<กลับหน้าค้นข้อมูล แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย แจ้งเนื้อหาไม่ตรงคำค้น แจ้งภาพเสีย แจ้งคุณภาพต่ำ

ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง

113.53.18.235 2564/04/10 11:02:37 , View: 4582, e
FK

FK


เลือกสินค้าได้เลยนะคะ (สั่งมากกว่าอย่างละ 1 ขวด โทร 090-592-8614 หรือ ไลน์ไอดี @FarmKaset นะคะ)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFKธรรมชาตินิยมกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
รวมชำระปลายทาง 0 บาท




สั่งซื้อมากกว่านี้ หรือนอกเหนือจากนี้ ติดต่อตามปุ่มด่านล่างที่คุณสะดวกได้เลยนะคะ

ส่งฟรีถึงบ้าน ไม่มีค่าจัดส่ง
เก็บเงินปลายทาง ไม่ต้องโอน สบายใจ





ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง

ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรคของไม้ดอกกระถาง หรืออาการผิดปกติซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ของแสดงอาการได้หลายแบบในเวลาเดียวกัน หรือแสดงอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งบนต้นพืชต้นเดียวกัน หรือปรากฏอาการบนส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของต้นพืช เช่น ปรากฏอาการเป็นแผลจุด แผลไหม้ อาการเน่า อาการเหี่ยว บนราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด หรืออาจปรากฏอาการทั้งต้น

อาการโรคของไม้ดอกไม้กระถาง มีลักษณะอาการผิดปกติได้ ดังนี้

1. อาการที่ราก

1.1 โรครากเน่า รากเกิดอาการเน่าดำหรือสีน้ำตาล เปลือกล่อนหลุดติดมือออกมา เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลาย เช่น โรครากเน่า เป็นต้น

1.2 โรครากปม รากจะมีอาการพองออกเป็นปม โดยจะพองออกจากภายในรากมิใช่พองออกมาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่น โรครากปมของเยอบีร่าและอาฟริกันไวโอเลท

1.3 โรครากแผล เกิดแผลไปตามความยาวของราก โดยมีรอยสีน้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม ต่อมาจะเป็นช่องทางให้เชื้อต่าง ๆ เข้าทำลายซ้ำเติมได้ดีขึ้น สาเหตุของรากแผลส่วนมากเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

1.4 โรครากกุด รากกุดสั้นเป็นกระจุก ไม่ยืดยาวออกตามปกติ เช่น โรครากกุดของเข็มญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

2. อาการที่ลำต้นและกิ่งก้าน

2.1 โรคเน่าคอดิน อาการแบบนี้ใช้เรียกเฉพาะกรณีที่เกิดกับต้นกล้า โดยจะพบแผลเน่าบริเวณโคนต้นที่อยู่ติดกับผิวดิน ทำให้ต้นหักล้มและแห้งตายเป็นหย่อม ๆ เช่น ต้นกล้าของไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดที่พบเน่าตายในแปลงเพาะกล้า โรคนี้เกิดจากเชื้อรา

2.2 โรคโคนเน่า อาการเน่ามีแผลเป็นสีน้ำตาลบริเวณโคนต้น ถ้าถากเปลือกดูจะเห็นว่าใต้เปลือกมีอาการเน่าเป็นสีน้ำตาล เช่น โรคโคนเน่าของปาล์มและกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนมากโรคนี้จะเกิดจากเชื้อรา

2.3 โรคลำต้นเน่า แผลที่พบบริเวณโคนต้นจะขยายลุกลามไปรอบลำต้น ทำให้เปลือกรอบ ๆ ลำต้นเน่า และต้นไม้ตายทั้งต้น หรือบางครั้งเชื้อเข้าทำลายบริเวณลำต้นที่มีความชื้นสูงอยู่เสมอ เช่น บริเวณคาคบไม้ โรคนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคลำต้นเน่าของโป๊ยเซียน เป็นต้น

2.4 โรคยางไหล จะมีอาการยางไหลออกมาจากลำต้น โดยบริเวณดังกล่าวจะมีรอยแผลช้ำ มียางไหลออกมาตามรอยแผลนั้น เช่น โรคยางไหลของแคคตัส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา

2.5 โรคปุ่มปม เกิดอาการเป็นก้อนปุ่มปมขึ้นบริเวณกิ่งและลำต้น ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

3. อาการที่ใบ

3.1 โรคใบจุด เกิดจุดแผลที่ใบ รูปร่างแตกต่างกันไปในรายละเอียด แล้วแต่สาเหตุที่เข้าทำลาย ขนาดของแผลเป็นเพียงจุดบนใบ อาจเกิดกระจายกันทั่วทั้งใบ ถ้าเกิดจุดแผลมาก ๆ อาจจะทำให้ใบแห้งได้ โรคใบจุดของพืชส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบจุดของเยอบีรา โรคใบจุดของกุหลาบ โรคใบจุดของเบจมาศ เป็นต้น

3.2 โรคใบไหม้ เกิดแผลแห้งตาย มีขนาดของแผลใหญ่กว่าอาการใบจุด ขอบเขตขอบแผลจะกว้างขวางกว่า การไหม้อาจเกิดที่กลางใบ ปลายใบ หรือขอบใบก็ได้ ส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ของเฟื้องฟ้า เป็นต้น

3.3 โรคราสนิมเหล็ก แผลขนาดเล็ก สีสนิมโผล่เป็นตุ่มออกมาจากใบพืช ลักษณะคล้าย ๆ กับสีสนิมเหล็ก เมื่อเอามือลูบดูจะมีสปอร์ของเชื้อราติดมือเป็นสีสนิมเห็นได้ชัด โรคนี้เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมของทานตะวัน เป็นต้น

3.4 โรคราน้ำค้าง อาการของโรคนี้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้คือ อาการราน้ำค้างในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มักพบอาการใบลายสีเหลืองเขียวสลับกันตามความยาวของใบ ถ้าอากาศชื้น ๆ อุณหภูมิพอเหมาะจะพบผงสปอร์ของเชื้อสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบ ในพืชตระกูลแตงจะเห็นใบมีอาการเป็นแผลจุดเหลี่ยมสีน้ำตาล ส่วนในพืชไม้ดอกต่าง ๆ จะเห็นเป็นใบจุดแผลสีเหลืองด้านบนใบ แต่ใต้ใบจะพบขุยสปอร์สีขาว ๆ โรคราน้ำค้างที่สำคัญ เช่น โรคราน้ำค้างของกุหลาบ เป็นต้น

3.5 โรคราแป้งขาว โรคนี้เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบผงแป้งสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบคล้าย ๆ กับเอาแป้งไปโรย ขึ้นปกคลุมกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของใบหรือทั่วทั้งใบ ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย เช่น โรคราแป้งของบานชื่น และโรคราแป้งของกุหลาบ เป็นต้น

3.6 โรคแอนแทรคโนส ใบที่เกิดโรคนี้จะเป็นแผลแห้งสีน้ำตาล ส่วนมากจะเห็นเชื้อรามีลักษณะเรียงเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ค่อนข้างชัดเจน ในพืชบางชนิดโรคนี้เกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง และผล สาเหตุเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสของกล้วยไม้ มะลิ หน้าวัว เป็นต้น

3.7 โรคราดำ ใบที่เกิดโรคนี้จะมีผงคล้ายเขม่าดำคลุมผิวใบหรือส่วนอื่น ๆ ของพืช เมื่อใช้มือลูบจะหลุดออก เพราะเชื้อราชนิดนี้จะไม่แทงเข้าไปในใบพืช เพียงแต่ขึ้นปกคลุมผิวใบ ส่วนมากพบหลังการทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่นและแมลงหวี่ขาว เพราะราชนิดนี้จะขึ้นเจริญบนน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา

3.8 โรคเน่าเละ อาการคือ เน่าเละสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็นรุนแรง เกิดได้ทั้งลำต้น ราก หัว และใบของพืช เมื่อเป็นโรคนี้พืชจะเน่าเละทั้งต้น หรือทั้งหัว สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละของกล้วยไม้รองเท้านารี แคคตัส โป๊ยเซียน เป็นต้น

3.9 โรคใบด่าง อาการใบด่างมีหลายลักษณะแล้วแต่สาเหตุที่ทำให้ด่าง อาจเกิดจากเชื้อไวรัส ขาดธาตุอาหาร หรือลักษณะกลายพันธุ์ของพืช สำหรับอาการใบด่างที่เกิดจากไวรัสส่วนมากมีสีเหลืองสลับเขียว เนื้อใบไม่เรียบ เป็นคลื่น และใบมีรูปร่างผิดปกติ เช่น โรคใบด่างเหลืองของฟิตูเนีย โรคใบด่างของกุหลาบ โรคใบด่างของมะลิ เป็นต้น

3.10 โรคแตกพุ่มฝอย บริเวณยอดจะแตกเป็นพุ่มฝอย โดยมีใบเล็ก ๆ รวมกันเป็นกระจุก โรคนี้เกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา เช่น โรคแตกพุ่มฝอยของเยอบีรา ดาวเรือง เป็นต้น

4. อาการที่ดอก

พบอาการคล้าย ๆ กับที่เกิดบนใบ เช่น โรคดอกจุด ดอกไหม้ ดอกด่าง ดอกบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดอกเน่า และแอนแทรคโนส เป็นต้น โรคพวกนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส เช่น โรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคดอกด่างของแคทลียา โรคดอกเน่าของหน้าวัว เป็นต้น

5. อาการที่เกิดกับพืชทั้งต้น

5.1 โรคเหี่ยว ต้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น การเกี่ยวเนื่องจากการขาดน้ำเมื่อได้น้ำก็จะฟื้นปกติ อาการเหี่ยวใบเหลืองลู่เนื่องจากเชื้อราไปทำลายท่อน้ำและอาหารของพืช อาการเหี่ยวแต่ใบยังเขียวอยู่ระยะหนึ่ง คือแมื่อแดดจัดก็จะเหี่ยว ต่อมาเมื่ออากาศเย็นลงก็จะฟื้นปกติ เป็นอยู่ระยะหนึ่งต่อจากนั้นก็จะเหี่ยวอย่างถาวร โรคนี้เกิดจากการทำลายของเชื้อราหลายชนิด และเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น โรคเหี่ยวของฟิตูเนีย โรคเหี่ยวของบานชื่น โรคเหี่ยวของกล้วยไม้ โรคเหี่ยวของมะลิ เป็นต้น

5.2 ต้นพืชแคระแกร็น ต้นพืชจะแสดงอาการแคระแกร็นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ดีพอ มีไส้เดือนฝอยหรือแมลงกัดทำลายราก หรือมีเชื้อโรคบางชนิด เช่น ไวรัสเข้าทำลาย ทำให้ต้นพืชไม่สามารถเจริญเติบโตตามปกติได้ มีดอกและผลน้อย

5.3 ต้นพืชเติบโตผิดปกติ โดยต้นที่เป็นโรคจะยืดสูงกว่าต้นปกติ สีเขียวอ่อนและไม่ออกดอก อาจเกิดเนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่ผิดปกติ หรือต้นพืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปก็จะทำให้เฝือใบ ไม่ออกดอก เป็นต้น

Reference: baanjomyut.com




ยาป้องกัน กำจัด โรคพืช และแมลงศัตรูพืช

ชุดคุ้มค่า ป้องกันกำจัดโรคพืช FKT+IS


FK-3 ที่สุด.. ของ ปุ๋ยเร่งผล ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก


FK-1 ที่สุด.. ของ ปุ๋ยเร่งโต


อัตราผสม

รีวิวยาอินทรีย์

สารอินทรีย์ปลอดภัย รีวิว

ประสบการผู้ใช้ ยาอินทรีย์

ยาอินทรีย์ดีดี

การจัดส่ง ยาอินทรีย์
ติดตามสินค้าที่คุณสั่ง
คุณ บุษกร คำผาลา, Friday 19 April 2024 13:57:14, เลขจัดส่ง SMAM000198031RW
คุณ ธนศักดิ์ ขวัญสุด, Friday 19 April 2024 13:35:55, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ธรรมนูญ, Friday 19 April 2024 13:34:52, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ณัฐวุฒิ พิกุลหอม, Friday 19 April 2024 13:33:49, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ไมตรี พนันชัย, Friday 19 April 2024 13:31:58, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ นิยดา เจริญสุข, Friday 19 April 2024 13:23:50, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ธนวิน บุญมาทัน, Friday 19 April 2024 13:22:10, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ทรรศภูมิ ดาผา, Friday 19 April 2024 13:20:52, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ สังวาลย์ บุเงิน, Friday 19 April 2024 13:19:31, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ มารุต อินทร์อวยพร, Friday 19 April 2024 13:18:09, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
ดูรายการจัดส่งทั้งหมด
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคพืชที่เกิดในหน้าหนาว ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคเน่า เชื้อราต่างๆ ฯลฯ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัย
Update: 2566/07/13 11:22:43 - Views: 295
แก้โรคทุเรียนใบไหม้ ทุเรียนใบติด รักษาอาการทุเรียนใบไหม้ โรคใบติดทุเรียน ด้วยการฉีดพ่น ยับยั้งการระบาดของเชื้อรา
Update: 2563/07/02 14:34:05 - Views: 3970
การกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพ คาร์รอน (Diuron 80% WG) สู่สวนส้ม
Update: 2567/02/13 09:21:06 - Views: 102
ยาฆ่าเพลี้ยไฟ แมลงจำพวกปากดูด ใน มะนาว เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:10:56 - Views: 2994
การต่อสู้กับโรคแอนแทรคโนสในกระเจี๊ยบเขียว
Update: 2566/05/15 11:40:10 - Views: 2948
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใน ดอกมะลิ เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดยไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/26 14:03:05 - Views: 2939
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราน้ำค้าง ในข้าวโพด ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/27 12:29:06 - Views: 2986
เพลี้ยในต้นพริก: วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาเพลี้ยในการเพาะปลูกพริก
Update: 2566/11/17 10:17:42 - Views: 285
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราเม้ดผักกาด ในบอนสี ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/07 13:50:26 - Views: 3045
การใช้ปุ๋ยทางใบเพิ่มผลผลิตมะพร้าวในสวนมะพร้าว
Update: 2566/11/16 10:14:12 - Views: 199
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนกระทู้ผัก ใน ดอกดาวเรือง และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/09 14:11:46 - Views: 2993
ยารักษาโรคกะเพราใบจุด กะเพราใบไหม้ ใบแห้ง โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/10/10 00:48:22 - Views: 3209
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราดำ ในมะนาว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/21 10:03:36 - Views: 3765
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
Update: 2564/08/09 05:46:38 - Views: 3706
การป้องกันและกำจัด โรคใบจุดมุม โรคจุดด่างในแตงกวา ด้วยสารอินทรีย์
Update: 2566/01/12 09:45:21 - Views: 3006
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ แมลงศัตรู ผักสลัด ผักไฮโดรโปนิกส์ และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/09 10:52:21 - Views: 3111
เคล็ดลับการใช้ปุ๋ยทางใบมะนาว: การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมะนาวด้วยวิธีทางใบ
Update: 2566/11/09 13:58:29 - Views: 242
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
Update: 2564/08/19 07:11:23 - Views: 3285
ไบโอเทคพัฒนาวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อินทผลัม
Update: 2564/11/18 18:01:59 - Views: 2960
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: การปฏิวัติการเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนของดินและพืช
Update: 2567/02/13 09:39:38 - Views: 99
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022