ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 6890 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

มันฝรั่งคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง ครม.หนุนนำเข้าหัวพันธุ์ไม่อั้นภาษี0% ไทยฮิตบริโภคพุ่ง170,000ตัน

มันฝรั่งคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง ครม.หนุนนำเข้าหัวพันธุ์ไม่อั้นภาษี0% ไทยฮิตบริโภคพุ่ง170,000ตัน

เกษตรพันธสัญญาทำให้มีรายได้แน่นอนในราคากิโลกรัมละ 14 บาท พร้อมกับบอกว่าการปลูกมันฝรั่งใช้สารเคมีน้อยกว่ากะหล่ำปลี ทั้ง..

data-ad-format="autorelaxed">

สถานการณ์ฮอตในช่วงนี้หนีไม่พ้นราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่พืชอีกชนิดที่มาแรงไม่แพ้กันคือเรื่องราวของ

"มันฝรั่ง" ที่ระดับรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ "ไกรสร กองฉลาด" ออกอาการฉุนขาดโพสต์เฟซบุ๊กไม่พอใจที่บริษัทแห่งหนึ่งจะมาสนับสนุนให้เกษตรกรบนภูทับเบิกปลูกมันฝรั่ง

เหตุที่ทำให้ผู้บริหารเมืองมะขามหวานนอตหลุดนั้น เพราะพื้นที่ภูทับเบิกอยู่ระหว่างการปลุกปั้นให้เป็นแหล่งปลูกพืชผัก "ออร์แกนิก" เป้าหมายให้เป็นแหล่งผลิตอาหารชั้นยอดของประเทศ โดยมุมมองของรองผู้ว่าฯคือ ถ้ามีการปลูกมันฝรั่งป้อนโรงงาน นั่นแปลว่ายังต้องพึ่งพาสารเคมี ความฝันเป็นแหล่งปลูกพืชผักออร์แกนิกอาจต้องดับลง พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การทำเกษตรแบบพันธสัญญา หรือคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) แม้จะมีตลาดซื้อขายที่แน่นอน แต่เกษตรกรยังต้องแบกรับความเสี่ยงเรื่องคุณภาพผลผลิต ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นอย่างการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

ขณะที่เกษตรกรภูทับเบิกในระดับผู้นำก็ได้ออกมาตอบโต้ยืนยันว่า เกษตรพันธสัญญาทำให้มีรายได้แน่นอนในราคากิโลกรัมละ 14 บาท พร้อมกับบอกว่าการปลูกมันฝรั่งใช้สารเคมีน้อยกว่ากะหล่ำปลี ทั้งนี้ มองว่าความหวังดีของรองผู้ว่าฯเรื่องออร์แกนิกเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนเกษตรกร



 

ครม.หนุนนำเข้าหัวพันธุ์ไม่อั้น

สำหรับข้อมูลการปลูก "มันฝรั่ง" ในเมืองไทยนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า เริ่มขยายตัวมากตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา โรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบมีการขยายธุรกิจเติบโตมากขึ้น โดยมีการส่งเสริมและลงทุนจากภาคเอกชนจำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด และบริษัท ยูนิแชมป์ จำกัด ทำให้ประเทศไทยทะยานขึ้นเป็นผู้ผลิตมันฝรั่งทอดกรอบอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะที่ความต้องการมันฝรั่งเพื่อแปรรูปในประเทศไทยปี 2557 มีจำนวน 170,000 ตัน แต่เกษตรกรไทยผลิตได้ประมาณ 123,000 ตัน นอกนั้นเป็นการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาแปรรูป

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการเปิดตลาดหัวพันธุ์มันฝรั่ง และหัวมันฝรั่งสดแปรรูปตามความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์เห็นชอบ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอให้มีการเปิดตลาด "หัวพันธุ์มันฝรั่ง"

ในปี 2559 ไม่จำกัดจำนวน อัตราภาษีร้อยละ 0 และอัตราภาษีนอกโควตา ร้อยละ 125 และเห็นชอบการเปิดตลาด "หัวมันฝรั่งสด" เพื่อการแปรรูปปี 2559 ปริมาณในโควตา 45,000 ตัน อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 27 และอัตราภาษีนอกโควตา ร้อยละ 125

เร่งวิจัย 2 พันธุ์

"จำลอง ดาวเรือง" ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันผลผลิตมันฝรั่งในประเทศไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะมันฝรั่งที่ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปเป็นมันฝรั่งแผ่น ขณะที่หัวพันธุ์ก็ยังขาดแคลนมากทำให้ต้องนำเข้า ซึ่งกรมวิชาการเกษตรกำลังทำการวิจัยและพัฒนาหัวพันธุ์มันฝรั่ง 2 พันธุ์สำหรับปลูกในฤดูหนาวและฤดูฝน ซึ่งเป็นการปลูกนอกฤดูให้สามารถทนโรคได้ เป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

"แม้ว่าการนำเข้าจะสะดวก แต่ที่ผ่านมาปัญหาที่พบคือ หัวพันธุ์ที่นำเข้านั้นเป็นเจเนอเรชั่นท้าย ๆ แล้ว ซึ่งอาจจะอ่อนแอ เกิดโรคได้ง่าย สิ่งที่กรมได้ดำเนินการอยู่คือ ผลิตหัวพันธุ์เพื่อเป็นเจเนอเรชั่นต้น ๆ แล้วจะผลักดันเข้าคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง ให้บริษัทเข้าร่วมผลิต เพื่อเป็นการลดต้นทุนเกษตรกร และได้หัวมันฝรั่งที่มีคุณภาพดี"

ส่วนเรื่องสารเคมีนั้นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวนกล่าวว่า พืชทุกชนิดหากต้องการผลผลิตสูงต้องใช้ปุ๋ยเคมี ส่วนออร์แกนิกก็อาจจะนำมาปลูกได้ แต่ต้องเป็นมันฝรั่งบริโภคผลสด เพราะหากเป็นพันธุ์โรงงานยังไม่เคยวิจัยว่า หากไม่ใช้ปุ๋ยเคมีผลผลิตที่ออกมาจะได้มาตรฐานปริมาณแป้งตามที่โรงงานกำหนดไว้หรือไม่

 

ไม่พอป้อนโรงงาน 1.7 แสนตัน

ด้าน "ดร.กฤษณ์ ลินวัฒนา" นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันการส่งเสริมให้ปลูกมันฝรั่ง เป็นการหาทางออกให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชหลังทำนา ไม่ว่าจะเป็นหอมแดง หอมหัวใหญ่ และกระเทียม

ที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ โดยแบ่งออกเป็น 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ใช้รับประทานสด และพันธุ์ที่ใช้สำหรับแปรรูปในโรงงาน หรือ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ โดยสัดส่วน 90% เป็นพันธุ์โรงงาน อีก 10% เป็นพันธุ์บริโภคสด ซึ่งเกษตรกรร้อยละ 90 ทำแบบเกษตรพันธะสัญญา

"สถานการณ์มันฝรั่งตอนนี้ดีมานด์เพิ่มขึ้น ในอดีตความต้องการ 1 แสนตัน ปัจจุบันความต้องการ 170,000 ตัน ขณะที่กำลังการผลิตในประเทศมีประมาณ 123,000 ตันเท่านั้น จึงเป็นโอกาสของเกษตรกรที่ปลูกหอมแดง หอมหัวใหญ่ หรือกระเทียม ซึ่งเป็นพืชหลังนาได้มาปลูกมันฝรั่งทดแทน มองว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะทำแบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งนั้นมีรายได้แน่นอน โดยช่วงฤดูแล้งได้ราคาประมาณ 11 บาท/กิโลกรัม ส่วนฤดูฝน 14 บาท/กิโลกรัม"

 

โอกาสและความเสี่ยง

ดร.กฤษณ์ บอกอีกว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรจะปลูกเฉพาะมันฝรั่งหน้าแล้ง เมื่อบริษัทขยายฐานการผลิตทำให้มีความต้องการทั้งปี ทำให้ต้องหาแหล่งปลูกเพิ่ม ซึ่งที่ผ่านมาผู้ผลิตจะนำเข้าในช่วงฤดูฝนอยู่แล้ว แต่ถ้าสนับสนุนเกษตรกรก็จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่กรมยังไม่มีการส่งเสริมให้ปลูกหน้าฝน แต่มองว่าถ้าพึ่งพาหัวพันธุ์ต่างประเทศตลอดนั้นมีราคาแพง

จึงอยากให้เกษตรกรมีทางเลือกหน้าฝนด้วยหากมีฝีมือ เพราะการปลูกมันฝรั่งหน้าฝนนั้นทำยาก ต้องปลูกในพื้นที่สูง และอากาศเย็น

"กรณีภูทับเบิกบริษัทผลิตมันฝรั่งอาจไปลองถามดู ซึ่งหากไม่ปลูกมันฝรั่ง ชาวบ้านก็ต้องปลูกชนิดอื่นซึ่งมีให้เลือกไม่กี่ตัว เช่น ข้าวโพด หรือ ข้าวไร่ และถ้าไม่ใช่คอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งก็ถือว่าเสี่ยง แต่ถ้าอยากให้เป็นพื้นที่ออร์แกนิกที่รองผู้ว่าฯเพชรบูรณ์พูดก็ถูก การปลูกมันฝรั่งออร์แกนิกทำได้ แต่ไม่คุ้ม ถ้าจะทำก็เป็นการปลูกแค่บริโภคผลสดเท่านั้น เพราะมันฝรั่งเหมือนพืชทั่วไปที่ต้องการปุ๋ย โดยเฉพาะหน้าฝนอาจจะเจอโรคใบไหม้ และมีไส้เดือนฝอย ต้องใช้สารเคมี แต่ไม่ว่าผักชนิดไหนก็ต้องใช้สารเคมี เพียงแต่เราสามารถทำ GAP ได้ คือ ไม่ให้สารตกค้างเกินกว่าค่าที่กำหนด"

อย่างไรก็ตาม ดร.กฤษณ์ มองว่า การทำมาตรฐาน GAP นั้น จะทำได้ในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิเท่านั้น ซึ่งกรณีภูทับเบิก หากไม่ได้รับการรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่สามารถเข้าไปทำ GAP ได้

ไม่ว่าจะมองมุมไหน เป็นทางเลือก โอกาส หรือความเสี่ยง ก็อาจจะถูกทั้งหมด ทางออกที่ดีที่สุดจึงน่าจะขึ้นอยู่กับทิศทางและยุทธศาสตร์จังหวัด หันหน้าเข้าหากัน สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย

 

source: prachachat.net/news_detail.php?newsid=1478492171


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6890 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6021
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6391
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8249
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 6835
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 6816
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6307
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6336
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>