ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 4938 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ยันกทม.-ปริมณฑลนํ้าไม่ท่วม ปี2560 ใส่งบ 4.9หมื่นล. เพิ่มแหล่งนํ้า

ยันกทม.-ปริมณฑลนํ้าไม่ท่วม ปี2560 ใส่งบ 4.9หมื่นล. เพิ่มแหล่งนํ้า

ในช่วงนี้เป็นประจำของทุกปีที่ในเดือนกันยายนถึงตุลาคมมักจะมีฝนตกชุก และจะมีปริมาณน้ำมาก หลายคนเริ่มห่วงและยังหลอนกับมหา..

data-ad-format="autorelaxed">

นับถอยหลังเหลือเวลาอีกไม่ถึง 3 สัปดาห์จะสิ้นสุดฤดูฝน(ฤดูฝนของไทยแบ่งตามการเพาะปลูกเริ่ม 1พ.ค.-31 ต.ค.ของทุกปี) แต่ในช่วงนี้เป็นประจำของทุกปีที่ในเดือนกันยายนถึงตุลาคมมักจะมีฝนตกชุก และจะมีปริมาณน้ำมาก หลายคนเริ่มห่วงและยังหลอนกับมหาอุทกภัยปี 2554 “ฐานเศรษฐกิจ” ฉบับนี้สัมภาษณ์พิเศษ “ณรงค์ ลีนานนท์” รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง กรมชลประทาน ถึงสถานการณ์น้ำ รวมถึงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต่างๆ ที่กรมชลฯรับผิดชอบ ตลอดจนแผนงานและงบประมาณการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำใหม่ๆ ในปีงบประมาณ 2560

 

ยันเอาอยู่-เร่งพร่องน้ำรับฝนชุก

 

“ณรงค์” กล่าวว่า จากที่กรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร คาดการณ์ว่าในช่วงระหว่างวันที่ 14-15 ตุลาคม 2559 จะมีฝนตกชุกกระจายในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก อาจจะส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาตรน้ำในเขื่อนอยู่ที่ 902 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุประมาณ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปล่อยน้ำให้ไหลผ่านเขื่อนพระราม 6 ในเกณฑ์ 600-700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะไม่กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนพระราม 6 ในเขตอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไหลไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำที่อำเภอบางไทร อยู่ในเกณฑ์ประมาณ 2,114 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นปริมาณน้ำในเกณฑ์ปกติ และจะไม่ทำให้เกิดน้ำล้นคันกั้นน้ำเข้าไปท่วมในเขตชุมชนหรือพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณจังหวัดปทุมธานี นนทบุรีและกรุงเทพฯ อย่างแน่นอน

 

แห่ปลูกข้าวแล้ว 16 ล้านไร่

 

“ในปีนี้ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของภาคกลางมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 5% แต่ถ้าเทียบกับทั่วประเทศฝนภาคกลางตกชุกมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเทียบทั้งประเทศประมาณ 3-4 % เท่านั้น ไม่ได้มากนัก ส่วนจังหวัดที่ท่วมก็เป็นพื้นที่เสียหายเดิม ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรีและ สุพรรณบุรี ซึ่งทางกรมได้เตือนล่วงหน้าหลายวันแล้วว่าน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกเล็กน้อย แต่บริเวณดังกล่าวเป็นชุมชน ไม่ใช่พื้นที่การเกษตร เรียกว่ายังไม่เสียหายจากการระบายในรอบนี้ ขณะที่แผนเพาะปลูกพืชในเขตชลประทานทั่วประเทศ ในช่วงฤดูฝนปี 2559 (1 พ.ค.-31 ธ.ค.59) รวม 16.62 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปี พื้นที่ 15.93 ล้านไร่ ปัจจุบันปลูกไปแล้ว 14.77 ล้านไร่ คิดเป็น 92.1% ส่วนพืชไร่-พืชผัก มีแผนปลูก 0.69 ล้านไร่ ปลูกไปแล้ว 0.35 ล้านไร่ คิดเป็น 51.56%”

 

อย่างไรก็ดีจากที่มีฝนตกชุกในส่วนภาคเหนือตอนบน เหนือตอนล่าง ในบริเวณโครงการยม-น่าน มีการปลูกข้าวประมาณ 2.7 แสนไร่ คาดจะมีความเสียหายกว่า 6 หมื่นไร่ ส่วนด้านล่างยังไม่เสียหาย ปัจจุบันพายุแอรี่ ที่อยู่บริเวณใกล้ฮ่องกง ได้สลายเป็นดีเปรสชันไปแล้ว เรียกว่าหมดกำลังลงใน 1-2 วัน

 

จับตาพายุลูกใหม่ก่อตัว

 

“ณรงค์” กล่าวว่า ล่าสุดมีการก่อตัวของพายุอีก 1 ลูก ในทะเลหมู่เกาะฟิลิปปินส์ คาดอีกหลายวันกว่าจะทราบว่าเป็นพายุหรือไม่ และจะเข้าไทยหรือไม่ขณะนี้คอยฟังข่าวจากกรมอุตุนิยมวิทยาเพราะยังไม่ชัดเจนนัก ที่สำคัญเหลือเวลาอีกประมาณ 2 สัปดาห์จะสิ้นสุดฤดูฝน คาดการณ์ในภาพรวม 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ภูมิพล สิริกิติ์ ป่าสักชลสิทธิ์ และแควน้อยบำรุงแดน จะมีน้ำใช้การได้ 9 พัน-1.1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ถือว่าเป็นปริมาณน้ำสูงสุดในรอบ 3 ปี

 

“ในเบื้องต้นมีแผนจะให้พื้นที่ลุ่มต่ำ อาทิ อ.กงไกรลาศ ของจ.สุโขทัย อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ให้ปลูกข้าวก่อนเดือนเมษายน เก็บเกี่ยวให้แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นจะใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่รับน้ำในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ที่มีฝนตกชุกและมีน้ำหลาก ส่วนจะให้มีการปลูกข้าวนาปรังหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ซึ่งปีหน้าฤดูแล้งจะมีน้ำเพียงพอในการบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นน้ำใช้เพื่อเกษตรกรรม อุตสาหกรรม อุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ”

 

4.9 หมื่นล.เพิ่มแหล่งน้ำ

 

สำหรับในปีงบประมาณ 2560 กรมชลประทานได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำนวน 4.9 หมื่นล้านบาท (จากปีงบ 2559 ได้งบประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท) ซึ่งมีแผนงานที่จะดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญ อาทิ 1. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี วงเงิน 2.1 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 ปี (2560-2569) สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 319,195 ไร่ 2.โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา วงเงิน 3,981 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ปี (ปี 2559-2564) เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 2.8 หมื่นไร่ และ 3.โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก จังหวัดเลย อยู่ระหว่างดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชน วงเงินโครงการ 5,000 ล้านบาท อยู่ในเขตอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 7.25 หมื่นไร่ ระยะเวลาโครงการ 5 ปี (คาดก่อสร้างในปี 2561-2565)

 

นอกจากนี้ยังมีโครงการชลประทานขนาดกลางและขนาดเล็ก ในพื้นที่ 500-200 ไร่ กว่า 100 โครงการทั่วประเทศ ใช้งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท จะสร้างตามแบบแผนที่เกษตร(Agri-Map) ซึ่งเป็นนโยบายของพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวคือ หากเป็นนาข้าว ทางกรมจะปล่อยน้ำไปตามคลอง แต่ถ้าเป็นพืชผัก ไม้สวน หรือพืชไร่ ใช้น้ำน้อย จะต่อใช้การต่อท่อไปให้ ซึ่งการจัดการในแบบนี้จะง่ายเพราะแต่ละจังหวัดมีแผนการบริหารจัดการในแบบนี้อยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญจะต้องทำความเข้าใจกับเกษตรกร เพื่อที่จะทำให้การจัดการโซนนิ่งเป็นไปตามนโยบายและเป้าหมาย ปัจจุบันพื้นที่ชลประทานมีประมาณ 30 ล้านไร่

 

 วอเตอร์ฟุตพรินต์กีดกันตัวใหม่

 

“ทางสหภาพยุโรป กำลังจะมีการกีดกันการค้ารูปแบบใหม่ โดยใช้ วอร์เตอร์ฟุตพรินต์( water footprint) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดปริมาณการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อการใช้น้ำอย่างยั่งยืน โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค ซึ่งมีข้อกำหนดการใช้น้ำในการผลิตสินค้าเช่น มีการกำหนดปริมาณการใช้น้ำสำหรับการผลิตพืชและปศุสัตว์แต่ละชนิดไว้ เช่นการผลิตข้าวโพด 1 กิโลกรัมมีมาตรฐานการใช้น้ำ 0.01 ลิตร แต่ถ้าของไทยอาจใช้ถึง 3 ลิตรเป็นต้น ส่วนข้าว ผัก ผลไม้อื่นๆ ก็จะกำหนดค่าวอเตอร์ฟุตพรินต์ที่ต่างกัน โดยข้อมูลวอเตอร์ฟุตพรินต์บนฉลากสินค้าจะสร้างทางเลือกให้ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า หากวันนี้เราไม่เตรียมการรองรับจะซ้ำรอยปัญหาประมงได้”

 

source: thansettakij.com/2016/10/14/105421


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4938 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6100
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6218
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6155
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7145
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 5840
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 5999
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5158
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>