ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 5126 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

โชว์ผลงาน 6 เดือน ผู้ว่าการยางฯ พัฒนาคน -สร้างตลาดใหม่-เพิ่มโอกาส

โชว์ผลงาน 6 เดือน ผู้ว่าการยางฯ พัฒนาคน -สร้างตลาดใหม่-เพิ่มโอกาส

ผู้ว่าการยางฯ การขับเคลื่อนด้วย พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ในช่วงเศรษฐกิจและราคายางขาลงไม่ง่ายนัก เพราะนอกจาก..

data-ad-format="autorelaxed">

ผู้ว่าการยางฯ

การบริหารยางพาราทั้งระบบภายใต้องค์กรใหม่ ที่เกิดจากการควบรวม 3 องค์กรด้านยางพาราของประเทศ เป็น “การยางแห่งประเทศไทย” หรือ กยท. และการขับเคลื่อนด้วย พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ในช่วงเศรษฐกิจและราคายางขาลงไม่ง่ายนัก เพราะนอกจากจะต้องจัดบุคลากรลงตามโครงสร้างต่างๆ แล้ว จะต้องแก้ปัญหาราคายางที่ตกต่ำควบคู่กันไปด้วย โดยภารกิจหนักดังกล่าวตกอยู่กับ “ดร.ธีธัช สุขสะอาด” ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน ซึ่ง “ฐานเศรษฐกิจ”ได้สัมภาษณ์พิเศษ ถึงผลงานเด่นในรอบ 6 เดือนที่เข้ามานั่งบริหารองค์กรแห่งนี้ ตลอดจนความคืบหน้าแผนยุทธศาสตร์การบริหารยางพาราทั้งระบบว่าทิศทางข้างหน้าจะเป็นเช่นไร

 

โชว์ผลงานเด่น 6 เดือน

 

“ดร. ธีธัช” กล่าวว่า ในการบริหารจัดการ กยท. ช่วง 6 เดือนแรก ได้มีการจัดบุคลากรตามโครงสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยอมรับว่าค่อนข้างใช้เวลายาวนานมาก เนื่องจากองค์ประกอบของบุคากร จะจาก 3 หน่วยงานด้านยางพาราของประเทศทั้ง สถาบันวิจัยยาง (สวย.) สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) และองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ที่ต้องมีกระบวนการเทียบโอนตำแหน่ง ซึ่ง ณ วันนี้ถือว่าการจัดสรรบุคลากรลงตามโครงสร้างงานได้เสร็จเรียบร้อย และล่าสุดอยุ่ระหว่างการสรรหารองผู้ว่า กยท. อีก 3 ตำแหน่ง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้ ขณะเดียวกันยังมีการบริหารจัดการโครงการต่างๆ อาทิ การขึ้นทะเบียนสมาชิกเกษตรกรทั้งเจ้าของสวน/ผู้รับจ้างกรีดยาง และการจ่ายเงินในโครงการสร้างความเข้มแข็งแก่ชาวสวนยาง 1,500 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 15 ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งในขณะนี้ถือว่าปิดโครงการไปเรียบร้อยแล้ว

 

“นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ให้ขึ้นทะเบียน จากเดิมจะสิ้นสุดวันที่ 31 กันยายนที่ผ่านมา ได้เสนอให้ขยายระยะเวลาออกไปอีกถึงสิ้นเดือนธันวาคม เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ซึ่งการที่ให้ขึ้นทะเบียนจะได้ทราบว่ามีพื้นที่ปลูกยางพาราในเขต และนอกเขตที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์จำนวนเท่าไร หากมีจำนวนมากจะเสนอต่อรัฐบาลให้มีแนวทางการช่วยเหลือในอนาคตสำหรับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ วันนี้จึงอยากรณรงค์ให้เกษตรกรมาร่วมกันมารายงานตัวกันมากขึ้น”

 

สำหรับ กยท. ในวันนี้ได้วางบทบาทเป็นองค์กรหลักในการพัฒนายางทั้งระบบ ไม่ใช่สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่อยากยกระดับอุตสาหกรรมให้ทุกฝ่ายมีความเสมอภาคและความเท่าเทียมในเชิงของข้อมูลและโอกาสก่อน โดยยกตัวอย่าง ปัญหากรด”กรดซัลฟิวริก”(เป็นกรดที่ใช้ในการจับตัวของยางก้อนถ้วย และยางแผ่นดิบ ที่มีเกษตรกรใช้อยู่จำนวนมาก ซึ่งกรดนี้มีคุณสมบัติทำให้ยางเสื่อมค่าลง) จะปรับเปลี่ยนอย่างไรเพื่อให้เกษตรกรใช้ กรดฟอร์มิก(เป็นกรดอินทรีย์ ไม่ทำลายคุณภาพยาง)แทน ซึ่งจะต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้ซื้อที่มีความต้องการซื้อยางก้อนถ้วยจากใช้กรดฟอร์มิกให้แสดงตน เพื่อให้เกษตรกรรายใดที่มีผลผลิตจาก ฟอร์มิก 100% โรงงานพร้อมจะจ่ายในราคาทีดีกว่าการใช้ กรดซัลฟิวริกจะยุติธรรมทั้งสองฝ่าย

 

“ไม่ได้ไปบังคับ ไม่มีอำนาจ เพียงแค่เชิญชวนและขอความร่วมมือ หากโรงงานใดให้ความร่วมมือพร้อมที่จะแจ้งเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ยกตัวอย่างจังหวัดเชียงใหม่ มีกี่โรงงานที่พร้อมจะซื้อยางก้อนถ้วยที่ทำจากฟอร์มิกก็แจ้งเข้าไป โดยให้ราคาสูงกว่าท้องตลาด 50 สตางค์-1 บาทต่อกิโลกรัม จะ แต่ถ้ารณรงค์ให้ไปใช้วัตถุดิบราคาแพง แต่เกษตรกรได้ราคาเท่าเดิมก็ไม่ยุติธรรม ซึ่งจะเห็นว่า กยท. จะทำให้ทุกคนมีความแข่งขันการค้ายุติธรรม”

 

เร่งมาตรฐานป่าไม้

 

ดร. ธีธัช กล่าวว่า ทาง กยท.ร่วมกับ TECC (Thailand Forest Certification Council) จะเป็นผู้ออกใบรับรองให้ โดย กยท. จะเร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของกยท.ประจำจังหวัดต่างๆ ในหลักสูตรTrain the Trainer เพื่อให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ สามารถออกใบรับรองมาตรฐานให้กับสวนยางได้ โดย กยท.ตั้งเป้าไว้ว่า สวนยางในพื้นที่นำร่อง4 จังหวัด (ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ) จะต้องได้มาตรฐาน FSC และ PEFC (เป็นมาตรฐานการรับรองป่าไม้ตามหลักสากล โดยต้นยางที่ตัดมาจากการปลูกไม่ใช่จากป่าธรรมชาติ) เต็ม 100% ภายในระยะเวลา 3 เดือน และสวนยางทั่วประเทศจะต้องได้มาตรฐานทั้งหมดภายใน 3 ปี

 

“หากไม้ยางพาราของไทยได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าวแล้ว จะทำให้มีตลาดรองรับมากขึ้น และสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยในปัจจุบันไม้ยางพารา และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางที่จะต้องส่งไปขายในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหภาพยุโรปจะต้องมีใบรับรองมาตรฐาน FSC และPEFC นี่ถือว่าเป็นกระบวนการป้องกัน เพราะถ้าไม่มีมาตรฐานผลกระทบจะไม่ใช่แค่ไม้ยางพารา แต่อาจจะรวมถึงน้ำยางในอนาคตด้วย”

 

สร้างตลาดใหม่ ขายทั่วโลก

 

นอกจากนี้ไทยเองจะต้องเข้าสู่ยุคต้องใช้การตลาดนำการผลิต และการสร้างตลาดใหม่เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึง การวางระบบตลาด เปรียบเหมือนบันได 3 ขั้น ได้แก่ บันไดขั้นที่ 1 ก็คือ ในเรื่องของการรวบรวม ผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นน้ำยางสด หรือเศษยาง หรือน้ำยางก้อนถ้วย จะมีตลาดยาง 108 แห่งในท้องถิ่นรองรับ มีทั้งระบบประมูลปกติและระบบอิเล็กทรอนิคส์ที่มีอยู่นำจำนวนนี้ 29 แห่งกำลังจะเพิ่มเติมเข้าไปอีก ให้ครบทั่ง 108 แห่ง ส่วนตลาดกลางยางพาราทั้ง 6 แห่ง จะเป็นบันไดขั้นที่ 2 ที่ กยท. ได้ออกใบใบรับรองมาตรฐาน GMP ให้กับโรงงานผลิตยางแผ่นรมควัน โดยผ่านกระบวนการตรวจสอบตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 5906-2556 เรื่องการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตยางแผ่นรมควัน จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องอุตสาหกรรมยาง ของ กยท. และบันไดขั้นที่ 3 ตลาดกลางยางระดับภูมิภาคของอาเซียน หรือ RRM ซึ่งทั้ง 3 ประเทศ (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย) ต้องการที่จะสร้างแรงต่อรองให้เห็น เมื่อมารวมกันแล้ว เพราะเรามีปริมาณยางรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก เป็นตลาดที่เราต้องการค้าขายกับโลก ค้าขายกับผู้ซื้อในตลาดโลก

 

“ตลาด RRM เพิ่งเปิดไปเมื่อวันที่26 กันยายน 2559 ซึ่งต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ แต่เชื่อว่าตลาดนี้เป็นตลาดที่มีความแตกต่าง เป็นตลาดส่งมอบจริงซื้อขายจริงไม่ใช่ซื้อขายกระดาษ ไม่ใช่ตลาดในการซื้อขายล่วงหน้า เพราะฉะนั้นเป็นเหตุผลที่เราไม่ได้อยู่กับบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเฟกซ์ ซึ่งตลาดนี้จะสามารถส่งออกให้กับโลกทั้งใบไม่ใช่ตลาดเพียงประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป ใน 6 เดือนที่ผ่านมาผมมีความตั้งใจ และต้องการให้เกษตรกรในยุคปัจจุบันและอนาคต เป็นเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง สามารถอยู่ได้โดยยั่งยืนและก้าวทันเทคโนโลยีและโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอนาคต”

 

source: thansettakij.com/2016/10/10/104677


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5126 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 7628
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 6913
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 6996
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6298
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7204
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6258
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 6628
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>