ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 5732 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

โรคไหม้คอรวง แก้ได้โดยเกษตรกร

โรคไหม้คอรวง แก้ได้โดยเกษตรกร

โรคไหม้คอรวง โรคไหม้ข้าวเกิดจากเชื้อราสามารถเข้าทำลายข้าวในทุกส่วนของข้าวที่อยู่เหนือดินได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าถึงออกรวง..

data-ad-format="autorelaxed">

โรคไหม้คอรวง

นายพงษ์ศักดิ์ เอมดวง เกษตรจังหวัดตราด ได้มอบหมายให้นางสาวลำยอง ครีบผา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด ร่วมกับนายสุวิทย์ ถาวรวงษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายแปลงนาข้าวของเกษตรกร ต.ท่าพริก พบเสียหายจากโรคไหม้คอรวง เมื่อวันก่อน

 

     ซึ่งจากผลการเกิดโรคดังกล่าวได้ส่งผลให้เมล็ดข้าวแห้ง เมล็ดลีบ ได้รับความเสียหายทั้งแปลง ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ในเบื้องต้น ได้รับแจ้งจากเกษตรกรในพื้นที่จำนวน 19 ราย พบมีพื้นที่เสียหาย ประมาณ 222 ไร่

 

     สำหรับโรคไหม้ข้าวเกิดจากเชื้อราสามารถเข้าทำลายข้าวในทุกส่วนของข้าวที่อยู่เหนือดินได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าถึงออกรวง โดยพบว่าเชื้อจะทำลายที่ใบและรวงมากที่สุด เมื่อเชื้อเข้าทำลายที่ใบจะทำให้ใบข้าวเป็นจุดช่ำน้ำ แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเป็นรูปตา เมื่อเชื้อเข้าทำลายมากจะทำให้ใบไหม้คล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาใบจะแห้งตายอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากที่เชื้อเข้าทำลายและมีอาการใบจุดช่ำน้ำจะพบข้าวแห้งตายภายใน 3–5 วัน ซึ่งเรียกอาการนี้ว่าโรคใบไหม้

 

     และเมื่อเชื้อเข้าทำลายข้าวในระยะออกรวง เชื้อจะเข้าทำลายที่คอรวงทำให้คอรวงแห้งตายเมล็ดข้าวจะลีบ เรียกว่าโรคไหม้คอรวง โรคไหม้ข้าวนี้พบว่ามีการระบาดทุกปีโดยพบว่าความเสียหายของผลผลิตข้าวที่เกิดจากโรคไหม้นี้ เฉลี่ยประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตข้าวโดยรวมของประเทศ ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดรุนแรงนั้น เป็นผลมาจาก เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ที่มีความอ่อนแอต่อโรคไหม้มาก และมีการตกกล้าหรือหว่านข้าว โดยใช้อัตราการหว่านที่สูงคือมากกว่า 15 กก.ต่อไร่ ทำให้ข้าวขึ้นหนาแน่นในแปลงกล้าหรือแปลงนาหว่าน มีการหว่านปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียในอัตราที่สูง ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือช่วงที่มีเมฆปกคลุมเป็นระยะเวลายาวนานติดต่อกันหลายวัน หรือมีฝนตกปรอย ๆ เป็นประจำ ใบข้าวเปียกนานมากกว่า 10 ชม. ต่อวัน อุณหภูมิกลางคืนค่อนข้างเย็น คืออยู่ที่ประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะพื้นที่นาข้าวที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ทำให้มีโอกาสเกิดน้ำค้างในช่วงกลางคืนเป็นระยะเวลายาวนาน

 

   สำหรับแนวทางการแก้ไขคือในฤดูการเพาะปลูกถัดไปเกษตรกรจะต้องใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อโรคไหม้ เช่น กข 9  กข 11  กข 21  สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90  และคลองหลวง 1 เป็นต้น และใช้เชื้อไตรโครเดอร์มาที่เจริญบนเมล็ดธัญพืช อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตรต่อเมล็ดข้าว 500 กิโลกรัมขยำเอาสปอร์ออก และคลุกเมล็ดข้าวนำไปแช่บ่มเตรียมปลูก

 

     และไม่ควรหว่านข้าวหนาแน่นเกินไป เพราะจะทำให้อับลม เป็นตัวส่งเสริมให้เชื้อราแพร่กระจายและพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลง ซึ่งอาจมีผล


กระทบต่อผลผลิตบ้างแต่จะช่วยไม่ให้ข้าวอ่อนแอต่อโรค และเกิดโรคจนเสียหายทั้งแปลงปลูก ควรเพิ่มปริมาณซิลิก้าให้แก่ต้นข้าว เพื่อต้านทานต่อโรค โดยใช้ปุ๋ยหมักและแคลเซียม เป็นต้น

 

     สรุปแล้วโรคนี้สามารถแก้ไขได้แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ที่เกษตรกรเองที่จะปฏิบัติต่อขั้นตอนการเพาะปลูกตามกระบวนการที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นดังที่กล่าวมา

 

source: dailynews.co.th/agriculture/529864


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5732 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7505
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 7845
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 8836
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 7662
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 7911
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 7664
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7581
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>