ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 54977 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เพิ่มผลผลิตอ้อย ปลูกข้ามแล้งระยะปลูกเหมาะสม

การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยโดยการปรับเปลี่ยนระยะแถวปลูกและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสม

data-ad-format="autorelaxed">

การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยโดยการปรับเปลี่ยนระยะแถวปลูกและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสม: อ้อยปลูกข้ามแล้ง
................................................................................................................................................
สุรเดช จินตกานนท์1,2 ศุภฤกษ์ กลิ่นหวล2 และ ผกาทิพย์ จินตกานนท์ 2
1ศูนย์วิจัยและพัฒนาอัอยและน้ำตาล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การศึกษาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยลูกผสมเบอร์ 90-2-029 ที่ปลูกในชุดดินยโสธร (Yt: Typic Paleustults) ในพื้นที่เกษตรน้ำฝนของเกษตรกร อ.พิมาย จ. นครราชสีมา โดยปลูกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 และเก็บเกี่ยวในเดือน พฤศจิกายน 2544 มีการวางแผนการทดลองแบบ split plot in randomized complete block มีระยะแถวปลูก 3 ระยะ ได้แก่ 24, 48 และ 67 แถว/ไร่ เป็น main plot และมีอัตราปุ๋ยในโตร- เจน 3 อัตราได้แก่ 8, 20 และ 50 กก N/ไร่ เป็น subplot แปลงย่อยทุกแปลงจะได้รับปุ๋ยฟอสฟอรัส และปุ๋ยโพแทสเซียม ในอัตราเดียวกันคือ 10 กก P2O5/ไร่ และ 20 กก K2O/ไร่ ตามลำดับ โดยปุ๋ยฟอสเฟตใช้เป็นปุ๋ยรองพื้น ส่วนปุ๋ยไนโตรเจน และโพแทสเซียมใช้เป็นปุ๋ยแต่งหน้า โดยแบ่งใส่ 1/3 ของทั้งหมด เมื่ออ้อยอายุ 4 เดือน และที่เหลืออีก 2/3 ของทั้งหมดใส่เมื่ออ้อย อายุ 6 เดือน ทำการทดลองจำนวน 4 ซ้ำด้วยกัน

ผลการทดลองปรากฎว่าระยะปลูกแถวชิด (67 แถว/ไร่) ให้ผลผลิต อ้อยสูงที่สุดคือ 21.8 ตัน/ไร่ สูงกว่าการปลูกระยะแถวมาตรฐาน (24 แถว /ไร่) ถึง 35.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการที่จำนวน ลำอ้อยต่อไร่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง สำหรับอัตราปุ๋ย พบว่าการใช้ไน- โตรเจนอัตรา 20 กก N/ไร่ และ 50 กก N/ไร่ ให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน และสูง กว่าการใส่ในอัตรา 8 กก N /ไร่ ประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ สำหรับระยะแถว ปลูกและอัตราปุ๋ยไม่มีผลต่อคุณภาพของอ้อยแต่อย่างใด ดังนั้นผลผลิตน้ำตาล ต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อยเป็นสำคัญ

วิธีวิจัย วางแผนการทดลองแบบ split plot in randomized complete block ที่มี 4 ซ้ำ โดยมีระยะแถวปลูกเป็น main plot ดังแสดงในภาพ

ระยะปลูกอ้อย ปรับระยะเพิ่มผลผลิตอ้อย
ภาพที่ 1 ระยะแถวปลูกใน main plot



สำหรับ subplot เป็นอัตราของไนโตรเจน 3 อัตราคือ 8, 20 และ 50 กก N/ไร่ แต่ละแปลงย่อยซึ่งมีขนาด 6.6x10 ตารางเมตร จะได้รับปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตรา 10 กก P2O5/ไร่ และปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตรา 20 กกK2O/ไร่ ปุ๋ยฟอสฟอรัส ทั้งหมดใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูก ปุ๋ยไนโตรเจนและ โพแทสเซียมใส่เป็นปุ๋ยแต่งหน้า 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ 1/3 ของทั้งหมดเมื่ออ้อยมีอายุได้ 4 เดือน ครั้งที่สองใส่ส่วนที่ เหลือ (2/3 ของปริมาณทั้งหมด) หลังการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้ง แรกนาน 2 เดือน

ดินในแปลงทดลองเป็นชุดดินยโสธร (Yb: Typic Paleustults) เป็นแปลงเกษตรกรในเขตน้ำฝน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ปริมาณฝนรวมตลอดช่วงของการเจริญ เติบโต (พ.ย. 2543-พ.ย.2544) วัดได้ 720 มม. โดยใน ช่วงระหว่าง พ.ย. 2543- สิ้นเดือน ก.พ. 2544 ไม่มีรายงาน ฝนตกแต่อย่างใด

สรุปผลการทดลอง 1) การปลูกระยะแถวชิด (67 แถว/ไร่) ให้ผลผลิตอ้อยสดมากที่สุด โดยสูงกว่าการปลูกในระยะแถวปรกติ (24 แถว/ไร่) ถึง 35.6 เปอร์เซ็นต์
2) การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 20 กก N/ไร่ น่าจะพอเพียงแล้ว เพราะให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากใส่ในอัตรา 50 กก N/ไร่ ผลผลิตที่เพิ่มจากอัตรา 8 กก N/ไร่ มีค่าเท่ากับ 10.45 เปอร็เซ็นต์
3) องค์ประกอบของผลผลิตที่มีผลสอดคล้องกับการเพิ่มของผลผลิตอ้อยสด คือ จำนวนลำอ้อยต่อไร่ ซึ่งการปลูกระยะ แถวชิดมีจำนวนลำเพิ่มขึ้นจากการปลูกตามระยะแถวมาตรฐาน (24 แถว/ไร่) ถึง 52.6 เปอร็เซ็นต์
4) ทั้งระยะแถวปลูกและอัตราปุ๋ยที่ใช้ในการทดลองไม่มีผลต่อคุณภาพอ้อย (ค่า CCS) แต่อย่างใด
5) การที่ผลผลิตน้ำตาลในการปลูกระยะแถวชิด (67 แถว/ไร่) สูงกว่าระยะแถวปลูกอื่นๆ ที่ทดลอง เป็นเพราะมีน้ำหนัก อ้อยสดสูงที่สุดนั่นเอง

อ้างอิง : http://www.ku.ac.th/kaset60/Theme04/theme-04-06/index-04-0602.html


สินค้าจากฟาร์มเกษตร ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตสำหรับอ้อย

เตรียมดิน รองพื้น เดือนที่ 1-2 เดือนที่ 2 เดือนที่ 2-3 เดือนที่ 4-5 เดือนที่ 5 กำจัดหนอน
ไฮ แมกก้า สารปรับสภาพดิน ปรับโครงสร้างดิน ปรับ PH ดิน คุณภาพสูง
ปุ๋ย เม็ด วันเดอร์เขียว เตรียมดิน บำรุงต้น อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อินทรีย์ ตรา นกอินทรีคู่
ปุ๋ยน้ำอะมิโน ขนาด 20 ลิตร ตรา นกอินทรีคู่
ปุ๋ย เม็ด เพอร์เฟค ซี เร่งแตกกอ ปุ๋ยแตกกอในนาข้าว แตกกิ่งมันสำปะหลัง ย่างปล้องในอ้อย ใส่ผักกินใบได้ดี ตรา นกอินทรีคู่
ไบโอเอ็น อ้อย 20 ลิตร ตรา นกอินทรีคู่
ปุ๋ยน้ำ บูสเตอร์เงิน 20 ลิตร บำรุงต้น เร่งความเขียว ในอ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด ผักกินใบ และพืชอื่น ตรา นกอินทรีคู่
ปุ๋ย เม็ด วันเดอร์ส้ม เร่งความหวาน เร่ง CCS เร่งผลผลิต อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อินทรีย์ ตรา นกอินทรีคู่
ปุ๋ยบูสเตอร์ส้ม 20 ลิตร ตรา นกอินทรีคู่
ปุ๋ยบูสเตอร์ส้ม 20 ลิตร ตรา นกอินทรีคู่
ไบโอเอ็น อ้อย 20 ลิตร ตรา นกอินทรีคู่
ไอกี้ บีที กำจัดหนอน ฆ่าหนอน ตรา ดับเบิ้ลชีลด์

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 54977 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

คุณธนกฤต จิระสุข
[email protected]
พี่คับ 67แถวที่พี่พูดถึง แต่ละแถวห่างเท่าไหร่คับถึงได้67แถวต่อไร่ แล้วหน้าแถวแต่ละแถวกว้างเท่าไหร่คับ แล้วแต่ละต้นในแถวปลูกห่างเท่าไหร่คับ เปอร์เซนต์ปลูกจึงจะขึ้นตามที่พี่พูดถึง หากเป็นอย่างที่พี่กล่าวมาจิงรบกวนขอคำตอบด้วยนะคับ...ขอขอบคุณล่วงหน้าคับผม
25 ต.ค. 2555 , 03:22 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

Jack GIS
[email protected]


ผมว่าถ้าได้ผลผลิตเพิ่ม 35เปอร์เซนต์ยังไงก็คุ้มครับ เพราะลองคิดแบบคร่าว ๆ เราต้องใช้พันธุ์เพิ่ม จากปกติ 1.5ตัน/ไร่ เป็น 4.8 ตัน/ไร่  หักส่วนต่างซึ่งหมายถึงต้องจ่ายค่าพันธุ์อ้อยเพิ่ม 2.7 ตันต่อไร่ ลองจำลองราคา เบื่องต้น     ได้ผลผลิตเพิ่ม 3.5ตัน  จากปกติ 10 ตัน/ไร่  เอา3.5*ราคาอ้อยสมมติ 1000 บาท/ตัน จะได้เท่ากับ 3500  ที่นี้เราลองดูค่าพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นซึ่งก็คือ 2.7 * 1000 เท่ากับ 2700  เพราะฉะนั้นเราจะได้รับส่วนต่าง 3500-2700 เท่ากับ  800  ซึ่งก็อาจนำไปหักในเรื่องของค่าเตรียมดินที่เพิ่มขึ้นแต่ผมว่า คงไม่เกิน 500 ท้ายสุดอาจเหลือกำไรเพิ่มไร่ละ 300  ยังไงก็ได้เพิ่มอยู่ดีครับ แล้วถ้าเราทำตันต่อไร เกิน10 ก็จะยิ่งเป็นกำไรให้เรามากขึ้น เพราะต้นทุนค่าพันธุ์คงที่หากพี่ทำยิวได้ 20 *35 เปอร์ก็จะยิ่งได้เงินเยอะขึ้นแน่นอนครับ เอาแบบไม่ต้องนักสถิติวิเคราะห์นะครับ



ยิว10 = 3500 -2700



ยิว20 = 7000-2700



ยิว30 = 10500 - 2700             ในเมื่อต้นทุนมันคงที่ เราก็แค่คิดสิ่งที่จะได้รับว่าคุ้มกันรึป่าว ถ้าหักแล้วมีถึงจะไม่มาก ก็ควรทำครับ   อันนี้ผมเข้ามาอ่านแล้วแสดงความคิดเห็นเฉยๆนะครับ ไม่ใช่เจ้าของกระทู้



13 ก.ค. 2554 , 09:01 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

คณาวุฒิ
[email protected]
ผมสงสัยการปลูกแบบ 67 แถว/ไร่ ใหผลผลิตสูงกว่าปลูกแบบ 24 แถว/ไร่ 35.6% นั้น ต้นทุนแบบ 67 แถว จะสูงกว่าแบบ 24 แถว กี่% ครับ ผมคิดแบบง่ายๆ เฉพาะค่าพันธุ์อ้อยแบบ 24 แถว จะถูกกว่า แบบ 67แถว 179.2% แล้วไม่รวมค่าปุ๋ย ค่าแรงอีก ช่วยไขความข้องใจด้วย ครับ
25 ก.ค. 2553 , 07:29 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 6814
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 6689
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9014
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 7557
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 7872
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 7921
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 6929
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>