[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - กำจัดหนอน
300 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 30 หน้า, หน้าที่ 31 มี 0 รายการ

🐛หนอน!! ตาย ต่อกันถึงรัง ยาฆ่าหนอน ไอกี้-บีที ตายช้ากว่ายาเคมี แต่ตายยกรัง
🐛หนอน!! ตาย ต่อกันถึงรัง ยาฆ่าหนอน ไอกี้-บีที ตายช้ากว่ายาเคมี แต่ตายยกรัง
หนอนงง ปรับตัวไม่ทัน เพราะเจอชีวภัณฑ์ แบคทีเรียสองสายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai ออกฤทธิ์ทำลายหนอนพร้อมกัน ทำให้ตายใน 24-48 ชั่วโมง ตายช้ากว่ายาเคมี แต่ตายยกรัง เนื่องจากหนอนที่รับ บีที เข้าไป กลับไปตายรัง และพวกเดียวกันกินกินซาก จึงตายต่อกัน เนื่องจาก บีที เป็น ชีวภัณฑ์ ที่ขยายตัวตกผลึกในท้องหนอน และออกฤทธิ์เฉพาะกับหนอนเท่านั้น

ปลอดภัยแน่นอน เพราะ บีที ไม่ออกฤทธิ์ กับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คนและสัตว์เลี้ยง จึงปลอดภัย 100%

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada ไอกี้-บีที http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee ไอกี้-บีที http://www.farmkaset..link..


ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🐛 ไอกี้ อัตตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🐛 ข้อมูลจำเพาะ ไอกี้-บีที

ใช้แก้ปัญหา : โรคหนอนกออ้อย หนอนกอในนาข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนม้วนใบ หนอนทรายในสวนยางพารา หนอนชักใยปาล์มน้ำมัน หนอนปลอกใหญ่ หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

ประกอบด้วยจุลินทรีย์สายพันธ์ บีที (BT) ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ Bacillus thuringiensis var. aizawai และ Bacillus thuringi
ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ

ไอกี้-บีที บีที
ชื่อสามัญ : บาซิลลัส ทูริงเยนซิส [ Bacillus truringiensis ] กลุ่มสารเคมี : Bacterium
สารสำคัญ : Bacillus thuringiensis var. kurstaki

นำหนักสุทธิ : 500 กรัม

ฆ่าหนอน กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง เอนไซม์สกัด บีที เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยสารพิษในการทำลายแมลงศัตรูพืช ด้วยการสร้างสารพิษผลึกโปรตีน delta-endotoxins ที่มีอยู่ในเชื้อ Bacillus thuringiensis เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป จะทำให้เกิดพิษในกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

วิธีการใช้
อัตราส่วนการใช้ 40-60 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ทุกๆ 4-7 วัน

วิธีเก็บรักษา
ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดแน่นและมีฉลากปิดมิดชิด ห่างจากแสงแดด เด็ก สัตว์เลี้ยง และอาหาร
หนอนผีเสื้อหัวกะโหลกในงา หรือ หนอนแก้ว
หนอนผีเสื้อหัวกะโหลกในงา หรือ หนอนแก้ว
หนอนผีเสื้อหัวกะโหลกในงา หรือ หนอนแก้ว
หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก (Acherontia styx ; Death’s head hawk month) หรือเกษตรกรมักจะเรียกว่า “หนอนแก้ว” เป็นแมลงศัตรูที่มีพืชอาหารกว้าง พบในถั่วงา มะเขือ ยาสูบ มันเทศ ม่านบาหลี และแตง เป็นต้น

วงจรชีวิตของหนอนผีเสื้อหัวกะโหลกใช้เวลา 49-56 วัน ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 125-156 ฟอง ระยะไข่ 6-7 วัน ระยะหนอน 19-21 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดลำตัวใหญ่ยาว 10 เซนติเมตร ดักแด้ยาว 5.5 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร ระยะดักแด้ 17-23 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย เพศเมียมีชีวิต 12-14 วัน เพศผู้มีชีวิต 9-10 วัน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีสีสันน่ากลัว โดยเฉพาะที่สันหลังอกมีรูปหัวกะโหลกเป็นภาพลวงตาเพื่อข่มขู่ศัตรูในการป้องกันตัวเอง ขนาดของผีเสื้อ เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ โดยเพศเมีย มีลำตัวยาว 5.3 เซนติเมตร ปีกคู่หน้ายาว 5.6 เซนติเมตร งวงยาว 1.7 เซนติเมตร กว้าง 0.2 เซนติเมตร และระยะระหว่างปลายปีกสองข้าง 9-12 เซนติเมตร

ลักษณะการทำลาย

หนอนผีเสื้อหัวกะโหลกเป็นแมลงศัตรูที่สําคัญของงา ทำความเสียหายกับงาอย่างมากและรวดเร็ว เนื่องจากหนอนมีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบงาจนเหลือแต่ก้านและลำต้น เมื่อกินใบจนหมดต้นก็จะย้ายไปกินต้นอื่น หนอนออกหากินในเวลากลางคืน จะเข้าทำลายตั้งแต่งาเริ่มแตกใบจริงจนกระทั่งติดดอกออกฝัก หนอนชนิดนี้มักชอบหลบอยู่ใต้ใบ ตัวหนอนมีลักษณะสีเขียวคล้ายต้นงา ทําให้สังเกตได้ยาก

อ้างอิง
ที่มาของข้อมูล : ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
ลิงค์อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ป้องกัน กำจัด หนอนปลอกข้าว (rice caseworm)
ป้องกัน กำจัด หนอนปลอกข้าว (rice caseworm)
ป้องกัน กำจัด หนอนปลอกข้าว (rice caseworm)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nymphula depunctalis Guenee วงศ์ :Pyralidae อันดับ :Lepidoptera ชื่อสามัญอื่น :หนอนขยอก

หนอนปลอกข้าว Nymphula depunctalis Guenee ตัว เต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ 2-3 แถบตามขอบปีก ลำตัวค่อนข้างบอบบาง มีขนาด 6-8 มิลลิเมตร ความยาวของปีเมื่อกางออกประมาณ 15 มิลลิเมตร เพศผู้ตายหลังจากผสมพันธุ์ เพศเมียตอนกลางวันชอบหลบอยู่ในนาข้าวและวางไข่ตอนกลางคืน เพศเมียวางไข่เป็นแถว 1-2 แถว ติดกันบนผิวใต้ใบข้าวหรือก้านใบเหนือระดับน้ำ ไข่มีลักษณะกลม ผิวเรียบสีเหลืองอ่อน ระยะไข่นานประมาณ 4 วัน ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่มีสีครีมหัวสีเหลืองอ่อน ตัวหนอนที่โตเต็มที่มีสีเขียวอ่อน ตัวหนอนมีชีวิตกึ่งแมลงในน้ำ (semi-aquatic) มีเหงือกจำนวน 6 แถว สำหรับใช้รับอากาศจากน้ำ กินอาหารโดยทำปลอกหุ้มและอาศัยอยู่ในปลอกกัดกินส่วนผิวของใบอ่อนเกิดเป็นรอย ขาวเป็นแถบ เมื่อหนอนโตเต็มที่จะคลานขึ้นไปบนต้นข้าวแล้วยึดปลอกติดกับต้นข้าวอยู่เหนือ ผิวน้ำ ตัวหนอนจะถักไหมทำรังรอบตัวและเข้าดักแด้อยู่ภายในปลอกและสลัดปลอกทิ้งเมื่อ มีการลอกคราบ ตัวหนอนมี 5 ระยะ ระยะดักแด้ประมาณ 2 สัปดาห์

ลักษณะการทำลายและการระบาด

ตัวหนอนเริ่มกัดกินผิวใบอ่อนของข้าวและจะทำปลอกหุ้มลำตัวไว้ภายใน 2 วันต่อมา โดยตัวหนอนจะเคลื่อนย้ายไปยังปลายใบข้าวและกัดใบตรงด้านหนึ่งของเส้นกลางใบ และใช้สารที่สกัดจากร่างกายยึดริมขอบใบทั้งสองข้างเข้าหากันเป็นปลอกหุ้ม เห็นเป็นรอยเยื่อสีขาวบางๆไว้ ตัวหนอนสามารถเคลื่อนย้ายไปทำลายข้าวต้นอื่น โดยอาศัยปลอกลอยน้ำไปยังข้าวต้นใหม่ และคลานขึ้นไปกัดกินใบข้าวใหม่ต่อไปเรื่อยๆ มักพบระบาดเฉพาะแปลงข้าวที่มีน้ำขัง ในนาชลประทานและนาที่ลุ่มอาศัยน้ำฝน ความเสียหายเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ต้นข้าวสามารถฟื้นตัวจากการทำลายใบในระยะแรกๆได้ การมีน้ำขังในแปลงตลอดช่วงข้าวเจริญเติบโตทางใบมีผลทำให้หนอนปลอกระบาดมาก ขึ้น ถ้าระบาดรุนแรงก็สามารถทำให้ข้าวชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น และแห้งตายเป็นหย่อมๆ แต่จะไม่เสียหายในระยะข้าวแตกกอเต็มที่แล้ว

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
แตงกวา การปลูกแตงกวา การป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลง และการรักษาโรคแตงกวา
แตงกวา การปลูกแตงกวา การป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลง และการรักษาโรคแตงกวา
แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาค ของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูก แตงกวากับพืชอื่นๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืชหนึ่งที่สามารถทำรายได้ดีทีเดียว สำหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถ นำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนำไปแกงจืด ผัด จิ้มน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่าแตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

ถิ่นกำเนิดแตงกวา

แตงกวา การปลูกแตงกวาแตงกวามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3_000 ปี และมีการปลูกในประเทศ แถบทะเล เมดิเตอร์เรเนียน เมื่อก่อน 2_000 ปี โดยนำผ่านเอเซียกลางและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ในศตวรรษที่ 6 ได้นำไปปลูก ในประเทศจีน โดยสันนิษฐานว่าได้นำเข้าประเทศจีน 2 ทาง คือ เส้นทางสายไหม โดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออก ไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ ของประเทศจีน ในศตวรรษที่ 9-14 ได้นำไปปลูกในทวีปยุโรป และได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ ให้เหมาะสม ต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นำไปปลูกในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการ พัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพ การบริโภคสดและแปรรูป
ลักษณะทางพฤษศาสตร์

แตงกวามีจำนวนโครโมโซม 2n = 14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียว เถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง

ระบบราก เป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร

ลำต้น เป็นเถาเลื้อย เป็นเหลี่ยม มีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออก มาตามข้อ โดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้น ใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุม ใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจน ส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสรดอกจะหุบ ตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน

การเกิดดอกตัวเมีย นั้นขึ้นอยู่กับช่วง แสงและอุณหภูมิกล่าว คือ จะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ ในสภาพช่วงแสงสั้นและมีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ ซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย

ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผล และในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผล ได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม่มีไส้ เนื้อกรอบ และน้ำหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสดแปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดำ สีหนามสีขาว แดง น้ำตาล และดำ

แตงกวาสามารถจำแนก ได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้

1. พันธุ์สำหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผลมีน้ำมากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปดอง

แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น

1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้านซึ่งมีความยาวผลอย่างน้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 - ผ ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือขาว และเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้น จะมีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งผล

1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง

2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูปร่างได้ดี ไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ดังนี้

2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของญี่ปุ่นและจีนซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้น ๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

สภาพแวดล้อมในการ ปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสม ต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส

แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ใน ปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน

2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป

3. ทำการบ่มเมล็ด โดยนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ ผสมอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป

4. การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร

การดูแลรักษากล้า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระ ทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก

การปลูก วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น

สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพ แวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้น้ำ หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้

1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่

3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

แมลงศัตรูแตงกวา

1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola)
ลักษณะ เป็น แมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอก และผลอ่อน
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา

การป้องกันกำจัด ให้น้ำเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก โดยให้น้ำเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้

2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii)
ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดำและมีปีก

การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ โดยมีมดเป็นตัวนำหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่

3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.)
ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดไร ได้แก่ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์ เป็นต้น

4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดำ (Black cucurbit beetle: A. frontalis)

ลักษณะ เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดำเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนา หรือตามกอหญ้า

การทำลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น ตัวหนอนกัดกินราก

การป้องกันกำจัด ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว
ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน คาร์โบน๊อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จี หรือคูราแทร์ 3 จี ใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์

5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar: Helicoverpa armigera)

ลักษณะ หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน

การทำลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า

การ ป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น อโซดริน แลนเนท ทามารอน โตกุไทออน บุก หรือ อะโกรน่า เป็นต้น

โรคที่เป็นศัตรู สำคัญของแตงกวา ได้แก่

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora

ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผง สีดำ

การป้องกันกำจัด คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน หรือริโดมิลเอ็มแซดก่อนปลูกหรือจะนำเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายน้ำเจือจาง เป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้ เมื่อมีโรคระบาดในแปลงและในช่วงนั้นมีหมอกและน้ำค้างมาก ซึ่งควรฉีด Curzate M8_ Antrachor สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ

2. โรคใบด่าง (Mosaic)
เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus
ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบ ตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง

การป้องกันกำจัด ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทำได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทำความสะอาด แปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและ แมลงพาหะ

3. โรคผลเน่า (Fruit rot)
เชื้อสาเหตุ Pythium spp._ Rhizoctonia solani_ Botrytis cinerea
ลักษณะอาการ มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผลก่อน จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุม กรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ๊อกโทเนียจะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่ สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้น บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่า จะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกำจัด ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล

4. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เชื้อสาเหตุ Oidium sp.
ลักษณะอาการ มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายทั่วไป เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น เบนเลท เดอโรซาล Diametan หรือ Sumilex ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด

การเก็บเกี่ยว แตงกวา

อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูก ประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสำหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมีหนามอยู่บ้าง ถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนาม การเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้น เพราะจะทำให้ผลผลิตทั้งหมดลดลง โดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน

อ้างอิง : vegetweb.com

*สินค้าจากฟาร์มเกษตร ที่แนะนำสำหรับแตงกวา
มาคา ใช้ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ
ไอเอส ใช้ป้องกันกำจัดโรค ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ และโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
ไอกี้-บีที ใช้ป้องกันและกำจัดหนอน
FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
โรคของแตงกวา โรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ยกตัวอย่างเช่น แตงกวาใบด่าง แตงกวายางไหล ต้นแตก แตงกวาผลเน่า แตงกวาผลเหี่ยว ราแป้งในแตงกวา ราน้ำค้างแตงกวา อาการต่างๆเหล่านี้ ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา

ส่วนพวกแมลงศัตรูแตงกวา อย่าง เพลี้ยไฟในแตงกวา เพลี้ยอ่อน ใช้ มาคา สารอัลคาลอยด์ สกัดจากพืช กำจัดเพลี้ย

หากมีหนอนต่างๆ ใช้ ไอกี้ สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอน

หนอนมาใช้ ไอกี้_ เจ้าเพลี้ยตัวดีใช้ มาคา_ หากเจอโรคใบไหม้โรคเชื้อราใช้ ไอเอส_ ใจร้อนอยากให้พืชฟื้นตัวเร็วใช้ FK-1 เร่งฟื้นตัว เร่งเขียว เร่งโตนะคะ

ทั้งหมดนี้ ใช้ได้กับทุกพืชค่ะ

ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

ไอกี้ กำจัดหนอน 490 บาท บรรจุ 500กรัม_ ไอกี้ เป็นสารชีวินทรีย์ แบคทีเรียแกรมบวก ใช้กำจัดหนอนทุกชนิดโดยเฉพาะ

มาคา กำจัดเพลี้ย 470 บาท บรรจุ 1 ลิตร_ มาคา เป็นสารอินทรีย์สกัดจากพืช

ไอเอส กำจัดโรคใบไหม้ โรคเชื้อรา 450 บาท บรรจุ 1 ลิตร_ ไอเอส เป็นสารอินทรีย์ ทำงานแบบ อีออนคอนโทรลในการกำจัดโรคราต่างๆ

FK-1 ใช้เร่งฟื้นตัว เร่งโตแตกยอดแตกใบใหม่ ราคา 890 บาท บรรจุ 2 กิโลกรัม_ FK-1 เป็นธาตุหลัก N-P-K บวกธาตุรองธาตุเสริม สารจับใบ (ปุ๋ยเคมี ธาตุ N-P-K ไม่ได้อันตรายเหมือนสารเคมีหรือยาเคมี แต่ สำหรับคนที่กังวล ไม่ต้องซื้อตัวนี้ค่ะ ตัดออกไปเลย)

การสั่งซื้อ
ทักแชทได้เลยค่ะ..
หรือ ไลน์ไอดี PrimPB
หรือ โทร 090-592-8614
🐛กำจัดหนอน! ทำไมพืชยังเหี่ยวเฉา ใบเหลืองร่วง โตช้า แคระแกรน ทั้งที่บำรุงอย่างดี.. เป็นหนอนรึเปล่านะ?
🐛กำจัดหนอน! ทำไมพืชยังเหี่ยวเฉา ใบเหลืองร่วง โตช้า แคระแกรน ทั้งที่บำรุงอย่างดี.. เป็นหนอนรึเปล่านะ?
🎗ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอน ปลอดภัย กำจัดตระกูลหนอน ไม่เป็นอันตรายต่่อ คน เด็ก และสัตว์เลี้ยง

💦ฉีดพ่นทางใบ และลำต้น ผสม 40-50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ป้องกัน-กำจัด-ลดจำนวนประชากร หนอนชอนใบ หนอนเจาลำต้น หนอนเจาะผลทุเรียน หนอนเจาะผลไม้ต่างๆ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนม้วนใบ

💧ราดลงโคนต้น ราดลงดิน ผสม 40-50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ป้องกัน-กำจัด-ลดจำนวน หนอนด้วง หนอนกัดกินรากพืช

💁‍♀️ราคา 490บาท บรรจุ 500กรัม ใช้ได้ 2.5-5 ไร่ โดยประมาณ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ > http://www.farmkaset..link..

🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ > http://www.farmkaset..link..

🐛ข้อมูลไอกี้-บีที

กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง ไอกี้-บีที เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร

โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยสารพิษในการทำลายแมลงศัตรูพืช

ด้วยการสร้างสารพิษผลึกโปรตีน delta-endotoxins ที่มีอยู่ในเชื้อ Bacillus thuringiensis เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป จะทำให้เกิดพิษในกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง

โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค
อ่าน:3079
กำจัดโรคใบไหม้ โรคพืชจากเชื้อรา กำจัดเพลี้ยต่างๆ กำจัดหนอน ด้วยสารอินทรีย์ ไอเอส มาคา และสารชีวินทรีย์ ไอกี้-บีที
กำจัดโรคใบไหม้ โรคพืชจากเชื้อรา กำจัดเพลี้ยต่างๆ กำจัดหนอน ด้วยสารอินทรีย์ ไอเอส มาคา และสารชีวินทรีย์ ไอกี้-บีที
สารอินทรีย์ และสารชีวินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืช ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค ปลอดภัยต่อคน เด็ก และสัตว์เลี้ยงต่างๆ

🍂โรคใบไหม้ กำจัดโรคพืชจากเชื้อราต่างๆ ด้วย ไอเอส สารอินทรีย์

🦗กำจัดเพลี้ยต่างๆ ด้วย มาคา สารอินทรีย์

🐛กำจัดหนอนต่างๆ ด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์

☎โทร 090-592-8614
🆗ไลน์ไอดี FarmKaset

🎗ข้อมูลสินค้า

🍂ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค

คุณประโยชน์
- ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อรา สาเหตุโรคในพืชต่างๆ
- ลดการแพร่กระจายของเชื้อราที่เกิดกับพืช
- ป้องกันการลุกลามของแผลที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา
- มีความต้านทานโรคเพิ่มขึ้น เมื่อใช้เป็นประจำ

ใช้ควบคุมและยับยั้งโรค
- โรคใบไหม้ (Blast)
- โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot)
- โรคราสนิม (Rust)
- โรคใบขีดสีน้ำตาล (Narrow Brown Spot)

🦗มาคา

เป็นสารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ ที่ถูกคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใช้หลักการเทคโนโลยีชั้นสูง ในการรวมอัลคาลอยเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อีกทั้งสามารถยับยั้งการดื้อยาที่เกิดจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เนื่องจาก มาคา มีวิธีการออกฤทธิ์แบบไม่เจาะจง จึงทำให้แมลงไม่สามารถปรับตัวต้านทานได้ รวมทั้งสามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว โดยปราศจากสารพิษตกค้างในดินและน้ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilapavata lugens)
- เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก (Recilia dorsalis)
- เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Nephotettix spp.)
- เพลี้ยไฟ (Balliothrips biformis)

🐛ไอกี้-บีที

ฆ่าหนอน กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง ไอกี้-บีที เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยสารพิษในการทำลายแมลงศัตรูพืช ด้วยการสร้างสารพิษผลึกโปรตีน delta-endotoxins ที่มีอยู่ในเชื้อ Bacillus thuringiensis เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป จะทำให้เกิดพิษในกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค
อ่าน:3021
บำรุงทุเรียน ให้เจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอก ติดผลดก
บำรุงทุเรียน ให้เจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอก ติดผลดก
บำรุงทุเรียน ให้เจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอก ติดผลดก
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียน สภาพดิน ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี มีหน้าดินลึก

เพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพน้ำท่วมขัง และความเป็นกรดด่างของดิน 5.5-6.5 หากจำเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทราย จำเป็นต้องนำหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริมและต้องใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย และควรมีการจัดการเรื่องระบบน้ำเพื่อให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกติดผลของทุเรียนด้วย

แหล่งน้ำ ต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดทั้งปี

อุณหภูมิและความชื้น ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25-30
องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85 เปอร์เซ็นต์ หากปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้ง

พื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัดหรือเย็นจัด และมีลมแรง จะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วง ทำให้ต้นทุเรียน
ไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้าให้ผลผลิตช้า น้อย และไม่คุ้มต่อการลงทุน

การเตรียมพื้นที่ จำเป็นต้องมีการปรับพื้นที่ปลูก กำหนดผังปลูกและติดตั้งระบบน้ำ โดยปรับพื้นที่
ให้ราบไม่ให้มีแอ่งน้ำท่วมขัง และควรปรับเป็นเนินลูกฟูกเพื่อปลูกทุเรียนบนสันเนิน ระยะปลูก 8*8 เมตร หรือ 9*9 เมตร (16-25 ต้น/ไร่) หากมีการทำสวนขนาดใหญ่ ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน การวางแนวปลูกควรขวางความลาดเทของพื้นที่ หรือกำหนดแถวปลูกในแนวทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก และถ้ามีการจัดวางระบบน้ำจะต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนเพื่อให้มีการจัดการที่ง่ายและสะดวก

การวางผังปลูก

สามารถเลือกระบบการปลูกทุเรียนเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้แก่

ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสามเหลี่ยมด้าน
เท่าระยะปลูก 8-10 เมตร เหมาะกับพื้นที่ที่ค่อนข้างเรียบ

ระบบแถวกว้างต้นชิด (Hedge row system)
ในการปลูกระบบนี้ระยะระหว่างต้นเป็น 30-50% ของระยะระหว่างแถวและมีการวางแถวปลูกในแนวเหนือใต้ มีด้านกว้างระหว่างแถวขวางแนวขึ้นลงของพระอาทิตย์ แถวมีความกว้างพอที่จะให้เครื่องจักรกลผ่านเข้าออกได้สะดวก

การดูแลบำรุง

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

การป้องกันกำจัดโรคทุเรียน

โรคจากเชื้อราต่าง เช่น โรคใบติด (โรคใบไหม้) โรคไฟทอปธอราในทุเรียน โรคราสีชมพูในทุเรียน โรคราแป้งทุเรียน โรคราดำทุเรียน ตัดและเก็บส่วนที่เป็นโรครวมกัน เผาทำลาย และ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งการลุกลาม ไม่ให้ขยายวง

การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทุเรียน

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะผล เหล่านี้ควรฉีดป้องกันไว้ หากเป็นแล้วเสียหายไปแล้ว ผลผลิตก็เสียหาย ทำได้คือการยับยั้ง ไม่ให้ลุกลามเข้าไปทำลายผลใหม่ ที่ยังไม่โดยหนอนเจาะทำลาย ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ชีวภัณ์กำจัดหนอน ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

# Go..Reference..Site..
อ่าน:3291
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูรักษาและเก็บเกี่ยวมะม่วง

การดูแลรักษา

1. มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต

1.1 กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี

1.2 ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก

1.3 ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์

2. มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ

2.1 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น

2.2 มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2 รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่

3. การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก

ปลายฤดูฝนเมื่อได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย 2 เดือน และไถพรวนรอบชายนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 0-52-34 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งไม่ให้มะม่วงแตกใบอ่อนและยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป

การให้น้ำ

1. การใช้ระบบให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก(มินิสปริงเกอร์) การปฏิบัติงานทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและพืชได้น้ำสม่ำเสมอ

2. การให้น้ำแบบสายยางรดหรือแบบปล่อยตามร่องขนาดเล็ก มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแรก แต่ควบคุม ปริมาณน้ำที่ให้พืชได้ยาก ไม่สม่ำเสมอ ใช้น้ำ แรงงาน และเวลามากกว่าระบบหัวเหวี่ยงเล็ก



ปริมาณน้ำ

มะม่วงระยะบำรุงต้น มีความต้องการน้ำประมาณ 0.5 เท่าของอัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพ อากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน (การระเหย 1 มิลลิเมตรเทียบเท่ากับน้ำ 1 ลิตรต่อ ตารางเมตร)ต้นมะม่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 22.5 ลิตรต่อต้น ต่อวัน (ครั้ง)

มะม่วงหลังการติดผล ถือเป็นระยะวิกฤตที่มะม่วงต้องการใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 0.7-0.8 เท่าของ อัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพอากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน ต้นมะม่วงที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 5 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 87.5-100 ลิตรต่อต้นต่อวัน (ครั้ง)

ความถี่ของการให้น้ำ

ขึ้นกับเนื้อดินและสภาพอากาศ ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้ง เนื้อดินเป็นดิน เหนียวให้น้ำ 4-5วันต่อครั้ง อย่างไรก็ตามอาจใช้วิธีสังเกตจากความชื้นดิน และสภาพของใบมะม่วง ประกอบการวางแผนให้น้ำก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบน ปริมาณการให้น้ำมะม่วง ระยะบำรุงต้นพืชต้องการน้ำ 22.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน ถ้าต้องการให้น้ำ 4 วันต่อครั้งดังนั้นต้องให้น้ำ เท่ากับ 90 ลิตรต่อครั้ง

การงดให้น้ำ

ในช่วงก่อนมะม่วงออกดอก จะต้องงดให้น้ำจนกว่ามะม่วงเริ่มแทงช่อดอกแล้วจึงจะเริ่มให้น้ำอีก

การตัดแต่งกิ่ง

– การจัดทรงหรือสร้างทรงพุ่มมะม่วง

– เลือกลำต้นหลัก 1 ลำต้น ความสูง 75-100 เซนติเมตร

– ทำลายตายอด ทำให้ตาข้างผลิเกิดเป็นกิ่งแขนง คัดเลือกกิ่งไว้ในทิศทางที่ต้องการ 3-5 กิ่ง และเลือกกิ่งไว้ ไปอีก 2-3 ครั้ง ตามขนาดทรงพุ่มที่ต้องการ

– ขนาดพุ่มต้นควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำงานรวมถึงความปลอดภัยและเหมาะสมกับเครื่องมือที่มีอยู่





วิธีการตัดแต่งกิ่ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา

เป็นการบังคับ และเลือกกิ่งให้เจริญเติบโตไปในทิศทางที่ต้องการ โดยตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น กิ่งที่โรคและแมลงทำลาย กิ่งกระโดง กิ่งไขว้ กิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ผลิบริเวณ ปลายกิ่งที่แน่นมากเกินไปออก

– การตัดแต่งแบบปานกลาง

เมื่อพุ่มต้นใกล้จะชนกัน ตัดกิ่งรอบนอกทรงพุ่มทั้งหมดจากปลายยอดลึกเข้าหาศูนย์กลางต้นยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร มะม่วงจะผลิตา แตกกิ่ง – ใบใหม่มาทดแทน แล้วคัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา หลังการตัดแต่งแบบปานกลางอีก 1-2 ครั้ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบหนัก

เมื่อต้นอายุมาก ต้นถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นทรุดโทรม ควรสร้างโครงสร้างต้นมะม่วงใหม่(แต่งสาว) โดยตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่มให้มีความสูง 1.5-3.0 เมตร ปริมาตรทรงพุ่ม ตัดออกไปประมาณครึ่งหนึ่ง กิ่งที่ถูกตัดเป็นแผลขนาดใหญ่ควรทาแผลด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือสีน้ำมันจากนั้นกิ่งจะผลิตาให้กิ่ง แขนงใหม่ จากนั้นทำการคัดเลือกและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา 1-2 ครั้ง เมื่อกิ่งแขนงใหม่บริเวณกลางทรงพุ่ม มีโครงสร้างเจริญเติบโตแข็งแรงมาทดแทนกิ่งเดิม และคาดการณ์ จะสามารถให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ ให้ตัดแต่งกิ่งโครงสร้างเก่าที่อยู่รอบนอกของ โครงสร้างใหม่ออก มีความยาวใกล้เคียงกับการตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่ม คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา 1-2 ครั้ง ช่วงแรกผลผลิตจะลดลงบ้างประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ แต่จะสามารถให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปีที่ 3 หลังจากเริ่มตัดแต่ง กิ่งอย่างหนัก

หมายเหตุ : หลังจากตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรบำรุงต้นมะม่วงทันที ด้วยการใส่วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรดAAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน และให้น้ำตามปกติ เพื่อเร่งการผลิตาสร้างกิ่ง และใบใหม่ที่สมบูรณ์มาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว







รอบระยะพัฒนาการของผลมะม่วง

ระยะการพัฒนาจนครบรอบเป็นดังนี้

มิถุนายน(ตัดแต่งกิ่ง) กรกฎาคม(ตัดแต่งกิ่ง>แตกใบอ่อน ครั้งที่ 1)สิงหาคม(แตกใบอ่อน) กันยายน(แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2) ตุลาคม(พักตัว) พฤศจิกายน(พักตัว) ธันวาคม(แทงช่อดอก)

มกราคม—>ดอกบาน กุมภาพันธ์(ผสมเกสร ตัดผลอ่อน) มีนาคม(ขยายผล) เมษายน(เข้าไคล) พฤษภาคม(เข้าไคล>ผลแก่>เก็บเกี่ยว)

การบังคับให้มะม่วงออกดอก

การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก ด้วยสารพาโคลบิวทราโซล โดยราดสารนี้ลงในดินรอบๆ ต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้คือ

1) ต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อน กล่าวคือ หลังจากเก็บผลแล้วให้ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ยให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด

2) ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สารคือ ช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง

3) ก่อนราดสาร ควรตรวจดูดินที่มีความชื้นพอสมควร และเมื่อราดสารลงดินแล้วให้รดน้ำตามด้วย เพื่อให้รากดูดสารได้อย่างเต็มที่

4) หลังจากราดสารประมาณ 21-30 วัน ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วันเพื่อกระตุ้นช่อดอก ทำให้การออกดอกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้น ประมาณ 1½เดือนถึง 2 เดือนมะม่วงก็จะออกดอก

5) อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง ดังนี้

เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม

6) การรดด้วยสารพาโคลบิวทราโซลให้รดทั่วบริเวณทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ



การช่วยให้ช่อดอกมะม่วงติดผลดีขึ้น

เนื่องจากมีผู้สนใจปลูกมะม่วงกันแพร่หลาย และมักจะประสบปัญหาอย่างเดียวกันว่า มะม่วงออกช่อดอกแล้วไม่ค่อยติดผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีหมอกลงจัดในขณะที่ช่อดอกกำลังบานแล้ว ก็จะยิ่งทำให้มะม่วงไม่ติดผล ซึ่งก็มีความเชื่อกันอย่างนั้น ซึ่งสาเหตุหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้มะม่วงเมื่อออกดอกแล้วไม่ติดผล มีดังต่อไปนี้คือ

1. สาเหตุอันเกิดจากเพลี้ยจั๊กจั่นและโรคราดำ

สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการที่จะให้ช่อมะม่วงไม่ติดผล ซึ่งพบสาเหตุนี้ในเกือบทุกสวนมะม่วง หรือทุกต้นมะม่วงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดก็ว่าได้ การทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่น หรือที่ชาวสวนเรียกกันว่า แมงกะอ้า กับโรคราดำนั้น เกิดควบคู่กันไป กล่าวคือ เพลี้ยจั๊กจั่นทำลายช่อดอกมะม่วง โดยดูดน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงขาดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเจริญต่อไปเป็นผลมะม่วงได้ ดอกจะร่วงหล่นในที่สุด และในขณะเดียวกัน เพลี้ยจั๊กจั่นก็จะขับถ่ายออกมา เป็นของเหลวที่มีรสหวาน ที่เป็นอาหารอันโอชะของเชื้อราดำ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ ทำให้ราดำเจริญได้ดีตามช่อดอกมะม่วง เห็นช่อดอกมะม่วงเป็นสีดำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดมีหมอกลงจัด นั่นย่อมหมายความว่า มีละอองน้ำในอากาศอยู่มาก มีความชื้นสูง ซึ่งธรรมชาติของเชื้อราดำหรือราต่างๆ จะชอบเจริญได้ดีในที่ๆ มีความชุ่มชื้นสูง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หมอกมีส่วนช่วยให้โรคราดำเจริญ หรือระบาดได้อย่างรวดเร็ว

วิธีป้องกัน : ใช้ ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ “เมทา แม็ก” อัตรา 40-80 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกำจัดเป็นประจำ ทุก ๆ 5-7 วันในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อ-ดอกบาน(ประมาณ 4-5 ครั้ง)

2. สาเหตุอันเกิดจากสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแมลงและโรคทำลายช่อดอก

เมื่อต้นมะม่วงมีอายุไม่ถึงวัยที่จะออกดอกออกผล แต่ออกดอกก่อนกำหนด หรือการบำรุงต้นมะม่วงในช่วงระยะแรกตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกนั้นไม่ดีพอ ต้นมะม่วงเหล่านี้ เมื่อออกดอกแล้ว มีดอกไม่ติดผล เพราะต้นมะม่วงยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์พอ อายุหรือวัยที่ต้นมะม่วงควรจะออกดอกออกผล คือ ถ้าปลูกด้วยกิ่งตอน ควรมีอายุประมาณ 3 ปี ถ้าปลูกด้วยกิ่งทาบหรือกิ่งติดตา ควรมีอายุประมาณ 4-5 ปี จึงเริ่มออกดอกออกผล ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ควรมีอายุประมาณ 5-6 ปี ดังนี้เป็นต้น

วิธีป้องกันรักษา คือ หมั่นดูแลรักษา และใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ หากมะม่วงติดดอก ให้เด็ดดอกทิ้งเสียในขณะที่ช่อดอกเริ่มออก เพื่อต้นมะม่วงจะได้ไม่เสียน้ำเลี้ยงไปสร้างช่อดอกต่อไป ถ้าปล่อยช่อดอกไว้ไม่เด็ดทิ้ง อาจติดผลได้ แต่เป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ และต้นมะม่วงจะมีการเจริญเติบโตของลำตนช้าลง หรือชะงักงัน

3. ต้นมะม่วงขาดน้ำ หรืออากาศแห้งแล้งในระยะที่มีช่อดอก จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง และร่วงหล่นไปได้

วิธีป้องกันรักษา คือ หลังจากมะม่วงออกช่อดอกแลว ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้แห้ง

4.ต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ หากต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ ก็จะทำให้ช่อดอกมะม่วงไม่ติดผล เนื่องจากขาดอาหาร หรือน้ำเลี้ยงที่จะมาเลี้ยงช่อดอกหรือผลต่อไปได้

วิธีป้องกันรักษา : ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ และให้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่แห้ง หรือกิ่งที่มีโรคหรือแมลงทำลาย ออกเสีย

อนึ่ง อาจมีสาเหตุอื่นอีกที่มะม่วงออกช่อดอก แล้วไม่ติดผล เช่น อาจเป็นเพราะ ในท้องที่ที่ปลูกมะม่วงนั้น มีแมลงช่วยผสมเกสรอยู่น้อย หรืออาจเป็นเพราะ ต้นมะม่วงที่ปลูกนั้นอยู่ในที่อับ ไม่มีลมพัดผ่าน และแสงแดดน้อย เรื่องพันธุ์มะม่วงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่น มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ พันธุ์พิมเสนมัน มักจะออกดอกติดผลได้ดีกว่าพันธุ์อื่น และมักจะออกดอกนอกฤดูกาลอีกด้วย พันธุ์แรดมักจะออกดอกก่อนพันธุ์อื่น และออกดอกติดผลสม่ำเสมอเกือบทุกปี เหล่านี้เป็นต้น

การให้ปุ๋ย

มะม่วงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 2 ปี :

ทางดิน : ใส่วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA “ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30-45 วัน สลับกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 150-300 กรัม(1-2 กำมือ)ต้น ปีละ 2-3 ครั้ง

ทางใบ : ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน(1-2ครั้งต่อเดือนเป็นประจำ)


สรุปการให้ปุ๋ยมะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้วหรือต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป

ช่วงเวลา ทางดิน ทางใบ

หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่งแล้ว ครั้งที่ 1 ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5กิโลกรัมต่อต้น ห่างจากครั้งแรก 30 วัน

ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ200 ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 5ครั้ง

เตรียมต้นสะสมอาหาร ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อสะสมอาหารในต้น ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ช่วยบังคับต้นให้สะสมอาหาร ไม่ให้แตกใบอ่อน

กระตุ้นดอก เร่งช่อยาว ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลงอัตรา 50-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท”อัตรา 5-10 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง

ติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว ครั้งที่ 1 เมื่อติดเม็ดขนาดเท่ามะเขือพวง ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา0.5 กิโลกรัม + ยักษ์เขียว เกรดAAAสูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 3 หลังจากนั้นอีก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 24-4-24 อัตรา 0.5กิโลกรัม+ปุ๋ยอินทรีย์ตรายักษ์เขียว สูตร1 (แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อต้น

ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผลอัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร บวกกับ อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :

1. อัตราการใส่ปุ๋ย ควรปรับใช้ตามขนาดต้น อายุพืช และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ใช้ตามค่าการ วิเคราะห์ดินและพืช และควรกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง และหากมีการตัดแต่งทรงพุ่มและควบคุมขนาดของทรงพุ่มไม่ให้มีขนาดใหญ่มากจนเกินไป จะทำให้ประหยัดปุ๋ยทางดินที่ใส่และยังประหยัดค่าแรงในการเก็บเกี่ยวอีกด้วย โดยขนาดทรงพุ่มที่เหมาะสม ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 4 เมตร และสูงไม่เกิน 5 เมตรซึ่งหากทรงพุ่มอยู่ในช่วงที่กล่าวแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีแต่ละช่วง สามารถใช้เพียงต้นละ 0.5 กิโลกรัมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว 1-3 กิโลกรัม(ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิต) มะม่วงก็จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณมากเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุน ทำให้มีส่วนต่างของกำไรมาก

2. เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว จะพบว่าผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดี(ติดดก_ลูกใหญ่_ได้น้ำหนัก) โดยที่เทียบเปอร์เซ็นต์ต้นทุนต่อผลผลิตแล้วจำนวนเงินกำไร(ผลตอบแทน)เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ได้เปรียบกว่าสวนอื่น ๆ ที่ลงทุนปุ๋ยและยาปริมาณมาก ๆ

3. ช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง หากพบการระบาดของโรคราในพืชให้เว้นการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบทุกชนิดในช่วงนั้น แล้วใช้ยาป้องกันและรักษาโรคฉีดพ่นตามอาการ 1-2 ครั้งก่อน จึงเริ่มใช้ปุ๋ยทางใบต่อไปได้

4. การป้องกันแมลงศัตรูพืชก่อนที่จะเข้ามาทำลายต้นโดยการใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)นั้นจะประหยัดต้นทุนและลดความเสียหายได้ดีกว่า การใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดเมื่อมีการระบาด ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนมาก และมีความเสี่ยงที่แมลงจะดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาแรงขึ้น สิ้นเปลืองทั้งเงินและสุขภาพของผู้ใช้เอง

5. สำหรับในพื้นที่ ที่มีการปลูกพืชกันมาก แนะนำให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) สลับหรือร่วมกับการใช้สารเคมีควบคุม อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลและลดต้นทุนการผลิตการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

สรุปเทคนิคการปฏิบัติเพื่อช่วยให้มะม่วงติดผลมาก

1. มะม่วงในฤดู เมื่อต้นเริ่มแทงช่อ ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมาก และปัญหาเรื่องการระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่นจะลดลง ประหยัดต้นทุนสารเคมีกำจัดแมลง

2. มะม่วงนอกฤดู หลังจากราดสาร 21-30 วัน ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1/2 ลิตรต่อน้ำ 1 ถัง 200ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมากสม่ำเสมอทั้งต้น และยังช่วยลดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายช่อดอก

3. ช่วงที่กระตุ้นดอก กรณีความชื้นในอากาศสูงหรือในช่วงฤดูฝน ควรใช้สารควบคุมโรคราหรือ ชีวภัณฑ์กำจัดโรครา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นป้องกันเป็นระยะตามความเหมาะสม

4. เมื่อช่อมะม่วงเจริญพ้นพุ่มใบออกมาอย่างเด่นชัดแล้ว ควรรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ การรดน้ำควรรดแต่น้อยก่อน แล้วจึงเพิ่มมากขึ้น เรื่อย ๆ จนถึงที่เคยรดให้ตามปกติ

5. ในพื้นที่ที่มักมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชรุนแรง ควรพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมกับยาเพื่อป้องกันกำจัดแมลงที่จะมาทำลายช่อมะม่วง_หนอนเจาะผล_แมลงวันทอง ได้แก่ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) “เมทาแม็ก” + ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ(กำจัดหนอน) “บาร์ท๊อป” ฉีดพ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องระมัดระวัง(แทงช่อดอก_ติดผล) หรืออาจใช้สารเคมีกำจัด อาทิเช่น อิมิดาโคลพริด_ เอ็นโดซัลแฟน หรือบีพีเอ็มซี อัตราตามฉลาก(ครั้งแรกให้พบในระยะที่ดอกยังตูม หรือสำรวจพบเพลี้ยจั๊กจั่น 3 ตัวต่อช่อและครั้งที่สองเมื่อเห็นว่ามะม่วงติดผลมีขนาดเท่าหัวแมลงวัน การพ่นยาครั้งที่สองอาจเติมยากันราลงไปด้วยถ้าเห็นว่ายังมีราดำอยู่ตามช่อดอกและใบ)หรือ พ่นคาร์บาริล อัตราตามฉลาก ทุก ๆ 7-10 วัน หากไม่ต้องการพ่นยากำจัดแมลง ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)อัตรา 50-100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน และป้องกันการเข้าทำลายของโรครา ด้วยการฉีดพ่น โปรคลอราซ หรือ เบโนมิล ในช่วงก่อนดอกบาน



การเก็บเกี่ยว

การเก็บผลมะม่วงเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ต้องเก็บให้ถูกต้อง เพื่อให้ผลมะม่วงที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดไม่อ่อนเกินไป หรือปล่อยไว้จนสุกงอมเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะม่วง และความใกล้ไกลของตลาด เป็นสำคัญ ข้อสังเกตง่ายๆ ว่ามะม่วงจะแก่เมื่อใดนั้น สิ่งที่น่าสังเกต 2 ประการคือ

1. แก้มผลทั้ง 2 ข้างพองโตเต็มที่ สีผิวเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวจาง สังเกตจากผิวของผลมะม่วงมีสีขาวนวลหรือไขปกคลุมผล

2. เก็บตัวอย่างผลมะม่วงมา 2-3 ผล เพื่อทดสอบ โดยนำมะม่วงมาแช่น้ำดู หากผลมะม่วงจมน้ำแสดงว่าแก่จัด ถ้าลอยแสดงว่ายังอ่อนอยู่ และเวลาเก็บต้องอย่าให้ช้ำ มิฉะนั้นจะเน่าและเสียได้ง่ายเวลามะม่วงสุก

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:4547
โรคทานตะวัน และแมลงศัตรูทานตะวัน
โรคทานตะวัน และแมลงศัตรูทานตะวัน
โรคทานตะวัน และแมลงศัตรูทานตะวัน
โรคที่พบมากในทานตะวัน ได้แก่ โรคทานตะวันใบไหม้ และลำต้นไหม้ ซึ่งมีสาเหตุจาก เชื้อรา อัลเทอร์นาเรีย Alternaria_ spp. นอกจากนี้ ยังพบโรคโคนเน่า และลำต้นเน่า ในทานตะวัน

ในส่วนของแมลงศัตรูทานตะวันนั้น จะมีหนอนหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนม้วนใบ หนอนเจาะลำต้น

นอกจากนั้น นก และ หนู ก็เป็นศัตรูทานตะวันเช่นกัน ที่สร้างความเสียหายแก่ทานตะวันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแปลงปลูกใหญ่

เมื่อพบโรคทานตะวัน ทีมีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

เมื่อพบหนอนทุกชนิด ที่เข้าทำลายทานตะวัน
ฉีดพ่น ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ป้องกันและกำจัดหนอนทุกชนิด ปลอดสารพิษ ในอัตตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

เมื่อต้องการบำรุงให้ทานตะวัน ฟื้นฟูจากโรคได้รวดเร็ว แข็งแรง โตไว ให้ผลผลิตที่ดีขึ้น
ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด
อ่าน:3292
300 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 30 หน้า, หน้าที่ 31 มี 0 รายการ
|-Page 25 of 31-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าไรแดง สายเขียว และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/08 13:09:18 - Views: 3127
กำจัดหนอนเจาะผล ศัตรูพืชในต้นทุเรียน AiKi-BT ฟื้อนฟูจากการเข้าทำลายของหนอน FK-T อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ โดย FK
Update: 2566/05/25 12:37:31 - Views: 3119
โรคราแป้งมะเขือ ราแป้งพริก ราแป้งมะเขือม่วง แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/19 21:46:55 - Views: 3371
เร่งการออกดอกและเร่งรากด้วยปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO สำหรับต้นน้อยหน่า
Update: 2567/02/12 13:56:54 - Views: 134
ปุ๋ยสำหรับกุหลาบ ปุ๋ยน้ำสำหรับกุหลาบ และ ไม้ดอก ไม้ประดับ ฉีดพ่น FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/15 02:35:58 - Views: 3018
ป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในต้นยางพารา (โรคใบไหม้อเมริกาใต้)
Update: 2566/01/10 07:25:03 - Views: 3059
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: การปลดปล่อยธาตุอาหารแบบธรรมชาติเพื่อพัฒนาผลผลิตที่ยั่งยืน
Update: 2567/02/13 09:54:19 - Views: 164
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใน ลองกอง เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/20 13:34:49 - Views: 3012
ทำความรู้จักกับโรคที่เกิดจากเชื้อราในดอกกล้วยไม้: สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน
Update: 2566/11/08 13:34:39 - Views: 231
การปรับปรุงดินลูกรัง ให้ปลูกพืชได้ดีขึ้น
Update: 2565/08/23 18:03:34 - Views: 3321
แมคคาเดเมีย Macadamia
Update: 2564/04/04 08:36:56 - Views: 3329
มะม่วงเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซิงค์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
Update: 2566/11/10 07:07:37 - Views: 8449
กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่งด้วย ไอกี้ ปลอดภัย 490 บาท ฟื้นฟูบำรุง FK-T 890 บาท โปรฯซื้อคู่ เพียง 990 บาท
Update: 2565/07/26 08:05:00 - Views: 2967
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
Update: 2564/08/10 05:03:35 - Views: 3590
ยากำจัดโรคแอนแทรคโนส ใน กาแฟ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/14 14:04:07 - Views: 6917
การควบคุมโรคเชื้อราในต้นลิ้นจี่
Update: 2566/05/09 11:54:34 - Views: 2985
ถั่วฝักยาว โตไว ใบเขียว ฝักใหญ่ ฉีดพ่น ปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/03/30 11:21:54 - Views: 3068
มะเขือใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ใบเหลือง ใบแห้ง โรคราต่างๆในมะเขือ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/07 22:48:49 - Views: 5690
ฮิวมิค แอซิด: ฟาร์มิคที่ฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินของต้นส้ม
Update: 2567/02/13 09:49:37 - Views: 168
โรคใบไหม้ในหน้าวัว และโรคใบไหม้ใน สาวน้อยปะแป้ง
Update: 2563/11/16 07:16:11 - Views: 5232
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022