ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ดอก ไม้ประดับ | อ่านแล้ว 9090 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ซ้ำรอย จัสมินไรซ์ ฝรั่งชิงจดสิทธิบัตร ไม้ประดับ ลิ้นมังกร

ซ้ำรอย จัสมินไรซ์ ฝรั่งชิงจดสิทธิบัตร ไม้ประดับ ลิ้นมังกร

ลิ้นมังกร - เร่งยื่นคัดค้านต่างชาติฉกจดสิทธิบัตร ลิ้นมังกร เป็นพันธุ์พืชในสหรัฐ-อียูซ้ำรอย จัสมินไรซ์ ผู้ประกอบการ..

data-ad-format="autorelaxed">

ลิ้นมังกร

สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย กระทุ้งกระทรวงเกษตรฯ เร่งยื่นคัดค้านต่างชาติฉกจดสิทธิบัตร"ลิ้นมังกร" เป็นพันธุ์พืชในสหรัฐ-อียูซ้ำรอย "จัสมินไรซ์" ผู้ประกอบการหวั่นไทยสูญเสียตลาดส่งออกไม้ประดับเบอร์ 2

 

รศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ นายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้สมาคมได้ทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เร่งดำเนินการปกป้องสิทธิพันธุ์พืช "ต้นลิ้นมังกร" (Sansevieria cylindrica "Boncel") ซึ่งพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปของไทย หลังจาก Johannes Wilhelmus Maria Scheffers ชาวเนเธอร์แลนด์ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชนี้ที่สำนักงาน Community Plant Variety Office (CPOV) ในสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 จากก่อนหน้านี้ที่บุคคลดังกล่าวได้ยื่นจดคุ้มครองสิทธิบัตรพันธุ์พืชนี้ไปแล้วในสหรัฐ (Sansevieria cylindrica "SAN201202") เมื่อเดือนกันยายน 2557 ส่งผลกระทบทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถส่งออกลิ้นมังกรไปยังตลาดสหรัฐได้ ขณะที่การเพิกถอนสิทธิบัตรทำได้ยาก และมีค่าใช้จ่ายสูงทำให้ไทยต้องเสียตลาดส่งออกพันธุ์พืชดังกล่าวไปเช่นเดียวกับที่เคยเสียตลาดสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิพันธุ์จัสมินไรซ์

 

"สมาคมได้ยื่นขอให้กรมวิชาการเกษตรเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องมาหลายครั้ง โดยภาครัฐรับจะช่วยดูแลกระบวนยื่นคัดค้านการจดสิทธิบัตรนี้ให้ เพราะตามหลักการของสหภาพยุโรปจะต้องใช้หน่วยงานที่มีถิ่นฐานในสหภาพยุโรปเป็นตัวแทนในการยื่นค้าน ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าจะมอบหมายให้ทูตเกษตรประจำสหภาพยุโรป เป็นผู้แทนในการดำเนินการยื่นค้าน ซึ่งควรจะต้องดำเนินการโดยเร็ว ก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อผู้พัฒนาพันธุ์ เกษตรกร และผู้ส่งออกไทย"

ทั้งนี้ สมาคมเห็นว่า การยื่นขอสิทธิบัตรพันธุ์พืชในยุโรป ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรา 52 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรจะต้องยื่นคัดค้านการขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว เพื่อป้องกันปัญหาต่างชาติแอบใช้พันธุ์พืชของไทย อีกทั้งยังขัดกับกฎระเบียบอียู เรื่อง COUNCIL RECGULATION (EU) No. 2100/94

แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ส่งออกลิ้นมังกร กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันการส่งออกต้นลิ้นมังกร ถือเป็นไม้ประดับที่มีการส่งออกเป็นอันดับ 2 รองจากกล้วยไม้ โดยตลาดส่งออกหลักคือ สหภาพยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในส่วนการผลิตผู้ประกอบการ 40-50 ราย และผู้ส่งออก 20 ราย เพราะสินค้ากลุ่มนี้ถือว่าเป็นสินค้าใหม่ในตลาดส่งออก

โดยที่ผ่านมาผู้ส่งออกได้ร้องเรียนผ่านสมาคมให้เป็นตัวแทนในการยื่นค้านการจดสิทธิบัตร ซึ่งทางสมาคมได้ส่งหนังสือคัดค้านไปทางอีเมล์ที่ CPOV แต่ไม่มีน้ำหนัก และได้ประสานผู้นำเข้าในการยื่นค้าน แต่ก็ถูกมองว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางการค้า ดังนั้น ความหวังเดียวที่จะยื่นคัดค้าน จึงอยู่ที่หน่วยงานภาครัฐเท่านั้นว่าจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือหรือไม่ เพราะหากปล่อยให้จดสำเร็จอย่างในกรณีของสหรัฐ ซึ่งเป็นเหมารวมคุ้มครองพืชที่มีลักษณะตามคำอธิบาย (Description) ที่ยื่นจดทั้งหมด ไทยจึงถูกบล็อกไม่สามารถส่งออกไปตลาดสหรัฐได้เลยนับจากปี 2557 เพราะมีกรณีที่เคยส่งออกไปจำหน่ายโดยใช้ชื่อว่า Sansevieria แต่จะมีหน่วยงานตรวจสอบ เมื่อพบว่าลักษณะเช่นเดียวกับรหัสพืชที่จดคุ้มครองไว้ ทำให้ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับผู้จด

"แต่กรณีการยื่นจดสิทธิบัตรที่สหภาพยุโรปจะรุนแรงกล่าวที่สหรัฐเพราะสหภาพยุโรปเป็นภาคี UPOV หากยุโรปรับจด จะมีผลความคุ้มครองไปยังประเทศสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV) อื่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกของไทยด้วย เช่น เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น และผู้ส่งออกเกรงว่าหากรับจด จะมีผลการจดสิทธิบัตรย้อนหลังหรือไม่"

นายปราโมทย์ โรจน์เรืองแสง นักพัฒนาพันธุ์ลิ้นมังกร และชมรมผู้ปลูกเลี้ยงลิ้นมังกร กล่าวว่า ลิ้นมังกรสายพันธุ์งาช้างแคระที่มีการนำไปจดสิทธิบัตรดังกล่าว ถือเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในตลาดส่งออกสหรัฐและสหภาพยุโรป เพราะมีลักษณะลำต้นกะทัดรัด และมีความทนทานสูง ซึ่งพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซียแต่ไทยนำเข้ามาพัฒนาเมื่อ 10 ปีก่อน จนในปัจจุบันไทยเป็นผู้นำในกลุ่มประเทศผู้พัฒนาพันธุ์ ซึ่งภาพรวมกลุ่มพืชนี้มีเป็น 100 สายพันธุ์ และพันธุ์ผสมที่พัฒนาเพิ่มเติมมีเป็น 10,000 สายพันธุ์ ทั้งนี้กลุ่มนักปรับปรุงพันธุ์มองว่า สายพันธุ์นี้เป็นพันธุ์พื้นเมืองทั่วไปซึ่งไม่ควรจะมีใครไปจดสิทธิบัตรเป็นเจ้าของได้

 

source: prachachat.net/news_detail.php?newsid=1474862162


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 9090 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ดอก ไม้ประดับ]:
กุหลาบต้นแห้ง กุหลาบใบเหลือง กุหลาบใบเป็นจุด กุหลาบใบแห้ง เป็นโรครา แก้ไขได้อย่างไร?
กุหลาบจำนวนไม่น้อย ที่โดน โรคใบจุดสีดำ เข้าทำลาย โรคใบจุดสีดำในกุหลาบ ระบาดได้ทั่วไปตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในฤดูฝน
อ่านแล้ว: 9919
เปลี่ยนจากอ้อย หันมา ปลูกดาวเรือง ใช้เวลาปลูกเพียง 60 วัน ตัดดอกขายได้
ปลูกดาวเรือง นอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถาน..
อ่านแล้ว: 9490
ซ้ำรอย จัสมินไรซ์ ฝรั่งชิงจดสิทธิบัตร ไม้ประดับ ลิ้นมังกร
ลิ้นมังกร - เร่งยื่นคัดค้านต่างชาติฉกจดสิทธิบัตร ลิ้นมังกร เป็นพันธุ์พืชในสหรัฐ-อียูซ้ำรอย จัสมินไรซ์ ผู้ประกอบการ..
อ่านแล้ว: 9090
ฝนตกทำให้ ดอกมะลิ อมน้ำเป็นโรคเชื้อราเน่าเสีย ขาดรายได้
ดอกมะลิ - ฝนตกส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกมะลิขาย ทำให้อมน้ำ และเป็นโรคเชื้อราเน่าเสียหายกว่า 40 เปอร์เซ็นต์
อ่านแล้ว: 8237
การปลูกกุหลาบ
การปลูกกุหลาบ กุหลาบควรปลูกในฤดูฝนและฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงของการเจริญเติบโตของกุหลาบ ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงเดือนมิถุนายน
อ่านแล้ว: 10774
ปลูกดาวเรือง - ชาวนาลพบุรี ปลูกดาวเรืองขาย รายได้เหยียบแสนต่อวัน
ปลูกดาวเรือง รวยไม่รู้เรื่อง! ชาวนาหัวใส จ.ลพบุรี สู้ภัยแล้งเจาะบ่อบาดาล หันปลูกดาวเรืองขาย ทำรายได้เหยียบเเสนต่อวัน..
อ่านแล้ว: 8169
ปลูกโป๊ยเซียนขาย รายได้เดือนละ 100,000 บาท งานเบาๆของวัยเกษียณราชการ
คุณลุงวัยกว่า 70 ปี คนขยัน เพาะชำต้นโป๊ยเซียน ไม้ดอกไม้ประดับกว่า 100 สายพันธุ์ จำนวนมากกว่า 20,000 กระถาง..
อ่านแล้ว: 8604
หมวด ไม้ดอก ไม้ประดับ ทั้งหมด >>