ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ปาล์มน้ำมัน | อ่านแล้ว 59371 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปาล์มน้ำมัน (Palm)

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันสูง ทำให้มีต้นทุนการผลิตและราคาต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

data-ad-format="autorelaxed">

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันสูง ทำให้มีต้นทุนการผลิตและราคาต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายทั้งในสินค้าอุปโภคและบริโภค ส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันปาล์มต่อน้ำมันพืชของโลกจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วแต่ ภายใต้ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศที่ทุกประเทศพยายามที่จะให้มีการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศซึ่งกันและกัน ส่งผลให้น้ำมันปาล์มเป็นสินค้าหนึ่งที่ไทยมีความเสียเปรียบ

ปัญหาของพืช ข้อจำกัดและโอกาส :

- ต้นทุนการผลิตสูง

- ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมันคุณภาพต่ำ (พันธุ์ปลอม) ความเสียหายเมื่อนำพันธุ์ปาล์มน้ำมันคุณภาพต่ำไปปลูก คือ ผลผลิตทะลายปาล์มสดและน้ำมันที่สกัดได้จะลดลง

- แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เชื่อถือได้มีน้อย

- ความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก จะต้องปลูกในพื้นที่ๆประกาศเป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจ

- พื้นที่ปลูกประเทศไทยยังมีศักยภาพในการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม หากมีการแก้ไขปรับปรุงการใช้พื้นที่ปลูก การใช้พันธุ์ดี การใช้เทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสม และมีการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปน้ำมัน

 ปาล์มน้ำมัน


ลักษณะทั่วไป :

ปาล์มน้ำมัน ชอบสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกและสม่ำเสมอตลอดปี ความชื้นสูง แสงแดดจัด พื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศ จึงมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมแก่การปลูกปาล์มน้ำมัน โดยในปัจจุบันปาล์มน้ำมันยังสามารถปลูกได้ในภาคตะวันออกของประเทศด้วย แต่ผลผลิตที่ได้รับโดยทั่วไป เฉลี่ยยังต่ำกว่าประเทศมาเลเซีย

พันธุ์ส่งเสริม :

พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์เทเนอรา (D x P) เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ได้จากการผสมระหว่างพ่อพันธุ์พิสิเฟอรา (Pisifera) และแม่พันธุ์ดูรา (Dura)

พื้นที่ส่งเสริมการเพาะปลูก :

ประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ คือ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สตูล สงขลา นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ชลบุรี และตราด

ต้นปาล์มน้ำมัน


พันธุ์ปาล์ม :

พันธุ์ที่นิยมปลูก คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ลูกผสมเทเนอร่า (DxP) พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 และ พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3การให้ผลผลิต และรักษาลักษณะต่างๆ ที่สำคัญของปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี เฉลี่ย ปี (อายุ 6-11 ปี)

1. พันธุ์ปาล์มลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1

- สายพ่อพันธุ์ - Calabar

- ผลผลิตทะลายสด (กก./ไร่/ปี) - 160.78

- น้ำมันทะลาย (%) - 26.9

- ผลผลิตน้ำมัน (กก./ไร่) - 986

- ความสูง อายุ 9 ปี (ซม.) - 208


พันธุ์ : ลูกผสมสุราษฏร์ธานี1
วันที่รับรอง : 21 พฤศจิกายน 2540
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ

ประวัติสายพันธุ์ :

ปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 คือ ปาล์มน้ำมันลูกผสมหมายเลข 38 เป็นพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างแม่พันธุ์ดูร่า C 2120 : 184 D กับพ่อพันธุ์พิสิเฟอร่า IRH 629 : 319 T โดยมีการสั่งซื้อ เชื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากบริษัท ASD ประเทศคอสตาริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2531 ในปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา ได้ทำการปลูกเปรียบเทียบ และทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมกับพันธุ์มาตรฐาน จนได้พันธุ์ลูกผสม ที่ดีเด่น 6 พันธุ์ และได้นำเสนอกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์แนะนำ 1 พันธุ์ คือ พันธุ์ลูกผสมหมายเลข 38 ซึ่งกรมวิชาการเกษตรแนะนำพันธุ์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 ให้ชื่อ พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1

ลักษณะดีเด่นประจำพันธุ์ :

1. มีลักษณะต้นเตี้ยกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ปาล์มน้ำมันลูกผสม หมายเลข 38 อายุได้ 6 ปี มีความสูง 732 เซนติเมตร ส่วนพันธุ์มาตรฐาน 142 มีความสูง 84 เซนติเมตร

2. มีสีผลพิเศษ คือประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนต้นจะมีผลของทะลายเป็นสีเขียว เมื่อผลดิบ และจะเปลี่ยนป็นสีเหลืองส้ม เมื่อผลสุกสังเกตง่ายต่อผู้เก็บเกี่ยวทะลาย ต้นที่เหลืออีก 50 เปอร์เซ็นต์จะมีสีผลปกติ ส่วนพันธุ์มาตรฐาน 142 จะมีสีผลปกติ คือ ผลดิบจะมีสีดำ และเมื่อสุกจะมีสีส้มแดง ทำให้ยากต่อการสังเกต

ข้อจำกัดของสายพันธุ์ :

- เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) จึงไม่สามารถนำเมล็ดต่อจากเมล็ดชั่วที่ 1 (F2) ไปปลูกได้


พื้นที่แนะนำ :

ควรปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน(L1) และพื้นที่ที่เหมาะสม ปานกลาง(L2) สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน จากการศึกษาการวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน กรมวิชาการเกษตร


2. พันธุ์ปาล์ม - ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2

- สายพ่อพันธุ์ - Lame

- ผลผลิตทะลายสด (กก./ไร่/ปี) - 168.91

- น้ำมันทะลาย (%) - 23.5

- ผลผลิตน้ำมัน (กก./ไร่) - 905

- ความสูง อายุ 9 ปี (ซม.) - 187

พันธุ์ : ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2
วันที่รับรอง : 5 กันยายน 2544
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ

ประวัติสายพันธุ์ :

ในปี 2533 ศูนย์วิจัยพืชสวนสุราษฎร์ธานี ได้ทำการปลูกทดสอบปาล์มน้ำมันลูกผสม ในกลุ่มที่ 2 จำนวน 18 คู่ผสม เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน 142 จนถึงปี 2542 ได้ คัดเลือกลูกผสมที่มีลักษณะดีให้ผลผลิตสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน คือปาล์มน้ำมันลูกผสม หมายเลข 37 ได้มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พ่อ IRH 618 (LAMET) หรือ พ่อพันธุ์ หมายเลข 106 กันพันธุ์แม่ C2120 (Deli Dura) หรือพันธุ์แม่หมายเลข 67 ซึ่ง ASD ทำการผสมและส่งเมล็ดงอกมาให้ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุราษฎร์ธานีทำการเพาะกล้า และ ปลูกทดสอบเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐานดังที่กล่าวมาแล้ว

ลักษณะดีเด่นประจำพันธุ์ :

1. การให้ผลผลิตในแต่ละปีสม่ำเสมอ แม้ว่าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

2. ต้นเตี้ยกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 และพันธุ์ปาล์มลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 ประมาณ 30 และ 12 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

3. ให้จำนวนทะลายสูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 และพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1

4. มีก้านทะลายยาว ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว

5. ขนาดเนื้อในต่อผลมากเป็นพิเศษ (9.9 เปอร์เซ็นต์) เหมาะสำหรับใช้ทำ เครื่องสำอางในอนาคต

ข้อจำกัดของสายพันธุ์ :

เนื่องจากเป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 จึงไม่สามารถนำเมล็ดที่ได้ไปทำพันธุ์เพื่อปลูกต่อได้

พื้นที่แนะนำ :

ควรปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเขตการปลูกปาล์มน้ำมันภาคใต้ คือ ควรปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน L1 และปลูกในพื้นที่ เหมาะสมปานกลาง L2 (จากการศึกษาการวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน กรมวิชาการเกษตร)


3. พันธุ์ปาล์ม - ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3

- สายพ่อพันธุ์ - DAMI

- ผลผลิตทะลายสด (กก./ไร่/ปี) - 139.97

- น้ำมันทะลาย (%) - 26.3

- ผลผลิตน้ำมัน (กก./ไร่) - 839

- ความสูง อายุ 9 ปี (ซม.) - 208

พันธุ์ : ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3
วันที่รับรอง : 5 กันยายน 2544
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ

ประวัติสายพันธุ์ :

เป็นลูกผสมระหว่าง พันธุ์พ่อ DAM 585 : 343T (DAMI T) หรือพันธุ์หมายเลข 116 กับ พันธุ์แม่ HC 133 : 1288 D (Deli Dura) หรือพันธุ์หมายเลข 64 โดยบริษัท ASD ประเทศคอสตาริก้า ทวีปอเมริกากลาง แล้วส่งเมล็ดงอกมาเพื่อปลูกทดสอบและ คัดเลือกพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุราษฎร์ธานี ตามโครงการวิจัยและพัฒนาปาล์ม น้ำมันแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปี 2542 ได้คัดเลือกคู่ผสมที่ให้ผลผลิตสูง มีลักษณะดีตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ ลูกผสมหมายเลข 23

ลักษณะดีเด่นประจำพันธุ์ :

1. ปาล์มน้ำมันลูกผสมสราษฎร์ธานี 3 ให้น้ำมันดิบต่อทะลายเฉลี่ย 27 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน ซึ่งให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันดิบต่อทะลาย 26 เปอร์เซ็นต์

2. ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย (4 ปี) 760 กิโลกรัม/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 11.7 เปอร์เซ็นต์

3. ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย (4 ปี) 2,813 กิโลกรัม/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 10 เปอร์เซ็นต์
- ในสภาพแวดล้อมเหมาะสม ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,625 กก./ไร่/ปี
- ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,357 กก./ไร่/ปี

ข้อจำกัดของสายพันธุ์ :

เนื่องจากเป็นพันธุ์ลูกผสม ชั่วที่ 1 (F1) จึงไม่สามารถนำเมล็ดที่ได้ไปทำพันธุ์ เพื่อปลูกต่อไป หรือเพาะปลูกต่อไปได้

พื้นที่แนะนำ :

ควรปลูกในพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน (L1) ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในภาคใต้ และมีการจัดการสวนปาล์มที่ดี (L1 หมายถึง พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1800 มม./ปี)


4. พันธุ์ปาล์ม - พันธุ์มาตรฐาน

- สายพ่อพันธุ์ - AVROS

- ผลผลิตทะลายสด (กก./ไร่/ปี) - 130.40

- น้ำมันทะลาย (%) - 25.8

- ผลผลิตน้ำมัน (กก./ไร่) - 767

- ความสูง อายุ 9 ปี (ซม.) - 243


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน :

- ดินควรมีความอุดมสมบรูณ์ปานกลางถึงดี

- ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1600 มม./ปี

- มีช่วงแล้งไม่เกิน 3-4 เดือน

- การเตรียมพื้นที่ ควรเตรียมในฤดูแล้งในระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน


การเตรียมต้นกล้าปาล์ม :

ระยะอนุบาลแรก (0-3 เดือน) ควรเตรียมในเรือนเพาะชำ โดยเพาะชำต้นกล้าในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 6x7 หรือ 6x9 นิ้ว หนาอย่างน้อย 0.06 มม. จนต้นกล้ามีใบงอก 3-4 ใบ หรือต้นกล้าอายุประมาณ 3 เดือน จึงย้ายใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ในระยะนี้ต้องคัดทิ้งต้นกล้าประมาณ 5-15 % ที่มีลักษณะต้นเตี้ย และแคระแกร็น

ระยะอนุบาลหลัก (3 -12 เดือน) ควรเพาะต้นกล้าในถุงพลาสติกสีดำหนาอย่างน้อย 0.12 มม. ใช้ถุงพลาสติกสีดำขนาดไม่ต่ำกว่า 15x18 นิ้ว วางไว้ในแปลงกลางแจ้ง ในระยะนี้ต้องคัดทิ้งต้นกล้าประมาณ 5-10 % และในขณะขนย้ายต้นกล้าไปปลูก ในแปลงปลูกจริงต้องคัดทิ้งต้นกล้าที่ผิดปกติและไม่สมบูรณ์อีกประมาณ 2-5%

การจัดวางต้นกล้า ควรจัดวางต้นกล้าเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะระหว่างถุงไม่ควรต่ำกว่า 75 ซม. โดยจัดแปลงแยกเป็นกลุ่มๆ ตามอายุต้นกล้า ไม่ปะปนกันมีป้ายแสดงให้เห็นชัดเจน

การดูแลรักษาต้นกล้า มีการให้น้ำในปุ๋ย กำจัดวัชพืช ควบคุมโรค และแมลง ตลอดจนการเตรียมต้นกล้า พร้อมนำไปปลูกในแปลงปลูกจริง ควรปฏิบัติตามหลักวิชาการ

การเลือกต้นกล้า ต้นกล้าที่แนะนำให้ปลูกเป็นต้นกล้าอายุ 12 เดือน ต้นสมบูรณ์แข็งแรง มีความสูงระหว่าง 100-150 เซนติเมตร จากระดับดินในถุง และมีใบประกอบรูปขนนก จำนวนอย่างน้อย 9 ใบ

การวางแนวปลูก ให้แถวปลูกหลักอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า


ระยะปลูกปาล์มน้ำมันที่เหมาะสม :


ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์กลุ่มต่าง ๆ

ระยะปลูกสำหรับพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม

1. Dell Dura x AVROS - ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่าระยะปลูก 9.00 (ม.) - จำนวน 22 ต้นต่อไร่

2. Dell Dura x Ekona - ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่าระยะปลูก 8.75 (ม.) - จำนวน 24 ต้นต่อไร่

3. Dell Dura x Ghana - ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่าระยะปลูก 8.50 (ม.) - จำนวน 25 ต้นต่อไร่

4. Dell Dura x La Me' - ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่าระยะปลูก 9.00 (ม.) - จำนวน 22 ต้นต่อไร่

การให้น้ำ ปาล์มน้ำมัน

การให้น้ำปาล์มน้ำมัน :

ในสภาพพื้นที่ที่ช่วงฤดูแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มม./ปี ถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอควรมีการให้น้ำเสริมในฤดูแล้ง ในปริมาณ 150-200 ลิตร/ต้น/วัน

การตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมัน :

ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงปีที่ 6 ควรไว้ทางใบ 7-8 รอบ (56-64 ทางใบ) ต้นที่โตเต็มที่ควรไว้ทางใบ 4.5-6.5 รอบ (36-48 ทางใบ) ไม่ควรตัดแต่งทางใบจนกว่าจะถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดทางใบให้เหลือรองรับทะลายปาล์ม 2 ทาง (ชั้นล่างจากทะลาย) และทางใบที่ตัดแล้ว ควรนำมาเรียงกระจายแถวเว้นแถว และวางสลับแถวกันทุกๆ 4-5 ปี เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ให้กระจายทั่วแปลง

การใช้ทะลายเปล่าคลุมดิน :

ทะลายเปล่าที่นำมาจากโรงงาน ควรนำมากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงนำไปวางกระจายไว้รอบโคนต้น โดยใส่ทะลายเปล่า อัตรา 150-225 ก.ก./ต้น/ปี

การลดจำนวนต้นปาล์มต่อไร่เพื่อรักษาระดับผลผลิตให้สูง :
ควรลดจำนวนต้นปาล์มจาก 22 ต้น/ไร่ ให้เหลือประมาณ 19 ต้น/ไร่ เมื่อปาล์มมีอายุ 10 ปี โดยเลือกคัดต้นปาล์ม ที่มีลักษณะผิดปกติและมีผลผลิตน้อย หรือไม่ให้ผลผลิตออก โดยใช้วิธีกำจัดต้นปาล์มด้วยสารเคมี คือ เจาะรูที่โคนต้นปาล์มสูงจากดิน 30-90 ซม. เจาะลึกประมาณ 10-20 ซ.ม. ให้ทำมุม 45 องศา ลงดินและใส่สารเคมี กรัมม๊อกโซน 100 มิลลิลิตร ผสมน้ำให้ได้ 200 มิตร ต่อต้น


การปลูกปาล์มน้ำมัน :

ควรปลูกปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูฝน ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องฤดูแล้ง ข้อควรระวังหลังจากปลูกไม่ควรเกิน 10 วัน จะต้องมีฝนตก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ปลูกในช่วงระหว่างเดือนเมษายน ถึงกันยายน และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ปลูกช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม เตรียมหลุมปลูกขนาด 45x45x35 เซนติเมตร


การให้ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน :

วิธีที่ 1 : ใช้ลักษณะอาการที่มองเห็นที่ต้นปาล์ม แสดงอาการขาดธาตุอาหาร

วิธีที่ 2 : ใส่ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมันเป็นวิธีที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน

***ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถเก็บตัวอย่างใบส่งไปวิเคราะห์ทางเคมีได้ กรมวิชาการเกษตร มีคำแนะนำการใส่ปุ๋ย ดังนี้ ควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยเคมีและต้องใส่ในขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเมื่อฝนตกหนัก

การใส่ปุ๋ยเคมีเมื่อปาล์มน้ำมันอายุต่างๆ กัน :

อายุปาล์ม 1 - 4 ปี - ใส่ปุ๋ย N,K และ Mg - .ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว - ใส่ ปุ๋ย P -ใส่บริเวณโคนต้นห่างจากโคนต้น 50 ซม. ถึง 2.50 เมตร

อายุปาล์ม 5 – 9 - ใส่ปุ๋ย N,K และ Mg - .ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว - ใส่ ปุ๋ย P - ใส่บริเวณรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น 2.50 เมตร ถึง บริเวณปลายทางใบ

อายุปาล์ม 10 ปีขึ้นไป - ใส่ปุ๋ย N,K และ Mg และ ปุ๋ย P - หว่านบริเวณระหว่างแถวปาล์มที่กำจัดวัชพืชแล้ว หรือบนกองทางใบที่ถูกตัดแต่ง


ศัตรูของปาล์มน้ำมันและการป้องกันกำจัด :


โรคปาล์มน้ำมันที่สำคัญ

1. โรคใบไหม้

พบมากในระยะต้นกล้าหากรุนแรงทำให้ต้นกล้าถึงตายได้


2. โรคก้านทางใบบิด

พบในต้นปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปี หลังจากนำลงปลูกในแปลง โรคนี้มีผลให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมัน หยุดชะงักไประยะหนึ่ง

สาเหตุ : ความผิดปกติทางพันธุกรรม

ลักษณะอาการ : ใบยอดที่ยังไม่คลี่มีอาการอ่อนโค้งไม่ตั้งตรง เกิดแผลสีน้ำตาลแดงลักษณะฉ่ำน้ำที่กลางใบยอด เมื่อทางยอดคลี่ออก ก้านทางโค้งงอลงตรงบริเวณที่เกิดแผล ในบางครั้งไม่เกิดแผลแต่ทางจะโค้งงอที่กึ่งกลางทาง

การป้องกันกำจัด :

ตัดทางใบที่เป็นโรคออกโดยตัวให้ต่ำกว่าส่วนของเนื้อเยื่อที่เน่าในกรณีที่มีอาการเน่าเกิดขึ้น
เลือกต้นกล้าจากสายพันธุ์ที่ไม่มีประวัติการเป็นโรคนี้


3. โรคยอดเน่า

โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน เข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันตั้งแต่ในระยะกล้า แต่ส่วนใหญ่มักจะพบโรคนี้กับต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1-3 ปี

สาเหตุ : ความผิดปกติทางพันธุรรม และเชื้อราเข้าทำลาย


ลักษณะอาการ เกิดแผลเน่าสีน้ำตาลดำขอบแผลลักษณะฉ่ำน้ำที่บริเวณใกล้ๆ โคนใบยอดที่ยังไม่คลี่ บางครั้งจะพบอาการเน่าดำเริ่มจากปลายใบย่อยที่ยังไม่คลี่ จากนั้นแผลเน่าดำจะขยายทำให้ใบยอดทั้งใบเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง สามารถดึงหลุดออกมาได้ง่าย

การป้องกันกำจัด :

ดูแลบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันอย่าให้มีวัชพืชปกคลุม เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และเป็นที่หลบซ่อนของแมลง ที่จะไปกัดบริเวณส่วนยอด ทำให้เกิดแผลซึ่งเป็นช่องทางให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น ควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วราดบริเวณกรวยยอดของต้นที่เป็นโรคด้วยสารเคมี

- ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ไทแรม 75% /WP อัตราการใช้ 130 กรัม / น้ำ 20 ลิตร

- วิธีการใช้ / ข้อควรระวัง ผสมสารจับใบราดบริเวณกรวยยอดของ ต้นปาล์มอายุ 1-3 ปี
หรือใช้ แมนโคเซ็บ 70%WP

- อัตราการใช้ 150 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบราดบริเวณยอดต้นปล์ม


4. โรคทะลายเน่า

โรคจะเข้าทำลายผลปาล์มก่อนที่จะสุก พบเสมอกับต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 3-9 ปี ระบาดมากในฤดูฝน ที่มีความชื้นสูง เป็นมากกับปาล์มที่มีการผสมไม่ดี

สาเหตุ : เชื้อเห็ด

ลักษณะอาการ เชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมอยู่บนทะลายปาล์มน้ำมันที่ยังไม่สุก โดยเจริญอยู่ระหว่างผลปาล์มน้ำมัน เมื่อผลปาล์มน้ำมันใกล้จะสุกเส้นใยของเชื้อจะเจริญเข้าไปในผลปาล์ม ทำให้เปอร์เซ็นต์กรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการให้น้ำมันน้อยลง ผลนิ่ม เกิดการเน่าเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเมื่อปล่อยไว้นานๆ ผลที่เน่านั้นจะมีสีดำ ในบางครั้ง จะพบเส้นใยสีขาวลักษณะคล้ายพัดที่บริเวณฐานของทางใบ โดยเฉพาะฐานของใบที่รองรับทะลายปาล์มที่ถูกทำลาย ในสภาพที่อากาศมีความชื้นมากเส้นใยจะมีสีขาว และพบดอกเห็ดที่บนทะลายปาล์มน้ำมัน โดยดอกเห็ดมีสีขาวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ของดอก 5-8 ซม. กลีบหมวกจะงอกกลับขึ้นข้างบนเมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่

การป้องกันกำจัด :

ตัดแต่งทางใบ ดอกที่ไม่ได้รับการผสม หรือผสมไม่ดี รวมถึงเศษเกสรดอกตัวผู้ที่แห้งที่เป็นโรคออกให้หมด และเผาทำลายนอกแปลง


5. โรคลำต้นเน่า

พบมากกับต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ปัจจุบันพบว่าโรคนี้เริ่มระบาดมากกับต้นปาล์มอายุ 10-15 ปี

สาเหตุ : เชื้อเห็ด

ลักษณะอาการ : เชื้อราจะเข้าทำลายที่รากเข้าสู่โคนต้น อาการภายนอกที่พบคือ ใบมีสีซีดจางกว่าปกติ ทางแก่ล่างจะหักพับทิ้งตัวห้อยลงมารอบๆ ลำต้น เมื่ออาการปรากฎให้เห็นที่ใบ แสดงว่าเนื้อเยื่อบริเวณโคนต้นถูกเชื้อเข้าทำลายอย่างน้อย 50% จำนวนใบยอดที่ยังไม่คลี่จะมากผิดปกติ เกิดการตายของทางใบที่แก่ที่สุด ซึ่งจะเร็วหรือช้าขึ้นกับฤดูกาล ต้นจะตายภายใน 6-12 เดือน โดยต้นจะหัก หรือล้มลง โรคนี้ทำให้เกิดการเน่าแห้งของเนื้อเยื่อที่ฐานของต้น เมื่อตัดต้นเป็นโรคตามขวางจะเห็นเนื้อเยื้อบริเวณที่เน่า เป็นสีน้ำตาลอ่อน มีแถบสีน้ำตาลเข้มรูปร่างไม่แน่นอนเกิดสลับกันอยู่ และที่ขอบแผลมีบริเวณสีเหลืองใสกั้นระหว่าง ส่วนที่เป็นโรค และส่วนที่ผิดปกติ รากมีลักษณะกรอบ เนื้อเยื่อภายในแห้งเป็นผง ลักษณะที่สำคัญที่ใช้จำแนกโรคนี้ คือลักษณะของดอกเห็ด ซึ่งเชื้อเห็ดนี้สร้างขึ้นที่บริเวณฐานของลำต้น หรือรากบริเวณใกล้ลำต้น ดอกเห็ดที่พบครั้งแรกมีสีขาวขนาดเล็ก ต่อมาจะขยายโตขึ้นมีสีน้ำตาลแดง มีขอบสีขาวผิวด้านบนเรียบเป็นมันคล้ายทาด้วยแลคเกอร์ ผิวด้านล่างมีสีขาวขุ่นเต็มไปด้วยรูเล็กๆ ซึ่งเป็นที่สร้างสปอร์สีน้ำตาลเป็นผงเล็กๆ กระจายไปทั่วบริเวณข้างเคียง

การป้องกันกำจัด

- พยายามหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เคยปลูกมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมันมาก่อน ดินควรมีการระบายน้ำได้ดี
การเปิดป่าใหม่ ควรทำแปลงให้สะอาด เพื่อป้องกันเชื้อเห็ดที่อาจอยู่กับซากพืช และตอไม้ที่เผาทิ้งไม่หมด

- กำจัดต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง

- ขุดดินให้เป็นร่อง หรือคูรอบบริเวณต้นปาล์มที่เป็นโรคเพื่อป้องกันการสัมผัสของราก ระดับผิวดินของต้นที่เป็นโรคกับต้นปกติ โรยทับด้วยสารป้องกันกำจัดโรคได้

- พยายามอย่าเคลื่อนย้ายต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรคผ่านไปในแปลงปาล์มน้ำมัน

- เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ให้ใช้สารเคมีไทแรม 75% /WPอัตราการใช้ 130 กรัม / น้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซ็บ 70%WP อัตราการใช้ 150 กรัม น้ำ 20 ลิตร - ผสมสารจับใบราดบริเวณกรวยยอดของ ต้นปาล์มอายุ 1-3 ปี

โรคก้านใบบิด
โรคก้านใบบิด

 

โรคยอดเน่า ในปาล์มน้ำมัน

โรคยอดเน่า

โรคทลายเน่า ในปาล์มน้ำมัน

โรคทลายเน่า

อ้างอิง : http://www.rakbankerd.com/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 59371 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ทิวสน
[email protected]
ที่อุบล มีแหล่ง จำหน่ายไหม ค่ะ
20 ก.ค. 2554 , 07:09 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ทัศดาว
[email protected]
อยากจะปลูกปาล์มค่ะในเขต อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ไม่ทราบว่ามีตลาดที่จะขายไหมค่ะ รบกวนตอบด้วยน่ะค่ะ ขอบคุณร่วงหน้าค่ะ
30 พ.ค. 2554 , 02:43 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ปาล์มน้ำมัน]:
หนอนหน้าแมว กัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ชะงักการเติบโตเป็นปี กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
(รูปด้านบนนี้ ไม่ใช่หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมันนะจ๊ะ) ถ้าอาการหนัก หรือโดนเข้าทำลายอย่างรุนแรง จะเหลือแต่ก้านใบ
อ่านแล้ว: 7017
ติงภาครัฐไม่บูรณาการทำงาน ทำระบบจัดการปาล์มไม่พร้อม
สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลงประจำเดือนตุลาคม 2560 พบว่า ลดลงร้อยละ 2.42 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
อ่านแล้ว: 7336
มาเลย์เซีย ใช้วิธีอะไร พัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
มาเลเซียมีเป้าหมาย ภายในปี 2563 เกษตรกรจะต้องมีผลผลิตเพิ่มเป็น 4.16 ตันต่อไร่ ได้น้ำมันสกัดในอัตรา 23%...ส่วนของไทยมี..
อ่านแล้ว: 6547
ปาล์มน้ำมันพันธุ์ใหม่ 5 ตันต่อไร่ดีที่สุดในโลก

อ่านแล้ว: 6898
มาเลย์เซีย ใช้วิธีอะไร พัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

อ่านแล้ว: 7234
ชาวสวนเฮ - ปาล์มราคาพุ่ง พาณิชย์ไม่มีแผนนำเข้า
ราคาปาล์ม ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กระทบต้นทุนน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ห้างค้าปลีกจำกัดซื้อไม่เกิน 6 ขวดต่อครอบครัว..
อ่านแล้ว: 9633
รับมือปาล์มราคาตก 1 ก.พ. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ต่ำกว่า 4.20 บาทซื้อทันที
หากราคาปาล์มน้ำมัน ตํ่ากว่า 4.20 บาท เปิดรับซื้อทันที เป้า 9.8 หมื่นตันครอบคลุมสหกรณ์ สถาบันเกษตรกรกว่า 3 ล้านรายได้เฮ
อ่านแล้ว: 10823
หมวด ปาล์มน้ำมัน ทั้งหมด >>