[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ไอเอส
1048 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 104 หน้า, หน้าที่ 105 มี 8 รายการ

โรคราดำมะม่วง (Sooty mold/Black Mildew) ต้องกำจัดแมลงพาหะ และกำจัดโรครา
โรคราดำมะม่วง (Sooty mold/Black Mildew) ต้องกำจัดแมลงพาหะ และกำจัดโรครา
สาเหตุของโรค
เกิดจาก แมงจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่น เป็นพาหะนำโรค ทำให้เชื้อราดำหลายชนิด เช่น Capnodium sp._Meliola sp. มาเกาะติดของเหลว ที่เพลี้ยถ่ายไว้ จึงกำให้เชื้อโรคราเกาะติดมะม่วง และเจริญขึ้น

ความสำคัญ
พบทั่วไปในแหล่งปลูกมะม่วงของประเทศ ราดำที่จะกล่าวถึงมีหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่พบเห็นทั่ว ๆ ไป ชนิดที่ขึ้นปกคลุมใบเป็นแผ่นสีดำ เมื่อแห้งอาจจะร่อนหลุดออกเป็นแผ่น ๆ อีกชนิดหนึ่งขึ้นบนใบมีลักษณะคล้ายดาวเป็นแฉก ๆ ราดำเหล่านี้ไม่ได้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชโดยตรง แต่อาจมีผลคือการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูที่มะม่วงออกดอก หากมีราดำขึ้นปกคลุมดอก จะเป็นผลให้การผสมเกสรของดอก ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีเชื้อราขึ้นปกคลุมปลายเกสรตัวเมีย ปกติแล้วราดำมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในอากาศแต่ไม่สามารถจะเจริญขึ้นบนใบ หรือช่อดอกมะม่วงได้ หากไม่มีแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง โดยแมลงเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ตามยอดอ่อน และช่อดอก แล้วจะถ่ายสารซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำหวานออกมาฟุ้งกระจายไปเคลือบตามบริเวณใบ และช่อดอก ซึ่งเชื้อราดำ ในอากาศก็จะสามารถขึ้นได้ และทำให้การติดดอกออกผลของมะม่วงลดลงหรือไม่ติดผลเลย

ลักษณะอาการ
โรคราดำจะเกิดทั้งบนใบ ช่อดอก และผลอ่อน มีลักษณะเหมือนเขม่าหรือฝุ่นสีดำปกคลุมเป็นแผ่นสีดำ ซึ่งเมื่อแห้งอาจจะร่วงหลุดเป็นแผ่น

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากโรคนี้เกิดจากแมลงเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้นในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอก ให้เข้าสำรวจแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่นในสวน

หากพบ ให้ฉีดพ่นด้วย มาคา สารอินทรีย์ป้องกันกำจัด เพลี้ย และแมลงจำพวกปากดูด

ผสม ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน

ช่วงระบาด ฉีดพ่นซ้ำ ทุก 5-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ

ระยะป้องกัน ฉีดพ่นทุก 15-30 วัน โดยอ้างอิงจากการระบาดในแปลงข้างเคียง

Reference
Main content from: kaengkhoi.saraburi.doae.go.th
อ่าน:3417
โรคราสีชมพูในลองกอง
โรคราสีชมพูในลองกอง
สาเหตุของโรคราสีชมพูในลองกอง เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor Berk & Br.

ลักษณะอาการ ของโรคราสีชมพู

เชื้อราเข้าทําลายบริเวณกิ่งและลําต้น โดยเชื้อราจะเริ่มจับที่กิ่งและลําต้นเป็นจุดสีขาวเล็กๆ แล้วเจริญเป็นเส้นใยปกคลุมบางๆ และค่อยๆ หนาขึ้น ทําให้เปลือกที่หุ้มลําต้น กิ่ง เน่าเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ําตาลอ่อน เมื่อถูกทําลายรุนแรงเส้นใยจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู อาการต้นลองกองที่โรคราสีชมพูเข้าทําลายที่สังเกตได้เด่นชัด คือ ใบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แคระแกร็น ใบแห้งและร่วงหล่น เนื้อเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาล กิ่งหรือลําต้นจะแห้งตายไปในที่สุด หากพบเชื้อราเข้าทําลายบนกิ่งที่มีหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกองเข้าทําลายจะทําให้กิ่งแห้งตายอย่างรวดเร็ว

พืชอาศัยของโรคราสีชมพู

ราสีชมพูสามารถเข้าทําลายพืชได้หลายชนิด เช่น ลองกอง ยางพารา กาแฟ ส้มเขียวหวาน มะม่วง ทุเรียน การแพร่กระจายและฤดูการระบาด

โรคราสีชมพูระบาดมากในช่วงฤดูฝน มักเกิดกับต้นที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ หรือมีการทําลายของหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง การทําสวนลองกองใกล้กับการทําสวนยางพาราควรระมัดระวังโรคนี้ให้มาก เพราะเป็นโรคที่ระบาดรุนแรงในยางพาราเช่นกัน

การป้องกันและกําจัด โรคราสีชมพู

1. ควรทําการตัดแต่งกิ่งลองกองให้ทรงพุ่มโปร่ง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นการลดความชื้นในทรงพุ่มและลดการสะสมเชื้อรา โดยเฉพาะกิ่งที่มีการทําลายของหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง

2. ในช่วงฤดูฝนหมั่นตรวจแปลงบ่อยๆ ถ้าพบอาการในระยะแรกให้ถากเปลือก และ ฉีดพ่นด้วยไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

3. ตัดกิ่งส่วนที่เป็นโรคไปเผาทําลาย และฉีดพ่นแผลด้วย ไอเอส

4. ในช่วงที่มีการระบาด ฉีดพ่นไอเอส ผสม FK-1 ทุก 5-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ หากจำเป็นต้องใช้มากกว่า 4 ครั้ง ควรหายามาสลับใช้ เพื่อป้องกันการดื้อยา

Reference
Main content from: trat.doae.go.th
อ่าน:3356
โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง มันฝรั่งใบไหม้ ป้องกันและกำจัดได้อย่างไร
โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง มันฝรั่งใบไหม้ ป้องกันและกำจัดได้อย่างไร
ระวังโรคใบไหม้ในมันฝรั่ง

สภาพอากาศเย็นและมีฝนตกบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งเฝ้าระวังโรคใบไหม้ สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น มักพบแสดงอาการของโรคที่ใบล่างก่อน โดยอาการเริ่มแรกด้านบนใบเป็นจุดฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ ตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลฉ่ำน้ำสีดำ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบในบริเวณตรงกันจะพบละอองน้ำเล็กสีขาวใสติดอยู่บริเวณขอบแผล และแผลจะขยายลุกลามออกไปจนทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลในที่สุด

กรณีสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ อากาศเย็นและมีความชื้นสูง หรือในสภาพที่มีหมอกลงจัด โรคใบไหม้จะลุกลามอย่างรวดเร็วไปยังต้นอื่นๆ ทำให้มองเห็นใบไหม้แห้งกระจายเป็นหย่อมในแปลง ส่วนลำต้นและกิ่งก้านที่พบอาการของโรค แผลจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้ลำต้นหรือกิ่งก้านหักพับและแห้งตายอย่างรวดเร็ว หากโรคใบไหม้เข้าทำลายที่หัว จะทำให้หัวเน่า

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคเริ่มระบาด

ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 สำหรับฟื้นฟูส่งเสริมการเจริญเติบโต ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน

ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน และคอยสังเกตุว่าโรคหยุดการลุกลามหรือไม่ หลีกเลี่ยงการพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และควรใช้สลับชนิด เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค

สำหรับในแปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชที่ตกค้างอยู่ในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูก และให้ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว ให้นำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง จากนั้นให้ไถพรวนดินและตากดินไว้นาน 1-2 สัปดาห์ เพื่อจะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในดิน หลีกเลี่ยงการปลูกมันฝรั่งในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และงดการให้น้ำในตอนเย็นและการให้น้ำที่มากเกินไป อีกทั้งควรปรับระยะปลูกไม่ให้แน่นเกินไป เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค

Reference
Main content from: thethaipress.com/2020/27559/
อ่าน:3116
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
สภาพอากาศร้อนชื้น เวลากลางวันมีแดดจัด และมีฝนตกในบางพื้นที่ช่วงนี้ แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวัง การระบาดของโรคใบไหม้หรือโรคใบติด สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบไหม้ เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบไหม้ ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อนำ้ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมในคราวเดียวกัน เพื่อฟื้นฟู บำรุงพืช จากการเข้าทำลายของโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

Reference
Main content from: technologychaoban.com
อ่าน:3249
โรคราแป้ง ในเงาะ
โรคราแป้ง ในเงาะ
สาเหตุของโรคราแป้ง ที่เกิดขึ้นในเงาะ : เกิดจากเชื้อรา Oidium nephelii

ลักษณะการทําลายของโรคราแป้งในเงาะ

โรคราแป้ง (powdery mildew) สามารถเขาทําลายเงาะได้ทุกระยะการเจริญเติบโต แต่อาการรุนแรงและความเสียหายเกิดที่ผลอ่อน อาการที่สังเกตเห็นได้ คือ ใบอ่อน ช่อดอก ผลอ่อน จะมีผงฝุ่นแป้งปกคลุมอยู ทําให้ผลอ่อนร่วง ถ้าเป็นโรคในระยะที่ผลโตแล้วจะทําให้แลดูสกปรกและเกิดอาการเงาะขนเกรียน ขายไม่ได้ราคา เชื้อนี้จะระบาดในช่วงอากาศเย็นและชื้น ราจะขึ้นปกคลุมผิวของพืชและสร้างอวัยวะคล้ายรากแทงเข้าไปภายในพืชดูดกินน้ําเลี้ยง

การแพร่กระจายและฤดูที่มีการระบาด

สปอร์ของเชื้อราแพร่ระบาดทางลมในระยะที่อากาศแห้งแล้งและเย็น เชื้อราเข้าทําลายเงาะระยะดอกบานและติดผลออนและตกคางที่ผิวผลจนถึงระยะเงาะแก่

การป้องกันและกําจัด

1. ในช่วงแตกใบอ่อนและเริ่มติดผลหมั่นตรวจดูว่าพบราแป้งเขาทําลายใบอ่อนหรือไม่ ถ้าพบ ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง สองถึงสามครั้ง

2. ในช่วงระยะผลอ่อน ควรฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกันไว้ แม้ยังไม่พบโรค

3. เก็บผลเงาะที่เป็นโรค ใบแป้ง กิ่งแห้ง ที่ร่วงหล่น เผาทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

Reference:
main content from trat.doae.go.th
อ่าน:3473
คำนิยม - ลูกค้าท่านนี้ใช้ ไอเอส กำจัดโรครา ใช้ FK-1 เร่งการแตกยอดแตกใบใหม่ค่ะ
คำนิยม - ลูกค้าท่านนี้ใช้ ไอเอส กำจัดโรครา ใช้ FK-1 เร่งการแตกยอดแตกใบใหม่ค่ะ
ข้อความจากลูกค้า

"สินค้าใช้ดีมากคับ. ฉีด ครั้งที่2. จบปัญหาเรื่อง รา หาย. ของดีต้องบอกต่อ. แนะนำให้ใช้คับ. ดีจิงๆๆ."

"FK1. ตัวนี้. ก็สุดยอด. คับ. ท่านที่ต้องการ. ใบแตกยอด. หรือทำใบ. แตกยอด. สุดยอดคับ. ทำใบดีมาก. สินค้าดี. ต้องแนะนำคับ"

ขอบคุณลูกค้า ที่กลับเข้ามาคอมเมนต์ที่เพจ ฟาร์มเกษตร นะคะ
อ่าน:2966
โรคอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
โรคอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
ธรรมชาติของอินทผลัม เป็นพืชที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย การนำมาทดลองปลูกในประเทศไทยของเรา มีปัญหาของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชื้นปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะโรคเชื้อรา

"โรคเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm"

ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวๆ เกิดขึ้นตามใบ ส่วนมากจะเกิดช่วงปลายฝนต้นหนาว แต่บางครั้งก็เกิดในฤดูอื่นๆ เมื่อมีความชื้นในอากาศ การที่ต้นจะตายไม่ใช่ตายเพราะโรคนี้ แต่จะตายเพราะโรคชนิดอื่นที่เข้ามาแทรกในตอนนั้น

- โรคนี้เกิดในพื้นที่ปลูกในภูมิภาคที่มีความชื้นสูง มีฝนมาก แต่ในภูมิภาคที่มีความร้อนและแห้ง จะปรากฏโรคชนิดนี้น้อย

- อินทผลัมพันธุ์แทบทุกสายพันธุ์สามารถเกิดโรคนี้ได้ในสภาพชื้น

- โรคชนิดนี้ เป็นผงจุดสีขาวๆ เกิดตามผิวใบ หากไม่มีโรคชนิดอื่นเกิดขึ้นพร้อมกัน จะปรากฏให้เห็นเป็นผงสีขาวๆ เกิดตามใบเท่านั้น มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดังความชื้นที่สะสมมา หากเป็นเฉพาะโรคนี้โรคเดียว ไม่ปรากฏมีโรคอื่น หรือ การขาดสารอาหาร หรือ ขาดน้ำ มาพร้อมกัน โรคชนิดนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น เอกสารต่างประเทศกล่าวว่า การเกิดโรคชนิดนี้อย่างเดียว เป็นเหมือนเครื่องสำอางค์ของใบเท่านั้น การขาดธาตุอาหารมีผลกระทบกับต้นอินทผลัมมากกว่าโรคนี้

- หากตรวจพบว่าเป็นโรคชนิดนี้แล้ว ไม่แนะนำให้มีการตัดแต่งออกไป ยกเว้นแต่จะเป็นโรคอื่นๆ ด้วย หากจะมีการตัดใบ ต้องมั่นใจว่า ธาตุโพแตสเซียมในดินเพียงพอที่จะทำให้ต้นฟื้นขึ้นมาได้จากการตัดแต่งใบออกไป หากดูแล้วไม่ค่อยจะชอบมันเกิดตามใบ ต้องการจะตัดออก ให้รดปุ๋ยที่มีธาตุโพแตสเซียมลงไปด้วยทุกครั้ง

- แนะนำให้ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

- ให้เข้าใจว่า ยาป้องกันและกำจัดเชื้อราเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้ใบที่เป็นอยู่แล้วหายไป แต่จะทำให้โรคไม่ลามต่อไปยังใบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมา หรือ ลามเพิ่มเติมออกไป เท่านั้น

- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง ให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคพืช ได้เร็วขึ้น และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว สมบูรณ์

กรณีที่เป็นพื้นที่แห้งอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการสะสมของโรคในช่วงฝนที่ตกบ่อยมากจึงทำให้เกิดโรคนี้ให้เห็นบ้าง ไม่เป็นมาก โรคแบบนี้ ไม่เป็นเฉพาะอินทผลัม พืชทางเศรษฐกิจที่เขาปลูกกันจำนวนมากก็เป็น วิธีการจัดการเมื่อพบโรคนี้ คือ

- ในช่วงของการเพาะต้นกล้า หากจะทำเรือนเพาะชำแบบมีแสงส่องถึงได้เต็มที่ก็ควรจะทำ เพื่อป้องกันน้ำฝนกที่อาจจะมากเกินไป หรือ ป้องกันน้ำค้างในช่วงฤดูหนาว

- จุดที่วางถุง ควรเป็นพื้นที่แห้ง ไม่ชุ่มน้ำ ไม่ควรวางถุงให้ชิดกัน ควรวางให้ห่างกันเล็กน้อย หากมีพื้นที่จำกัดลองวางให้ห่างกันสัก ๑ นิ้ว หากมีพื้นที่มาก ให้วางห่างกันประมาณสัก ๕ นิ้ว เพื่อให้อากาศรอบถุงหมุนเวียนได้ ไม่สะสมโรคชนิดนี้ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้กับต้นอินทผลัม

ในส่วนของต้นที่ปลูกกันอยู่ตอนนี้ที่เป็นอยู่นี้ จุดไหนที่มีความชื้นสูงจะเป็นมากหน่อย และที่แน่ๆ จะเป็นดินเพาะแบบไหน ใส่วัสดุเพาะที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแบบไหนก็ตาม ก็มีโอกาสเป็นเท่ากันหมด หากจุดวางถุงมีความชื้นสูง ทั้งความชื้นใต้ถุง ใต้ดิน และร่มเงามากไป ได้ประยุกต์เพื่อแก้ไข ดังนี้

- รดน้ำให้น้อยลง เพื่อลดความชื้น ไม่ควรรดน้ำอินทผลัมในช่่วงเย็น แต่ควรจะรดน้ำในช่วงเช้า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นสะสมในเวลากลางคืนที่อากาศเย็นนั่นเอง

- ใช้ปูนขาวผสมน้ำรดลงไปบ้าง เพื่อช่วยเรื่องการกำจัดเชื้อโรคบางชนิดในดิน

- บริเวณไหนมีร่มเงาหรือความชื้นมากไป ย้ายถุงเพาะออกไปวางในจุดที่แห้ง มีแสงแดดเต็มที่

Reference: main content from sites.google.com/site/datepalmnongtu/
อ่าน:3325
โรคกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนสกล้วยไม้ กล้วยไม้ใบไหม้ กล้วยไม้เป็นเชื้อรา
โรคกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนสกล้วยไม้ กล้วยไม้ใบไหม้ กล้วยไม้เป็นเชื้อรา
โรคแอนแทรคโนสกล้วยไม้อ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. หรือ Colletotrichum sp.

อาการของโรคแอนแทรคโนสกล้วยไม้

แผลที่ใบมักเริ่มเกิดที่ปลายใบลามเข้าสู่เนื้อใบ อย่างไรก็ตามเชื้ออาจทําลายส่วนอื่นของใบก่อนก็ได้เช่นเดียวกัน แผลมีรอบเป็นวงๆซ้อนกัน มักมีกลุ่มของเชื้อราสีดําเกิดขึ้นตามวง ขอบแผลมีสีเหลืองอ่อน

การป้องกันกำจัด

- ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสั่งเกตุอาการ ควรหายาอื่นๆ มาสลับใช้ หากจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการดื้อยา

- ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรค

Reference: main content from opsmoac.go.th
อ่าน:3216
โรคกุหลาบ กุหลาบใบไหม้ บนใบเป็นแผลสีน้ำตาล คือ โรคแอนแทรคโนสกุหลาบ ลุกลามไปส่วนอื่นๆได้
โรคกุหลาบ กุหลาบใบไหม้ บนใบเป็นแผลสีน้ำตาล คือ โรคแอนแทรคโนสกุหลาบ ลุกลามไปส่วนอื่นๆได้
โรคแอนแทรคโนสกุหลาบ

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz.

อาการ

บนใบเป็นแผลรูปไข่ สีน้ําตาลเข้มเป็นวงซ้อนๆกันหลายชั้น แผลมักเริ่มเกิดจากปลายใบ หรือกลางใบ ขอบแผลมีสีเหลืองอ่อนๆ แผลอาจลุกลามไปที่ก้านใบ ก้านดอก และกิ่งได้

การป้องกันกำจัด

- ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสั่งเกตุอาการ ควรหายาอื่นๆ มาสลับใช้ หากจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการดื้อยา

- ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรค

Reference: main content from opsmoac.go.th
อ่าน:3461
โรคใบไหม้ โรคราใช้ ไอเอส กำจัดหนอนใช้ ไอกี้ กำจัดเพลี้ยใช้ มาคา ฟื้นฟูพืช ใช้ FK-1
โรคใบไหม้ โรคราใช้ ไอเอส กำจัดหนอนใช้ ไอกี้ กำจัดเพลี้ยใช้ มาคา ฟื้นฟูพืช ใช้ FK-1
ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้ง ผู้ใช้ ผู้บริโภค และ สัตว์เลี้ยง
อ่าน:3349
1048 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 104 หน้า, หน้าที่ 105 มี 8 รายการ
|-Page 94 of 105-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ดอกทานตะวัน ความนิยมปลูกและทานดอกทานตะวันทั่วโลก
Update: 2565/11/14 12:59:24 - Views: 5027
ฮิวมิค แอซิด ของยี่ห้อ ฟาร์มิค - เพื่อฟื้นฟูระบบรากและพัฒนาต้นสตรอเบอร์รี
Update: 2567/02/13 09:37:40 - Views: 130
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น พุทรา ผลใหญ่ เพิ่มน้ำหนัก ผลผลิตดี ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/03/07 10:07:30 - Views: 3016
สารออกฤทธิ์ ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เพื่อปรับปรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สำหรับต้นเสาวรส
Update: 2567/02/13 09:49:57 - Views: 149
อาหารไทย อาหารสุขภาพ
Update: 2553/02/20 10:47:38 - Views: 3006
มาคา สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลงศัตรูพืช ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
Update: 2566/09/26 09:38:49 - Views: 249
ฮิวมิค แอซิด: ฟาร์มิคที่เติมพลังให้ดินและพืช สำหรับฉีดพ่นต้นกระเพรา
Update: 2567/02/13 09:45:13 - Views: 195
การกำจัด โรคราน้ำค้างในอ้อย ด้วยสารอินทรีย์
Update: 2566/01/07 09:03:34 - Views: 2998
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 สูตรเร่งผลใหญ่ ผลดก เพิ่มผลผลิตสำหรับต้นฟักทอง
Update: 2567/03/14 15:00:13 - Views: 120
มันสำปะหลังใบหงิก ปัญหาใหญ่จากเพลี้ย แก้ได้ง่ายๆ ด้วย อินเวท และ ปุ๋ยสตาร์เฟอร์
Update: 2567/03/15 14:24:48 - Views: 139
ผักกาดขาว ใบไหม้ !! ใบจุด ราน้ำค้าง ใบจุด ราเม็ด โรคเหี่ยว โรคราต่างๆ กำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟูด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/02 10:23:50 - Views: 99
อินทผลัม พืชทางเลือก จะรุ่งหรือจะร่วง กับ ศ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า - Piyamas Live | ปิยะมาศ บัวแก้ว
Update: 2563/03/10 22:17:46 - Views: 3047
ยารักษาโรค ยาปราบแมลงศัตรูพืช สำหรับต้นหอม ปุ๋ยสำหรับหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่
Update: 2563/06/19 08:34:56 - Views: 4461
กำจัดหนอน ใน สตอเบอร์รี่ เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/18 15:21:46 - Views: 3177
ฉลากโภชนาการคืออะไร
Update: 2565/09/08 15:27:32 - Views: 3060
หนอนหมี บุกสวนยางที่กระบี่ ชาวบ้านไม่กล้ากรีดยาง
Update: 2564/08/14 22:09:43 - Views: 3926
เผือก ใบไหม้ ใบจุดตากบ ใบจุดตาเสือ กำจัดโรคเผือก จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/25 11:06:39 - Views: 3380
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ฝรั่ง และพืช ทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/28 15:13:01 - Views: 3043
FK-1 พืชโตไว แตกยอดใบ รากสมบูรณ์ ทนแล้ง ทนโรค ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ด้วยธาตุอาหารพืช ธาตุหลัก ธาตุเสริม และสารลดแรงตึงผิว
Update: 2566/10/10 07:22:04 - Views: 318
การควบคุมวัชพืชในสวนกล้วย การใช้คาร์รอน (Diuron 80% WG)
Update: 2567/02/13 09:23:20 - Views: 154
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022