ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่ข้าวโพด | อ่านแล้ว 14637 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

โรคที่เกิดกับข้าวโพด

เกษตรกรบางท่านยังไม่ทราบว่า โรคที่เกิดกับข้าวโพด มีความสำคัญที่สุด ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตของเกษตรได้..

data-ad-format="autorelaxed">

โรดที่เกิดจากข้าวโพด

โรคที่เกิดกับข้าวโพด โรคราน้ำค้าง (Peronosclerospora sorghi) เข้าทำลายข้าวโพดตั้งแต่งอกจนถึงอายุประมาณ 1 เดือน ในระยะที่มีฝนตกชุก ลักษณะอาการเป็นทางยาวสีเหลืองแคบ ๆ ไปตามความยาวของใบ หรือเป็นแบบsystemic เห็นเป็นทางลายสีเหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่ สลับกันเป็นทางยาว เมื่อนานเข้า รอยสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเกิดเป็นอาการใบไหม้ แห้งตายในที่สุด บริเวณผิวใบ โดยเฉพาะด้านล่างจะมีเส้นใยสีขาวของเชื้อรา จับเป็นฝ้าเห็นได้ชัดเจนในตอนเช้าตรู่ซึ่งมีน้ำค้างจัด ลำต้นแคระแกรน ต้นเตี้ย ใบผอม ข้อสั้น ฝักมักมีขนาดเล็กลง เมล็ดติดน้อยหรือไม่ติดเลย ช่อดอกหรือยอดอาจจะแตกเป็นพุ่ม

โรคราสนิม (Puccinia polysora)

ปัจจุบันเป็นโรคที่มีความสำคัญที่สุด ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวโพดที่มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง เข้าทำลายข้าวโพดในระยะออกดอก รุนแรงที่สุดในฤดูปลายฝน (ส.ค. – พ.ย.) ลักษณะแผลเป็นตุ่มสีน้ำตาลแดงนูนจากผิว ลักษณะแผลค่อนข้างกลมถึงรูปไข่ แผลจะนูนทั้งสองด้านของใบ เมื่อเกิดมากขึ้นจะดันโป่งออก เมื่อเจริญเต็มที่ตรงกลางแผลก็จะปริแยกออก สีส้มคล้ายสนิมเหล็ก ใบข้าวโพดที่เกิดแผลมากขึ้นจะซีดเหลืองและแห้งในที่สุด ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม พันธุ์อ่อนแอ ใบจะไหม้แห้งภายใน 1 สัปดาห์

โรคใบไหม้แผลเล็ก (Bipolaris maydis)

เข้าทำลายข้าวโพดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สภาพอากาศร้อนชื้น ลักษณะอาการแผลจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามความยาวของใบ ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแดงไม่เรียบสม่ำเสมอ และถูกจำกัดด้วยเส้นใบ เมื่อเป็นหลาย ๆ แผลเกิดติดต่อกันจะทำให้เกิดใบไม้ นอกจากนี้ ยังเป็นได้กับส่วนอื่น ๆ อีก เช่น กาบใบ กาบฝัก ลำต้น และฝัก

โรคใบไหม้แผลใหญ่ (Bipolaris turcica)

เข้าทำลายข้าวโพดในระยะออกดอก รุนแรงที่สุดในฤดูแล้ง (ธ.ค. – มี.ค.) แต่ปัจจุบันเข้าทำลายได้ทุกฤดู ลักษณะอาการระยะแรกจะเหมือนกับใบไหม้แผลเล็ก ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น เนื้อเยื่อบริเวณแผลเริ่มแห้งตายเป็นสีน้ำตาล หรือสีเขียวเทา ลักษณะแผลไม่ถูกจำกัดด้วยเส้นใบ ขอบแผลเรียบสม่ำเสมอ เมื่อเกิดแผลติดต่อกันหลาย ๆ แผลทำให้ใบไหม้ไปทั้งใบได้

โรคใบจุด (Bipolaris zeicola)

เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเข้าทำลายข้าวโพดในฤดูแล้ง (ธ.ค. – มี.ค.) สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของข้าวโพดและทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ต้นเล็กจนถึงระยะออกดอก อาการที่ใบจะเป็นจุดสีเหลืองถึงสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ เมื่อมีหลาย ๆ แผลติดกันทำให้ใบไหม้ไปทั้งใบได้

โรคใบจุดสีน้ำตาล (Physoderma maydis)

โดยปกติพบได้ทั่วไปบริเวณเส้นกลางใบ จะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม ภายหลังเชื้อเข้าทำลายจะทำให้ใบหักพับ แต่ในพันธุ์ที่อ่อนแอ แผลจะเกิดขึ้นบนพื้นที่ใบจะเห็นรอยจุดติด ๆ กันเป็นปื้นสีน้ำตาลเข้มทำให้ใบไหม้ นอกจากนั้นจะเห็นที่กาบใบ ลำต้น เปลือกหุ้มฝัก และช่อดอก อาการจะรุนแรงระยะออกดอก ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก

โรคกาบและใบไหม้ (Rhizoctonia solani)

เข้าทำลายข้าวโพดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะกล้า โคนต้นมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ลำต้นหักพับ ระยะต้นโต เชื้อรานี้เข้าทำลายได้ทุกส่วนของข้าวโพด ใบ กาบใบ กาบฝัก เปลือกหุ้มฝัก ลักษณะแผลบนใบ มีลักษณะซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ขอบสีน้ำตาลและไหม้แห้ง ใต้ใบบริเวณแผลจะเห็นเส้นใย อัดเม็ดกลม ๆ กระจายอยู่ทั่วไป

โรคไวรัส SCMV & MDMV
SCMV คือ โรคไวรัสใบด่างอ้อย ลักษณะอาการ ใบด่างเป็นขีดเล็ก ๆ สีขาว หรือเหลืองสลับเขียว ขนานไปกับเส้นกาบใบ ในระยะต้นโต ที่ฝักข้าวโพดจะพบเปลือกเป็นสีขาวตั้งแต่ฝักเล็กจนถึงฝักใหญ่
MDMV คือ โรคไวรัสใบด่างแคระ ลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ ประตามความยาวของใบ โดยเฉพาะที่ใบอ่อน ถ้าเป็นในระยะต้นเล็ก จะทำให้ต้นแคระแกรน ข้อสั้น ใบเขียวเข้ม ถ้าเข้าทำลายในระยะต้นโต จะทำให้ใบเหลืองซีด ชะงักการเจริญเติบโต

โรคลำต้นเน่า (Macrophomina phaseolina)

โรคนี้เข้าทำลายต้นอ่อน จะทำให้เกิดอาการแห้งตาย ระยะต้นแก่ทำให้เกิดลำต้นเน่า ส่วนมากจะเข้าทำลายในระยะต้นแก่ ตั้งแต่ระยะออกดอกจนถึงอายุแก่ เมื่อฉีกลำต้นดูจะพบเส้นใย อัดเป็นเม็ดสีดำมองดูคล้ายหยดถ่านหิน กระจัดกระจายปกคลุม ทำให้เห็นเป็นทางหรือขีดเส้นสีดำเต็มไปหมด เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในถูกทำลาย เมื่อมีลมแรงหรือใช้มือโยกเบา ๆ ลำต้นจะหักพับ ส่วนใหญ่บริเวณปล้องต้น ๆ เหนือดิน

โรคลำต้นเน่า (Fusarium moniliforme)

โรคนี้เข้าทำลายทั้งต้นอ่อน ต้นแก่ และฝัก อาการที่ฝักจะเห็นเส้นใยสีขาวเน่าไปทั้งฝักได้ ที่ลำต้นภายหลังเชื้อเข้าทำลาย ต้นจะเหี่ยว ดูลักษณะภายนอกลำต้นปล้องล่าง ๆ จะเห็นเป็นขีด ๆ รอบลำต้น ฉีกลำต้นดูเนื้อเยื่อภายในจะเป็นสีชมพู ถ้าความชื้นเหมาะสม ส่วนที่ถูกทำลายจะเป็นสีม่วง ขณะต้นเริ่มแสดงอาการ เหี่ยว ใช้มือโยกลำต้นจะหักบริเวณโคนต้น และต้นจะแห้งตาย

อ้างอิง : www.rdi.ku.ac.th

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 14637 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่ข้าวโพด]:
หนอนเจาะฝักข้าวโพด ข้าวโพดใบไหม้ ข้าวโพดฝักหวี ราสนิมข้าวโพด รู้โรคแก้ได้ แก้แล้วผลผลิตเพิ่ม
ข้าวโพดอ่อนแอต่อโรค เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ หนอน แมลงศัตรูพืช และโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายข้าวโพดของเราได้ง่าย
อ่านแล้ว: 5084
โรคราสนิม ในข้าวโพด สร้างความเสียหาย ทำให้ผลผลิตลดลง ควรป้องกัด และรักษา
โรคราสนิม ที่เกิดกับข้าวโพด ใบข้าวโพดจะซีด เหลือง และแห้ง ซึ่งส่งให้ให้ ผลผลิตข้าวโพดลดลงเป็นอย่างมาก
อ่านแล้ว: 5888
ข้าวโพดใบไหม้ โรคใบไหม้แผลใหญ่ ทำข้าวโพดแห้งตายได้ ป้องกันได้ดังนี้
เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคนี้ แผลหลายๆแผลจะขยายรวมกันมาก จนทำให้ข้าวโพด ใบแห้ง และตายลงไปในที่สุด
อ่านแล้ว: 6428
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดติดเมล็ดน้อย ไม่เต็มฟัก และยังดึงดูดศัตรู้พืชอื่นๆ - ปราบได้
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เข้าทำลายต้นข้าวโพด โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของต้นข้าวโพด เช่น กาบใบ โคนใบ ยอด กาบฝัก
อ่านแล้ว: 6779
กลางปีหน้า เจียไต๋ ปล่อยของ ข้าวโพดหวานม่วง..กินสดได้
ข้าวโพดหวานลูกผสมสีม่วง ที่ใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์มานานถึง 10 ปี เพื่อให้ได้ข้าวโพดที่มี แอนโทไซยานิน หรือสาร..
อ่านแล้ว: 6374
ข้าวโพด8ล้านตันใครได้-ใครเสีย พรศิลป์ ชำแหละธุรกิจอาหารสัตว์

อ่านแล้ว: 5297
บัณฑิตเกษตรยุคไอที ปั้นข้าวโพดแดงขายผ่านโซเชียล
บัณฑิตป้ายแดงจากรั้วนนทรี ผู้ไม่อยากเป็นลูกจ้าง เข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ทำการตลาดเอง ปั้นแพ็กเกจสุดเก๋ ขายผ่านออนไลน์
อ่านแล้ว: 5554
หมวด ไร่ข้าวโพด ทั้งหมด >>