ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 28904 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

พืชเสริมรายได้ในสวนยาง

ปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยาง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เสริมในสวนยางพารา ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จำแนกได้ 2 คือพืชแซมยางและพืช.

data-ad-format="autorelaxed">

รายได้เสริมในสวนยาง

พืชเสริมรายได้ในสวนยาง -พืชเสริมรายได้ หมายถึง พืชที่นำมาปลูกในระหว่างแถวยางพาราแล้วทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ พืชแซมยางพาราและพืชร่วมยางพารา

พืชแซมยางพารา หมายถึง พืชที่ปลูกในแถวยางพาราในขณะที่ต้นยางพาราอายุไม่เกิน 3 ปี สามารถปลูกจนถึงต้นยางพาราอายุไม่เกิน 4 ปี พื้นที่ระหว่างแถวยางพาราจะต้องมีปริมาณแสงแดดมากกว่า 50% ของปริมาณแสงแดดทั้งหมด พืชแซมยางพาราที่ปลูกควรเป็นพืชที่ตลาดต้องการสูง ราคาดี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น ดูแลรักษาง่าย การปลูกแบ่งตามอายุ คือ

1. อายุน้อยกว่า 1 ปี เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว ผักชนิดต่าง ๆ พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว แตงกวา แตงโม เป็นต้น
2. อายุมากกว่า 1 ปี เช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด หวายตัดหน่อ เป็นต้น

การปลูกและดูแลรักษาพืชแซมยางพารา

1. พื้นที่สวนยางพาราที่ปลูกพืชแซมยางพาราดินควรมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร เมื่อมีการปลูกพืชแซม ควรใส่ปุ๋ยให้กับพืชแซมยางพาราด้วย
2. การปลูกพืชแซมยางพารา ควรปลูกในสวนยางพาราที่ระยะระหว่างแถวยางพารากว้าง 7 หรือ 8 เมตร เป็นสวนยางพาราที่ปลูกยางพาราแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เพื่อให้พืชแซมยางพาราได้รับแสงแดดเต็มที่ ถ้าแถวยางพาราแคบกว่านี้จะปลูกพืชแซมได้ไม่เกิน 2 ปี
3. ระยะปลูกพืชแซมต้องปลูกห่างจากแถวยางพาราไม่น้อยกว่า 1 เมตร บวกด้วยครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างแถวของพืชแซมนั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงร่มเงาและการแย่งปุ๋ยจากยางพารา
4. การดูแลรักษา ควรกำจัดวัชพืชระหว่างแถวยางพาราและแถวพืชแซม การใส่ปุ๋ยควรเป็นปุ๋ยคอก,ปุ๋ยหมัก
5. แรงงานควรใช้แรงงานภายในครอบครัว เพื่อลดต้นทุนการผลิต

ประโยชน์ของพืชแซมยาง

1. ใช้บริโภคและเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิต
2. ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้ดีกว่าปล่อยพื้นที่ให้ว่าง
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายการควบคุมวัชพืช
4. ใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

พืชร่วมยางพาร หมายถึง พืชที่สามารถปลูกร่วมกับยางพาราได้นานและให้ผลผลิตควบคู่กันไปพืชร่วมยางพาราที่ปลูกควรเป็นพืชยืนต้นหรือล้มลุกที่มีอายุยาว พืชดังกล่าวบางชนิดต้องการแสงแดดในช่วงปีที่ 1-2 บางชนิดอาจต้องการร่มเงาของสวนบาง ดังนั้น พืชที่จะปลูกต้องทนทานต่อโรคที่เกิดกับยางพารา เช่น โรครากขาว โรคเส้นดำ โรคเปลือกดำ และโรคใบจุดก้างปลา เป็นต้น ชนิดของพืชร่วมยางพาราสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

1. ไม้ป่าเศรษฐกิจ เช่น เทียม
2. ไม้ผล เช่น มังคุด ลองกอง ขนุน จำปาดะ ระกำ
3. ไม้ยืนต้น เช่น สะตอ เนียง เหมียง หวาย
4. พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น กระวาน ขิง
5. ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาหลา หน้าวัว จั๋ง หมากแดง

การปลูกและการดูแลรักษาพืชร่วมยางพารา

1. สภาพพื้นที่ปลูกสวนยางพาราที่ปลูกพืชร่วมยางพารา ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์ หน้าดินลึก
2. อายุของสวนยางพารา ไม้ยืนต้นสามารถปลูกพร้อมกับการปลูกยางพาราในระยะแรกควรปลูกกล้วย
3. ระยะปลูกของพืชร่วมยางพาราส่วนใหญ่ปลูกเป็นแถวเดี่ยว อยู่กึ่งกลางระหว่างแถว ยางพาราบางชนิดอาจปลูกแถวคู่ แต่ต้องปลูกห่างจากแถวยางพาราไม่น้อยกว่าข้างละ 2 เมตร
4. การดูแลรักษาพืชร่วมยางพารา หลังปลูกควรใส่ปุ๋ยตามอัตราคำแนะนำ ตลอดจนการกำจัดวัชพืช การให้น้ำ
5. แรงงาน ควรใช้แรงงานในครอบครัวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ประโยชน์ของพืชร่วมยางพารา

1. เพิ่มรายได้เนื่องจากผลตอบแทนจากยางพาราอย่างเดียวไม่เพียงพอ
2. ต้องการผลผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน
3. ลดความเสี่ยงด้านการตลาดในช่วงราคายางพาราตกต่ำ
4. ใช้พื้นที่ว่างระหว่างแถวยางพาราให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
5. ทำให้มีรายได้ในช่วงวันฝนตก ซึ่งไม่สามารถกรีดยางพาราได้
6. ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

พืชร่วมยางพาราที่นำมาปลูกนั้นมีหลายชนิดและอยู่ในระหว่างการศึกษา ทดสอบ ได้แก่ ลองกอง มังคุด หวายข้อดำ สำหรับพืชร่วมยางพาราที่ส่งเสริมให้ปลูก คือ เหมียง ซึ่งเป็นพืชผักสำหรับบริโภคใบอ่อน

อ้างอิง : http://tonklagroup.blogspot.com

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 28904 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 7646
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 6925
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7002
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6309
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7212
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6264
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 6641
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>