ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 7010 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย

data-ad-format="autorelaxed">

ไทย ไฟเขียวเนเธอร์แลนด์นำเข้าเนื้อวัว-เนื้อลูกวัวขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟักหลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรี่เมี่ยม

 

สถานทูตเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ณ กรุงเทพฯ ได้จัดแถลงข่าวเรื่องกรมปศุสัตว์ของไทย อนุญาตอย่างเป็นทางการ นำเข้าเนื้อลูกวัว (Veal) และ เนื้อวัว (Beef) จากประเทศเนเธอร์แลนด์ มายังประเทศไทย และการขยายระยะเวลาการนำเข้าลูกไก่ (Day-Old-Chick) และไข่ฟัก (Hatching Egg) จากเนเธอร์แลนด์มายังประเทศไทยอย่างเป็นทางการ อันเป็นผลจากความพยายามทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ เพื่อส่งเสริมการค้าและนวัตกรรมด้านปศุสัตว์ระหว่างไทยกับเนเธอร์แลนด์ ให้เข้มแข็งในระดับนานาชาติ

 

ทั้งนี้ มร.พอล เม้งเฟล (H.E. Mr. Paul Menkveld) อุปทูตเนเธอร์แลนด์ (Charge’ d’affaires a.i.) กล่าวว่า เนเธอร์แลนด์ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารอันดับสองของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกา) ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการเกษตรและอาหารในระดับโลก ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและกระชับความร่วมมือกับประเทศไทยด้านการค้า การลงทุน และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่ทั้งสองประเทศต่างก็เป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก 

 

ขณะที่ มร.อารีย์ เวลเฮาเซ่น (Arie Veldhuizen) ทูตเกษตรของเนเธอร์แลนด์ กล่าวเสริมว่า หลังจากการระบาดของโรควัวบ้าในยุโรปเมื่อหลายปีก่อน การส่งออกและนำเข้าสินค้าเนื้อวัวระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ได้หยุดชะงักไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและเนเธอร์แลนด์ ได้แสวงหาความร่วมมือ เพื่อแก้ไขสถานการณ์คณะของกรมปศุสัตว์ของไทยได้ตอบรับคำเชิญของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในการเดินทางไปตรวจสอบระบบห่วงโซ่การผลิตและควบคุมเนื้อวัว ตลอดจนผลิตภัณฑ์เนื้อวัว ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ อันเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเนื้อวัวและเนื้อลูกวัวที่ผลิตและส่งออกโดยเนเธอร์แลนด์ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในไทยอย่างแท้จริง

 

อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย คณะของกรมปศุสัตว์ได้เดินทางไปตรวจสอบระบบห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมไก่ทั้งระบบของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในปี 2560 กรมปศุสัตว์ของไทยได้อนุมัติอย่างเป็นทางการสำหรับการส่งออกลูกไก่และไข่ฟัก จากเนเธอร์แลนด์ มายังประเทศไทย อันเป็นผลจากความพยายามทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของไทยและเนเธอร์แลนด์ ขั้นตอนสุดท้ายคือกระบวนการด้านเอกสารสุขภาพสัตว์ (Veterinary or Health Certificate) Click here to enter text.เพื่อการส่งออกเนื้อลูกวัว เนื้อวัว ลูกไก่ และไข่ฟัก จากเนเธอร์แลนด์มาไทยก็ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทั้งสองประเทศ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ต้องขอขอบคุณ กรมปศุสัตว์ของไทย ที่ตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนอนุมัติอย่างเป็นทางการ ผู้บริโภคของไทยจึงสามารถมั่นใจเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าปศุสัตว์ ที่ส่งออกจากเนเธอร์แลนด์

 

ด้าน นสพ.วัชรพล โชติยะปุตตะ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ ในฐานะตัวแทนของกรมปศุสัตว์ ได้กล่าวแสดงความยินดีที่เนเธอร์แลนด์ ได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการให้สามารถส่งสินค้าเนื้อลูกวัว เนื้อวัว ลูกไก่ตลอดจนไข่ฟัก มายังประเทศไทยได้ อันเป็นผลจากร่วมมืออย่างใกล้ชิดของรัฐบาลทั้งสองประเทศ อีกทั้งยังมั่นใจว่าทั้งไทยและเนเธอร์แลนด์จะยังคงร่วมมือทำงานอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขี้น ในการส่งเสริมการค้าและเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ของทั้งสองประเทศในตลาดโลก โดยกรมปศุสัตว์ของไทยพร้อมให้การสนับสนุนทุกฝ่ายอย่างเต็มที่

 

ศาสตราจารย์ ดร. อัล ไดเฮาเซ่น (Prof. Dr. Aalt Dijkhuizen) ประธานคณะกรรมการเกษตรและอาหาร เนเธอร์แลนด์ ได้กล่าวบรรยายพิเศษระหว่างการแถลงข่าวว่า  เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศขนาดเล็ก ด้วยพื้นที่ 45,000 ตารงกิโลเมตร จำนวนประชากร 17 ล้านคน แต่เป็นผู้ส่งออกอาหารอันกับสองของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง สาขาเกษตรและอาหารที่สำคัญของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ สินค้าพืชสวนในระบบโรงเรือน โคนม เนื้อลูกวัว หมู และ ไก่ ประมาณร้อยละ 70 ของสินค้าเกษตรและอาหารที่เนเธอร์แลนด์ผลิตได้จะเป็นเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมอาหารก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณร้อยละ 10 ของการจ้างงานทั้งประเทศ จำนวนประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่งผลต่อความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความต้องการอาหารจากแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง (นมโค เนื้อสัตว์ และ ผัก) ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติมีปริมาณจำกัด การเพิ่มผลผลิตด้านเกษตรและอาหารต้องดำเนินบนหลักการ "ผลิตให้ได้มากกว่า ด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยกว่า" (More with Less) แนวโน้มการผลิตอาหารในอนาคตคือผลิตให้ได้มากขึ้นบนวิถีที่ยั่งยืน โดยการใช้ที่ดินน้อยลง จากความเข้าใจเดิม ๆ ที่ว่าการผลิตปศุสัตว์นั้นก่อให้เกิดมลภาวะจากการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูงกว่าการผลิตพืชอาหาร จริง ๆ แล้วแทบไม่มีความแตกต่างกันเลยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้านวัตกรรมการเลี้ยงไก่ในปัจจุบัน มีความยั่งยืนสูงมาก ผลการวิจัยเปรียบเทียบปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อการผลิตหนึ่งกิโลกรัม เนื้อหมู เนื้อไก่ เมล็ดมะม่วงหิมพาน เต้าหู้ มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 4.5 ; 2.6 ; 2.3 ; 2.0 กิโลกรัม ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ปัจจุบันมีความยั่งยืนและก้าวหน้าด้านนวัตกรรมอย่างเด่นชัด ปัจจุบันมีปริมาณไก่ทั่วโลกประมาณ 56 ล้านตัว 

 

ภายในอีกสิบปีข้างหน้าหรือปี 2050 ถ้าเรายังผลิตไก่ด้วยนวัตกรรมของปัจจุบัน ความต้องการไก่ คือ 131 พันล้านตัว ในทางกลับกันถ้าหากการเลี้ยงไก่ได้รับการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ความต้องการไก่จะเหลือ 100 พันล้านตัว หมายความว่า-สามารถลดการใช้อาหารสัตว์ได้ 147 ล้านตัน - ลดการใช้ที่ดิน 40 ล้านเฮกตาร์ (ประมาณ 2 ใน 3 ของขนาดพื้นที่ประเทศไทย) - ลดการใช้น้ำ 290 พันล้านลิตร การผลิตด้านเกษตรและอาหารของเนเธอร์แลนด์ตั้งบนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้น

 

มร.พอล เบลท์แมน (Mr. Paul Beltman) ผู้แทนจากสมาคมเนื้อแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ (Dutch Meat Association) กล่าวถึงคุณภาพเนื้อลูกวัวจากเนเธอร์แลนด์ว่า เนเธอร์แลนด์เป็นผู้ผลิตเนื้อลูกวัวรายใหญ่ที่สุดของโลก ร้อยละ 70 ของเนื้อลูกวัวที่ผลิตได้จะส่งออกไปทั่วโลก โดยมีตลาดสหภาพยุโรปเป็นตลาดหลัก แต่ละขั้นตอนของการเลี้ยงและการผลิตเนื้อลูกวัวแต่ละตัวในทุก ๆ ฟาร์ม ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยหน่วยงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ และความปลอดภัยด้านอาหารของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ มีการตรวจสอบเรื่องความคุณภาพและมาตรฐานโดยหน่วยงานอิสระระดับนานาชาติ อย่างครบวงจร สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุก ๆ ขั้นจนถึงวัวแต่ละตัว ณ ฟาร์มเลี้ยง  

 

รวมทั้งมีมาตรการการลงโทษในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายข้อบังคับเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัย ครอบคลุมตั้งแต่ฟาร์ม โรงงานอาหารสัตว์ จนถึงโรงเชือด ปัจจุบันกลุ่มบริษัทแวนดรี (VanDrie Group) คือผู้ผลิตและส่งออกเนื้อลูกวัวรายใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ กลุ่มบริษัทแวนดรี มีพนักงานทั้งสิ้น 2,250 คน โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงในเครือข่าย 1,100 ราย ความต้องการลูกวัวเพื่อป้อนให้แก่โรงเชือดของบริษัทในแต่ละปีมีจำนวน 1.5 ล้านตัว จัดเป็นผู้ผลิตและส่งออกเนื้อลูกวัวรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก นอกจากนี้บริษัทยังประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้านปศุสัตว์ โดยเฉพาะการผลิตเนื้อลูกวัว และอุตสาหกรรมโคนมได้แก่  - ผลิตอาหารหยาบสำหรับเลี้ยงสัตว์ 184,000 ตัน ต่อปี  - ผลิตนมผงสำหรับเลี้ยงลูกโค 450,000 ตัน ต่อปี  - ปริมาณการค้าสินค้าวัตถุดิบจากนมโค 175,000 ตัน ต่อปี - ส่งออกไป 60 ประเทศทั่วโลก จากฐานการผลิต ในสี่ประเทศ (เนเธอร์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม) 

 

ในส่วนของบริษัท เอโกร (EKRO) เป็นหนึ่งในบริษัทลูกของกลุ่มแวนดรี เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 มีกำลังการผลิต 425000 ตัว (ลูกวัว) ต่อปี หรือ 140 ตันเนื้อถอดกระดูกต่อวัน มีพนักงาน 450 คน ลูกค้าในแถบเอเชียได้แก่ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ และประเทศไทย เนื้อลูกวัวมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับอาหารที่ใช้เลี้ยง เช่นเลี้ยงด้วยนมโคเป็นหลัก และเสริมอาหารพิเศษเพื่อช่วยเรื่องการย่อย เนื้อลูกโคจะมีสีชมพูอ่อน ๆ กลิ่นหอมแบบครีมนม เนื้อชุ่มและนุ่มมาก แต่ราคาสูง แต่ถ้าเลี้ยงด้วยนมโคและอาหารหยาบแบบครึ่งต่อครึ่ง จะได้เนื้อที่เป็นสีกุหลาบ นุ่ม แต่ราคาย่อมเยา เป็นต้น โดยสรุปเนื้อลูกวัวจากเนเธอร์แลนด์จัดเป็นสินค้าพรีเมี่ยม

 

ขณะที่ นสพ.พรศักดิ์ หิรัญพัธวงศ์ ผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัทเฮดริกซ์ จีเนติก (Hendrix Genetics B.V.) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้กล่าวเน้นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมไก่ของเนเธอร์แลนด์ ที่มีต่ออุตสาหกรรมไก่ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่เรื่องของพันธุกรรม อาหาร เทคโนโลยีการเลี้ยงในฟาร์ม การจัดการสุขภาพไก่ หากกล่าวเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมไก่ เนเธอร์แลนด์ นั้นเป็นผู้นำระดับโลก โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า ร้อยละ 75 ครอบคลุมตั้งแต่เครื่องฟักไข่ เครื่องคัดแยกไข่ เครื่องจักรในโรงเชือด โรงเรือนเลี้ยงไก่และระบบการควบคุม เป็นต้น แนวโน้มทางการตลาดของเนื้อไก่คือผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีความยั่งยืน มีความหรูหรา (พรีเมี่ยม) และ มีความเด่นชัดด้านนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น เนื้อไก่และไข่ที่ปลอดเชื้อซามอนเนลล่า เนื้อไก่ที่อุดมด้วยโอเมก้า-3 เป็นต้น บริษัทเฮนดริกซ์ จีเนติก ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมพันธุศาสตร์ไก่งวงและไก่ไข่ ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่แตกต่างกันกว่า 11 แบรนด์ ปัจจุบันเป็นผู้นำธุรกิจด้านพันธุกรรมครอบคุมไก่ไข่ ไก่งวง หมู ไก่พื้นเมือง และปลา

 

source: naewna.com/local/305402


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 7010 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7010
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7096
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 6753
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 7855
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6298
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5565
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 5867
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>