ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 39445 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การค้าข้าวในอดีต - ปัจจุบัน

สมัยก่อน คนไทยปลูกข้าว เพื่อใช้บริโภคเองเป็นหลัก ชาวนาจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ ไปตากแดดจนแห้ง และเก็บไว้ในยุ้งฉาง เมื่อจะบริโภคจึงนำมาตำ เป็นข้

data-ad-format="autorelaxed">

การค้าข้าวในสมัยกรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ อันเกิดจากการทับถมของตะกอนดิน ทำให้กรุงศรีอยุธยา เหมาะแก่การปลูกข้าว และ จากสภาพเมืองที่เกาะมีแม่น้ำ 3 สายล้อมรอบ คือ แม่น้ำลพบุรีเก่า (ด้านเหนือ) แม่น้ำเจ้าพระยา (ด้านตะวันตกและใต้) และแม่น้ำป่าสัก (ด้านตะวันออก) ทำให้ชาวอยุธยาสามารถติดต่อค้าขาย กับหัวเมืองในภาคกลาง และภาคเหนือได้ ทั้งยังตั้งอยู่ใกล้อ่าวไทย ช่วยให้สามารถติดต่อค้าขายทางเรือ กับชาวต่างชาติได้สะดวก กรุงศรีอยุธยา จึงเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าป่า จากหัวเมือง ออกขายสู่หัวเมืองต่างๆ และ ต่างประเทศ ทั้งยังทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง ให้กับพ่อค้าตามหัวเมือง กับชาวต่างชาติ กรุงศรีอยุธยา จึงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ และ การค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าข้าวในสมัยนั้น เป็นค้นจีนที่เข้ามาตั้งหลักแหล่ง อยู่รอบบริเวณอ่าวไทย การค้าข้าวในสมัยนั้น เป็นระบบผ่านคนกลาง โดยคนกลางจะออกไปรับซื้อข้าว จากชาวนาตามหัวเมือง และ รวบรวมขนส่งสู่อยุธยามาขายให้แก่พ่อค้ารายใหญ่ หรือ โรงสีอีกทอดหนึ่ง ราคาข้าวที่สีแล้ว อาจถูกกำหนดโดยเจ้าของโรงสีเอง ดังเอกสาร คำให้การของขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมว่า แถววัดสมอ วัดขนุน วัดขนอน สามวัดนี้ชาวเมืองอ่างทอง แลเมืองลพบุรี เมืองอินทร์ เมืองพรหม เมืองสิงห์ เมืองสุพรรณ เอาเข้าเปลือกบันทุกเรือใหญ่น้อย มาจอดขายที่นั่นหนึ่ง แลชาวบ้านแถวน่าวัดทั้งสามนั้นตั้งโรงสี โรงกระเดื่องสีเข้าซ้อมเข้าขายชาวพระนคร แลขายพวกโรงต้มสุรา

การค้าข้าวกับต่างประเทศ เป็นการค้าโดยทางเรือสำเภา นโยบายการค้าในสมัยนั้น มีระบบควบคุม จากทางราชการโดยกรมคลัง ดังปรากฎชื่อ พระคลังสินค้า ขึ้นครั้งแรก ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการซื้อขายสินค้าต้องห้าม ที่ห้ามเอกชนซื้อขายกันเอง การค้าข้าวกับต่างประเทศในสมัยอยุธยา มีทั้งข้าวที่ไทยส่งไปขายเอง และ ข้าวที่พ่อค้าต่างชาติเข้ามารับซื้อ แล้วขายต่ออีกทอดหนึ่ง พ่อค้าต่างชาติที่เข้ามาค้าขาย ได้แก่ ชาวโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส และ ชาวหัวเมืองชายทะเลแถบมลายู มะละกา ชวา ปัตตาเวีย ญวน เขมร มะนิลา ลังกา ญี่ปุ่น และจีน

การค้าข้าวในสมัยกรุงธนบุรี
หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช และ สถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี ขณะนั้นประเทศอยู่ในภาวะสงคราม และ การสร้างความเป็นปึกแผ่นของแผ่นดิน ทำให้บทบาทด้านการพาณิชย์มีน้อย แต่การค้ากับต่างประเทศ ก็ยังคงใช้ระบบพระคลังสินค้า ปัญหาการขาดแคลนอาหาร เป็นปัญหาสำคัญในยุคนี้ พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงทรงดำเนินการซื้อข้าวสารในราคาแพง จากพ่อค้าต่างเมือง และพระราชทานแก่บรรดาข้าราชการ ทหาร พลเรือน ขณะเดียวกัน ก็โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่ และผู้น้อยทำนา เพื่อบรรเทาความขาดแคลนอาหาร ส่วนการค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับพ่อค้าจีนยังคงดำเนินต่อไปในรัชกาลนี้

การค้าข้าวในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้น

 

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2325 นโยบายทางการค้า ยังคงเป็นแบบผูกขาด โดยระบบพระคลังสินค้า แต่ เริ่มคลี่คลายลง เพราะความต้องการข้าวของต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการทำสัญญาการค้ากับชาติตะวันตกหลายชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.ศ.2368 อังกฤษส่ง เฮนรี่ เบอร์นี่ เข้ามาเจรจาการค้า และได้ทำสนธิสัญญาเบอร์นี่ ขึ้นเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เปิดโอกาสให้พ่อค้าอังกฤษ และ ไทยทำการค้าโดยเสรี ยกเว้น ข้าวสารข้าวเปลือก ซึ่งยังห้ามส่งออกเพราะถือเป็นยุทธปัจจัย

จนสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทย ได้เปลี่ยนแปลง นโยบายด้านการพาณิชย์ เพื่อให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ของบ้านเมือง และของโลก โดยมีการสนับสนุนการค้ามากขึ้นในปี พ.ศ.2398 สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย แห่งอังกฤษได้ส่ง เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง มาเจริญสัมพันธไมตรี ด้านการพาณิชน์ กับไทยและทำสนธิสัญญาขึ้น เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจของไทย อย่างใหญ่หลวง ผลของสนธิสัญญานี้ ทำให้ต้องยกเลิกพระคลังสินค้า และ ระบบภาษีแบบโบราณ ทำให้มีการขยายตัวด้านการค้า โดยเฉพาะการค้าข้าว กับชาวต่างชาติ ทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น นับเป็นการริเริ่ม ในการยกระดับเศรษฐกิจ ของชาวไร่ชาวนาให้สูงขึ้น จนในที่สุดข้าวก็เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ การผลิตข้าว ได้ขยายตัวเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขึ้น ในระหว่างปี พ.ศ.2399 - 2401 มีโรงสีขนาดใหญ่หลายโรงตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน

การค้าข้าวในสมัยรัชกาลที่ 5 - ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังจากสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจของไทย เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจ แบบเลี้ยงตัวเอง ไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบการค้า โดยมีกรุงเทพฯ เป็นตลาดค้าข้าวที่ใหญ่ที่สุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตข้าว โดยเพิ่มพื้นที่การปลูกข้าว และขุดคลองต่างๆ ใช้ในการชลประทาน และการคมนาคม 8 คลอง ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และ ชานเมืองกรุงเทพฯ ส่งผลให้หลายพื้นที่กลายเป็นแหล่งปลูกข้าว

ผลจากการปฏิรูป แนวทางที่ขจัดอุปสรรคต่างๆ ทางการค้า และนโยบายรัฐที่เอื้อำนวยต่อการค้าข้าว ทำให้เกิดความกระตือรือร้น ในการปรับปรุงการทำนา เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง กอปรกับ ตลาดต่างประเทศ มีความต้องการข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดในจีน ในสมัยนี้ผู้มีอิทธิพล ด้านการค้าข้าว กับต่างประเทศได้เปลี่ยนมือ จากชาวตะวันตก เป็นพ่อค้าชาวจีนเกือบทั้งสิ้น เพราะชาวจีนมีความใกล้ชิด และรู้ขั้นตอนระบบงาน และ การติดต่อกับทางราชการเป็นอย่างดี ดังปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2455 โรงสีไฟทั้งหมด ในไทยที่มีประมาณ 50 โรง เป็นของชาวตะวันตก เพียง 3 โรง ที่เหลือเป็นของชาวจีน ซึ่งได้ลงทุน นำเครื่องสีข้าวไอน้ำจากอังกฤษ และ เยอรมนีเข้ามาตั้งเป็นโรงสีไฟ ส่วนพ่อค้าชาว ตะวันตก ได้เปลี่ยนไปเป็นนายหน้าซื้อข้าวสาร จากไทยส่งไปขายยังสิงคโปร์ และมาเลเซีย พ่อค้าจีน จึงกลายมาเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ ทางการค้าข้าวของไทย

การค้าข้าวในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 - 2488) ข้าวถือเป็นยุทธปัจจัยสำคัญ การค้าข้าวจึงถูกผูกขาดโดยรัฐบาล เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2489 ประเทศไทยในฐานะพันธมิตรกับญี่ปุ่น ได้กลายเป็นชาติแพ้สงคราม จึงถูกบังคับให้ส่งมอบข้าวจำนวน 1,500,000 ตัน ชดเชยค่าเสียหายแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ในเวลา 3 ปี ในปี พ.ศ. 2498 รัฐบาลได้อนุญาตให้เอกชนส่งออกข้าว ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล โดยใช้ระบบโควตา และอัตราการแลกเปลี่ยน 2 อัตรา เอกชนผู้ที่ส่งข้าวออกไปขายต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจาก กระทรวงเศรษฐการก่อนเพื่อขอโควตา และเมื่อขายข้าวได้ จะต้องนำเงินตราต่างประเทศ มาแลกเปลี่ยนที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในอัตราต่ำกว่าอัตราตลาด ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นรายได้ของ รัฐบาลแทนภาษี ผลกระทบหลังสงครามสิ้นสุดลง คือได้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารไปทั่วโลก แต่กลับเป็นผลดีต่ดกิจการค้าข้าวาของไทย ทำให้สามารถฟื้นตัว และขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ต่อมา จากภาวะการขาดแคลนข้าว ของโลกที่ส่งผลให้ราคาข้าวสูงขึ้น รัฐบาลเกรงว่าจะกระทบต่อราคาข้าว ในประเทศ จึงเปลี่ยนการเก็บภาษีมาเป็นระบบ การเสียค่าธรรมเนียมส่งออกที่เรียกว่า พรีเมียมข้าว การเก็บค่าพรีเมียมข้าว ทำให้รัฐบาล ในขณะนั้นมีรายไดมากขึ้น แต่ต่อมาการค้าข้าว ได้กลายเป็นตลาดของผู้ซื้อ เนื่องจากประเทศต่างๆ ผลิตข้าวมากขึ้นทำให้ปริมาณการส่งออก และราคาในตลาดโลก ได้รับความกระทบกระเทือน เป็นผลให้ระบบพรีเมียมข้าวหมดความหมาย รัฐบาลจึง ประกาศยกเลิกระบบพรีเมียมข้าว อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2529

ในยุคการปฏิวัติเขียว ช่วงปี พ.ศ. 2509 ผลสำเร็จจากการวิจัยพันธุ์ข้าว ของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ได้ส่งผลให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวนาปรัง ที่ปลูกในเขตชลประทานได้ปีละ 2 ครั้ง เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง ทำให้ผลิตข้าวได้ปริมาณมาก และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมีการตื่นตัว มีการก่อสร้างโรงสีใหม่ และขยายกำลังการผลิต เพื่อรองรับปริมาณข้าวเปลือก ที่ผลิตได้มากขึ้น จนในปี พ.ศ. 2518 โรงสีต่างๆ ได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องสีข้าวประเภทมอเตอร์แทนเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพดีกว่าเดิม

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เริ่มนโยบายพยุงราคาข้าวเปลือก ซึ่งได้พัฒนามาเป็นโครงการ รับจำนำข้าวเปลือก ในปัจจุบัน

การค้าข้าวในปัจจุบัน

ในแถบภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อชาวนาผลิตข้าวเปลือกได้ ส่วนหนึ่งจะใช้บริโภคภายในครัวเรือน โดยทยอยแบ่งสีที่โรงสีขนาดเล็ก (กำลังสี 1 - 12 ตัน ต่อ 24 ชั่วโมง) ส่วนที่เหลือจะขายให้แก่โรงสีขนาดกลาง (กำลังสี 30 - 60 ตัน ต่อ 24 ชั่วโมง) หรือพ่อค้าข้าวเปลือก หรือขายผ่านตลาดกลางข้าวเปลือก (สถานที่ ที่ชาวนา พ่อค้าข้าวเปลือก และโรงสีเจรจาตกลงซื้อขายข้าวกัน)

ในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางที่เป็นแหล่งชลประทาน เมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกสด จะมีพ่อค้าข้าวเปลือก หรือตัวแทนโรงสีมารับซื้อถึงที่ บางรายจะนำข้าวเปลือกไปขายให้แก่โรงสีใกล้เคียง โดยผลักภาระการลดความชื้นให้โรงสี หรือขายผ่านตลาดกลาง ดังนั้นการประเมินคุณภาพ จึงต้องมีการตรวจสอบระดับความชื้น เมื่อพ่อค้าข้าวเปลือก หรือ พ่อค้าคนกลางต้องการขายข้าวเปลือก ให้กับโรงสี จะนำตัวอย่างข้าวเปลือก ไปให้โรงสีตรวจสอบคุณภาพ และตีราคาล่วงหน้า หากราคา เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย พ่อค้าคนกลางจึงจะบรรทุกข้าวเปลือก มาส่งให้กับโรงสีในท้องถิ่น เมื่องโรงสี ท้องถิ่นสีเป็นข้าวสารแล้ว ข้าวส่วนหนึ่งจะกระจายสู่ผู้บริโภคในท้องถิ่นใกล้เคียง ส่วนที่เหลือจะส่งผ่าน หยง (นายหน้า หรือตัวแทนการติดต่อ) ไปยังกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์รวม และ กระจายข้าวไปยังผู้บริโภค ในจังหวัดต่างๆ ที่ผลิตข้าวไม่พอบริโภค เช่น ภาคใต้ โรงสีขนาดกลาง แถบชานเมืองกรุงเทพฯ จะขายข้าวสารให้กับพ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีก หรือขายตรงให้กับผู้บริโภคภายใหญ่ เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร ส่วนการขายข้าวให้กับผู้ส่งออกในปริมาณมาก และการซื้อขายระหว่างโรงสีขนาดใหญ่ (กำลังสี 100 ตัน ต่อ 24 ชั่วโมง) กับพ่อค้าส่งออกที่กรุงเทพฯ จะผ่านหยง

ถ้าเป็นข้าวคุณภาพพิเศษ ที่ผู้บริโภคนิยมมากกว่าข้าวชนิดอื่น เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ็กเชย(เสาไห้) ขาวตาแห้ง ขาวกอเดียว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ (พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข.15 เป็นข้าวที่มีความโดดเด่นที่สุด นิยมในกลุ่มผู้บริโภคทั้งภายใน และต่างประเทศ) กระบวนการรับซื้อข้าวเปลือก จะพิธีพิถันกว่า ข้าวทั่วไป โดยที่โรงสีที่ตั้งอยู่ในแหล่งปลูกข้าว พันธุ์เหล่านั้น จะรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาโดยตรง หรือจากพ่อค้าคนกลาง ที่ติดต่อซื้อขายกันมานาน จนเกิดความเชื่อใจในคุณภาพ การซื้อขาย ระหว่างโรงสีกับผู้ส่งออก หรือ ร้านค้าส่งภายในประเทศ จะผ่าน หยงขาประจำ

สำหรับพันธุ์ข้าวต่างประเทศ ที่นำมาปลูกในประเทศไทย เพื่อการส่งออก อันได้แก่ ข้าวบาสมาติ ข้าวจาปอนิกา และข้าวญี่ปุ่น ผู้ส่งออกจะดำเนินการเกือบทั้งหมด โดยทำสัญญากับชาวนาให้ผลิตข้าว และรับซื้อผลิตผลทั้งหมด รวมทั้งว่าจ้างโรงสีให้สีข้าวให้ด้วย

ชาวนาในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมปลูกข้าวเหนียว เพื่อการบริโภคในครัวเรือน มากว่าขาย จึงมักเก็บข้าวเปลือกไว้รอจนต้นฤดูฝนในปีถัดไป เมื่อแน่ใจว่า มีฝนมากพอสำหรับการปลูกข้าว จึงจะขายให้โรงสีขนาดเล็กในท้องถิ่น การซื้อขายข้าวเหนียว ระหว่างโรงสีในแหล่งผลิต กับพ่อค้าขายส่งในจังหวัดอื่น มักดำเนินการผ่านร้านหยงในจังหวัดนั้น ทั้งนี้แทบจะไม่ต้องซื้อขายกันที่กรุงเทพฯ ยกเว้นจังหวัดทางภาคใต้ และเขตปริมณฑลของกรุงเทพฯ การสั่งซื้อข้าวเหนียว ระหว่งโรงสีกับพ่อค้าส่งออก มักติดต่อฝ่ายหยงที่กรุงเทพฯ เช่นเดียวกับข้าวเจ้า ยกเว้นการส่งออกไปประเทศลาว มักสั่งซื้อที่กรุงเทพฯ หรือโรงสีในแหล่งผลิต และส่งมอบ ที่จังหวัดหนองคาย กระบวนการค้าข้าวดังที่กล่าวมานั้น สามารถแสดงเป็นแผนภาพได้ ดังนี้


ที่มา จากหนังสือ ประมวลความรู้เรื่องข้าว, 2533

จากกระบวนการค้าข้าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ พ่อค้าข้าวเปลือก ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อ และรวบรวมข้าจากชาวนา ในปริมาณมากไปขายต่อยัง โรงสีขนาดกลาง และขนาดใหญ่ พ่อค้าข้าวเปลือกมี 2 ประเภท คือ พ่อค้าข้าวเปลือกในหมู่บ้าน และพ่อค้าข้าวเปลือก มี 2 ประเภท คือ พ่อค้าข้าวเปลือกในหมู่บ้าน และพ่อค้าข้าวเปลือกนอกหมู่บ้าน พ่อค้าข้าวเปลือกในหมู่บ้าน เป็นพ่อค้ารายย่อยในหมู่บ้านที่มีเงินทุน หรือชาวนาที่มีฐานะดี ขับรถบรรทุก ออกเร่ไปตามหมู่บ้าน หรือท้องถิ่นใกล้เคียง เพื่อรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา และ นำข้าวเปลือกที่ได้ ไปขายโดยตรง ให้กับโรงสีขนาดกลางที่สีข้าวขาย ให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่น หรือนำไปขายที่ ตลาดกลางข้าวเปลือก โดยได้รับผลประโยชน์จากกำไรค่าขนส่ง หรือการเก็งกำไรข้าวที่เก็บไว้ ดังนั้นพ่อค้ากลุ่มนี้จึงมักมียุ้งฉางของตนเอง ส่วนพ่อค้าข้าวเปลือกนอกหมู่บ้าน อาจเป็นพ่อค้ารับซื้อ พืชผลทางเกษตรทั่วไป ที่มีกิจการอยู่ใกล้แหล่งผลิตหรือจังหวัดไกลๆ มักตะเวนรับซื้อข้าวเปลือก จากจังหวัดทางภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ที่มีผลผลิตข้าวเปลือกเหลือจากการขายในปริมาณมาก เช่น นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปี (มกราคม - เมษายน) และข้าวนาปรัง (มิถุนายน - กันยายน) บางครั้งอาจรับซื้อนอกช่วงเวลาดังกล่าว หากไปรับซื้อยังพื้นที่ ไกลๆ จะจ้างนายหน้าซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักและไว้วางใจของคนในท้องถิ่น ให้ทำหน้าที่ ติดต่อซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา เพื่อนำมารวบรวมเก็บไว้ในยุ้งฉาง หรือโกดังเพื่อเก็งกำไรข้าว จึงมีคำเฉพาะ เรียกพ่อค้าข้าวเปลือกประเภทนี้ว่า ช้าวยุ้ง นอกจากขายข้าวเปลือกให้แก่โรงสีขนาดกลาง และขนาดใหญ่ที่อยู่ในแุถบเดียวกัน หรือใกล้กรุงเทพฯ เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม อยุธยาปทุมธานี หรือนำไปขายที่ตลาดกลางแล้ว พ่อค้ากลุ่มนี้บางคนอาจปล่อยสินเชื่อ ให้แก่เกษตรกร หรือให้เกษตร กู้ปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช ในช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูก โดยให้ชาวนา ใช้หนี้คืน โดยขายข้าวเปลือกจากการผลิตให้แก่พ่อค้าตามราคาที่ตกลงไว้

อ้างอิง: http://www.thaihandiworks.com/KhunKhao_L05P07.html


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 39445 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ชาญ รูปสม
[email protected]
เยี่ยมมาก

07 ก.ค. 2555 , 12:15 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ศรัญญา
[email protected]

20 ก.ค. 2554 , 02:51 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

กิตติพันธ์ เหมชาติลือชัย
[email protected]
ผมกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับการขนส่งข้าวจากไทยไปจีน ในปัจจุบัน อยากทราบเกี่ยวกับขั้นตอนทั้งหมด ในเเต่ละด้านอ่ะครับ ไม่ทราบท่านใดพอจะมีข้อมูลในส่วนนี้บ้างครับ ยังไงผมขอข้อมูลด้วยหน่อยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ[email protected]
01 ม.ค. 2554 , 11:44 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

tonooooo
[email protected]
อืม..............ที่ยิ่อ่านยิ่งเครียด
07 ส.ค. 2553 , 08:44 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9172
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7494
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7565
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7900
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6885
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8147
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7373
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>