ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 4013 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ยางพาราไทย ในบริบท ไทยแลนด์ 4.0 จะมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ได้หรือไม่?

ยางพาราไทย ในการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ แห่งอนาคต สถาบันเกษตรกร ชาวสวนยางทั้งประเทศ ผนึกกำลังจับมือก้าวไปด้วยกัน..

data-ad-format="autorelaxed">

ยางพาราไทย

ยางพาราไทย

 

ทิศทางยางพาราไทยในบริบท “ไทยแลนด์ 4.0”

 

โดย – อุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประทศไทย

 

อีกมุมที่ต้องจับตามอง…กับทิศทางยางพาราไทยในการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคตในบริบทไทยแลนด์ 4.0 การยางแห่งประเทศไทยและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศผนึกกำลังจับมือร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนก้าวเดินไปด้วยกัน…

 

จากการที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต อุตสาหกรรม 4.0 หรือ INDUSTRY 4.0 ปรากฏเป็นครั้งแรก อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2560-2576) และอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เป็นแผนพัฒนา 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งจะเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศไทย โดยคาดหวังว่าภายใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวพ้นไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว และจะสามารถยกระดับรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีเพิ่มจากปัจจุบัน 4,121 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ

 

สำหรับอีกมุมที่ต้องจับตามองในเรื่องนี้คือแผนดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยางพารา “ยางพาราบนบริบท ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งจะใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล และอุตสาหกรรมอัจฉริยะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเข้าสู่ทิศทางการปฏิรูปภาคการเกษตรประเทศไทยให้แปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นอุตสาหกรรมตามนโยบาย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งปัจจุบันได้ถูกผลักดันเข้าสู่เวทีสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.) เพื่อผลักดันและวาง “แนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปแก้ปัญหาเสถียรภาพราคายางพาราอย่างยั่งยืน”

 

สำหรับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ถูกผลักดันในช่วงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาวถึง 20 ปี ที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อน และหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนต่างออกมาขานรับในการผลักดันให้เป็นโมเดลต้นแบบของการปฏิรูปประเทศ โดยจัดแบ่งยุคเศรษฐกิจไว้ 4 ยุค สิ้นสุดในปี 2579 ซึ่งจะเป็นแนวคิด “อุตสาหกรรม 4.0 หรือ INDUSTRY 4.0” เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่โดยคาดการว่าโลกในอนาคต อุตสาหกรรมจะแข่งขันได้จะต้องยกระดับอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

 

ประเทศไทยถือเป็นผู้ผลิตยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตั้งแต่ปี 2534 แต่ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันกลับขายส่งออกยางพาราเป็นรูปวัตถุดิบ โดยในปี 2558 ส่งออกในรูปวัตถุดิบถึงร้อยละ 86.33 คิดเป็นปริมาณ 3.879 ล้านตัน มีมูลค่า 170,421.29 ล้านบาท แต่กลับมีการนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพียง 610,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 13.67 มีมูลค่ารวมประมาณ 476,347 ล้านบาท ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าจากตัวเลขที่แปรรูปเป็นวัตถุดิบ (ยางพารา) เพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีตัวเลขที่แตกต่างกันมากเช่นนี้

 

ดังนั้นสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประทศไทย (สยยท.) จะได้จัดเตรียมการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “อนาคตยางพาราบนบริบท ไทยแลนด์ 4.0” ขึ้นในวันที่ 16 กันยายน เวลา 08.00-17.00 น. ณ โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ

 

หากถามว่าสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจะปรับตัวอย่างไร ในยุคประเทศไทย 4.0 นั้น จากสภาพแวดล้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งอุปสงค์และอุปทานของยางพาราที่ไม่สมดุลกันจะเป็นปัจจัยกดดันราคายาง ซึ่งในปี 2559 มีแนวโน้มที่ทรงตัว ถึงแม้ในบางช่วงราคาอาจผันผวนสูงขึ้นอย่างผิดปกติ เช่นเหตุการณ์ที่เกิดกลางเดือนมีนาคม แต่ขาดปัจจัยเอื้อทางบวกที่จะทำให้ราคายางพาราสูงขึ้นแต่กลับไปเหมือนในอดีตที่ยังไม่ปรากฏเห็นชัด ทั้งมีการคาดการณ์แนวโน้มและทิศทางยางพารา ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จะต้องมีเครื่องมือในการรับรู้ถึงราคายางพาราในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในการเข้าช่วยเหลือแก้ปัญหาราคายางพารา

 

ขณะที่สถาบันการยางพาราแห่งประเทศไทย จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรทั้งประเทศให้สามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียวตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ และเนื่องจากพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 มาตรา 9 (2) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา (3) สนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางจัดตั้งสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อลงทุนดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยางพาราตามที่คณะกรรมการกำหนด และมาตรา 49(3) จำนวนไม่เกินร้อยละ 35 เป็นการแปรรูปอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมไม้ยาง ฯลฯ

 

ดังนั้นหากการยางแห่งประเทศไทยและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศได้จับมือร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยการยางแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจะต้องพึ่งพาตนเองโดยการบริหารจัดการให้มีผลกำไรเลี้ยงองค์กรของตนเอง เพราะเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศมีประมาณ 1.6 ล้านครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกยางที่สามารถให้ผลผลิตแล้ว 19,613,559 ไร่ ก็ควรเป็นของการยางแห่งประเทศไทยที่จะต้องมาบริหารจัดการร่วมกับเกษตรกรซึ่งสามารถรวบรวมยางทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 4.699 ล้านตัน (ปี 2558) และมีเจ้าของสวนยางอยู่ในมือ ซึ่งสามารถผลิตปัจจัยทางการเกษตร อาทิ ปุ๋ยจ่ายให้เกษตรกรอีกปีละไม่น้อยกว่าแสนตัน นำเงินสงเคราะห์ที่ผูกพันเข้าฝากธนาคารยาง หรือ รับเบอร์ แบงก์ ของการยางแห่งประเทศไทยเอง ก็จะสามารถบริหารจัดการ ที่สามารถรักษาเสถียรภาพด้านราคายางได้

 

เพียงแต่… อาศัย พ.ร.บ.กยท. มาตรา 9 (2) (3) เพราะถ้าสถาบันเกษตรกรเข้มแข็ง คงไม่ต้องหวังพึ่งตลาดล่วงหน้าที่คอยกดราคาอยู่ เพื่อแสวงหากำไร แต่ต้องอาศัยพ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 (11) กำหนดยุทธศาสตร์การผลิต การจำหน่าย ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว (12 ) การกำหนดวิธีการเงื่อนไขในการซื้อขายยาง ซึ่งทางสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้นำเสนอไว้ในแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปการแก้ไขปัญหาเสถียรภาพราคายางพาราอย่างยั่งยืน และใช้งบประมาณจาก พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยมาตรา 49 (3) มาดำเนินการบขับเคลื่อนยางพาราบนบริบท ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจะเป็นการปฏิวัติอุตสากรรมใหม่ในอนาคต

 

ทั้งนี้เพื่อทำอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เป็นอาชีพเสริม และเป็นการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางซึ่งต่อไปในอนาคต ประเทศไทยอาจจะเป็นอุตสาหกรรมยางพาราในระดับโลก ซึ่งเป็นการรักษาให้เกษตรกรชาวสวนยางสามารถมีอาชีพที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามแนวทางของรัฐที่กล่าวไว้ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตลอดไป

 

Source: komchadluek.net/news/agricultural/238988


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4013 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 7642
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 6925
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7001
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6307
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7210
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6264
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 6638
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>