[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - เพลี้ยอ่อน
334 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 33 หน้า, หน้าที่ 34 มี 4 รายการ

โรคใบด่างข้าวโพด
โรคใบด่างข้าวโพด
โรคใบด่างในข้าวโพด เกิดจากเชื้อไวรัส Maize dwarf mosaic virus วงศ์ Potyviridae เป็น subgroup ของเชื้อ sugarcane mosaic virus (SCMV-MDB)

การแพร่ระบาด อาศัยเพลี้ยอ่อนข้าวโพดเป็นพาหะ (Corn leaf aphid : Rhopalosiphum maidis Fitch) ปริมาณการแพร่ระบาดของเพลี้ยอ่อนข้าวโพดมีผลต่อการแพร่ระบาดของโรค นอกจากนี้ยังแพร่ระบาดโดยการสัมผัส การติดไปกับเครื่องมือทางการเกษตร และสามารถถ่ายทอดไปกับเมล็ดพันธุ์

ที่มา http://www.farmkaset..link..

โรคใบด่างข้าวโพด ยังไม่มียารักษาโดยตรง ทำได้โดยการป้องกันกำจัด แมลงพาหะของโรค เช่น เพลี้ยอ่อนข้าวโพด และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่น มาคา เพลี้ยป้องกันกำจัดแมลงพาหะ และ FK-1 เพื่อ ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ส่งเสริมการเจริญเติบโต
แตงกวา การปลูกแตงกวา การป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลง และการรักษาโรคแตงกวา
แตงกวา การปลูกแตงกวา การป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลง และการรักษาโรคแตงกวา
แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาค ของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูก แตงกวากับพืชอื่นๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืชหนึ่งที่สามารถทำรายได้ดีทีเดียว สำหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถ นำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนำไปแกงจืด ผัด จิ้มน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่าแตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

ถิ่นกำเนิดแตงกวา

แตงกวา การปลูกแตงกวาแตงกวามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3_000 ปี และมีการปลูกในประเทศ แถบทะเล เมดิเตอร์เรเนียน เมื่อก่อน 2_000 ปี โดยนำผ่านเอเซียกลางและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ในศตวรรษที่ 6 ได้นำไปปลูก ในประเทศจีน โดยสันนิษฐานว่าได้นำเข้าประเทศจีน 2 ทาง คือ เส้นทางสายไหม โดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออก ไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ ของประเทศจีน ในศตวรรษที่ 9-14 ได้นำไปปลูกในทวีปยุโรป และได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ ให้เหมาะสม ต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นำไปปลูกในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการ พัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพ การบริโภคสดและแปรรูป
ลักษณะทางพฤษศาสตร์

แตงกวามีจำนวนโครโมโซม 2n = 14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียว เถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง

ระบบราก เป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร

ลำต้น เป็นเถาเลื้อย เป็นเหลี่ยม มีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออก มาตามข้อ โดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้น ใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุม ใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจน ส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสรดอกจะหุบ ตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน

การเกิดดอกตัวเมีย นั้นขึ้นอยู่กับช่วง แสงและอุณหภูมิกล่าว คือ จะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ ในสภาพช่วงแสงสั้นและมีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ ซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย

ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผล และในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผล ได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม่มีไส้ เนื้อกรอบ และน้ำหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสดแปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดำ สีหนามสีขาว แดง น้ำตาล และดำ

แตงกวาสามารถจำแนก ได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้

1. พันธุ์สำหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผลมีน้ำมากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปดอง

แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น

1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้านซึ่งมีความยาวผลอย่างน้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 - ผ ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือขาว และเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้น จะมีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งผล

1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง

2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูปร่างได้ดี ไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ดังนี้

2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของญี่ปุ่นและจีนซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้น ๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

สภาพแวดล้อมในการ ปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสม ต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส

แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ใน ปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน

2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป

3. ทำการบ่มเมล็ด โดยนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ ผสมอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป

4. การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร

การดูแลรักษากล้า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระ ทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก

การปลูก วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น

สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพ แวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้น้ำ หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้

1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่

3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

แมลงศัตรูแตงกวา

1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola)
ลักษณะ เป็น แมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอก และผลอ่อน
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา

การป้องกันกำจัด ให้น้ำเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก โดยให้น้ำเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้

2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii)
ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดำและมีปีก

การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ โดยมีมดเป็นตัวนำหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่

3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.)
ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดไร ได้แก่ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์ เป็นต้น

4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดำ (Black cucurbit beetle: A. frontalis)

ลักษณะ เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดำเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนา หรือตามกอหญ้า

การทำลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น ตัวหนอนกัดกินราก

การป้องกันกำจัด ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว
ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน คาร์โบน๊อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จี หรือคูราแทร์ 3 จี ใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์

5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar: Helicoverpa armigera)

ลักษณะ หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน

การทำลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า

การ ป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น อโซดริน แลนเนท ทามารอน โตกุไทออน บุก หรือ อะโกรน่า เป็นต้น

โรคที่เป็นศัตรู สำคัญของแตงกวา ได้แก่

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora

ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผง สีดำ

การป้องกันกำจัด คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน หรือริโดมิลเอ็มแซดก่อนปลูกหรือจะนำเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายน้ำเจือจาง เป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้ เมื่อมีโรคระบาดในแปลงและในช่วงนั้นมีหมอกและน้ำค้างมาก ซึ่งควรฉีด Curzate M8_ Antrachor สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ

2. โรคใบด่าง (Mosaic)
เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus
ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบ ตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง

การป้องกันกำจัด ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทำได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทำความสะอาด แปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและ แมลงพาหะ

3. โรคผลเน่า (Fruit rot)
เชื้อสาเหตุ Pythium spp._ Rhizoctonia solani_ Botrytis cinerea
ลักษณะอาการ มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผลก่อน จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุม กรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ๊อกโทเนียจะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่ สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้น บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่า จะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกำจัด ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล

4. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เชื้อสาเหตุ Oidium sp.
ลักษณะอาการ มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายทั่วไป เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น เบนเลท เดอโรซาล Diametan หรือ Sumilex ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด

การเก็บเกี่ยว แตงกวา

อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูก ประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสำหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมีหนามอยู่บ้าง ถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนาม การเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้น เพราะจะทำให้ผลผลิตทั้งหมดลดลง โดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน

อ้างอิง : vegetweb.com

*สินค้าจากฟาร์มเกษตร ที่แนะนำสำหรับแตงกวา
มาคา ใช้ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ
ไอเอส ใช้ป้องกันกำจัดโรค ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ และโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
ไอกี้-บีที ใช้ป้องกันและกำจัดหนอน
FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
โรคของแตงกวา โรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ยกตัวอย่างเช่น แตงกวาใบด่าง แตงกวายางไหล ต้นแตก แตงกวาผลเน่า แตงกวาผลเหี่ยว ราแป้งในแตงกวา ราน้ำค้างแตงกวา อาการต่างๆเหล่านี้ ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา

ส่วนพวกแมลงศัตรูแตงกวา อย่าง เพลี้ยไฟในแตงกวา เพลี้ยอ่อน ใช้ มาคา สารอัลคาลอยด์ สกัดจากพืช กำจัดเพลี้ย

หากมีหนอนต่างๆ ใช้ ไอกี้ สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอน

หนอนมาใช้ ไอกี้_ เจ้าเพลี้ยตัวดีใช้ มาคา_ หากเจอโรคใบไหม้โรคเชื้อราใช้ ไอเอส_ ใจร้อนอยากให้พืชฟื้นตัวเร็วใช้ FK-1 เร่งฟื้นตัว เร่งเขียว เร่งโตนะคะ

ทั้งหมดนี้ ใช้ได้กับทุกพืชค่ะ

ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

ไอกี้ กำจัดหนอน 490 บาท บรรจุ 500กรัม_ ไอกี้ เป็นสารชีวินทรีย์ แบคทีเรียแกรมบวก ใช้กำจัดหนอนทุกชนิดโดยเฉพาะ

มาคา กำจัดเพลี้ย 470 บาท บรรจุ 1 ลิตร_ มาคา เป็นสารอินทรีย์สกัดจากพืช

ไอเอส กำจัดโรคใบไหม้ โรคเชื้อรา 450 บาท บรรจุ 1 ลิตร_ ไอเอส เป็นสารอินทรีย์ ทำงานแบบ อีออนคอนโทรลในการกำจัดโรคราต่างๆ

FK-1 ใช้เร่งฟื้นตัว เร่งโตแตกยอดแตกใบใหม่ ราคา 890 บาท บรรจุ 2 กิโลกรัม_ FK-1 เป็นธาตุหลัก N-P-K บวกธาตุรองธาตุเสริม สารจับใบ (ปุ๋ยเคมี ธาตุ N-P-K ไม่ได้อันตรายเหมือนสารเคมีหรือยาเคมี แต่ สำหรับคนที่กังวล ไม่ต้องซื้อตัวนี้ค่ะ ตัดออกไปเลย)

การสั่งซื้อ
ทักแชทได้เลยค่ะ..
หรือ ไลน์ไอดี PrimPB
หรือ โทร 090-592-8614
สาเหตุ และ การรักษาโรคแอนแทรคโนสในแตงกวา
สาเหตุ และ การรักษาโรคแอนแทรคโนสในแตงกวา
โรคนี้เกิดจากเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค Colletotrichum มันได้รับผ่านเศษซากพืชที่ติดเชื้อบนพื้นดินมักจะถูกถ่ายเทจากพุ่มไม้หนึ่งไปยังอีกพุ่มหนึ่งโดยลมหรือฝน นอกจากนี้เมล็ดที่เก็บจากผลไม้ที่เป็นโรคก็กลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อ พืชที่อยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและในเรือนกระจกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

สภาพอากาศที่เปียกและอบอุ่นเป็นสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายสำหรับการติดเชื้อรา มีน้ำค้างกระจายและมีฝนตกหนักบ่อยครั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อราจะทำงานเมื่อความชื้นในอากาศสูงกว่า 60 องศา

เพลี้ยอ่อนและไรเดอร์เป็นพาหะของสปอร์จากพุ่มไม้ที่เป็นโรคไปจนถึงแมลงที่มีสุขภาพดีดังนั้นคุณควรต่อสู้กับแมลงเหล่านี้

ความหนาแน่นของพืชเป็นสาเหตุของการถ่ายโอนสปอร์จากพืชที่เป็นโรคไปยังพืชที่มีสุขภาพดี

ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมเชื้อราจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วนำไปสู่โรคพืชทุกชนิดที่ปลูกในสวน แต่เมื่อความชื้นในอากาศลดลงอย่างรวดเร็วการเติบโตของเชื้อจะช้าลงและหยุดลง

ป้องกันกำจัด โรคแอนแทรคโนส โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคราแป้ง โรคไหม้ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราไฟทอปโธร่า โรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคใบด่างในเสาวรส เสาวรสใบด่าง เกิดจากเชื้อไว้รัส ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงให้แข็งแรง
โรคใบด่างในเสาวรส เสาวรสใบด่าง เกิดจากเชื้อไว้รัส ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงให้แข็งแรง
โรคใบด่างในเสาวรส เสาวรสใบด่าง เกิดจากเชื้อไว้รัส ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงให้แข็งแรง
โรคใบด่างในเสาวรส (Mosaic) โรคนี้เป็นโรคที่สำคัญที่สุดของเสาวรส เมื่อเกิดการระบาดแล้ว จะทำให้ผลผลิตลดต่ำลง ทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยในเสาวรสรับประทานสดนั้น ส่วนใหญ่มีการติดโรคนี้เนื่องจากมีการขยายพันธุ์ โดยใช้กิ่งพันธุ์ดีจากต้นแม่เดิม ที่เป็นโรคอยู่ก่อนแล้ว ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการวิจัย เพื่อผลิตต้นแม่ที่ปลอดโรคอยู่

สาเหตุและอาการ

โรคใบด่างเกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ Passion fruit Woodiness Virus (PWV) ซึ่งเป็นไวรัสท่อนยาวคดขนาด 650-800 นาโนเมตร ลักษณะต้นที่เป็นโรคจะแสดงอาการใบด่าง เส้นใบใส ผลด่างทั่วผลและมีอาการด่างแบบวงแหวน ผิวเปลือกไม่เรียบ เปลือกหนากว่าปกติ ผลจะมีลักษณะบิดเบี้ยวและขนาดเล็กลง เชื้อไวรัสอีกชนิดหนึ่งคือ Cucumber Mosaic Virus (CMV) อาการที่พบคือใบด่างเหลือง ใบยอดบิดและหงิกงอ ผิวใบไม่เรียบ ผลบิดเบี้ยว

การแพร่ระบาด

เชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดโดยวิธีกล เช่น การตัดแต่งกิ่ง การเสียบกิ่งและระบาดโดยแมลงพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อน

การป้องกันกำจัด

1. คัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์ปลอดจากไวรัส

2. ไม่ควรปลูกปะปนกับพืชตระกูลแตง มะเขือ

3. เมื่อนำต้นกล้าลงปลูกจนกระทั่งถึงเริ่มติดผล ควรพ่นยาป้องกันกำจัดแมลงพาหะเป็นระยะๆ

4. ควรระมัดระวังเครื่องมือที่ใช้ติดแต่งกิ่ง โดยทำความสะอาดทุกครั้งที่ตัดแต่งต้นเสร็จในแต่ละต้น

5. การบำรุงต้นให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ จะทำให้ต้นทนทานต่อการทำลายของโรคไวรัส และยังคงให้ผลผลิตได้ดีถึงแม้ปริมาณและคุณภาพจะลดลงบ้าง แต่ก็ยังคงสามารถให้ผลผลิตได้ดี

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว แมลงพาหะของโรค และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ มาคา
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🦗ข้อมูล มาคา

มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿เกี่ยวกับ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3810
🦗กำจัดเพลี้ย! พืชใบหงิก ใบเป็นคลื่น ดอกหลุดร่วงติดผลน้อย.. เพลี้ยระบาดหรือ?
🦗กำจัดเพลี้ย! พืชใบหงิก ใบเป็นคลื่น ดอกหลุดร่วงติดผลน้อย.. เพลี้ยระบาดหรือ?
🎗มาคา สารชีวินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อ คน เด็ก และสัตว์เลี้ยง

💦ฉีดพ่นทางใบ และลำต้น ผสม 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ป้องกัน-กำจัด-ลดจำนวนประชากร เพลี้ยต่างๆ

✅🦗ใช้ได้กับ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไก่แจ้ แมลงหวี่ขาว

❎🐞ใช้ไม่ได้กับ แมลงจำพวกปีกแข็ง แมลงปากกัดต่างๆ เช่น แมลงเต่าแตง ด้วงปีกแข็ง แมลงทับ แมลงปีกแข็ง แมลงเต่าทอง ตั๊กแตน และจำพวกปีกแข็งอื่นๆ

💁‍♀️ราคา 470บาท บรรจุ 1ลิตร ใช้ได้ 5 ไร่ โดยประมาณ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..

🦗ข้อมูล มาคา

เป็นสารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ ที่ถูกคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใช้หลักการเทคโนโลยีชั้นสูง ในการรวมอัลคาลอยเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อีกทั้งสามารถยับยั้งการดื้อยาที่เกิดจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เนื่องจาก มาคา มีวิธีการออกฤทธิ์แบบไม่เจาะจง จึงทำให้แมลงไม่สามารถปรับตัวต้านทานได้ รวมทั้งสามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว โดยปราศจากสารพิษตกค้างในดินและน้ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilapavata lugens)
- เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก (Recilia dorsalis)
- เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Nephotettix spp.)
- เพลี้ยไฟ (Balliothrips biformis)
- เพลี้ยอ่อน
- เพลี้ยไก่แจ้
- แมลงหวี่ขาว
อ่าน:3014
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคที่เกิดกับผักตระกูลแตง

พืชตระกูลแตงมีหลายชนิด บางชนิดใช้รับประทานแบบพืชผักบางชนิดรับประทานแบบผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นแตงชนิดไหนก็ตามมีโอกาสที่จะเป็นโรคชนิดเดียวกันได้ แตงที่รับประทานแบบผลไม้ได้แก่ แตงโม แตงกวา แคนตาลูป แตงไทย แตงที่ใช้เป็นอาหารจำพวก ผัก ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฟัก แฟง น้ำเต้า ตำลึง บวบ ฯลฯ

จากการสำรวจพบว่าพืชในตระกูลแตงแต่ละชนิดมีโรคระบาดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการปลูกมากหลายโรคด้วยกัน แต่ละโรคทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิดและเป็นโรคเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาและเรียบเรียงคำแนะนำเรื่องโรคใดโรคหนึ่งและวิธีป้องกันกำจัดจึงสามารถใช้รวมไปได้กับพืชทุกชนิดในตระกูลแตง

โรคผักตระกูลแตงและวิธีป้องกันกำจัด

โรคผักตระกูลแตงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่แพ้โรคผักของพืชตระกูลอื่น ๆ หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ และกำลังจะได้รับการส่งเสริมให้พืชบางชนิดในตระกูลนี้ปลูกกันอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูป เช่น ทำแตงกวาดอง ฯลฯ และเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องประสพปัญหาเรื่องโรค ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการเอกสารวิชาการเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องโรคและวิธีป้องกันกำจัด เช่น รายละเอียดเรื่องระดับความเสียหายความรุนแรงของโรค การแพร่ระบาด สาเหตุของโรค สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคพาหะนำโรคและวิธีป้องกันกำจัดที่ให้ผลดีที่สุดและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย การป้องกันกำจัดโรค โดยวิธีใช้สารเคมีฉีดพ่นอาจไม่ได้ผลเลยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น ในกรณี ที่เกิดโรคขาดธาตุอาหารหรือสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อโรค ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน แล้วจึงจะคัดเลือกวิธีการป้องกันกำจัดที่แท้จริงมาใช้หรืออาจจะต้องใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีเข้าร่วมกันเพื่อให้การป้องกันกำจัดมีประสิทธิภาพสูง โรคจะได้ลดน้อยลง เพื่อที่จะให้การเรียบเรียงสมบูรณ์จึงได้จัดแบ่งโรคของผักตระกูลแตงออกเป็นหมวดหมู่ตามสาเหตุของโรค

โรคปลายผลเน่าเกิดจากขาดธาตุแคลเซียม

โรคปลายผลเน่าแห้งสีดำ (Blossomend rot)

โรคปลายผลเน่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากกับแตงโม โดยเฉพาะพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ซึ่งปลูกไม่แพร่หลายนัก เพราะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่มากไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ แต่ก็มีข้อดีที่เก็บได้นานกว่าแตงพันธุ์ชูก้าเบบี้ ซึ่งนิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน พันธุ์ชูก้าเบบี้เก็บไม่ได้นานเท่าชาร์ลสตันเกรย์ก็จริงแต่เนื่องจากไม่เป็นโรคนี้และมีขนาดกำลังดี จึงนิยมปลูกกันมาก นอกจากแตงโมแล้ว แตงร้านและแตงกวาก็ปรากฎว่าเป็นโรคนี้บ้างเล็กน้อย

ลักษณะอาการของโรค

อาการเหี่ยวเริ่มจากปลายผลเข้ามาต่อมาเนื้อเยื่อจะแห้งแข็งเป็นสีน้ำตาบ เนื่อเยื่อจะยุบเข้าไปและมักจะมีเชื้อราอื่น ๆ มาขึ้นบนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วทำให้เกิดอาการเน่าขึ้นภายหลัง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมและเกี่ยวกับการดูดซึมน้ำของรากแตงโมด้วย สาเหตุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะช่วยให้การดูดซึมที่รากดีขึ้นด้วย แตงโม คงต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน

การป้องกันกำจัด

การปลูกแตงโมควรใช้ปูนขาวใส่ลงในดินสัก 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ หรือจะใช้ฉีดพ่นด้วยธาตุแคลเซียม เช่น แคลเซียมคลอไรด์ 0.2 % และควรให้น้ำสม่ำเสมอหรือต้องปลูกในที่ ๆ มีน้ำในระดับที่แตงโมจะดูดซึมได้สม่ำเสมอตลอดเวลา

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

1. โรคเหี่ยวเฉาเกิดจากแบคทีเรีย (Bacterial wilt)

แตงกวาเป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น และแตงโมมีความทนทานต่อโรคนี้สูงมากจนเกือบจะไม่พบโรคนี้เลย ถ้ามีโรคนี้ระบาดจะเสียหายเพราะแตงจะเหี่ยวภายในเวลาอันรวดเร็ว

ลักษณะอาการของโรค

อาการเกิดที่ใบโดยแสดงอาการเหี่ยวเป็นบางใบก่อน อาการเหี่ยวลามไปที่ขั้วใบและเถาแตง ทำให้เถาแตงเหี่ยวตายทั้งต้นในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเหี่ยวมาก ๆ ผลจะเหี่ยวแห้งแล้วต้นพืชจะตาย

การตรวจโรคนี้ใช้วิธีตัดลำต้นที่เป็นโรคตามขวางเพื่อดูเชื้อบักเตรีซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวขุ่นข้นสีเหมือนสีน้ำนม ออกมาจากรอยตัด บางครั้งไม่พบของเหลวดังกล่าวควรนำไปแช่ในน้ำที่สะอาดถ้าพบของเหลวดังกล่าวไหลออกมาทำให้น้ำขุ่นกว่าเดิมก็แสดงว่าพืชนั้นมีแบคทีเรียในเนื้อเยื่อพืชก็ต้องนำมาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อหาเชื้อบริสุทธิ์

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแพร่ระบาดโดยแมลงศัตรูพืช

การป้องกันกำจัด

ถอนต้นที่เป็นโรคไปทำลายเสีย กำจัดแมลงที่อาจนำเชื้อโรค

2. โรคใบจุด โรคใบจุดของผักตระกูลแตงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุอยู่ 2 ชนิด

ก. โรคใบจุดเกิดจากแบคทีเรีย (Angular leaf spot_ Bacterial spot jor Blight)

แตงแคนตาลูป แตงโม เป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนแตงกวา น้ำเต้า มีความคงทนต่อโรคนี้ต่างกัน

ลักษณะอาการของโรค

อาการเริ่มแรกจะเป็นเป็นจุดฉ่ำน้ำ ขนาดแผลไม่แน่นอน ในที่ ๆ มีอากาศชื้นอาจพบเชื้อแบคทีเรียดูดออกมาที่แผล

เมื่อแผลแห้งจุดของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและใบจะแห้งร่วงไปในที่สุด อาการของโรคเป็นเฉพาะที่ เช่น ที่กิ่ง ใบ ผล แต่แผลที่ผลมีขนาดเล็กกว่า ถ้าเป็นมาก ๆ ผลจะร่วง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas lachrymans (E.F. Smith and Bryan) Carsner

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในเมล็ด การป้องกันจึงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำร้อน ประมาณ 55 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที ก่อนปลูก หรือปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี ควรทำลายเศษซากพืชเสียก่อนปลูกพืชและใช้ยาฆ่าแมลงที่อาจนำเชื้อโรคมาสู่ต้นพืช

ข. โรคใบจุด (Bacterial leaf-spot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ แตงกวา ฟักทอง แตงโม น้ำเต้า

ลักษณะอาการของโรค

โรคใบจุดนี้มีอาการเหมือนกับชนิดแรกต่างกันพบโรคเฉพาะที่ใบไม่เป็นที่ผล

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas cucurbitae

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีการป้องกันกำจัดเหมือนชนิดแรก

โรคที่เกิดจากเชื้อรา

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

โรคราน้ำค้างจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงโมทุกพันธุ์รวมทั้งพืชในตระกูลนี้อีกหลายชนิดเช่น แตงกวา แตงร้าน มะระ ฯลฯ ส่วนพวกตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค

ใบแตงโมมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วใบ ทำให้ใบแห้งและเหี่ยวอาการจะปรากฎบนใบแก่โคนเถาก่อน โรคระบาดรวดเร็วมากจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้น ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวหม่นขึ้นบนแผลคล้ายผงแป้ง โรคมักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อแตงกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงโมจะสุก

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ซึ่งเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดไปในอากาศ

การป้องกันกำจัด

1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ไอเอส อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

2. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ชนิดใดชนิดหนึ่งฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง

โรคราแป้ง

โรคราแป้งจัดว่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากอีกโรคหนึ่งของแตงโมทุกพันธุ์และพืชในตระกูลนี้เกือบทุกชนิดเป็นโรคนี้ได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ใบมีราสีขาวจับคล้ายผงแป้งโดยเฉพาะด้านบนใบและตามผล เมื่อเชื้อราเริ่มจับใบใหม่ ๆ มีลักษณะเป็นวงกลมสีขาวซึ่งจะขยายออกไปจนคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลอาการใบแห้งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งหมดทั้งเถาได้ เถาแตงโมจะทรุดโทรมเร็ว

สาเหตุของโรค

โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. ซึ่งสร้างสปอร์สีขาวคล้ายผงแป้งจับเคลือบอยู่บนใบและหลุดปลิวแพร่ระบาดไปในอากาศได้ง่าย

การป้องกันกำจัด

1. ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรานี้โดยใช้ยากำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้ในอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ

2. ใช้ยาคาราเทนหรือมิลเด็กซ์

หมายเหตุ อัตราส่วนตามข้างสลากการฉีดพ่นยาดังกล่าวต้องฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดหรืออากาศร้อนจัด และใช้ความเข้มข้นต่ำไว้ก่อนจะไม่ทำให้เกิดอาการใบไหม้ ยาชนิดอื่นไม่ให้ผลดีเท่ายาที่กล่าวมาแล้ว

3. โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)

แตงโมทุกพันธุ์เป็นโรคนี้และจัดว่าเป็นโรคที่ระบาดทั่วไป โรคนี้ไม่ทำให้เนื้อใบเสียแต่ทำให้แตงโม มีรสหวานน้อยลงและมีสีอ่อนกว่าปกติ ยกเว้นแตงแคนตาลูป ซึ่งมีแผลใหญ่และผลเน่าอย่างรวดเร็วและเสียหายมากกว่าแตงพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

โรคนี้ทำให้เกิดจุดหรือแผลนูนเล็ก ๆ สีน้ำตาบประปรายทั่วไป แผลดังกล่าวนี้เกิดบนผลแตงโม ทำให้ผลแตงโมมีผิวขรุขระ พันธุ์ที่ไม่มีความต้านทาน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะยุบต่ำลงไปจากระดับเดิมเล็กน้อย ตรงกลางแผลมีเชื้อราเป็นหยดเยิ้มสีชมพูอ่อน เรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้นตามขนาดของแผลที่ขยายใหญ่ขึ้น เช่น แผลบนแตงแคนตาลูป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lagenarium

การป้องกันกำจัด

ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไอเอส อัตราตามข้างสลากทุก ๆ 5-7 วัน เมื่อเริ่มพบโรคระบาดและเก็บผลที่เป็นโรคทิ้ง เพื่อทำให้มีเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราเกือบทุกชนิดให้ผลในการป้องกันกำจัดใกล้เคียงกัน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และกากพืชจำนวนมากมีผลทำให้โรคลดน้อยลงได้มาก

4. โรคเหี่ยว (Fusarium wilts)

แตงโม แตงกวา แตงร้าน แคนตาลูป เป็นโรคนี้ทั่วไปทุกแห่ง พืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกันนี้มีความต้านทานและคงทนต่อโรคสูง จึงไม่ใครพบโรคนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่จำนวนต้นที่เหี่ยวตาย แต่จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งซึ่งเป็นมากในระยะที่แตงกำลังตกผล ซึ่งอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวตายไปก่อนที่จะเก็บผล

ลักษณะอาการของโรค

ใบแก่ที่อยู่ที่โคนเถาแตงจะเริ่มเหลืองและเหี่ยวตายก่อนแล้วลามไปจนถึงปลายเถาบางต้นมีลำต้นแตกช้ำ แตงมักจะเริ่มเหี่ยวจากแขนงใดแขนงหนึ่งก่อน แล้วจะแห้งตายหมดทั้งเถาในเวลาต่อมา

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. ซึ่งเป็นเชื้อราที่ชอบอาศัยอยู่ในดินที่เป็นทรายมากและเป็นดินกรด ดินที่ปลูกแตงติดต่อกันหลายปีมักจะมีโรคนี้ระบาดมาก

การป้องกันกำจัด

1. ควรปรับดินด้วยปูนขาวประมาณ 100-150 กก. ต่อไร่ และเมื่อจะปลูกซ้ำ ที่ควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหลังจากการใส่ปูนขาวจะช่วยทำให้โรคนี้ลดน้อยลง ถ้าปุ๋ยอินทรีย์จำพวกปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์หายากก็ควรพิจารณาปลูกพืชตระกูลถั่วแซมหรือสลับแล้วไถกลบต้นถั่วให้เป็นปุ๋ยพืชสดหรือกากพืชลงไปในดิน และไม่ควรปลูกแตงซ้ำที่เกินกว่า 3 ปี

2. ใช้ ไอเอส อัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้นให้ชุ่ม

หมายเหตุ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากจะทำให้เป็นโรคนี้มากขึ้น ควรใส่แต่น้อยแต่ใส่หลาย ๆ ครั้ง

5. โรคใบจุด

แตงมีโรคใบจุดเกิดจากเชื้อราต่างกันหลายชนิด มีอาการคล้ายคลึงกัน การระบาดของโรคไม่รุนแรงเหมือนโรคอื่น ๆ โรคใบจุดของแตงมีดังต่อไปนี้

5.1 โรคใบจุดของแตงเกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย (Alternaria)

ลักษณะอาการของโรค

จุดแผลจะฉ่ำน้ำ มีสีเหลือง และสีของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือเทากลาง ๆแผลมีสีดำ เมื่อแผลมีขนาดใหญ่ แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและพบเชื้อราขึ้นเรียงเป็นวงแหวนกลาง ๆ แผลอาจฉีกขาด ผลของต้นที่เป็นโรคมักจะสุกก่อนกำหนด และอาจพบแผลที่ผลและที่ลำต้น

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Alternaria cucumerina (Ellis and Everhart Elliott)

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อราอาศัยอยู่ในเศษซากพืช การป้องกันกำจัดจึงควรทำดังนี้

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค

2. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค

3. คลุกยาคลุกเมล็ด เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ชนิดสีแดงเสียก่อนปลูก

4. ปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี

5. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส

5.2 โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราเซอคอสปอรา

ลักษณะอาการของโรค

จุดของแผลมีขนาดเล็กเป็นรูปกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ จุด มีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนขอบของแผลมีสีม่วง หรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากเกิดด้านใบ

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Cercospora citrullina Cook

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย

6. โรคใบแห้ง (Corynespora blight)

แตงกวาเป็นโรคได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะของแผลที่ใบจะกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ แผลมีสีเขียวหรือเหลือง เมื่อมีแผลมากและแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย แผลบนกิ่งก้าน มีลักษณะยาวตามส่วนของพืช ผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายมักจะเป็นผลที่แก่และผลที่มีสีเหลือง ใบหรือผลอ่อนที่มีสีเขียวเชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลาย

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Corynespora melonia (Cooke) Lindan

การป้องกันกำจัด

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคและเศษซากพืชหลังเก็บเกี่ยว

2. ใช้ยาเบนเลท ไดเทนเอ็ม 45 หรือ ไดโฟลาแทน ชนิดใดชนิดหนึ่งในการป้องกันกำจัดแต่จากการทดลองพบว่ายาเบนเลทใช้ได้ผลดี

7. โรคดอกเน่า (Choanephora wet-rot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ น้ำเต้า ฟักทอง และพืชอื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

บริเวณที่เป็นโรคจะเป็นจุดสีดำขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ฉ่ำน้ำและเน่าเละมักเป็นโรคบริเวณยอดอ่อน ๆ และยอดที่กำลังมีดอกโดยยอดจะมีสีซีดกว่ายอดปกติ ต่อมายอดและผลอ่อนจะแห้ง ส่วนมากจะพบโรคนี้ในเวลาที่มีฝนตากชุกและมีน้ำค้างหรือหมอกลงจัด

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum

การป้องกันกำจัด

ใช้ยาซาพรอล หรือไดโฟลาแทน อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

8. โรคผลเน่า

โรคผลเน่าที่พบมากเกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด และเป็นมากกับแตงโมและแตงกวา

8.1 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium Fruit rot)

ใช้ยาริดโดมิล เอ็มแซด 72 หรือไดโฟลาแทนหรือซาพรอล อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

ลักษณะอาการของโรค

จะพบโรคนี้ทั้งที่ผลและที่ราก อาการที่ผลจะเน่าและมักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราปกคลุมอยู่ที่ผิวของผล ถ้าเกิดที่รากจะทำให้รากเน่า

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Pythium spp.

8.2 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อดิพโพเดีย (Diplodia fruit rot)

แตงโมเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด นอกจากนี้มีแตงกวา และแคนตาลูป

ลักษณะอาการของโรค

เมื่อกดดูบริเวณขั้วของแตงโมที่เป็นโรคจะบุ๋ม เชื้อราจะเข้าบริเวณขั้วก่อนเนื้อเยื่อที่ติดกับขั้วจะเน่าและฉ่ำน้ำ อาการเน่าเกิดขึ้นเร็วมาก เมื่อเป็นมาก ๆ ผลแตงจะมีสีดำ ถ้าอากาศชื้น ๆ จะพบเชื้อราสีเทา คลุมอยู่ที่ผล ถ้าพบเป็นโรคในผลที่ยังอ่อนเชื้อราจะเข้ามาบริเวณปลายผล มีอาการเหมือนบริเวณที่ขั้วของผลแตงโมที่ถูกเชื้อชนิดนี้เข้าทำลาย โดยมีสีอ่อนกว่าบริเวณที่ไม่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เมื่อแผลมีขนาดใหญ่สีของแผลจะเข้ม พบเชื้อราบริเวณผิวแตงเห็นได้ชัดเจน ต่อมาผิวแตงจะแห้ง เชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการผลเน่าได้เช่นเดียวกับเชื้อราชนิดแรกที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา (Diplodia gossypina coke)

การป้องกันกำจัด

1. ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา

9. โรครากปม

การปลูกแตงโมในที่บางแห่งมีปัญหาโรครากปมระบาดมาก โรคนี้ไม่ทำให้เถาแตงโมตายแต่ก็ทำให้แตงแคระแกรนไม่ใคร่เจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตตกต่ำ

ลักษณะอาการของโรค

ยอดแตงแสดงอาการชูตั้งชันและไม่เจริญยืดยาวออกไป ในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน เถาแตงจะแสดงอาการเหี่ยวและฟื้นเป็นปกติในเวลากลางคืนอีก ถ้าถอนต้นแตงตรวจดูจะพบรากบวมเป็นปมขนาดต่าง ๆ กัน ไม่มีรากฝอยซึ่งเป็นสาเหตุให้การดูดอาหารและน้ำที่รากไม่เป็นปกติเกิดการอุดตันขึ้นเพราะเชื้อโรคเข้าไปอาศัยอยู่และไปกระตุ้นให้เซลส์ของรากโตและมีระบบเนื้อเยื่อรากผิดปกติไป

สาเหตุของโรค

เกิดจากไส้เดือนฝอยชนิดหนึ่ง Meloidogyne spp. ซึ่งตัวเมียจะไชเข้าไปอาศัยอยู่ในราก ทำให้รากบวมโตเป็นปมและแย่งอาหารจากราก

การป้องกันกำจัด

1. ใช้ยาฟูราดาน อัตรา 3 กรัม รองก้นหลุมเมื่อปลูก

2. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกและกากพืชเพื่อปรับปรุงดินจะช่วยลดปริมาณการเป็นโรคลง โดยเฉพาะการปลูกในดินร่วนปนทราย

3. ถอนต้นพืชที่เป็นโรคทิ้งเพื่อกำจัดไข่ตัวเมียที่จะแพร่ระบาดในแปลง

หมายเหตุ ในดินเหนียวและดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ๆ ไม่ค่อยเป็นโรคนี้

10. โรคยอดหงิกใบด่าง

โรคยอดหงิกใบด่างของแตงโมและพืชอื่น ๆ เกิดจากเชื้อวิสาซึ่งมีศัตรูจำพวกปากดูดเป็นตัวนำเชื้อโรคให้แพร่ระบาดติดต่อกัน จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ทำความเสียหายมากเพราะจะทำให้ต้นที่เป็นโรคไม่ผลิดอกออกผล หรือมีผลเล็กผิดปกติ

ลักษณะอาการของโรค

พืชจะแสดงอาการใบมีสีเขียวและเหลืองด่างลายประปรายทั่วใบและเนื้อใบหยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งชันและชงักการเจริญเติบโต ยอดหก ไม่ผลิดอกออกผลต่อไป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อวิสาที่มีศัตรูจำพวกปากดูดเช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคจากต้นที่เป็นโรคติดต่อไปยังต้นดีได้ง่าย เชื้อวิสาของแตงโมมีหลายชนิดซึ่งทำให้เกิดอาการใกล้เคียงกัน

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากมีศัตรูพืชเป็นตัวนำโรคจึงต้องป้องกันมิให้มีศัตรูดังกล่าวระบาดโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น แลนเนท และเซวิน กำจัดพวกเพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน และถอนทำลายต้นที่แสดงอาการเป็นโรคออกไปจากไร่ จะช่วยลดโรคนี้หรือป้องกันโรคนี้ได้

หมายเหตุ ศัตรูพวกนี้มีขนาดเล็กมาก แต่พอจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพลี้ยไฟตัวเรียวยาวสีเหลืองอมส้ม เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวแก่มีสีดำและบินได้

Main Content Reference:
กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักและไม้ประดับ กองโรคพืชและจุลชีวเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
thaikasetsart.com
อ่าน:3272
ป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู กัญชา และ กัญชง
ป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู กัญชา และ กัญชง
การใช้สารอินทรีย์ปลอดภัย ในการป้องกันกำจัดเพลี้ย แมลงหวี่ขาวในกัญชา และกัญชงนั้น การป้องกัน โดยการฉีดพ่นไว้เป็นระยะ จะได้ผลดีกว่าการกำจัด เนื่องจากเมื่อเวลาที่มีการระบาดมากแล้ว บริเวณข้างเคียงก็จะมีการระบาดด้วย เพื่อเราฉีดพ่นสารอินทรีย์ แม้ว่าจะป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาวในแปลงเราแล้ว สามสี่วันถัดมา พวกที่ระบาดอยู่รอบนอก ในแปลงข้างเคียง หรือในตำบลใกล้ๆกัน ก็อาจจะระบาด และแพร่กระจายมาที่สวน หรือไร่ของเราอีก

ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช ผสมกับ FK-1 เพื่อบำรุงให้พืชฟื้นฟูจากการเข้าทำลายได้ดีขึ้น และสร้่างภูมิต้านทานให้กับ กัญชา กัญชง ทุก 3-5 วันในกรณีที่ระบาดแล้ว หรือทุก 15-30 วัน ในกรณีเพื่อป้องกันการระบาด
อ่าน:3389
โรคไวรัสมะละกอ
โรคไวรัสมะละกอ
โรคไวรัสมะละกอ ไม่มียารักษาโดยตรง ป้องกันได้โดยการกำจัดเพลี้ย ซึ่งเป็นแมลงพาหะ

การป้องกันโรคไวรัสมะละกอที่ดี เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลง ทำความสะอาด กำจัดวัชพืชในแปลงและบริเวณรอบๆแปลงปลูก

หากพบต้นมะละกอ ที่เป็นโรคไวรัสมะละกอ รีบขุดถอน และเผาทำลายนอกแปลงทันที และหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สัมผัสต้นมะละกอที่เป็นโรค ก่อนนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรคไวรัสมะละกอ หากเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของสาเหตุโรค เช่น พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ ตำลึง และพืชตระกูลถั่วเป็นต้น ควรหาพืชอื่นๆมาปลูกหมุนเวียนแทน

เนื่องจากโรคไวรัสมะกอ ไม่มียารักษาโดยตรง เราป้องกันได้โดยการ ป้องกันกำจัดพาหะนำโรค อันได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนฝ้าย และเพลี้ยต่างๆ โดยการฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัด เพลี้ย แมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุกๆ 3-7 วัน หมั่นสังเกตุ เมื่อเห็นว่าจำนวนเพลี้ยลดลงแล้ว เว้นระยะการฉีดพ่น เป็นระยะป้องกัน ทุก 15-30 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า บริเวณแปลงรอบข้าง หรือในหมู่บ้านตำบล มีการระบาดของเพลี้ยหรือไม่

ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ มาคา เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูของพืช จากโรคและแมลง ทำให้เจริญเติบโตดี และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อ่าน:3547
ป้องกันเพลี้ย กำจัดเพลี้ย ฆ่าเพลี้ย ด้วย ยาป้องกันกำจัดเพลี้ยอินทรีย์ มาคา
ป้องกันเพลี้ย กำจัดเพลี้ย ฆ่าเพลี้ย ด้วย ยาป้องกันกำจัดเพลี้ยอินทรีย์ มาคา
มาคา ป้องกันและกำจัด เพลี้ยต่างๆ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสัตว์เลี้ย

ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และแมลงจำพวกปากดูดหลายๆชนิด
อ่าน:3085
334 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 33 หน้า, หน้าที่ 34 มี 4 รายการ
|-Page 31 of 34-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคข้าวโพด โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)
Update: 2564/02/09 22:35:16 - Views: 3141
เตือน!! ระวังหนอนระบาด หนอนมะม่วง หนอนเจาะผล ทำลาย ต้นมะม่วง ของคุณ ...สร้างเสียหายได้มาก
Update: 2566/11/02 10:47:31 - Views: 359
ดอกทานตะวัน ความนิยมปลูกและทานดอกทานตะวันทั่วโลก
Update: 2565/11/14 12:59:24 - Views: 5001
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนกาแฟสีแดง ใน ผักหวาน และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/14 14:38:59 - Views: 3050
โรคลำต้นเน่า (Stem Rot Disease) โรคข้าวลำต้นเน่า
Update: 2564/08/20 00:08:40 - Views: 3189
เตือน!! เกษตรกร ต้นงาขาว งาดำ ระวัง โรคใบไหม้ ใบจุด แอนแทรคโนส สร้างเสียหายได้มาก ป้องกันได้อย่างไร?
Update: 2566/11/07 09:19:36 - Views: 257
การจัดการและป้องกันโรคใบไหม้ราสีม่วงในหอมใหญ่: วิธีการป้องกันและการดูแลเพื่อรักษาสุขภาพของพืช
Update: 2566/11/17 09:37:00 - Views: 314
โรคเชื้อราในต้นมะพร้าว เร่งป้องกันกำจัดก่อนจะเป็นแบบนี้
Update: 2567/05/20 07:50:31 - Views: 2
โรคใบไหม้ มันสำปะหลังใบไหม้
Update: 2563/12/12 12:57:37 - Views: 3039
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เทคโนโลยีที่พัฒนาดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สำหรับต้นกระเจี๊ยบเขียว
Update: 2567/02/13 09:46:57 - Views: 145
โรคคะน้า คะน้าใบไหม้ ราน้ำค้าง แผลวงกลมสีน้ำตาล โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/13 01:01:50 - Views: 3638
โรคใบไหม้มันสำปะหลัง มันสำปะหลังใบไหม้ (Cassava Bacterial Blight : CBB)
Update: 2564/08/09 06:40:25 - Views: 3504
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
Update: 2564/08/20 00:00:49 - Views: 3406
การป้องกัน กำจัดเพลี้ย กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วย ชีวภัณฑ์ บิวเวอเรีย และ เมธาไรเซียม ได้ผลดี และปลอดภัย
Update: 2566/11/10 06:26:57 - Views: 7881
โรคแก้วมังกรลำต้นจุด และโรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/07/09 08:57:36 - Views: 3027
มะพร้าวยอดเน่า มะพร้าวผลร่วง มะพร้าวใบไหม้ มะพร้าวยอดแห้ง โรครามะพร้าว ไอเอส จาก FK
Update: 2565/06/17 01:01:15 - Views: 3271
ยากำจัดโรคใบจุด ใน แตงโม โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/07 14:33:55 - Views: 6976
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราแป้ง ในกัญชา กัญชง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/21 09:48:20 - Views: 3430
เงาะ ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/12 11:49:44 - Views: 104
เคล็ดลับในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน : ปุ๋ยสำหรับฉีดพ่นทุเรียน
Update: 2566/11/24 15:04:07 - Views: 355
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022