<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
ไรแดงมันสำปะหลัง
ภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง พื้นที่ใดประสบกับภาวะดังกล่าว เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อเริ่มพบการระบาด จะได้ป้องกันกำจัดทันก่อนที่มันสำปะหลังแสดงอาการรุนแรงซึ่งกระทบต่อการให้ผลผลิต
ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) : เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ ต่อมาขยายแผ่กว้างขึ้น ทำให้หน้าใบทั้งหมดมีสีขาวซีด ใบกระด้าง กรอบ หากระบาดรุนแรง ใบร่วงหลุดจากต้น
นอกจากไรแดงมันสำปะหลัง อาจพบการระบาดของไรแมงมุมคันซาวาและไรแดงชมพู่
ไรแมงมุมคันซาวา (Kanzawa spider mite : Tetranychus kanzawa Kishida) : ลักษณะตัวกลมรูปไข่ ลำตัวสีแดงสด สองข้างลำตัวมีแถบสีดำ มีตาเป็นจุดสีแดงอยู่บนสันหลังด้านข้างลำตัวทั้งสองข้าง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบ โดยสร้างใยปกคลุมผิวใบบริเวณที่ไรอยู่อาศัยรวมกัน ใบมันสำปะหลังที่ถูกทำลาย เกิดปื้นแดง ไหม้เป็นสีน้ำตาลและขาดทะลุ ชงักการเจริญเติบโต
ไรแดงชมพู่ (Rose apple red mite : Oligonychus biharensis Hirst) ไรชนิดนี้เป็นศัตรูของไม้ผลและไม้ดอก ในมันสำปะหลัง พบระบาดเป็นครั้งคราว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงด้านหน้าใบ เกิดเป็นจุดประสีด่างขาว ใบแห้ง หลุดร่วงได้ ไรชนิดนี้ไม่สร้างเส้นใย
ที่มา
http://www.farmkaset..link..
ป้องกัน กำจัด ไรแดงมันสำปะหลัง ด้วย มาคา และ FK-1