ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เศรษฐกิจเกษตร | อ่านแล้ว 3287 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ไทยยังมีโอกาสดีได้อานิสงส์ เศรษฐกิจเอเชียขาขึ้น ยังเป็นแหล่งผลิตและบริโภคสำคัญ!

ไทยยังมีโอกาสดีได้อานิสงส์ เศรษฐกิจเอเชียขาขึ้น ยังเป็นแหล่งผลิตและบริโภคสำคัญ!

ผลกระทบต่อไทยไม่น่าจะมีสาระสำคัญ เพราะสิทธิประโยชน์ทางภาษีของอเมริกากับไทยที่เพิ่งต่ออายุก็เหลือน้อยแล้ว ส่วนทีพีพี..

data-ad-format="autorelaxed">

เปิดมุมมอง สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)ผ่าน”ฐานเศรษฐกิจ”ถึงปฏิกิริยาและโอกาสทางการค้า การส่งออก รวมถึงธุรกิจของศรีไทยฯที่มีฐานการผลิตอยู่นอกประเทศ หลังจากที่นโยบายผู้นำอเมริกาหันมาให้น้ำหนักกับการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ

 

อเมริกาเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

 

โดยซีอีโอ ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ฯฉายภาพรวมว่าการได้ทรัมป์มาเป็นประธานาธิบดี น่าจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอเมริกาในฐานะที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งภายในและระหว่างประเทศ เพราะทรัมป์ไม่ใช่นักการเมืองอาชีพ แต่เติบโตจากภาคธุรกิจ ทำให้คิดนอกกรอบจารีตที่เคยยึดถือปฏิบัติมาในอดีต ซึ่งคงต้องจับตาดูต่อไป

 

โดยเฉพาะการที่ออกมาประกาศล้มกระดานความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือทีพีพีแล้วใช้วิธีเจรจาทางการค้าใครพร้อมก็ไปด้วยกันนั้นน่าจะเป็นผลดีแก่หลายๆ ประเทศรวมทั้งไทย ที่ไม่ได้ลงนามใน ทีพีพี เนื่องจากการมีทีพีพี ก็เพื่อประโยชน์ทางการค้าซึ่งนำโดยอเมริการวม 12 ประเทศ ขณะที่บทบาทของ ทีพีพี อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับ องค์การการค้าโลก หรือ WTO ได้ นอกจากนี้ ไทยก็ไม่ต้องเสียประโยชน์หรือเสียเปรียบโดยเฉพาะด้านเวชภัณฑ์และทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหลาย ดังนั้น ในด้านการค้าระหว่างประเทศควรให้เป็นความตกลงกันเองของกลุ่มประเทศที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันได้มากกว่าจะเป็นการกีดกัน

 

“ผลกระทบต่อไทยไม่น่าจะมีสาระสำคัญ เพราะสิทธิประโยชน์ทางภาษีของอเมริกากับไทยที่เพิ่งต่ออายุก็เหลือน้อยแล้ว ส่วนทีพีพี ซึ่งทรัมป์มีนโยบาย จะยกเลิกนั้น ไทยก็ไม่ได้มีการลงนามทำให้ไม่ได้เสียประโยชน์อะไร”

 

ผู้ส่งออกต้องปรับตัวรับมือ

 

สำหรับการส่งออกของไทยควรจะรับมืออย่างไรนั้น มองว่าผู้ส่งออกต้องพยายามกระจายตลาดของตนไปสู่ประเทศอื่นๆเพื่อลดความเสี่ยง เพราะทรัมป์ต้องการลดการนำเข้าจากต่างประเทศและให้ผลิตในอเมริกาเพื่อเพิ่มการจ้างงาน และไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากการกีดกันทางการค้ากับจีน ทำให้มีการซื้อสินค้าจีนน้อยลง การบริโภคหรือนำเข้าของจีนก็น่าจะลดลง ทำให้ประเทศคู่ค้ากับจีนมีการส่งออกลดลงไปด้วย

 

อย่างไรก็ตาม หากทรัมป์จะเน้นการผลิตในประเทศเองก็ต้องคิดความคุ้มค่าให้ดีเพราะการย้ายฐานผลิตต้องใช้เวลา ซึ่งระยะสั้นคงไม่กระทบรุนแรง นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตย่อมแพงขึ้น คนอเมริกาต้องใช้ของราคาสูงขึ้นด้วย

 

ศก.เอเซียยังขาขึ้นจะรวมตัวกันมากขึ้น

 

นายสนั่นยังมองถึง โอกาสของไทยที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไปว่า ยังมีความได้เปรียบเพราะได้อานิสงค์ตรงที่ภาคพื้นเอเซียเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น มีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจมากขึ้น แรงงานมีเพียงพอและไม่แพง เป็นแหล่งวัตถุดิบ ประชากรมีกำลังซื้อ จึงยังคงเป็นแหล่งผลิตและบริโภคที่สำคัญ

 

ขณะที่นโยบายทรัมป์ที่จะไม่แทรกแซงประเทศต่างๆทำให้เอเซียจะมีความสงบและมั่นคงทางการเมือง แม้ว่าจะมีปัญหาขัดแย้งระหว่างประเทศกันบ้าง แต่ก็สามารถหาข้อยุติได้โดยปราศจากการแทรกแซงของประเทศที่ 3 อีกทั้งภาพลักษณ์ของไทยในฐานะเป็นประเทศที่ปกครองโดยรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารจะได้รับการยอมรับมากขึ้นในเวทีระดับโลก เนื่องจากทรัมป์ต้องการแก้ไขปัญหาภายในของอเมริกา ไม่สนใจปัญหาของชาติอื่นๆ และลดการแทรกแซง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจและการค้าจะเป็นตัวนำแทนการเมือง

 

นอกจากนี้ยังมองถึงวิกฤตที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ไปอาจมีผลกระทบเพียงแค่ระยะสั้น เพราะเป็นการปรับตัวของภาคส่วนต่างๆโดยเฉพาะนโยบายระหว่างประเทศ ความผันผวนของการไหลของเงินเข้าออก ตลาดหุ้น ราคาทองคำและอัตราแลกเปลี่ยน

 

ส่วนราคาน้ำมัน และพลังงาน น่าจะไม่สูงขึ้นอีก เนื่องจากผู้บริโภครายใหญ่ คือ อเมริกาซึ่งก็มีแหล่งพลังงานสำรองรูปแบบต่างๆมากอยู่แล้ว โดยนโยบายทรัมป์จะกลับไปใช้น้ำมันกับถ่านหินในการพัฒนาประเทศ เพราะถูกกว่าพลังงานทดแทน ทำให้การนำเข้าน้ำมันจะลดลง ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากน่าจะเป็นประเทศกลุ่ม OPECดังนั้น ต้นทุนการขนส่ง และการผลิตที่ต้องใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงก็รักษาระดับการแข่งขันได้

 

มองภาพรวมศรีไทยไม่กระทบ

 

นายสนั่น กล่าวเพิ่มเติมถึงภาพรวมของศรีไทยฯว่าคงไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากการเปลี่ยนแปลงของอเมริกา แต่จะรับมือกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกโดยชะลอการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ยกเว้นการลงทุนในสินค้าใหม่ๆที่จำเป็นต้องมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้น

 

ดังนั้นภาพรวมยุทธศาสตร์การลงทุนนอกบ้านของบริษัท ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงโรงงานใหม่ของกลุ่มบริษัทในฮานอยและอินเดียก็มีการผลิตเต็มที่ โดยอินเดียซึ่งผลิตสินค้า เมลามีนได้รับการตอบสนองจากตลาดได้ดี จึงมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น เพื่อลดการนำสินค้าเข้าจากไทย เพราะอินเดียมีกำแพงภาษีนำเข้าสูง และมีแผนจะเพิ่มกำลังผลิตในอนาคตอันใกล้นี้

 

ส่วนเวียดนามซึ่งถือเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มศรีไทยในต่างประเทศขณะนี้ ก็มีการย้ายเครื่องจักรและแม่พิมพ์ใช้ผลิตสินค้าที่ตอบสนองตลาดในไทยน้อย แต่มีความต้องการสูงในเวียดนาม ไปยังโรงงานในเวียดนาม ซึ่งจะทำให้ฐานผลิตทั้งไทยและเวียดนามได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินได้เต็มที่ และเป็นไปตามกลยุทธ์ของบริษัทฯที่จะมุ่งเน้นขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศที่มีศักยภาพสูง

 

ด้านการลงทุน ปี 2560 คงไม่มีการลงทุนใหม่เกิดขึ้นมากเพราะส่วนใหญ่ดำเนินการไปในช่วง 2 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะในเวียดนามและอินเดีย เงินลงทุนปี 2560 จะเป็นเพื่อการเปลี่ยนแทน หรือเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นหลัก

 

source: thansettakij.com/2016/11/27/115562


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 3287 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เศรษฐกิจเกษตร]:
ชำแหละ บัตรคนจน คืนชีพโชห่วย?
หวังประโยชน์สองต่อ ต่อแรกจากเงินรัฐอัดฉีด 4 หมื่นล้าน เข้ากระเป๋าคนจน 11.4 ล้านคน ต่อที่สองฟื้นชีวิตชีวาโชห่วย
อ่านแล้ว: 5274
ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!
อ่านแล้ว: 5013
ชง 14 เมกะโปรเจค 5 แสนล้าน
เผยเอกชนเสนอรัฐบาลดันเมกะโปรเจคภาคใต้ 5 ปี 14 โครงการ มูลค่า 5 แสนล้าน หวังบูมเศรษฐกิจภาคใต้โตไม่ต่ำกว่า 6%
อ่านแล้ว: 5350
สมคิด ดึงรัฐวิสาหกิจร่วมแก้ปัญหาความยากจน
รองนายกฯ สมคิด จี้รัฐวิสาหกิจร่วมพัฒนาท้องถิ่น ช่วยเศรษฐกิจฐานราก แจงรัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาความยากจนควบคู่การปฏิรูปเศรษฐกิจ
อ่านแล้ว: 5335
พัฒนาเกษตร 4.0 ให้คนไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
ศุภชัย หนุนรัฐบาลยกระดับประเทศ แนะพัฒนาเกษตรกรสู่ยุค 4.0 สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ช่วยไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
อ่านแล้ว: 5604
เศรษฐกิจไทยโต4.3%สูงสุดในรอบ18ไตรมาส
สศช.เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส3ปี60เติบโต 4.3% สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส หลังส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
อ่านแล้ว: 5335
ดัชนีรายได้เกษตร 3 ไตรมาส
รายงานดัชนีรายได้เกษตรกร 3 ไตรมาส ปี 2560 (ม.ค.-ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 155.34 เพิ่มขึ้น 8.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
อ่านแล้ว: 4601
หมวด เศรษฐกิจเกษตร ทั้งหมด >>