ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เศรษฐกิจเกษตร | อ่านแล้ว 5014 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!

data-ad-format="autorelaxed">

ชาวนาไทยกว่า 28 ล้านคน ถูกสปอยล์จากการเมืองทุกยุค หวังฐานเสียงชนะเลือกตั้ง กลายเป็นปัญหาหมักหมม ไร้ขีดแข่งขัน กดฐานะยากไร้ ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!

 

ข้าวถือเป็นพืชการเมืองในทุกรัฐบาล เพราะเกี่ยวข้องกับประชาชน ชาวนากว่า 28 ล้านคนจาก 3.9 ล้านครัวเรือน บ่อยครั้งชาวนาจึงต้องตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง นักการเมืองหาเสียงโดยชูจุดขายนโยบายของแต่ละพรรค ข้าวจะเป็นหนึ่งในโปรโมชั่นที่พรรคการเมืองส่งมาเอาใจคนกลุ่มนี้

 

ด้วยวาทกรรมที่ว่า “ต้องการช่วยคนจน” ถึงจะได้กุมฐานเสียง คว้าชัยชนะเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาล

นั่นจึงตามมาด้วย ช่องโหว่ และปัญหานานา หลังรัฐทุ่มเทงบประมาณเพื่อเอาใจชาวนา โดยเฉพาะ โครงการ "รับจำนำข้าวทุกเมล็ด” หวังอุ้มชาวนาจึงไม่ต้องออกแรงผลิตแบบเน้นคุณภาพ ผลิตออกมาเท่าไหร่ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีตลาดรองรับ เพราะรัฐบาลยินดีรับซื้อ โดยให้ราคาสูงกว่าตลาดถึง 50% 

รัฐบาลยอมขาดทุน ซื้อแพงขายถูก !

 

ตัวเลขจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินการใช้งบประมาณจากโครงการรับจำนำ 3 ปีที่ผ่านมา รวมมูลค่า 9.8 แสนล้านบาท จากการรับซื้อข้าว 54.4 ล้านตัน หรือ 53% ของผลผลิต รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 585,000 ล้านบาท จนทำให้มีข้าวเก่าค้างสต็อกที่ต้องรอการจัดการถึง 17-18 ล้านตัน

นั่นจึงเป็นบทเรียนทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว (นบข.) โดยมีพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กำหนดแผนดำเนินงานการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ที่จะต้องติดตาม ประเมินผลปรับปรุงแก้ไขทุกปี ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2560-2561 เพื่อยกระดับไปชาวนาไทยสู่ยุค 4.0” 

 

ยุคที่ชาวนามีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน !!

 

โดยปีล่าสุด ฤดูกาลผลิต 2560/2561 เป็นการทำงานปีที่ 2 ที่ให้ทุกจังหวัดจัดทำ “แผนปฏิบัติงาน” ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรระดับจังหวัด ส่งให้กับกรมการข้าว โดยมีทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องทำงานอย่างบูรณาการ ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูเรื่องการพัฒนากระบวนการผลิต ปรับปรุงพันธุ์ข้าว และลดต้นทุน

กระทรวงพาณิชย์ ดูแลเรื่องการตลาด กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ด้านราคารับซื้อ เป็นธรรม ควบคุมคุณภาพ จนถึงการส่งออก

 

บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ อธิบายถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61 ที่เน้นการบริหารจัดการซัพพลายเชน ตั้งแต่กลางน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อบริหารจัดการข้าว ในช่วงที่ผลผลิตจะออกมาพร้อมกันใน เดือนพ.ย.และธ.ค. จากข้าวทั้งปีมีปริมาณทั้งปี เฉลี่ย 30 ล้านตัน บวกลบ 5-6% ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ อาทิ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด

 

โดยมีแผนการบริหารจัดการความต้องการตลาด (ดีมานด์) และผลผลิต (ซัพพลาย) รวม มาตรการ ประกอบด้วย

 

1.การจัดหารถเกี่ยวให้เกษตรกรในช่วงผลผลิตออกมากทั้งประเทศมี 16,000 คัน ที่จะสามารถจองรถเกี่ยวผ่านแอพ “ชาวนาไทย” เพื่อนำเข้ามาบริหาจัดการอย่างเป็นระบบ จัดเวลาการเก็บเกี่ยว ไม่กระจุกบางจังหวัดบางเขต เดิมทีเก็บเกี่ยวผ่านนายหน้า เมื่อเปลี่ยนมาให้ชาวนาดีลตรงกับผู้ประกอบการรถเกี่ยวที่จะช่วยให้ต้นทุนค่าเกี่ยวข้าวค่อยๆ ลดลงได้ จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 350-800 บาทต่อไร่

 

2.ช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรทุกราย ไร่ละ 1,200 บาท รายละไม่เกิน 10 ไร่ ไม่เกิน 12,000 บาท (ประมาณ 2,400-3,000บาทต่อตัน)เพื่อช่วยลดต้นทุนที่สูง

 

3.สินเชื่อชะลอการขายข้าวนาปี โดยให้เกษตรกรเก็บไว้ในยุ้งฉาง รอราคาดีจึงขาย โดยให้ค่าเก็บรักษาในยุ้งฉางตันละ 1,000 บาท จ่ายเงินในวันชำระหนี้ ตันละ 500 บาท ในช่วง 1 พ.ย.60- 28 ก.พ.61 จะช่วยทำให้ชาวนาไม่เร่งขายข้าว โดยมีเงินจำนำข้าวที่เก็บไว้ในยุ้งฉางมาช่วยลดต้นทุน โดยให้ราคาตันละ 10,800 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้าตันละ 7,200 บาท ชาวนาไม่เร่งขายข้าว ราคาข้าวก็จะไม่ตก

 

4.สินเชื่อให้กับ สถาบันเกษตรกร” เพื่อรวบรวมหรือแปรรูป ในอัตราดอกเบี้ย 1% เป็นการช่วยกันรวบรวมการเก็บสต็อกข้าวอีกแรงในรูปแบบ การรวมกลุ่มเป็นชุมชนข้าว วิสาหกิจ และสหกรณ์ กลไกนี้จะทำให้ช่วยการรวมกลุ่มเข้มแข็งมีเงินไปรวบรวมการซื้อขายข้าวจากเกษตรกร

 

5.ชดเชยดอกเบี้ยให้ ผู้ประกอบการค้าข้าว” ในการเก็บสต็อก รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% เช่น โรงสี หรือผู้ค้าข้าว ที่เป็นลูกค้าธนาคารต่างๆ เมื่อรับซื้อข้าวขึ้นมา สามารถใช้เป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่จะค้ำประกันวงเงิน ในการขอสินเชื่อจากธนาคาร โดยภาครัฐจะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% โดยทั่วไปดอกเบี้ย ประมาณ 7% เป็นการช่วยให้โรงสีมีกำลังนำข้าวสู่ระบบโดยราคาไม่ตก

 

6.จัดตลาดนัดข้าวเปลือกให้เกษตรกรมีทางเลือกในการขาย เป็นการมาเจอกันของผู้ค้าข้าวและผู้ผลิตจากทั่วประเทศ เมื่อทางเลือกของตลาดมากขึ้น การซื้อขายมีการแข่งขันราคากัน ผู้ผลิตสามารถเลือกตามความพอใจได้ ในราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น

 

7.เชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าวมาตรฐานสินค้าเกษตร หรือ GAP (GAP -Good Agricultural Practices) โดยการสนับสนุนค่าตรวจรับรอง จัดสรรโควตาส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรป (EU) และอุดหนุนให้เกษตรกร เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์

 

อธิบดีกรมการค้าภายใน ยังกล่าวถึงการพัฒนากลไกการตลาด 7 มาตรการว่า จะช่วยดูดซับความต้องการข้าวในตลาด สกัดไม่ให้ชาวนาเร่งขายข้าวในช่วงผลผลิตมาในช่วงพ.ย.-ธ.ค.2560 รวมถึงช่วยพร่องข้าวออกไม่ให้กระจุกตัวแข่งกันขายในตลาดไม่ต่ำกว่า 10.5ล้านตัน หรือมากกว่า 50% ของผลผลิต เมื่อซัพพลายค่อยๆ ทยอยอกมาก็จะทำให้ราคามีเสถียรภาพ

 

สุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน มองว่าทั้ง 7 มาตรการจะยกระดับให้ชาวนาไทยสู่ยุค 4.0 ที่แท้จริง ทำให้ราคาข้าวของไทยมีเสถียรภาพ มีการพัฒนาข้าวไปสู่มูลค่าเพิ่ม โดยเป้าหมายเริ่มต้นที่กลุ่มสินค้าพรีเมี่ยม ข้าวหอมมะลิ 20%สินค้าคอมโมดิตี้ ข้าวขาว 80% มุ่งการบริหารจัดการการตลาด โดยใช้ความต้องการนำการผลิต (Demand Driven)

 

เราเชื่อว่าเมื่อทุกด้านมีการบริหารจัดการด้านดีมานด์และซัพพลาย โดยใช้ตลาดเป็นตัวนำ ข้าวที่มองว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาจะมีเสถียรภาพไม่ผันผวนตามราคาตลาดโลก เพราะมีตลาดแน่นอน ชาวนาก็มีรายได้เหลืออยู่กระเป๋ามากขึ้น

 

สุทัศนีย์ กล่าวว่า ไทยจะมุ่งเน้นทำตลาดเฉพาะ (Niche) มากขึ้น โดยชูความเป็นข้าวมีอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ที่แตกต่างจากประเทศอื่น โดยการทำข้อตกลง(MOU)กับผู้ส่งออก ไปทำตลาดข้าวในกลุ่มเหล่านี้ต้องการเท่าไหร่ ทางกระทรวงพาณิชย์จึงรวบรวมแล้วไปบอกให้กระทรวงเกษตรวางแผนการผลิต

 

สินค้าไทยตื่นตัวเรื่องการตลาดที่จะทำให้คนเข้าใจถึงข้าวพรีเมี่ยม ใครทำก่อนได้เปรียบ ที่ผ่านมาไทยมีสินค้าข้าวจำนวนมาก แต่ไม่เคยหยิบตัวเด่นของแต่ละพื้นที่มาสร้างการรับรู้ โปรโมทถึงคุณประโยชน์ของข้าวแต่สายพันธุ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มั่นใจว่ามีตลาดรองรับแน่นอน

 

รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ยังเปรียบเทียบถึงระบบที่เปลี่ยนไปจากโครงการรับจำนำ เมื่อเทียบกับการเข้าไปสนับสนุนอำนวยความสะดวกการผลิตและการตลาด ตั้งแต่ด้านการลดต้นทุนการเก็บเกี่ยว หาตลาด หาจุดฝากเก็บผ่านการจำนำยุ้งฉาง สถาบันเกษตรกร และโรงสี ที่ใช้งบประมาณต่ำกว่าโครงการรับจำนำ เพราะโดยสูงสุดไม่เกิน 4-5 หมื่นล้านบาท ขณะที่โครงการรับจำประมาณไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท รวม 8 ฤดูกาลผลิตช่วง 3 ปี ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 8 แสนล้านบาท

 

ทั้งนี้ เน้นการใช้กลไกการตลาดเข้ามาบริหารจัดการการตลาดมากว่าการใช้เงินเข้าไปรับซื้อผ่านโครงการรับจำนำที่โครงการรับจำนำในงบประมาณปีละไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้าน ขณะที่โครงการทั้ง 7 มาตรการ ใช้เงินรวมกันประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท เช่น มาตรการสินเชื่อให้สถาบันเกษตรกร วงเงินสินเชื่อ 12,500 ล้านบาท เป้าหมายซื้อข้าวชะลอการขายได้ 2.5 ล้านตัน และการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ค่าดอกเบี้ย 937 ล้านบาท และสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ซึ่งมาตรการดังกล่าวเพียงประวิงเวลารับซื้อที่เกษตรกรเข้ามาขอคืนในภายหลังเมื่อราคาเหมาะสมที่จะจำหน่าย

 

“เกษตรกรไทยยุค 4.0 จะรู้เท่าทันตลาด โดยมีข้อมูลข่าวสารอยู่ในมือ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รู้ว่าเวลาใดควรขายข้าวได้ หูไวตาไว ดูจังหวะ โดยทางภาครัฐส่งข้อมูลผ่านมือถือ ผ่านแอพลิเคชั่น ชาวนาไทย และไลน์ เพื่อเทียบราคาวันต่อวัน จึงรู้ว่าวันไหนควรขายข้าว และรู้จังหวะวันไหนควรเก็บไว้”

 

-------------------------------------

 

Big Change : คืนศักดิ์ศรีชาวนาไทย

 

สุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย หนึ่งในคณะทำงานช่วยให้ข้อมูลประกอบการทำงานและร่วมวางแผนเสนอ คณะทำงานวางแผนผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ที่มีพล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน

 

เขามองว่า หลังจากที่รัฐบาลเริ่มพัฒนาแผนบริหารจัดการข้าวอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ปี 2558 จนนำมาสู่การบริหารจัดการด้านผ่านมาตรการต่างๆ อาทิ การจำนำยุ้งฉาง ในราคาต่ำกว่าตลาด 90% เพื่อชะลอการขายข้าว รวมถึงการเงินช่วยเรื่องการลดต้นทุน ช่วยทำให้ต้นทุนการปลูกข้าวที่เฉลี่ยไร่ละ 8,000 บาท ลดลงเหลือไร่ละ 6,000 -7,000 บาท เมื่อรวมกันกับมาตรการเสริมที่ภาครัฐให้ ในปีที่ผ่านมาช่วยให้ชาวนารู้ขั้นตอนการบริหารจัดการต้นทุน และรู้ถึงผลกำไรที่แท้จริง

 

อีกทั้ง การจำนำยุ้งฉาง ช่วยดูดสภาพคล่องข้าว และผลผลิตปีนี้ก็ลดลงเล็กน้อย จึงทำให้ราคาข้าวดีขึ้น ปัจจุบันตอนนี้ราคาข้าวหอมมาอยู่ที่ตันละ 13,000-14,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาจำนำยุ้งฉางที่ตันละ 10,800 บาท สำหรับโครงการจำนำยุ้งฉางและรวมกับมาตรการอื่นจากภาครัฐที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ตันละ 15,300 บาท เมื่อหักต้นทุนที่ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้คำนวณอยู่ที่ตันละ 9,440 บาท จะเหลือเงินเป็นกำไรมูลค่าตันละ 5,860 บาท

 

ที่ผ่านมาชาวนามุ่งเน้นเรียกร้องราคารับซื้อจากภาครัฐให้สูงขึ้น แต่เมื่อราคาสูงขึ้นต้นทุนก็สูงขึ้นตาม จึงเหลือรายได้อยู่ในเกษตรกรจริงอาจจะขาดทุนหรือกำไรน้อย เมื่อรวมค่าบริหารจัดการต่างๆ เมื่อมีรัฐมาช่วยขายข้าวในท้องตลาดเราไม่ขอราคาให้ขึ้นราคาจำนำข้าวอีกต่อไป แต่เราขอให้ภาครัฐมาช่วยสมทบในค่าบริหารจัดการ ที่ทำให้เงินในกระเป๋าเราเหลือ แล้วราคาจะสูงขึ้นเอง เพราะราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพเป็นหลัก

 

เขามองถึงความหวังของชาวนาไทยในยุค 4.0 คือ “ความยั่งยืนในระยะยาว โดยรัฐเข้ามาเติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย วางแผนการตลาด แทนการรับจำนำทุกเม็ด ที่ไม่เน้นเรื่องกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ เพราะไม่ว่าจะผลิตดีหรือไม่ดี รัฐบาลก็รับซื้ออยู่แล้ว แต่นั่นไม่ใช่ความเป็นจริงในการผลิต

 

“วันนี้ชาวนาเรารู้จักตัวเองมากขึ้น เหลือเงินในกระเป๋ามากขึ้น สิ่งนี้คือความจริง คือมีกำไร”

 

สำหรับเขา ชาวนา 4.0 นั่นไม่ใช่เพียงแค่ได้ราคาข้าวสูงๆ แต่หมายถึงวิถีชีวิตชาวนาไทยจะต้องมีชีวิตอยู่คู่สังคมไทยอย่างมีศักดิ์ศรี นั่นคือไม่ต้องแบมือขอรัฐให้เข้ามาช่วยเหลือในทุกๆอย่าง แต่มีชีวิตมั่นคง รู้วิธีการบริหารต้นทุน กำไร รู้หลักการขาย การตลาด และจังหวะที่เหมาะสม

 

ปัจจุบันชาวนาในประเทศมีจำนวนประมาณ 28 ล้านคน หรือ 3.9 ล้านครัวเรือน หมายถึง สัดส่วนของคนในระบบเศรษฐกิจฐานรากขนาดใหญ่ หากคนกลุ่มนี้มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ หมายถึงพลังเงินเคลื่อนตัวหมุนเศรษฐกิจฐานรากที่แข็งแกร่งตามมา

 

“ชาวนาก็เป็นนักธุรกิจ ไม่ใช่เพียงแค่ก้มหน้าก้มตาปลูกข้าว โดยไม่รู้ว่าขาดทุนหรือกำไรเท่าไหร่ เพราะมัวแต่วิ่งไปขอรัฐได้เหมือนที่ผ่านมา แต่ชาวนาคือนักธุรกิจฐานรากที่ใหญ่ที่สุดของประเทศหากทุกคนทำนาแล้วมีกำไรสัก 50%ของเกษตรกรทั้งหมด ก็ถือว่าเป็นเป็นส่วนในการเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง มีเงินหมุนเวียนในระบบขนาดใหญ่”

 

เขาบอกว่า ในวันนี้บทบาทชาวนาต้องเปลี่ยนไป จะไม่วิ่งตามการเมือง ถูกหยิบมาเป็นเครื่องมือในการหาเสียง โดยการใช้ประชานิยม เข้ามาเอาใจกลุ่มคนขนาดใหญ่ของประเทศ โดยเทงบประมาณลงมาจำนวนมากแต่ไม่ได้สร้างความยั่งยืน

 

สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ บทบาทการยอมรับร่วมกำหนดนโยบายและเข้าไปมีส่วนร่วมในห่วงโซ่ผลิตข้าวที่มีคุณธรรม มีการกระจายมูลค่าเพิ่มทั้งซัพลายเชนอย่างเท่าเทียม ตั้งแต่ ผู้ผลิตคือชาวนา พ่อค้าโรงสี และผู้ส่งออก ร่วมกันพัฒนายกระดับข้าวไทยอย่างเป็นธรรม โดยที่ประโยชน์ตกอยู่กับทุกคนอย่างเท่าเทียม

 

 “เรากำลังนำชาวนาออกจากการเมือง ข้าวกับชาวนาเป็นพืชการเมือง เพราะว่านักการเมืองเข้าไปหาเสียงกับชาวนา เข้าใจว่าเป็นฐานเสียงใหญ่ เป็นคนยากจนที่ต้องดูแล แต่วันนี้ไม่ใช่ เรารู้จักตัวเองดี เราต้องเป็นผู้ร่วมเสนอนโยบายเดินคู่กับรัฐบาล

 

โดยเฉพาะแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรล่าสุด เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง มีการบริหารจัดการการเพาะปลูกอย่างเป็นระบบมากขึ้น จากเดิมพื้นที่ปลูกข้าว 67 ล้านไร่ เหลือ 56 ล้านไร่ บางพื้นที่ไม่เหมาะสมเพราะปลูกก็หันไปทำสินค้าเกษตรชนิดอื่น ส่วนข้าวเปลือกที่ผ่านมามีผลผลิตเฉลี่ยปีละ 30 ตัน แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 27 ล้านตัน ซึ่งอยู่ในปริมาณดีมานด์และซัพพลายที่ใกล้เคียงและสมดุลกัน

 

เกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ให้แนวคิดถึงมาตรการช่วยเหลือชาวนาไทย ผ่านการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นทุน จนถึงกลไกการตลาด ว่าเป็นวิธีการวางรากฐานของชาวนาไทยได้อย่างจริงๆ ในเชิงโครงสร้าง เงินราว 4-5 หมื่นล้านบาทที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าไปวางพื้นฐานการเพาะปลูก ซึ่งเป็นเรื่องระยะยาว ซึ่งนโยบายมีความท้าทายตรงที่ต้องมีความจริงจังในการทำงานต่อเนื่องทั้งภาครัฐที่เป็นผู้สนับสนุนตั้งต้น จนถึงกลุ่มชาวนาไทย ก็ต้องพัฒนาตัวเองต่อเนื่อง เมื่อรัฐให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตแล้ว ปรับปรุงพันธุ์และการตลาดแล้ว ชาวนาก็ต้องยกระดับตัวเอง

 

สังคมตั้งคำถามทุกเรื่องแม้เรื่องนี้เป็นการลงทุนที่โครงสร้างพื้นฐานของชาวนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องมีการติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการลดต้นทุนในอนาคตอย่างจริงจัง

 

เกรียงศักดิ์ ระบุว่า เมื่อวันหนึ่งชาวนาไทยพัฒนายกระดับตัวเองเข้าถึงการตลาด มีข้อมูลราคาข้าว สภาวะการตลาดเช่นเดียวกันกับโรงสี และผู้ส่งออก ซึ่งตลาดจะแข่งขันมีทั้งผู้ขายและผู้ซื้อมากขึ้น โรงสีก็ต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน เพราะทุกคนต้องการยกระดับตัวเอง ชาวนาต้องการไปสู่ผู้ค้า โรงสีก็ต้องการเป็นผู้ส่งออก ดังนั้นทุกห่วงโซ่ซัพพลายเชน ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุค

 

มันคือวงจรธุรกิจที่ทุกคนต้องการยกระดับตัวเอง ชาวนาบางคนอาจจะพอใจในจุดที่เป็นเฉพาะชาวนา แต่บางคนขยับรวมกลุ่มทำหน้าที่คล้ายโรงสี แต่โรงสีเองก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณธรรมที่แบ่งปันผลประโยชน์เกื้อกูลกัน อยู่ร่วมกันค้าขายกันอย่างเพื่อน วันนี้ โรงสีจึงเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ไปแบ่งปันความรู้ให้กับชาวนา

 

เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย มองว่า เห็นด้วยการกับการสร้างพื้นฐานและวางระบบให้กับชาวนาให้มีการบริหารจัดการการผลิต ลดต้นทุน และช่วยด้านกลไกการตลาด แต่ถึงวันหนึ่งในยุคนี้ที่ทุกคนต้องการลุกขึ้นมาเป็นผู้ค้าทั้งหมด ทั้งชาวนาและโรงสี ก้าวข้ามหน้าที่ของแต่ละซัพพลายเชน(Cross Value Chain) ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ส่งผลดีต่อประเทศ 

 

นโยบายควรต้องมาเคลียร์หน้าที่ให้ชัดเจน ไม่เช่นกันเมื่อทุกคนค้ากันหมด จะเกิดการแข่งขันกันเอง อาจจะเป็นผลร้ายกับตลาดข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวไทยในตลาดโลกต้องใช้ความชำนาญ ประสบการณ์ จังหวะ ต้องดูความต้องการตลาดเป็นหลัก แล้วจึงร่วมกันวางแผนการผลิต การแปรสภาพข้าว จนถึงการหาตลาดส่งออก แต่หากทุกส่วนลุกขึ้นมาแข่งขันแล้วตัดราคากันเอง ทั้งในประเทศและตลาดโลกแล้วไม่ส่งผลดีต่อข้าวไทย

 

source: bangkokbiznews.com/news/detail/782147


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5014 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เศรษฐกิจเกษตร]:
ชำแหละ บัตรคนจน คืนชีพโชห่วย?
หวังประโยชน์สองต่อ ต่อแรกจากเงินรัฐอัดฉีด 4 หมื่นล้าน เข้ากระเป๋าคนจน 11.4 ล้านคน ต่อที่สองฟื้นชีวิตชีวาโชห่วย
อ่านแล้ว: 5274
ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!
อ่านแล้ว: 5014
ชง 14 เมกะโปรเจค 5 แสนล้าน
เผยเอกชนเสนอรัฐบาลดันเมกะโปรเจคภาคใต้ 5 ปี 14 โครงการ มูลค่า 5 แสนล้าน หวังบูมเศรษฐกิจภาคใต้โตไม่ต่ำกว่า 6%
อ่านแล้ว: 5350
สมคิด ดึงรัฐวิสาหกิจร่วมแก้ปัญหาความยากจน
รองนายกฯ สมคิด จี้รัฐวิสาหกิจร่วมพัฒนาท้องถิ่น ช่วยเศรษฐกิจฐานราก แจงรัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาความยากจนควบคู่การปฏิรูปเศรษฐกิจ
อ่านแล้ว: 5335
พัฒนาเกษตร 4.0 ให้คนไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
ศุภชัย หนุนรัฐบาลยกระดับประเทศ แนะพัฒนาเกษตรกรสู่ยุค 4.0 สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ช่วยไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
อ่านแล้ว: 5604
เศรษฐกิจไทยโต4.3%สูงสุดในรอบ18ไตรมาส
สศช.เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส3ปี60เติบโต 4.3% สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส หลังส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
อ่านแล้ว: 5335
ดัชนีรายได้เกษตร 3 ไตรมาส
รายงานดัชนีรายได้เกษตรกร 3 ไตรมาส ปี 2560 (ม.ค.-ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 155.34 เพิ่มขึ้น 8.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
อ่านแล้ว: 4601
หมวด เศรษฐกิจเกษตร ทั้งหมด >>