[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - HIV
11 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 1 หน้า, หน้าที่ 2 มี 1 รายการ

โรคราแป้งในถั่วลันเตา
โรคราแป้งในถั่วลันเตา
กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลันเตาให้เฝ้าสังเกตการระบาดของโรคราแป้ง สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต

ระยะนี้จะมีอากาศเย็น และมีน้ำค้างในตอนเช้า กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลันเตาให้เฝ้าสังเกตการระบาดของโรคราแป้ง สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของถั่วลันเตา มักพบอาการของโรคได้กับทุกส่วนของพืช อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่างติดโคนต้นก่อน โดยมีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดกระจายเป็นหย่อมๆ ทั้งบนใบและใต้ใบ หากอาการรุนแรง จะเห็นต้นถั่วลันเตาขาวโพลนทั้งต้น ทำให้ใบและส่วนต่างๆ บิดเบี้ยวเสียรูปทรง ใบจะเหลือง ไหม้ และร่วงก่อนกำหนด กรณีเกิดโรคในระยะออกดอก จะทำให้ต้นแคระแกร็น ติดฝักน้อย ฝักบิดเบี้ยว หรือฝักและเมล็ดลีบเล็กลง

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูก กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และบริเวณใกล้เคียงนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้น ลดแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค หากเริ่มพบต้นที่เป็นโรค ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
กลุ่มปลูกกุหลาบ ระวังโรคราแป้งระบาด
กลุ่มปลูกกุหลาบ ระวังโรคราแป้งระบาด
กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบรวมถึงไม้ตัดดอก โดยเฉพาะภาคเหนือระวังโรคราแป้งขาวระบาด ซึ่งมักพบเมื่อสภาพอากาศหนาวเย็น น้ำค้างลงจัดกลางคืนมีความชื้นสูง ทำให้เชื้อเจริญเติบโตได้ดี สามารถแพร่ระบาดโดยปลิวไปกับลม ทำความเสียหายรุนแรงได้

เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบขุยสีขาวขึ้นปกคลุมบริเวณด้านบนใบและใต้ใบ เนื้อใบที่ถูกทำลายจะพองออก ใบบิดงอ โดยเฉพาะใบอ่อน และยอดอ่อน ทั้งนี้ โรคราแป้งกุหลาบเป็นโรคสำคัญชนิดหนึ่งของกุหลาบ และไม้ตัดดอกหลายชนิด ลักษณะโรคจะพบเป็นผงสีขาวคล้ายผงแป้งเคลือบอยู่บนผิวใบ ทั้งด้านบนและด้านใต้ใบ พบมากในใบอ่อน และยอดอ่อนของกุหลาบ เนื้อเยื่อส่วนที่เชื้อราเกาะอยู่จะพองออก ชาวบ้านเรียกว่า โรคใบพอง ทำให้ใบบิดงอ ถ้าใบถูกราแป้งเข้าทำลายมาก จะมองเห็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีม่วงถึงดำ และหลุดร่วงในที่สุดต้นกุหลาบแคระแกร็น ดอกกุหลาบที่เชื้อราปกคลุมดอกจะไม่บาน หรือบานแต่ดอกไม่สมบูรณ์เสียรูปทรง

วิธีการป้องกันกำจัดโรคนี้ ต้องตัดแต่งกิ่งกุหลาบที่เป็นโรค เก็บใบหลุดร่วงที่โคนต้นนำไปเผาช่วงมีการระบาดขควรงดให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพราะจะทำให้โรคระบาดรุนแรงขึ้น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
ศูนย์บริหารศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรชาวสวนลําไยและลิ้นจี่ ในภาคเหนือ ให้ระวังการระบาดของหนอนเจาะขั้วผลลําไยและลิ้นจี่ซึ่งหนอนเจาะขั้วผลลําไยและลิ้นจี่จะเข้าทําลายผลผลิตในสองระยะ คือระยะเริ่มติดผลได้ประมาณ 1.5 – 2 เดือน และระยะที่ผลโตใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต

โดยรูปร่างลักษณะตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนมีขนาดเล็กมาก เมื่อกางปีกสีเทาดํา ปลายปีกสีเหลือง มีขน สีดําปีกคู่หลังมีขนรอบปีก หนวดยาวกว่าลําตัว ตัวหนอนมีสีขาวนวล บางครั้งมีสีเขียวอ่อนขึ้นอยู่กับอาหารที่กิน ลําตัวเป็นปล้องเห็นชัดเจน หนอนเจริญเติบโตเต็มที่มีขนาดยาว 8 – 9 มิลลิเมตร หนอนจะใช้ปากชักใยคล้ายกับแผ่นพลาสติกใสหุ้มตัวเองอ่ภายใน ตามใบลิ้นจี่ที่ต้น และใบที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดิน หรือตามใบหญ้า ระยะดักแด้ประมาณ 7 – 8 วัน

การระบาดมี2 ระยะๆ แรกเมื่อเริ่มติดผลได้ประมาณ 1.5 – 2 เดือน หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในเมล็ด มองดูภายนอกจะไม่เห็นรอยทําลายเลยเมื่อผ่าดูจะเห็นรอยทําลาย ทำให้ผลถูกหนอนทําลายไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ และร่วงหล่นจนหมด ระยะที่สองเมื่อผลมีขนาดโตขึ้นหนอนจะเจาะกินบริเวณขั้วผล บริเวณใกล้ขั้วจะพบรูเล็กๆ ปรากฏอยู่

สำหรับวิธีการป้องกันกําจัด ถ้าพบหนอนหรือรอยทําลาย ให้เก็บผลที่ร่วงทุกวันไปเผาทําลาย สารธรรมชาติใช้สารสกัดจากเมล็ดสะเดา โดยใช้เมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัมต่อน้ํา 20 ลิตรแช่ทิ้งไว้ 1 คืน นํามากรองด้วยผ้าขาวบางแล้วนําสารสะเดาที่ได้มาผสมกับสารจับใบฉีดพ่นเมื่อพบหนอนเจาะขั้วผล และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผล 15 วัน

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

หากไม่มีเวลาทำเอง หรือปลูกในปริมาณมาก ใช้ ไอกี้-บีที ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก สารป้องกันกำจัดหนอน ชีวภาพ ปลอดภัย จากเรานะคะ
โรคพืช ทำให้เกิดโรคในคนได้หรือไม่?
โรคพืช ทำให้เกิดโรคในคนได้หรือไม่?
หลายคนคงเคยสงสัย "ถ้าบริโภคผักผลไม้ที่เป็นโรคแล้ว จะทำให้เราเป็นโรคหรือไม่" เป็นคำถามง่ายๆ ที่หลายคนอาจจะทราบคำตอบ แต่อีกหลายคนอาจไม่ทราบและไม่แน่ใจในคำตอบ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า โรคพืชเกิดขึ้นได้อย่างไร

"โรคพืช (Plant Disease)" เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งเรียกว่าเป็น Biotic Disease และเกิดจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ปริมาณธาตุอาหาร น้ำ อุณหภูมิ และแสง รวมถึงการปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม อาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเหล่านี้ เรียกว่าเป็น Abiotic Disease ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ติดต่อจากพืชหนึ่งไปยังพืชข้างเคียง

สำหรับโรคพืชที่เกิดจากศัตรูพืชซึ่งจัดเป็นโรคที่ติดต่อได้ (Infectious Disease) นั้น โรคพืชจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ เชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค (Pathogen) พืชอาศัย (Host Plant) และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค (Environment) ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ประการนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กัน นั่นหมายความว่า เชื้อสาเหตุ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส จะทำให้เกิดโรคในพืชชนิดใดชนิดหนึ่งได้ เชื้อสาเหตุเหล่านี้ต้องสามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ในพืชชนิดนั้นได้ และภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เชื้อสาเหตุเหล่านี้จะสามารถทำให้เกิดโรค (Pathogenicity) ในพืชอาศัยของมันได้ ทั้งนี้ มีปัจจัยเรื่องระยะเวลา (Time) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคเหล่านี้ ในทางโรคพืชวิทยา เรียกว่า "สามเหลี่ยมโรคพืช (Disease Triangle)" ด้วยเหตุนี้ จึงอธิบายได้ว่า เหตุใดพืชหลายชนิดไม่เป็นโรค ทั้งที่ในโลกใบนี้ มีโรคพืชมากมายหลายชนิดปรากฏอยู่ ดังนั้น คงพอจะทราบคำตอบแล้วว่า โรคพืชทำให้เกิดโรคในคนได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม แม้จะกล่าวได้ว่า จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ไม่ก่อให้เกิดโรคในคน แต่เชื้อราสาเหตุโรคพืชบางชนิดสามารถสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนได้ เช่น Aflatoxin ซึ่งมักพบในเมล็ดธัญพืช ถั่ว และวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ Potulin ซึ่งมักพบในผักและผลไม้ Ochratoxin A และ Alternaria toxin เป็นต้น ซึ่งสารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxins) ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดมีสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง และเกือบทุกชนิดมีความทนทานต่ออุณหภูมิสูงในกระบวนการแปรรูปอาหาร ดังนั้น การกำจัดผลิตผลในส่วนที่พบเชื้อราหรือเน่าเสียที่สามารถสังเกตเห็นได้ ไม่ได้เป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยของผักผลไม้ที่บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการแปรรูปผักผลไม้ เพราะอาจยังมีเชื้อราบางส่วนปะปนและกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดการสร้างสารพิษขึ้นได้ ดังนั้น หากสงสัยหรือไม่แน่ใจในความปลอดภัยของผักและผลไม้ที่บริโภค ก็ควรกำจัดทิ้งผักผลไม้ที่สงสัยนั้น..."If in doubt_ throw it out!"



เอกสารอ้างอิง

Agrios_ G.N. 1997. Plant Pathology. 4th eds. Academic Press_ San Diego_ the United States of America.

เนตรนภิส เขียวขำ. 2554. สารพิษจากเชื้อราในผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว. http://www.farmkaset..link... เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2555.

http://www.farmkaset..link..
เกษตรเตือนภัยโรคพืช โรคเน่าคอดินพืช-ผัก
เกษตรเตือนภัยโรคพืช โรคเน่าคอดินพืช-ผัก
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผัก สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จึงมีข้อแนะนำให้เกษตรกรรู้จักโรคพืชที่อาจเกิดการระบาดในพืชผักได้ในช่วงฤดูหนาวนี้รวมถึงวิธีการป้องกันกำจัด

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โรคของต้นอ่อนหรือกล้าผักต่างๆ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแต่ที่ทราบและรู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ โรคโคนเน่าคอดิน (damping-off) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วๆ ไปว่าโรคกล้าตายพราย หรือโรคเหี่ยวเขียว ซึ่งจัดว่าเป็นโรคระบาดสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับผักมากมายหลายชนิด หลายตระกูลในเกือบทุกสภาพของดินและภูมิอากาศตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโต

เชื้อรามีหลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเน่าคอดิน ได้แก่ Phycomycetes : Pythium spp. _ Phytophthora spp. Deuteromycetes : Botrytis cinerea _ Diplodia pinea _ Cylindrocladium scoparium _ Fusarium spp _ Pestalozzia funerea_ Rhizoctonia solani_ Sclerotium bataticola

ลักษณะอาการของโรค เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว

อาการต้นกล้าเน่า อาการทั่วไปในแปลงจะพบว่า ต้นกล้าฟุบตายเป็นหย่อมๆ เมื่อนำกล้ามาพิจารณาดูที่ต้นจะเห็นว่า บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลช้ำ เหี่ยวแฟบ คอรวงเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง พบกับกล้าพืชแทบทุกชนิดในแปลงที่มีกล้าแน่นเกินไป และความชื้นสูง สาเหตุเนื่องจากเชื้อราอาการต่างๆ ของโรคดังกล่าวมาแล้ว จะเกิดได้รุนแรงขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับพืช ชนิด และปริมาณของเชื้อโรค และสภาพแวดล้อม เชื้อโรคแต่ละชนิดต้องการสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น โรคเน่าคอดิน โรครากเน่าจะเกิดรุนแรงเมื่อความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำไม่ดี โรคเน่าเละของผักระบาด เมื่อความชื้นสูง และอากาศร้อน โรคราแป้งขาวเป็นได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ในขณะที่โรคราน้ำค้างเป็นโรคได้ดี และระบาดมาก เมื่อมีความชื้นสูง และฝนชุก โรคใบจุด (ตากบ) ของยาสูบพบว่า ในแปลงที่มีปุ๋ยไนโตรเจนสูง ทำให้เกิดโรคมาก โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อราจะเป็นโรครุนแรงมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ปลูก และอัตราส่วนปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมที่ให้ สรุปได้ว่า เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อจะเจริญได้ดีมีการเพิ่มปริมาณจำนวนมาก และเข้าทำลายพืชได้ง่าย โดยอาจเข้าทำลายโดยตรง เช่น เชื้อรา หรืออาจเข้าทางบาดแผล และทางรูเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ ในสภาพที่พอเหมาะเชื้อจะเข้าไปเจริญ และขยายพันธุ์ในส่วนต่างๆ ของพืช และแสดงอาการโรคให้เห็น ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เชื้อมีจำนวนมาก พร้อมที่จะแพร่ระบาดขยายขอบเขตของการเกิดโรคออกไป โดยมีลมหรือน้ำพัดพาติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ หรือเมล็ดพันธุ์ แมลง และสัตว์บางชนิดพาไป ติดไปกับเครื่องมือ หรือวัสดุการเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือบางทีมนุษย์ก็เป็นผู้นำ โรคแพร่ระบาดเสียเอง และสามารถแพร่ระบาดได้ไกลข้ามประเทศ โดยการนำหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชที่มีโรคติดอยู่ เป็นต้น

อาการโรคเน่าคอดิน แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ

1) ราเข้าทำลายเมล็ดหรือต้นกล้า ก่อนที่จะงอกพ้นดิน ทำให้เมล็ดไม่งอกหรือรากต้นอ่อน ถูกทำลายทันที ทำให้ไม่มีใบเลี้ยงออกมา

2) ต้นกล้าเป็นโรคเมื่อโผล่พ้นดินแล้ว ถ้าเข้าทำลายส่วนล่างหรือส่วนราก โดยราจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเนื้อเยื่อพืชโดยเฉพาะราก ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้นและหักล้มก่อนจะแสดงอาการเหี่ยว โดยส่วนติดผิวดินจะเน่าในขณะที่ส่วนอื่นยังเต่งอยู่ แต่ถ้าเชื้อราเข้าทำลายส่วนบนหรือส่วนใบเลี้ยง ซึ่งจะพบไม่บ่อยนัก จะพบเมื่อต้นกล้าอยู่กันอย่างหนาแน่นภายหลังจากระยะที่มีฝนตก

ที่มา http://www.farmkaset..link..
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ณ ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่สนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ระดับครัวเรือน (House hold Lab Model for quality of life : HLM) อำเภอพระนครศรีอยุธยา ของนางเอื้อมพร ศาสนกุล ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา​ โดยมีนางสาวอัญชลี เฉลยรัตน์ พัฒนาการอำเภอพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ร่วมลงพื้นที่ในการวางแผนขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล”

นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน โดย “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พัฒนาชมุชน” เป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะเจ้าของแปลงได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาพื้นที่ของตนเองเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เพื่อเผยแพร่แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ กรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้ปลูกพืชสมุนไพร เช่น กระชาย และฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาอาการจากโรคระบาด ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รณรงณ์ให้ประชาชนในจังหวัดฯ รวมถึงเจ้าของแปลงโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล” ได้ร่วมกันปลูกพืชสมุนไพรดังกล่าว เพื่อใช้ในครัวเรือนและเพื่อประโยชน์ต่อคนในชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ต่อไป

ด้านนางเอื้อมพร ศาสนกุล เจ้าของแปลง 3 ไร่ เผยว่าขอขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชน ที่ให้โอกาสเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพราะเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นการลดรายจ่ายเพิ่​มรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน และในอนาคตมีความมุ่งหวังจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล ได้ศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในวิถีชีวิต

ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 1849/2564 กำหนดมาตรการตามพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อย่างเคร่งครัด

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา
ข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
APCO วิจัยสำเร็จใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดด้วยสารสกัดจากพืชกินได้ปราบ HIV
APCO วิจัยสำเร็จใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดด้วยสารสกัดจากพืชกินได้ปราบ HIV
นายพิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ (APCO) เปิดเผยว่า คณะนักวิจัยของ APCO ประสบความสำเร็จในการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดทำให้ผู้ติดเชื้อ HIV ปลอดจากเชื้อได้แล้วในประเทศไทยก่อนนักวิจัยอื่นๆทั่วโลก โดยวิธีการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดด้วยสารสกัดจากพืชกินได้ สามารถทำให้ผู้ที่ติดเชื้อ ทั้งผู้ที่ยังไม่ได้ใช้ยาต้านและผู้ที่ใช้ยาต้านมาแล้วหลายปีเกิดภาวะ HIV หมดฤทธิ์แล้ว รวม 9 ราย และสองรายในจำนวนนี้ตรวจไม่พบเชื้อต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีทำให้สรุปได้ว่าเป็นผู้ที่ปลอดเชื้อ HIV แล้ว

ความสำเร็จครั้งนี้สร้างประวัติศาสตร์การรักษาการติดเชื้อ HIV/AIDS ได้เป็นครั้งแรกของโลก ด้วยวิธีที่ง่ายและปราศจากผลข้างเคียง คือ การสร้างภูมิคุ้มกันบำบัดด้วยสารสกัดจากพืชกินได้ ให้ผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเพียงพอที่จะกำจัดเชื้อ HIV จนหมดและไม่กลับมาเป็นอีก

"ในวันที่ APCO ย้ายเข้าจดทะเบียนในตลาด SET เมื่อ14 พ.ค. 61 ผมได้ประกาศปณิธานว่า APCO จะเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมสำหรับดูแลผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS ที่ทรงประสิทธิภาพเหนือกว่าทุกบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของโลก วันนี้ APCO ได้บรรลุถึงปณิธานนั้นแล้ว และวางแผนให้นวัตกรรมนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลกต่อไป"นายพิเชษฐ์ กล่าว
นับตั้งแต่การค้นพบเชื้อ HIV เมื่อ 39 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมีความพยายามที่จะคิดค้นวัคซีน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และคิดค้นยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่สำเร็จ ทำได้เพียงการใช้ยาต้าน HIV ระงับการขยายตัวของเชื้อไม่ให้ลุกลามเท่านั้น ซึ่งยาต้าน HIV ส่งผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ให้กับผู้ใช้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และทำให้ผู้ที่ใช้ยาต้านมีอายุสั้นลงเฉลี่ย 9 ปี

อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อไม่สามารถที่จะหยุดใช้ยาต้าน HIV ได้ เพราะทันทีที่หยุดใช้ เชื้อจะกลับมาขยายจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 1_000 เท่าอย่างรวดเร็ว และหากควบคุมไม่ได้ก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง กลายเป็นโรค AIDS ซึ่งทำให้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในที่สุด

ในช่วงหลัง นักวิจัยทั่วโลกจึงได้พยายามหาวิธีใหม่มาแทนการใช้ยาต้าน HIV โดยให้สามารถควบคุมปริมาณเชื้อให้น้อยที่สุดจนตรวจไม่พบและไม่ทำให้เกิดอาการของโรคได้ ซึ่งเรียกกันว่า HIV functional cure หรือภาวะ HIV หมดฤทธิ์ จนบัดนี้ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ APCO ได้ทำสำเร็จแล้ว และบางรายในกลุ่มนี้ก็ปลอดเชื้อแล้ว

ที่มา http://www.farmkaset..link..
รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
อากาศเย็นมีความชื้นสูงในตอนเช้า และอากาศร้อนในเวลากลางวันช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และบรอกโคลี ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคราน้ำค้าง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช จะพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน จากนั้นแผลจะขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบนของต้นพืช โดยมีอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง

เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูงในตอนเช้า มักพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลด้านใต้ใบ หากพบโรคระบาดรุนแรง แผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย กรณีพบโรคในระยะต้นกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาล ทำให้ต้นแคระแกร็นและตายในที่สุด ส่วนในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าพบเชื้อราเข้าทำลายรุนแรง ก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้

เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์สะอาดที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค และก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (ต้มน้ำจนเดือดแล้วเติมน้ำอุณหภูมิปกติลงไปผสมอีก 1 เท่า) นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จากนั้น เกษตรกรควรปลูกพืชให้มีระยะห่างกันพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว

หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรเก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลง และหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค หลีกเลี่ยง การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำในพื้นที่แปลงเดิม ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน และควรทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตรที่ใช้กับต้นเป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่กับต้นปกติทุกครั้ง

หากพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน

อังคณา ว่องประสพสุข : ข่าว

กรมวิชาการเกษตร

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้าง ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิต้านทาน และส่งเสริมผลผลิต
โรคราดำมรณะ ในอินเดียอันตรายซ้ำซ้อนช่วงวิกฤติ Covid-19
โรคราดำมรณะ ในอินเดียอันตรายซ้ำซ้อนช่วงวิกฤติ Covid-19
โรคราดำมรณะในคน (Mucormycosis) เป็นโรคที่ระบาดอย่างหนักในประเทศอินเดียช่วงวิกฤติ Covid-19 เนื่องจากเป็นเชื้อราที่สามารถลุกลามเนื้อเยื่อในร่างกายได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในร่างกายที่อ่อนแอทำให้เสี่ยงเสียชีวิตค่อนข้างสูง สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกก่อนลุกลามหนัก หรือรับยาอย่างต่อเนื่อง 2 เดือน



โรคราดำมรณะ (Mucormycosis) คืออะไร

หลายคนเรียกกันทั่วไปว่า “เชื้อราดำ (Black Fungus)” เกิดจากเชื้อราจากธรรมชาติชื่อ “Mucormycetes” พบได้ในดินหรืออินทรียวัตถุที่เกิดการเน่าเปื่อยแล้ว เช่น ซากไม้ ใบไม้ ผักผลไม้ที่เน่าแล้ว หรือปุ๋ยหมัก เป็นต้น เชื้อราชนิดนี้มีผลต่อผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือร่างกายไม่แข็งแรงทำให้การกระจายของเชื้อค่อนข้างรวดเร็วจนส่งผลให้มีอัตราเสียชีวิตมากถึงประมาณ 50 % ของผู้ป่วยที่มีอาการโรคราดำมรณะในประเทศอินเดีย



ทำไมจึงเรียกว่าโรคราดำมรณะ


เนื่องจากระหว่างทำการทดลองเกี่ยวกับเชื้อราชนิดนี้พบว่ามีคุณสมบัติที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วในอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ หรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อกับการมีชีวิตอยู่อย่างอินทรียวัตถุ และด้วยเชื้อราชนิดนี้มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้มคล้ายสีดำจึงถูกเรียกว่าเชื้อราดำ

โรคราดำมรณะติดเชื้อในคนได้อย่างไร


โรคราดำมรณะจะมีผลต่อผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเมื่อได้รับเชื้อเข้าไป ในทางตรงกันข้ามหากร่างกายแข็งแรงดีจะสามารถป้องกันโรคร้ายนี้ได้ดีกว่า ซึ่งเชื้อรานี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้



การทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อรา
เข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดหายใจ
บาดแผลบนร่างกายมีการสัมผัสกับเชื้อรา


นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าการใช้สารสเตียรอยด์สามารถกระตุ้นความเสี่ยงในการเกิดโรคราดำมรณะได้ จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดในประเทศอินเดียช่วง Covid-19 เนื่องจากมีการใช้สเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับปอด



อาการอันตรายเมื่อติดโรคราดำมรณะ


ตำแหน่งที่มีการพบว่าติดเชื้อมักจะอยู่บริเวณจมูกโดยเชื้อสามารถลุกลามขึ้นสู่สมองได้ หากกลุ่มผู้ที่มีปัญหาด้านภูมิต้านทาน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีเชื้อ HIV เกิดติดเชื้อโรคราดำมรณะอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการที่สังเกตได้มีดังนี้



ปวดศีรษะ
คัดจมูกและมีอาการเลือดออกที่จมูก
มีอาการชักเกร็ง
ตาบวมและมีอาการปวด


การรักษาโรคราดำมรณะ


หากปล่อยทิ้งไว้ผู้ป่วยโรคราดำมรณะจะสูญเสียการมองเห็นได้ และเนื่องจากเชื้อที่ลุกลามรุนแรงและพบได้มากบริเวณจมูกถึงดวงตาสามารถเข้าสู่สมองได้อย่างรวดเร็วจึงต้องรีบรักษาด้วยการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่เกิดการติดเชื้อออก
รักษาด้วยการรับยาเฉพาะด้วยการฉีดสำหรับรักษาโรคราดำมรณะ โดยต้องรับยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 8 สัปดาห์


เนื่องจากการระบาดของโรคราดำมรณะที่รุนแรงในอินเดียด้วยยอดผู้ติดเชื้อจำนวนมากจึงทำให้การรักษาไม่สามารถเข้าถึงได้ทันเวลาพอการระแวดระวังโรคร้ายชนิดนี้ไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ปลูกองุ่น ระวังการระบาด ของโรคราน้ำค้าง
ปลูกองุ่น ระวังการระบาด ของโรคราน้ำค้าง
กรมวิชาการเกษตร แจ้งว่าช่วงนี้อากาศเย็น และมีน้ำค้างในตอนเช้า ส่วนช่วงกลางวัน แดดจัดและมีอากาศร้อน แนะเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นให้เฝ้าสังเกตอาการระบาดของโรคราน้ำค้าง มักพบในระยะใบอ่อนเปลี่ยนเป็นใบแก่ อาการที่ใบ เนื้อเยื่อบนใบเกิดแผลสีเหลืองอ่อน หากสภาพอากาศในตอนเช้ามีความชื้นสูง ที่ใต้ใบด้านตรงข้ามแผลจะพบเชื้อราสาเหตุโรคสีขาวขึ้นฟู ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ถ้าโรคระบาดรุนแรง ก้านใบมีแผลช้ำ ใบจะเหลือง แห้ง และหลุดร่วง อาการที่ยอด เถาอ่อน และมือเกาะ มักพบเชื้อราสีขาวขึ้นฟูเป็นกลุ่มปกคลุม ยอดหดสั้น เถาและมือเกาะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้ง อาการที่ช่อดอกและผลอ่อน จะพบเชื้อราสีขาวขึ้นฟูปกคลุม ทำให้ดอกร่วง ช่อดอกเน่า และผลอ่อนร่วง

หากพบโรคเริ่มระบาดให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก และให้เก็บส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค หลีกเลี่ยงการตัดแต่งกิ่งในช่วงฤดูหนาวที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง หรือช่วงที่ฝนตกชุก เพราะโรคจะระบาดรวดเร็วและรุนแรง อีกทั้งไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนสูงเกินไป เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอต่อการเกิดโรค กรณีพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำออกไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ เพื่อป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้างองุ่น และ ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิต้านทาน ส่งเสริมผลผลิต
11 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 1 หน้า, หน้าที่ 2 มี 1 รายการ
|-Page 1 of 2-|
1 | 2 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
🔥 ไอเอส ยาอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา โรคใบไหม้ โรคใบแห้ง โรคราสนิม โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด
Update: 2564/02/07 13:59:32 - Views: 3180
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 ปุ๋ยโพแทสเซียม : ตัวช่วยเพิ่มผลผลิตแก้วมังกรของคุณ ขยายขนาดผล เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพผลผลิต
Update: 2567/03/05 09:55:07 - Views: 110
เยี่ยมไร่อ้อยของท่านนายกสมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหาร
Update: 2553/02/20 10:47:38 - Views: 2990
คำนิยม - ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเชื้อรา ใช้ดี ลูกค้าซื้อซ้ำต่อเนื่อง
Update: 2563/03/04 13:14:16 - Views: 3084
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราน้ำค้าง ในดอกดาวเรือง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2565/12/28 14:51:58 - Views: 3051
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 ตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้ต้นมะพร้าวน้ำหอมของคุณออกผลดก ผลใหญ่ คุณภาพดี
Update: 2567/03/09 14:54:25 - Views: 134
มะกอก ใบจุด ใบร่วง กำจัดโรคมะกอก จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/06 09:49:46 - Views: 3141
การป้องกันกำจัด เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยต้นทุเรียน
Update: 2566/05/06 08:15:02 - Views: 11822
ปุ๋ยเร่งผลเมล่อน ปุ๋ยเมล่อน ผลโต น้ำหนักดี คุณภาพสูง ให้ ธาตุ โพแทสเซียม ถึง 40% สำหรับเร่งผลโดยเฉพาะ
Update: 2565/02/10 00:36:33 - Views: 3035
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: พัฒนาต้นพริกไทยในทุกช่วงอายุ
Update: 2567/02/12 14:43:04 - Views: 148
มะละกอผลเน่า มะละกอใบไหม้ ราขาวมะละกอ ราดำมะละกอ ควบคุม ป้องกันกำจัด ก่อนโรคจะสร้างความเสียหาย
Update: 2566/11/04 19:44:55 - Views: 8158
โรคเชื้อราในต้นแคคตัส: วิธีป้องกันและการรักษา
Update: 2566/11/20 09:00:46 - Views: 257
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เทคโนโลยีสุดล้ำสำหรับปรับปรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของทุเรียน
Update: 2567/02/13 09:58:27 - Views: 200
เสาวรส ใบไหม้ ผลจุดสีน้ำตาล กำจัดโรคเสาวรส จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/31 10:54:03 - Views: 3100
นกชนหิน ( Helmeted Hornbill , Rhinoplax vigil)
Update: 2564/04/30 08:13:18 - Views: 3039
การเลือกซื้อ ดาบ คาตานะ ดาบซามูไร ให้ได้คุณภาพดี ในราคาไม่แพง
Update: 2566/10/28 12:32:08 - Views: 9180
เตือน!! ระวังเพลี้ยแป้ง บุก สวนมะปราง สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร?
Update: 2566/11/01 10:47:05 - Views: 405
การปกป้องผลผลิตแตงโม การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อรา
Update: 2566/04/29 10:06:47 - Views: 3012
กำจัด เพลี้ยหอยเกล็ด ศัตรูพืชในต้นทุเรียน มาคา สารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ
Update: 2566/05/20 12:55:59 - Views: 7865
สารออกฤทธิ์ฮิวมิคแอซิด: ฟาร์มิค - ฟื้นระบบรากและปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืช สำหรับต้นทับทิม
Update: 2567/02/13 09:34:47 - Views: 150
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022