ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 5760 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

อนาคตข้าวไทยในตลาดโลก ต้องออกจากวังวนปัญหา จำนำ-ประกัน

อนาคตข้าวไทยในตลาดโลก ต้องออกจากวังวนปัญหา จำนำ-ประกัน

อนาคตข้าวไทยในตลาดโลก - เราบอกว่าข้าวของไทยดีที่สุด แต่ทำไมชาวนาไทยยังยากจนที่สุด ต้องปฏิวัติเขียวรอบสอง..

data-ad-format="autorelaxed">

อนาคตข้าวไทยในตลาดโลก

อนาคตข้าวไทยในตลาดโลก ต้องออกจากวังวนปัญหา “จำนำ-ประกัน” พัฒนาสู่เกษตรอุตสาหกรรม ผลักดันให้เกิดปฏิวัติเขียวรอบสอง โดย ดร.สารสิน วีระผล

 

อนาคตข้าวไทย จะเป็นอย่างไร คำถามนี้คงอยู่ในใจของใครหลายคน เพราะข้าวถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีต แต่วันนี้ทั้งจีน เวียดนาม มีพัฒนาการก้าวไกลสามารถผลิตข้าวได้มากถึงไร่ละ 2,000 กิโลกรัม ในขณะที่ประเทศไทยผลผลิตต่อไร่ยังคงอยู่ที่ 400-600 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น จะมีบางพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทานเท่านั้นที่มีผลผลิตข้าวไร่ละ 800 กิโลกรัม

 

แม้แผนยุทธศาสตร์ข้าว 5 ปี (พ.ศ.2554-2558) จะเน้นการส่งออกข้าวคุณภาพดี เพื่อเพิ่มมูลค่าแทนการเพิ่มปริมาณส่งออก และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อไทยจะได้เป็นศูนย์กลางการค้าข้าว แต่ดูเหมือนว่าโจทย์ของประเทศไทยวันนี้เนื้อหาสาระยังไม่ต่างจากที่ผ่านมา

 

ในมุมของซี.พี.เห็นว่า ข้าวเป็นสินค้าที่สำคัญ เป็นพระเอกของประเทศไทยมานานนับ 100 ปี ในปัจจุบันนำเงินเข้าประเทศแต่ละปีมากกว่าแสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ดีทุกวันนี้เราพูดกันแค่ว่า ราคาข้าวจะเป็นเท่าไร รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณลักษณะไหน จะประกันราคา หรือจำนำดี แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องอื่นที่สำคัญมาก เช่น การพัฒนาการผลิตข้าวของหลายประเทศที่วันนี้ไม่จำเป็นต้องตามหลังประเทศไทยอีกต่อไปแล้ว หรือพม่าที่ดูเหมือนว่ากำลังพัฒนาผงาดขึ้นมามีบทบาทเรื่องการผลิตข้าวอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากพม่ามีที่ดินอยู่มากกว่า 4 แสนไร่ที่พร้อมให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ช่วยฟื้นฟูการปลูกข้าวในประเทศของเขาทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศของพม่าเฟื่องฟูขึ้น ซึ่งถ้าหากพม่าจับมือกับเวียดนาม หรือจีน ปลูกข้าว พม่าจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับประเทศไทย เพราะในอดีตพม่าเคยเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสูงกว่าประเทศไทย

 

ดังนั้น รัฐบาลต้องปรับอุตสาหกรรมข้าวให้มีการทำงานในลักษณะบูรณาการ เพื่อรักษาฐานความเป็นผู้นำธุรกิจข้าวในตลาดโลกไว้ให้ได้

 

เพราะขณะนี้เราต้องยอมรับว่าชาวนา จำนวนมากไม่สามารถพึ่งแปลงข้าวเพื่อความอยู่รอดได้ หลายครอบครัวต้องไปแสวงหาอาชีพเสริม ซึ่งต่อมากลายเป็นรายได้หลักของครอบครัว พื้นที่นาจำนวนไม่ใช่น้อยจึงถูกทิ้งร้าง และถูกนำไปพัฒนาเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยกลุ่มนายทุนและนักการเมือง

 

สรุปง่ายๆขณะนี้ ผู้ปลูกข้าวตกอยู่ในฐานะลำบาก ถูกล้อมกรอบด้วยปัจจัยที่ไม่เป็นมิตร ดังนั้น ชาวนาไทยไม่ว่ากี่ปี ก็ไม่ได้ร่ำรวยขึ้นแต่ยังคงมีความเป็นอยู่เหมือนเดิม วันนี้รัฐบาลจึงต้องแก้ปัญหาแบบบูรณาการ มีการวางแผนพัฒนาข้าวไทยอย่างเป็นระบบ ทั้งในแง่การค้า ความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท รวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา

ที่สำคัญต้องมียุทธศาสตร์ชัดเจนว่า 10 ปีข้างหน้าบทบาทข้าวไทยในการพัฒนาประเทศจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร(food security)จะดูแลอย่างไร เพราะหากไม่คำนึงถึงเรื่องนี้อนาคตประเทศไทยจะไม่สามารถส่งออกข้าวได้

 

วันนี้ถ้าเราหันไปดูชาวนาญี่ปุ่นจะเห็นชัดเจนว่า ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมข้าวเป็นอย่างมาก ทั้ง ๆที่พื้นที่ที่ปลูกมีอยู่ค่อนข้างจำกัด แต่เมื่อเขามองว่าข้าวเป็นส่วนประกอบสำคัญของชนชาติ ข้าวในสายตาของคนญี่ปุ่นจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงประเทศ คนญี่ปุ่นนอกจากจะกินข้าวอย่างระมัดระวังแล้วยังรักษาวัฒนธรรมในการเห็นคุณค่าของข้าวเอาไว้ด้วย ในขณะที่การปลูกข้าวในญี่ปุ่นยากเย็นกว่าของประเทศไทยเยอะ แต่คนญี่ปุ่นถือว่านี่คือชีวิตจิตใจของพวกเขา

 

ดังจะเห็นได้จากการยอมจ่ายเงินเพื่อบริโภคข้าวญี่ปุ่นของคนญี่ปุ่น แม้ว่าต้องจ่ายเงินเพิ่มเป็น 10 เท่าแต่ คนญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะกินข้าวญี่ปุ่น

 

ถ้าประเทศไทยทำอย่างนั้นได้ สร้างความตระหนักในเรื่องการทำนาว่าเป็นอาชีพที่คนไทยต้องรักษาไว้ ก็จะเป็นโอกาสที่ได้ช่วยเหลือฐานะของผู้ผลิตข้าว ช่วยชาวนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

การบูรณาการเรื่องข้าว รัฐต้องไม่คิดถึงเรื่องการส่งออกอย่างเดียว ไม่มองการประกันราคาข้าวหรือกลไกด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ต้องคิดถึงบริบทในกระบวนการผลิตข้าวทั้งหมด ซึ่งรวมถึงคุณภาพชีวิตของชาวนา คนที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวไปพร้อมๆ กันด้วย

 

การจะเพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้ปริมาณมาก คุณภาพดีขึ้น ในเบื้องต้นต้องยอมรับก่อนว่า ข้าวเป็นพืชที่ชอบน้ำ ดังนั้นพื้นที่ภาคกลางจึงเหมาะสมกับการทำนาข้าวมากที่สุด เพราะมีระบบชลประทานที่สามารถทำนาได้ปีละหลายครั้ง ส่งผลให้โปรดักติวิตี้สูงกว่าการทำนาในภาคอื่น

 

ส่วนภาคอีสานที่มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อในการปลูกข้าวหอมมะลิ เราต้องพยายามรักษาความได้เปรียบและพัฒนาจุดเด่นตรงนี้ให้ดีขึ้น เพื่อให้คนปลูกข้าวหอมมะลิ มีกำลังใจอยากปลูกข้าวหอมมะลิต่อไป

 

"เราบอกว่าข้าวของไทยดีที่สุด แต่ทำไมชาวนาไทยยังยากจนที่สุด"

 

ในเรื่องนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซี.พี. เคยยกตัวอย่างให้ฟังเสมอว่า เกาหลีใต้ ดิน ฟ้า อากาศสู้เมืองไทยไม่ได้เลย แต่เกาหลีใต้ ใช้เวลา 27 ปี เกษตรกรของเขาไปเที่ยวทั่วโลกได้ ทำไมเมืองไทยอุดมสมบูรณ์แบบนี้ ชาวนาไทยยังจนอยู่

 

นายธนินท์บอกไว้ว่า ถ้าเราไม่ปลูก ก็จ้างคนไปปลูกได้ หรือนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เอาเครื่องจักรมาช่วย ก็สามารถพัฒนาที่นาผืนใหญ่เป็นพันเป็นหมื่นไร่ให้มีผลผลิตที่สูงได้ โดยใช้คนเพียงหนึ่งคน แต่เวลานี้รัฐบาลพูดแต่การแก้ไขปัญหาราคาข้าวด้วยวิธีประกันและจำนำ ส่วนเรื่องการวิจัยพันธ์ข้าวต่างๆ มีการพูดถึงน้อยลงๆ ทุกวัน

อีกประเด็นที่สำคัญในเรื่องของข้าวไทย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี ประเทศไทยก็ยังคงขายสินค้าเดิมๆคือ เมล็ดข้าว นำข้าวเปลือกมาสี ทำความสะอาด แล้วส่งออก แต่ไม่แปรรูปข้าวให้มีมูลค่าสูงขึ้น ทำให้คุณภาพข้าวดีขึ้น แทนที่จะขายในแบบเดิมๆ

 

เหมือนไก่ของไทย สมัยก่อน เอามาชำแหละตัดออกเป็นชิ้นๆ แล้วส่งขาย ได้กำไร 7-10 เปอร์เซ็นต์ แต่ตอนนี้เราเอาไก่เป็นชิ้น มาผสมส่วนผสมอื่นเข้าไปเป็นอาหารสำเร็จรูป แล้วแช่แข็ง เมื่อส่งออกไปขายก็ได้ในราคาที่สูงขึ้น

หรือแม้แต่มันสำประหลังสมัยก่อนไทยส่งไปเป็นอาหารสัตว์ในยุโรป แต่ตอนหลังพัฒนานำไปทำกระดาษ มันสำประหลังวันนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงสินค้าเพื่อการบริโภคของสัตว์แต่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถนำไปทำพลังงานทดแทนได้ ซึ่งข้าวก็น่าจะพัฒนาต่อยอดได้ เพราะถ้าประเทศไทยไม่พัฒนาเรื่องการผลิตข้าวต่อไปประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ หรือ พม่า ก็จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย เพราะทุกประเทศสามารถปลูกข้าวส่งออกไปขายได้เช่นกัน

 

ในภาวะที่ประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่าในอีก 30-40 ปีข้างหน้าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1 หมื่นล้านคน การบริโภคข้าวย่อมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ตรงนี้ถือเป็นโอกาสที่ประเทศไทยต้องตระหนักว่าแม้จะมีโอกาสที่ดีแต่การแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ก็สูงเช่นกัน เพราะมีคู่แข่งในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจะรักษาฐานการส่งออกข้าวและสามารถตอบสนองอุปสงค์โลกที่เพิ่มขึ้น โดยอาศัยความได้เปรียบของปะเทศไทยได้อย่างไร

รัฐจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการวิจัย และมองหาตลาดใหม่ๆ ไปพร้อมๆ กัน ประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยพันธ์ข้าว แล้วกำหนดทิศทางให้ชัดเจนว่าจะพัฒนาไปทางไหนบ้าง จะมีวิธีการเพิ่มคุณภาพของข้าวได้อย่างไร เช่น นำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ เหมือนกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ทำเรื่อง Golden rice เพิ่มวิตามินเข้าไปข้าว ทำให้ข้าวมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น หรือแม้แต่การพิจารณาเทคโนโลยีใหม่ การตัดแต่งยีนส์ที่ช่วยแก้ปัญหาภาวะแล้งก็ดีหรือการลดการใช้ยาปราบศรัตรูพืช หรือแม้แต่การใช้ปุ๋ยเคมี

 

จริงๆ แล้วเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว เกษตรกรรมของไทยเคยได้รับอานิสงฆ์จากการปฏิวัติเขียว ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรจนสามารถส่งอาหารออกไปขายในต่างประเทศได้

 

วันนี้มีไบโอเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก เราจะไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับงานวิจัยใหม่ๆ เหล่านี้เลยหรือ? จะไม่นำงานวิจัยเหล่านี้มาช่วยเพิ่มผลผลิต นำเอาเทคโนโลยีใหม่ มาทำให้เกิดปฏิวัติเขียวครั้งที่สองในประเทศไทยหรือ?

 

อยากยกตัวอย่างชาวนาในเทกซัส ที่ทำการเกษตรจนร่ำรวย วันดีคืนดีได้มีโอกาสไปเที่ยวบราซิล พอไปเห็นที่ดินของบราซิลที่กว้างใหญ่ไพศาล และเหมาะกับการพัฒนาการเกษตรเหมือนเทกซัส ก็เห็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ ชั่วข้ามคืนชาวนาเทกซัสก็นำวิชาความรู้ที่มีมาบุกเบิกที่ดินในบราซิลซึ่งมีจำนวนมหาศาลสร้างรายได้เข้าประเทศ

 

วันนี้ถ้าหากเราพัฒนาชาวนาไทยให้เขามีโอกาสบินไปเที่ยวพม่าบ้าง แล้วเห็นสภาพที่ดิน ชาวนาไทยอาจจะเห็นโอกาสแล้วนำความรู้ วิธีการจัดการไปใช้พัฒนาที่ดินพม่าก็เป็นได้ ฉะนั้นหลักสำคัญจึงอยู่ที่รัฐบาลต้องมีทัศนะวิสัย ไม่เอา blinders มาครอบไว้เหมือนม้าแข่ง เพราะจะทำให้ไม่เห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว

 

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงการผลิตข้าวอย่างจริงจัง เปิดเซ็กเตอร์นี้ให้ผู้สนใจเข้ามาร่วมพัฒนาข้าวไทยอย่างบูรณาการ จัดการทุกอย่างโดยใช้ระบบที่เป็นปัจจุบัน ได้มาตรฐานสากล พัฒนาเรื่องการวิจัยพันธ์ข้าว นำเทคโนโลยีระดับโลกและการจัดการที่ทันสมัยมาใช้ การพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ การพัฒนาระบบชลประทาน เพราะข้าวถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญมาก การดำเนินงานจึงต้องทำในลักษณะคล้ายๆกับการจัดนิคมอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาข้าวไทยสู่เกษตรอุตสาหกรรม ทั้งเรื่องของเมล็ดพันธ์ การแปรรูป การหาตลาดใหม่ ๆ

 

รัฐต้องนำสิ่งที่ข้าวไทยได้เปรียบตลอดมาทั้งเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมบทบาทข้าวไทยให้โดดเด่นยิ่งขึ้นในตลาดโลก เพื่อก้าวสู่มิชชั่นใน 2 เรื่อง คือ food security และการก้าวไปสู่ยุทธศาสตร์การเป็นครัวของโลก

 

วันนี้ประเทศไทยเป็นผู้นำเรื่องการค้าข้าวแต่ในทางปฏิบัติเราไม่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ แต่กลับปล่อยให้ประเทศอื่นก้าวขึ้นมา อย่างเช่นเวียดนามเงื่อนไขทางธรรมชาติไม่ได้ดีกว่าไทย แต่บางปีเวียดนามส่งออกข้าวได้จำนวนมาก เพราะว่านโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้มีการส่งออกเต็มที่

 

ข้าวเป็นอาหารเลี้ยงดูคน ดังนั้นคนปลูกข้าวจึงเป็นผู้มีพระคุณที่ต้องได้รับการดูแล อนาคตของข้าวไทยจึงจะพัฒนาไปได้

 

อยากเน้นว่าการจัดการข้าวแบบบูรณาการ รัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับเรื่องข้าวทั้งหมด ทั้งเรื่องเมล็ดพันธ์ ดินฟ้าอากาศ กระบวนการผลิต เพราะตรงนี้ถือเป็นหัวใจของการทำนาที่ชาวนาต้องรู้ เพื่อที่จะสามารถผลิตข้าวได้อย่างมีคุณภาพและปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาดภายนอก โดยเฉพาะการพัฒนาตลาดของจีน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาจีนมีการเปลี่ยนแปลงที่สูง ทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและจีนก็เป็นตลาดใหญ่ของข้าวไทยในเรื่องข้าวคุณภาพดี

 

ข้าว จึงจะเป็น success story และประเทศไทยจะสามารถรักษาฐานความเป็นผู้นำข้าวในตลาดโลกไว้ได้

 

source: cpthailand.com/รวมคอลมน/tabid/129/articleType/ArticleView/articleId/122/-----.aspx


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5760 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7473
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 7815
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 8794
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 7636
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 7880
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 7642
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7561
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>