ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เศรษฐกิจเกษตร | อ่านแล้ว 4205 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เล็งเป้าแสนล้าน 2560 ปีทองส่งออกผักผลไม้

เล็งเป้าแสนล้าน 2560 ปีทองส่งออกผักผลไม้

นอกจากยางพารา ข้าว และมันสำปะหลังแล้ว ผักและผลไม้เป็นอีกกลุ่มสินค้าหนึ่งที่มีอนาคต จากไทยเป็นฐานการผลิตผักผลไม้แหล่ง..

data-ad-format="autorelaxed">

ในบรรดาสินค้าเกษตรของไทยที่ส่งออกนำรายได้เข้าประเทศอย่างเป็นกอบเป็นกำอย่างต่อเนื่องนอกจากยางพารา ข้าว และมันสำปะหลังแล้ว ผักและผลไม้เป็นอีกกลุ่มสินค้าหนึ่งที่มีอนาคต จากไทยเป็นฐานการผลิตผักผลไม้แหล่งสำคัญของโลก ผลิตสินค้าได้คุณภาพและมีความหลากหลายให้เลือก

-คาดปีนี้ฟันแสนล้าน
"พจน์ เทียมตะวัน"นายกสมาคมผู้ประกอบการพืชผัก ผลไม้ไทย กล่าวในการให้สัมภาษณ์พิเศษกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ระบุว่า "ปีนี้เป็นปีที่ดีมากของผลไม้ทุกตัวกล้าพูดอย่างนี้เลย เพราะจากที่เราทำการส่งออกอยู่ ดีขึ้นทุกตัวจริงๆ ที่สำคัญเป็นผลจากไทยพ้นจากภัยแล้งในปีที่ผ่านมา ปีนี้ฝนดีทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น คาดการส่งออกพืชผักผลไม้ทั้งทางเรือและทางอากาศน่าจะได้ประมาณ 1 แสนล้านบาท จากช่วงที่ผ่านมาส่งออกได้ประมาณปีละ 7-8 หมื่นล้านบาท"

ในส่วนของสมาคมฯ ซึ่งมีสมาชิก 59 รายทั้งรายใหญ่ กลาง และเล็ก ทำธุรกิจส่งออกพืชผักผลไม้ทางอากาศ(ทางเครื่องบิน)เป็นหลักในกลุ่มสินค้าที่เน่าเสียง่าย หรือต้องการความสะดวกรวดเร็วในการขนส่ง ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างฉับไว ปัจจุบันการส่งออกพืชผักผลไม้ทางอากาศของไทยมีมูลค่าประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาทต่อปี (ที่เหลือส่งออกทางเรือเป็นหลัก)ในจำนวนนี้สัดส่วน 70-80% ส่งออกโดยสมาชิกของสมาคม

 

monk

-ตลาดใหญ่ 4 โซน
สำหรับตลาดพืชผักผลไม้สดแช่แข็ง ส่งออกทางอากาศณปัจจุบันมีตลาดส่งออกใน 4 โซนใหญ่ ได้แก่ โซนตะวันออกกลาง สัดส่วน 35% รองลงมาเป็นโซนเอเชียมีตลาดใหญ่ที่เกาหลีใต้สัดส่วน 30% และญี่ปุ่น 20% โซนสหภาพยุโรป(อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส)สัดส่วน 10% และโซนอเมริกา 5%

สำหรับโซนตะวันออกกลางเป็นตลาดผลไม้รวมทั้งเงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ฝรั่ง มังคุดและอื่นๆ มีตลาดใหญ่ที่ดูไบ(สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)ที่เป็นศูนย์กลาง(ฮับ)ด้านโลจิสติกส์ในการกระจายสินค้าเข้าไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง เช่นซาอุดิอาระเบีย คูเวต โอมาน และรัฐอื่นๆ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปกติตลาดนี้จะมีอัตราการขยายตัวของปริมาณส่งออก 20-30% ในทุกปีจากกฎเกณฑ์นำเข้าไม่เข้มงวดมาก

ส่วนโซนเอเชีย คือตลาดญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งผลไม้นำเข้าหลักจากไทยคือมะม่วงและมังคุด ในส่วนตลาดญี่ปุ่น คาดปีนี้อัตราการขยายตัวของการนำเข้าในเชิงปริมาณจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วไม่ต่ำกว่า 30% จาก 3-4 ปีที่ผ่านมาอยู่ในภาวะซบเซาจากไทยมีปัญหาภัยแล้ง และตลาดเกาหลีใต้จะขยายตัวได้ที่ 50% จากผลผลิตผลไม้ทั้ง 2 รายการของไทยเพิ่มขึ้น และราคาถูกลง ขณะที่ผลไม้ไทยใน 2 ประเทศนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จากมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวไทย เมื่อได้ทานผลไม้ไทยแล้วชอบจึงมีการบอกต่อ โดยในส่วนของตลาดเกาหลีเวลานี้ผลไม้ที่กำลังมาแรงและได้รับความนิยมมากคือทุเรียนหมอนทอง ที่ได้เริ่มทดลองตลาดในปีที่ผ่านมา และปีนี้ได้ส่งออกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

โซนอเมริกา ผลไม้หลักที่ส่งออกไปได้แก่มังคุด ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ และน้ำมะพร้าว คาดปริมาณส่งออกไปสหรัฐฯปีนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 40% ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและกำลังซื้อในสหรัฐฯ

-อียูตลาดใหญ่มากปัญหา
ขณะที่โซนสหภาพยุโรป(อียู) เป็นอีกตลาดใหญ่กำลังซื้อสูง สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปได้แก่ กะเพรา โหระพา พริก ถั่วฝักยาว ตะไค้ มังคุด มะม่วง เป็นต้น เป็นตลาดที่มีความเข้มงวดมากในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร(ฟู้ดเซฟตี้)โดยเฉพาะเรื่องสารปนเปื้อนหรือสารตกค้างต่างๆ ขณะที่ไทยมีปัญหาเรื่องกฎระเบียบของกรมวิชาการเกษตรไม่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย รวมถึงเกษตรกรก็ไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตให้ปลอดสารเคมีเพียงพอ ทำให้ต้นทางของผลผลิตยังมีปัญหาเรื่องสารตกค้าง

"กรมวิชาการเกษตรไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอในการเข้าไปดูแลเกษตร ในการป้องกันแก้ไขเรื่องสารตกค้างในพืชผักตั้งแต่ต้นน้ำ รวมถึงกฎระเบียบต่างๆ ที่กรมตั้งขึ้นมานานเป็น 10 ปีแล้วไม่ได้รับการปรับปรุงให้ทันกับยุคการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้ส่งออกยังมีปัญหาหลายเรื่อง เช่น การถูกระงับการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช การระงับใบรับรองสุขอนามัยให้กับผู้ส่งออก การระงับการดำเนินการของโรงคัดบรรจุภัณฑ์ 7 วัน 15 วัน ส่งผลธุรกิจเกิดการชะงักงันส่งออกไม่ได้ เรื่องดังกล่าวเป็นผลพวงจากการตรวจพบแมลงศัตรูพืชเกิน 3 ครั้ง และจากตรวจพบสารเคมีตกค้าง"

singapore-314915_960_720-503x377

-อียูไม่เชื่อถือผลแล็บไทย
"พจน์"กล่าวอีกว่า เรื่องสารเคมีตกค้างไม่ได้เกิดจากโรงงานคัดบรรจุและส่งออกผลไม้ แต่มาจากแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร หรือแปลงคอนแทร็กฟาร์ม ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรไม่ได้แยกบทบาทของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน ว่าใครมีหน้าที่อะไร เวลาตรวจพบสารตกค้าง ก็โทษและให้ผู้ซื้อหรือโรงงานรับผิดชอบฝ่ายเดียว ทำให้การส่งออกไปตลาดอียูมีปัญหามายาวนานเป็น 10 ปี และการส่งออกลดลงเรื่อยๆ

ขณะเดียวกันยังอุปสรรคเรื่องห้องปฏิบัติการ(แล็บ)ในการตรวจสารตกค้างที่ในอียูตรวจได้ถึง 400 ชนิด แต่แล็บในไทยตรวจส่วนใหญ่ตรวจสอบได้ 250 ชนิด มีค่าใช้จ่าย 2-3 หมื่นบาท/ตัวอย่าง ส่วนแล็บที่ตรวจได้ 400 ชนิดก็มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 3.5-4 หมื่นบาท/ตัวอย่าง เทียบกับห้องแล็บในอังกฤษตรวจสาร 400 ชนิดมีค่าใช้จ่ายเพียง 125 ปอนด์ต่อตัวอย่าง(5,000บาท) ทำให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนเพิ่ม

"ผลตรวจห้องแล็บบ้านเราพูดกันตามตรงอียูเขาแทบไม่มอง เวลาเราส่งออกไปเขาก็ไปสุ่มตรวจใหม่ผู้นำเข้ามีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เรื่องปัญหาอุปสรรคของผู้ส่งออกในแต่ละตลาดนี้ ทางกรมวิชาการเกษตรไม่ได้คุยกับเรามานาน 5 ปีแล้ว มองว่าถึงเวลาควรจะได้คุยกันเสียที"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,268 วันที่ 8 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4205 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เศรษฐกิจเกษตร]:
ชำแหละ บัตรคนจน คืนชีพโชห่วย?
หวังประโยชน์สองต่อ ต่อแรกจากเงินรัฐอัดฉีด 4 หมื่นล้าน เข้ากระเป๋าคนจน 11.4 ล้านคน ต่อที่สองฟื้นชีวิตชีวาโชห่วย
อ่านแล้ว: 5281
ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!
อ่านแล้ว: 5019
ชง 14 เมกะโปรเจค 5 แสนล้าน
เผยเอกชนเสนอรัฐบาลดันเมกะโปรเจคภาคใต้ 5 ปี 14 โครงการ มูลค่า 5 แสนล้าน หวังบูมเศรษฐกิจภาคใต้โตไม่ต่ำกว่า 6%
อ่านแล้ว: 5357
สมคิด ดึงรัฐวิสาหกิจร่วมแก้ปัญหาความยากจน
รองนายกฯ สมคิด จี้รัฐวิสาหกิจร่วมพัฒนาท้องถิ่น ช่วยเศรษฐกิจฐานราก แจงรัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาความยากจนควบคู่การปฏิรูปเศรษฐกิจ
อ่านแล้ว: 5341
พัฒนาเกษตร 4.0 ให้คนไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
ศุภชัย หนุนรัฐบาลยกระดับประเทศ แนะพัฒนาเกษตรกรสู่ยุค 4.0 สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ช่วยไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
อ่านแล้ว: 5607
เศรษฐกิจไทยโต4.3%สูงสุดในรอบ18ไตรมาส
สศช.เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส3ปี60เติบโต 4.3% สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส หลังส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
อ่านแล้ว: 5340
ดัชนีรายได้เกษตร 3 ไตรมาส
รายงานดัชนีรายได้เกษตรกร 3 ไตรมาส ปี 2560 (ม.ค.-ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 155.34 เพิ่มขึ้น 8.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
อ่านแล้ว: 4609
หมวด เศรษฐกิจเกษตร ทั้งหมด >>