ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรกรตัวอย่าง | อ่านแล้ว 17762 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

3 เกษตรกรพันธุ์ใหม่แห่งนิคมเศรษฐกิจพอเพียงวังน้ำเขียว

โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เกิดขึ้น ภายใต้ความร่วมมือของ 3 หน่วยงานคือ 1. สกว. คือให้ความรู้และข้อมูลเชิง..

data-ad-format="autorelaxed">

เกษตรกรดีเด่น

จากสถานการณ์การบุกรุกพื้นที่ ส.ป.ก. วังน้ำเขียว ของกลุ่มนายทุน เจ้าของรีสอร์ทหรูหลายแห่ง จนกลายเป็นที่พากษ์วิจารณ์กันอยู่ในขณะนี้ว่า ปัญหาเกิดจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการที่ดินของหน่วยงานรัฐ แต่ในอีกมุมหนึ่งยังมีสังคมเกษตรกรรมเกิดขึ้น บนพื้นที่เดียวกัน ภายใต้ชื่อ “นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว” ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับเกษตรกรต้นแบบ ที่ไม่ได้รับแจกแค่ที่ดิน แต่รวมไปถึงองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ปัญหา-อนาคต เกษตรกรไทย

สุวิทย์ ภูมิประเสริฐโชค เจ้าหน้าที่บริหารโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่อธิบายว่า ปัญหาหลักของเกษตรไทยคือ มีลักษณะโครงสร้างเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยเกษตรกรไทยมีอายุเฉลี่ย 55 ปี และคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะเหลือประชากรในภาคเกษตรเพียง 20% ของเกษตรกรทั่วประเทศ

ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้คนเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมน้อยลง โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ คือ ทัศนคติด้านอาชีพ พวกเขาขาดความมั่นใจว่าการทำเกษตรกรรมจะสามารถเลี้ยงตัวเองให้อยู่รอดได้

ทำอย่างไร คนหนุ่มสาวจะหันกลับมาสู่ภาคเกษตรกรรมเป็นคำถามที่น่าขบคิด

สุวิทย์เล่าในมุมของนักวิชาการว่า ในอดีตการทำเกษตรของไทยยังเป็นระบบดั้งเดิม คือทำพออยู่พอกินไม่ได้เน้นการขาย แต่เมื่อระบบทุนนิยมเข้ามา ชาวนา ชาวสวนต้องกลายเป็นผู้ผลิตบนความไม่รู้ ตามแผนนโยบายการพัฒนาประเทศ ดังเช่นเพลงผู้ใหญ่ลี ที่สะท้อนการพัฒนา โดยที่เกษตรยังไม่พร้อม ผลิตตามๆ กันไป จึงเกิดปัญหามากมาย เช่นการปิดถนนเรียกร้องการประกันราคาพืชผล ต่างจากเกษตรกรที่มีความพร้อมซึ่งจะสามารถวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของตนเองได้ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ และเลือกเองได้ว่า เขาจะปลูกพืชอะไร จะบริหารจัดการไร่นาสวนได้อย่างไร

โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เกิดขึ้น ภายใต้ความร่วมมือของ 3 หน่วยงานคือ 1. สกว. คือให้ความรู้และข้อมูลเชิงวิจัย 2. สอศ. (คณะกรรมการการอาชีวศึกษา) การจัดการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และ 3. ส.ป.ก. สนับสนุนที่ดินทำกิน โดยที่ดิน ส.ป.ก. อ.วังน้ำเขียวเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่ถูกจัดสรรไว้เพื่อรองรับเกษตรกรรุ่นใหม่และเห็นผลการดำเนินโครงการอย่างเป็นรูปธรรม

อะไรคือเกษตรกรรุ่นใหม่

จากความเชื่อที่ว่า การเรียนรู้สิ่งใดก็ตาม หากเกิดจากความอยากรู้อยากเรียนแล้ว จะทำให้ผู้เรียน เข้าใจและทำสิ่งนั้นได้ดี ดังนั้นการเรียนการสอนของโครงการฯ จึงเน้นการปฏิบัติจริง ไม่ใช่เพียงความรู้ในตำราเรียน เริ่มจากการตั้งคำถามว่า เราจะผลิตอะไร จะมีการวางแผนอย่างไร เช่นระหว่างรอผลผลิตข้าวจะปลูกพืชชนิดใดหรือไม่ และมีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อให้รู้ว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ หมดไปกับอะไร จะประหยัดได้อย่างไร

“เกษตรกรรุ่นใหม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนหนุ่มสาว แต่หมายถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจ หรือคนที่เป็นเกษตรกรอยู่แล้ว จะเข้ามาทำการอบรมก็ได้ เมื่อผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือนจะต้องเขียนแผนการทำงานชัดเจน และจะได้รับเงินทุนรายละ 10,000 บาท เบี้ยเลี้ยง วันละ 100 บาท ในระยะเวลา 90 วัน เพราะช่วงที่รอผลผลิตยังไม่มีรายได้” เจ้าหน้าที่บริหารโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่กล่าว

นอกจากหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือน ยังมีหลักสูตรระยะยาว 3 ปี นำร่องใน สถานศึกษา เพื่อสร้างโอกาสให้คนหนุ่มสาวสาขาวิชาชีพเกษตรกรรม เข้าร่วมโครงการด้วยเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติตนจนเกิดความชำนาญในอาชีพ และตอบตนเองได้ว่า อาชีพเกษตรกรรมสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และสร้างรายได้ไม่น้อยกว่าเงินเดือนในระดับปริญญาตรี หรือวุฒิตามวิชาชีพตนเอง

3 เกษตรกรต้นแบบแห่งวังน้ำเขียว

นางต้อย เจียมโพธิ์ เกษตรกรต้นแบบที่ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือนจากโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ เล่าอย่างภาคภูมิใจว่า

“อาชีพก่อสร้างไม่ยั่งยืนหรอก งานที่ทำก็ย้ายไปเรื่อยๆ ตามแหล่งงาน แต่เป็นเกษตรกร ทำให้ได้อยู่บ้านเกิด มีความสุข ตื่นมาทำแปลงผักตอนเช้าๆ เราทำเอง ปลูกเอง ขยันเท่าไหร่ก็ได้เท่านั้น จะพักเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครว่า แต่งานก่อสร้างมันเหนื่อย ทำเท่าไหร่ ก็ไม่ใช่ของๆ เรา”

พี่ต้อยบอกเหตุผลสั้นๆ ที่ทำให้ตัดสินใจหันบ่ายหน้าเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมว่า เป็นเพราะความเหนื่อยล้าจากอาชีพคนงานก่อสร้างกว่า 4 ปี เต็ม เธอจึงตัดสินใจขึ้นทะเบียนคนว่างงานที่กระทรวงแรงงาน และได้รับการอบรมหลักสูตรดังกล่าว พอจบหลักสูตรจึงเลือกพื้นที่ทำกินในเขต ส.ป.ก. อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดบ้านเกิด

เจ้าของแปลงผักสีเขียวยังเล่าย้อนไปถึงการบุกเบิกที่ดินผืนนี้ในระยะแรกเริ่ม ว่า รู้สึกท้อใจเป็นอย่างมาก เพราะพื้นที่ จำนวน 2.2 ไร่ เต็มไปด้วยป่าและหิน เธอกับสามี ต้องจ้างรถไถ ถึง 3 รอบ กว่าจะกลายเป็นแปลงดินที่สามารถทำการเพาะปลูกพืชได้ โดยใช้เงินตั้งต้น 10,000 บาทจากทางโครงการ ส่วนที่เหลือหมดไปกับค่าปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ท่อน้ำ ฟาง ขี้หมู หน่อกล้วย และเมล็ดพันธุ์ผัก ปัจจุบันที่ดินของพี่ต้อย เต็มไปด้วยแปลงผักสีเขียวนานาชนิด ที่ขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 50 บาท เช่น เบบี้ครอส สลัดใบแดง คะน้า เร้ดโอ้ค กวางตุ้งฮ่องเต้ และไร่แห่งนี้ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากมกอช. (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ) แล้ว โดยจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงในสวนผักทุกวัน

พี่ต้อยเล่าว่า ก่อนปลูกพืชผัก จะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะเพาะปลูกอะไร และเทคนิคแบบไหน มีการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อทราบต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งตอนนี้ แปลงผักของเธอใช้ระบบการเพาะในกระบะก่อนนำมาแยกปลูกในแปลงดิน ช่วยลดอัตราการตายของพืช นอกจากนี้ยังหว่านเมล็ดพืชพันธุ์ผัก 2 ชนิด ในแปลงเดียวกัน โดยเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวผักชนิดแรก ก็จะหว่านเมล็ดพันธุ์ผักชนิดที่ 2 ลงไป โดยไม่ต้องเสียเวลารอการเตรียมดินใหม่ อย่างเกษตรกรทั่วไป สิ่งเหล่านนี้ พี่ต้อยบอกว่า ได้มาจากการอบรมในหลักสูตรเกษตรกรรุ่นใหม่ จากคนงานก่อสร้างค่าแรงวันละ 150 บาทในอดีต สู่เกษตรกรผู้มีรายได้กว่าวันละ 500 – 1,000 สามารถส่งลูกคนโตเรียนชั้น ม. 6 คน และอนุบาลอีก 1 คน ได้อย่างสบายใจ

เช่นเดียวกับอดีตเกษตรกรไร่ข้าวโพดอย่าง ลุงชาญ ตราดกลาง อายุ 64 ปี เล่าถึงปัญหาการทำเกษตรในอดีตว่า ปลูกข้าวโพดมากว่า 7 ปี เสียค่าเช่า ไร่ละ 500 บาท ปัจจุบันค่าเช่าขยับมาอยู่ที่ ไร่ละ 1,000 บาท แล้ว แต่ทำไปทำมากลับมีแต่ภาระหนี้สินที่ออกดอกผล ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่มีราคาแพง ลุงชาญจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อหวังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้ลืมตาอ้าปากได้

ลุงชาญ เล่าว่า เพิ่งเริ่มเข้ามาสู่โครงการ จึงปลูกผักที่มีอายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไว เช่น สลัดแก้ว กรีนโอ๊ค เบบี้คอส ยังไม่ได้ลงทุนทำอะไรมากนัก นอกจากนี้ยังปลูกผักสวนครัวอื่นๆ และไม้ยืนต้นเช่น มะม่วง ขนุน มะพร้าว เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน พอให้ได้ใช้หนี้เก่า อาศัยเงินเก็บออมจากการขายผัก เดือนละ 20,000 บาท วันนี้ ลุงชาญมีรถแทรกเตอร์เป็นของตนเองแล้ว เพื่อใช้ทุ่นแรงในสวน และยังรับจ้างไถไร่ในบริเวณนิคมฯ เป็นรายได้เสริมอีกทาง เฉลี่ยเดือนละ 5-6 พันบาท

“ภูมิใจมากที่กลายเป็นคนมีอาชีพ มีที่ดินเป็นของตนเอง มีความรู้ที่จะสอนลูกหลานต่อไป เมื่อก่อนทำไร่แล้วขาดทุนตลอดเพราะไม่รู้ วิธีการจัดการ” เกษตรกรต้นแบบ กล่าวด้วยรอยยิ้ม

ส่วน วิสิษฐ์ เชียงพุทซา อดีตวิศวกรโยธา ที่ผ่านงานระดับเมกกะโปรเจคส์ ทั้งในและต่างประเทศมากมาย กลับผันตัวเองสู่วิถีแห่งเกษตรกรรม เพราะมองว่า นี่ คือคำตอบสุดท้ายแห่งชีวิต ด้วยวิถีแห่งความพอเพียง

“เงินเดือนหลักแสนก็จริงครับ แต่รายจ่ายแต่ละเดือนนี่เยอะมาก ทั้งค่าอาหาร ค่าครองชีพสูง หาเท่าไหร่ก็ไม่พอจ่าย แถมยังมีหนี้สินอีก” วิสิษฐ์เกริ่นถึงปัญหาการใช้ชีวิตแบบคนเมือง ที่ทำให้เริ่มแสวงหาทางออกใหม่

จากการปั่นจักรยานท่องเที่ยวไปตามพื้นที่ต่างๆ ทำให้ได้เห็นวิถีแห่งความเรียบง่ายตามท้องทุ่งชนบท และได้สรุปกับตัวเองว่าจะดำเนินการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในบั้นปลายแห่งชีวิต

วัย 43 ปี สำหรับคนเมือง คงเป็นช่วงที่กำลังสร้างฐานชีวิต มีบ้าน มีรถ มีครอบครัวที่อบอุ่น แต่สำหรับวิศิษฐ์ บ้านหนึ่งหลังบนเนินเขา กับจักรยานคู่ใจ ก็เหมือนจะเติมเต็มชีวิตในบางส่วนได้เช่นกัน

วิศิษฐ์ เล่าว่าหลังจากได้ที่ดินมา 2 ไร่เศษ ก็เริ่มตั้งโจทย์ว่า จะทำอย่างไรให้ตนเองอยู่รอดก่อน เพราะไม่มีรายได้แล้ว เขาจึงเริ่มปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ไข่ เลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก เพื่อเป็นอาหาร ที่เหลือก็ขายให้กับชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง

“ตอนนี้ผมมีรายได้เดือนละ 5,000 บาท เป็นรายได้ที่เกิดจากการลดรายจ่าย เพราะเมื่อก่อนต้องขี่จักรยานออกไปกินในหมู่บ้านตอนนี้ก็ไม่ต้องแล้ว และในเวลานี้ ต่อให้ใครมาจ้างผมเดือนละ 2 แสนเพื่อกลับกลับไปทำงานเป็นลูกจ้าง ผมก็ไม่เอา” อดีตวิศวกรกล่าวทิ้งท้าย

จากตัวอย่างเกษตรกรต้นแบบแห่งพื้นที่วังน้ำเขียว หวังว่า เกษตรกรไทยในหลายพื้นที่คงได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งในแง่การผลิต และการบริหารจัดการควบคู่กันไปเช่นกัน และหวังว่า ในอนาคต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะใช้โมเดลนิคมเศรษฐกิจพอเพียงวังน้ำเขียวเป็นต้นแบบ เพื่อมิให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเดิม

อ้างอิง: http://www.isranews.org

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 17762 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรกรตัวอย่าง]:
จากสาวออฟฟิศ สู่ปราชญ์ชาวบ้าน ยึดหลักพอเพียงสร้างธุรกิจยั่งยืน

อ่านแล้ว: 7496
หนีกรุงทิ้งเงินเดือนประจำ มาทำการเกษตร รับรายได้งาม 20,000บาทต่อเดือน ที่ชัยภูมิ

อ่านแล้ว: 7869
ทำความรู้จักการเกษตรยุค 4.0 คืออะไร? และพบตัวอย่างเกษตรกรรุ่นใหม่ คุณอายุ จือปา จากเด็กดอยสู่เจ้าของแบรนด์กาแฟระดับโลก
ลาออกจากมนุษย์เงินเดือน ไปเป็นเกษตรกรแล้วรุ่ง มีรายได้มากกว่าเดิม เพิ่มเติมคือชีวิตสโลว์ไลฟ์ เค้าทำยังไงกันล่ะ?
อ่านแล้ว: 8728
เปิดใจ ยุวเกษตรกรดีเด่น ลั่นจะเรียนด้านเกษตรจนถึงชั้นสูงสุดเพื่อนำวิชาความรู้มาพัฒนาสินค้าเกษตร
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาผู้นำชุมชนและเครือข่าย กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจอย่างมากที่ได้เข้ารับรางวัลในวันพระราชพิธีจรดพนั..
อ่านแล้ว: 7205
ปลูกพืชแซม เลี้ยงสัตว์ ในสวนปาล์ม ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ดีกว่าอาชีพหลัก
คุณสมหวิง หนูศิริ เกษตรกรต้นแบบในการเรียนรู้ของชุมชนในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ ปลูกพืชแซม เลี้ยงสัตว์..
อ่านแล้ว: 21533
เกษตรกรดีเด่น จ.ยะลา เผย เคล็ดลับปลูกสละ สร้างรายได้ปีละแสน
เคล็ดลับปลูกสละ - การปลูกสละอินโดของคุณดอเล๊าะ จะปลูกในร่องสวนยางพารา ความกว้างร่อง 3 x 8 เมตร ในแต่ละร่องสวนยางจะปลู..
อ่านแล้ว: 10892
หนุ่มเรียนจบปริญญา ลาออกจากงาน กลับมาอยู่บ้าน ปลูกผักขาย
ปลูกผักขาย - ตัวผมเองเข้มเเข็งมากพอที่จะทนฟังเสียงเหล่านั้นได้ เเต่สำหรับ เเม่ เมื่อโดนชาวบ้านถามทุกวัน เเม่ก็เริ่มรู้..
อ่านแล้ว: 14084
หมวด เกษตรกรตัวอย่าง ทั้งหมด >>