ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 11539 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การส่งออกปลากัด

การส่งออกปลากัด - ขั้นตอนสำหรับผู้ส่งออกปลากัดรายใหม่ ความต้องการทางการตลาด วิธีการส่งออก มีขั้นตอนอย่างไร?

data-ad-format="autorelaxed">

การส่งออกปลากัด

การส่งออกปลากัด

พื้นฐานของผู้ส่งออกปลากัด

ผู้ส่งออกปลากัดส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีใจรักและสนใจปลากัดมาตั้งแต่วัยเด็ก มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติที่เป็นลูกค้าได้เป็นอย่างดี และยังเป็นผู้ที่มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

ขั้นตอนสำหรับผู้ส่งออกปลากัดรายใหม่

ในการเริ่มต้นธุรกิจส่งออกปลากัดนั้น ธุรกิจปลาสวยงาม สำหรับผู้ที่สนใจจะต้องมีการติดต่อขอรับใบอนุญาตการค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หรืออุตสาหกรรมสัตว์น้ำ (ใบอนุญาต 6) ณ ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากรประมง กองอนุรักษ์ทรัพยากรประมง หรือที่สำนักงานประมงทุกจังหวัด โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (บุคคลธรรมดา) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (นิติบุคคล) หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีที่ไม่สามารถมาได้ด้วยตนเอง) โดยต้องยื่นคำขอล่วงหน้าก่อนการส่งออกไม่น้อยกว่า 3 วัน

จากนั้นจะมีการตรวจมาตรฐานฟาร์ม เพราะเป็นสินค้าส่งออกจึงจำเป็นต้องเป็นฟาร์มที่มีการจัดการดี เพื่อให้ปลามีสุขภาพดี ปลอดจากโรคต่างๆ โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมประมงมาทำการตรวจสุขาภิบาลฟาร์ม และสุ่มตัวอย่างปลามาทำการตรวจวินิจฉัยโรค ประมาณ 2-4 ครั้งต่อปี แต่ในบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การส่งปลาจำเป็นที่จะต้องมีใบรับรองคุณภาพสัตว์น้ำประกอบการส่งออกด้วย

ความต้องการทางการตลาด

ตลาดที่รองรับปลากัดสวยงามมีอยู่ทั่วทุกทวีป แต่ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือ ยุโรปออสเตรเลีย และเอเชีย โดยปลากัดที่ตลาดต้องการส่วนใหญ่จะเป็นปลากัดหางยาวประเภทพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว (Halfmoon) เรื่องสีสันของปลากัดนั้นไม่มีสีหรือรูปแบบของสีที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความแปลกใหม่ของปลากัด ส่วนในเรื่ององค์ประกอบต่างๆ นั้น ครีบทุกส่วนควรอยู่ในรูปแบบที่ครบสมบูรณ์ ทางด้านปลากัดต่อสู้นั้นยังไม่ได้รับความนิยมจากตลาด เนื่องจากต่างชาติไม่รู้จักกติกาในการแข่งขันกัดปลา อีกทั้งยังเห็นว่าเป็นการทารุณ โหดร้าย และทรมานสัตว์ จากการสัมภาษณ์พบว่า ไม่เพียงแต่ปลากัดหางยาวประเภทพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เท่านั้นที่ตลาดต้องการและขายได้ราคาดี ปลากัดยักษ์ก็ถือเป็นปลากัดที่ขายได้ราคาดี เมื่อคิดเทียบกับจำนวนปลาที่ส่ง ปลากัดยักษ์ไม่ใช่ปลากัดชนิดใหม่แต่อย่างใด ปลากัดยักษ์เป็นปลาที่พัฒนาขึ้นมาเมื่อหลายปีก่อน แต่ไม่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากต่างชาติคิดว่ามีการใช้สารสเตอรอยด์ในการเร่งให้ปลากัดมีขนาดใหญ่กว่าปกติ


วิธีการส่งออกปลากัด

วิธีการส่งออกปลากัดที่ทำในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ

การส่งออกโดยผู้เพาะเลี้ยงเป็นผู้ส่งออกเองโดยตรง ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ

การติดต่อซื้อขายนั้นจะเป็นการขายตรง คือ ผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีการพบปะกันซึ่งหน้า โดยที่ผู้ซื้อจะต้องได้เห็นสินค้าก่อนการตัดสินใจซื้อ ตกลงราคากันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทางเจ้าของฟาร์มจะเป็นผู้บรรจุปลาให้ จากนั้นผู้ซื้อจะนำกลับประเทศเอง

การติดต่อซื้อขายกับลูกค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจมีการทำเว็บไซต์ส่วนตัวขึ้นมา และถ่ายภาพปลาเพื่อเอาไปขึ้นในเว็บไซต์ เป็นการแสดงสินค้าพร้อมทั้งตั้งราคาขาย แต่การมีเว็บไซต์เป็นของตนเองนั้น มีข้อจำกัดอยู่ที่ต้องมีการอัพเดตข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งรูปปลาในเว็บไซต์ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ในการซื้อขายปลากัดผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้นอาจจะไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองก็ได้ แต่ใช้วิธีเข้าไปพูดคุยในกระทู้เกี่ยวกับปลากัดที่มีอยู่มากมายทั่วโลก โดยเริ่มจากการติดต่อกันผ่านทางอีเมล์หรือออนไลน์ผ่าน MSN แล้วเสนอขายสินค้า ตกลงราคา หรืออาจจะทำผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดขึ้นเพื่อการประมูลซื้อขาย (Bid)

การส่งออกโดยผ่านทางผู้รวบรวมปลา ซึ่งมีทั้งบริษัทที่รวบรวมปลาเพื่อส่งออกโดยเฉพาะ เป็นการรับซื้อปลาจากฟาร์มที่เป็นทั้งฟาร์มส่งออกหรือเป็นฟาร์มที่ขายในประเทศ ซึ่งจะคัดเฉพาะปลากัดที่มีความสวยงามเท่านั้น โดยต้องเป็นฟาร์มที่มีมาตรฐาน ผ่านการตรวจรับรองจากทางกรมประมง ผู้รวบรวมปลาอาจเป็นผู้ที่เพาะเลี้ยงเองด้วยและเป็นผู้รวบรวมด้วย ในกรณีที่มีปริมาณการสั่งซื้อมากเกินกำลังการผลิต ซึ่งในกรณีนี้การติดต่อซื้อขายกับลูกค้านั้นจะทำผ่านทางอินเตอร์เน็ตเช่นเดียวกันแต่ในบางรายผู้รวบรวมปลาไม่ได้มีการเพาะเลี้ยงปลาเลย ใช้วิธีการซื้อมาแล้วขายไปเพียงอย่างเดียว

รูปแบบการจ่ายเงิน

รูปแบบการจ่ายเงินมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีการ คือ

การจ่ายเงินผ่านระบบ Bank to bank เป็นการจ่ายเงินโดยการโอนผ่านจากธนาคารต่างประเทศทางฝ่ายลูกค้ามายังธนาคารในประเทศที่ผู้ส่งออกได้เปิดบัญชีไว้ แต่การจ่ายเงิน ระบบนี้มีข้อเสียตรงความล่าช้า ทำให้การขนส่งปลาต้องล่าช้าออกไปอีก
การจ่ายเงินผ่านระบบ Western union เป็นบริการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลกของตัวแทน Western union เงินจะถึงมือผู้รับภายในไม่กี่นาที โดยผู้รับไม่ต้องมีบัญชีกับธนาคาร Western union จึงเป็น วิธีส่งและรับเงินที่สะดวก รวดเร็ว และเชื่อใจได้ แต่เสียค่าธรรมเนียมสูง

การจ่ายเงินด้วยระบบ Paypal เป็นการจ่ายเงินที่มีความสะดวกและรวดเร็วที่สุดสำหรับลูกค้า โดย Paypal Inc. (www.paypal.com) เป็นบริษัทออนไลน์ที่ให้บริการระบบโอนและชำระเงินผ่านอีเมล์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค โดยผู้ที่ต้องการใช้บริการโอนหรือชำระเงินผ่านเครือข่ายบริการของ Paypal ต้องลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของ Paypal ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการเปิดระบบนี้ขึ้น ดังนั้นจึงต้องให้ผู้ที่ไว้ใจได้เปิดบัญชีจากต่างประเทศแล้วนำเอาเลขบัญชี (Account) มาใช้
PayPal

การบรรจุ

การบรรจุปลากัดลงในถุงนั้น เริ่มจากการคัดขนาดปลาใส่ถุงตามความเหมาะสมกับขนาดถุงที่เตรียมไว้เพื่อส่งออก ในการบรรจุปลาเพื่อเตรียมส่งออกนั้น ในแต่ละฟาร์มใช้หลักการเดียวกันหมด คือ กล่องโฟมที่ใช้จะมีขนาดมาตรฐานคือ 60x45x30 เซนติเมตร โดยเริ่มจากใส่น้ำลงในถุงพลาสติกชั้นในสุดไม่เกิน 1 ใน 3 ของถุง นำปลาใส่ถุง ปลากัดเป็นปลาที่อดทน ใช้ออกซิเจนในการหายใจน้อย จึงไม่ต้องใส่ออกซิเจนลงไปในถุง มัดปากถุงให้แน่น เช็ดนอกถุงให้แห้งสนิท นำถุงเปล่ามาซ้อน 3 ชั้น มัดปากถุงแยกแต่ละถุง นำไปใส่ในกล่องโฟมและปิดด้วยเทป หุ้มกล่องด้วยถุงพลาสติกขนาดใหญ่อีกชั้น แล้วใช้เทปปิดถุงพลาสติกส่วนที่เกินออกมาให้สนิทกับตัวกล่อง ในกรณีที่ส่งทาง Air cargo ส่วนการส่งทาง EMS ก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่ต้องใส่ปลาลงในกล่องไปรษณีย์พร้อมจ่าหน้าถึงลูกค้า

รูปแบบการขนส่งปลาธุรกิจปลาสวยงาม

การขนส่งปลากัดไปยังต่างประเทศนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีก็คือ การขนส่งผ่านทาง Air cargo และ
ผ่านทาง EMS โดยจะเลือกใช้ Air cargo ก็ต่อเมื่อปริมาณการสั่งซื้อมากพอ เพราะระบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งแต่ละครั้งค่อนข้างมาก แต่ก็มีความสะดวก สบาย เพราะทางบริษัทที่รับทำ Air cargo จะจัดการให้ทั้งหมด ตั้งแต่การนำมาปลาไปตรวจโรค ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาให้กับผู้ส่งออก เพราะการนำปลาไปตรวจโรคเองนั้นต้องเสียเวลาอย่างน้อย 1 วัน จนกระทั่งส่งปลาไปยังสนามบินปลายทาง แต่การส่งผ่านทาง Air cargo นั้น ต้องมีผู้มารับช่วงต่อที่สนามบินปลายทางอีกทอดหนึ่ง โดยทำหน้าที่ในการรับสินค้าและกระจายสินค้า (Distributor) ไปยังลูกค้า โดยดูว่าปลาที่ส่งมาทั้งหมดนั้นเป็นของลูกค้ารายเดียวหรือไม่ ถ้าใช่จะส่งต่อไปยังลูกค้าทันที ถ้ามีลูกค้าจากหลายที่รวมอยู่ ไม่ใช่เป็นของลูกค้าเพียงรายเดียว ก็จะแกะกล่องและแยกส่งไปตามการสั่งซื้อที่ทางผู้ส่งออกได้ระบุรายละเอียดเอาไว้ ส่วนการส่งทาง EMS นั้นถือว่าเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถส่งปลาได้ทันที โดยปลาที่ส่งไปจะถึงมือผู้ซื้อใช้เวลาประมาณ 3 วัน การส่งปลาทาง EMS นั้นจะใช้ในกรณีที่ปริมาณการสั่งซื้อมีน้อย ซึ่งต้องมีการบรรจุปลาอย่างดี เพื่อป้องกันการรั่วซึมของนํ้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้

ปัญหาและอุปสรรคในการส่งออก

ปัญหาหลักที่พบในการส่งออกปลากัดมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ

ปัญหาด้านการตัดราคา ส่งผลให้ไม่มีมาตรฐานในการตั้งราคาปลาสำหรับส่งออก ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียความน่าเชื่อในการส่งออกปลากัดของไทย ทำให้ปลากัดของไทยไม่มีมาตรฐาน ทั้งๆ ที่เป็นปลาที่มีเอกลักษณ์

ปัญหาด้านการจ่ายเงิน ยังไม่มีความสะดวกสบายเท่าที่ควร เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีระบบการจ่ายเงินแบบ Paypal ทำให้ต้องขอความช่วยเหลือ พึ่งพาต่างชาติ ในกรณีที่ไม่มีญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นข้อจำกัด
ปัญหาด้านภาษา นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง เพราะจำเป็นต่อการติดต่อสื่อสาร ซื้อขาย ต่อรอง ตกลงราคาต่างๆ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
     
มีความแตกต่างของระบบการส่งออกปลากัดที่พบในเอกสารอื่นๆ ในเรื่องความต้องการทางการตลาดนั้น ปัจจุบันปลากัดที่เป็นที่ต้องการของตลาดจะเป็นปลากัดหางยาวประเภทพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว และปลากัดยักษ์ โดยจะพิจารณาเรื่องของลักษณะของตัวปลาความครบสมบูรณ์ สวยงามของครีบประกอบด้วย แตกต่างกับบทความของยนต์ ที่กล่าวว่าปลากัดหม้อ ปลากัดป่า และปลากัดจีนเป็นปลาที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ในเรื่องของรูปแบบการส่งออก พบว่ารูปแบบของการส่งออกปลากัดนั้นจริงๆ แล้วมีเพียง 2 รูปแบบเท่านั้น คือ เจ้าของฟาร์มเป็นผู้ส่งออกเอง ซึ่งแบ่งได้เป็น การติดต่อซื้อขายกับลูกค้าโดยตรง และการติดต่อซื้อขายกับลูกค้าโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต และการส่งออกโดยผ่านทางผู้รวบรวม ปลา (ยี่ปั๊ว) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น การรวบรวมจากทางบริษัทส่งออกปลาสวยงาม ผู้รวบรวมเป็นผู้เพาะเลี้ยงด้วย และผู้รวบรวม และรับซื้อเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เพาะเลี้ยง จึงสามารถกล่าวได้ว่า การส่งออกปลากัดล้วนแต่เป็นการซื้อขายผ่านทางระบบเครือข่ายอิเลคทรอนิกส์ทั้งสิ้น ส่วนในเรื่องของขั้นตอนการส่งออกต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเหมือนกับที่กรมประมงได้กำหนดไว้แทบทั้งสิ้น เรื่องการขนส่งปลากัดไปยังต่างประเทศนั้นไม่ใช่ส่งได้แค่เพียงทางเครื่องบิน (Air cargo) เท่านั้น หากแต่ยังสามารถส่งปลาโดยใช้ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ได้อีกทางหนึ่งด้วย

ธุรกิจปลาสวยงามในเรื่องของปัญหาในการส่งออกหลักๆ มีอยู่ 3 ข้อ คือ
     
เรื่องระบบการจ่ายเงิน การตัดราคากัน และความรู้ทางด้านภาษา โดยต่างจากข้อมูลของ ธนากร ฤทธิ์ไธสง ที่กล่าวว่าปัญหาการขาดเที่ยวบินและการรวมกลุ่มตั้งราคาปลาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่จากศึกษาพบว่าการรวมกลุ่มเพื่อตั้งราคากลางในการส่งออกปลากัดนั้น ไม่ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะการส่งออกปลากัดนั้น การจะขายปลาได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งในเรื่องของชื่อเสียงของตัวผู้ส่งออกเอง คุณภาพ ความสวยงามของปลา ส่วนในเรื่องการช่วยเหลือจากรัฐบาล ผู้ส่งออกไม่ได้ต้องการอะไรจากรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหาตลาดหรือการส่งเสริมการส่งออกในด้านอื่นๆ เพราะในการส่งออกปลากัดนั้น ผู้ส่งออกสามารถดำเนินธุรกิจเพียงลำพังได้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพารัฐบาล เพียงแต่ต้องการให้รัฐบาลให้ความร่วมมือ และการอำนวยความสะดวกในเรื่องที่ต้องมีการติดต่อกับทางราชการ อีกทั้งยังต้องการความรวดเร็วในการปฏิบัติงานของทางหน่วยงานราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกปลากัด เพื่อที่ผู้ส่งออกจะได้ดำเนินการเกี่ยวกับขั้นตอนในการส่งออกในส่วนต่อๆ ไปได้อย่าง

ข้อมูลจาก lovebettafish.com

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 11539 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7012
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7096
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 6756
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 7856
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6301
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5565
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 5873
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>