ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 5527 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

มันคือหลุมพราง! ลือ 2 ค่ายล้อยางยักษ์ใหญ่ แบนยางพาราอีสาน อุบายฉุดราคาร่วง

มันคือหลุมพราง! ลือ 2 ค่ายล้อยางยักษ์ใหญ่ แบนยางพาราอีสาน อุบายฉุดราคาร่วง

แบนยางพาราอีสาน - ราคายางต่ำเตี้ย ชาวสวนยางหมดหนทาง เจอเล่ห์พ่อค้าฟันซ้ำ ชาวสวนสุดปวดใจ ไฉนต้องมีข่าวร้ายทำลายความหวัง..

data-ad-format="autorelaxed">

แบนยางพาราอีสาน กลลวงฉุดราคา

ข่าวลือกระพือถึงหึ่งเรื่องยางพาราภาคอีสาน หลังมีคนพูดเป็นตุเป็นตะว่า 2 ค่ายยางรถยนต์ยักษ์ใหญ่ประกาศหยุดรับซื้อ เพราะชาวสวนดันไปใส่กรดซัลฟิวริกลงในน้ำยาง ซึ่งกรดซัลฟิวริกเจ้ากรรมนี้ มันไปทำให้คุณภาพล้อยางเสื่อมสภาพเร็ว แต่ภายหลังเช็กกันไปเช็กกันมา ปรากฏว่า ข่าวลือกลายเป็นข่าวลวง 2 ค่ายยางรถยนต์ยักษ์ใหญ่ยังอ้าแขนรับรับยางพาราอีสานเต็มที่ แต่พิษภัยที่ข่าวลือทิ้งไว้ คือ ราคายางพาราร่วงลงทันที!

 

ราคายางต่ำเตี้ย ชาวสวนยางหมดหนทาง เจอเล่ห์พ่อค้าฟันซ้ำ

 

ชาวสวนสุดปวดใจ ไฉนต้องมีข่าวร้ายทำลายความหวัง ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสได้พูดคุยกับ นายธีระชัย แสนแก้ว นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสาน เกษตรกรชาวสวนยางท่านนี้ โอดครวญให้ทีมข่าวฟังว่า ในช่วงนี้ผลผลิตยางกำลังไปได้สวย เพราะเป็นช่วงฤดูฝน ชาวบ้านตั้งอกตั้งใจเก็บเกี่ยวเตรียมนำยางพาราออกขาย แต่จู่ๆ ก็มีข่าวลือออกมาว่า ค่ายยางล้อรถยนต์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างมิชลิน และบริดจสโตน ประกาศแบนยางพาราในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งชาวสวนยางที่เป็นตาสีตาสาไม่มีความรู้ต่างก็ตกอกตกใจ กลัวไม่มีใครรับซื้อยาง จึงรีบตัดสินใจนำยางออกมาขายในราคาถูกให้แก่พ่อค้าที่มารับซื้อ โดยที่ชาวสวนไม่ได้ตรวจสอบข่าวลือให้เรียบร้อยเสียก่อนว่าเท็จจริงประการใด

 

เดิมทีราคายางก้อนถ้วย จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 23-25 บาท แต่หลังจากมีข่าวลือนี้ออกมา ราคาก็ตกลงมาอยู่ที่ 21-23 บาท ซ้ำร้ายพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อยางจากชาวบ้าน ยังฉวยโอกาสนี้ช้อนซื้อยางจากชาวบ้านในราคาถูก โดยไปย้ำบอกกับชาวบ้านว่า อย่างไรชาวบ้านก็ต้องนำยางออกมาขาย เพราะบริษัทใหญ่จากต่างประเทศเขาไม่รับซื้อแล้ว ส่วนชาวบ้านก็คิดว่าเข้าตาจน รีบนำยางออกมาขายกันยกใหญ่

 

นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสาน กล่าวถึงสภาพปัญหาที่ต้องพบเจอด้วยความกลัดกลุ้มจากกระแสที่บริษัทระดับโลกแบนยางพาราอีสานก็ว่าหนักกันอยู่แล้ว แต่อีกไม่นานจะมีกระแสข่าวที่ว่า คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ทบทวนเงื่อนไขการกำหนดราคาขายยางพาราในสต๊อกรัฐบาล จำนวน 3.1 แสนตัน ซึ่งข่าวนี้เสมือนพายุพัดกระหน่ำซ้ำข่าวเดิมให้ปวดหัวหนักขึ้นไปอีก โดยผมคาดว่า ทั้งสองข่าวอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคายางร่วงลงไปอีก และนี่อาจเป็นโชคดีของพ่อค้าผู้รับซื้อยางที่จะได้ซื้อยางในราคาถูก แต่จะเป็นโชคร้ายของชาวบ้านเกษตรกร นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสาน ตัดพ้อ

 

ซัลฟิวริก - ฟอร์มิก ดีร้าย เหมือนต่างอย่างไร?


 

นายธีระชัย นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสาน ถ่ายทอดประสบการณ์จากการปลูกยางพารามานานนับสิบปีว่า กรดซัลฟิวริกที่กำลังพูดถึงกันอยู่นี้ จะนิยมใช้กันมากในช่วงฤดูฝน เพราะกรดตัวนี้มีราคาถูก และเป็นตัวช่วยชั้นดีที่จะทำให้น้ำยางแข็งตัว ก่อนที่น้ำฝนจะเข้าไปผสมในน้ำยาง ซึ่งชาวสวนยางมีการใช้กรดซัลฟิวริกมานานประมาณ 20-30 ปี โดยที่ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพแต่อย่างใด

 

ในช่วงที่ผ่านมา ชาวสวนยางพารากว่า 60% ได้ทยอยเปลี่ยนมาใช้กรดฟอร์มิกแทนกรดซัลฟิวริกกันแล้ว โดยกรดฟอร์มิกจะมีราคาแพงกว่ากรดซัลฟิวริกพอสมควร แต่ชาวบ้านก็มีความพยายามที่จะใช้กรดฟอร์มิกอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ชาวบ้านกลับพบเจอหลังพยายามเปลี่ยนตัวเองก็คือ มีคนนำ กรดฟอร์มิกปลอมออกมาจำหน่าย ซึ่งนายธีระชัยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่ต่างอะไรกับการหนีเสือปะจระเข้"

 

ขณะที่ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวเทียบกันระหว่างกรดทั้งซัลฟิวริกและกรดฟอร์มิก ว่า ในอดีต ยางพาราที่ผสมกรดฟอร์มิกนั้น จะไม่เป็นที่นิยมสำหรับตลาดยางพาราทั่วไป เพราะฉะนั้น จะมีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ต้องการยางพาราที่ผสมกรดฟอร์มิก ซึ่งบริษัทที่ต้องการกรดดังกล่าว จะเป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มตลาดระดับบน หรือตลาดไฮเอนด์

 

โดยปกติแล้ว ชาวสวนยางพาราทางภาคอีสานจะมีการใช้กรดซัลฟิวริกมากกว่ากรดฟอร์มิก เนื่องจากกรดฟอร์มิกมีผู้ประกอบการไม่กี่รายผลิตแบบสำเร็จรูป (ผสมแล้ว) ออกวางจำหน่าย มิหนำซ้ำ ยังมีราคาสูงกว่ากรดซัลฟิวริกอยู่พอสมควร หากชาวสวนยางพาราต้องการจะใช้กรดฟอร์มิก ชาวสวนจะต้องซื้อกรดฟอร์มิกมาผสมกับน้ำสะอาดเอง ด้วยเหตุนี้ กรดฟอร์มิกจึงไม่เป็นที่นิยมเท่าใดนัก ส่วนกรดซัลฟิวริกนั้น ปัจจุบันผู้ประกอบการได้ทำการผลิตแบบสำเร็จรูปออกวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป เพราะฉะนั้น จึงง่าย และสะดวกรวดเร็วกว่าการใช้กรดฟอร์มิก

 

นอกจากนี้ ทีมข่าวได้สอบถามไปยัง นางปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางสงขลา การยางแห่งประเทศไทย ขยายความถึงกรดทั้งสองประเภทให้ทีมข่าวฟังว่า กรดซัลฟิวริกนั้น เป็นกรดแก่ที่มีความเข้มข้นสูง ค่อนข้างอันตราย มีกลิ่นฉุนเหม็นแสบจมูก ช่วยให้ยางจับตัวภายใน 15-30 นาที และมักจะพบว่า เกษตรกรนิยมใช้ในอัตราที่เกินกำหนด ซึ่งจะไปส่งผลให้แผ่นยางมีสีคล้ำ เกิดฟองอากาศ แผ่นยางเหนียว แห้งช้า เนื้อแข็งกระด้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกษตรกรนำยางไปตากแดด ก็จะยิ่งทำให้ยางเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น ดังนั้น ยางที่ใช้กรดซัลฟิวริกในการจับตัวจัดเป็นยางคุณภาพคละ ซึ่งขายได้ราคาต่ำกว่ายางคุณภาพดี

 

กรดฟอร์มิกดีอย่างไรส่วนกรดฟอร์มิกนั้น เป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จับตัวเนื้อยางได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ตกค้างในยาง มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง และช่วยให้ยางจับตัวภายใน 45-60 นาที โดยกรดฟอร์มิกเป็นสารจับตัวที่นิยมใช้ในการผลิตยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และยางแท่ง STR 5L เนื่องจากทำให้สีของยางที่แห้งแล้วเหลืองสวย ไม่คล้ำ ไม่เหนียว เหนอะหนะ เนื้อยางยืดหยุ่นดี


ชาวสวนยางมักเข้าใจว่า ราคาของกรดฟอร์มิกนั้น สูงกว่ากรดซัลฟิวริก แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะความจริงแล้ว ต้นทุนของกรดซัลฟิวริกนั้นค่อนข้างต่ำ แต่กลับนำมาจำหน่ายในราคาที่สูง ซึ่งกรดซัลฟิวริกจะตกอยู่ที่ขวดละ 15-20 บาท ถามว่าแพงไหม คือแพงมาก แต่ถ้าดูเผินๆ นั้น เหมือนจะไม่แพง ส่วนต้นทุนของกรดฟอร์มิกนั้น แพงกว่ากรดซัลฟิวริก เพราะฉะนั้น หากชาวสวนยางซื้อกรดฟอร์มิกมาผสมใช้เอง ชาวสวนยางจะได้กรดที่ราคาถูกกว่าการไปซื้อกรดซัลฟิวริกแบบสำเร็จรูป นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ให้ความรู้ด้วยความเป็นห่วง

 

กรดซัลฟิวริกนิยมใช้กันมากในช่วงฤดูฝน เพราะเป็นตัวช่วยชั้นดีที่จะทำให้น้ำยางแข็งตัว



เกมกดราคา ขุดหลุมล่อชาวบ้านติดกับหรือไม่?


 

นายธีระชัย นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสาน กล่าวเสียงเศร้ากับเราว่า การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกมาให้ข่าวเท็จที่ว่า บริดจสโตนและมิชลินประกาศไม่รับซื้อยางพาราของภาคอีสานนั้น ย่อมไม่เป็นผลดีต่อกลุ่มเกษตรกร และทำให้ประเทศเสียเชื่อเสียง แต่ในอีกแง่หนึ่ง บริษัทผู้รับซื้อยางก็จะได้โอกาสซื้อยางจากชาวบ้านในราคาที่ถูก ส่วนพ่อค้าที่ขายกรดฟอร์มิกก็จะได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์นี้ไปด้วย ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าคนที่ปล่อยข่าวนี้ออกมาต้องการอะไร แต่ที่รู้ๆ คือ ชาวบ้านเดือดร้อน

 

ขณะที่ คณบดีคณะวนศาสตร์ ม.เกษตรฯ พูดอย่างตรงไปตรงมากับทีมข่าวว่า เอาจริงๆ กรดฟอร์มิกและซัลฟิวริกมีราคาต่างกันเพียงเล็กน้อย หากชาวสวนยางจะเปลี่ยนมาใช้กรดฟอร์มิกแทนกรดซัลฟิวริกก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับเรื่องนี้ ผมสงสัยว่า ทำไมอยู่ดีๆ ถึงมีประเด็นเหล่านี้เกิดขึ้น คนที่สร้างข่าว สร้างประเด็น เขาต้องการอะไร แต่เอาแน่ๆ สิ่งที่เขาได้ไป คือ ราคายางตกลง แต่อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า ราคายางจะตกเพียงชั่วคราวเท่านั้น

ข้อดีของกรดฟอร์มิก คือ ไม่คล้ำ ไม่เหนียว เหนอะหนะ เนื้อยางยืดหยุ่นดี

 

กยท. ยัน ยางก้อนถ้วยอีสาน ไม่โดนแบนแน่นอน

ขณะที่ นายธีธัช สุดสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวถึงปมปัญหาดังกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ทาง กยท. ได้ประสานขอข้อมูลไปยังบริษัทมิชลิน ซึ่งบริษัทมิชลินยืนยันว่าไม่ได้มีการยกเลิกซื้อยางจากเกษตรกรในภาคอีสานตามที่เป็นข่าว ส่วนกระแสข่าวที่ออกมานั้น มองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของกลุ่มค้ายาง และกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น


กรดซัลฟิวริก และกรดฟอร์มิก จะทำให้คุณภาพยางที่ออกมาแตกต่างกัน

 

ทั้งนี้ กยท. กำลังเร่งทำความเข้าใจกับเกษตรกร เพื่อชี้ให้เห็นว่ากรดทั้งสองตัวนั้น จะทำให้ผลผลิตยางออกมาในคุณภาพที่ต่างกัน ซึ่งการใช้กรดฟอร์มิก จะทำให้เกษตรกรได้ยางที่มีคุณภาพดีเยี่ยม เหมาะสำหรับแปรรูปในอุตสาหกรรมยางล้อ ส่วนกรดซัลฟิวริกนั้น เกษตรกรก็สามารถใช้ได้ และสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น ชาวสวนยางไม่ต้องกังวลว่า ในอนาคตจะเกิดปัญหาไม่รับซื้อยาง กยท. ยืนยันว่า ยางก้อนถ้วยในภาคอีสาน จะไม่โดนแบนแน่นอน เพราะกรดซัลฟิวริกเป็นกรดที่ใช้ในอุตสาหกรรม แต่สามารถนำมาใช้ในเชิงเกษตรได้ ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ทิ้งท้าย

 

กลยุทธ์ หรือเล่ห์กลใดๆ ที่แลกมาด้วยน้ำตาชาวสวน ควรแล้วหรือ?

 

source: thairath.co.th/content/720528


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5527 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 7641
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 6924
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7001
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6304
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7209
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6262
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 6635
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>