หนอนเข้าดักแด้ที่โคนกอข้าวหรือตามรอแตกของดิน ดักแด้มีสีน้ำตาลแดง ระยะดักแด้ 10-12 วัน

หนอนกระทู้คอรวง(rice ear-cutting caterpillar)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mythimna separata (Walker)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น :หนอนกระทู้ควายพระอินทร์

ลักษณะการทำลายของ หนอนกระทู้คอรวงข้าว

หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดกินส่วนคอรวงหรือระแง้ของรวงข้าวที่กำลังจะ สุก(rippening stage) ทำให้คอรวงขาด สามารถทำลายรวงข้าวได้มาถึง 80% โดยลักษณะการทำลายคล้ายหนอนกระทู้กล้า มักเข้าทำลายต้นข้าวช่วงกลางคืนหรือตอนพลบค่ำถึงเช้าตรู่ กลางวันอาศัยตามใบหรือโคนต้นข้าวหรือวัชพืชตระกูลหญ้า หนอนจะกัดกินต้นข้าวทุกวันจนกระทั่งเข้าดักแด้ พบระบาดมากหลังน้ำท่วมหรือฝนตกหนักหลังผ่านช่วงแล้งที่ยาวนานแล้วตามด้วยฝน ตกหนัก การทำลายจะเสียหายรุนแรง จนชาวนาเรียกกันว่า “ หนอนกระทู้ควายพระอินทร์”

การป้องกันกำจัดหนอนกระทู้

1. กำจัดวัชพืชรอบๆ แปลงนา

2. ฉีดพ่น ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ปลอดสารพิษ สำหรับป้องกันกำจัดหนอนต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

3. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://farmkaset..link..
อ่าน:3620
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคที่เกิดกับผักตระกูลแตง

พืชตระกูลแตงมีหลายชนิด บางชนิดใช้รับประทานแบบพืชผักบางชนิดรับประทานแบบผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นแตงชนิดไหนก็ตามมีโอกาสที่จะเป็นโรคชนิดเดียวกันได้ แตงที่รับประทานแบบผลไม้ได้แก่ แตงโม แตงกวา แคนตาลูป แตงไทย แตงที่ใช้เป็นอาหารจำพวก ผัก ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฟัก แฟง น้ำเต้า ตำลึง บวบ ฯลฯ

จากการสำรวจพบว่าพืชในตระกูลแตงแต่ละชนิดมีโรคระบาดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการปลูกมากหลายโรคด้วยกัน แต่ละโรคทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิดและเป็นโรคเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาและเรียบเรียงคำแนะนำเรื่องโรคใดโรคหนึ่งและวิธีป้องกันกำจัดจึงสามารถใช้รวมไปได้กับพืชทุกชนิดในตระกูลแตง

โรคผักตระกูลแตงและวิธีป้องกันกำจัด

โรคผักตระกูลแตงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่แพ้โรคผักของพืชตระกูลอื่น ๆ หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ และกำลังจะได้รับการส่งเสริมให้พืชบางชนิดในตระกูลนี้ปลูกกันอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูป เช่น ทำแตงกวาดอง ฯลฯ และเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องประสพปัญหาเรื่องโรค ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการเอกสารวิชาการเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องโรคและวิธีป้องกันกำจัด เช่น รายละเอียดเรื่องระดับความเสียหายความรุนแรงของโรค การแพร่ระบาด สาเหตุของโรค สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคพาหะนำโรคและวิธีป้องกันกำจัดที่ให้ผลดีที่สุดและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย การป้องกันกำจัดโรค โดยวิธีใช้สารเคมีฉีดพ่นอาจไม่ได้ผลเลยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น ในกรณี ที่เกิดโรคขาดธาตุอาหารหรือสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อโรค ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน แล้วจึงจะคัดเลือกวิธีการป้องกันกำจัดที่แท้จริงมาใช้หรืออาจจะต้องใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีเข้าร่วมกันเพื่อให้การป้องกันกำจัดมีประสิทธิภาพสูง โรคจะได้ลดน้อยลง เพื่อที่จะให้การเรียบเรียงสมบูรณ์จึงได้จัดแบ่งโรคของผักตระกูลแตงออกเป็นหมวดหมู่ตามสาเหตุของโรค

โรคปลายผลเน่าเกิดจากขาดธาตุแคลเซียม

โรคปลายผลเน่าแห้งสีดำ (Blossomend rot)

โรคปลายผลเน่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากกับแตงโม โดยเฉพาะพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ซึ่งปลูกไม่แพร่หลายนัก เพราะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่มากไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ แต่ก็มีข้อดีที่เก็บได้นานกว่าแตงพันธุ์ชูก้าเบบี้ ซึ่งนิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน พันธุ์ชูก้าเบบี้เก็บไม่ได้นานเท่าชาร์ลสตันเกรย์ก็จริงแต่เนื่องจากไม่เป็นโรคนี้และมีขนาดกำลังดี จึงนิยมปลูกกันมาก นอกจากแตงโมแล้ว แตงร้านและแตงกวาก็ปรากฎว่าเป็นโรคนี้บ้างเล็กน้อย

ลักษณะอาการของโรค

อาการเหี่ยวเริ่มจากปลายผลเข้ามาต่อมาเนื้อเยื่อจะแห้งแข็งเป็นสีน้ำตาบ เนื่อเยื่อจะยุบเข้าไปและมักจะมีเชื้อราอื่น ๆ มาขึ้นบนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วทำให้เกิดอาการเน่าขึ้นภายหลัง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมและเกี่ยวกับการดูดซึมน้ำของรากแตงโมด้วย สาเหตุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะช่วยให้การดูดซึมที่รากดีขึ้นด้วย แตงโม คงต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน

การป้องกันกำจัด

การปลูกแตงโมควรใช้ปูนขาวใส่ลงในดินสัก 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ หรือจะใช้ฉีดพ่นด้วยธาตุแคลเซียม เช่น แคลเซียมคลอไรด์ 0.2 % และควรให้น้ำสม่ำเสมอหรือต้องปลูกในที่ ๆ มีน้ำในระดับที่แตงโมจะดูดซึมได้สม่ำเสมอตลอดเวลา

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

1. โรคเหี่ยวเฉาเกิดจากแบคทีเรีย (Bacterial wilt)

แตงกวาเป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น และแตงโมมีความทนทานต่อโรคนี้สูงมากจนเกือบจะไม่พบโรคนี้เลย ถ้ามีโรคนี้ระบาดจะเสียหายเพราะแตงจะเหี่ยวภายในเวลาอันรวดเร็ว

ลักษณะอาการของโรค

อาการเกิดที่ใบโดยแสดงอาการเหี่ยวเป็นบางใบก่อน อาการเหี่ยวลามไปที่ขั้วใบและเถาแตง ทำให้เถาแตงเหี่ยวตายทั้งต้นในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเหี่ยวมาก ๆ ผลจะเหี่ยวแห้งแล้วต้นพืชจะตาย

การตรวจโรคนี้ใช้วิธีตัดลำต้นที่เป็นโรคตามขวางเพื่อดูเชื้อบักเตรีซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวขุ่นข้นสีเหมือนสีน้ำนม ออกมาจากรอยตัด บางครั้งไม่พบของเหลวดังกล่าวควรนำไปแช่ในน้ำที่สะอาดถ้าพบของเหลวดังกล่าวไหลออกมาทำให้น้ำขุ่นกว่าเดิมก็แสดงว่าพืชนั้นมีแบคทีเรียในเนื้อเยื่อพืชก็ต้องนำมาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อหาเชื้อบริสุทธิ์

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแพร่ระบาดโดยแมลงศัตรูพืช

การป้องกันกำจัด

ถอนต้นที่เป็นโรคไปทำลายเสีย กำจัดแมลงที่อาจนำเชื้อโรค

2. โรคใบจุด โรคใบจุดของผักตระกูลแตงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุอยู่ 2 ชนิด

ก. โรคใบจุดเกิดจากแบคทีเรีย (Angular leaf spot_ Bacterial spot jor Blight)

แตงแคนตาลูป แตงโม เป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนแตงกวา น้ำเต้า มีความคงทนต่อโรคนี้ต่างกัน

ลักษณะอาการของโรค

อาการเริ่มแรกจะเป็นเป็นจุดฉ่ำน้ำ ขนาดแผลไม่แน่นอน ในที่ ๆ มีอากาศชื้นอาจพบเชื้อแบคทีเรียดูดออกมาที่แผล

เมื่อแผลแห้งจุดของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและใบจะแห้งร่วงไปในที่สุด อาการของโรคเป็นเฉพาะที่ เช่น ที่กิ่ง ใบ ผล แต่แผลที่ผลมีขนาดเล็กกว่า ถ้าเป็นมาก ๆ ผลจะร่วง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas lachrymans (E.F. Smith and Bryan) Carsner

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในเมล็ด การป้องกันจึงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำร้อน ประมาณ 55 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที ก่อนปลูก หรือปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี ควรทำลายเศษซากพืชเสียก่อนปลูกพืชและใช้ยาฆ่าแมลงที่อาจนำเชื้อโรคมาสู่ต้นพืช

ข. โรคใบจุด (Bacterial leaf-spot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ แตงกวา ฟักทอง แตงโม น้ำเต้า

ลักษณะอาการของโรค

โรคใบจุดนี้มีอาการเหมือนกับชนิดแรกต่างกันพบโรคเฉพาะที่ใบไม่เป็นที่ผล

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas cucurbitae

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีการป้องกันกำจัดเหมือนชนิดแรก

โรคที่เกิดจากเชื้อรา

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

โรคราน้ำค้างจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงโมทุกพันธุ์รวมทั้งพืชในตระกูลนี้อีกหลายชนิดเช่น แตงกวา แตงร้าน มะระ ฯลฯ ส่วนพวกตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค

ใบแตงโมมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วใบ ทำให้ใบแห้งและเหี่ยวอาการจะปรากฎบนใบแก่โคนเถาก่อน โรคระบาดรวดเร็วมากจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้น ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวหม่นขึ้นบนแผลคล้ายผงแป้ง โรคมักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อแตงกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงโมจะสุก

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ซึ่งเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดไปในอากาศ

การป้องกันกำจัด

1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ไอเอส อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

2. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ชนิดใดชนิดหนึ่งฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง

โรคราแป้ง

โรคราแป้งจัดว่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากอีกโรคหนึ่งของแตงโมทุกพันธุ์และพืชในตระกูลนี้เกือบทุกชนิดเป็นโรคนี้ได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ใบมีราสีขาวจับคล้ายผงแป้งโดยเฉพาะด้านบนใบและตามผล เมื่อเชื้อราเริ่มจับใบใหม่ ๆ มีลักษณะเป็นวงกลมสีขาวซึ่งจะขยายออกไปจนคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลอาการใบแห้งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งหมดทั้งเถาได้ เถาแตงโมจะทรุดโทรมเร็ว

สาเหตุของโรค

โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. ซึ่งสร้างสปอร์สีขาวคล้ายผงแป้งจับเคลือบอยู่บนใบและหลุดปลิวแพร่ระบาดไปในอากาศได้ง่าย

การป้องกันกำจัด

1. ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรานี้โดยใช้ยากำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้ในอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ

2. ใช้ยาคาราเทนหรือมิลเด็กซ์

หมายเหตุ อัตราส่วนตามข้างสลากการฉีดพ่นยาดังกล่าวต้องฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดหรืออากาศร้อนจัด และใช้ความเข้มข้นต่ำไว้ก่อนจะไม่ทำให้เกิดอาการใบไหม้ ยาชนิดอื่นไม่ให้ผลดีเท่ายาที่กล่าวมาแล้ว

3. โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)

แตงโมทุกพันธุ์เป็นโรคนี้และจัดว่าเป็นโรคที่ระบาดทั่วไป โรคนี้ไม่ทำให้เนื้อใบเสียแต่ทำให้แตงโม มีรสหวานน้อยลงและมีสีอ่อนกว่าปกติ ยกเว้นแตงแคนตาลูป ซึ่งมีแผลใหญ่และผลเน่าอย่างรวดเร็วและเสียหายมากกว่าแตงพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

โรคนี้ทำให้เกิดจุดหรือแผลนูนเล็ก ๆ สีน้ำตาบประปรายทั่วไป แผลดังกล่าวนี้เกิดบนผลแตงโม ทำให้ผลแตงโมมีผิวขรุขระ พันธุ์ที่ไม่มีความต้านทาน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะยุบต่ำลงไปจากระดับเดิมเล็กน้อย ตรงกลางแผลมีเชื้อราเป็นหยดเยิ้มสีชมพูอ่อน เรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้นตามขนาดของแผลที่ขยายใหญ่ขึ้น เช่น แผลบนแตงแคนตาลูป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lagenarium

การป้องกันกำจัด

ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไอเอส อัตราตามข้างสลากทุก ๆ 5-7 วัน เมื่อเริ่มพบโรคระบาดและเก็บผลที่เป็นโรคทิ้ง เพื่อทำให้มีเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราเกือบทุกชนิดให้ผลในการป้องกันกำจัดใกล้เคียงกัน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และกากพืชจำนวนมากมีผลทำให้โรคลดน้อยลงได้มาก

4. โรคเหี่ยว (Fusarium wilts)

แตงโม แตงกวา แตงร้าน แคนตาลูป เป็นโรคนี้ทั่วไปทุกแห่ง พืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกันนี้มีความต้านทานและคงทนต่อโรคสูง จึงไม่ใครพบโรคนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่จำนวนต้นที่เหี่ยวตาย แต่จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งซึ่งเป็นมากในระยะที่แตงกำลังตกผล ซึ่งอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวตายไปก่อนที่จะเก็บผล

ลักษณะอาการของโรค

ใบแก่ที่อยู่ที่โคนเถาแตงจะเริ่มเหลืองและเหี่ยวตายก่อนแล้วลามไปจนถึงปลายเถาบางต้นมีลำต้นแตกช้ำ แตงมักจะเริ่มเหี่ยวจากแขนงใดแขนงหนึ่งก่อน แล้วจะแห้งตายหมดทั้งเถาในเวลาต่อมา

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. ซึ่งเป็นเชื้อราที่ชอบอาศัยอยู่ในดินที่เป็นทรายมากและเป็นดินกรด ดินที่ปลูกแตงติดต่อกันหลายปีมักจะมีโรคนี้ระบาดมาก

การป้องกันกำจัด

1. ควรปรับดินด้วยปูนขาวประมาณ 100-150 กก. ต่อไร่ และเมื่อจะปลูกซ้ำ ที่ควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหลังจากการใส่ปูนขาวจะช่วยทำให้โรคนี้ลดน้อยลง ถ้าปุ๋ยอินทรีย์จำพวกปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์หายากก็ควรพิจารณาปลูกพืชตระกูลถั่วแซมหรือสลับแล้วไถกลบต้นถั่วให้เป็นปุ๋ยพืชสดหรือกากพืชลงไปในดิน และไม่ควรปลูกแตงซ้ำที่เกินกว่า 3 ปี

2. ใช้ ไอเอส อัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้นให้ชุ่ม

หมายเหตุ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากจะทำให้เป็นโรคนี้มากขึ้น ควรใส่แต่น้อยแต่ใส่หลาย ๆ ครั้ง

5. โรคใบจุด

แตงมีโรคใบจุดเกิดจากเชื้อราต่างกันหลายชนิด มีอาการคล้ายคลึงกัน การระบาดของโรคไม่รุนแรงเหมือนโรคอื่น ๆ โรคใบจุดของแตงมีดังต่อไปนี้

5.1 โรคใบจุดของแตงเกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย (Alternaria)

ลักษณะอาการของโรค

จุดแผลจะฉ่ำน้ำ มีสีเหลือง และสีของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือเทากลาง ๆแผลมีสีดำ เมื่อแผลมีขนาดใหญ่ แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและพบเชื้อราขึ้นเรียงเป็นวงแหวนกลาง ๆ แผลอาจฉีกขาด ผลของต้นที่เป็นโรคมักจะสุกก่อนกำหนด และอาจพบแผลที่ผลและที่ลำต้น

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Alternaria cucumerina (Ellis and Everhart Elliott)

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อราอาศัยอยู่ในเศษซากพืช การป้องกันกำจัดจึงควรทำดังนี้

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค

2. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค

3. คลุกยาคลุกเมล็ด เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ชนิดสีแดงเสียก่อนปลูก

4. ปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี

5. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส

5.2 โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราเซอคอสปอรา

ลักษณะอาการของโรค

จุดของแผลมีขนาดเล็กเป็นรูปกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ จุด มีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนขอบของแผลมีสีม่วง หรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากเกิดด้านใบ

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Cercospora citrullina Cook

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย

6. โรคใบแห้ง (Corynespora blight)

แตงกวาเป็นโรคได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะของแผลที่ใบจะกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ แผลมีสีเขียวหรือเหลือง เมื่อมีแผลมากและแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย แผลบนกิ่งก้าน มีลักษณะยาวตามส่วนของพืช ผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายมักจะเป็นผลที่แก่และผลที่มีสีเหลือง ใบหรือผลอ่อนที่มีสีเขียวเชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลาย

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Corynespora melonia (Cooke) Lindan

การป้องกันกำจัด

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคและเศษซากพืชหลังเก็บเกี่ยว

2. ใช้ยาเบนเลท ไดเทนเอ็ม 45 หรือ ไดโฟลาแทน ชนิดใดชนิดหนึ่งในการป้องกันกำจัดแต่จากการทดลองพบว่ายาเบนเลทใช้ได้ผลดี

7. โรคดอกเน่า (Choanephora wet-rot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ น้ำเต้า ฟักทอง และพืชอื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

บริเวณที่เป็นโรคจะเป็นจุดสีดำขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ฉ่ำน้ำและเน่าเละมักเป็นโรคบริเวณยอดอ่อน ๆ และยอดที่กำลังมีดอกโดยยอดจะมีสีซีดกว่ายอดปกติ ต่อมายอดและผลอ่อนจะแห้ง ส่วนมากจะพบโรคนี้ในเวลาที่มีฝนตากชุกและมีน้ำค้างหรือหมอกลงจัด

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum

การป้องกันกำจัด

ใช้ยาซาพรอล หรือไดโฟลาแทน อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

8. โรคผลเน่า

โรคผลเน่าที่พบมากเกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด และเป็นมากกับแตงโมและแตงกวา

8.1 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium Fruit rot)

ใช้ยาริดโดมิล เอ็มแซด 72 หรือไดโฟลาแทนหรือซาพรอล อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

ลักษณะอาการของโรค

จะพบโรคนี้ทั้งที่ผลและที่ราก อาการที่ผลจะเน่าและมักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราปกคลุมอยู่ที่ผิวของผล ถ้าเกิดที่รากจะทำให้รากเน่า

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Pythium spp.

8.2 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อดิพโพเดีย (Diplodia fruit rot)

แตงโมเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด นอกจากนี้มีแตงกวา และแคนตาลูป

ลักษณะอาการของโรค

เมื่อกดดูบริเวณขั้วของแตงโมที่เป็นโรคจะบุ๋ม เชื้อราจะเข้าบริเวณขั้วก่อนเนื้อเยื่อที่ติดกับขั้วจะเน่าและฉ่ำน้ำ อาการเน่าเกิดขึ้นเร็วมาก เมื่อเป็นมาก ๆ ผลแตงจะมีสีดำ ถ้าอากาศชื้น ๆ จะพบเชื้อราสีเทา คลุมอยู่ที่ผล ถ้าพบเป็นโรคในผลที่ยังอ่อนเชื้อราจะเข้ามาบริเวณปลายผล มีอาการเหมือนบริเวณที่ขั้วของผลแตงโมที่ถูกเชื้อชนิดนี้เข้าทำลาย โดยมีสีอ่อนกว่าบริเวณที่ไม่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เมื่อแผลมีขนาดใหญ่สีของแผลจะเข้ม พบเชื้อราบริเวณผิวแตงเห็นได้ชัดเจน ต่อมาผิวแตงจะแห้ง เชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการผลเน่าได้เช่นเดียวกับเชื้อราชนิดแรกที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา (Diplodia gossypina coke)

การป้องกันกำจัด

1. ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา

9. โรครากปม

การปลูกแตงโมในที่บางแห่งมีปัญหาโรครากปมระบาดมาก โรคนี้ไม่ทำให้เถาแตงโมตายแต่ก็ทำให้แตงแคระแกรนไม่ใคร่เจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตตกต่ำ

ลักษณะอาการของโรค

ยอดแตงแสดงอาการชูตั้งชันและไม่เจริญยืดยาวออกไป ในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน เถาแตงจะแสดงอาการเหี่ยวและฟื้นเป็นปกติในเวลากลางคืนอีก ถ้าถอนต้นแตงตรวจดูจะพบรากบวมเป็นปมขนาดต่าง ๆ กัน ไม่มีรากฝอยซึ่งเป็นสาเหตุให้การดูดอาหารและน้ำที่รากไม่เป็นปกติเกิดการอุดตันขึ้นเพราะเชื้อโรคเข้าไปอาศัยอยู่และไปกระตุ้นให้เซลส์ของรากโตและมีระบบเนื้อเยื่อรากผิดปกติไป

สาเหตุของโรค

เกิดจากไส้เดือนฝอยชนิดหนึ่ง Meloidogyne spp. ซึ่งตัวเมียจะไชเข้าไปอาศัยอยู่ในราก ทำให้รากบวมโตเป็นปมและแย่งอาหารจากราก

การป้องกันกำจัด

1. ใช้ยาฟูราดาน อัตรา 3 กรัม รองก้นหลุมเมื่อปลูก

2. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกและกากพืชเพื่อปรับปรุงดินจะช่วยลดปริมาณการเป็นโรคลง โดยเฉพาะการปลูกในดินร่วนปนทราย

3. ถอนต้นพืชที่เป็นโรคทิ้งเพื่อกำจัดไข่ตัวเมียที่จะแพร่ระบาดในแปลง

หมายเหตุ ในดินเหนียวและดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ๆ ไม่ค่อยเป็นโรคนี้

10. โรคยอดหงิกใบด่าง

โรคยอดหงิกใบด่างของแตงโมและพืชอื่น ๆ เกิดจากเชื้อวิสาซึ่งมีศัตรูจำพวกปากดูดเป็นตัวนำเชื้อโรคให้แพร่ระบาดติดต่อกัน จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ทำความเสียหายมากเพราะจะทำให้ต้นที่เป็นโรคไม่ผลิดอกออกผล หรือมีผลเล็กผิดปกติ

ลักษณะอาการของโรค

พืชจะแสดงอาการใบมีสีเขียวและเหลืองด่างลายประปรายทั่วใบและเนื้อใบหยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งชันและชงักการเจริญเติบโต ยอดหก ไม่ผลิดอกออกผลต่อไป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อวิสาที่มีศัตรูจำพวกปากดูดเช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคจากต้นที่เป็นโรคติดต่อไปยังต้นดีได้ง่าย เชื้อวิสาของแตงโมมีหลายชนิดซึ่งทำให้เกิดอาการใกล้เคียงกัน

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากมีศัตรูพืชเป็นตัวนำโรคจึงต้องป้องกันมิให้มีศัตรูดังกล่าวระบาดโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น แลนเนท และเซวิน กำจัดพวกเพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน และถอนทำลายต้นที่แสดงอาการเป็นโรคออกไปจากไร่ จะช่วยลดโรคนี้หรือป้องกันโรคนี้ได้

หมายเหตุ ศัตรูพวกนี้มีขนาดเล็กมาก แต่พอจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพลี้ยไฟตัวเรียวยาวสีเหลืองอมส้ม เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวแก่มีสีดำและบินได้

Main Content Reference:
กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักและไม้ประดับ กองโรคพืชและจุลชีวเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
thaikasetsart.com
อ่าน:3943
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
ตอก หรือ เชือกตอก

เชือกตอก ทำจากไม้ไผ่ โดยการตัดหรือสไลด์ออกเป็นเส้นบางๆ ใช้สำหรับมัดข้าวในขั้นตอนเกี่ยวข้าวด้วยมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วในการทำนาปี ที่เป็นนาดำ และมีการลงแขกเกี่ยวข้าว หากเป็นการใช้รถเกี่ยวข้าว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตอก หรือเชือกตอกอีกต่อไป ผมเลยสันนิษฐานว่า อีกไม่นาน เราจะไม่เห็นเชือกตอก หรือจะค่อยๆหายไปตามการเวลา และจะหาดูได้อยากในอนาคตอันใกล้นี้

เมื่อถึงเวลาใกล้เกี่ยวข้าว หรือใกล้ๆกับต้นเดือนธันวาคมของทุกปี จะเริ่มเข้าฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ชาวนามีคำท่องติดปากเล่นๆว่า ข้าวนาปี ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ อันนี้เป็นวิธีการจดจำช่วงเวลาการทำนาง่ายๆ ไว้สำหรับบอกกล่าวกับคนทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นชาวนา เวลามาถามว่า ข้าวนาปีปลูกเมื่อไหร่
อ่าน:3603
กัญชา กัญชง: จากสิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งต้องมี
กัญชา กัญชง: จากสิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งต้องมี
กัญชานั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายมาเกือบร้อยปีในเกือบทุกประเทศทั่วโลก เนื่องด้วยสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทในต้นกัญชา อย่างไรก็ตาม ด้วยประโยชน์ทางการแพทย์ของกัญชาที่นักวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันได้ค้นพบพืชสมุนไพรชนิดนี้ จึงกลายเป็นโอกาสใหม่ของนักธุรกิจ_ นักลงทุน_ ผู้บริโภค และผู้ป่วยทั่วโลก

ช่วงปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา หลังรัฐประกาศอนุญาตให้ภาคเอกชนไทยปลูกกัญชงได้ หุ้นไทยที่มีแผนทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชงได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับความสนใจจากทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ โดยประเทศไทยนั้นถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้มีการปลูกทั้งกัญชงและกัญชา โดยกัญชงนั้นทางภาครัฐอนุญาตให้ภาคเอกชนมาขออนุญาตปลูกได้ ส่วนการปลูกกัญชานั้นยังคงจำกัดให้เพียงบางหน่วยงานที่ได้รับอนุญาต เช่น โรงพยาบาล_ สถาบันการศึกษา และวิสาหกิจชุมชน

แม้ว่ากัญชาและกัญชงจะเป็นพืชที่คล้ายคลึงกันมาก เส้นแบ่งที่ชัดเจนที่สุดคือปริมาณสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (tetrahydrocannabinol หรือ THC) โดยเหตุผลที่รัฐเปิดกว้างให้กับพืชกัญชงมากกว่านั้นเป็นเพราะกัญชงมีสาร THC น้อยจนไม่ก่อให้เกิดการนำมาสูบจนมึนเมาได้ ในขณะที่ในกัญชามีปริมาณ THC ในระดับที่สูงกว่าและเมื่อนำกัญชามาสูบแล้วจะมีสารออกฤทธิ์มึนเมา แต่สำหรับสารสำคัญที่ทำให้ทั้งกัญชาและกัญชงได้รับความนิยมเพื่อใช้ทางการแพทย์ คือสาร Cannabidiol หรือ CBD ซึ่งสามารถรักษาและบรรเทาโรคและอาการได้หลากหลาย เช่น โรคลมชัก_ พาร์กินสัน หรือแม้กระทั่งช่วยลดความทรมานจากการทำคีโมรักษามะเร็ง ประโยชน์ของ CBD นั้นมีหลายประการจนในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกได้ทำการปลดล็อกให้กัญชงและกัญชาสำหรับใช้ทางการแพทย์ถูกกฎหมาย

นอกจากประโยชน์ด้านการแพทย์ของ CBD อีกสาเหตุที่นักลงทุนให้ความสนใจต่อการเข้ามาของธุรกิจกัญชงถูกกฎหมายนั้นก็เพราะกัญชาและกัญชงนับเป็นพืชที่มีมูลค่าสูงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก สำหรับเกษตรกรไทย ถ้าเลือกที่จะปลูกข้าวอาจมีรายได้เพียงหลักหมื่นต่อไร่ต่อปี ในขณะที่ปลูกกัญชงอาจได้ผลิตผล (โดยเฉพาะดอกกัญชงแห้งที่มีสาร CBD สูง) ที่มีมูลค่าหลักล้านบาทต่อไร่ต่อปี และการที่กัญชาเป็นพืชล้มลุก ระยะเวลา 1 การเก็บเกี่ยวประมาณสี่เดือน ทำให้ปีหนึ่งสามารถปลูกได้ถึง 1-3 รอบ ในขณะที่ผลไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน มังคุด สามารถเก็บเกี่ยวได้เพียงหนึ่งครั้งต่อปี

สำหรับภาพตลาดกัญชาทั่วโลก อ้างอิงข้อมูลจาก MarketsandMarkets ปี 2020 ตลาดกัญชาทั่วโลกมีขนาด 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์จะเติบโตได้ต่อเนื่องในอัตรา 28% ต่อปี จนมีขนาด 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2026 การเติบโตที่แข็งแกร่งนี้ก็จะมาจากการค่อยๆ ทยอยปลดล็อกกฎหมายกัญชาในแต่ละประเทศทั่วโลก และการเพิ่มการใช้ในประเทศที่กัญชาถูกกฎหมายอยู่แล้ว โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดของการบริโภคกัญชาถูกกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งประเทศแคนาดาได้มีการออกกฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมาย ทั้งการใช้เพื่อการแพทย์และสันทนาการไปแล้วตั้งแต่ปี 2018 ส่วนในประเทศอเมริกาแต่ละรัฐก็มีการทยอยแก้กฎหมายกัญชาอย่างต่อเนื่อง

ในเวลาเดียวกันกับกระแสหุ้นกัญชงในประเทศไทย หุ้นกัญชาที่จดทะเบียนในอเมริกาก็ปรับตัวขึ้นอย่างมากเช่นกันตั้งแต่ต้นปี 2021 ได้แก่ Tilray ปรับตัวขึ้น 227%_ Aphria 192%_ Canopy Growth 37%_ Aurora 26% (หมายเหตุ: หุ้นสองตัวแรกขึ้นแรงเป็นพิเศษจากปัจจัยการควบรวมกันและจากการถูกดันโดยชาว Reddit) หลักๆ จากความหวังว่า ประธานาธิบดีไบเดนจะแก้กฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมายในระดับสหพันธรัฐ (Federal level) หรือหมายถึงกฎหมายที่บังคับใช้ทั่วประเทศอเมริกา จากที่ปัจจุบันการใช้กัญชายังถือเป็นความผิดทางอาญาระดับสหพันธรัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแต่ละรัฐสามารถออกกฎหมายกัญชาแยกแตกต่างกันไปได้ เช่น รัฐแคลิฟอร์เนียกัญชาถูกกฎหมายทั้งเพื่อใช้ในการแพทย์และเพื่อสันทนาการ ในขณะที่รัฐเพนซิลเวเนียกัญชานั้นถูกกฎหมายเฉพาะเพื่อการแพทย์ โดยปัจจุบันมีทั้งสิ้น 15 รัฐที่สามารถใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้ และ 34 รัฐที่สามารถใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ได้

X

แม้ว่าหุ้นกัญชาที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยภาพรวมจะยังขาดทุนอยู่ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงโดยเฉพาะค่า R&D แต่ถ้าการเติบโตของยอดขายมีอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถกำไรได้ในที่สุด โดยหุ้นกัญชาบางตัวก็เริ่มมี EBITDA เป็นบวกแล้ว (EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย)

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในธุรกิจกัญชาต่างประเทศก็ควรจะศึกษาในรายละเอียดเพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจในธุรกิจ เลือกบริษัทที่ผู้บริหารมีความสามารถและมีศักยภาพในการเติบโต ประกอบกับเลือกหุ้นที่มูลค่าสมเหตุผล นอกจากนี้ ควรกระจายการลงทุนในหลายบริษัท ไม่ลงทุนกระจุกตัวจนเกินไปเพื่อลดความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละบริษัท นักลงทุนควรศึกษากฎระเบียบของตลาดที่จะลงทุนรวมถึงภาษี รวมถึงการเปิดบัญชี Broker ซื้อขายหลักทรัพย์ และการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน อีกทางเลือกหนึ่ง นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือ Exchange Traded Fund (ETF) ที่ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกัญชาหลายๆ ตัวไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ETFMG Alternative Harvest ที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกัญชา ยาสูบ และอื่นๆ ครอบคลุมถึงกัญชาเพื่อการแพทย์และสันทนาการ

ในอดีตนักลงทุนอาจจะมองว่ากัญชาเป็นสิ่งเสพติด แต่หากเรามองถึงประโยชน์ทางการแพทย์ของสาร CBD ในกัญชา การลงทุนในหุ้นกัญชาก็ไม่ต่างจากการลงทุนธุรกิจนวัตกรรมสุขภาพ ที่จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยนานาประเทศ

Reference: โดย ผู้จัดการออนไลน์
อ่าน:4176
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินของเรานี้ แสนอุดมสมบูรณ์
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินของเรานี้ แสนอุดมสมบูรณ์
ประเทศไทยเรานี้ดี ไม่ว่าจะภาคไหนๆก็ทำเกษตรได้ ถึงแม้แต่ละภาค จะอุดมสมบูรณ์มากน้อยต่างกัน แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ทางใต้ และตะวันออก ปลูกผลไม้ได้ดี ผลิตมีคุณภาพเป็นอันดับ 1 ของโลก ทางอีสาน ทำพืชไร่ได้ดี ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ปลูกข้าวหอมมะลิ ได้เป็นอันดับ 1 ของโลก ภาคกลางและภาคตะวันตก ปลูกได้หลายอย่าง ทั้งพืชไร่ พืชสวน ชลประทานดี ภาคเหนือ มีลิ้นจี่ ลำใย ไร่ชา พืชเมืองหนาวอีกหลายชนิด

ทั้งประเทศไทย มีอุณหมิที่พอดี ไม่ต่างกันมากเกินไป ในทุกๆภาค ถึงแม้จะร้อนมากในบางฤดู ก็ไม่ร้อนเป็นทะเลทรายเช่นในตะวันออกกลาง ถึงแม้จะหนาวจับใจลมแรง ในฤดูหนาว ก็ใช่ว่าจะหนาวจนหิมะตก จนอยู่กันไม่ได้

ถ้าใครมองว่า เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทยนี้ ไม่สุขสบาย จะต้องไปอยู่ที่ไหน ถึงจะสุขสบาย จะต้องเกิดอีกกี่ชาติ ถึงจะสุขสบาย
อ่าน:3522
ข้าวขาดธาตุโพแตสเซียม ต้นจะแคระแกรน แตกกอน้อย ใบสั้น ใบโน้มลง เหี่ยวแห้งแต่สีเขียวเข้ม ปลายใบล่างสีน้ำตาลเหลือง ใช้ FK-1
ข้าวขาดธาตุโพแตสเซียม ต้นจะแคระแกรน แตกกอน้อย ใบสั้น ใบโน้มลง เหี่ยวแห้งแต่สีเขียวเข้ม ปลายใบล่างสีน้ำตาลเหลือง ใช้ FK-1
การขาดโพแทสเซียส (Potassium deficiency)

โพแทสเซียม (K) มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายสารอาหารหรือผลผลิตจากการสังเคราะห์แสง ในพืช โพแทสเซียมจะช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง เพิ่มพื้นที่ใบและปริมาณคลอโรฟิลล์ ชะลอการร่วงของใบ ช่วยเพิ่มจำนวนเมล็ดและจำนวนเมล็ดดีต่อรวง เพิ่มน้ำหนักเมล็ด แต่ไม่ช่วยในการแตกกอ

ข้าวที่ขาดโพแทสเซียมต้นจะแคระแกรน การแตกกอลดลง ใบสั้น เหี่ยวแห้ง ใบโน้มลง (Droopy) และมีสีเขียวเข้ม ใบล่างจะมีปลายใบสีน้ำตาลเหลือง มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบโดยเริ่มจากปลายใบและขอบใบแล้วค่อยๆ ลุกลามสู่โคนใบในที่สุด ต่อมาใบจะแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาล ถ้าการขาดรุนแรงมากขึ้นบางครั้งจะมีจุดประสีน้ำตาลบนใบที่เป็นสีเขียวเข้มโดยเริ่มที่ปลายใบก่อนจะขยายสู่ส่วนอื่นๆ ของใบ รวงข้าวจะผอมยาว อาจมีจุดด่าง ขนาดและน้ำหนักของเมล็ดลดลง การหักล้มสูง มักจะเกิดในระยะหลังของการเจริญเติบโต อาการขาดโพแทสเซียมนี้อาจสังเกตเห็นได้ยากในข้าวทั่วไป

สาเหตุของการขาดโพแทสเซียมเกิดจากการปลูกข้าวในดินทรายหรือดินที่มีปริมาณดินเหนียวต่ำ มีธาตุโพแทสเซียมในดินต่ำหรือไม่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ หรือดินที่มีการชะล้างสูง นอกจากนี้อาจพบอาการขาดโพแทสเซียมในดินอินทรีย์ เช่นดินพีท (Peat) ดินมัก (Muck)

☘ฉีดพ่น FK-1 เพื่อป้องกันการขาดโพแตสเซียม
ใน FK-1 ประกอบด้วย
✔N ไนโตรเจน
✔P ฟอสฟอรัส
✔K โพแตสเซียม
✔Ca แคลเซียม
✔Mg แมกนีเซียม
✔Zn สังกะสี
✔สารจับใบ
✔สารสังเคราะห์คลอโรคฟิลล์

Reference: main content from ricethailand.go.th
อ่าน:3705
โรคพืช
โรคพืช
โรคพืช หมายถึงลักษณะอาการของพืชที่ผิดไปจากปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืช หรือตลอดทั้งต้น และรวมไปจนถึงการแห้งตายไปทั้งต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชแบ่งได้ 2 สาเหตุคือ

1. เกิดจากสิ่งมีชีวิต (pathogenic disease) เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส (virus) เชื้อไมโคพลาสมา

(mycoplasma) เชื้อแบคทีเรีย (bacteria) เชื้อรา (fungi) และไส้เดือนฝอย โรคพืชจะเกิดขึ้นและสามารถแพร่กระจายระบาดออกไปได้ถ้าหากมีเชื้อสาเหตุเหล่านี้ ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดและการแพร่กระจายของโรคพืชนั้น ๆ การแพร่กระจายของโรคพืชอาศัย น้ำ ฝน ความชื้น ลม ดิน หรือโดยการถ่ายทอด (transmission) ผ่านทางเมล็ดพันธุ์ ส่วนขยายพันธุ์ หรือโดยแมลง

ลักษณะอาการ (symptom) ของโรคพืชซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุที่แตกต่างกัน จะแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1.1) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการโรคใบหด ใบหงิก ใบสีเหลืองส้ม ใบด่างเหลือง ใบม้วน

1.2) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา มักมีอาการโรคใบขาว ลำต้นแคระแกรน แตกกอเป็นพุ่ม หรือใบเหลืองซีด กิ่งแห้งตาย ลำต้นทรุดโทรมและไม่ให้ผลผลิต

1.3) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะอาการแตกต่างกัน 5 แบบ คือ

1.3.1) เหี่ยว (wilt) อาการเหี่ยวเฉา เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญในท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นพืช ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำและท่ออาหาร จึงเป็นเหตุให้พืชได้รับน้ำและอาหารไม่เพียงพอ เกิดอาการเหี่ยวเฉา หรือเจริญเติบโตผิดปกติและจะตายไปในที่สุด เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ถั่วลิสง กล้วย แตงกวา แตงโม มีสาเหตุมาจากเชื้อ Xanthomonas spp._ Pseudomonas spp._ Erwinia spp.

1.3.2) เน่าเละ (soft rot) อาการเน่าและมีกลิ่นเหม็น ทั้งนี้เพราะแบคทีเรียเข้าทำลายเซลล์พืช และมีเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ ร่วมเข้าทำลายซ้ำเติม โรคพืชแบบนี้มักเกิดกับส่วนของพืชที่อวบน้ำ เช่น โรคเน่าเละของพืชผัก มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา กะหล่ำ พริก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Erwinia spp.

1.3.3) แผลเป็นจุด (spot หรือ local lesion) อาการจุดแห้งตาย เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์หรือในเซลล์ ทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายเป็นแผลแห้งมีขอบเขตจำกัด เช่น โรคใบจุดของฝ้าย โรคใบจุดของถั่วเหลือง โรคขอบใบแห้งของข้าว โรคแคงเคอร์ของส้ม โรคใบจุดของยาสูบ เชื้อสาเหตุ ได้แก่ Xanthomonas sp._ Pseudomonas spp.

1.3.4) ไหม้ (blight) อาการใบไหม้ตาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ เพียงแต่ทำให้การเคลื่อนย้ายน้ำและอาหารในพืชไม่สะดวก ทำให้ใบและลำต้นมีสีซีด (necrosis) และอาจแห้งตายไปในที่สุด เช่น โรคใบไหม้ของถั่ว ยางพารา แอปเปิ้ล เชื้อสาเหตุได้แก่ Xanthomonas spp. Phythopthora spp. และ Erwinia spp.

1.3.5) ปุ่มปม (gall หรือ tumer) อาการเป็นปุ่มปมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในเซลล์พืช แล้วสร้างสารบางชนิดออกมากระตุ้นให้เซลล์บริเวณนั้นมีการแบ่งตัวมากขึ้น เช่น โรค crown gall ของมะเขือเทศ โรค gall ของหัวบีท เชื้อสาเหตุได้แก่ Agrobacterium spp. และ Xanthomonas spp.

1.4) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามีมากหลายแบบ เช่น ใบเป็นแผล ใบไหม้ ใบบิด ต้นเหี่ยว รากเน่า โคนต้นเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือต้นแห้งตายไปทั้งต้น ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามักจะสังเกตเห็นเส้นใย (hypha) สปอร์ (spore) ส่วนสืบพันธุ์ต่างๆ เช่น sporangium_ conidia_ basidiumascus มีสีขาว หรือสีดำ หรือสีน้ำตาล ปรากฏตามรอยแผลอาการของโรค หรือตรงส่วนที่เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืช ตัวอย่างของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้แก่ โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้า โรครากและโคนต้นเน่า โรคราน้ำค้าง โรคเน่าของผลไม้และผัก โรคราแป้งขาว โรคราสนิมเหล็ก โรคเขม่าดำ โรคแส้ดำของอ้อย โรคไหม้ของข้าว โรคใบจุดของข้าวโพด โรคใบจุดตานกของยางพารา โรคแอนแทรคโนส โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ

1.5) ลักษณะอาการของโรคพืชจากไส้เดือนฝอย มักทำให้เกิดโรครากปม รากขอด และลำต้นพืชเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด

2) เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (nonpathogenic disease) อาการของโรคพืชอาจเกิดจากสาเหตุเนื่องจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น การขาดธาตุอาหาร ธาตุอาหารเป็นพิษ ดินเป็นกรด ดินเค็มจัด ดินเป็นด่าง หรือพิษจากสารเคมีบางชนิด สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโตของต้นพืชผิดปกติ ลำต้นแคระแกร็น มีสีซีด หรือสีผิดปกติ ไม่ให้ผลผลิต โรคพืชซึ่งมีสาเหตุเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต จะเกิดเฉพาะบริเวณ ไม่สามารถแพร่กระจายหรือระบาดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค สืบศักดิ์ (2540) กล่าวว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคนั้น มีด้วยกัน 4 ประการที่สำคัญคือ เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และเวลา ปัจจัยทั้งสี่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างยิ่งยวด จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย หากนำมาเขียนเป็นรูปจะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งเรียกว่า “สามเหลี่ยมโรคพืช” ดังแสดงในรูป

Reference: main content from natres.psu.ac.th
อ่าน:4025
641 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 64 หน้า, หน้าที่ 65 มี 1 รายการ
|-Page 59 of 65-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
กำจัดเพลี้ย เพลี้ยไก่แจ้ แมลงศัตรูพืช เชื้อบิวเวอร์เรีย ผสม เชื้อเมธาไรเซียม บิวทาเร็กซ์ ปลอดภัยเพาะเชื้อจาก Lab 100%
Update: 2566/07/22 11:14:36 - Views: 3558
อาการขาดธาตุต่างๆ ในพืช จะแสดงออกให้เราเห็นทางใบ ซึ่งเราพอจะสังเกตุได้
Update: 2563/03/13 13:44:32 - Views: 3686
การป้องกัน ยับยั้ง โรคราสนิมกล้วย
Update: 2566/01/28 08:54:50 - Views: 3720
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: พัฒนาต้นมะเขือเปราะให้ใหญ่ แข็งแรง และมีผลผลิตสูง
Update: 2567/02/12 14:56:35 - Views: 3905
การป้องกันกำจัด โรคแอนแทรคโนสแตงโม
Update: 2563/11/26 11:16:52 - Views: 3924
ต้นปาล์ม โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ ผลผลิตดี ฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่าเพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/04/28 10:19:49 - Views: 3496
คู่มือเบื้องต้นสำหรับการ ป้องกันและกำจัดโรคในสวนยางพารา ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
Update: 2566/04/29 14:56:01 - Views: 8837
เร่งการออกดอกและเร่งรากด้วยปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO
Update: 2567/02/12 14:04:46 - Views: 3772
แก้วมังกร ลำต้นจุด ผลเน่า กำจัดโรคจากเชื้อราต่างๆในแก้วมังกร ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย
Update: 2565/11/03 10:22:29 - Views: 3492
น้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลไม้ไทย ส่งออกต่างประเทศ
Update: 2565/11/17 13:17:11 - Views: 3557
โรคมะกอกโอลีฟ โรคราดำมะกอกโอลีฟ และโรคมะกอกโอลีฟ ที่เกิดจากเชื้อรา
Update: 2564/08/10 05:05:46 - Views: 3729
5 พืชเศรษฐกิจไทย ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด
Update: 2567/11/19 07:40:20 - Views: 364
อินทผาลัม ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/19 11:57:20 - Views: 3555
ประโยชน์ของมันสำปะหลัง เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน
Update: 2566/01/05 09:05:07 - Views: 3498
เพลี้ยแป้งอินทผาลัม เพลี้ยอินทผาลัม เพลี้ย ดูดกินน้ำเลี้ยง อินทผาลัม ใบจุดดวง มาคา จาก FK
Update: 2565/06/17 00:28:58 - Views: 3600
โรคกัญชา กัญชาใบไหม้ กัญชาใบเหลือง ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/07 12:42:44 - Views: 3837
โรคราดำมะม่วง (Sooty mold/Black Mildew) ต้องกำจัดแมลงพาหะ และกำจัดโรครา
Update: 2564/04/01 21:56:02 - Views: 3737
โรคแคงเกอร์
Update: 2564/04/26 08:56:57 - Views: 4271
โรคแอนแทรคโนส มะม่วง
Update: 2564/05/04 11:29:05 - Views: 3737
โรคมะม่วง มะม่วงใบไหม้ แอนแทรคโนสมะม่วง ใบจุดมะม่วง โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/11 23:47:43 - Views: 3851
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022